รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดไผ่ล้อม

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

            การประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) ได้ดำเนินการตามมาตรฐานการศึกษาที่สะท้อนผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาซึ่งเป็นผลสำเร็จจากการบริหารจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาทั้งในระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อนำเสนอและรายงานผลการจัดการศึกษาในรอบปีที่ผ่านมาต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้รับทราบ

            ระดับการศึกษาปฐมวัย ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการขับเคลื่อน ส่งเสริมการจัดการการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามจุดมุ่งหมายของส่งเสริมการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการ ด้านร่างกาย , ด้านอารมณ์ จิตใจ , ด้านสังคมและด้านสติปัญญาอย่างสมดุลและเต็มศักยภาพและจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีพัฒนาการตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ตลอดจนมีความรู้ความสามารถ ตามหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ จัดสื่อ เทคโนโลยี สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ ที่เหมาะสมเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ใช้ข้อมูลสารสนเทศมาปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติราชการประจำปี ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาและคุณภาพของผู้เรียนเป็นอย่างมาก  ผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 การจัดการศึกษาในระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย)  มีผลการประเมินในภาพรวมทั้ง 3 มาตรฐาน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม จำแนกระดับคุณภาพรายมาตรฐานพบว่า ด้านคุณภาพเด็ก ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยมตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด และด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม สูงกว่าค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

            ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการขับเคลื่อน ส่งเสริมการจัดการการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551และหลักสูตรสถานศึกษา (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2563) ทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีพัฒนาการตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ตลอดจนมีความรู้ความสามารถ มีทักษะและคุณลักษณะตามจุดเน้นหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาชัดเจน มีประสิทธิภาพ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพเป็นอย่างดี ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใช้สื่อ เทคโนโลยี สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ ที่เหมาะสม เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน นำข้อมูลสารสนเทศมาปรับปรุงและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติราชการประจำปี ผู้ปกครองและชุมชน มีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาและคุณภาพของผู้เรียนเป็นอย่างมาก  ผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2563 มีผลการประเมินในภาพรวมทั้ง 3 มาตรฐาน อยู่ในระดับดีเลิศ เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

รายงานการประเมินตนเอง https://drive.google.com/drive/folders/14cbIt0pBZk6cxpbSjoT6rTfmQ1oKKBcs?usp=sharing

เว็บไซต์โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) http://www.wplschool.com/index2.php

ห้องเรียนออนไลน์ https://sites.google.com/view/wplonline/

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

https://drive.google.com/file/d/1VGT2MzWddlJWQ4uLVhuqZ83pGNglpP9p/view?usp=sharing

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ชื่อสถานศึกษา: โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย)

ที่อยู่:เลขที่ 17/101 หมู่ที่ 6 ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมืองจันบุรี จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22000

โทรศัพท์: 039-321616 โทรสาร : 039-313090 E-Mail : PLschool06@gmail.com

    Website :www.wplschool.comเปิดสอน:ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

สภาพชุมชนโดยรวม : สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนชานเมือง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองจันทนิมิต อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจ ค้าขายต่างๆ เซ่น การค้าขายพลอยและอัญมณี เป็นที่ตั้งศูนย์การค้าชั้นนำและการค้าขายทั่วไป ซึ่งช่วยให้ประชาชนมีงานทำเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่อีกด้วย

การประกอบอาชีพ (ของผู้ปกครองนักเรียน)

          ร้อยละ 80.46 ประกอบอาชีพรับจ้าง

         ร้อยละ 15.14 ประกอบอาชีพค้าขาย

         ร้อยละ 4.40 ประกอบอาชีพอื่น ๆ

การนับถือศาสนา (ของผู้ปกครองนักเรียน)

        ร้อยละ 91.02 นับถือศาสนาพุทธ

       ร้อยละ 08.98 นับถือศาสนาคริสต์

ฐานะทางเศรษฐกิจ(ของผู้ปกครองนักเรียน) : รายได้โดยเฉลี่ย 58,696 บาท/ครอบครัว/ปี

ความสัมพันธ์กับชุมชน : โรงเรียนได้ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาสถานศึกษาโดยขอความร่วมมือ จากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนวัดไผ่ล้อม มูลนิธิกิตติ - จุลมณี ผลภาษี เทศบาลเมืองจันทนิมิต ผู้นำชุมชนและกลุ่มองค์กรต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาโรงเรียน


 

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์

         โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้สู่การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่การมีส่วนร่วมของชุมชน

พันธกิจ

1. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน

2. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา

3. ส่งเสริมนักเรียน ครูและบุคลากรใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้

4. ส่งเสริมการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการศึกษา

5. ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

6. ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชนและองค์กรต่างๆทุกภาคส่วน

เป้าประสงค์

1. ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมตามศักยภาพ

2. ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาและจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและ นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้

4. การบริหารจัดการศึกษาเป็นไปตามระเบียบแบบแผน มีคุณธรรม โปร่งใส มีส่วนร่วม รับผิดชอบ และคุ้มค่า

5. นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ได้จริง

6. ชุมชนและองค์กรต่างๆทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 17 0 5 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

https://drive.google.com/file/d/181I0biKt6s9Af25VQ1rf6LfigfHLcZIv/view?usp=sharing
ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

อาคารเรียนอาคารประกอบ

    1. อาคารเรียน มีทั้งหมด 4 หลัง ดังนี้

        1) อาคารแบบ 004 เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น จำนวน 8 ห้องเรียน ห้องเรียนชั้นอนุบาล 1-3

        2) อาคารแบบ 017 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น จำนวน 8 ห้องเรียน ประกอบด้วยห้องเรียนชั้น ป.1 - ป.3

         3) อาคารแบบ สปช.416-2526(512) เป็นตึก 3 ชั้น ใต้ถุนโล่ง จำนวน 16 ห้องเรียน ประกอบด้วย ห้องสำนักงานโรงเรียน ห้องวิชาการ ห้องสื่อ ห้องสมุด ห้องสหกรณ์ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ห้องคุณธรรม ห้องประชุม ห้องพักครู ห้องเรียนชั้น ป.4 - ป.6 ห้องประชาสัมพันธ์

         4) อาคารแบบ สปช. 2/28(2536) เป็นตึก 3 ชั้น จำนวน 15 ห้องเรียน ประกอบด้วย ห้องเรียนชั้น ม.1 - ม.3 ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ห้องภาษาไทย ห้องสังคมศึกษา ห้องทัศนศิลป์ ห้องพักครู ห้องแนะแนว ห้องเรียนการงานอาชีพฯ และห้องจริยะ

    2. อาคารอเนกประสงค์ แบบ 206/26 จำนวน 1 หลัง

    3. อาคารโรงอาหาร จำนวน 1 หลัง

    4. บ้านพักครู จำนวน 3 หลัง

    5. ส้วม จำนวน 4 หลัง

   6. อาคารเรือนศิลป์ จำนวน 1 หลัง

สนามกีฬา จำนวน 5 สนาม ได้แก่ สนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอล สนามวอลเลย์บอล สนามตะกร้อ สนามเปตอง


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1ISIy7AR10HteDFA2xdnh-1UJTbWCWbuh/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ภายใน

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

· ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ( มีฐานการเรียนรู้ จำนวน 19 ฐาน)
· อาคารเรียนต่างๆ
· ห้องสมุด / ICT
· ห้องปฏิบัติการทางภาษา
· ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
· ห้องโสตทัศนศึกษา
· ห้องคอมพิวเตอร์
· ห้องประชุม
· ห้องสังคมและศาสนา
· ห้องแนะแนว
· ห้องดนตรี – นาฏศิลป์
· ห้องผลงานนักเรียน
· ห้องสหกรณ์โรงเรียน
· สนามเด็กเล่น
· สวนสุขภาพ
· สนามกีฬา
· แปลงนาสาธิต
· บ่อปลา

· โรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดจันทบุรี
· วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี
· วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี
· มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
· วัดไผ่ล้อม (พระอารามหลวง) จันทบุรี
· อาสนวิหารพระแม่มารีปฏิสนธินิรมล
· วัดชากใหญ่ อ.แหลมสิงห์ จันทบุรี
· ตึกแดง อ.แหลมสิงห์ จันทบุรี
· คุกขี้ไก่ อ.แหลมสิงห์ จันทบุรี
· ค่ายเนินวง
· อู่ต่อเรือพระเจ้าตากสินมหาราช
· พิพิธภัณฑสถานพาณิชย์นาวี
· ศูนย์การศึกษาและพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน
· อุทยานแห่งชาติน้ำตกกระทิง
· อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
· น้ำตกคลองนารายณ์


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1ZRimmBIj_WGJss1jXvj8HZGpBOq_1zOy/view
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา            โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย , ด้านอารมณ์ จิตใจ , ด้านสังคม และด้านสติปัญญาอย่างสมดุลและเต็มศักยภาพ เป็นคนดี มีวินัย สำนึกความเป็นไทยและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติในอนาคต สร้างโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโดยมีโครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย และกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเป็นตัวขับเคลื่อน ส่งเสริมผู้เรียนให้มีพัฒนาการด้านร่างกายโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแผนการจัดประสบการณ์และกิจกรรมที่หลากหลาย การบริการอาหารเสริมนม อาหารกลางวันที่ครบถ้วนและได้มาตรฐาน กิจกรรมออกกำลังกายประจำวัน การตรวจสุขภาพอนามัยร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมคุณภาพประจำตำบลจันทนิมิต ชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูง และทดสอบสมรรถภาพทางกาย ส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ส่งเสริมการกล้าแสดงออกผ่านกิจกรรมเวทีคนเก่ง วันเด็กแห่งชาติ การแข่งขันกีฬาภายใน การนั่งสมาธิสร้างปัญญา ส่งเสริมให้เด็กร่วมกิจกรรมด้านศิลปะและการแสดงในวันสุนทรภู่ วันภาษาไทย และกิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการ ส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการด้านสังคม โดยเชื่อมโยงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในวันสำคัญต่างๆ เช่น จัดกิจกรรมเข้าวัดทำบุญวันพระ สร้างจิตอาสา กิจกรรมโฮมรูม บันทึกความดี และกิจกรรมออมวันละบาท สร้างชาติ สร้างอนาคต โดยดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การให้คำปรึกษา กิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน การปลูกฝังค่านิยม 12 ประการ ร่วมจัดแสดงผลงานและกิจกรรม Open House นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมประสานสัมพันธ์กับผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กร่วมกัน ได้แก่ กิจกรรมสนทนา ศิษย์–ลูก ส่วนการส่งเสริมผู้เรียนให้มีพัฒนาการด้านสติปัญญา ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ที่เน้นการปฏิบัติการทดลองและทำโครงงาน ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ตลอดจนการเปิดโลกทัศน์ในกิจกรรมทัศนศึกษาเพื่อปัญญา
ผลการดำเนินงาน            จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน ดังกล่าว ทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย มีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพตนเองและสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง หลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ ภัยและสิ่งเสพติด เด็กมีพัฒนาการที่ดีร่าเริง แจ่มใส มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมกับวัย ชื่นชมศิลปะดนตรี การเคลื่อนไหวและรักธรรมชาติ มีวินัยความรับผิดชอบ รู้จัก เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่และครู มีความซื่อสัตย์สุจริต ช่วยเหลือแบ่งปัน มีคุณลักษณะพอเพียง เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ประพฤติปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ มีทักษะกระบวนการคิด การสังเกต การใช้ภาษาในการพูดสื่อสาร ตลอดจนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1TTV1vR0WXwHERTqbgM1rOhboMBQRV9Rp?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา            โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย)มีกระบวนการดำเนินการและบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยการกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรภายนอก สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถานศึกษา ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มีภาวะผู้นำและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมที่เน้นการพัฒนาเด็กปฐมวัย กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย จัดครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เพียงพอและครบทุกชั้นเรียน ส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพและประสบการณ์การจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาที่ได้พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัด ตามแผนงานและโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จัดสิ่งอำนวยความสะดวกและทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ อาคารสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนพัฒนาระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และการจัดประสบการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินงาน            โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) มีระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นและชุมชน มีครูและบุคลากรทางการศึกษาทางด้านการศึกษาปฐมวัยที่เพียงพอกับชั้นเรียน ดูแลเด็กได้อย่างทั่วถึง ครูได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้และจัดประสบการณ์ตามมาตรฐานการศึกษา มีการดำเนินกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLCอย่างเข้มแข็งและจริงจัง สภาพแวดล้อมอาคารสถานที่มีความพร้อม เพียงพอ สะอาดและปลอดภัย มีสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1n5QTCyqTHagE8WrRJHcppgbnpaLTwc_w?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา            ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ รู้จักเด็กเป็นรายบุคคลและสร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัส จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การใช้แหล่งการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงภายในโรงเรียน ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย มีการติดตามและประเมินผลพัฒนาการเด็กอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้านทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา จัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจความสามารถ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลหลากหลายรูปแบบจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กได้เลือกเล่นเรียนรู้ ลงมือ กระทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จัดห้องเรียนให้สะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก พื้นที่สำหรับมุมประสบการณ์และการจัดกิจกรรมเด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ป้ายนิเทศ หรือการดูแลต้นไม้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ระยะความสนใจ และวิถีการเรียนรู้ของเด็ก ใช้สื่อของเล่นที่กระตุ้นให้คิดและหาคำตอบ จัดกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLCประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช้แบบทดสอบ วิเคราะห์ผลการประเมินพัฒนาการเด็ก โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ตลอดจนนำผลการประเมิน ที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็กและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินงาน            จากกระบวนการพัฒนาการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ส่งผลให้ครูมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและออกแบบการจัดการเรียนรู้ มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลตามสภาพจริง ตลอดจนทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เด็กจึงมีผลการประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับที่พึงพอใจและผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับยอดเยี่ยม
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1BYxT2nMEaj7UlfPPuijk75DnJNme5SfM?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
           ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติราชการ โดยมีโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาตินโยบายรัฐบาลและหน่วยงานต้นสังกัด
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
คุณภาพของเด็ก
เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาสมดุลเหมาะสมตามวัย เรียนรู้อย่างมีความสุข มีความพร้อมในการศึกษาต่อระดับประถมศึกษา

กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการ ทั้ง 4 ด้าน ส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถด้านการศึกษาปฐมวัย

การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถตรงตามสาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย กระตือรือร้นในการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1mK5gbHXWzYbO-q3yPJqjL8O1aeZBreoc?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

          โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญาและมีความสุข สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา ที่กำหนดมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาด้านคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โดยสถานศึกษาได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบในการออกแบบและจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะที่เป็นจุดเน้น พร้อมทั้งผลักดัน ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองตามความถนัด ความสนใจอย่างเต็มศักยภาพ จัดการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต ทักษะชีวิตและงานอาชีพ เน้นการปฏิบัติจริงทั้งในและนอกห้องเรียน ใช้สื่อ เทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียนและเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชน จัดแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมในการจัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามจุดเน้นด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เน้นการประเมินสภาพจริง สถานศึกษาจัดโครงการและกิจกรรมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตรงกับความต้องการและจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติราชการประจำปีตลอดทั้ง ปีการศึกษา ดูแลช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นส่งผลให้คุณภาพนักเรียนอยู่ในระดับดีเลิศ ตามค่าเป้าหมายที่กำหนด

ผลการดำเนินงาน  

          จากกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) ส่งผลให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีพัฒนาการตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ตลอดจนมีความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะตามจุดเน้น ของแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551และหลักสูตรสถานศึกษา  มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล สามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาได้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คิดสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ ชิ้นงาน โครงงาน โครงการได้ตามสมรรถนะ รู้เท่าทันตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการสร้างองค์ความรู้ สืบค้นข้อมูลและนำเสนอผลการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีรายได้ระหว่างเรียน  มีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และมีความพร้อมที่จะดำเนินชีวิตในสังคมได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของผู้เรียน นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 76.25 นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 78.61 นักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 74.35 นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 82.5 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 79.24 นักเรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 88.65

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1oOxe-e1Kv0ogoYXWilSPyhKv2yKsC3Na/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา  

          โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย)จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญาและมีความสุข สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา ที่กำหนดมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาด้านคุณภาพผู้เรียนในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโดยสถานศึกษาได้ส่งเสริมสนับสนุนการมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย มีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย มีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม เน้นการประเมินสภาพจริง สถานศึกษาจัดโครงการและกิจกรรมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตรงกับความต้องการและจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติราชการประจำปีตลอดทั้ง ปีการศึกษา ดูแลช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ส่งผลให้คุณภาพนักเรียนอยู่ในระดับยอดเยี่ยม ตามค่าเป้าหมายที่กำหนด


 

ผลการดำเนินงาน  

         จากกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) ส่งผลให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีพัฒนาการตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ตลอดจนมีความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะตามจุดเน้น ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551และหลักสูตรสถานศึกษา นักเรียนร้อยละ 97.72 มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ร้อยละ 98.46 มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ร้อยละ 98.48 ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย และนักเรียนร้อยละ 88.75 มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมที่ดี นอกจากนี้แล้วนักเรียนยังมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาไทย เคารพในหลักการประชาธิปไตย ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  มีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และมีความพร้อมที่จะดำเนินชีวิตในสังคมได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของผู้เรียนเป็นอย่างมาก

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1oOxe-e1Kv0ogoYXWilSPyhKv2yKsC3Na/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

         โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้นวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษา " สอง สาม สี่ Active Model ” ผ่านแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติราชการประจำปี ซึ่งมียุทธศาสตร์และแผนงานครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่เน้นคุณภาพผู้เรียนเชื่อมโยงวิถีชีวิตจริงและมีความครอบคลุมกับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และมีความปลอดภัย ผู้บริหารเป็นผู้นำทางวิชาการ จัดการระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ กำกับ ดูแล นิเทศติดตาม การจัดการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอและนำผลการนิเทศมาปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง ครูและบุคลากรทางการศึกษาวัดและประเมินผลผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตามจุดเน้นด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เน้นการประเมินสภาพจริง ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญ ในการจัดการเรียนรู้และงานที่ได้รับมอบหมาย จัดกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC จัดหา จัดสรร ระดมทรัพยากรสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ผลการดำเนินงาน  

         โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจนมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีการนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติราชการประจำปี มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับ สภาพบริบทและความต้องการของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพมีสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน มีความ พึงพอใจต่อการจัดการศึกษาส่งผลให้สถานศึกษาผ่านการประเมิน ระดับ AAร้อยละ 99.83 เป็นอันดับที่ 1 ในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ( ITA Online ) ประจำปีงบประมาณ 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 , ผ่านการประเมินและรับรองเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1และรอรับการประเมินจากกระทรวงศึกษาธิการในปีงบประมาณ 2564 ตลอดจนผ่านการคัดเลือกผลงานด้านนวัตกรรม โครงการ 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดย สำนักงานณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี 2563 และมีผลการประเมินกระบวนการบริหารและการจัดการตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา อยู่ในระดับดีเลิศ ตามเป้าหมายที่กำหนด

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 http://www.wplschool.com/index2.php
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา            โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญาและมีความสุข สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2561) และบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูและบุคลากรทางการศึกษาออกแบบและดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในรูปแบบActive Learningในรายวิชาพื้นฐาน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและรายวิชาเพิ่มเติมที่เน้นทักษะชีวิตและงานอาชีพซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำหรือปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยความกระตือรือร้น ได้คิด ค้นคว้า ทดลอง รายงาน ทำโครงการ สัมภาษณ์ แก้ปัญหา ฯลฯ ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ด้วยตนเองตามศักยภาพอย่างแท้จริง ครูผู้สอนพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ จัดบรรยากาศสิ่งเร้าเสริมแรงและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมจัดการเรียนรู้ และร่วมกับหน่วยงานการศึกษาอื่นๆ เช่นมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี , วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี , และวิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์จันทบุรี มาสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพ จัดสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนชัดเจน ใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนและผู้ปกครองเพื่อนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพPLC เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพผู้เรียนร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีเชิงบวกกับผู้เรียน ผู้ปกครอง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และแก้ปัญหาของผู้เรียนร่วมกัน
ผลการดำเนินงาน  

          การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญActive Learning ของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) ส่งผลให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น มีโอกาสได้พัฒนาความสามารถต่างๆ ตามศักยภาพและความสามารถของตน มีทักษะชีวิต ทักษะงานอาชีพ ได้เรียนรู้จากการ ลงมือกระทำ ปฏิบัติหรือศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดี เชื่อมโยง การเรียนรู้กับสภาพชีวิตประจำวันตลอดจนได้แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ มีทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น มีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานทุกระดับชั้นเป็นที่พึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและลักษณะที่พึงประสงค์ ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเอง สามารถสอบเข้าเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นในสถานศึกษาที่ตนเองต้องการได้จัดกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLCเพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีเชิงบวกกับผู้เรียน ผู้ปกครอง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และแก้ปัญหาร่วมกัน ส่งผลให้การประเมินมาตรฐานกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษา อยู่ในระดับดีเลิศ ตามเป้าหมายที่กำหนด

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://sites.google.com/view/wplonline/
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ด้านคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (อินทก์อุทัย) ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551และหลักสูตรสถานศึกษา(ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2561) ทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีพัฒนาการตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ตลอดจนมีความรู้ความสามารถ มีทักษะและคุณลักษณะตามจุดเน้นหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ทุกระดับชั้นเป็นที่พึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของผู้เรียน

ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจนมีประสิทธิภาพ มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสภาพบริบทและความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ จัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยจัดแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ใช้ข้อมูลสารสนเทศมาปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติราชการประจำปี ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษา

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดไผ่ล้อม(อินทก์อุทัย) ออกแบบและดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบActive Learningในรายวิชาพื้นฐาน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและรายวิชาเพิ่มเติมที่เน้นทักษะชีวิตและงานอาชีพ พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ จัดบรรยากาศสิ่งเร้าเสริมแรงและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ จัดสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ และร่วมกับหน่วยงานการศึกษาอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี , วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี , และวิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์จันทบุรี มาสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพ ตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนชัดเจน ใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายและเหมาะสม จัดกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพPLCเพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีเชิงบวกกับผู้เรียน ผู้ปกครอง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และแก้ปัญหาร่วมกัน

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

คุณภาพของผู้เรียน

1. ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีพัฒนาการตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

กระบวนการบริหารและการจัดการ

1. มีนโยบายและแนวทางการจัดการศึกษาที่ชัดเจน มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้ ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

2. มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนที่หลากหลายครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 http://www.wplschool.com/index2.php
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/folders/14cbIt0pBZk6cxpbSjoT6rTfmQ1oKKBcs