รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดสิงห์

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

          ในปีการศึกษา  2563  ผู้บริหารสถานศึกษา 1  คน ข้าราชการครู 11 คน   พนักงานราชการ 1 คน  ตำแหน่งนักการภารโรง  จำนวน  1  คน ธุรการ จำนวน 1 คน  นักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน  87 คน ระดับประถมศึกษา จำนวน  140 คน  รวมทั้งสิ้น 227  คน มีผลการทดสอบระดับชาติของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สูงกว่าระดับชาติ  จำนวน 2 กลุ่มสาระ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ในปีงบประมาณ 2563 มีงบประมาณในการบริหารจัดการศึกษาในภาพรวมเป็นจำนวนเงิน 1,689,211  บาท ในปี พ.ศ. 2554  ได้รับการประเมินจากหน่วยงานภายนอกมีผลการประเมินอยู่ในระดับ - ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปรากฏผลดังนี

 1.ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ดังนี้

มาตรฐานการศึกษา

ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

ดีมาก

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดีมาก

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ดี

สรุประดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ดีมาก

2. ผลการดำเนินงาน
ครูมีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้เพราะครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องโดยเข้ารับการอบรมตามโครงการต่างๆตามที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด  และการอบรมจากหน่วยงานอื่น  สามารถนำความรู้ ทักษะที่ได้รับมาพัฒนาการเรียนการสอนในห้องเรียน  และใช้กระบวนการ PLC ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหาของนักเรียนในห้องเรียน  โรงเรียนมีความพร้อมทั้งสาธารณูปโภค และอุปกรณ์การเรียนการสอน สื่อ เทคโนโลยี สัญญาณ Internet สามารถใช้จัดการเรียนการสอน มีเครื่องคอมพิวเตอร์  เครื่องโปรเจคเตอร์ เครื่องปริ้นเตอร์ หนังสือเรียน หนังสือเสริม สื่อวัสดุอุปกรณ์เพียงพอกับนักเรียนทุกห้องเรียน  จัดให้มีสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนที่สะอาด  ร่มรื่น ภายในห้องเรียนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด เอื้อต่อการเรียนรู้  ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนอยู่ในระดับดีเลิศ มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนอยู่ในระดับดีเลิศ  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ เช่น ทักษะการสืบค้น การใช้เทคโนโลยีแสวงหาความรู้อีกทั้งมีคุณธรรม มีระเบียบวินัย  มีมารยาทและปฏิบัติตนตามวิถีไทย  วิถีชุมชนและท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมีน้ำหนัก ส่วนสูง และสมรรถนะตามเกณฑ์ มีสุขภาพจิตดี มีทักษะชีวิต ทักษะในการเล่นกีฬา  ส่งผลให้นักเรียนมีผลการเรียนที่น่าพอใจ ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นส่งบุตรหลานมาเรียนมากขึ้นทุกปีและให้การสนับสนุนพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน

แผนปฏิบัติงานที่ 1 โครงการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้

 

แผนปฏิบัติงานที่ 2 โครงการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาการอ่าน-เขียน คิดวิเคราะห์

                               และการคิดคำนวณ

แผนปฏิบัติงานที่ 3 โครงการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ กิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการคิด

แผนปฏิบัติงานที่ 4 โครงการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ กิจกรรมทักษะชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

แผนปฏิบัติงานที่ 1 โครงการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ กิจกรรมจัดทำข้อมูล สารสนเทศ อย่างเป็นระบบ

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

แผนปฏิบัติงานที่ 1 โครงการส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย

แผนปฏิบัติงานที่ 2 โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

            โรงเรียนวัดสิงห์(วรประสิทธิ์วิทยา) ตั้งอยู่เลขที่153 หมู่ 1 ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 22000อีเมล Watsing2482@gmail.com เป็นโรงเรียนขนาดกลางเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี นางนิตยา วัฒฐานะ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน หมายเลขโทรศัพท์ 081 781 3718

เขตบริการจัดการศึกษาในเขตบริการตำบลบ่อพุ อำเภอท่าใหม่ หมู่ 1,2,3,4,5,6,7,8 ตำบลสีพยา อำเภอท่าใหม่ หมู่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11 ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง หมู่ 2,3,5,6,7,8 ภาพรวมสภาพชุมชนมีลักษณะดังนี้

1) สภาพชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนมีลักษณะสวนผลไม้มีประชากรโดยรวมประมาณ 1,400 ครอบครัว ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทำสวน (70%) สภาพฐานะทางเศรษฐกิจโดยรวมฐานะปานกลาง และส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ(90%) ในชุมชนมีประเพณี/วัฒนธรรมท้องถิ่นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ตักบาตรเทโว (เข้าพรรษา)

2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำสวน(70%) มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัวปีละ 23,000 บาท ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (90%) จำนวนคนในครอบครัวของผู้ปกครองโดยเฉลี่ยครอบครัวละ 4 คน และมีผู้ปกครอง ที่มีความสามารถเป็นวิทยากร /ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ 10 คน

3) โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียนเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับเขตอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี แต่นักเรียนส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาในเขตอำเภอท่าใหม่ จันทบุรีจึงทำให้ขาดการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตที่โรงเรียนตั้งอยู่ จึงเป็นผลให้โรงเรียนวัดสิงห์ฯ ขาดงบประมาณในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์

ภายในปี 2568 โรงเรียนวัดสิงห์ฯ มีระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาผู้เรียนตามศตวรรษที่ 21 มีความรู้คู่คุณธรรม รักความเป็นไทย เน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสู่ความสำเร็จ ตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ (Mission)

1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษา มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และมีคุณลักษณะของเยาวชนในศตวรรษที่ 21

2. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้เทียบเคียงมาตรฐาน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย

3. ปลูกฝังผู้เรียนให้ มีวินัย มีคุณธรรม รักความเป็นไทย ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีจิตสาธารณะ ตามพระบรมราโชบาย รัชกาลที่ 10 มีความเป็นพลเมืองดี

4. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นครูมืออาชีพ สามารถ จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

5. พัฒนาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพ

6. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสื่อเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

7. สร้างภาคีเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา

 

เป้าประสงค์ (Objective)

1. ผู้เรียนให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษา มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณและมีคุณลักษณะของเยาวชนในศตวรรษที่ 21

2. ผู้เรียน มีวินัย มีคุณธรรม รักความเป็นไทย ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีจิตสาธารณะ ตามพระบรมราโชบาย รัชกาลที่ 10 มีความเป็นพลเมืองดี

3. ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นครูมืออาชีพ สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

4. โรงเรียนมีหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

5. โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ที่มีประสิทธิภาพ ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้

6. โรงเรียนมีภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาการจัดการศึกษา

 

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา

นักเรียนโรงเรียนวัดสิงห์ "สุภาพ แจ่มใส วินัยดี”

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา

สืบสาน เศรษฐกิจพอเพียง

 

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 11 1 0 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

สัดส่วนเละเวลาเรียน (ชั่วโมง )

ป. 1

ป. 2

ป. 3

ป. 4

ป. 5

ป. 6

กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

คณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประวัติศาสตร์

สุขศึกษาและพลศึกษา

ศิลปะ

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ภาษาต่างประเทศ

 

200

200

40

40

40

40

40

40

200

 

200

200

40

40

40

40

40

40

200

 

200

200

40

40

40

40

40

40

200

 

160

160

80

80

40

80

80

80

80

 

160

160

80

80

40

80

80

80

80

 

160

160

80

80

40

80

80

80

80

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

840

840

840

840

840

840

รายวิชาเพิ่มเติม

- การป้องกันการทุจริต

 


40

 


40

 


40

 


40

 


40

 


40

รวมเวลาเรียน(เพิ่มเติม)

40

40

40

40

40

40


กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

สัดส่วนเละเวลาเรียน (ชั่วโมง )

ป. 1

ป. 2

ป. 3

ป. 4

ป. 5

ป. 6

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมแนะแนว

กิจกรรมนักเรียน

- กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี

- กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

- กิจกรรมจากวิทยากรภายนอกเรียนรู้สู่อาชีพ

«ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 จุลินทรีย์รักษ์โลก

«ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ผลิตน้ำยาทำความสะอาด

 

40

 

30

10

40

 

 

 

40

 

30

10

40

 

 

40

 

30

10

40

 

 

40

 

30

10

40

 

 

40

 

30

10

40

 

 

40

 

30

10

40

 

รวมเวลาเรียนทั้งหมด

1,000 ชั่วโมง/ปี

หมายเหตุ วิชาหน้าที่พลเมืองบูรณาการกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

 

 


 


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ปัจจุบันโรงเรียนมีอาคารต่างๆ ดังนี้

อาคารเรียน 2 หลัง อาคารประกอบ 3 หลัง

อาคารเรียน แบบ ป.3 1 หลัง 5 ห้องเรียน

แบบ 008 1 หลัง 9 ห้องเรียน

โรงฝึกงาน แบบสามัญ 1 หลัง

ส้วม ช.ญ.ขนาด 12 ที่นั่ง มีที่ปัสสาวะชาย 6 ที่และที่ปัสสาวะหญิง 6 ที่

ส้วม แบบ สปช.601/2526 ขนาด 4 ที่นั่ง

ห้องเรียน ห้องพิเศษ

ห้องเรียนปฐมวัย จำนวน 3 ห้อง

ห้องเรียน ป.1 - ป.6 จำนวน 6 ห้อง

ห้องพิเศษ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องธุรการ ห้องปฏิบัติการโครงการอาหารกลางวัน

ห้องดนตรี ห้องสื่อ ห้องสมุด ห้องประชุม ห้องพอเพียง

หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ภายในและแหล่งเรียนรู้ภายนอกของโรงเรียนวัดสิงห์ฯ
แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายใน

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

1. โรงอาหาร
2. สนามเด็กเล่น
3. อาคารเอนกประสงค์
4. ห้องน้ำ
5. ห้องสมุด
6. ห้องคอมพิวเตอร์
7. ห้องพยาบาล
8. แปลงผักสวนครัว
9. ป้ายนิเทศประจำห้อง
10. ห้องดนตรี
11. ห้องสื่อ
12. ห้องสหกรณ์
13. สวนพอเพียง(สวนทุเรียน,สวนกล้วย)
14. ห้องพอเพียง(การทำจุลินทรีย์,ห้องอุปกรณ์ทำความสะอาด

200
200
200
200
400
200
100
200
200
200
95
200
200

100

 

 

แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

สถิติการใช้
จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

1.วัดพลับ 
2. พิพิธภัณฑ์พาณิชย์นาวี(ค่ายเนินวง)
3.วัดเขาพลอยแหวน,วัดโยธานิมิตร
4. ศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนในโครงการพระราชดำริ

1
1
1
1

 


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

                สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้ในแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความพร้อม และมีพัฒนาการที่ดีขึ้นทั้ง 4 ด้านสมวัย ได้แก่ ด้านร่างกาย ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง มีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมกลางแจ้ง การเล่นเกม การออกกำลังกาย และเล่นอิสระ โดยสร้างข้อตกลงร่วมกันให้เด็กปฏิบัติตาม เพื่อการสร้างสุขนิสัยที่ดี มีการดูแลสุขภาพของตนเองจากโรคภัยไข้เจ็บ การปฏิบัติสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตน การช่วยเหลือตนเอง ตรวจสุขภาพเด็กแนะนำอาหารที่มีประโยชน์ กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำสะอาด ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงทุกเดือน เพื่อเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็ก แปรงฟันทุกวันก่อนเข้านอน ร่วมกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดของโรงเรียน ด้านอารมณ์ จิตใจ ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหวลักษณะต่าง ๆ เปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองให้เด็กได้เลือกเล่นตามมุมที่ชอบของตนเอง จัดกิจกรรมสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ด้านสังคม ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในสังคม จัดให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่เปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมต่างด้วยตนเอง ครูเป็นแบบอย่างให้เด็กในการมาปฏิบัติงานตรงตามเวลาแต่งกายสุภาพ ใช้กริยาวาจาสุภาพ ฝึกให้เด็กรู้จักการไหว้การกล่าวขอบคุณเมื่อผู้ใหญ่ให้ของ รู้จักขอโทษเมื่อทำผิด รู้จักแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่น ไม่นำของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง รู้จักอดออม ประหยัด และพอเพียง ฝึกให้เด็กสวดมนต์ไหว้พระและปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ เปิดโอกาสให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา ให้เด็กได้เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ด้านสติปัญญา ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่าถึงสิ่งต่าง ๆ เช่นการเล่าข่าวหน้าห้องเรียน จัดกิจกรรมให้เด็กได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์การทดลองวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองและคิดอย่างอิสระ ส่งเสริมให้เด็กได้อ่านนิทาน จัดมุมหนังสือในห้องเรียน จัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการ เช่นการวาดภาพตามจินตนาการ การระบายสีภาพ จัดกิจกรรมกลางแจ้ง ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ แสดงท่าทางประกอบเพลง จังหวะดนตรี ตามความสนใจ

ผลการดำเนินงาน  

                 เด็กมีพัฒนาการสมวัยทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยด้านร่างกาย เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัยมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ใช้กล้ามเนื้อใหญ่แข็งแรงเหมาะสมกับวัย ทรงตัวได้ดี ใช้กล้ามเนื้อเล็กและประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาได้เหมาะสมกับวัย สามารถหยิบจับสิ่งของได้ด้วยตนเอง เล่น และทำกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย สามารถดูแลรักษาสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ และสิ่งเสพติด ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพฤติกรรมที่กล้าแสดงออกทางอารมณ์ จิตใจ และมีความรู้สึกที่เหมาะสมกับวัย ร่าเริง แจ่มใส มีความสุข มี


ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก และควบคุมการแสดงออกได้เหมาะสมกับวัย เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนชื่นชมศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหวและรักธรรมชาติ ด้านสังคม เด็กมีพฤติกรรมการแสดงออกด้านสังคมได้อย่างเหมาะสมกับวัยโดยมีวินัย มีความรับผิดชอบ เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ผู้ปกครองและครู มีความซื่อสัตย์สุจริต ช่วยเหลือแบ่งปันเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทย และศาสนาที่ตนนับถือได้อย่างเหมาะสมกับวัย ด้านสติปัญญา เด็กสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวกล้าที่จะซักถามอย่างตั้งใจ รักการเรียนรู้ มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1qGxE9O9hQB6RmXx0KvnET28tRug5ijsE/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาและจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผน ร่วมกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนา ตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน ผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน  

 

2.1 ในด้านเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจนนั้น สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจไว้อย่างชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นไปได้ในการปฏิบัติทันต่อการเปลี่ยนแปลง สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยความร่วมมือของความเกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีการนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและเป็นแบบอย่างได้ มีการดำเนินงานพัฒนางานวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมายเชื่อมโยงกับชีวิตจริงและเป็นแบบอย่างได้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญตามวิชาชีพตรงกับความต้องการของครูและสถานศึกษา

2.2 ในเรื่องของการจัดสภาพแวดล้อม มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย

2.3 ในด้านการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้นั้นสถานศึกษามีการจัดระบบการจัดหาการพัฒนาและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา


 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/10AIhW8KF_54t_ZEsdlY-8ZcJHktWw3IC/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

                สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา มีการบูรณาการภาระงาน ชิ้นงาน โดยทุกระดับชั้นจัดทำหน่วยบูรณาการ เศรษฐกิจพอเพียงกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ มีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำข้อมูลและผลจากการวิเคราะห์มาออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดประเมินผลที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ครูใช้ผลจากการประเมินผู้เรียนมาทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ มีการจัดบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตรงตามความรู้ประสบการณ์และความถนัด และจัดการเรียนการสอนในวิชาที่ได้รับอย่างเต็มเวลาและความสามารถ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี สื่อ ICT DLTV DLIT สื่อ 60 พรรษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียนภาคเรียนละ 1 เรื่อง ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองในด้านจัดการเรียนการสอนและพัฒนาตนเองเสมอ มีสวัสดิการบำรุงขวัญและกำลังใจให้แก่ครูทุกคน

ผลการดำเนินงาน  

ผลการพัฒนา

                จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมาย คุณภาพผู้เรียนมีความรู้ทั้งด้านความรู้ทักษะ กระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ทั้งด้านพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ด้านการอ่านออกเสียง การขีดเขียน การคัดกรองความบกพร่องทางการเรียนรู้และการเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อดูสภาพความเป็นอยู่และให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีความยากจน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการจัดการศึกษา ให้ทุกคนได้รับโอกาส มีสิทธิเท่าเทียมกัน ทำให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อ DLTV DLIT สื่อ 60 พรรษา มาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียน ครูผู้สอนมีงานวิจัยในชั้นเรียนและนำผลของงานวิจัยนั้นไปพัฒนาการเรียนการสอน ส่งผลให้การจัดการสอนของครูครอบคลุมทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1s_5PYmoC6ujg7eC99K-76MWhktoeC9MP/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
        สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้ในแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความพร้อม และมีพัฒนาการที่ดีขึ้นทั้ง 4 ด้านสมวัย ได้แก่ ด้านร่างกาย ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง มีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมกลางแจ้ง การเล่นเกม การออกกำลังกาย และเล่นอิสระ โดยสร้างข้อตกลงร่วมกันให้เด็กปฏิบัติตาม เพื่อการสร้างสุขนิสัยที่ดี มีการดูแลสุขภาพของตนเองจากโรคภัยไข้เจ็บ การปฏิบัติสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตน การช่วยเหลือตนเอง ตรวจสุขภาพเด็กแนะนำอาหารที่มีประโยชน์ กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำสะอาด ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงทุกเดือน เพื่อเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็ก แปรงฟันทุกวันก่อนเข้านอน ร่วมกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดของโรงเรียน ด้านอารมณ์ จิตใจ ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหวลักษณะต่าง ๆ เปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองให้เด็กได้เลือกเล่นตามมุมที่ชอบของตนเอง จัดกิจกรรมสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ด้านสังคม ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในสังคม จัดให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่เปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมต่างด้วยตนเอง ครูเป็นแบบอย่างให้เด็กในการมาปฏิบัติงานตรงตามเวลาแต่งกายสุภาพ ใช้กริยาวาจาสุภาพ ฝึกให้เด็กรู้จักการไหว้การกล่าวขอบคุณเมื่อผู้ใหญ่ให้ของ รู้จักขอโทษเมื่อทำผิด รู้จักแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่น ไม่นำของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง รู้จักอดออม ประหยัด และพอเพียง ฝึกให้เด็กสวดมนต์ไหว้พระและปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ เปิดโอกาสให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา ให้เด็กได้เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ด้านสติปัญญา ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่าถึงสิ่งต่าง ๆ เช่นการเล่าข่าวหน้าห้องเรียน จัดกิจกรรมให้เด็กได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์การทดลองวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองและคิดอย่างอิสระ ส่งเสริมให้เด็กได้อ่านนิทาน จัดมุมหนังสือในห้องเรียน จัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการ เช่นการวาดภาพตามจินตนาการ การระบายสีภาพ จัดกิจกรรมกลางแจ้ง ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ แสดงท่าทางประกอบเพลง จังหวะดนตรี ตามความสนใจ
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
        โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาและจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผน ร่วมกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนา ตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน ผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด้กเป็นสำคัญ
        สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา มีการบูรณาการภาระงาน ชิ้นงาน โดยทุกระดับชั้นจัดทำหน่วยบูรณาการ เศรษฐกิจพอเพียงกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ มีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำข้อมูลและผลจากการวิเคราะห์มาออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดประเมินผลที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ครูใช้ผลจากการประเมินผู้เรียนมาทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ มีการจัดบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตรงตามความรู้ประสบการณ์และความถนัด และจัดการเรียนการสอนในวิชาที่ได้รับอย่างเต็มเวลาและความสามารถ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี สื่อ ICT DLTV DLIT สื่อ 60 พรรษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียนภาคเรียนละ 1 เรื่อง ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองในด้านจัดการเรียนการสอนและพัฒนาตนเองเสมอ มีสวัสดิการบำรุงขวัญและกำลังใจให้แก่ครูทุกคน
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
               เรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย เด็กมีความมั่นใจในตนเอง และกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัย และสถานการณ์ ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นมีเหตุผล ยิ้มแย้มร่าเริงแจ่มใส เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้ รู้จักการรอคอย มีความรับผิดชอบ มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่นทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้ เด็กสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยความตั้งใจ ซักถามเพื่อค้นหาความรู้ในสิ่งที่อยากรู้อย่างตั้งใจ สามารถใช้ภาษาสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ รับรู้โดยการสังเกต สงสัย ถามคำถาม คาดคะเนคำตอบ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ การประชุมแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่นการประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่มที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษาเพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพ สภาพปัญหาความต้องการพัฒนาการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา การบริหารอัตรากำลัง มีการระดมทรัพยากรมาสนับสนุนการศึกษาในสาขาวิชาเอกที่ขาดแคลน ครูมีความมุ่งมั่น เสียสละเวลา ทำงานเต็มกำลัง เต็มความสามารถ ด้านสภาพแวดล้อมมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน ปลอดภัยด้านสื่อเทคโนโลยีมีการสนับสนุนสื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ผ่านระบบICTที่ทันสมัยทันเหตุการณ์

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด้กเป็นสำคัญ
ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการเรียนการสอน โดยนำความรู้ที่ได้จากการอบรมพัฒนามาจัดกิจกรรมค่ายบูรณาการ ให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิด ได้ปฏิบัติจริง มีการใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ทุกห้องเรียนมีสื่อICTมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน ครูใช้สื่อICTบูรณาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โรงเรียนมีบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย น่าอยู่ น่าเรียน ผลงานวิจัยในชั้นเรียนของครูทุกคนได้รับการตรวจประเมินพร้อมทั้งให้คำแนะนำจากศึกษานิเทศก์และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1iqAIUl4G7vuIAHyHUCzOAgR71axxZaRw/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

               โรงเรียนได้จัดทำโครงการส่งเสริมความสามารถและทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรของนักเรียนประถม มีกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การอ่าน - เขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (RT) ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติ(NTระดับชั้นป3และO-NETระดับชั้น ป.6) สร้างทักษะให้ผู้เรียนมีทักษะ การอ่าน การคิด การวิเคราะห์และการเขียน ฝึกทักษะการสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดประเภทต่าง ๆ สร้างนวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สร้างความตระหนักด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดแก่ผู้เรียนรวมทั้งสุขภาวะทางร่างกาย อารมณ์ และการอยู่รวมกันอย่างมีความสุขในสังคม

ผลการดำเนินงาน  

ผลการพัฒนา

               ผลการประเมินผู้เรียนทางด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการสูงกว่าเป้าหมายของสถานศึกษาที่กำหนดไว้ นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 77 ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียนสูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับประเทศ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 89.39 ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการประเมินความสามารถทั้งสองด้านของผู้เรียนสูงกว่าระดับประเทศ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 46.39 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการทดสอบของผู้เรียนสูงกว่าสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 43.55 ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน เขียน สื่อสาร และการคิดคำนวณ มีการทดสอบการอ่าน การเขียน ทุกระดับชั้น เพื่อพัฒนาผู้เรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ครูผู้สอนจัดให้มีการซ่อมเสริม จัดหา/ผลิตและพัฒนาสื่อนวัตกรรม มีการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ ให้ผู้เรียนสามารถสรุปความคิดจาก เรื่องที่อ่าน ฟัง ดู และสื่อสารด้วยการพูดหรือเขียนตามความคิดมีการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทำงานกลุ่ม การอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแสดงความคิดเห็นและแก้ปัญหาร่วมกัน การสรุปความรู้ ผ่านกระบวนการของแผนผังความคิด ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง เช่นการสืบค้นหาข้อมูลความรู้จากอินเตอร์เน็ต โปรแกรม paint มีความรู้และทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่ออาชีพ เช่น กิจกรรมลดเวลาเรียน การปลูกผักการทำผ้ามัดย้อม /ผ้าบาติก การทำขนม การเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า การทำน้ำยาทำความสะอาดมีการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนดและสอดแทรกในกิจวัตรประจำวันของนักเรียน เพื่อปลูกฝัง และพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความรู้คุณธรรม มีคุณลักษณะที่ดีนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสังคม ซึ่งการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น ต้องใช้ข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรม ตามสภาพจริงและตามแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่นเห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาไทย จากการประเมินการแต่งกาย การมีสัมมาคารวะ การร่วมกิจกรรม และอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น การจัดกิจกรรมต่าง ๆ รายงานผลพร้อมภาพถ่าย เช่น กิจกรรมวันเข้าพรรษา กิจกรรมวันภาษาไทย กิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ ผู้เรียนรู้จักยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง และหลากหลาย เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โดยประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน การเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานของผู้เรียนด้านสภาวะทางร่างกายและจิตสังคม มีการตรวจสุขภาพ และชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อติดตามภาวะ การเจริญเติบโตเมื่อพบว่าผู้เรียนมีปัญหาทุพโภชนาการ ได้จัดให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร และออกกำลังกายผู้เรียนมีการออกกำลังกายทุกวันอังคารของสัปดาห์ และได้รับวัคซีนป้องกันโรค การตรวจสุขภาพในช่องปากจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกะจะ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1ZpduRbs2EVhbydSSy1Iia3B7LX8eloce/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

               สร้างทักษะให้ผู้เรียนมีทักษะ การอ่าน การคิด การวิเคราะห์และการเขียน ฝึกทักษะการสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดประเภทต่าง ๆ สร้างนวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สร้างความตระหนักด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดแก่ผู้เรียนรวมทั้งสุขภาวะทางร่างกาย อารมณ์ และการอยู่รวมกันอย่างมีความสุขในสังคม

ผลการดำเนินงาน              ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด มีผลการประเมินในระดับดีเลิศ มีความภูมิใจในท้องถิ่นเห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาไทย มีสัมมาคารวะ เข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ และอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น รู้จักยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลายเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีทักษะการออกกำลังกายและมีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1ZpduRbs2EVhbydSSy1Iia3B7LX8eloce/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

               โรงเรียนวัดสิงห์ฯ (วรประสิทธิ์วิทยา) ได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาโดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดสิงห์ (วรประสิทธิ์วิทยา) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาพร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดให้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน ผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน


ผลการดำเนินงาน  

ผลการพัฒนา

                จากที่โรงเรียนวัดสิงห์ฯ มีกระบวนการบริหารและการจัดการที่ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและนโยบายของรัฐ สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชนท้องถิ่นและวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นไปได้ในการปฏิบัติด้านต่อการเปลี่ยนแปลง โดยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา สถานศึกษาได้นำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่องซึ่งรวมถึงงานวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน เชื่อมโยงกับชีวิตจริงโดยการจัดให้มีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นผลทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง มีทักษะที่นำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด ปลอดภัย ทำให้นักเรียนมีความสุขกายสุขใจส่งผลต่ออารมณ์สังคมความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้ สถานศึกษาได้ใช้ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการและการเรียนรู้ ได้อย่างเหมาะสมทันสมัย

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1TouUSrJu7Ih-nl0Oe9iMjfJFUOASymka/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

                สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา มีการบูรณาการภาระงาน ชิ้นงาน โดยทุกระดับชั้นจัดทำหน่วยบูรณาการ เศรษฐกิจพอเพียง ปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วยกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ มีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลโดยนำข้อมูลและผลจากการวิเคราะห์มาออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ใช้สื่อเทคโนโลยี ที่ทันสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดประเมินผลที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง มีการจัดบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตรงตามความรู้ประสบการณ์และความถนัดจัดการเรียนการสอนในวิชาที่ได้รับอย่างเต็มเวลาและความสามารถสนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเองจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี สื่อ ICT DLTV สื่อ 60 พรรษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียนภาคเรียนละ 1 เรื่อง มีโครงการส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรครูทุกกลุ่มสาระพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองในด้านจัดการเรียนการสอนและพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ มีสวัสดิการเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่ครูทุกคน

ผลการดำเนินงาน  

ผลการพัฒนา

               จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อพัฒนาให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญส่งผลให้ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนมีความรู้ทั้งด้านความรู้ทักษะ กระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ทั้งด้านการอ่าน เขียน การคัดกรองความบกพร่องทางการเรียนรู้และการเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อดูสภาพความเป็นอยู่และให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีความยากจน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการจัดการศึกษาให้ทุกคนได้รับโอกาส มีสิทธิเท่าเทียมกัน ทำให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการสอนซ่อมเสริมผู้เรียน โดยทำแผน IEP เพื่อพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงมีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อ DLTV DLIT สื่อ 60 พรรษา มาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชา มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียน ครูทุกคนยังมีงานวิจัยในชั้นเรียนและนำผลของงานวิจัยนั้นไปพัฒนาการเรียนการสอน ส่งผลให้การจัดการสอนของครูครอบคลุมทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1l1ME2Y-mysstDl-P0_lxjyMF_wi-qb13/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
  มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
                     

โรงเรียนได้จัดทำโครงการส่งเสริมความสามารถและทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรของนักเรียนประถม มีกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การอ่าน - เขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (RT) ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติ(NTระดับชั้นป3และO-NETระดับชั้น ป.6) สร้างทักษะให้ผู้เรียนมีทักษะ การอ่าน การคิด การวิเคราะห์และการเขียน ฝึกทักษะการสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดประเภทต่าง ๆ สร้างนวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สร้างความตระหนักด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดแก่ผู้เรียนรวมทั้งสุขภาวะทางร่างกาย อารมณ์ และการอยู่รวมกันอย่างมีความสุขในสังคม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

                โรงเรียนวัดสิงห์ฯ (วรประสิทธิ์วิทยา) ได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาโดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดสิงห์ (วรประสิทธิ์วิทยา) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาพร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดให้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน ผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 

                 สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา มีการบูรณาการภาระงาน ชิ้นงาน โดยทุกระดับชั้นจัดทำหน่วยบูรณาการ เศรษฐกิจพอเพียง ปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วยกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ มีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลโดยนำข้อมูลและผลจากการวิเคราะห์มาออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ใช้สื่อเทคโนโลยี ที่ทันสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดประเมินผลที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง มีการจัดบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตรงตามความรู้ประสบการณ์และความถนัดจัดการเรียนการสอนในวิชาที่ได้รับอย่างเต็มเวลาและความสามารถสนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเองจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี สื่อ ICT DLTV สื่อ 60 พรรษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียนภาคเรียนละ 1 เรื่อง มีโครงการส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรครูทุกกลุ่มสาระพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองในด้านจัดการเรียนการสอนและพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ มีสวัสดิการเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่ครูทุกคน


 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียนสูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับประเทศ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ89.39ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่3ผลการประเมินความสามารถทั้งสองด้านของผู้เรียนสูงกว่าระดับประเทศ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ46.39ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่6ผลการทดสอบของผู้เรียนสูงกว่าสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)มีค่าเฉลี่ยร้อยละ43.55มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศในกลุ่มสาระภาษาไทยและคณิตศาสตร์ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 77 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของที่สถานศึกษากำหนด

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

1.โรงเรียนมีผู้อำนวยการที่มีความรู้ความสามารถ บริหารจัดการงานในด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและ

รวดเร็วมีคุณภาพ สามารถระดมทรัพยากรจากชุมชนและหน่วยงานอื่น ๆ มาพัฒนาโรงเรียน

2. บุคลากรของโรงเรียนมีการพัฒนาตนเองในด้านความรู้และผลิตสื่อการสอนที่ทันสมัยเพื่อให้นักเรียนเกิด

ความรู้ความเข้าใจ

3.ผู้อำนวยการโรงเรียนเห็นความสำคัญเกี่ยวกับสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยภายในห้องเรียนทุกชั้นเรียน

4.บุคลากรในโรงเรียนมีความเสียสละ อุทิศเวลาทำงานเต็มกำลังความสามารถ

5.ผู้อำนวยการโรงเรียนมีการสนับสนุนให้วิทยากรท้องถิ่นมาให้ความรู้แก่ครูและนักเรียนในด้านทักษะอาชีพ

ทำให้เกิดรายได้

6.โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีคุณภาพมีการจัดหาทุนให้นักเรียนครบทุกคน และมีสิ่งอำนวย

ความสะดวกให้แก่นักเรียน(รถรับส่งนักเรียน น้ำดื่ม ห้องน้ำห้องส้วม ที่แปรงฟันและโรงอาหารที่ถูก

สุขลักษณะ)

7.โรงเรียนมีการจัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ สนามเด็กเล่น

สะอาดน่าเรียน น่าอยู่ ปลอดภัย

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการเรียนการสอน โดยแสวงหาความรู้ สื่อ นวัตกรรมที่ทันสมัยเพื่อนำมาใช้จัดการเรียนการสอนอยู่เสมอ ทั้งยังเข้ารับการอบรมออนไลน์เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้เพิ่มเติม นำความรู้มามาจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิด วิเคราะห์ฝึกทักษะการแก้ปัญหาทำงานเป็นทีม จัดการเรียนรู้การสอนโดยให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง มีการใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ครูมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความถนัดของผู้เรียน เช่น การทำขนม การจัดสวนถาด การทำน้ำยาอเนกประสงค์ จนทำให้ผู้เรียนมีศักยภาพสามารถแข่งขันทักษะทางวิชาการได้รับรางวัลเหรียญทองระดับชาติด้านเทคโนโลยีโรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ทุกห้องเรียนมีสื่อICTมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนครูใช้สื่อICTบูรณาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โรงเรียนมีบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย น่าอยู่ น่าเรียน



                   
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1EiFcbfE6e8nuj1Znx3AX0EjzN1MNahEA/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1DF3W5MXlzgpuDYMj3st59RCLecOuElnD/view?usp=sharing