รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านแก้ว

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา


บทสรุปของผู้บริหาร

      ระดับการศึกษาปฐมวัย                                                      ระดับคุณภาพ : ดีเลิศ

 

 ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนบ้านแก้ว ระดับปฐมวัย     ในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ โดยมี กระบวนการพัฒนาและผลการดำเนินงานในแต่ละมาตรฐาน ดังต่อไปนี้

โรงเรียนบ้านแก้วมีการจัดทำหลักสูตร สถานศึกษาระดับปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ตามโครงการพัฒนา หลักสูตรปฐมวัยให้เป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมเน้นการเรียนรู้ผ่านการ เล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น กิจกรรมบูรณาการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน ส่งผลให้โรงเรียนบ้านแก้วมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่มี ความยืดหยุ่น เมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน โรงเรียนบ้านแก้วได้มีการพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต กรบวนการคิด วิเคราะห์ หาเหตุผล และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก ผู้ปกครอง และชุมชน ตามโครงการพัฒนา บุคคลากร รวมทั้งโรงเรียนได้ส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และ พอเพียง มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อ เทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ โรงเรียนบ้านแก้ว มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียงการให้บริการสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้าน สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง และโรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ร่วมกันกำหนดมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนดได้มี จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผล ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ประจำปี และมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้ง รายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง


ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน                                                              ระดับคุณภาพ : ดีเลิศ

 

   ด้านคุณภาพผู้เรียน ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณผ่านการจัดกิจกรรมตาม หลักสูตรของสถานศึกษา ได้แก่ กิจกรรมเสริมหลักสูตรในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ ชุมนุมรักการอ่านชั้น ป.1-3 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าค่าเป้าหมายทั้งหมด การประเมินคุณภาพ ผู้เรียนในด้านลักษณะอันพึงประสงค์ การอ่าน คิดวิเคราะห์ และสมรรถนะผู้เรียน 5 ด้าน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม เกิดจากการส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ด้านสุขภาวะร่างกายและจิตสังคม ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมด้านอนามัย ได้แก่ กิจกรรมแปรงฟัน การดื่มนม การล้างมือก่อนเข้าชั้นเรียนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสCOVID-19 การมอบหมายให้รับผิดชอบ เขตทำความสะอาดร่วมกัน ผู้เรียนยังได้รับการส่งเสริมด้านงานวิชาการ กีฬา ที่ได้ร่วมเข้าประกวดและได้รางวัลอันนำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนเป็นอย่างมาก

 สถานศึกษามีการวางเป้าหมายและพันธกิจในการบริหารและการจัดการกิจการและกิจกรรมต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา มีการจัดทำแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา สนับสนุนการพัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน จัดการนิเทศภายในเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนา มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน จัดสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน สร้างผลงานที่ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมในกิจกรรมที่หลากหลาย ครูเป็นทั้งผู้ให้ความรู้และผู้ให้คำปรึกษา มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ดูแลใกล้ชิดผู้เรียน บริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีของผู้เรียน ผู้บริหารมีศักยภาพในการบริหารระบบการทำงานต่าง ๆ ในสถานศึกษาให้เป็นไปด้วยความมีประสิทธิภาพ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง มีการจัดทำโครงการที่สนับสนุนการทำงานและการจัดการเรียนการสอนของครูทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร ผลการทดสอบระดับชาติ ความสามารถด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณและทักษะกระบวนการคิดต่าง ๆ สถานศึกษาจะปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม กระบวนการคิดให้มากขึ้น

 


 

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

- แผนปฏิบัติการประจำปี

- แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

- โครงสร้างการบริหารการศึกษา

- คำสั่งต่างๆ

- บันทึกการประชุมต่างๆ

-รายงานโครงการ/กิจกรรม

- รายงานอัตรากำลัง

- รายงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

- ปฏิทินการนิเทศ

- สรุปผลการนิเทศ

- ระบบประกันคุณภาพภายใน/กำหนดค่าเป้าหมาย

- หลักสูตรสถานศึกษา

- กิจกรรมชุมนุม

- บันทึกการพัฒนาบุคลากร

- รายงานการอบรม

- กิจกรรมลดเวลาเรียน ฯ

- กระบวนการ PLC

- แผนการจัดการเรียนรู้

- แผน IEP

- บันทึกหลังสอน

- โครงงาน

- บันทึกการใช้สื่อ

- รายงานการใช้แหล่งเรียนรู้

- บันทึกการใช้ห้องคอมพิวเตอร์

- บันทึกการอ่าน

- แบบทดสอบ

- รายงาน PLC

- Best Practice

- วิจัยในชั้นเรียน

- ผลงานนักเรียน/เกียรติบัตร

รายงานโครงการส่งเสริมสุขภาพ

-บันทึกการชั่ง น้ำหนักวัดส่วนสูง และทดสอบสมรรถภาพทางกาย

-สมุดเยี่ยมการสุขภาพปากและฟัน

-บันทึกสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ

-รายงานการจัดกิจกรรมให้ความรู้ โดยวิทยากรภายนอก รูปภาพการเดินรณรงค์เรื่องสารเสพติด

-รูปภาพการวาดภาพประกวดการรณรงค์การต่อต้านการใช้สารเสพติด
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

-ยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
-การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ
-การส่งเสริมให้ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 
-

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียนบ้านแก้ว ที่ตั้งอยู่เลขที่ ๓/๔ หมู่ ๒ ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑ โทร ๐๓๙-๔๗๑๓๒๗ โทรสาร ๐๓๙-๔๗๑๓๒๙

เปิดสอน ระดับชั้นปฐมวัย ๔ ปี ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีพื้นที่ จำนวน ๙ ไร่ ๑ งาน ๗๒.๖ ตารางวา เขตพื้นที่บริการหมู่ ๒, ๓, ๔, ๕, ๙

ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

โรงเรียนบ้านแก้ว ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๔๘๑ เลขที่ ๓/๔หมู่ ๒ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เปิดสอนครั้งแรกชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒มีนายบรรจง ชุระไสยเป็นครูใหญ่และสอนคนเดียวโดยเช่าบ้านนายจ่าง รักศักดิ์ (ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๒) เป็นโรงเรียน

พุทธศักราช ๒๔๙๓ นายแช่ม จันทอุทัย ครูใหญ่ และนายพา วสิโน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกับชาวบ้านบริจาคทรัพย์สร้างอาคารเรียนและเสร็จเรียบร้อย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๖นายอุดม กฤตยารัตน์ เป็นผู้บริจาคที่ดิน คณะครูจึงย้ายนักเรียนมาเรียนในอาคารใหม่บนที่ดินของโรงเรียน จนกระทั่งปัจจุบันต่อมา นายโอภาส กฤตยารัตน์ (บุตรชาย) ได้บริจาคที่ดินเพิ่มเติมจนมีที่ดินในปัจจุบัน ๙ ไร่ ๑ งาน ๗๒.๖ ตารางวา ทะเบียนที่ราชพัสดุ แปลงที่ จบ. ๒๕๑

พุทธศักราช ๒๔๙๖ได้สร้างอาคารเรียนหลังแรกและรื้อถอนในปีพุทธศักราช ๒๕๓๓

พุทธศักราช ๒๕๐๖สร้างอาคารเรียน ๑ โดยใช้งบประมาณของข้าราชการบางส่วน

และคุณชาญ เวสารัชชานนท์ กับประชาชนร่วมสมทบทุนก่อสร้าง

พุทธศักราช ๒๕๑๖สร้างอาคารเรียน ๒ โดยใช้งบประมาณของราชการ

พุทธศักราช ๒๕๓๓ สร้างอาคารเรียน ๓ โดยประชาชนและนาวิกโยธินจันทบุรี

ร่วมกันก่อสร้างเป็นอาคารเรียนชั่วคราวรื้อถอนแล้วปีพุทธศักราช ๒๕๔๘

พุทธศักราช ๒๕๓๖ สร้างอาคารเรียน ๔ โดยบริษัท ซิว เนชั่นแนล จำกัดและยังมี

โรงอาหาร บ้านพักครู ๒ หลัง และส้วม ๒ หลัง

พุทธศักราช ๒๕๔๘ ได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ โดยใช้งบประมาณ อบจ.จันทบุรี

และกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู ประชาชน ผู้มีอุปการคุณ ร่วมบริจาค

พุทธศักราช ๒๕60 ได้สร้างสระว่ายน้ำ โดยได้รับงบประมาณจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี เทศบาลเมืองท่าช้าง คณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู ประชาชน ผู้มีอุปการคุณ ร่วมบริจาค

พุทธศักราช ๒๕60 ได้สร้างอาคารอเนกประสงค์ โดยใช้งบประมาณจากสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้อุปการะคุณ ผู้ปกครอง ประชาชน คณะครู นักเรียน และทางราชการสนับสนุนด้วยดีตลอดมา ได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นปฐมวัย 4 ปี ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖และในปีการศึกษา ๒๕๔๐ กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ปัจจุบันสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

จำนวนนักเรียนปีการศึกษา 2563
จำนวนนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 จำนวนทั้งหมด 82 คน แยกเป็นนักเรียนชาย 47 คน นักเรียนหญิง 35 คน
จำนวนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวนทั้งหมด 500 คน แยกเป็นนักเรียนชาย 250 คน นักเรียนหญิง 250 คน
จำนวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวนทั้งหมด 191 คน แยกเป็นนักเรียนชาย 89 คน นักเรียนหญิง 102 คน
การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

๔. แนวทางการจัดการศึกษา

วิสัยทัศน์ ( Vision )

ผู้เรียนมีความรู้ตามมาตรฐานการศึกษา มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามปฏิญญาโรงเรียนสุจริต ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างองค์ความรู้ได้ตามศักยภาพ บริหารงานแบบชุมชนมีส่วนร่วม

พันธกิจ ( Mission )

๑. ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ตามมาตรฐานการศึกษา

๒. ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามปฏิญญาโรงเรียนสุจริต

๓. ส่งเสริมผู้เรียนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต

๔. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๕. ส่งเสริมชุมชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารการจัดการศึกษา

เป้าประสงค์

๑. ผู้เรียนมีความรู้ตามมาตรฐานการศึกษา

๒. ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามปฏิญญาโรงเรียนสุจริต

๓. ผู้เรียนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต

๔. ผู้เรียนมีทักษะด้านการอ่าน เขียน และคิดวิเคราะห์และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง

๕. ปลูกจิตสำนึก รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

๖. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๗. ชุมชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารการจัดการศึกษา

จุดเน้นในการพัฒนาโรงเรียน
จากวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายดังกล่าวโรงเรียนกำหนดจุดเน้นการดำเนินงาน

พัฒนาคุณภาพนักเรียนคือ

๑. ในด้านวิชาการ ให้ความสำคัญในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่มโดยจัดการ

เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เสริมกระบวนการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน และกลุ่มสาระวิชาที่เน้นเป็นพิเศษ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและภาษาอังกฤษ

๒. ในด้านคุณธรรม เน้นให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม โดยสอดแทรกใน

กระบวนการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

๓. ในด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม จัดให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

๔. ในด้านบุคลากรของโรงเรียนมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมการทำ

วิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน

๕. นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาพัฒนาผู้เรียน

ให้เป็นคนดี เก่งและมีความสุขสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้

๖. เมื่อนักเรียนจบการศึกษาสามารถว่ายน้ำเป็นทุกคน

 

แผนกลยุทธ์ของโรงเรียน

กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและ

ส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

กลยุทธ์ระดับแผนงาน/โครงการ
๑.๑ ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายและ

เหมาะสมกับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย

๑.๒ ส่งเสริม พัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาและสนับสนุนระบบ

ประกันคุณภาพ การศึกษา

๑.๓ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เพื่อการเรียนการสอน

๑.๔ เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่มาตรฐาน

๑.๕ ส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ และมีนิสัยรักการอ่าน

กลยุทธ์ที่ ๒ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นไทยและวิถีชีวิตตามหลัก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์ระดับแผนงาน/โครงการ
๒.๑ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สร้างคุณลักษณะผู้เรียนที่ดีงามทั้งทางกาย ทาง

อารมณ์ และทางสังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานชีวิตยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๒.๒ ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา แหล่งเรียนรู้ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมในโรงเรียนและชุมชน

๒.๓ ส่งเสริม สนับสนุนโรงเรียนร่วมกับชุมชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญาไทย

กลยุทธ์ที่ ๓ ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียนให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

กลยุทธ์ระดับแผนงาน/โครงการ
๓.๑ เร่งรัดการเกณฑ์เด็กเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับและติดตามให้ศึกษาต่อ

๓.๒ พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเรียนจนจบการศึกษา

๓.๓ ส่งเสริมพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ

 

กลยุทธ์ที่ ๔ พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบให้สามารถจัด

กิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

กลยุทธ์ระดับแผนงาน/โครงการ

๔.๑ ส่งเสริม สนับสนุน บุคลากรให้ได้รับการพัฒนา มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ สร้างสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้

๔.๒ ส่งเสริม สนับสนุน ให้สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพและตามรอยพระยุคลบาท

กลยุทธ์ที่ ๕ พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการจัดการศึกษาตามแนวทางการ

กระจายอำนาจทางการศึกษาตามหลักธรรมมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา

กลยุทธ์ระดับแผนงาน/โครงการ
๕.๑ พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานทุกภาคส่วน

๕.๒ ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

๕.๓ พัฒนาระบบการควบคุมภายใน กำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงาน

อัตลักษณ์ ไหว้สวย

เอกลักษณ์ โรงเรียนสุจริต

 
ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
3 36 0 3 1 2


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน


๑. หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านแก้ว พุทธศักราช ๒๕๖๒ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านแก้ว

กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

เวลาเรียน

ระดับประถมศึกษา

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

ม. ๑

ม. ๒

ม. ๓

— กลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐาน

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วิทยาการคำนวณ

การออกแบบและเทคโนโลยี

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๖๐

๑๒๐

๒๐

๒๐

๑๖๐

๑๒๐

๒๐

๒๐

๑๖๐

๑๒๐

๒๐

๒๐

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประวัติศาสตร์

 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม

และการดำเนินชีวิตในสังคม

เศรษฐศาสตร์

ภูมิศาสตร์

๘๐

๔๐

 

 

 

๔๐

 

๘๐

๔๐

 

 

 

๔๐

 

๘๐

๔๐

 

 

 

๔๐

 

๑๒๐

๔๐

 

 

 

๘๐

 

๑๒๐

๔๐

 

 

 

๘๐

 

๑๒๐

๔๐

 

 

 

๘๐

 

๑๖๐

๔๐

 

 


๑๒๐

๑๖๐

๔๐

 

 


๑๒๐

๑๖๐

๔๐

 

 


๑๒๐

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

การงานอาชีพ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ภาษาต่างประเทศ

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๘๐

๘๐

๘๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๘๐

๘๘๐

๘๘๐

— กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑.กิจกรรมแนะแนว

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๒.กิจกรรมนักเรียน

 

๒.๑ กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๒.๒ กิจกรรมชุมนุม

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓.กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

— สาระเพิ่มเติม

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑.ว่ายน้ำเพื่อชีวิต

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๒.การป้องกันการทุจริต

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๓.ดนตรีไทย

-

-

-

-

-

-

๔๐

๔๐

๔๐

๔.คอมพิวเตอร์เพิ่มเติม

-

-

-

-

-

-

๔๐

๔๐

๔๐

.การงานอาชีพเพิ่มเติม

-

-

-

-

-

-

๔๐

๔๐

๔๐

 

 

 

 

 

 

 

รวมเวลาเรียนทั้งหมด

,๐๔๐ ชั่วโมง/ปี

จำนวน ๑,๒๐๐ ชั่วโมง/ปี ทุกชั้นปี

 


 


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

๒. ข้อมูลอาคารสถานที่

          ในปัจจุบันโรงเรียนบ้านแก้วมีอาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังนี้

 

ที่

ประเภทอาคาร

แบบ

สร้าง พ.ศ.

จำนวนชั้น

จำนวนห้อง

พื้นที่ของอาคาร

(ตร.ม.)

หมายเหตุ

อาคารเรียน

๐๑๗

๒๕๐๖

๑๐

๓๙๑.๑๘

 

 

อาคารเรียน

๐๑๗

๒๕๕๘

๑๐

๓๙๑.๑๘

ปรับปรุง

อาคารเรียน

๐๐๔

๒๕๑๗

๒๙๘.๒๑

 

 

อาคารเรียน

๐๐๔

๒๕๕๘

๒๙๘.๒๑

ปรับปรุง

อาคารเรียนซิว

สปช. ๑๐๕/๒๙

๒๕๓๖

๒๙๓.๗๐

 

อาคารเรียนกัลปนา

สปช. ๒/๒๕๕๘

๒๕๔๘

๑๖

๑๓๔๓

 

อาคารเรียน ๗๗ ปี

สปช. ๑๐๕/๒๙

๒๕๕๗

๑๔๖.๘๕

อาคารใหม่

บ้านพักครู

กรมสามัญ

๒๕๑๙

๖๑.๐๔

 

โรงอาหาร

-

๒๕๑๙

๓๔๓.๑๖

จำหน่ายแล้ว

โรงอาหาร (อาคารยืนยง)

-

๒๕๕๖

-

๑,๐๐๐

สร้างใหม่

อาคาร ๔๗ เฉลิมพล

-

๒๕๕๖

-

 

๑๐

ส้วม

แบบ ๔๐๑

๒๕๒๒

๒๕.๘๐

 

๑๑

ส้วม

สปช. ๖๐๒/๒๖

๒๕๓๒

๓๔.๐๖

 

๑๒

ส้วม

สปช. ๖๐๑/๒๖

หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1nf_Tm2fIDURjy2-OKc2xxVhZEZqy3Xdf/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายใน/นอกโรงเรียน

 
๑) ห้องสมุดมีขนาด  ๗๐  ตารางเมตร จำนวนหนังสือในห้องสมุด   ๑๐,๔๙๖ เล่ม
      การสืบค้นหนังสือและการยืม-คืน ใช้ระบบดิวอี้
      จำนวนนักเรียนที่ใช้ห้องสมุดในปีการศึกษาที่รายงาน เฉลี่ย  ๓๒๐  คน ต่อวัน
 คิดเป็นร้อยละ 46.31  ของนักเรียนทั้งหมด

 
๒) ห้องปฏิบัติการ
     ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์                      จำนวน           ๒        ห้อง
                   ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์        จำนวน          ๒        ห้อง
                   ห้องปฏิบัติการทางภาษา            จำนวน           ๑        ห้อง
                   ห้อง ดนตรี                                  จำนวน           ๑        ห้อง

๓) คอมพิวเตอร์                                   จำนวน           72      เครื่อง
                   ใช้เพื่อการเรียนการสอน             จำนวน           67      เครื่อง
                   จำนวนนักเรียนที่สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตในปีการศึกษาที่รายงานเฉลี่ย   ๒๐๐ คน ต่อวัน   คิดเป็นร้อยละ 28.94  ของนักเรียนทั้งหมด
                   ใช้เพื่อการบริหารจัดการ  จำนวน           ๕        เครื่อง

๔) แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายใน

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

๑. ศูนย์การเรียนรู้อาเซียนโรงเรียนบ้านแก้ว
๒.  ห้องดนตรี
๓.  สหกรณ์ร้านค้าโรงเรียน
๔.  ห้องสมุด ๓ ดี มีชีวิต
๕.  ห้องวิทยาศาสตร์
๖.  ห้องคอมพิวเตอร์
๗.  ห้องนาฏศิลป์

ทุกวัน
ทุกวัน
ทุกวัน
ทุกวัน
ทุกวัน
ทุกวัน
ทุกวัน

๕.) แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน 

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

๑. วัดศิริการ
๒. วัดบ้านขอม
๓. วัดโค้งสนามเป้า
๔. เทศบาลเมืองท่าช้าง
๕.  มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
๖.  วัดเขาแก้ว
๗.  โอเอซีสซีเวิร์ล







 


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1nf_Tm2fIDURjy2-OKc2xxVhZEZqy3Xdf/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา              โรงเรียนบ้านแก้ว มีกระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยการพัฒนาครูทุกคนให้มีความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กปฐมวัยตามศักยภาพตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา  ครูผู้สอนในระดับชั้นเดียวกันร่วมกันกำหนดแผนการจัดประสบการณ์ การสังเกต การประเมินพัฒนาการ และการใช้สื่อเทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูลในการจัดประสบการณ์ ได้แก่ ห้องสมุด  ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องสื่อปฐมวัย ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 มีการออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็ก  ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย   อารมณ์ จิตใจ  สังคมและสติปัญญา  ให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยใช้การจัดกิจกรรม   ผ่านการลงมือกระทำ เกิดความรู้  ทักษะ  คุณธรรม จริยธรรม โดยการจัดกิจกรรมเรียนรู้อย่างบูรณการผ่าน 6  กิจกรรมหลัก  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  กิจกรรมเสริมประสบการณ์  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  กิจกรรมเล่นตามมุม  กิจกรรมกลางแจ้ง  และกิจกรรมเกมการศึกษา  การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน  และโครงการกิจกรรม ที่โรงเรียนได้จัดส่งเสริมต่าง ๆ เช่น

          พัฒนาการด้านร่างกาย  เด็กมีน้ำหนักที่สมส่วนตามเกณฑ์ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด  ส่งเสริมสุขภาพอนามัย เช่น การล้างมือก่อนการรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน เก็บที่นอน  และดูแลความสะอาดของตนเอง  เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่  กล้ามเนื้อมัดเล็ก  ให้แข็งแรง คล่องแคล่ว  สัมพันธ์กัน  เหมาะสมกับวัย ผ่านกิจวัตรประจำวันจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น  กิจกรรมการเคลื่อนไหว       การเล่นออกกำลังกายกลางแจ้ง  การปั้นดินน้ำมัน  การฉีก ตัด ปะ กระดาษ  การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส  กิจกรรมส่งเสริมสุขลักษณะการตรวจสุขภาพ  และส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5   เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว     โดยการลงมือกระทำเป็นการเรียนรู้แบบ Active Learning และรู้จักรักษาความปลอดภัยต่อตนเอง ส่งผลให้เด็กได้รับรางวัลต่าง ๆ หลายปีติดต่อกัน  ดังนี้

1.       การแข่งขันปั้นดินน้ำมันระดับปฐมวัย

-          รางวัลเหรียญทองระดับเขตพื้นที่  ปีการศึกษา  2560  2561 

-          รางวัลเหรียญทองระดับอำเภอ  ปีการศึกษา  2562  

2.       การแข่งขัน ฉีก ตัด ปะ กระดาษ

-          รางวัลเหรียญทองระดับอำเภอ ปีการศึกษา  2562

 พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ  โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก           ที่เหมาะสมกับวัย  มีความสุข ร่าเริง แจ่มใส  รักดนตรี  ชื่นชมศิลปะ ธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่นมั่นคง เชื่อมั่นในตนเอง เรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นซึ่งเกิดจากการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ    ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่น กิจกรรมเคลื่อนไหวตามดนตรี ออกกำลังกาย   กิจกรรมกีฬาสี  กิจกรรมการละเล่นไทย กิจกรรมเล่านิทานก่อนนอน 

พัฒนาการด้านสังคม โรงเรียนได้ส่งเสริม ให้เด็กมีการพัฒนาทักษะชีวิต เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและเหมาะสมตามวัย มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เช่น สามารถปฏิบัติกิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่น สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง เช่น  แต่งตัว  ใส่รองเท้า รับประทานอาหาร  รู้จักเก็บงาน  เล่นของเล่นตามมุม  รู้จักเก็บของเล่นเข้าที่  มีน้ำใจเล่นแล้วร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นได้  เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก พัฒนาคุณธรรมให้เด็กเป็นคนดี  มีวินัย มีมารยาท ปฏิบัติตามข้อตกลงได้ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักประหยัด  แบ่งปัน  ช่วยเหลือผู้อื่น ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ สำนึกความเป็นไทยและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทยได้เหมาะสมกับวัย  เช่น กิจกรรมยิ้มใสไหว้สวย รู้จักรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เช่น กิจกรรมประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้  มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต  โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา  พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครอบครัว  ชุมชนและทุกฝ่าย  ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเอง  ครอบครัว ชุมชนและสังคม     

พัฒนาการด้านสติปัญญา  โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว  โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5   ใช้ภาษาในการบอกเล่าถ่ายทอดความต้องการ  ความรู้สึก ได้เหมาะสมกับวัย สามารถสังเกต จำแนกเปรียบเทียบ  รู้ค่าจำนวน  มิติสัมพันธ์และเวลา  บอกลักษณะความเหมือน ความต่าง  ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ มีจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ รู้จักใช้คำถาม แสวงหาคำตอบด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เช่น บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมเรียนรู้แบบโครงงาน กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้  กิจกรรม ICT  ส่งผลให้เด็กผ่านการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ทุกคน

ผลการดำเนินงาน  

 

 

มาตรฐาน/ประเด็นพิจารณา

ค่าเป้าหมาย

ผลการประเมิน

 

 

ระดับคุณภาพ

 

มาตรฐานที่1 คุณภาพเด็ก

อนุบาล2/1

อนุบาล3/1

อนุบาล3/2

รวมเฉลี่ย

ประเด็นที่ 1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรงมีสุขอนามัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเอง

ร้อยละ

80

98.72

98.28

97.60

98.2

ยอดเยี่ยม

ประเด็นที่ 1.2 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้

ร้อยละ

80

97.65

96.74

98.15

97.51

ยอดเยี่ยม

ประเด็นที่ 1.3 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

ร้อยละ

80

97.60

93.82

96.95

96.12

ยอดเยี่ยม

ประเด็นที่ 1.4 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้

ร้อยละ

80

98.05

87.32

96.81

94.06

ยอดเยี่ยม

สรุปผลการประเมิน

 

95.26

94.04

97.38

96.47

ยอดเยี่ยม

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1XQMN8W-y0pq1Y8SkUgmgWuxvubZ_BPvf/view?usp=sharing- รายงานโครงการส่ง เสริมสุขภาพกายและจิต -กิจกรรมทัศนศึกษา -โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ - บันทึกหลังสอนกิจ กรรมหลัก ๖ กิจกรรม -บันทึกประเมินผลการจัดประสบการณ์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ -ผลงานนักเรียน -ภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน -รายงานกิจกรรมวันเด็ก -รายงานโรงเรียนสุจริต -แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง ชุมชน - แบบบันทึกคุณลักษณะที่พึงประสงค์
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา         การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนบ้านแก้ว  ได้กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย  ได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพเด็กรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น  พิจารณาจากวัยของเด็ก  ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา  เพื่อให้เด็ก มีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ สำหรับด้านระบบกลไก การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย ได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาเด็กตามศักยภาพ
ผลการดำเนินงาน    โรงเรียนบ้านแก้วมีหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 มีการออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เตรียมความพร้อมให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือปฏิบัติ ตอบสนองต่อความต้องการและความแตกต่างของเด็ก มีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น มีการตรวจสอบติดตามและปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สถานศึกษาอื่น ๆ 
  ด้านการจัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน ในปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านแก้วมีห้องเรียนระดับชั้นปฐมวัยจำนวน 3 ห้องเรียน มีครูที่จบการศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยจำนวน 3 คน ครูทุกคนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยทุกคน
  ด้านการส่งเสริมให้ครูมีความรู้และเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ โรงเรียนบ้านแก้วได้สนับสนุนให้ครูจัดทำ PLC ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ส่งผลให้ครูได้พัฒนาในการจัดประสบการณ์โดยตรง และครอบคลุมเนื้อหาตามหลักสูตรมากขึ้น
  การจัดสภาพแวดล้อมและความปลอดภัย โรงเรียนบ้านแก้วได้จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียนให้มีความปลอดภัยโดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้เรียนรู้เป็นรายบุคคลและกลุ่ม รวมทั้งการให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กเป็นอย่างดี
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1C4vDFhlMZV-pGauHGC57jlxQK-d5y1Et/view?usp=sharing- หลักสูตรสถานศึกษา - แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย - ผลงานทางวิชาการของเด็ก- หลักฐานอบรม สัมมนา - เอกสารจำนวนครู- มาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา - แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  

ในการจัดการศึกษาปฐมวัยนั้น ได้มุ่งเน้นความสำคัญของพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ  สังคมและสติปัญญา  มีความรู้  คุณธรรม จริยธรรม  และวัฒนธรรม    ในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข  ภายใต้คำว่า เก่ง  ดี   มีสุข ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน  ให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ 

ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม  รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบ

ด้านสังคม  เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้  มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่

ด้านสติปัญญา   มีความคิดรวบยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย 

จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง   จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม  เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ  ความสามัคคี การแบ่งปันและการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข

จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่เด็ก  ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น  ความเห็นอกเห็นใจ   มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้เด็กรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน  และปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม ให้แก่เด็ก

ผลการดำเนินงาน  

ประเด็นความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง ได้แก่หลักสูตรสถานศึกษา การบันทึกการใช้สื่อ เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ เอกสารการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน เชิงบวกโดยครูมีวิจัยชั้นเรียนและนำผลไปแก้ไขปัญหาจริง 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1YPC7bSqzETufHT6efeTZc0NxY_qprZrE/view?usp=sharing- ข้อมูลวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล - แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับคุณลักษะที่พึงประสงค์ และพัฒนาการด้านเด็กครบทั้ง ๔ ด้าน - บันทึกการเยี่ยมบ้าน - แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ - แบบบันทึกหลังการสอน - สื่อการเรียนรู้ - แบบบันทึกการเรียนรู้ใน-นอกสถานที่
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

จุดเด่น

จุดควรพัฒนา

wคุณภาพของเด็ก

   เด็กปฐมวัยมีผลการประเมินพัฒนาการที่อยู่ในระดับดีเลิศ ตามมาตรฐานการประเมินตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

wคุณภาพของเด็ก

การใช้วาจาสุภาพเหมาะสมกับวัย

- เด็กควรได้รับการกระตุ้นให้ทำกิจกรรมหลากหลายทั้ง กลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้นำและการเป็นผู้ตามที่ดีสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้    อย่างมีความสุข

เมื่อจบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยแล้ว ควรมีการทบทวนความรู้ความสามารถของเด็ก ๆ ในระหว่างปิดภาคเรียนเป็นระยะ ๆ เพราะเด็กปฐมวัยจะใช้เวลานานในการปรับพื้นฐานการเรียนรู้ให้เข้ากับหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ของชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 15

 

แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น

         จัดกิจกรรมโครงการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา      เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป

-  โครงการ ICT ระดับปฐมวัย                                            - โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

- โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้                                         -  จัดทำวิจัยในชั้นเรียน

- จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ในทุกชั้นเรียน

มาตรฐานที่ 2กระบวนการบริหารและการจัดการ

จุดเด่น

จุดควรพัฒนา

wกระบวนการบริหารและการจัดการ

โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) มีการบริหารและมีการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยนำเทคนิคที่หลากหลายมาใช้ในการบริหารจัดการ เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารสถานศึกษากับบุคลากรในโรงเรียน การประชุมระดมสมอง การประชุมตามกลุ่มงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการปรับแผนที่วางไว้ เพื่อให้ตรงตามแผนปฏิบัติการ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และนโยบายของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และได้ใช้กระบวนการวิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

 

wกระบวนการบริหารและการจัดการ

-  สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

- สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัย

 

แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น

-  โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการ

มาตรฐานที่ 3การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

จุดเด่น

จุดควรพัฒนา

wการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด  ได้ปฏิบัติจริง มีการใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียน

มีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมไปถึงการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

wการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

-   ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ และการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง และติดตามประเมินผลนักเรียน

เป็นระยะเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

 

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

-  โครงการ ICT ระดับปฐมวัย                                            - โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

- โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้                                         -  จัดทำวิจัยในชั้นเรียน

 

- จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ในทุกชั้นเรียน

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนบ้านแก้ว ระดับปฐมวัย     ในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ โดยมี กระบวนการพัฒนาและผลการดำเนินงานในแต่ละมาตรฐาน ดังต่อไปนี้

โรงเรียนบ้านแก้วมีการจัดทำหลักสูตร สถานศึกษาระดับปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ตามโครงการพัฒนา หลักสูตรปฐมวัยให้เป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมเน้นการเรียนรู้ผ่านการ เล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น กิจกรรมบูรณาการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน ส่งผลให้โรงเรียนบ้านแก้วมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่มี ความยืดหยุ่น เมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน โรงเรียนบ้านแก้วได้มีการพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต กรบวนการคิด วิเคราะห์ หาเหตุผล และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก ผู้ปกครอง และชุมชน ตามโครงการพัฒนา บุคคลากร รวมทั้งโรงเรียนได้ส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และ พอเพียง มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อ เทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ โรงเรียนบ้านแก้ว มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียงการให้บริการสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้าน สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง และโรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ร่วมกันกำหนดมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนดได้มี จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผล ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ประจำปี และมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้ง รายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1jegVoAgf4X3D0D3p8PcDNH5oHEKgT46i/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  
๑.๑ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
        โรงเรียนได้มีการส่งเสริมด้านวิชาการ มีการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระครูประจำวิชา จะมีการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน โดยแบ่งระดับคุณภาพ คือ ดีเยี่ยม ดี ผ่าน และไม่ผ่าน โดยจัดกิจกรรมตามโครงการอ่านออก เขียนได้ การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ โดยการจัดโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพบนความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น กิจกรรมรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก / วันภาษาไทยแห่งชาติ / วันสุนทรภู่ กิจกรรมให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าจากสื่อเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ เข้าร่วมโครงการส่งเสริมรักการอ่านของ เดอะ พิซซ่า คอมปะนีชวนน้องอ่าน กิจกรรมตามโครงการส่งเสริมนักเรียนในการประกวดแข่งขันต่างๆ และให้กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้องทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ดังนี้ ภายในโรงเรียน เช่น วันสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ วันสุนทรภู่ สัปดาห์วิทยาศาสตร์ ภายนอกโรงเรียน เช่น งานกีฬาอำเภอ/จังหวัด แข่งขันว่ายน้ำ กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สู่มืออาชีพ จัดกิจกรรมต่างๆ ตามโครงการพัฒนาวิชาการ โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์/ห้องวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระ จัดกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ NT / O-NET ให้กับนักเรียน ป. ๓ , ป. ๖ และ ม. ๓ การพัฒนาศักยภาพจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนเรียนร่วม กิจกรรมแนะแนว การศึกษาต่อ และมีห้องพิเศษต่างๆ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องดนตรีไทย เรือนดนตรีสากล ห้องนาฏศิลป์ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้อง ICT สำหรับครูที่นำนักเรียนไปเรียนได้ โดยมีการดำเนินโครงการส่งเสริมนักเรียนให้มีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุผล ผ่านกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน เพื่อให้นักเรียนสามารถสรุปความคิดจากเรื่องที่อ่านและฟัง จับประเด็นตามองค์ประกอบของเรื่องเชื่อมโยงตามความสัมพันธ์ของเรื่อง ผ่านกิจกรรมโดยใช้โครงงาน กระบวนการ PLC เพื่อให้นักเรียน ชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ สามารถอธิบายวิธีคิด แก้ปัญหาด้วยภาษาของตนอย่างเป็นลำดับขั้นตอนและนักเรียนสามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมายเลือกตัดสินใจตามเรื่อง/เหตุการณ์โดยเลือกใช้ข้อมูลในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและแก้ปัญหาด้วยความรอบคอบ ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้น อย่างน้อย ห้องละ ๑ เรื่องหรือถ้ามีปัญหาคล้ายกันจะรวมชั้นทำก็ได้ และในแต่ละกลุ่มสาระจะมีการจัดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีโรงเรียนได้จัดการเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ด้วยการค้นคว้าสืบค้นข้อมูล เรียนตามหลักสูตรที่สถานศึกษากำหนด มีห้อง ICT ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลจากศูนย์ได้ตลอดเวลา ครูสามารถนำนักเรียนไปใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้ต่างๆ ได้
ผลการดำเนินงาน  
๒.๑ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

๑) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

๒) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยน

ความคิดเห็น และแก้ปัญหา อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

๓) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

๔) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อยู่ในระดับคุณภาพดีเลิศ

๕) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

๖) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1O4YuyHKBBEMcNdhvwSlw58AmFpWx1Esz/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  
๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

ส่วนด้านคุณคุณลักษณะที่พึงประสงค์และค่านิยมของผู้เรียน โรงเรียนบ้านแก้วได้จัดกิจกรรมตามโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย สอนให้นักเรียนรู้จักการยอมรับเพื่อนๆ ที่อยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย และมีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคมที่ดี เช่น จัดอบรม ประชุม เข้าค่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทัศน์ศึกษา เดินรณรงค์ ประกวดแข่งขันทักษะทางวิชาการลงมือปฏิบัติจริง ตาม โครงการโรงเรียนสุจริต โครงการโรงเรียนดี ศรีตำบล อบรมคุณธรรมจริยธรรม จัดกิจกรรมโครงการโรงเรียนสีขาวต้านยาเสพติด เดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดวันงดสูบบุหรี่โลก โครงการวิถีพุทธสู่คุณธรรมชั้นนำ มีการนำนักเรียนทุกคนเข้าค่ายปฏิบัติธรรม นิมนต์พระมาเทศน์ กิจกรรมสวดมนต์ทุกวันศุกร์ และมีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยครูประจำชั้นเป็นผู้ประเมิน จัดกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โครงการอาหารกลางวัน อาหารเสริม (นม) กิจกรรมตรวจสอบภาวะโภชนาการในโรงเรียน และทดสอบสมรรถนะนักเรียน กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี โครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมการออมเงิน ทุนการศึกษา โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมตามนโยบาย จุดเน้น แนวทางการปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพสูงขึ้น โดยการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่หลากหลายได้แก่ โครงการห้องสมุดมีชีวิตเป็น โครงการส่งเสริมให้นักเรียนสามารถอ่านออกอ่านคล่อง เขียนได้เขียนคล่อง ตามจุดเน้นพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา และพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ สร้างนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกอ่านทุกวัน และมีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังมีโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพกายและจิตที่ดี จึงต้องพัฒนาให้นักเรียนเรียนรู้ที่จะดูแลสุขภาพของตนเอง และขยายครอบคลุมไปถึงครอบครัว เพื่อสร้างสุขนิสัยที่ดี ทดสอบสมรรถภาพทางกาย ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง กิจกรรมตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ฝึกปฏิบัติตามสุขบัญญัติ ๑๐ประการ กิจกรรมจัดอาหารกลางวัน อาหารเสริมนมให้นักเรียนได้รับประทานและดื่มทุกวัน กิจกรรมกีฬา ส่งเสริมการเล่นกีฬาและการแข่งขันกีฬาดูแลจัดสภาพแวดล้อม ในโรงเรียนให้สะอาด ปลอดภัย กิจกรรมสุขาน่าใช้
ผลการดำเนินงาน  
๒.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

๑) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
๒) ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
๓) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
๔) สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1O4YuyHKBBEMcNdhvwSlw58AmFpWx1Esz/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
ระดับคุณภาพ : ดีเลิศ
๑. กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนได้ใช้วิธีการพัฒนาผู้เรียน โดยมีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม มีการตรวจสอบ เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ มีการประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ วางแผน นำผลการประเมินจากปีที่ผ่านมา มาปรับปรุง กำหนดแนวทาง นโยบายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน มีระบบบริหารจัดการคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมให้มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพของตนเอง จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ประกอบกับมีโครงการ/กิจกรรม มีการนิเทศ ตรวจสอบ ติดตาม การวัดและประเมินผลให้มีวิธีการที่หลากหลาย ประเมินผลโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เผยแพร่ต่อสาธารณะ และพัฒนาคุณภาพในต่อไปอย่างต่อเนื่องเช่น มีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา การนำหลักสูตรไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง สถานศึกษาควรพัฒนาระบบประกันคุณภาพให้เข้มแข็ง วางแผนโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน มีการกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานให้ครอบคลุมภาระงานดำเนินงาน แหล่งท่องเที่ยวและองค์กรต่างๆ ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ภายนอกอย่างหลากหลาย เทศบาลเมืองท่าช้าง สำนักงานสาธารณสุข โรงพยาบาล ศูนย์พัฒนาชุมชน บ้านสงเคราะห์เด็ก วัดบ้านขอม วัดเขาแก้ว วัดโค้งสนามเป้าเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ โรงเรียนยังได้สร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า มีห้องสมุดในโรงเรียน ห้องคอมพิวเตอร์ ICT และได้จัดให้นักเรียนไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา และโรงเรียนยังมีการจัดแหล่งเรียนรู้และนำนักเรียนเข้าศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถ ในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ อย่างมีสติสมเหตุผล เช่นการจัดทำสื่อ/ป้ายนิเทศตามห้องเรียน การจัดบรรยากาศทางวิชาการ เมื่อสิ้นสุดโครงการต่างๆ
ผลการดำเนินงาน  

๒. ผลการดำเนินงาน

ที่

ตัวบ่งชี้

ระดับคุณภาพ

ร่องรอยความพยายาม
(โครงการ/กิจกรรมที่ทำ)

มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

- แผนปฏิบัติการประจำปี
- แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- โครงสร้างการบริหารการศึกษา
- คำสั่งต่างๆ
- บันทึกการประชุมต่างๆ
- รายงานโครงการ/กิจกรรม
- รายงานอัตรากำลัง
- รายงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
- ปฏิทินการนิเทศ
- สรุปผลการนิเทศ
- ระบบประกันคุณภาพภายใน/กำหนดค่าเป้าหมาย
- หลักสูตรสถานศึกษา
- กิจกรรมชุมนุม
- บันทึกการพัฒนาบุคลากร
- รายงานการอบรม
- กิจกรรมลดเวลาเรียน ฯ
- กระบวนการ PLC

มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของ
สถานศึกษา

ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา
และทุกกลุ่มเป้าหมาย

พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 

จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ    

จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

เฉลี่ย

สรุประดับคุณภาพมาตรฐาน

ดีเลิศ

๑.   มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน อยู่ในระดับคุณภาพ
ยอดเยี่ยม
๒ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ 
๓. ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา
และทุกกลุ่มเป้าหมาย อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
                   ๔. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
                   ๕. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ     อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
                   ๖. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1l-ElSXwcLI6lGqceaS8imC04IG2wXWoM/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

 

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ระดับคุณภาพ : ดีเลิศ

๑. กระบวนการพัฒนา

คณะครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถเข้าร่วมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ให้มีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการทุกด้านตามศักยภาพ เหมาะสมกับวัย ความสามารถ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล ธรรมชาติ และการเรียนรู้ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น สามารถเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้เกิดความสุขในการเรียนรู้ เกิดทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต รวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ให้แก่เด็ก โดยเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการทั้ง4 ด้านของผู้เรียน ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการมองเห็นความสำคัญในการพัฒนาบนความแตกต่างของผู้เรียน ครูมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ บันทึกหลังสอน การสอนซ่อมเสริม มีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยในแต่ละชั้นเรียนจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหาไม่ว่าจะเป็นด้านพฤติกรรม ด้านการเรียน ด้านครอบครัว จะมีการจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูลนักเรียนรายบุคคล เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง จัดกระบวนการ PLC สำหรับครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม พัฒนาให้ครูและนักเรียนเกิดกระบวนการคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ การจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระ ได้มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ในแผนการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระและมีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทุกคนในทุกรายวิชา ครูมีการประเมินตนเอง และผู้ปกครองประเมินครู เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

 

ผลการดำเนินงาน  

๒. ผลการดำเนินงาน

ที่

ตัวบ่งชี้

ระดับคุณภาพ

ร่องรอยความพยายาม
(โครงการ/กิจกรรมที่ทำ)

จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตได้ 

- แผนการจัดการเรียนรู้
- แผน IEP
- บันทึกหลังสอน
- โครงงาน
- บันทึกการใช้สื่อ
- รายงานการใช้แหล่งเรียนรู้
- บันทึกการใช้ห้องคอมพิวเตอร์
- บันทึกการอ่าน
- แบบทดสอบ
- รายงาน PLC
- Best Practice
- วิจัยในชั้นเรียน
- ผลงานนักเรียน/เกียรติบัตร

ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 

การบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการ จัดการ
เรียนรู้

เฉลี่ย

สรุประดับคุณภาพมาตรฐาน

ดีเลิศ

              ๑. จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ใน
ชีวิตได้ อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
              ๒. ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้  อยู่ในระดับ
คุณภาพ ดีเลิศ 
              ๓. มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ  
                   ๔. ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน  อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
              ๕. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการ จัดการ
เรียนรู้ อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1l-ElSXwcLI6lGqceaS8imC04IG2wXWoM/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

จุดเด่น

นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดีขึ้นมาก ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

จุดเด่น

ผู้บริหาร ได้บริหารจัดการและพัฒนาโรงเรียนตามโครงสร้างงาน ๔ งาน เป็นระบบอย่างมีคุณภาพ PDCAส่งผลให้ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผล ให้ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับ สามารถจัดการเรียนการสอนได้บรรลุเป้าหมายและเป็นที่พึงพอใจของชุมชน ผู้ปกครอง และท้องถิ่น

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

จุดเด่น

คณะครูจัดการเรียนรู้โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและ

ปรับปรุงการ จัดการเรียนรู้ โดยนำกระบวนการ PLC มาใช้ในการแก้ปัญหานักเรียน
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

 

โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมในการวางแผนการทำงาน มีการประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น ๆ ดำเนินการร่วมกัน ตรวจสอบ มุ่งพัฒนาการบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ร่วมพัฒนาโรงเรียน จัดทำหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น ครูมีการศึกษาหลักสูตร การวิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์ผู้เรียน มีการพัฒนาการสอนด้วยการทำวิจัยในชั้นเรียน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดทำโครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนมีการพัฒนาการ เน้นย้ำ สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระวิชา มีการนิเทศภายใน พานักเรียนไปแหล่งเรียนรู้และเชิญบุคลากรที่มีความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้ มีการส่งต่อข้อมูลของผู้เรียนให้กับครูในชั้นที่สูงขึ้น เพื่อจะได้มีการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและรู้จักเด็กเป็นรายบุคคล จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่หลากหลาย มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีการจัดกิจกรรมโฮมรูม มีการติดตาม สังเกต พบปะผู้ปกครอง มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีอาคารสถานที่เหมาะสม มีการดำเนินงาน ปรับปรุง พัฒนาอาคารสถานที่ สภาพสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ตามโครงการปรับปรุงอาคารสถานที่ มีการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน ด้วยการปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ มีการออกกำลังกายทุกสัปดาห์โดยการเรียนพลศึกษา มีการบันทึกภาวะทุพโภชนาการชั้นอนุบาล ถึง ม.๓ ได้รับบริการตรวจสุขภาพ ทดสอบสมรรถภาพทางกาย และพ่นหมอกควันก่อนเปิดเรียน และระหว่างเรียนเป็นระยะๆ เข้าเรียนชุมนุมตามความสนใจ มีการเสนอกิจกรรมให้ผู้เรียนจัดทำชิ้นงานที่แสดงความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีการคัดกรองนักเรียน และดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความปลอดภัยเมื่ออยู่ในโรงเรียน มอบทุนการศึกษา ให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและผู้เรียน มีการประเมินผลการเรียนการสอน และนำผลการประเมินมาปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนการเสนอกิจกรรมให้ผู้เรียนจัดทำชิ้นงานที่แสดงถึงจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยจะส่งเสริมสร้างความตระหนักโดยการจัดบริเวณให้นักเรียนได้ร่วมกันทำคุณประโยชน์ทุกวันตอนเช้าก่อนเข้าแถวและร่วมกันพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกโรงเรียน ในด้านสภาพแวดล้อม ความสะอาด ขยะ ปลูกต้นไม้ จัดสวนหย่อม ตามโครงการเสริมสร้างวินัยและคุณธรรม ทำให้นักเรียนรักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีเจตคติต่อการทำงาน ไม่เห็นแก่ตัว เสียสละ รับผิดชอบ เพื่อปลูกจิตสำนึกในการรักษาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้สะอาดอยู่เสมอ จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ทำความสะอาด เพื่อให้นักเรียนมีความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ช่วยเหลือผู้อื่น มีขั้นตอนการดำเนินงาน พร้อมทั้งมีการรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยการเก็บขยะบริเวณถนนในหมู่บ้านตามโอกาสต่าง ๆ เช่น วันสำคัญต่าง ๆ

นักเรียนได้ทำหน้าที่ฝึกการทำงานการให้บริการและการเสียสละ เช่น เมื่อเทศบาลเมืองท่าช้างขอความร่วมมือนักเรียนในการไปในโอกาสต่างๆ เช่น การเสริฟน้ำดื่มในการวิ่งมาราธอน เล่นดนตรีในการเปิดตลาดนัดของเทศบาล ทั้งร่วมนำวงดุริยางค์ร่วมเดินรณรงค์กับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง กิจกรรมการแข่งขันกีฬาอำเภอเมือง การทำงานต่างๆ ที่ครูมอบหมายให้ ซึ่งนักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ไม่นิ่งดูดายเมื่อเห็นเพื่อนทำงาน แม้ว่าจะไม่ใช่งาน ที่ตนรับผิดชอบ ฝึกปฏิบัติกิจกรรมทักษะชีวิตที่เสนอปัญหาวิกฤตในสังคมปัจจุบันตามวุฒิภาวะของผู้เรียน มีขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ จากสภาพปัญหาในท้องถิ่น การเสนอกิจกรรมให้ผู้เรียนจัดทำชิ้นงานที่แสดงความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักแก้ปัญหา ได้อย่างมีเหตุผลโดยเฉพาะด้านการรักการอ่าน การเขียน การแสดงออก ด้วยเหตุผลที่เกิดจากการไตร่ตรอง การสรุปประเด็นที่เกิดจากการอ่าน การทดลอง จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง ฝึกแก้ปัญหาวิเคราะห์ปัญหา มีการจัดทำรายงาน โครงงาน ชิ้นงาน แฟ้มสะสมงาน ใบงาน ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะ การคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง อย่างมีเหตุผล รอบคอบ ฝึกให้นักเรียนได้คิดตัดสินใจอย่างมีเหตุผล โดยกำหนดประเด็นปัญหาในการฝึกกิจกรรมทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับปัญหาในชีวิตประจำวัน มีการฝึกปฏิบัติกิจกรรมทักษะชีวิตที่เสนอปัญหาวิกฤตในสังคมปัจจุบันตามวุฒิภาวะของผู้เรียน มีการแนะนำการศึกษาต่อให้กับนักเรียนชั้น ป.๖ และ ม.๓ การได้รับทุนการศึกษาเมื่อนักเรียนชั้น ป.๖ และ ม.๓ สอบเข้าเรียนต่อในโรงเรียนประจำจังหวัดโดยได้รับทุนละ ๑๐,๐๐๐ บาท จากนายกเทศบาลเมืองท่าช้างร่วมกับพ่อค้า ประชาชน

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1G61o1lHXrGO8gpiDUey8Qf9WrVMmQO0R/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1O4YuyHKBBEMcNdhvwSlw58AmFpWx1Esz/view?usp=sharinghttps://drive.google.com/file/d/1MQuqlmwRjecqu5q1__NiZbuGI1cQ7P2G/view?usp=sharing