รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดดอนตาล

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับปฐมวัย ปีการศึกษา 2563
     ภาพรวม
     จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ในปีการศึกษา 2563 ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประสบผลสำเร็จ ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน จากผลการประเมินสรุปว่า  ได้ระดับ ยอดเยี่ยม โดยผลการประเมินรายมาตรฐาน ดังนี้
     มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับ ดีเลิศ
     มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
     มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
     กระบวนการ / วิธีพัฒนา
     สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของเด็ก อย่างหลากหลายที่เป็นไปตามพัฒนาการและความต้องการของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชน จนมีผลการพัฒนาคุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับ ดีเลิศ เนื่องจากเด็กได้รับการเตรียมความพร้อม และจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างหลากหลาย ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้ง4 ด้าน ดังที่ปรากฏผลประเมินในมาตรฐานที่ 1  ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ สถานศึกษามีผลประเมินในรายมาตรฐานอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม  เนื่องจากผู้บริหารสถานศึกษามีการวางแผนการดำเนินโครงการ ออกแบบกิจกรรมและดำเนินงาน ตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนา และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา มีการตรวจสอบ ผลการดำเนินงานและการปรับปรุง เพื่อแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ดังที่ปรากฏผลประเมินในมาตรฐานที่ 2 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม เนื่องจากมีหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา  มีการวิเคราะห์ ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามมาตรฐาน ตัวชี้วัดของหลักสูตร ดำเนินการจัดทำแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการติดตามตรวจสอบ และช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหารายบุคคล และการประเมินผลจากสภาพจริงในทุกขั้นตอน ดังที่ปรากฏผลประเมินในมาตรฐานที่ 3
     แผนงาน / โครงการเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น
          จากกระบวนการ swot จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาของโรงเรียนวัดดอนตาล (ธรรมราษฎร์สงเคราะห์) จึงได้วางแผนงานแนวทางการพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือคงสภาพในด้านของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยได้มีการจัดทำโครงการและกิจกรรม ดังนี้
           1)โครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระดับปฐมวัย
           2) โครงการพัฒนาการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
           3) โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพของผู้เรียน
           4) โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
           5) โครงการโรงเรียนสุจริต
           6) โครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
           7) โครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
           8) โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
           9) โครงการจัดหาครูผู้สอนและบุคลากรเสริม
           10) โครงการสานสัมพันธ์คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน
           11) ค่ายพัฒนาพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
           12) ค่ายคุณธรรมระดับปฐมวัย
           13) ค่ายทักษะชีวิต
           14) กิจกรรมทัศนศึกษา
           15) กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
           16) กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดมอนเตสซอรี
           17) กิจกรรมการป้องกันการทุจริต
           18) กิจกรรมสะเต็มศึกษา
           
ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563
     ภาพรวม
     จากการประเมินตนเองของโรงเรียนวัดดอนตาล (ธรรมราษฎร์สงเคราะห์) ปีการศึกษา 2563 มีผลการประเมินตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม โดยมีผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษา ดังต่อไปนี้  
     มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับ ดีเลิศ
     มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
     มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม  

     กระบวนการ / วิธีการพัฒนา
     สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชน จนมีผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอยู่ใน ระดับดีเลิศ  เห็นได้จากการจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษา มีโครงการที่จัดพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน มีผลการทดสอบระดับชาติทั้งการประเมินความสามารถในการอ่านและเขียนของผู้เรียน RT NT และ O-NET บางกลุ่มสาระสูงกว่าระดับประเทศ ผู้เรียนมีผลการประเมินด้านการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความสามารถในการคิดคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารได้ดี และมีผลการประเมินความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏอย่างชัดเจน และมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาในระดับ 3 ขึ้นไปถึงร้อยละ 70 ตามค่าเป้าหมายมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดไว้
     ด้านกระบวนการบริหารและจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา  มีผลประเมินในรายมาตรฐานอยู่ในระดับยอดเยี่ยม  เนื่องจากผู้บริหารสถานศึกษามีการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา มีระบบการบริหารงาน  มีการวางแผนการดำเนินโครงการ ออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษามีการใช้ผลการประเมินและการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนา และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา มีการตรวจสอบผลการดำเนินงาน นิเทศ กำกับติดตาม และการนำผลที่ได้มาปรับปรุง เพื่อแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง  
     ด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม เห็นได้จากครูมีการใช้หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา มีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรน่า (โควิด-19)  มีการวิเคราะห์ ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามมาตรฐานตัวชี้วัดของหลักสูตร ดำเนินการจัดทำแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ส่งเสริมกระบวนการคิด การปฏิบัติจริง มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลาย มีการประเมินตรวจสอบอย่างเป็นระบบ มีการจัดอบรมผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม จนเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

     แผนงาน / โครงการ เพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น
     จากกระบวนการ swot จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาของโรงเรียนวัดดอนตาล (ธรรมราษฎร์สงเคราะห์) จึงได้วางแผนงานแนวทางการพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือคงสภาพในด้านของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยได้มีการจัดทำโครงการดังนี้
     1) โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
     2) โครงการห้องสมุดสุดหรรษา
     3) โครงการสังคมแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง (โรงเรียนประชารัฐ)
     4) โครงการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรม พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
     5) โครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
     6) โครงการเรียนรู้สู่โลกกว้าง
     7) โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
     8) โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพของผู้เรียน
     9) โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
     10) โครงการโรงเรียนสุจริต
     11) โครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
     12) โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
     13) โครงการสานสัมพันธ์คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน
     14) โครงการการจัดการเรียนการสอนและเฝ้าระวังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพเด็ก
หลักฐานและข้อมูลการสนับสนุนการดำเนินงาน
     เด็กได้รับการเตรียมความพร้อมและจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างหลากหลาย ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้ง 4 ด้าน

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
หลักฐานและข้อมูลการสนับสนุนการดำเนินงาน
     มีการวางแผนการดำเนินโครงการ ออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและ การดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนา และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา มีการตรวจสอบผลการดำเนินงานและ   
การปรับปรุง เพื่อแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
หลักฐานและข้อมูลการสนับสนุนการดำเนินงาน
     มีหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา มีการวิเคราะห์ ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามมาตรฐาน ตัวชี้วัดของหลักสูตร ดำเนินการจัดทำแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการใช้สื่อ
การเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการติดตามตรวจสอบและช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อพัฒนา และแก้ปัญหารายบุคคล และการประเมินผล
จากสภาพจริงในทุกขั้นตอน

     กิจกรรม โครงการ / แผนงาน ที่ดำเนินงานในแผนปฏิบัติราชการปี 2563

           1)โครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระดับปฐมวัย
           2) โครงการพัฒนาการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
           3) โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพของผู้เรียน
           4) โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
           5) โครงการโรงเรียนสุจริต
           6) โครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
           7) โครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
           8) โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
           9) โครงการจัดหาครูผู้สอนและบุคลากรเสริม
           10) โครงการสานสัมพันธ์คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน
           11)  ค่ายพัฒนาพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
           12) ค่ายคุณธรรมระดับปฐมวัย
           13) ค่ายทักษะชีวิต
           14) กิจกรรมทัศนศึกษา
           15) กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
           16) กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดมอนเตสซอรี
           17) กิจกรรมการป้องกันการทุจริต
           18) กิจกรรมสะเต็มศึกษา


ระดับขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน

หลักฐานและข้อมูลการสนับสนุนการดำเนินงาน

     1) ผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับประเทศ

     2) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับประเทศ

     3) นักเรียนได้รับเหรียญรางวัลการแข่งขันกีฬา-กรีฑาระดับอำเภอ และระดับจังหวัด


มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการ

หลักฐานและข้อมูลการสนับสนุนการดำเนินงาน

     1) ผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่3 มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับประเทศ

     2) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับประเทศ

     3) สถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่เข้มแข็ง

     4) สถานศึกษามีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ

     5) สถานศึกษามีอาคารเรียน อาคารประกอบการเรียน ที่แข็งแรง มั่นคง ปลอดภัย ห้องเรียนสะอาด มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เช่น สัญญาณอินเทอร์เน็ต

     6) สถานศึกษามีห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งเรียนรู้ในการให้บริการผู้เรียน มีระบบสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

     7) สถานศึกษามีสนามกีฬากลางแจ้ง ในร่ม สนามเด็กเล่น เพื่อใช้สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนได้
ออกกำลังกาย

     8) สถานศึกษามีสิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่น มีสวนเกษตร โรงเรือนเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ โรงเรือนเพาะเห็ด เพื่อ ส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวันนักเรียน และให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติและเป็นแหล่งเรียนรู้


มาตรฐานที่ 3 การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

หลักฐานและข้อมูลการสนับสนุนการดำเนินงาน

     1) ครูผู้สอนได้รับการอบรมพัฒนาตนเองอยู่เสมอและต่อเนื่อง

     2) ครูได้รับรางวัลผู้ฝึกซ้อมการประกวดกิจกรรมต่าง ๆ


กิจกรรม โครงการ / แผนงาน ที่ดำเนินงานในแผนปฏิบัติราชการปี 2563
     โรงเรียนวัดดอนตาล (ธรรมราษฎร์สงเคราะห์)ได้ดำเนินงานในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดยได้มีการจัดทำโครงการดังนี้
     1) โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
     2) โครงการห้องสมุดสุดหรรษา
     3) โครงการสังคมแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง (โรงเรียนประชารัฐ)
     4) โครงการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรม พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
     5) โครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
     6) โครงการเรียนรู้สู่โลกกว้าง
     7) โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
     8) โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพของผู้เรียน
     9) โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
     10) โครงการโรงเรียนสุจริต
     11) โครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
     12) โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
     13) โครงการสานสัมพันธ์คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

แนวทางการพัฒนาในอนาคต ระดับปฐมวัย

1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น

2. การส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ

3. การพัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผลการนำไปใช้และผลที่เกิดกับเด็กอย่างต่อเนื่อง

4. การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน


ระยะแผนงาน / กิจกรรม หรือโครงการที่โรงเรียนจัดทำในปีการศึกษา 2564

  โรงเรียนวัดดอนตาล (ธรรมราษฎร์สงเคราะห์)ได้ดำเนินงานในการพัฒนาคุณภาพของเด็ก โดยได้มีการจัดทำโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
           1)โครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระดับปฐมวัย ระยะเวลาตั้งแต่ มี.ค. 2564 -เม.ย. 2565
           2) โครงการพัฒนาการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระยะเวลาตั้งแต่ 5 พ.ค. 2564-เม.ย. 2565
           3) โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพของผู้เรียน ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565
           4) โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565 
           5) โครงการโรงเรียนสุจริต ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565 
           6) โครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565
           7) โครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565 
           8) โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ระยะเวลาตั้งแต่ มี.ค. 2564 -เม.ย. 2565
           9) โครงการจัดหาครูผู้สอนและบุคลากรเสริม ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565
           10) โครงการสานสัมพันธ์คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565
           11)โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน  ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565
           12) โครงการบริหารระบบการเงิน พัสดุ  ระยะเวลาตั้งแต่ 1 พ.ค. 2564 -30 เม.ย. 2565
           13) โครงการการจัดการเรียนการสอนและเฝ้าระวังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565
           14) ค่ายพัฒนาพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. - ส.ค. 2564
           15) ค่ายคุณธรรมระดับปฐมวัย ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. - ธ.ค. 2564
           16) ค่ายทักษะชีวิต  ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 - มี.ค. 2565
           17) กิจกรรมทัศนศึกษา  ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 - มี.ค. 2565
           18) กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย  ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 - มี.ค. 2565
           19) กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดมอนเตสซอรี  ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 - มี.ค. 2565
           20) กิจกรรมการป้องกันการทุจริต  ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 - มี.ค. 2565
           21) กิจกรรมสะเต็มศึกษา  ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 - มี.ค. 2565

แนวทางการพัฒนาในอนาคต ระดับขั้นพื้นฐาน
1. รับการประเมินคุณภาพภายนอก สมศ. เพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านคุณภาพของผู้เรียน ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Leaning และ STEM ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิต ให้ผู้เรียนมีนวัตกรรมและชิ้นงาน

3. พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาในระดับ 3 ขึ้นไป

4. พัฒนาผลการทดสอบระดับชาติทั้งการประเมินความสามารถในการอ่านและเขียนของผู้เรียน RT NT และ O-NET ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงกว่าระดับประเทศ

5. การพัฒนาครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพในการสอน มีระบบนิเทศการสอน ให้คำแนะนำและช่วยเหลือ เพื่อส่งผลต่อคุณภาพของ
ผู้เรียน


ระยะแผนงาน / กิจกรรม หรือโครงการที่โรงเรียนจัดทำในปีการศึกษา 2564

  โรงเรียนวัดดอนตาล (ธรรมราษฎร์สงเคราะห์)ได้ดำเนินงานในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดยได้มีการจัดทำโครงการดังนี้
     1) โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565
     2) โครงการห้องสมุดสุดหรรษา  ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565
     3) โครงการสังคมแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง (โรงเรียนประชารัฐ) ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย.2564 -เม.ย. 2565
     4) โครงการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรม พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ระยะเวลาตั้งแต่ 5 พ.ค. 2564-เม.ย. 2565     
     5) โครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565 
     6) โครงการเรียนรู้สู่โลกกว้าง ระยะเวลาตั้งแต่ 5 พ.ค. 2564-เม.ย. 2565 
     7) โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา  ระยะเวลาตั้งแต่ มี.ค. 2564 -เม.ย. 2565
     8) โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพของผู้เรียน ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565 
     9) โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ  ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565 
     10) โครงการโรงเรียนสุจริต  ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565 
     11) โครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565
     12) โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน  ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565
     13) โครงการสานสัมพันธ์คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน  ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565
     14) โครงการบริหารระบบการเงิน พัสดุ  ระยะเวลาตั้งแต่ 1 พ.ค. 2564 -30 เม.ย. 2565
     15) โครงการการจัดการเรียนการสอนและเฝ้าระวังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2564 -เม.ย. 2565

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา

     โรงเรียนวัดดอนตาล (ธรรมราษฎร์สงเคราะห์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการ 

การศึกษาขั้นพื้นฐาน


ที่ตั้ง

     ตั้งอยู่เลขที่ 59/5 หมู่ที่ 13 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22000 โทรศัพท์ 039-418-393 

โทรสาร 039-418-393


การจัดการศึกษา

     เปิดสอน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


ชุมชน

     มีเขตบริการ 2 หมู่บ้านคือ หมู่ 12 บ้านหนองทองหลาง และหมู่ 13 บ้านลาว



เศรษฐกิจและสังคม

     สภาพชุมชนรอบโรงเรียนลักษณะเป็นบ้านและสวนล้อมรอบโรงเรียน อาชีพหลักของชุมชนคือ ทำสวนผลไม้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ บุคคลในชุมชนรักสงบ รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน ส่วนผู้ที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามา

จะมีอาชีพรับจ้าง



การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์
     " ผู้เรียนมีความรู้ ยึดมั่นค่านิยมของคนไทย  รู้จักใช้เทคโนโลยี  สัมพันธ์ดีชุมชน ”

พันธกิจ 
     1.จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถานบันหลักของชาติและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
     2.พัฒนาคุณภาพ ผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต รู้จักรักษาสุขภาพ ร่างกายของตน มีทักษะวิชาชีพ และคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21
     3.จัดการศึกษาให้ทั่วถึงกับทุกกลุ่มทั้งเด็กด้อยโอกาสและเด็กพิการ
     4.ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
     5.เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกในความเป็นไทย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     6.ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในการศึกษาของทุกภาคส่วน

อัตลักษณ์ 
"ซื่อสัตย์  ประหยัด  มีอัธยาศรัย ”

เป้าประสงค์ 
     1.ผู้เรียนระดับก่อนประถมศึกษาและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย มีคุณภาพและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 
     2.ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
     3.ครูมีจิตวิญญาณความเป็นครูและมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 10 0 1 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

ระดับการศึกษาปฐมวัย
   สาระการเรียนรู้ใช้เป็นสื่อกลางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านให้เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตรที่กำหนด ประกอบด้วย ประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ ดังนี้ 1.ประสบการณ์สำคัญ
   ประสบการณ์สำคัญเป็นแนวทางสำหรับผู้สอนไปใช้ในการออกแบบการจัดประสบการณ์ ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ และได้รับการส่งเสริมพัฒนาการครอบคลุมทุกด้าน ดังนี้   

   1.1 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย  เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาท ในการทำกิจวัตรประจำวันหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เด็ก มีโอกาสดูแลสุขภาพและสุขอนามัย และการรักษาความปลอดภัย ดังนี้  การใช้กล้ามเนื้อใหญ่ เช่น การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวพร้อมวัสดุอุปกรณ์การเคลื่อนไหวที่ใช้การประสานสัมพันธ์ของการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการขว้างการจับ การโยน ฯลฯการใช้กล้ามเนื้อเล็ก เช่น การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส และการสร้างจากแท่งไม้ บล็อก การเขียนภาพและการเล่นกับสีการปั้น การประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ด้วย เศษวัสดุ การหยิบจับ การใช้กรรไกร การฉีก การตัด การปะ และการร้อยวัสดุ การรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตัว เช่น การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย สุขนิสัยที่ดีในกิจวัตรประจำวัน และการปฏิบัติติตนให้ปลอดภัยจากโรคระบาดต่าง ๆการรักษาความปลอดภัย เช่น การปฏิบัติตนให้ปลอดภัย ในกิจวัตรประจำวัน การฟังนิทาน เรื่องราว เหตุการณ์ เกี่ยวกับการป้องกัน และรักษาความปลอดภัย การเล่นเครื่องเล่นอย่างปลอดภัย การเล่นบทบาทสมมติเหตุการณ์ต่าง ๆการตระหนักรู้เกี่ยวกับร่างกายตนเอง เช่น การเคลื่อนไหวเพื่อควบคุมตนเองไปในทิศทาง ระดับ และพื้นที่การเคลื่อนไหวข้ามสิ่งกีดขวาง 

   1.2 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง ที่เหมาะสมกับวัย ตระหนักถึงลักษณะพิเศษเฉพาะที่เป็นอัตลักษณ์ ความเป็นตัวของตัวเอง มีความสุข ร่าเริงแจ่มใส การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ได้พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม สุนทรียภาพ ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และความเชื่อมั่นในตนเองขณะปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้สุนทรียภาพ ดนตรี เช่การฟังเพลงการร้องเพลงและการแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี การเล่นเครื่องดนตรี ประกอบจังหวะ การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง/ดนตรี บทบาทสมมติ ทำกิจกรรมศิลปะต่าง ๆสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม การเล่น เช่น การเล่นอิสระ การเล่นรายบุคคล กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ การเล่นตามมุมประสบการณ์/มุมเล่น การเล่นนอกห้องเรียนคุณธรรม จริยธรรม เช่น การปฏิบัติตนตามหลัก ศาสนาที่นับถือการฟังนิทานเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม ร่วมสนทนา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงจริยธรรมการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น สะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น เล่นบทบาทสมมติ เคลื่อนไหวตามเสียงเพลง/ดนตรี ร้องเพลง ทำงานศิลปะการมีอัตลักษณ์เฉพาะตนและเชื่อว่าตนเองมีความสามารถปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสามารถของตนเอง เห็นอกเห็นใจผู้อื่นการแสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข และการช่วยเหลือปลอบโยน เมื่อผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ

     1.3 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคลและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวจากการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านการเรียนรู้ทางสังคม เช่น การเล่น การทำงานกับผู้อื่น การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น การช่วยเหลือตนเองใน กิจวัตรประจำวันและการปฏิบัติตนตามแนวทางหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การมีส่วนร่วมรับผิดชอบดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนการใช้วัสดุและสิ่งของเครื่องใช้อย่างคุ้มค่าทำงานศิลปะที่ใช้วัสดุหรือสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำหรือแปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่การเพาะปลูกและดูแลต้นไม้ การเลี้ยงสัตว์ การสนทนาข่าวและเหตุการณ์ ที่เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวันการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยและความเป็นไทยเช่น การเล่นบทบาทสมมุติการปฏิบัติตนในความเป็นคนไทยปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยและประเพณีไทย การประกอบอาหารไทย การศึกษานอกสถานที่ การละเล่นพื้นบ้านของไทย การมีปฏิสัมพันธ์ มีวินัย มีสวนร่วม และบทบาทสมาชิกของสังคม เช่น การร่วมกำหนดข้อตกลงของห้องเรียน การปฏิบัติตนเป็นสมาชิก ที่ดีของห้องเรียน การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ การดูแลห้องเรียนร่วมกันการร่วมกิจกรรมวันสำคัญการเล่นแบบร่วมมือร่วมใจ เช่น การร่วมสนทนา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นการทำศิลปะแบบร่วมมือการแก้ปัญหาความขัดแย้งเช่น การมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการแก้ปัญหา การมีส่วนร่วม ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งการยอมรับในความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคลเช่นการเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเพื่อนและการป้องกันการทุจริต

   1.4 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านสติปัญญาเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคลและสื่อต่าง ๆ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก พัฒนาการใช้ภาษา จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การคิดเชิงเหตุผล และการคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวและ มีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ต่อไป ดังนี้ การใช้ภาษา เช่น การฟังเสียงต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม ฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ ฟังเพลง นิทาน คำคล้องจอง บทร้อยกรงหรือเรื่องราวต่าง ๆ การแสดงความคิด ความรู้สึก และความต้องการ    การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง หรือพูดเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง การพูดอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ การพูดอย่างสร้างสรรค์ ในการเล่น และการกระทำต่าง ๆ การรอจังหวะที่เหมาะสมในการพูด    การพูดเรียงลำดับเพื่อใช้ในการสื่อสาร การอ่านหนังสือภาพ นิทาน หลากหลายประเภท/รูปแบบ การอ่านอิสระตามลำพัง การอ่านร่วมกัน การอ่านโดยมีผู้ชี้แนะ การเห็นแบบอย่างของการอ่านที่ถูกต้อง การสังเกตทิศทางการอ่านตัวอักษร คำ และข้อความ    การอ่านและชี้ข้อความ โดยกวาดสายตาตามบรรทัดจากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง การสังเกตตัวอักษรในชื่อของตน หรือคำคุ้นเคย การสังเกตตัวอักษรที่ประกอบเป็นคำผ่านการอ่านหรือเขียนของผู้ใหญ่และการคาดเดาคำ วลี หรือประโยค ที่มีโครงสร้างซ้ำ ๆ กัน จากนิทาน เพลง คำคล้องจอง

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

โครงสร้างเวลาเรียนระดับประถมศึกษา

โรงเรียนวัดดอนตาล (ธรรมราษฎร์สงเคราะห์) ปีการศึกษา 2563

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

เวลาเรียน

ระดับประถมศึกษา

ป.1

ป.2

ป.3

ป.4

ป.5

ป.6

— กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

ภาษาไทย

200

200

200

160

160

160

คณิตศาสตร์

200

200

200

160

160

      160

วิทยาศาสตร์

80

80

80

80

80

80

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม **ประวัติศาสตร์

 

 ศาสนาศีลธรรม จริยธรรม

 วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม เศรษฐศาสตร์

 ภูมิศาสตร์

 

80

40

 

         40

 

 

80

40

 

40

 

 

80

40

 

40

 

 

120

40

 

80

 

120

40

 

80

 

 

120

40

 

80

 

สุขศึกษาและพลศึกษา

40

40

40

80

80

80

ศิลปะ

40

40

40

      80

80

80

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

40

40

40

80

80

80

ภาษาต่างประเทศ

160

160

160

80

80

80

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

840

840

        840

840

840

840

—รายวิชาเพิ่มเติม

การป้องกันการทุจริต

(40)

40
(40)

40

(40)

40
(40)

40
(40)

40
(40)

40

— กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 

 กิจกรรมแนะแนว

40

40

40

40

40

40

กิจกรรมนักเรียน

- ลูกเสือ/ เนตรนารี

- ชุมนุม

 

40

40

 

40

40

 

40

40

 

 40

40

 

40

40

 

40

40

 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

10 ชั่วโมง ผนวกในกิจกรรมลูกเสือ / เนตรนารี

รวมเวลากิจกรรมพัฒนา
ผู้เรียน

120

120

120

120

120

120

รวมเวลาทั้งหมด

1,000 ชั่วโมง

1,000 ชั่วโมง


 

 


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

อาคารเรียนและอาคารประกอบ จำนวน 5 หลัง ได้แก่

1. อาคารเรียน 1 แบบ 006

2. อาคารเรียน 2 แบบ 017

3. อาคารเอนกประสงค์

4. อาคารห้องสมุด

5. ห้องน้ำ

จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 8 ห้องเรียน แบ่งเป็น ก่อนประถม จำนวน 2 ห้องเรียน ชั้น ป.1– ป.6 จำนวน 6 ห้องเรียน


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1ARkRs-yWhS05saBtF4wB4irUBoTa8oML/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

ข้อมูลการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา

จำนวนนักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ปีการศึกษา 2563

แหล่งเรียนรู้

ป.1

ป.2

ป.3

ป.4

ป.5

ป.6

ห้องสมุด

28

28

16

19

20

28

โรงเพาะเห็ด

-

-

-

-

20

-

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

28

28

16

19

20

28

โรงเรือนเลี้ยงไก่

-

-

-

19

-

-

สวนกล้วย

28

28

16

19

20

28

ค่ายมวย

-

-

2

-

3

3

 

จำนวนนักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ปีการศึกษา 2563

แหล่งเรียนรู้

ป.1

ป.2

ป.3

ป.4

ป.5

ป.6

วัดดอนตาล

28

28

16

19

20

28

โอเอซิสซีเวิลด์

28

28

16

19

20

28

 

 


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1TBVUMUG0AW673bjB-dY_HSOULkeTzKen/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาเด็กด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของเด็ก เป็นไปตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์และสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 มีการออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็ก โดยมีการวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ จากแผนปฏิบัติงานประจำปี มีการกำหนดแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับประสบการณ์สำคัญ  จัดประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด ทั้งกิจกรรมเป็นรายบุคคลและกิจกรรมกลุ่ม ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม อันได้แก่ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมกลางแจ้งและกิจกรรมเกมการศึกษา มีการบูรณาการกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ สะเต็มศึกษา กิจกรรมการป้องกันการทุจริต เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาของเด็ก ให้มีพัฒนาการเป็นไปตามวัยอย่างเหมาะสม

นอกจากนี้สถานศึกษา ได้จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ในช่วงบ่ายของทุกวันตลอดทั้งสัปดาห์ อันได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรมออกกำลังกาย กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมนักเกษตรตัวน้อย และกิจกรรมสวดมนต์ประจำสัปดาห์

อีกทั้งได้มีการจัดกิจกรรมหน้าเสาธงให้ความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพ การปฏิบัติตนและการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคระบาด เช่น โรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ส่งเสริมสุขนิสัยที่ดี หลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัยพิบัติ และสิ่งเสพติด  กิจกรรมเล่าข่าวยามเช้า โดยเด็กจะเป็นผู้จัดเตรียมข่าวสาร สาระที่ตนเองสนใจมาเล่าและนำเสนอให้เพื่อน ๆ ฟังหน้าชั้นเรียน ส่งเสริมให้เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัยโดยให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวัน รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ทั้งยังมีการติดตาม ดูแลช่วยเหลือเด็กผ่านระบบดูแลช่วยเหลืออย่างสม่ำเสมอ

ผลการดำเนินงาน  

 

จากการประเมินตนเองของสถานศึกษา  เพื่อพัฒนาคุณภาพของเด็ก ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานที่ 1 ภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 87.64 อยู่ในระดับ ดีเลิศ  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 84.33 โดยแบ่งตามตัวชี้วัดได้ดังนี้ เด็กร้อยละ 82.50  มีน้ำหนัก ส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขและเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์กันได้ดี เห็นได้จาก การบันทึกน้ำหนัก ส่วนสูง แบบสรุปภาวะโภชนาการและการประเมินสมรรถนะของเด็ก การปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เช่น การเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง คำคล้องจอง และอุปกรณ์ต่าง ๆ การเข้าร่วมกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การเล่นเกมต่าง ๆ การเล่นเกมการละเล่นไทย เป็นต้น เด็กร้อยละ 84.00 มีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพของตนเอง สามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำสะอาด ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำห้องส้วมด้วยตนเอง เห็นได้จากการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น การล้างมือ ล้างหน้า แปรงฟัน การรับประทานอาหาร การรณรงค์ตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เช่น การกำจัดเหา การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง กิจกรรมโฮมรูมในยามเช้า และบูรณาการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแผนการจัดประสบการณ์แต่ละสัปดาห์ เด็กร้อยละ 86.50 มีความระมัดระวังและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมและปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัย หลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ ภัยและสิ่งเสพติด เห็นได้จาก การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน กิจกรรมเล่าข่าวยามเช้า และกิจกรรมโฮมรูม การปฏิบัติกิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรม กิจกรรมการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019  

เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ ภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 90.10 โดยแบ่งตามตัวชี้วัดได้ดังนี้ เด็กร้อยละ 91.00  เด็กร่าเริง แจ่มใส มั่นใจในตนเองและมีความสุข  เห็นได้จากพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมประจำวัน การเข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธงและกิจกรรมยามเช้า การประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมและการจัดค่ายต่าง ๆ ของโรงเรียน การทำกิจกรรมกลุ่ม การนำเสนอผลงานของตนเองหลังจากการปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ การเข้าร่วมกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และกิจกรรมสร้างสรรค์ เด็กร้อยละ 86.50 สามารถควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ มีความอดทนและรอคอย ยอมรับและพอใจในความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่นได้  เห็นได้จาก พฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม แบบสังเกตพฤติกรรมเด็กเป็นรายบุคคล และบันทึกหลังการจัดประสบการณ์ เด็กร้อยละ 89.00 มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี มีความมั่นใจ กล้าพูดกล้าแสดงออด เห็นได้จาก พฤติกรรมการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน การทำกิจกรรมกลุ่ม การเข้าร่วมกิจกรรมค่ายต่าง ๆ เช่น ค่ายพัฒนาพ่อ แม่ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ค่ายคุณธรรมระดับปฐมวัย ค่ายทักษะชีวิต เด็กร้อยละ 91.00 ช่วยเหลือแบ่งปัน เคารพสิทธิ รับผิดชอบต่อหน้าที่ ซื่อสัตย์สุจริต และมีคุณธรรมจริยธรรม เห็นได้จากการสังเกตพฤติกรรมประจำวัน จากการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น การพบเจอสิ่งของที่ไม่ใช่ของตนแล้วนำมาส่งครูเพื่อตามหาเจ้าของ การวางรองเท้า การเก็บของเล่น ของใช้เข้าที่ การแปรงฟัน การรับประทานอาหารและเก็บถาดอาหาร การปูและเก็บที่นอนได้ด้วยตนเอง การเข้าร่วมกิจกรรมค่ายคุณธรรมระดับปฐมวัย  เด็กร้อยละ 93.00 ชื่นชมและมีความสุขกับเสียงเพลงและการเคลื่อนไหว เห็นได้จากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของห้องเรียน เช่น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ การเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลงต่าง ๆ

เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 89.17 โดยแบ่งตามตัวชี้วัดได้ดังนี้ เด็กร้อยละ 83.00 เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีวินัย และเก็บของเล่นของใช้เข้าที่ได้ เห็นได้จาก การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กร้อยละ 100 สามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล เห็นได้จากการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันภายในห้องเรียน การแสดงความเคารพผู้ปกครอง คุณครูทุกเช้าและก่อนกลับบ้าน เด็กร้อยละ 84.50 เป็นสมาชิกที่ดีต่อสังคม มีส่วนร่วมสร้างข้อตกลงและปฏิบัติตามข้อตกลงปฏิบัติตนเป็นผู้นำ – ผู้ตามที่ดีได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เห็นได้จากการการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในห้องเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมค่าย กิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นต้น

เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ ภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 82.88 โดยแบ่งตามตัวชี้วัดได้ดังนี้ เด็กร้อยละ 92.00 กล้าพูดกล้าแสดงออกและมีไหวพริบในการตอบคำถาม สนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว  เห็นได้จาก การสังเกตการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน กิจกรรมค่าย พฤติกรรมของนักเรียนขณะเข้าร่วมกิจกรรม สังเกตจากการ กล้าพูดกล้าแสดงออก ไหวพริบในการตอบคำถาม เป็นต้น โครงการพัฒนาการเรียนการสอนระดับปฐมวัย การประเมินพัฒนาการ การบันทึกหลังการจัดประสบการณ์ เด็กร้อยละ 88.50 เล่าเรื่องราวของตนเองและสื่อสารให้ผู้อื่นฟังได้ สนทนาโต้ตอบแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจ เห็นได้จาก การสนทนาโต้ตอบ การกล้าพูด  กล้าแสดงความคิดเห็น การเล่าเรื่องจากกิจกรรมยามเช้า พฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน  เด็กร้อยละ 80.00 มีความคิดรวบยอด คิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แก้ปัญหาและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เห็นได้จาก การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ การส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานในชั้นเรียน เด็กร้อยละ 71.00 มีการแสวงหาและค้นหาคำตอบด้วยวิธีการที่หลากหลาย สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการ ใช้สื่อและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เห็นได้จาก การตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย การเรียนรู้แบบโครงงาน การเล่าข่าวยามเช้า  เป็นต้น


 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1wYWQUnlrg_dBz7W8D41KzU5kS0dvb9OU?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษาอย่างชัดเจน มีการวางแผนพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของเด็กรอบด้าน  ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ  จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี กำหนดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ โดยแต่งตั้งและมอบหมายผู้รับผิดชอบ เพื่อให้สามารถดำเนินการตามแผนที่กำหนดได้ มีการกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินโครงการ กิจกรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ และให้ผลสะท้อนกลับแก่ผู้รับผิดชอบโครงการ กิจกรรม หรือครูผู้สอน เพื่อให้นำผลมาใช้ในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพ  สนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เช่น กรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง หน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อให้เด็กได้รับประโยชน์สูงสุด และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

   ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุนให้ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ เช่น การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โครงการพัฒนาครูในรูปแบบต่าง ๆ การเข้ารับการอบรม การเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงาน  เป็นต้น 

นอกจากนี้ผู้บริหารสถานศึกษายังให้ความสำคัญต่อการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน  และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ภายในสถานศึกษา ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของครู ส่งเสริมการสร้างกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้บริการเข้าใช้ห้องสมุด จัดบริการอินเทอร์เน็ต เพื่อครูและเด็กสามารถใช้สืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทั้งยังมีการกำหนดแผนการบริหารและจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบและเป็นปัจจุบัน

 

ผลการดำเนินงาน  

จากการจัดประเมินตนเอง ถึงกระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานที่ 2 ภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 91.07 อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  ผู้บริหารมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการ LOOKTAN MODEL และเทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เห็นได้จากการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา และความต้องการชุมชน มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจนโดยใช้กระบวนการ P D C A และได้นำแผนไปเป็นเครื่องมือสำหรับนำทางในการบริหารจัดการ สามารถจัดโครงการและกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการนิเทศติดตาม ประเมินรายงานผลและนำผลการประเมินไปใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของเด็กอย่างรอบด้าน โดยปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.. 25602579 และสามารถพัฒนาเด็กให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษา ร้อยละ 86.40 สถานศึกษามีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น เห็นได้จาก มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้เด็กมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น สถานศึกษามีครูเพียงพอกับชั้นเรียน มีอัตรากำลังครูในระดับปฐมวัยปฏิบัติการสอนตรงตามวิชาเอกทุกห้องเรียน  ครูปฐมวัยทุกคน มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ เห็นได้จาก การมีวุฒิการศึกษาตรงตามวิชาเอกการศึกษาปฐมวัยและการได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ เช่น การศึกษาดูงาน การเข้ารับการพัฒนาครูในรูปแบบต่างๆ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนา เป็นต้น มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ทั้งในห้องเรียน เช่น มุมหนังสือ มุมธรรมชาติ มุมเสริมประสบการณ์ต่าง ๆ และแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน เช่น มีสนามกีฬากลางแจ้งที่ได้มาตรฐาน  สนาม BBL มีระบบรักษาความปลอดภัย เห็นได้จากคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ และติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดเสี่ยง  ร้อยละ 80 สถานศึกษามีการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครูครบทุกชั้นเรียน เห็นได้จาก การมีคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ ไมโครโฟนแบบพกพา ให้ครูใช้สืบค้นข้อมูลและหาข้อมูล เพื่อนำมาจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 80สถานศึกษามีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เห็นได้จากการวางแผนการปฏิบัติงานของโรงเรียน โดยการให้ความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครองในชั้นเรียน ชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม จากทุกข้อที่รายงาน พบว่า การประเมินเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งหมด

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1N455a1xu3isE-yBxBwDy26kuR2wQJD77?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

  ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรของสถานศึกษา ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มตามศักยภาพทั้ง 4 ด้าน เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง จากการเข้าร่วมกิจกรรมที่หลากหลาย ครูจัดกิจกรรมที่สร้างโอกาสทางการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมตามแนวคิดมอนเตสซอรี่กิจกรรมการป้องกันการทุจริต กิจกรรมสะเต็มศึกษา กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีมุมประสบการณ์และมุมเสรีให้เด็กเลือกเล่นอย่างอิสระ มีการนำสื่อเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย มีการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการของเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

 

ผลการดำเนินงาน  

จากการประเมินตนเองของสถานศึกษา  เรื่องการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานที่ 3 ภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 93.00 อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ครูทุกคนมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การที่เรียนรู้ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรสถานศึกษา ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างเต็มศักยภาพ เห็นได้จาก การประชุม/วางแผนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และการประชุมหารือแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ครูปฐมวัยทุกคนมีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล เห็นได้จาก ผลการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ครูปฐมวัยทุกคนมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการที่หลากหลาย เห็นได้จากการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมที่มีความหลากหลายและส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสม ครูปฐมวัยทุกคนมีการสร้างและเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงศักยภาพของตนเองออกมา ผ่านการทำกิจกรรม การเล่าเรื่อง การนำเสนอผลงาน การแสดงความคิดเห็นของตนเอง เห็นได้จาก พฤติกรรมจากการเข้าร่วมกิจกรรม การเล่าเรื่องนำเสนอผลงานและการบันทึกผลหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูปฐมวัยร้อยละ 80 สร้างโอกาสให้เด็กเป็นผู้คิดริเริ่มวางแผนและทำกิจกรรม ทั้งกิจกรรมรายบุคคลและกิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม เห็นได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม กิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย กิจกรรมการป้องกันการทุจริตและกิจกรรมสะเต็มศึกษา ครูปฐมวัยทุกคนจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการและตอบสนองการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล เห็นได้จาก การจัดเตรียมกิจกรรมประจำวันที่หลากหลาย ครูปฐมวัยร้อยละ 80 จัดการเรียนรู้ให้เด็กได้เลือกเล่น เรียนรู้ ลงมือกระทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เห็นได้จาก การเข้าร่วมกิจกรรมภายในชั้นเรียนทั้งกิจกรรมรายบุคคลและกิจกรรมกลุ่ม ครูปฐมวัยร้อยละ 80 จัดห้องเรียนและมุมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ให้มีความสะอาดน่าอยู่ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกและปลอดภัย เห็นได้จาก บรรยากาศภายในห้องเรียนที่มีการจัดมุมประสบการณ์ที่หลากหลาย ครูปฐมวัยร้อยละ 80 มีพื้นที่จัดแสดงผลงานเด็ก มุมประสบการณ์และพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรมที่หลากหลายอย่างเพียงพอ เห็นได้จาก การดำเนินกิจกรรมและมีการจัดวางผลงานของเด็กอย่างเพียงพอและเหมาะสม อยู่ในมุมที่ผู้ปกครองสามารถมองเห็นและรับทราบพัฒนาการของบุตรหลานได้จากการนำเสนอผลงาน ครูปฐมวัยทุกคนมีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก เห็นได้จาก รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่นำสื่อและเทคโนโลยีมาใช้ประกอบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก ครูปฐมวัยทุกคนให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน เห็นได้จาก การมอบหมายหน้าที่ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการดูแลและทำความสะอาดห้องเรียนในยามเช้า เพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้จักรักและดูแลสิ่งของต่าง ๆ ภายในห้องเรียนของตนเอง ครูปฐมวัยทุกคนมีการใช้สื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ที่กะตุ้นในการคิดและหาคำตอบ เห็นได้จาก การประเมินการจัดกิจกรรม การประเมินความพึงพอใจของเด็ก ครูปฐมวัย ร้อยละ 80 ประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เห็นได้จาก การประเมินผลหลังการทำกิจกรรม โดยวิธีการสัมภาษณ์ สังเกตและการสอบถามความพึงพอใจ ครูปฐมวัยทุกคนมีการประเมินพัฒนาการเด็ก โดยผู้ประเมินและผู้ที่เกี่ยวข้อง เห็นได้จาก มีการประเมินพัฒนาการเด็กให้ผู้ปกครองทราบทุกภาคเรียน ครูปฐมวัยร้อยละ 80 นำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็กและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพ เห็นได้จาก มีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำผลไปพัฒนาเด็กให้มีประสิทธิภาพต่อไป จากทุกข้อที่รายงาน พบว่า การประเมินเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งหมด

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1nH1QTahi-2yLrbqibMjmarlWPP6qyYs0/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

   โรงเรียนเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยและกิจกรรมสะเต็มศึกษา โดยสถานศึกษานำกิจกรรมการทดลองมาใช้บูรณาการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กทุกคนมีความสุขและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าแสดงออกและมีภาวะผู้นำ - ผู้ตาม เด็กมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทยตามบริบทของชุมชน

   ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะความเป็นผู้นำสูง  มีบุคลิกภาพและการวางตนที่เหมาะสม  มีความเอาใส่ใจ เอื้ออาทรต่อครูและบุคลากรของสถานศึกษา  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ได้รับการยอมรับจากกรรมการสถานศึกษาและชุมชน   อีกทั้งสามารถบริหารงานเป็นไปตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี มีความคิดสร้างสรรค์  มีความรู้ ความสามารถ  ความเข้าใจ  และหมั่นแสวงหาความรู้ทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ  ทำให้ได้รับความเชื่อมั่น  เชื่อถือจากครูและบุคลากร กรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง หน่วยงานต่างๆทั้งจากภาครัฐและเอกชน เช่น การรับคณะศึกษาดูงานจากสถานศึกษาต่างๆ ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด   ครู และบุคลากร ได้รับการพัฒนาโดยการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา ตามที่หน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานต่างๆจัดขึ้น ทำให้สามารถนำความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษา เช่น การดำเนินโครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย รวมทั้งการให้ความร่วมมือจากกรรมการสถานศึกษาและชุมชน  ในการดำเนินโครงการและจัดกิจกรรมต่าง ๆ  เป็นต้น 

   ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้โดยส่งเสริมทักษะการคิด วางแผน ลงมือปฏิบัติจริง มีการใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้อย่างหลากหลาย ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และครูมีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้(PLC) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จากกระบวนการswotจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาของโรงเรียนวัดดอนตาล (ธรรมราษฎร์สงเคราะห์) จึงได้วางแผนงานแนวทางการพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือคงสภาพในด้านของการพัฒนาคุณภาพของเด็ก ดังนี้

5.1โครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระดับปฐมวัย

5.2โครงการพัฒนาการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

5.3โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพของผู้เรียน

5.4โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ

5.5 โครงการโรงเรียนสุจริต

5.6 โครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

5.7ค่ายพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

5.8 ค่ายคุณธรรม ระดับปฐมวัย

5.9ค่ายทักษะชีวิต

5.10 กิจกรรมทัศนศึกษา

โรงเรียนวัดดอนตาล (ธรรมราษฎร์สงเคราะห์) ได้วางแผนงานในการพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือคงสภาพในด้านของกระบวนการบริหารและการจัดการ ตามโครงการต่าง ๆ  ดังนี้

          5.1 โครงการพัฒนาการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

          5.2  โครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

          5.3  โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

          5.4  โครงการจัดหาครูผู้สอนและบุคลากรเสริม

          5.5  โครงการสานสัมพันธ์คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน

 การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ การจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้(PLC) ให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ โรงเรียนวัดดอนตาล (ธรรมราษฎร์สงเคราะห์) จึงได้วางแผนงาน แนวทางพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือคงสภาพในด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญดังนี้

5.1โครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย

5.2โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพของผู้เรียน

5.3โครงการพัฒนาการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

5.4โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ

5.5 โครงการโรงเรียนสุจริต

5.6ค่ายพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

5.7 ค่ายคุณธรรม ระดับปฐมวัย

5.8ค่ายทักษะชีวิต

5.9 กิจกรรมทัศนศึกษา

5.10กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

5.11 กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่

5.12 กิจกรรมการป้องกันการทุจริต

5.13 กิจกรรมสะเต็มศึกษา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1BI06V_Nnh6ZFMHswKSVIFoLpDamOxGjU/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  
1. กระบวนการพัฒนา
     สถานศึกษาใช้กระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ  โดยการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรรายกลุ่มสาระ หลักสูตรการป้องกันการทุจริต มีการนำหลักสูตรเข้าสู่การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนทุกปี โดยมีกิจกรรมและโครงการที่ส่งเสริมผู้เรียนทั้งในและนอกชั้นเรียน ครูผู้สอนจัดกระบวนการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียน เป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร โดยออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนหลากหลายวิธี  เช่น  การจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง  ลงมือปฏิบัติจริง  ร่วมมือกันเรียนรู้ ใช้กระบวนการคิด  กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก และการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  เป็นต้น  ทั้งยังเน้นการอ่านออกเขียนได้  ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โดยฝึกผู้เรียนอ่านหนังสือแบบสะกดคำ-แจกลูก ฝึกเขียนตามคำบอก บันทึกการอ่าน เข้าร่วมกิจกรรมรักการอ่าน เข้าร่วมประกวดกิจกรรมห้องสมุดที่ส่งเสริมทักษะภาษาไทยและคณิตคิดเลขเร็ว  และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร
     นอกจากนี้สถานศึกษาอาศัยความร่วมมือของครู และกำกับติดตามโดยผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อปรับปรุงผลการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามหลักสูตรสถานศึกษา ให้สูงขึ้น มีการดำเนินโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยจัดกิจกรรมค่ายกลุ่มสาระการเรียนรู้
5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (NT) และการทดสอบระดับชาติชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (O-NET) ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สพฐ. และ สมศ. กำหนดไว้ 
     สถานศึกษาจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน-เพิ่มเวลารู้ในทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการเรียนรู้ทั้งทางวิชาการ โดยการจัดชุมนุมที่เน้นทักษะทางวิชาชีพ อาทิ การปลูกผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงไก่ไข่ การเพาะเห็ดนางฟ้า การทำเค้กกล้วยตาก เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติค่านิยมที่ดีต่องาน  ซึ่งเป็นการสร้างความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงาน หรือการทำงานให้แก่ผู้เรียน โดยส่งเสริมการเรียนรู้ครบทั้ง 4 H ได้แก่  HEAD  HAND  HEALTH  HEART  และบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning  ทำให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออกตามวัย ฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วม ในการทำกิจกรรมและสามารถคิดและผลิตนวัตกรรมได้  
     นอกจากนี้มีการจัดกิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมประชาธิปไตย กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ โครงการห้องเรียนสีขาว เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีงาม  ภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย สามารถอยู่ร่วมกัน
บนความแตกต่างอย่างหลากหลายได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักดูแลรักษาสุขภาพกาย  สุขภาพจิต โดยการ
ออกกำลังกาย  ดื่มนม รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ครบ 5 หมู่อย่างสม่ำเสมอ  เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย สามารถป้องกันตนเองต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) สามารถหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ  ภัยพิบัติ และสิ่งเสพติดได้
ผลการดำเนินงาน  
2.ผลการดำเนินการพัฒนา
  จากการดำเนินงานพบว่า ผู้เรียนมีผลการทดสอบระดับชาติสูงกว่าระดับประเทศทั้ง NT และ O-NET ผู้ร้อยละ 82.90  มีผลจากการประเมินความสามารถในการอ่าน การเขียน ได้ระดับคุณภาพดี-ดีมาก ผู้เรียนร้อยละ 67.63
มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษได้ตามระดับชั้น ผู้เรียนร้อยละ 79.43 สามารถคิดคำนวณ และมีผล
การทดสอบ มากกว่าร้อยละ 70  ผู้เรียนร้อยละ 71.96 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
ในระดับ 3 ขึ้นไป ผู้เรียนร้อยละ 85.81 สามารถคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีทักษะชีวิต ได้ในระดับดี-ดีเยี่ยม ผู้เรียนร้อยละ 79.86  มีความรู้ และทักษะพื้นฐาน สามารถสร้างนวัตกรรม ผู้เรียนร้อยละ 100 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้เรียนร้อยละ 100 มีทักษะทางอาชีพ
ผู้เรียนร้อยละ 99.28 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการและค่านิยมที่ดีเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดในระดับดี-ดีเยี่ยม ผู้เรียนร้อยละ 100 มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ผู้เรียนร้อยละ 100 ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลายทางเชื้อชาติ ผู้เรียนร้อยละ 84.17 มีสุขภาวะทางร่างกายสมส่วน 
ผู้เรียนร้อยละ 100 รักษาอารมณ์ และสุขภาพจิต ให้ดีอยู่เสมอ มีความรู้ ตระหนัก เข้าใจถึงวิธีการดูแลรักษาสุขภาพ
ผู้เรียนร้อยละ 100 รู้และมีวิธีการป้องกันตนเองจากการล่อลวง ข่มเหง รังแก สามารถหลีกเลี่ยงต่อ สภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุภัยพิบัติ และสิ่งเสพติดได้
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1ysPkOqjYheImq6u4xzvVRN8st81tkcvx?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา       มีการจัดกิจกรรมหน้าเสาธง การอบรมคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรมประชาธิปไตย กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ โครงการห้องเรียน
สีขาว เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีงาม  ภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย สามารถอยู่ร่วมกันบน
ความแตกต่างอย่างหลากหลายได้
ผลการดำเนินงาน  

     ผลจากการดำเนินงาน พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 100 ได้เข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตย รู้จักใช้สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และหน้าที่ของตนเอง ผู้เรียนร้อยละ 100 มีจิตสำนึกความเป็นไทย ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ผู้เรียนร้อยละ 100 มีวิถีชีวิตแบบชาวพุทธอย่างถาวร มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร ผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน เกิดความเข้าใจตรงกันเพื่อป้องกันสารเสพติด ผู้ปกครองและผู้เรียนร้อยละ 98.00 ร่วมมือ สร้างสรรค์สังคม พร้อมสร้างภูมิคุ้มกันจากสารเสพติด การทะเลาะวิวาท อบายมุข และการพนันอย่างถาวร


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1gr-VlND15CzfFTvR1jcMUA1tlp_H2irT?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

1.กระบวนการพัฒนา

     ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษาอย่างชัดเจน มีการวางแผนพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ แต่งตั้งคำสั่งมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินโครงการ กิจกรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ และให้ผลสะท้อนกลับแก่ผู้รับผิดชอบโครงการ กิจกรรมหรือครูผู้สอน โดยมีเครื่องมือในการนิเทศ กำกับ ติดตาม และเกณฑ์การประเมินผลอย่างชัดเจนอย่างเป็นระบบ โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ มีความถูกต้องครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้นำผลมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ สนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เช่น กรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง หน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ กอปรกับมีการสนับสนุนให้ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ เช่น การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร การเข้ารับการอบรม การเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงาน เป็นต้น

      นอกจากนี้ผู้บริหารสถานศึกษายังให้ความสำคัญต่อการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ภายในสถานศึกษา ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของครู ส่งเสริมการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การจัดซื้อหนังสือที่ส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษ และสะเต็มศึกษา ฯลฯ เพื่อให้บริการเข้าใช้ห้องสมุด จัดบริการอินเทอร์เน็ต เพื่อผู้เรียนใช้สืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทั้งยังมีการกำหนดแผนการบริหารและจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบและเป็นปัจจุบัน

ผลการดำเนินงาน  
 2.ผลการดำเนินการพัฒนา
      จากการดำเนินงานพบว่า สถานศึกษาทำการวิเคราะห์สภาพปัญหา หรือผลการจัดการศึกษาในปีการศึกษา       
ที่ผ่านมา เพื่อใช้ข้อมูลในการกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและความต้องการของท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายและ
จุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการและต้นสังกัด  โดยกำหนดเป้าหมายให้นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาตามระดับ
การศึกษาที่มีคุณภาพตามหลักสูตร และมีความรู้และทักษะตามระดับชั้น ร่วมระดมความคิดในการปรับ แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี จัดทำโครงการ/กิจกรรมในแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชน รวมทั้งมีการวางแผนการดำเนินการในปีการศึกษา โดยการกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา ประจำปี 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 (ปรับปรุง พุทธศักราช 2560) รวมทั้งกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆ  ดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา  เชื่อมโยงกับชีวิตจริง จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา ในเชิงกลยุทธ์ ระยะเวลา พ.ศ. 2562-2564 โดยมีการประชุมวางแผนปรับปรุงให้เหมาะสมทุกปี ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพตามความต้องการของครูและสถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ  และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสม  มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โดยใช้ระบบวงจรคุณภาพ PDCA และ LOOKTAN MODEL มาใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ซึ่งสะท้อนกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่จะใช้ในการพัฒนานำไปสู่เป้าหมาย  นำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาไปปฏิบัติเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี ซึ่งกำหนดจุดเน้นชัดเจนเป็นรูปธรรม กำหนดสถานที่ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ มีการติดตาม
ความก้าวหน้า และมีการตรวจสอบการดำเนินงาน ประเมินผล ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน เพื่อปรับปรุงพัฒนางานอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง โดยจัดครูและบุคลากรที่มีคามรู้ความสามารถครบทุกชั้นเรียน จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนครบวงจร โดยครูศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล จากการเยี่ยมบ้านทุกภาคเรียน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการคัดกรองเป็นรายบุคคล โดยให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน สถานศึกษามีการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถ รวมทั้งเฝ้าระวังป้องกันและการแก้ไขปัญหา และส่งต่อผู้เรียนไปในระดับชั้นที่สูงขึ้น มีการบริหารจัดการโดยระบบการนิเทศภายใน เยี่ยมชั้นเรียน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาครูและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีการร่วมวางแผนงาน PLC ปรับปรุงและพัฒนางานร่วมกันทุกส่วน ทั้งงานวิชาการ งานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนทุกด้าน โดยให้เชื่อมโยง กับวิถีชีวิตจริงและครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่ม ส่งเสริมครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ บริหารจัดการโดยจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน และปลอดภัย รวมทั้งจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ให้พร้อมใช้งาน มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อการเรียนการสอน
     สถานศึกษามีการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาให้หน่วยงานต้นสังกัดในทุกปีการศึกษา รวมทั้งมีการรายงาน เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ผลการดำเนินงานโครงการหรือกิจกรรมของสถานศึกษาในรูปแบบต่างๆ ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ เช่น รายงานการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา หรือวันสำคัญของชาติ และรายงานการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ รายงานการจัดกิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน รายงานการแข่งขันกีฬา-กรีฑานักเรียน เป็นต้น โดยรายงานทั้งรูปแบบออนไลน์ทาง เพจ Facebook ของสถานศึกษา ทางกลุ่มไลน์ผู้ปกครอง รวมทั้งรายงานในวาระการประชุม คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วาระการประชุมผู้ปกครองนักเรียน เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาในทุกปีการศึกษา
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/18067HieSVEsAWrX8bGipPP5j8DOotTPN?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

1.กระบวนการพัฒนา

     ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตนเอง จัดกิจกรรมที่ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัดสอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการกลุ่ม การลงมือปฏิบัติจริง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง ได้รู้จักนำเสนอความคิด และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สนับสนุนให้ผู้เรียนรักการอ่าน และรู้จักสืบค้นข้อมูล จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

     ครูมีการบริหารชั้นเรียนเชิงบวก สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล จากการเยี่ยมบ้าน สังเกต สัมภาษณ์ผู้ปกครองและนักเรียน ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำผลที่ได้มาให้ข้อมูลป้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดผ่านการปฏิบัติจริง สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ และทักษะที่หลากหลาย มีแผนการจัดการเรียนรู้ ที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ มีรูปแบบการสอนที่หลากหลายตามความแตกต่างและความสนใจของผู้เรียน เน้นการลงมือปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การแสดงความคิดเห็น การสรุป องค์ความรู้ และการนำเสนอผลงานได้

     ครูผู้สอนมีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อย่างหลากหลาย เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โรงเพาะเห็ด โรงเรือนเลี้ยงไก่ โรงเรือนปลูกผัก และค่ายมวย
ศ. พลับพลานารายณ์ เป็นต้น โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอนและวัยของผู้เรียน มีการตรวจสอบ และประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนและวิธีการที่เหมาะสมผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ใช้การวัดผลที่หลากหลาย สามารถตรวจสอบ และนำผลมาพัฒนา ผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ กับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ ประเมินด้วยความเที่ยงตรง และมีวิธีการประเมินอย่างหลากหลาย และมีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ให้ข้อมูลสะท้อนกลับที่เป็นประโยชน์ โดยการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ผลการดำเนินงาน  

2.ผลการดำเนินการพัฒนา

     ผู้เรียนส่วนใหญ่สามารถวิเคราะห์ตนเอง เลือกกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของตนเองได้ รู้จักเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการกลุ่ม การลงมือปฏิบัติจริง รู้จักการนำเสนอความคิด รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักสืบค้นข้อมูลจากสื่อเทคโนโลยี และสามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง แต่ผลจากการดำเนินงาน
บางโครงการ และบางกิจกรรม ไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายมาตรฐาน ทำให้สถานศึกษาต้องนำผลจากการดำเนินงานไปวางแผน เพื่อพัฒนา ปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1G2WxylD4MF52Q_azlb0CHvxkAsoE_zZg?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

     ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุช มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด  ใช้ชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย เข้าใจการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

     ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน  การคิดคำนวณ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดี-ดีเยี่ยม เนื่องจากผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครู ได้มีการประชุมวางแผน กำหนดโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ เช่น  กิจกรรมค่ายกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมลดเวลาเรียน หรือการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้น กระบวนการแบบ Active learning ทั้งทางวิชาการและทักษะอาชีพ  มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนา เต็มตามศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีความรู้เต็มตามศักยภาพ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นไปตามค่าเป้าหมาย โดยมีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เฉลี่ยสูงทั้ง 2 ด้าน 47.12 สูงกว่าระดับประเทศ มีผลคะแนนเฉลี่ย O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยรวม 50.06 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในปีการศึกษาที่ผ่านมา และต่อเนื่องมาโดยตลอด มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถอย่างเต็มที่  

     สถานศึกษาส่งเสริมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ ปรับตกแต่งอาคารและสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงแหล่งเรียนรู้ให้น่าอยู่ น่าเรียนมากขึ้น รวมทั้งมีการกำกับติดตามโดยผู้บริหารสถานศึกษาตลอดภาคเรียน ส่งผลให้การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 

     สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจนและสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ตามความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษา นโยบายของรัฐและทันต่อการเปลี่ยนแปลง  มีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนกลยุทธ์ประจำปี แผนปฏิบัติการประจำปี ปฏิทินปฏิบัติงานประจำปี ที่สอดคล้องกับ
การพัฒนา ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการวิเคราะห์ SWOT คุณภาพการจัดการศึกษาแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง พร้อมนำ มาวางแผนพัฒนาการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องทุก ฝ่ายร่วมวางแผนงาน โครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา  มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เป็นระบบและต่อเนื่อง  นอกจากนี้มีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน มีหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในทุกระดับชั้น ใช้ในการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน เพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการแยกแยะประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม และสร้างพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับและไม่ทนต่อการทุจริต   

     สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โดยแบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น 4 งาน โดยยึดหลักการบริหาร PDCA และ LOOKTAN MODEL ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล  และด้านการบริหารทั่วไป  มีกระบวนการพัฒนาคุณภาพ โดยยึดหลัก การความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่าย ด้วยการร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน ร่วมกันทำ ร่วมกันติดตาม ประเมิน มีการดำเนินการบริหารวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียน อย่างรอบด้านทุกกลุ่มเป้าหมาย มีแผนและมีการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และปลอดภัย รวมถึงมีการกำกับติดตาม ประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

     ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการคิด ได้ลงมือปฏิบัติจริง มีการใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้อง มาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน โดยมีการนิเทศ กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอนจากผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ 
     ครูมีการวัดผลประเมินผลการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการวางแผน การดำเนินงาน ในการวัดและประเมินผลอย่างเป็นระบบ โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องมือ กำหนดออกแบบแผนการวัดและประเมินผล กำหนดรายละเอียดของเครื่องมือ การดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือก่อนการนำไปใช้จริง มีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศแสดงข้อมูลผลการวัดและประเมินผลของผู้เรียนเชิงพัฒนาการทั้งรายบุคคล และประเมินในภาพรวมของรายวิชา เพื่อนำข้อมูล จากการประเมินมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุ และปัญหาต่างๆ ใช้เป็นฐานข้อมูลย้อนกลับให้แก่ผู้เรียน ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นำกลับมาวางแผนในการจัดการเรียนรู้ เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

 


ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
หลักฐานและข้อมูลการสนับสนุนการดำเนินงาน
มาตรฐานที่ 1
  1) ผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่3 มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับประเทศ
  2) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูง 
กว่าระดับประเทศ
  3) นักเรียนได้รับเหรียญรางวัลการแข่งขันกีฬา-กรีฑาระดับอำเภอ และระดับจังหวัด
มาตรฐานที่ 2
  1) ผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่3 มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับประเทศ
  2) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูง 
กว่าระดับประเทศ
  3) สถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่เข้มแข็ง 
  4) สถานศึกษามีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ 
  5) สถานศึกษามีอาคารเรียน อาคารประกอบการเรียน ที่แข็งแรง มั่นคง ปลอดภัย ห้องเรียนสะอาด  มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เช่น สัญญาณอินเทอร์เน็ต 
  6) สถานศึกษามีห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งเรียนรู้ในการให้บริการผู้เรียน  มีระบบสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 
  7) สถานศึกษามีสนามกีฬากลางแจ้ง ในร่ม สนามเด็กเล่น เพื่อใช้สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนได้ออกกำลังกาย 
  8) สถานศึกษามีสิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่น มีสวนเกษตร โรงเรือนเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ โรงเรือนเพาะเห็ด เพื่อ ส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน นักเรียน และเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติและเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาอีกด้วย
มาตรฐานที่ 3
  1) ครูผู้สอนได้รับการอบรมพัฒนาตนเองอยู่เสมอและต่อเนื่อง
  2) ครูได้รับรางวัลผู้ฝึกซ้อมการประกวดกิจกรรมต่าง ๆ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1STfYuwzhs4j7Y6f5B0YVkazWb-Am5CHL/view
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1LPKqXfbpFidWXNrL_lzrge5PAzx_2MTG/view?usp=sharing