รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดพลับ

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

โรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ)ตั้งอยู่เลขที่ 108 หมู่ 4 ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 เปิดจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ) มีจำนวนนักเรียนระดับอนุบาล 1 ถึงอนุบาล 3 จำนวน 18 คนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 42คน รวมทั้งหมด ๖๐ คน มีบุคลากรสายบริหาร จำนวน 1 คน และมีข้าราชการครูครูอัตราจ้างและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวน 6 คน ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ) ซึ่งปรากฏผลการประเมินตนเอง ดังนี้

ระดับปฐมวัย ในภาพรวมมีระดับคุณภาพ ดี โดยมีกระบวนการพัฒนาเด็กตามหลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ครูวางแผนการจัดประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กได้อย่างเหมาะสม และบรรลุผลตามจุดหมายที่กำหนดจัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิตจัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก สร้างความรู้ความเข้าใจให้ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู/และบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ทักษะในการอบรมเลี้ยงดูส่งเสริมการเรียนรู้รวมถึงปลูกฝังคุณธรรมแก่เด็กปฐมวัยรวมถึงการเลือกใช้นวัตกรรมและสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ห้องเรียนและสภาพแวดล้อม สะอาด ปลอดภัย โดยทุกห้องเรียนมีการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมรูปแบบใหม่ NEW DLTV เพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูใช้ประโยชน์ ในการจัดประสบการณ์แก่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะครูได้รับการพัฒนาด้วยการอบรม/สัมมนา ศึกษาดูงาน ส่งผลให้ครูจัดประสบการณ์โดยใช้สื่อของจริง สื่อจำลอง สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ จัดกิจกรรมวันสุนทรภู่ กิจกรรมวันเข้าพรรษา กิจกรรมในวันแม่แห่งชาติ กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ กิจกรรมช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน กิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย ครูมีการนำผลสัมฤทธิ์ของเด็กตามจุดประสงค์ของการจัดประสบการณ์ การตอบสนองของผู้เรียนต่อการจัดประสบการณ์ ข้อสังเกตเกี่ยวกับสื่อ การออกแบบการจัดประสบการณ์ และลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก แล้วนำผลที่บันทึกนี้มาใช้ในการปรับแผนการจัดประสบการณ์ในวันต่อๆ ไปให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นตรวจสอบ และประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างสม่ำเสมอและนำผลการประเมินมาปรับปรุงเด็กตามศักยภาพของแต่ละคน

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีระดับคุณภาพ ดี โรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ) มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบ การระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก และเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ ตั้งแต่ระดับชั้น ป.๑ พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน ทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน และตามนโยบายของผู้บริหารเรื่อง "ค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการกิจกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนโดยการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอน และมีการเรียนรู้ในโลกกว้าง การเข้าไปศึกษากับภูมิปัญญาในชุมชนรอบๆ สถานศึกษา จัดกิจกรรมดนตรีไทย ส่งเสริมการออกกำลังกาย และเพิ่มเวลารู้เรื่องอาชีพ ในส่วนกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และนักเรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น โรงเรียนได้ดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตร มีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริง จนสามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง 

 

 

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

 โครงการระดับปฐมวัย

1. โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

2.โครงการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

3. โครงการ เสริมประสบการณ์ความรู้และทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย

4.โครงการวันสำคัญ

5. โครงการสื่อสร้างสรรค์

6. โครงการปรับปรุงหลักสูตรปฐมวัย

7.โครงการพัฒนาครูปฐมวัย

8. โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา

9. โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

โครงการระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. โครงการยกระดับภาษาอังกฤษ

2. โครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

3. โครงการห้องสมุดโรงเรียน

4. โครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

5. โครงการ 1 โรงเรียน 1 อาชีพ 1 ผลิตภัณฑ์

6. โครงการอาหารกลางวัน

7. โครงการวันสำคัญ

8. โครงการสนับสนุนกิจกรรมประชาธิปไตย

9. โครงการห้องเรียนสีขาว โรงเรียนสีขาว

10. โครงการโรงเรียนคุณธรรม

11. โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ

12. โครงการเศรษฐกิจพอเพียง

13. โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

14. โครงการส่งเสริมพัฒนาครู

15. โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์อาคารสถานที่

16. โครงการวิจัยในชั้นเรียน

17. โครงการส่งเสริมกิจกรรมวิชาการ

18. โครงการพัฒนาความสามารถ การอ่านการเขียนและคิดวิเคราะห์

19. โครงการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM)

20. โครงการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 360องศา
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

ระดับปฐมวัย

1. โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย

2. โครงการอาหารเพื่อสุขภาพ

3. โครงการเศรษฐกิจพอเพียง

4. โครงการรักต้นไม้

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. โครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

2. โครงการห้องเรียนสีขาว - โรงเรียนสีขาว

3. โครงการส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน

- กิจกรรมกีฬาสี

- กิจกรรมลูกเสือ

- กิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ

- กิจกรรมแนะแนว

- กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากร


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

1.1ข้อมูลทั่วไป

โรงเรียนวัดพลับ ( จันทบุรชีบาอุทิศ ) ตั้งอยู่เลขที่ 108 หมู่ที่ 4 ถนนชาติอนุสรณ์

ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22000

โทรศัพท์ 039-391251 e-mail : watplubschool@gmail.com

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

เปิดสอนระดับชั้น อนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์
โรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ) จัดการเรียนการสอนได้ตามมาตรฐานเกณฑ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนใฝ่เรียนรู้ และอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย

อัตลักษณ์
"เรียนดี มีคุณธรรม"

เอกลักษณ์
"ดูแลรักษาและเผยแพร่โบราณสถานวัดพลับ"
ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 4 0 1 1 0


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

ลักษณะของหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ) พุทธศักราช 2563

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560)

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ) พุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) เป็นหลักสูตรที่โรงเรียนได้พัฒนาขึ้น เพื่อพัฒนาผู้เรียนในระดับประถมศึกษา โดยยึดองค์ประกอบหลักสำคัญ 5 ส่วนคือ 1) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2) มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักร2551 3) นโยบายการจัดการเรียน การสอนหน้าที่พลเมือง 4) กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น และ 5) สาระสำคัญ จุดเน้นที่โรงเรียนพัฒนาเพิ่มเติม เป็นกรอบในการจัดทำรายละเอียดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนดเหมาะสมกับสภาพชุมชนและท้องถิ่นและจุดเน้นของโรงเรียน โดยหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ) พุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะของหลักสูตรดังนี้

1. เป็นหลักสูตรเฉพาะของโรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ) สำหรับจัดการศึกษาในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดในระดับประถมศึกษา

2. เป็นหลักสูตรที่มีความเป็นเอกภาพสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สำหรับให้ครูผู้สอนนำไปจัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย
โดยกำหนดให้มีรายละเอียด ดังนี้

2.1 สาระการเรียนรู้ที่โรงเรียนใช้เป็นหลักเพื่อสร้างพื้นฐานการคิด การเรียนรู้ และการแก้ปัญหาประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2.2 สาระการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ศักยภาพการคิดและการทำงานประกอบด้วย สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

2.3 สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยจัดทำเป็นรายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติมตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับโครงสร้างเวลาเรียนสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นความต้องการของผู้เรียน และบริบทของโรงเรียนและเพิ่มวิชาภาษาอังกฤษ และการป้องกันการทุจริตให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 สำนักงานงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระทรวงศึกษาธิการด้วย

2.4 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกายจิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างการเรียนรู้นอกจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม และการพัฒนาตนตามศักยภาพ

2.5 การกำหนดมาตรฐานของโรงเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานระดับต่าง ๆ เพื่อเป็นเป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนจัดทำรายละเอียดสาระการเรียนรู้ และจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับสภาพในชุมชน สังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

3. มีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ) พุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) เป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับความรู้ ทักษะ กระบวนการ สมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเพื่อเป็นแนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาโดยมีการกำหนดมาตรฐานไว้ดังนี้

3.1 มาตรฐานหลักสูตร เป็นมาตรฐานด้านผู้เรียนหรือผลผลิตของหลักสูตรโรงเรียน เกิดขึ้นจาก การจัดกิจกรรมตามโครงสร้างของหลักสูตรทั้งหมดของครูและใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบคุณภาพโดยรวมของการจัดการศึกษาตามหลักสูตรในทุกระดับ ซึ่งโรงเรียนต้องใช้สำหรับการประเมินตนเองเพื่อจัดทำรายงานประจำปีตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการศึกษา เพื่อนำมาเป็นข้อมูลใน การกำหนดแนวปฏิบัติในการส่งเสริม กำกับ ติดตาม ดูแล และปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

3.2 มีตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจง และมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับ การวัดประเมินผล เพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน ตรวจสอบพัฒนาการผู้เรียน ความรู้ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์และเป็นหลักในการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย

3.3 มีความเป็นสากล ความเป็นสากลของหลักสูตรโรงเรียน คือมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาษาอังกฤษ การจัดการสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีคุณลักษณะที่จำเป็นในการอยู่ในสังคมได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา การเสียสละ การเอื้อเฟื้อ โดยอยู่บนพื้นฐานของความพอดีระหว่างการเป็นผู้นำ และผู้ตาม การทำงานเป็นทีม และการทำงานตามลำพัง การแข่งขัน การรู้จักพอ และการร่วมมือกันเพื่อสังคม วิทยาการสมัยใหม่ และภูมิปัญญาท้องถิ่น การรับวัฒนธรรมต่างประเทศและการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยการฝึกฝนทักษะเฉพาะทาง และการบูรณาการในลักษณะที่เป็นองค์รวม

4.มีความยืดหยุ่น หลากหลาย หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ) พุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) เป็นหลักสูตรที่โรงเรียนจัดทำรายละเอียดต่าง ๆ ขึ้นเอง โดยยึดโครงสร้างหลักที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น เป็นขอบข่ายในการจัดทำ จึงทำให้หลักสูตรของโรงเรียนมีความยืดหยุ่นหลากหลาย สอดคล้องกับสภาพปัญหา
และความต้องการของท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเหมาะสมกับตัวผู้เรียน

5. การวัดและประเมินผลเน้นหลักการพื้นฐานสองประการคือการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและ เพื่อตัดสินผลการเรียน โดยผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐาน การเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นเป้าหมายหลักในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียนตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ

วิสัยทัศน์ของหลักสูตรสถานศึกษา

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ) พุทธศักราช 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีสมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา พัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ผู้เรียนมีทักษะชีวิต ร่วมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองดี ยึดหลักศาสตร์พระราชา พัฒนาครูสู่มืออาชีพสู่ระดับสากล โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ


 


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลด้านอาคารสถานที่ 
 ปัจจุบันโรงเรียนวัดพลับ (จันทบุรชีบาอุทิศ) ตั้งอยู่บนที่ราชพัสดุ โดยมีอาคารเรียน อาคารประกอบ บ้านพักครู หอพักนักเรียน ห้องน้ำนักเรียนชาย – หญิง และสนามกีฬา ดังนี้ 
1. อาคารเรียน มี 2 หลัง ดังนี้ 
    1) อาคาร 1 จำนวน 1 หลัง อาคาร 1 ประกอบด้วย ห้องดนตรีนาฏศิลป์ ห้องเรียนวิชาชีพ 
    2) อาคาร 2 จำนวน 1 หลัง อาคาร 2 ประกอบด้วย ห้องเรียน ห้องประชุม ห้องวิชาการ 
2. อาคารประกอบ 
    1) โรงอาหาร จำนวน 1 หลัง 
3. บ้านพักครู และห้องน้ำ-ห้องส้วมนักเรียน 
    1) บ้านพักครู จำนวน 1 หลัง 
    2) ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน จำนวน 1 หลัง 
    3) สนามฟุตบอล จำนวน 1 สนาม

หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1bKAh1Hjjs_248xGac9kKCL8xf9vhsxUk/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งการเรียนรู้

โรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ) มีแหล่งเรียนรู้ดังนี้

แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

1. ห้องสมุด

2. ห้องพยาบาล

3. ห้องคอมพิวเตอร์

4. โรงอาหาร

5. แปลงผัก

6. ป้ายทำเนียบครู

7. โรงเพาะเห็ด

8. สนามเด็กเล่น

9.สนามฟุตบอล

๑๐.ต้นไม้ในบริเวณโรงเรียน

๑๑.ห้องน้ำห้องส้วม

๑๒.ประปาหมู่บ้าน

แหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา

แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ

ลำดับที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

ที่ตั้ง

1

ปราสาทหินจันทบูร

ต.คลองนารายณ์ อ.เมือง จ.จันทบุรี

2

วัดทองทั่ว

ต.คลองนารายณ์ อ.เมือง จ.จันทบุรี

3

ทับหลัง

ต.คลองนารายณ์ อ.เมือง จ.จันทบุรี

4

วัดสระบาป

ต.คลองนารายณ์ อ.เมือง จ.จันทบุรี

5

ค่ายเนินวง

ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี

6

วัดโยธานิมิต

ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี

7

วัดพลับ

ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี

8

ศาลเจ้าหลักเมือง (เดิม)

ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี

9

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี

ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี

10

เจดีย์ยอดเขาพลอยแหวน

ต.พลอยแหวน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

11

ค่ายตากสิน (คูเมืองเก่า)

ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี

ลำดับที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

ที่ตั้ง

12

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี

ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี

13

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี

14

สวนสาธารณะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี

15

อู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ต.หนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี

16

ตึกแดง

ต.ปากน้ำแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

17

คุกขี้ไก่

ต.ปากน้ำแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

18

วัดชากใหญ่

ต.ปากน้ำแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

19

วังสวนบ้านแก้ว

ต.ท่าช้าง อ.เมืองจันทบุรี

20

หอสมุดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี

ต.วัดใหม่ อ.เมืองจันทบุรี

แหล่งส่งเสริมอาชีพ

ลำดับที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

ที่ตั้ง

1

ตลาดสดท่าใหม่

อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

2

ถนนอัญมณี

อ.เมือง จ.จันทบุรี

3

ห้างสรรพสินค้า

อ.เมือง จ.จันทบุรี

4

สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกรมประมง

อ.เมือง จ.จันทบุรี

5

ศูนย์วิจัยพืชสวน

ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

6

ศูนย์วิจัยการยางโป่งแรด

ต.โป่งแรด อ.เมือง จ.จันทบุรี

7

สวนสมุนไพรจันทบุรี

ต.อ่างคีรี อ.มะขาม จ.จันทบุรี

8

ศูนย์วิจันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งอ่างคุ้งกระเบนในพระราชดำริ

ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

แหล่งศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม

ลำดับที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

ที่ตั้ง

1

วัดสวนมะม่วง

ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี

2

วัดกลาง

ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี

3

วัดใหม่เมืองจันทบุรี

ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี

4

วัดโรมันคาทอริค

ต.จันทนิมิต อ.เมือง จ.จันทบุรี

5

มัสยิด

ต.จันทนิมิต อ.เมือง จ.จันทบุรี

6

วัดไผ่ล้อม

ต.จันทนิมิต อ.เมือง จ.จันทบุรี

7

วัดพลับ

ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี

8

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี

ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี

9

วัดศรีเมือง

ต.ทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

10

วัดเขาสุกิม

ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

11

วัดชากใหญ่

ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

12

วัดมังกรบุปผาราม (วัดเล่งฮัวยี่)

ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

13

วัดเขาชวัง

อ.โป่งน้ำร้อน

14

วัดโยธานิมิต

ต.บางกะจะ อ.เมืองจันทบุรี

15

วัดตะปอนน้อย

อ.ขลุง

16

วัดเกวียนหัก

อ.ขลุง

17

วัดเขาแหลมสิงห์

ต.บางกะไชย อ.แหลมสิงห์

18

วัดเขาบรรจบ

ต.ฉมัน อ.มะขาม

แหล่งธรรมชาติ

ลำดับที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

ที่ตั้ง

1

วนอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

2

วนอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองนารายณ์

ต.คลองนารายณ์ อ.เมือง จ.จันทบุรี

3

วนอุทยานแห่งชาติน้ำตกกระทิง

ต.พลวง อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี

4

วนอุทยานแห่งชาติน้ำตกตรอกนอง

ต.ตรอกนอง อ.ขลุง จ.จันทบุรี

5

วนอุทยานแห่งชาติน้ำตกเขาสอยดาว

อ.สอยดาว จ.จันทบุรี

6

วนอุทยานแห่งชาติน้ำตกมะกอก

ต.มาบไผ่ อ.ขลุง จ.จันทบุรี

7

วนอุทยานแห่งชาติน้ำตกหินดาด

ต.ทับไทร อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี

8

เขื่อนคีรีธาร

ต.ปัถวี อ.มะขาม จ.จันทบุรี

9

สวนสาธารณะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี

10

หาดคุ้งวิมาน

ต.สนามไชย อ.นายายอาม จ.จันทบุรี

11

สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติร.9ทุ่งพลงใต้

ถ.ท่าแฉลบ ต.ตลาด อ.เมือง จ.จันทบุรี

12

ศูนย์วิจัยเพาะสัตว์น้ำชายฝั่งอ่าวคุ้งกระเบนโครงการในพระราชดำริ

ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

13

ศูนย์วิจัยพืชสวนพลิ้ว

ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์

14

หาดแหลมสิงห์

ต.ปากน้ำแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์

15

อ่าวกระทิง

อ.แหลมสิงห์

14

อ่าวยาง

อ.แหลมสิงห์

17

บ่อน้ำพุร้อน

อ.โป่งน้ำร้อน

18

สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสอยดาว

อ.สอยดาว

ลำดับที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

ที่ตั้ง

19

เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว

อ.สอยดาว

20

แก่งพญากัมพุช

อ.โป่งน้ำร้อน

21

เนินนางพญา

ต.สนามไชย อ.นายาอาม

22

จุดชมวิวเจดีย์บ้านหัวแหลม

ต.สนามไชย อ.นายาอาม

23

จุดชมวิวลานหินสีชมพู

อ.ท่าใหม่

24

ศูนย์วิจัยกีฏวิทยา

อ.โป่งน้ำร้อน

25

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน

ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

26

น้ำตกอ่างเบง

ต.ฉมัน อ.มะขาม

27

หาดเจ้าหลาว

ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

แหล่งความรู้ทั่วไป

ลำดับที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

ที่ตั้ง

1

หอสมุดแห่งขาติรัชมังคลาภิเษก

อ.เมืองจันทบุรี

2

ห้องสมุดประชาชน

อ.เมืองจันทบุรี

3

ที่ทำการไปรษณีย์

อ.เมืองจันทบุรี

4

ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี

อ.เมืองจันทบุรี

5

ที่ว่าการอำเภอ

อ.เมืองจันทบุรี

6

โรงพยาบาล

อ.เมืองจันทบุรี

7

สถานีวิทยุกระจายเสียง

อ.เมืองจันทบุรี

8

บริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น(มหาชน)

อ.เมืองจันทบุรี

9

เรือนจำ

อ.เมืองจันทบุรี

10

สถานีขนส่ง

อ.เมืองจันทบุรี

11

สถานีตำรวจ

อ.เมืองจันทบุรี

12

ศูนย์การท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี

อ.เมืองจันทบุรี

13

ค่ายตากสิน

อ.เมืองจันทบุรี

14

ศาลหลักเมือง

อ.เมืองจันทบุรี

15

ชุมขนริมน้ำจันทบุรี

อ.เมืองจันทบุรี

16

เทศบาลเมืองจันทบุรี

อ.เมืองจันทบุรี

17

สถานีดับเพลิง

อ.เมืองจันทบุรี

18

โอเอซิส ซีเวิลด์

อ.แหลมสิงห์

19

มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี

ต.ท่าช้าง อ.เมืองจันทบุรี

20

มหาวิทยาลัยบูรพา

ต.โขมง อ.ท่าใหม่

แหล่งหัตถกรรม อุตสาหกรรม

ลำดับที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

ที่ตั้ง

1

โรงงานอุตสาหกรรมทอเสื่อจันทบุรี

ต.ท่าช้าง อ.เมืองจันทบุรี

2

โรงงานเจียรนัยพลอย

อ.เมืองจันทบุรี

3

โรงงานเผาพลอย

อ.เมืองจันทบุรี

4

ร้านทำพลอย

อ.เมืองจันทบุรี

5

ร้านทำทอง

อ.เมืองจันทบุรี

6

ศูนย์ทอเสื่อบ้านเสม็ดงาม

ต.หนองบัว อ.เมืองจันทบุรี

7

ศูนย์ทอเสื่อบ้านบางสระเก้า

ต.บางสระเก้า อ.เมืองจันทบุรี

8

โรงงานไทยอะโกรฟูด(ผลไม้กระป๋อง)

ต.พลับพลา อ.เมืองจันทบุรี

9

โรงงานกระเบื้องเด่นจันทร์

ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่

10

โรงงานเซรามิก

ต.หนองบัว อ.เมืองจันทบุรี

11

โรงงานปั้นโอ่งบ้านเตาหม้อ

ต.โขมง อ.ท่าใหม่

12

โรงงานทำขนมจีน

อ.ท่าใหม่


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

ผลการประเมินมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 

- แบบบันทึกน้ำหนักส่วนสูง

- แผนการจัดประสบการณ์

- แบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย(ด้านร่างกายและสุขนิสัยที่ดี)

- ภาพถ่ายกิจกรรมและการสัมภาษณ์ เด็กและผู้เกี่ยวข้อง

- ผลงานเด็ก

1. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย 

-การเคลื่อนไหวร่างกายเคลื่อนที่ โดยมีอุปกรณ์,เลียนแบบท่าทางสัตว์ ทำท่าทางตามคำสั่ง,กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง,วิ่งเก็บของ,วิ่งซิกแซก,ขึ้น-ลงบันได,วิ่งหยุดทันที

-การเคลื่อนไหวอยู่กับที่

-การทรงตัว ได้แก่ ยืนขาเดียว เดินต่อเท้าเดินหน้า ถอยหลัง

2. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ได้แก่

- สวดมนต์ไหว้พระ กิจกรรมสงบนิ่ง กล่าวคำปฏิญาณตนทุกวันศุกร์มีกิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิก่อนกลับบ้าน

- โครงงานคุณธรรมระดับชั้นอนุบาลได้แก่ โครงงานเก็บของให้เข้าที่สร้างความมีระเบียบวินัย

3. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ได้แก่

-ช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การล้างมือ การล้างถาดอาหาร การล้างหน้าแปรงฟัน การแต่งตัว การเข้าห้องน้ำ
การรับประทานอาหาร รู้จักช่วยเหลือและแบ่งปันมีน้ำใจ

-ร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

-ร่วมกิจกรรมวันสุนทรภู่

-ร่วมกิจกรรมลอยกระทง

-ร่วมกิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ(open house)

4. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ได้แก่

-การคิดหมายถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ด้วยการมอง ฟัง สัมผัสชิมรส และดมกลิ่น การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์สิ่งของต่างๆ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดแก้ปัญหา

-การใช้ภาษาในการสื่อสารด้วยการฟัง การพูด การอ่านการเขียน

-การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบได้แก่ การจำแนกเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง การจัดหมวดหมู่สิ่งของและการเรียงลำดับสิ่งต่างๆ

-จำนวนทั้งการนับจำนวนและการรู้ค่าของจำนวน

-มิติสัมพันธ์คือ การเข้าใจและการอธิบายในเรื่องพื้นที่ ตำแหน่ง ระยะทาง

-เวลาใช้ในการเปรียบเทียบเวลาต่างๆ เรียงลำดับเหตุการณ์ และความเข้าใจเกี่ยวกับฤดูกาล
ผลการดำเนินงาน  

1. นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ 80 มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

2. นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ 100 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจ ในระดับ 3 ขึ้นไป

3. นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ 80 เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ 

4. นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ 80 มีพัฒนาการในการคิด และการใช้ทักษะชีวิตที่สูงขึ้น

5. นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ 100 ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมที่ สถานศึกษาที่กำหนดในระดับดีขึ้นไป

6. นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ 80 ของเด็กที่มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยใน ระดับดีขึ้นไป

7. นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ 80 ของเด็กที่สร้างสรรค์ผลงานตามความคิด และจินตนาการในระดับดีขึ้นไป

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1nW-ZZWTXri7kX52BvfCa4yjIcqcDVPc1/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

ผลการประเมินมาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการ

1. มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง4ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นใช้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช2563

ประกาศใช้หลักสูตรปฐมวัยปี2563

หลักสูตรปฐมวัยปี2563

 

2. จัดครูให้เพียงพอและเหมาะสมกับชั้นเรียนซึ่งครูมีวุฒิการศึกษา จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย1คน และครูที่มีประสบการณ์สอนในระดับปฐมวัย1คน ครบชั้นเรียน

3. โรงเรียนได้ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรให้เข้ารับการอบรมหลักสูตรดังนี้

3.1.โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร

3.2.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดในชั้นเรียนปฐมวัยและกระบวนการPLCเพื่อการเรียนรู้

3.3.การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมรูปแบบใหม่NEW DLTV

3.4.อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช2563

3.5.อบรมหลักสูตรพัฒนาครูปฐมวัย

3.6.โครงการฝึกอบรมหลักสูตรเสริมศักยภาพวิทยากรครูต้นแบบเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัยภาคตะวันออก

3.7.เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี

3.8.โครงการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา

3.9. การอบรมเขิงปฏิบัติการเฉพาะทางโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ปีงบประมาณ 2561

3.10. โครงการพัฒนาครูผู้สอนระดับปฐมวัย

3.11.ผ่านการประเมิน รายงานการประเมินคุณภาพ สมศ. ในระดับดี

4. จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และเพียงพอ

- ครูจัดห้องสะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย น่าเรียน น่าอยู่ มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก พื้นที่สำหรับมุมประสบการณ์และครูใช้สื่อ ห้องเรียนมีป้ายนิเทศ มีสื่อและเทคโนโลยี มีคอมพิวเตอร์ ทีวี สื่อของเล่นที่กระตุ้นให้คิดและหาคำตอบ

5. ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ คอมพิวเตอร์ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อเป็นแหล่งสืบค้นหาความรู้ในด้านจัดการเรียนการสอนเป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับเด็กอย่างสะดวกรวดเร็ว

-ใช้สื่อ ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

-ห้องสมุด

-ห้องดนตรี

-ป้ายนิเทศ

-มุมเสริมประสบการณ์

-มุมสื่อ

-โรงอาหาร

6. มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมกิจกรรมที่ได้เข้าร่วมและมีส่วนร่วม

-การประชุมผู้ปกครอง

-กิจกรรมวันไหว้ครู

-กิจกรรมโรงเรียนสีขาว

-กิจกรรมวันสำคัญทางพุทธศาสนา

-กิจกรรมวันสุนทรภู่

-กิจกรรม เปิดบ้านวิชาการ (open house)

-กิจกรรมวันลอยกระทง
ผลการดำเนินงาน  โรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ) มีการวางแผนในการบริหารการจัดการศึกษาของโรงเรียน มีการบริหารการจัดการและ ใช้หลักการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรมีการกำหนดรูปแบบวิธีการดำเนินงานและงบประมาณในการ บริหารโครงการที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์มีการจัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาที่มุ่งพัฒนามาฐานการศึกษาของสถานศึกษามีการจัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัด การศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มีการนำผลการ ประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปใช้ในการวางแผนปฏิบัติการ
 
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1hZ6T184b6QCOM8ttAFUQiprhs1Qy9Xlx/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

ผลการประเมินมาตรฐานที่3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

1.จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็ก ได้แก่

-ประเมินนีกเรียนรายบุคคล

-กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

-กิจกรรมสร้างสรรค์และเสรี

-กิจกรรมเสริมประสบการณ์

-กิจกรรมกลางแจ้ง

2. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็ก ได้แก่

-กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์

-กิจกรรมการจัดประสบการณ์บูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

-เข้าร่วมกิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ(open house)

-โครงงานเก็บของให้เข้าที่สร้างความมีระเบียบวินัย

-กิจกรรมวันไหว้ครู

-กิจกรรมวันสำคัญทางพุทธศาสนา

-กิจกรรมวันลอยกระทง

- กิจกรรมวันสุนทรภู่
- เกมการศึกษา

3. การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยได้แก่

-มุมบล็อก

-มุมวิทยาศาสตร์

-มุมบทบาทสมมุติ

-มุมศิลปะ

-มุมนิทาน

- มุมเครื่องเล่นสัมผัส

4. ประเมินพัฒนาการเด็ก

-แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม

-แบบการสังเกตพฤติกรรมเด็กรายบุคคล

-บันทึกการสัมภาษณ์

-สมุดประจำตัวนักเรียนปฐมวัย

- สมุดประเมินพัฒนาการทั้ง4 ด้าน

 

ผลการดำเนินงาน  1. ครูร้อยละ 100 ประเมินนักเรียนเป็นรายบุคคล
2. ครูร้อยละ 100 จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริม พัฒนาการเด็กครบทุกด้าน
3. ครูร้อยละ 100 จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสทำกิจกรรมอย่าง อิสระตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล
4. ครูร้อยละ 100 จัดห้องเรียนสะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก มุมประสบการณ์และจัดกิจกรรมที่เด็กมี ส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน
5. ครูร้อยละ 100ที่ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
6. ครูร้อยละ 100 ประเมินพัฒนาเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตร ประจำวันด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย
7. ครูร้อยละ 100 มีการอบรมพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1bK9PflUimAQQHikeXAqM0e-DEHG0xs-w/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

 - ครูจัดกิจกรรมฝึกระเบียบวินัย

จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านเช่น การเล่านิทานจัดมุมหนังสือนิทาน

จัดกิจกรรมให้นักเรียนรู้จักการประหยัดอดออมเช่นกิจกรรมหนูน้อยออมเงิน

กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมการแต่งการแบบไทย

กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ

กิจกรรมรณรงค์คัดแยกขยะ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

- จัดมุมส่งเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก

 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

- นักเรียนมีสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดีเหมาะสมวัยเป็นมิตรที่ดีต่อกันยิ้มแย้มแจ่มใสรักใคร่รู้จักการแบ่งปันมีความสุขร่าเริงแจ่มใสมีความมั่นใจกล้าแสดงออกมีจิตอาสา มีความรับผิดชอบ

- นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางบวกผู้นำผู้ตาม เก่ง ดี มีสุข มีคุณธรรม จริยธรรม

- นักเรียนมีความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://www.facebook.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8-103648228356893
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการประเมินมาตรฐานที่1 คุณภาพของผู้เรียน
ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 

- หลักสูตรสถานศึกษา

- แผนการจัดการเรียนรู้และบันทึกผลหลังจัดการเรียนรู้

-เอกสารหลักฐานการวัดและประเมินผล เครื่องมือวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้

- ชิ้นงานหรือผลของนักเรียน/แฟ้มสะสมงาน

- บันทึกความรู้จากการอ่าน

-สื่อการเรียนการสอน และแหล่งเรียนรู้

1. ศึกษาผู้เรียนรายบุคคล จัดกลุ่ม เพื่อพัฒนาผู้เรียน

- โครงการสนับสนุน
- โครงการเยี่ยมบ้านนักเรียน
- โครงการสอนซ่อมเสริม

2. ส่งเสริมและจัดกิจกรรมรักการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน

- โครงการสนับสนุนพัฒนาทักษะภาษาไทย
- โครงการส่งเสริมภาษาไทยสร้างนิสัยรักการอ่าน

3. จัดกิจกรรมการฝึกทักษะการคิดคำนวณขั้นพื้นฐาน

- กิจกรรมแข่งขันทักษะทางคณิตศาสตร์

4. โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ 4 กลุ่มสาระวิชาหลัก

 

ผลการดำเนินงาน  

ความสามารถในการอ่านการเขียนการสื่อสารและการคิดคำนวณ

1. นักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 ร้อยละ 85 สามารถท่องบทอาขยาน อ่านคำพื้นฐานและเขียนคำศัพท์ตามคำบอกได้มีความสามารถในการอ่านเขียนภาษาไทยตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

2. นักเรียน ป.1 – ป.6 ร้อยละ 60 สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการทักทายเพื่อนและครูด้วยคำ/ประโยคง่ายๆ ได้

3. นักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 ร้อยละ 65 ได้รับการฝึกทักษะการคิดคำนวณ การคิดเลขเร็วโดยมีกิจกรรม ท่องสูตรคูณ

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์คิดอย่างมีวิจารณญาณอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา

1. นักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 ร้อยละ 80 สามารถวางแผนการคิดอย่างเป็นระบบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาโดยการเรียนรู้แบบเชิงรุกActive Learning ได้แก่ กิจกรรมระดมสมอง

2. มีกระบวนการ AAR ตอนเช้าและก่อนบ่าย โดยกระบวนการ PDCA นักเรียนร้อยละ 80 สามารถคิดวิเคราะห์ จำแนกได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทัน ตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติด

ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

1. นักเรียน ป.1 – ป.6 สามารถร่วมกันจัดทำโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรมห้องเรียนสีขาว ในห้องเรียนเพื่อแก้ปัญหาในระดับชั้นเรียนได้

2. นักเรียน ป.4 – ป.6 ร้อยละ 80 สามารถจัดทำหนังสือเล่มเล็ก กระเป๋าบัตรคำจากถุงนม ได้

ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1. นักเรียน ป.1 – ป.6 ร้อยละ 80 สามารถสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อเป็นแหล่งสืบค้นหาความรู้ในด้านจัดการเรียนรู้ และเป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับเด็กอย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่

- การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่

- การเรียนรู้จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

- การเรียนรู้จากห้องสมุด

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

1. นักเรียน ป.1 – ป.6 ร้อยละ 100 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปี 2563 ตามหลักสูตรสถานศึกษามากกว่าระดับ 3 ขึ้นไป

ความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

1. นักเรียนฝึกทำกิจกรรมสร้างเสริมอาชีพในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ได้แก่

1)กิจกรรมทำขนมโดนัทจิ๋ว

2) กิจกรรมทำขนมไทย

3) กิจกรรมสวนเศรษฐกิจพอเพียง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1y0qYuVIhvVTK1kpydXmHXVwn_upymxj0/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการประเมินมาตรฐานที่1 คุณภาพของผู้เรียน

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 

-สรุปรายงานผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( 8 ประการ )

- แบบบันทึกพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์

-สมุดบันทึกความดี

- สมุดออมทรัพย์

- แบบสรุปผลการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ

 

จัดกิจกรรมโครงงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม

 

- โครงการห้องเรียนสีขาว

- โครงการค่ายคุณธรรม

- โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม

- โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

ผลการดำเนินงาน  การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

1. นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำเวรประจำวัน บริเวณเขตรับผิดชอบ

2. นักเรียนมีกิจกรรมนั่งสมาธิเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มเรียน

3. นักเรียนมีวินัยในการเข้าแถวเป็นระเบียบ การแต่งกายเรียบร้อย

4. นักเรียนมีกิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระช่วงเวลาบ่ายทุกวันศุกร์

5. นักเรียนมีจิตอาสาช่วยงานคุณครูทุกคน

6. นักเรียนมีคุณลักษณะลักษณะอันพึงประสงค์ 12 ประการ นักเรียนมีความรักชาติ เข้า แถวเคารพธงชาติทำกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้า หากเก็บสิ่งของ ของเพื่อนได้ก็จะนำมาแจ้งคุณครูให้ประกาศหาเจ้าของทุกครั้งไป

ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

1. นักเรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมการเข้าแถวเคารพธงชาติ

2. นักเรียนทุกคนทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางพุทธศาสนาร่วมกับชุมชน เช่น วันเข้าพรรษา วันอาสาฬหบูชา วันวิสาขบูชา ฯลฯ

3. นักเรียนร่วมกันปลูกต้นไม้ในโรงเรียนและที่สาธารณะประโยชน์ร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น

4. นักเรียนร่วมกิจกรรมประเพณีไทย

การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

1. นักเรียน ป.1 – ป.6 ร่วมกันสร้างกติกาข้อตกลงประจำห้องเรียนและเวรประจำวัน

2. นักเรียนจัดทำโครงงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรมห้องเรียนสีขาว ภายในห้องเรียนร่วมกัน

3. กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือคุณธรรม การแข่งขันกีฬาสี

สุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม

1. นักเรียน ป.1 - ป.6 ร้อยละ 100 ดื่มนมทุกวัน

2. นักเรียน ป.1 – ป.6 มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพร่างกาย(กายบริหาร) สุขภาพฟัน(การแปรงฟัน) ประจำวัน กิจกรรมแอโรบิค

3. นักเรียน ป.1 – ป.6 ร้อยละ 95 มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง สามารถเล่นกีฬาต่างๆ ได้โรงเรียนมีการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน และการร่วมแสดงออกในกิจกรรมวันแม่ วันเด็ก วันสุนทรภู่ วันภาษาไทย
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1oPRV9SOrmYSyvSro2JG7wtqjz8p-lcfx/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

ผลการประเมินมาตรฐานที่ กระบวนการบริหารและการจัดการ

- แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี

- แผนการกำกับนิเทศ ติดตามการประเมินผลของสถานศึกษา

- หลักสูตรสถานศึกษา

1. โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของโรงเรียนโดยการประชุมครูและบุคลากรทุกฝ่ายหาจุดอ่อนจุดแข็ง(S.W.O.T)

2. จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

3. จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี

4. จัดโครงสร้างการบริหารงานโรงเรียน 4 ฝ่าย คือ

4.1. ฝ่ายวิชาการ

4.2. ฝ่ายบุคลากร

4.3. ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ

4.4. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

5. ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

5.1 .ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ โครงสร้างรายวิชาคำอธิบายรายวิชาเกณฑ์การวัดและประเมินผลของแต่ละรายวิชา

5.2. การจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น

- กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง

- กิจกรรมไหว้ครู

- กิจกรรมวันสุทรภู่

- กิจกรรมโรงเรียนสีขาว

- กิจกรรมวันสำคัญ

- กิจกรรมกีฬาภายใน

- กิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่

- กิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรม

6. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

6.1.โครงการอบรมพัฒนาครูและบุคลากร

-โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร

-อบรมจากหน่วยงานต้นสังกัด สพป.จบ เขต 1

-อบรมตามโครงการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน

-ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน

7. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

7.1.มีแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ได้แก่

- คอมพิวเตอร์ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อเป็นแหล่งสืบค้นหาความรู้ในด้านจัดการเรียนการสอนเป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับเด็กอย่าง

- สะดวกรวดเร็ว

- ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ DLTV

- ห้องสมุด

- ห้องดนตรี

- จัดป้ายนิเทศ มุมประสบการณ์ มุมสื่อ

7.2.ปรับปรุงอาคารเรียนเพื่อเหมาะสมกับการเรียนการทำกิจกรรมจัดห้องเรียนห้องปฏิบัติการให้เหมาะสมและปลอดภัยในการเรียนการสอนให้ทันสมัย

7.3.โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น น่าอยู่ ปลอดภัย มีมุมพักผ่อน มีสื่อเพื่อการเรียนรู้

 

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนวัดพลับ(จันทบุรชีบาอุทิศ) มีแผนจัดสรรงบประมาณประจำปีการศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียน และงบประมาณในการบริหารโครงการที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ โรงเรียนมีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี หลักสูตรสถานศึกษาที่คณะกรรมบริหารโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน ดำเนินการ เพื่อการบริหารจัดการศึกษา ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ได้ตั้งไว้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1ojkc_P3qvkMfttJYgbMt8lkFPLi2FwNt/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

ผลการประเมินมาตรฐานที่3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

แผนการจัดการเรียนรู้ บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้

รายงานวิจัยในชั้นเรียน ( ข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล,บันทึกการสอน ซ่อมเสริม สื่อนวัตกรรมครู )

- เอกสารหลักฐานการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง

- ชิ้นงานหรือผลของนักเรียน/แฟ้มสะสมงานนักเรียน

- บันทึกนิเทศภายใน

- บันทึกประชุมช่วงชั้น ( PLC )

จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

1.การจัดการเรียนรู้แบบActive Learningฝึกทักษะวิชาการ ทักษะชีวิตและอาชีพ ได้แก่

- โครงงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ประจำห้องเรียน ป.1- ป.6

- กิจกรรมชุมนุม

- กิจกรรมทักษะอาชีพ

ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

1.จัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

กิจกรรมใช้สื่อ DLTVในการจัดการเรียนการสอน

- กิจกรรมBrain Based Learning

- กิจกรรมค่ายคุณธรรม เช่น โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ลูกเสือคุณธรรม

- กิจกรรมเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณีในวันสำคัญ

กิจกรรมทัศนศึกษา เรียนรู้นอกสถานที่

2. จัดแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน

 

มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

1. การบริหารจัดการชั้นเรียน จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

- กิจกรรมมุมนำเสนอผลงานที่ภาคภูมิใจของนักเรียน

- กิจกรรมมุมสื่อการเรียนรู้

- จัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์

- จัดกิจกรรมการสร้างการมีส่วนร่วมวางแผนในการจัดการเรียนรู้ร่วมกับนักเรียน

 

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

1. การประชุมครูประจำชั้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2. การจัดทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

4. กิจกรรมสรุปข้อมูลสะท้อนกลับท้ายชั่วโมงสอน

5. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียน

 

ผลการดำเนินงาน  

1. ครูร้อยละ 100 มีแผนจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไป จัดกิจกรรมได้จริง 

2. ครูร้อยละ 100 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม มาตรฐาน การเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตร สถานศึกษาที่เน้นกระบวนการคิด และให้ผู้เรียน ปฏิบัติจริง

3. ครูร้อยละ 100ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญา ท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

4. ครูร้อยละ 100 บริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้น การมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก

5. ครูร้อยละ 100 .ตรวจสอบและประเมินผล คุณภาพ การจัด การเรียนรู้เป็นระบบด้วยวิธีการและเครื่องมือ ที่หลากหลาย และนำผลการประเมินไปพัฒนาผู้เรียน

6. ครูร้อยละ 100 แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์(PLC) เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและ พัฒนาการจัดการเรียนรูู้

7. ครูร้อยละ 100 มีการอบรมพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1x084uDb2E_9J0LGVGItXc_yU_63Knbl8/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ด้านคุณภาพผู้เรียน

1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยเพิ่มชั่วโมงการสอนทุกชั้น

2) เน้นการพัฒนาผู้เรียนตามนโยบายของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือกระทรวงศึกษาธิการ

ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1) ครูควรจัดกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างหลากหลาย และใช้แหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาตนเอง

2) ให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

3) ครูควรให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง

ด้านการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล

1) สถานศึกษาจัดระบบให้ครูประเมินตนเองรายบุคคลตามแผนพัฒนาตนเอง และส่งข้อมูลย้อนกลับแก่ครูในการพัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียน

2) นักเรียนมีการประเมินตนเองในการเรียนรู้ การติดตาม ช่วยเหลือด้านการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายคน
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ด้านคุณภาพผู้เรียน

1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และนักเรียนกล้าแสดงออก ร่าเริงแจ่มใส สุขภาพกายแข็งแรง และเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด

2) ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านคล่อง รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ทุกคน สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดีเยี่ยม

3) ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

1) ผู้บริหารมีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่น มีหลักการบริหาร และมีวิสัยทัศน์ที่ดีในการบริหารงาน สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน และคณะกรรมการสถานศึกษามีความตั้งใจ และมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาท

2) โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจเป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผล การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวนวิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1) ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีความตั้งใจมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลาและความสามารถ

2) ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

3) ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ด้านการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล

โรงเรียนให้ความสำคัญกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เน้นการสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับคณะครู บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเน้นการมีส่วนร่วม โดยดำเนินการในรูปของคณะกรรมการสร้างวัฒนธรรมการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกระดับ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://www.facebook.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8-103648228356893
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/15sR1JSOjMuxveq5qf0XqAJXsC5BEIXrv/view?usp=sharing