รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดโป่งแรด

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

             โรงเรียนวัดโป่งแรด (ปคุณวิทยาคาร) ตั้งอยู่ เลขที่ 6 หมู่ที่ 2 ตำบลพลับพลา อำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์22000 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โทร. 089-5413608 Facebook : โรงเรียนวัดโป่งแรด (ปคุณวิทยาคาร) เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 ห้องเรียน มีเนื้อที่ 8 ไร่ 57 ตารางวา มีเขตพื้นที่บริการ 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 - 5 ตำบลพลับพลา ปัจจุบันมี นางเพ็ญจันทร์ กลิ่นขจร ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
วัดโป่งแรด (ปคุณวิทยาคาร) มีข้าราชการครู 4 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน ลูกจ้างประจำ 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน นักเรียนปีการศึกษา 2563
รวม 80 คน (ข้อมูล 18 กรกฎาคม 25
63ดำเนินงานด้านการสร้างความเข้มแข็งของระบบประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันโดย
ได้ดำเนินงานตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.
2561 ดังนี้

ระดับปฐมวัย

1.การกำหนดการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานของปฐมวัยทั้ง 3 มาตรฐาน

2. มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

3. ดำเนินการตามโครงการให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้


ระดับประถมศึกษา

1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานชาติ และมาตรฐานการศึกษาของต้นสังกัด สภาพบริบท ปัญหา ความต้องการโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมีคำสั่งคณะทำงานที่ชัดเจน

2. มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี

ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

3. ปฏิบัติงานโครงการและกิจกรรมต่าง ๆตามแผนปฏิบัติการประจำปี

4. จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ติดตามผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

5. จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง นำมาพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษารายงานหน่วยงาน

ต้นสังกัดพร้อมมีการเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงานของสถานศึกษาเป็นประจำทุกปี

ผลการดำเนินงาน

1. มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับปฐมวัย  :  ยอดเยี่ยม

2. มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา : อยู่ในระดับ ดีเลิศ

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

ระดับปฐมวัย

ด้านคุณภาพเด็ก

            โรงเรียนวัดโป่งแรด (ปคุณวิทยาคาร) มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีพัฒนาการสมวัย ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการบูรณาการความรู้ตาม กระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา มีทักษะชีวิตช่วยเหลือตัวเองได้เป็นผู้นำผู้ตามที่ดี มีระเบียบวินัย และมารยาทที่ดี เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกและปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจเพื่อพัฒนาเด็กในด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา

            คุณภาพเด็กด้านร่างกาย เด็กปฐมวัยมีร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว

            คุณภาพเด็กด้านอารมณ์จิตใจ เด็กปฐมวัยมีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน สามารถควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีความสุข รู้จักช่วยเหลือและแบ่งปันผู้อื่น

            คุณภาพเด็กด้านสังคม เด็กปฐมวัยสามารถช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม สามารถอยู่

            ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เรียนรู้การปรับเปลี่ยนความคิด ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดและการยอมรับในความ

            คิดเห็นของผู้อื่น ชื่นชมผลงานของตนเองและผู้อื่น มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้อย่างเหมาะสม

            คุณภาพเด็กด้านสติปัญญา เด็กปฐมวัยสามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ โดยส่งผลให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

            กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ คิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจเรื่องง่าย ๆ ได้แสดงออกทางด้านศิลปะมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์จากกิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัย มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสม

             ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

             โรงเรียนใช้หลักสูตรปฐมวัยพุทธศักราช 2560 มีความสอดคล้องกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของโรงเรียน วิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น มีความยืดหยุ่น เน้นการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมที่เป็นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กโรงเรียนส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ โดย ครูเข้ารับการประชุมอบรมเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ได้แก่ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสะเต็มศึกษาในระดับปฐมวัย ทำให้พัฒนาศักยภาพนักเรียนได้เต็มที่ ครูมีงานวิจัยคนละ 1 เรื่องต่อปีการศึกษา และใช้กระบวนการ PLC ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ไขปัญหาของนักเรียน กำหนดเป้าหมาย แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี มีการจัดเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ เช่น ติดตั้งระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ต เพื่อกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ครบคลุมทั่วถึงทั้งบริเวรโรงเรียน โดยติดตั้งทั้งระบบ LAN และระบบ Wifi และมีเพจของโรงเรียน เพื่อให้ครู นักเรียน ผู้ปกครองและประชาชนสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศของโรงเรียนได้ง่ายขึ้น สะดวกต่อการติดต่อประสานงานและอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ได้มากขึ้น มีการใช้ระบบกลุ่มในLine มาใช้ในการบริหารจัดการงานในโรงเรียน ส่งผลให้การขับเคลื่อนงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยมีการเยี่ยมบ้าน นักเรียนครบร้อยละ 100 มีทุน 720 องศามอบให้กับนักเรียนทุกคน นักเรียนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีสุขภาพจิตดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและมีสุนทรีภาพแสดงออกทางดนตรีไทย

             ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

              โรงเรียนมีความพร้อมทั้งในระบบสาธุณูปโภคและอุปกรณ์การเรียนการสอน สื่อ DLTV มีความพร้อมด้านสัญญาณInternet สามารถจัดการเรียนการสอนได้ทุกห้อง โรงเรียนส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาการจัดการเรียนการสอน จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุก ๆ ด้านให้เหมาะสมกับวัย มีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพการสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง จากการเรียนผ่านการเล่น และปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีความสุข เด็กมีโอกาสได้เลือกทำ ตามความสนใจและความสามารถโดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกสถานศึกษา

             จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ที่คำนึงถึงความสะอาด ปลอดภัยของผู้เรียน มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับช่วงอายุของเด็ก โรงเรียนมีกระบวนการและการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย และประเมินตามสภาพจริง เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน

             ระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน

             2. หลักฐานสนับสนุน : ด้านคุณภาพของผู้เรียน

             ผลจากการประเมินการอ่านการเขียน นักเรียนปกติทุกระดับชั้นสามารถอ่านหนังสือออกและอ่านคล่อง รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ทุกคนส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียแต่ละระดับชั้นอยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลการประเมินการสื่อสาร คิดคำนวณ และคิดวิเคราะห์สามารถเขียนสื่อสารได้อยู่ในระดับดีเลิศ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
ผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพและด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน อย่างรอบด้านและครอบคลุม

             ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

             โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับ

             แนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีการกำหนดมาตรฐานสถานศึกษา กำหนดเป้าหมาย แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงใช้หลักธรรมาภิบาล

             มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความชำนาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง และได้จัดให้มีชุมชมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์ ครูและบุคลากรในโรงเรียนเข้ารับการอบรมตามโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ชุมชนมีส่วนร่วมเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา และได้ใช้รูปแบบการบริหารจัดการ แบบ PDCAบูรณาการร่วมกับ Pongrad Model ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ เช่น ติดตั้งระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ต เพื่อกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ครบคลุมทั่วถึงทั้งบริเวณโรงเรียน โดยติดตั้งทั้งระบบ LAN และระบบ Wifi และมีเพจของโรงเรียน เพื่อให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศของโรงเรียนได้ง่ายขึ้น สะดวกต่อการติดต่อประสานงานและอำนวย ความสะดวกในด้านต่าง ๆ ได้มากขึ้น มีการ ใช้ระบบกลุ่มใน Line มาใช้ในการบริหารจัดการงานในโรงเรียน ส่งผลให้การขับเคลื่อนงานเป็นไปอย่างรวดเร็วไม่มีความเสี่ยงด้านการเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 เรียนจบหลักสูตรร้อยละ 100โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยมีการเยี่ยมบ้านนักเรียนครบร้อยละ 100 มีทุน 720 องศามอบให้กับนักเรียนทุกคน นักเรียนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีสุขภาพจิตดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและมีสุนทรียภาพแสดงออกทางด้านดนตรีไทย

             ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

             ครูทุกคนสามารถนำความรู้ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงการเรียนการสอนในห้องเรียน และใช้กระบวนการ PLC ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหาของนักเรียนมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ฝึกปฏิบัติจริง รวมถึงได้รับประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง ฝึกให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้มีการให้วิธีการและโรงเรียน

             มีความพร้อมทั้งในระบบสาธารณูปโภคและอุปกรณ์การเรียนการสอน สื่อ DLTV มีความพร้อมด้านสัญญาณInternet สามารถใช้จัดการเรียนการสอนได้ทุกห้องเรียน จัดให้มีสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกห้องเรียนที่สะอาด ร่มรื่น ภายในห้องเรียนมีระเบียบ สะอาดเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ส่งผลให้นักเรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม มีผลการประเมินผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน อยู่ในระดับ ดี มีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม มีคุณธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร มีระเบียบวินัยมีมารยาทและปฏิบัติตนตามวิถีไทย วิถีชุมชนและท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

  • ระดับการศึกษาปฐมวัย
แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น :

แผนปฏิบัติงานที่ 1 โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัย
- ผลการดำเนินงานตามโครงการ บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมกับวัย

แผนปฏิบัติงานที่ 2 โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
- ผลการดำเนินงานตามโครงการ บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 

แผนปฏิบัติงานที่3 โครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีและวันสำคัญต่างๆ
- ผลการดำเนินงานตามโครงการ บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เ

แผนปฏิบัติงานที่4 โครงการชวนลูกๆไปวัดทุกวันพระ
- ผลการดำเนินงานตามโครงการ บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 

  • ระดับการศึกษาขัั้นพื้นฐาน

แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น :

แผนปฏิบัติงานที่ 1 บริหารโดยการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม 12 ประการ
และความเป็นจิตอาสาของนักเรียน

แผนปฏิบัติงานที่ 2 ลดภาระงานครู คืนครูสู่ห้องเรียนโดยการบูรณาการการทำงานในโรงเรียน/ห้องเรียน ลดภาระงานธุรการ ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้DLTV จัดหาสื่อ อุปกรณ์ Internet สนับสนุน

แผนปฏิบัติงานที่3แผนการระดมทรัพยากรเพื่อนำมาพัฒนาโรงเรียน เชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกทักษะด้านอาชีพให้กับนักเรียนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง



 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

1.1 ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียน วัดโป่งแรด(ปคุณวิทยาคาร) ตั้งอยู่เลขที่ 6 หมู่ 2ตำบลพลับพลา อำเภอเมืองจันทบุรี

จังหวัดจันทบุรีรหัสไปรษณีย์ 22000 โทรศัพท์ 08-95413608 เพจ facebook โรงเรียน https://www.facebook.com/pakunvit/ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6

1.2 ข้อมูลผู้บริหาร

ชื่อผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโป่งแรด (ปคุณวิทยาคาร) นางเพ็ญจันทร์ กลิ่นขจร วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท สาขา บริหารการศึกษา โทรศัพท์ 089-5413608 e-Mail: Penchan14@gmail.com. ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่1 พฤษภาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 1 ปี - เดือน

ข้อมูลสภาพแวดล้อมชุมชนโดยรวม

1.) สภาพชุมชมรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะสภาพแวดล้อมด้วยแหล่งเรียนรู้ มีประชากรประมาณ 2,000 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ วัดโป่งแรด,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพลับพลา,สถานีทดลองยางโป่งแรด,ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านโป่งแรด,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.พลับพลา อาชีพหลักของชุมชน คือ เกษตรกรรมและรับจ้าง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ประเพณีตักบาตรเทโว,วันสงกรานต์,วันลอยกระทง,ทิ้งกระจาด,ทำบุญทุ่ง เป็นต้น

2.) ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพหลัก คือ เกษตรกร ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี 50,000 - 100,000 บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 4 คน
การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์

ผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา

พันธกิจ

1. ส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย –ประถมศึกษา

2. พัฒนานักเรียนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

3. ส่งเสริม/สนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม

เป้าประสงค์ (Goals)

1. ผู้เรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

2. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง และได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

3. ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มตามศักยภาพ

4. สถานศึกษา มีความเข้มแข็ง บริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม
ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 4 0 3 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

หลักสูตรการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดเป้าหมายพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เป็นคนดี มีวินัย สำนึกความเป็นไทย และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศไทยในอนาคต อย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานตามจุดหมายของหลักสูตรปฐมวัย

โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนวัดโป่งแรด(ปคุณวิทยาคาร)

กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

เวลาเรียน(ชั่วโมง/ปี)

ระดับประถมศึกษา

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

๘๐

๘๐

๘๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

-ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

-ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

-หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนิน

ชีวิตในสังคม

-เศรษฐศาสตร์

-ภูมิศาสตร์

บูรณาการในสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

การงานอาชีพ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ภาษาต่างประเทศ

๘๐

๘๐

๘๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

รายวิชาเพิ่มเติม

การป้องกันการทุจริต

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

รวมเวลาเรียนรายวิชาเพิ่มเติม

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมแนะแนว

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

กิจกรรมนักเรียน

- กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี

- ชุมนุม

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

กิจกรรมสาธารณประโยชน์

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

รวมเวลาเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๔๐

๑๔๐

๑๔๐

๑๔๐

๑๔๐

๑๔๐

กิจกรรมเสริมหลักสูตร

-พละ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

-ดนตรีไทย

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

-ทักษะชีวิต

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

-อังกฤษสื่อสาร

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

รวมเวลาเรียนทั้งหมด

,๑๘๐

,๑๘๐

,๑๘๐

,๑๘๐

,๑๘๐

,๑๘๐





ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

             โรงเรียนตั้งอยู่ใกล้ตัวเมืองจันทบุรี เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีห้องเรียนจำนวน 9 ห้อง ห้องวิทยาศาสตร์ 1 ห้อง ห้องคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง ห้องอาเซี่ยน 1 ห้อง ห้องสมุด 1 ห้อง มีอาคารระดับชั้นประถมศึกษา 2 อาคาร อาคารอนุบาล 1 หลัง โรงอาหาร 1 หลัง โรงเพราะเห็ด 1 หลัง แปลงผักกากมุ้ง 1 แปลง บ้านพักครู 1 หลัง ชุมชนบริเวณโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมด้วยแหล่งเรียนรู้ได้แก่ วัดโป่งแรด วัดพลับพลา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพลับพลา ตลาด สถานีทดลองยาง ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านโป่งแรด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอบต.พลับพลา 
หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/184uGQOPG8Wafc5DDb9GmmPv9lj2Ndz1f/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

ที่

แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา

แหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา

สถานที่

สถานที่

1

ห้องสมุด

- วัดโป่งแรด
ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

2

ห้องอาเซียน

- สถานีทดลองยางโป่งแรด
ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

3

ห้องวิทยาศาสตร์

- จุดชมวิวเนินนางพญา
ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี

4

ห้องคอมพิวเตอร์

- วัดชากใหญ่
ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

5

ห้องดนตรี

- วัดปากน้ำแขมหนู
ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

6

ห้องพยาบาล

- หาดเจ้าหลาว
ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

7

สหกรณ์ร้านค้า

-

8

โรงอาหาร

-

9

โรงผักกางมุ้ง

-

10

โรงเห็ด

-

หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1QDeO2vO7wOyA6PUZ3Xs3R3Ef8KThMJk-/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  
1. กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดโป่งแรด (ปคุณวิทยาคาร) มีกระบวนการพัฒนาเด็กอนุบาลทุกคนให้มีพัฒนาการ

สมวัยทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา โรงเรียนได้ดำเนินการ ดังนี้

1.1 การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย โรงเรียนได้กิจกรรมที่พัฒนาเด็กระดับปฐมวัยให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยได้โดยโรงเรียนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งในรูปแบบของกิจวัตรประจำวันของเด็กเช่น การออกกำลังกายหน้าเสาธง การทำความสะอาดร่างกาย การนอนพักผ่อน และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกสุขลักษณะและดื่มน้ำสะอาดให้เด็กได้ดื่มนมจืดเป็นประจำทุกวัน ฝึกล้างมือก่อน-หลังรับประทานและหลังจากใช้ห้องน้ำห้องส้วม มีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงทุกเดือนเพื่อนำข้อมูลมาบันทึกการเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของนักเรียน มีการจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพโดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพลับพลาในการดูแลส่งเสริมสุขภาพนักเรียน เช่น ตรวจสุขภาพ ตรวจฟัน เป็นต้น การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้จัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 ที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย

- กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เช่น การเคลื่อนไหวร่างกายอยู่กับที่และเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหว

ประกอบอุปกรณ์ การเคลื่อนไหวประกอบดนตรี การทำท่าทางตามคำสั่ง

- กิจกรรมสร้างสรรค์ ได้แก่ การทำงานศิลปะสร้างสรรค์ การปั้นดินน้ำมัน การวาดภาพระบายสี การเป่าสี

การตัดกระดาษ การร้อยวัสดุส่งผลให้กล้ามเนื้อมือแข็งแรงและประสานสัมพันธ์กัน

- กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เช่น หน่วยการเรียนตัวเรา หน่วยการเรียนวิทยาศาสตร์น่ารู้ หน่วยหนูทำ

ได้ หน่วยอาหารดีมีประโยชน์ หน่วยปลอดภัยไว้ก่อนก่อน ซึ่งส่งเสริมให้เด็กฝึกการตั้งคำถามเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ

วิธีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนให้แข็งแรงและปลอดภัย

- กิจกรรมเล่นตามมุมต่าง ๆ เช่นการเล่นต่อบล็อก บทบาทสมมติ

- กิจกรรมกลางแจ้งเช่นการเล่นเกมต่าง ๆ การเล่นเครื่องเล่นสนาม กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง วิ่งเก็บของ

การละเล่นพื้นบ้าน เช่น ม้าก้านกล้วย เสือกินวัว การเล่นว่าว เป็นต้น

- กิจกรรมเกมการศึกษา ฝึกให้เด็กเล่นเกม จับคูภาพ จับคู่ภาพเหมือน ภาพตัดต่อ เกมโดมิโน เด็กได้ฝึก

การประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา

1.2 การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ โรงเรียนได้กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ โดยให้ผู้เรียนทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับผู้อื่น ได้แสดงออก มีความมั่นใจในตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง อารมณ์ดีร่าเริง แจ่มใส ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความสามารถและการนำเสนอความคิดเห็นหรือนำเสนอผลงานในลักษณะรายบุคคล รายกลุ่ม

ด้านศิลปะ โรงเรียนจัดการเรียนการสอนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ เข่น การระบายสี การเล่นสีน้ำ การปั้นดินน้ำมัน การพับกระดาษ การวาดภาพ การประดิษฐ์ และเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความสามารถด้านศิลปะในกิจกรรมของโรงเรียน เช่น การประกวดวาดภาพระบายสี วันแม่แห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ วันสุนทรภู่ วันเด็ก วันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น

 

- ด้านดนตรีสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย เต้นแอโรบิคประกอบเพลงหน้าเสาธง ด้วยการเปิดเพลงที่หลากหลายเหมาะสมกับวัย นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้กับเด็กทุกวันที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ – จิตใจ เด็กมีความสามารถในการกล้าแสดงออก ในการเคลื่อนไหวตามจังหวะเสียงดนตรี เช่นการร้อง การเต้น การแสดง

- ด้านการชื่นชมธรรมชาติโดยนำเด็กศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาและศึกษาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ชุมชน เพื่อส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เรื่องธรรมชาติรักธรรมชาติ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

1.3 การส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม โรงเรียนกิจกรรมการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้แก่เด็กโดยสอดแทรกในตารางกิจวัตรประจำวัน ส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้แก่ แต่งตัวด้วยตนเอง การล้างมือ การล้างหน้าแปรงฟัน การเข้าห้องน้ำ การรับประทานอาหาร เก็บของเล่นและของใช้เข้าที่อย่างเรียบร้อย เข้าแถวตามลำดับก่อนหลังได้ด้วยตนเอง มิวินัยในตนเอง รู้จักช่วยเหลือและแบ่งปันมีน้ำใจ ปลูกฝังนิสัยเรื่องใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัดและพอเพียง และทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นผ่านกิจกรรมการเล่นต่าง ๆ เช่น การร่วมกิจกรรมตามกิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก การทำกิจกรรมกลุ่ม

ย่อยและกลุ่มใหญ่ โรงเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทยในกิจวัตรประจำวัน เช่น การไหว้การกล่าวทักทาย ฝึกให้เด็กปฏิบัติตามมารยาทได้ตามกาลเทศะ กล่าวคำขอบคุณและขอโทษ การพูดจาสุภาพไพเราะ การเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาที่ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทย และศาสนาที่นับถือ เพื่อให้เด็กใช้ชีวิตประจำวันในสังคมอย่างมีความสุข

1.4 การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา โรงเรียนจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้โดยครูผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ จากนั้นประเมินผลพฤติกรรมที่แสดงความสามารถเด็กตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการสังเกต การดูชิ้นงาน การสัมภาษณ์ และโรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทยทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จัก กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ

ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทาน และจัดกิจกรรมโดยใช้ 6 กิจกรรมหลักฝึกฝนให้เด็กมีทักษะการคิด ความสามารถในการคิดรวบยอด ตัดสินใจใน เรื่องง่าย ๆ ได้ถูกต้อง โดยจัดกิจกรรมเสรีที่มีความหลากหลายทั้งกิจกรรมและมุมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้เด็กได้เลือกทำ เล่น เรียนรู้ตามความสนใจ จัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกต การจำแนก จัดกลุ่ม และการเปรียบเทียบ

. จุดเด่น

เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

 จุดที่ควรพัฒนา

1. พัฒนาเด็กให้กล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสมและมีความมั่นใจในตนเอง

2) พัฒนาเรื่องทักษะทางภาษา ด้านการพูดและการฟัง

3) พัฒนาเรื่องทักษะด้านการคิด การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมด้านการคิดเชิงเหตุผล

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น (ระบุแผนงานโครงการ/กิจกรรม)

- โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยโครงการชวนลูก ๆ ไปวัดทุกวันพระ

- โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

- โครงการทัศนศึกษานอกสถานที่

- โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

- กิจกรรมการดำเนินตามค่านิยม 12 ประการ

- กิจกรรมจิตอาสา

- กิจกรรมการออกกำลังกายด้วยวิถีไทย

- กิจกรรมรักษ์ดนตรีไทย


 

ผลการดำเนินงาน  

ผลการดำเนินงาน

1. เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ร้อยละ 96.00 โดยผ่านกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก กิจกรรมการออกกำลังกายตอนเช้า เช่น กิจกรรมแอโรบิค กิจกรรมกลองยาว กิจกรรมฮูล่าฮูป เป็นต้น

2. เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ร้อยละ 96.00 สังเกตได้จากการพูด กล้าแสดงออกร่าเริงแจ่มใส รู้จักเข้าแถวในการรับประทานอาหาร รู้จักหน้าที่รับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในและนอกห้องเรียน ตามเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ

3. เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ได้ร้อยละ 96.00 หลักฐานสนับสนุน แบบประเมินพัฒนาการด้านสังคม การช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันรู้จักเก็บสิ่งของเครื่องใช้ ทั้งของส่วนตัวและส่วนรวม รู้จักยิ้มทักทาย อยู่เป็นนิจ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

4. เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ คิดเป็นร้อยละ 96.00

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1VXK2AwvB92KuTHrBSdVVBZnspxSNBM-2/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  
กระบวนการพัฒนา

การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดโป่งแรด(ปคุณวิทยาคาร) ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียน มีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ มีการเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด

มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงาน มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

จุดเด่น

- มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

- การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ

 จุดที่ควรพัฒนา

-จัดครูเอกการศึกษาปฐมวัยให้เพียงพอต่อชั้นเรียน

- ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

- มีการพัฒนาครูปฐมวัยอย่างสม่ำเสมอ

 แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น (ระบุแผนงานโครงการ/กิจกรรม)

- โครงการพัฒนาบุคลากร

- โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี

- โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

- โครงการรักษ์ดนตรีไทย

- ชวนลูกๆไปวัดทุกวันพระ

- โครงการส่งเสริมสุขภาพ

- โครงงานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

- โครงการจิตอาสา


ผลการดำเนินงาน  

ผลการดำเนินงาน

           สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียนและส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์  มีการจัดสภาพแวดล้อม และสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัย และเพียงพอ  ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ และ มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

ระดับคุณภาพ คือ ดีเลิศ



ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1Pn-wt9hbn7-2g-_7EtwlAtzR59K5Gj6n/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  
1. กระบวนการพัฒนา

1 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพโรงเรียนวัดโป่งแรด (ปคุณวิทยาคาร) ได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการ ความรู้ความสามารถเต็มศักยภาพตามที่หลักสูตรกำหนด โดยครูดำเนินการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน ดังนี้ จัดกิจกรรมให้ครูพัฒนาความรู้ของตนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน โดยเข้ารับการอบรม ครูวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล และออกแบบกิจกรรมที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็ก และสอดคล้องกับมาตรฐานอันพึงประสงค์ของเด็กจัดประสบการณ์และสื่อการสอนให้เหมาะสมกับกิจกรรมและพัฒนาการของเด็กและจัดกิจกรรมตามกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ออกแบบกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ผ่านการเล่น จัดกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม บูรณาการทักษะการคิดในทุกกิจกรรม เช่น การจัดการเรียนการสอน แบบโครงงาน กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน พัฒนาทักษะชีวิต

2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุขโรงเรียนจัดกิจกรรม

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม โดยมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามวัย ครูจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตรงตามความต้องการ ความสนใจ ความสามารถ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลหลากหลายรูปแบบจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กได้เลือกเล่น เรียนรู้ ลงมือกระทำ และสร้างความรู้ด้วยตนเอง เช่น กิจกรรมการศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมกลางแจ้ง และเกมการศึกษา ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข
3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ส่งเสริมให้ครูใช้สื่อที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กโดยได้จัดทำโครงการ สื่อสร้างสรรค์พัฒนาการเรียนรู้ เพื่อจัดทำ จัดหาสื่อการเรียนการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัยทั้งทางร่างกาย อารมณ์จิตใจ-สังคม และสติปัญญา จัดตกแต่งห้องเรียนเพื่อให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดสภาพสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียนและในห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้และปลอดภัย โดยคำนึงถึงความปลอดภัย ความสะอาด ความเป็นระเบียบ ให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ และมีความสุข ซึ่งจัดแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติกิจกรรม มีพื้นที่ที่อำนวยความสะดวกเพื่อเด็กและผู้สอน เช่น ที่แสดงผลงานของเด็ก แผ่นป้าย ที่แขวนผลงาน ที่เก็บแฟ้มผลงานของเด็ก ที่เก็บเครื่องใช้ส่วนตัวของเด็ก มีพื้นที่ปฏิบัติกิจกรรมและการเคลื่อนไหวร่วมกันในกลุ่มเล็ก หรือกลุ่มใหญ่ เด็กสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระจากกิจกรรมหนึ่งไปยังกิจกรรมหนึ่งโดยไม่รบกวนผู้อื่น และมีพื้นที่จัดมุมเล่นหรือมุมประสบการณ์ สามารถจัดได้ตามความเหมาะสมกับสภาพของห้องเรียน จัดแยกส่วนที่ใช้เสียงดังและเงียบออกจากกัน เช่น มุมบล็อกอยู่ห่างจากมุมหนังสือ มุมบทบาทสมมติอยู่ติดกับมุมบล็อก มุมวิทยาศาสตร์อยู่ใกล้มุมศิลปะ เป็นต้น มีของเล่น วัสดุอุปกรณ์ในมุมอย่างเพียงพอต่อการเรียนรู้ของเด็ก การเล่นในมุมเล่นอย่างเสรีและให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดและดูแลรักษาความสะอาดห้องเรียนจัดกิจกรรมโดยใช้สื่อของจริงและสื่อธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวเด็กกระตุ้นให้เด็กคิดและหาคำตอบ โรงเรียนได้สนับสนุนให้คุณครูได้ใช้สื่อเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนการสอนและการสืบค้นข้อมูลเช่นการเรียนรู้ด้วยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)วีดีทัศน์การใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก

4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปพัฒนาโรงเรียนมีการวางแผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบครบทุกด้าน โดยประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสำรวจ การสนทนากับเด็ก แบบสัมภาษณ์ แบประเมินพัฒนาการและนำมาสรุปผลการประเมิน โดยจัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็ก มีหลักฐานร่องรอยการเรียนรู้และดำเนินการประเมินอย่างเป็นระบบเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้เด็กและผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการประเมินผลงานของตนเองและของบุตรหลาน ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวทางในการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย

จุดเด่น

- เด็กมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ

- เด็กเรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรมได้เป็นอย่างดี

- มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้

- ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การตอบคำถามของเด็ก การสนทนาโต้ตอบ ฯลฯ

จุดที่ควรพัฒนา

1. จัดอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพียงพอต่อจำนวนเด็ก

2. มีเครื่องเล่นสนามและระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก

3. จัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน

 แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

- โครงการปรับปรุงหลักสูตรปฐมวัย

-โครงการชวนลูกๆไปวัดทุกวันพระ

- โครงการวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและวันสำคัญ


ผลการดำเนินงาน  ผลการดำเนินงาน

 1.จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ คิดเป็นร้อยละ 94.00  ได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการ ความรู้ความสามารถเต็มศักยภาพตามที่หลักสูตรกำหนด โดยครูดำเนินการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน
2. สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข  คิดเป็นร้อย 96.00 โดยมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม โดยมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามวัย
3. จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย คิดเป็นร้อยละ 96.00 ส่งเสริมให้ครูใช้สื่อที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กโดยได้จัดทำโครงการ สื่อสร้างสรรค์พัฒนาการเรียนรู้ เพื่อจัดทำ จัดหาสื่อการเรียนการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัยทั้งทางร่างกาย อารมณ์จิตใจ-สังคม และสติปัญญา จัดตกแต่งห้องเรียนเพื่อให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 
4. ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์ และพัฒนาเด็ก รคิดเป็นร้อยละ 96.00  มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปพัฒนาโรงเรียนมีการวางแผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบครบทุกด้าน โดยประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1LO9W-RLrXCjEaW1XHj8g-luRm2NyHA02/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

 

 

 

มาตรฐานที่1 คุณภาพเด็ก

ระดับ: ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

 

โรงเรียนวัดโป่งแรด (ปคุณวิทยาคาร) มีกระบวนการพัฒนาเด็กอนุบาลทุกคนให้มีพัฒนาการสมวัยทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา โรงเรียนได้ดำเนินการ ดังนี้

1.การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย โรงเรียนได้กิจกรรมที่พัฒนาเด็กระดับปฐมวัยให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยได้โดยโรงเรียนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งในรูปแบบของกิจวัตรประจำวันของเด็ก และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้จัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 ที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย
- กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
- กิจกรรมสร้างสรรค์
- กิจกรรมเสริมประสบการณ์
- กิจกรรมกลางแจ้ง
- กิจกรรมเกมการศึกษา
- กิจกรรมเล่นตามมุมต่างๆ
2.การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ โรงเรียนได้กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ โดยให้ผู้เรียนทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับผู้อื่น ได้แสดงออก มีความมั่นใจในตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง อารมณ์ดีร่าเริง แจ่มใส ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความสามารถและการนำเสนอความคิดเห็นหรือนำเสนอผลงานในลักษณะรายบุคคล รายกลุ่ม สนับสนุนให้เด็กออกกำลังกายได้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย แล้วได้เรียนรู้ ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทางด้านอารมณ์ - จิตใจผ่านการแสดงออกและได้เคลื่อนหวร่างกายตามจังหวะเสียงดนตรีต่างๆ และมีการพาเด็กๆไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนเพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการในการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวของเด็ก
3.การส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมโรงเรียนกิจกรรมการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้
แก่เด็กโดยสอดแทรกในตารางกิจวัตรประจำวันส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้
4.การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาโรงเรียนจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา
สื่อสารด้มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้โดยครูผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ
มาตรฐานการเรียนรู้
 

 

 

 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จุดเด่น

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพเด็ก

เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

มาตรฐานที่ ๒ กระบว นการบริหารและการจัดการ

- มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง4ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

- การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

 

- เด็กมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ

- เด็กเรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรมได้เป็นอย่างดี

- มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้

- ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การตอบคำถามของเด็ก การสนทนาโต้ตอบ ฯลฯ


 


 



ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

 

             โรงเรียนวัดโป่งแรด(ปคุณวิทยาคาร)มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีทั้งการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบโครงงาน รูปแบบ Stem Education รูปแบบActive leaning การเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง แบบใช้กระบวนการคิดกระบวนการแก้ปัญหาเป็นต้น เน้นเรื่องการอ่านออกเขียนได้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ ป.1 พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเสนอเทคนิคการสอนให้ตรงกับศักยภาพของผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีสื่อแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล เช่น ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ Smart phone เป็นต้น ครูทุกคนเข้าร่วม PLC เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยเน้นการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนทุกคนทุกระดับชั้น จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้ มี โครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านวิชาการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนมีความคาดหวังให้ นักเรียนมีพฤติกรรม "เป็นคนดี เหนือสิ่งอื่นใด” อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

ผลการดำเนินงาน  

            ในด้านการผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่อง ตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดี รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์ รักการออกกำลังกาย ยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของโรงเรียน ของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัย ทั้งนี้ มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่างๆ ดังนี้ ผลการประเมินการทดสอบความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (RT) โดยสำนักทดสอบทางการศึกษา ปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับดีมาก ความสามารถในการสื่อสาร คิดคำนวณและคิดวิเคราะห์ : ระดับดี ความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อมูลร้อยละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับ ดีเลิศ 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1Rv2tNqO3D-aw8tHDnBljiY62Ko-dwkKX/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

นอกจากนี้ สถานศึกษาได้ดำเนินการพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน โดยการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ตามวัยของผู้เรียน มุ่งจัดการศึกษาให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา จัดสภาพแวดล้อม น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน ผู้เรียนมีทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยมีจิตอาสาให้ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา คุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียนได้แก่ "รักษ์ดนตรีไทยการจัดกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนคุณธรรม ผ่านโครงการชวนลูกๆไปวัดทุกวันพระ ส่งเสริมคุณธรรมตามค่านิยม 12 ประการ ตามระดับชั้น จัดกิจกรรมการเรียน
การสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมคุณธรรมนำชีวิต (สวดมนต์ทุกวันศุกร์) กิจกรรมจิตอาสา เช่น ร่วมกิจกรรมรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ร่วมเก็บขยะกับเทศบาล ตำบลพลับพลาร่วมบรรเลงดนตรีไทยและกลองยาวตามงานต่างๆ เป็นต้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันมีระบบการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมพัฒนาทักษะชีวิต ได้แก่ การประดิษฐ์เศษวัสดุ และในเวลาหลังเลิกเรียนทุกวันได้ฝึกซ้อมดนตรีไทยให้นักเรียนตามความถนัดและความสนใจของนักเรียนเป็นต้น

ผลการดำเนินงาน  

ประเด็นพิจารณา

การปฏิบัติงาน

เป้าหมาย

(ร้อยละ)

จำนวนผู้เรียน ทั้งหมด (คน)

จำนวนผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด(คน)

***

ผลการประเมิน(ร้อยละ)

ผลการประเมินคุณภาพที่ได้

ปฏิบัติ

ไม่

ปฏิบัติ

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

 

 

 

 

 

 

 

1

การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

 

 

80

52

49

94.23

5

1.1 ร้อยละของผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา

ปฏิบัติ

-

 

 

49

94.23

 

1.2 ร้อยละของผู้เรียนมีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม

ปฏิบัติ

-

 

 

49

94.23

 

2

ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

 

 

80

52

51

98.08

5

2.1 ร้อยละของผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย

ปฏิบัติ

-

 

 

51

98.08

 

2.2 ร้อยละของผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย

ปฏิบัติ

-

 

 

51

98.08

 

3

การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

 

 

80

52

51

98.08

5

- ร้อยละของผู้เรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณี

ปฏิบัติ

-

 

 

51

98.08

 

4

สุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม

 

 

80

52

50

96.16

5

 

4.1 ร้อยละของผู้เรียนมีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์และสังคม และแสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

ปฏิบัติ

-

 

 

 

50

 

96.16

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1wC_8xCm7ZEfwaM075r9rnyiOQuoWcQgV/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดกิจกรรมระดมความคิดเห็น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาด้านต่างๆ ของสถานศึกษา รวมทั้งให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาของประเทศ จัดสรรงบประมาณ ทรัพยากรต่างๆ และมอบหมายงานให้แก่ผู้รับผิดชอบได้ดำเนินงานพัฒนางานตามแผนปฏิบัติการประจำปีให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการนิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ และสรุปผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยใช้ รูปแบบการบริหารจัดการ แบบ PDCA และมีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ คือ ความสัมพันธ์ที่ดีกับการมีส่วนร่วม (The Good Relationship and Paticipation ด้วย PONGRAD Model) เพื่อใช้เป็นกระบวนการพัฒนาโรงเรียน

ผลการดำเนินงาน  

สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับ แนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีการกำหนดมาตรฐานสถานศึกษา กำหนดเป้าหมาย แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความชำนาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง และได้จัดให้มีชุมชมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์ ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ เช่น ได้รับคอมพิวเตอร์จำนวน8 เครื่อง จากการบริจาคของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และติดตั้งระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตจาก บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ความเร็วในการDownload…200……Mbps ความเร็วในการ Upload……100….. Mbps จำนวน 2 วงจร เพื่อกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ครบคลุมทั่วถึงทั้งบริเวณโรงเรียน โดยติดตั้งทั้งระบบ LAN และระบบ Wifi และมีเพจของโรงเรียน https://www.facebook.com/pakunvit/ เพื่อให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศของโรงเรียนได้ง่ายขึ้น สะดวกต่อการติดต่อประสานงานและอำนวย ความสะดวกในด้านต่าง ๆ ได้มากขึ้น มีการ ใช้ระบบกลุ่มใน Line , Zoom มาใช้ในการบริหารจัดการ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/14P-k9nvpYGT_YaxvDDrFHEsSUkp7BrmH/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษา ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับการพัฒนาการศึกษาในยุค 4.0 และเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเน้นทักษะ Active learningตรงตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด และจุดเน้นของโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การปฏิบัติจริง สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีการวัดประเมินผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีความหลากหลาย ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้รับการอบรมพัฒนาความรู้ที่ตรงกับความต้องการของครูและสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและมีการจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกสัปดาห์ มีโครงการมีกิจกรรมการพัฒนา ซึ่งสถานศึกษามีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง โดยมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ
Active Learningซึ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าการเรียนแบบท่องจำเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก และเนื่องจากสถานศึกษามีผู้เรียนที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้ จึงต้องมีการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในรูปแบบของการเรียนรวม เพื่อให้นักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาไปพร้อมกัน โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน

สรุปผลการประเมินร้อยละ 85.71 ระดับคุณภาพดีเลิศ

1.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูประจำวิชามีการผลิตสื่อที่มีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอนและสามารถให้ผู้เรียน เรียนรู้สื่อได้อย่างอิสระ ทั้งในและนอกเวลาเรียน ประกอบด้วยสื่อ Power Point, Video, รูปภาพ, สื่อทำมือ และมีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถผลิตสื่อขึ้นมาโดยเกิดจากการรวบรวมองค์ความรู้ด้วยตนเอง

สรุปผลการประเมินร้อยละ 85.71 ระดับคุณภาพดีเลิศ

1.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกสถานศึกษามีห้องเรียนที่สะอาด มีแสงสว่างเพียงพอ มีมุมเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา มีป้ายนิเทศที่สอดคล้องกับหลักสูตรและวาระสำคัญต่างๆ ครูผู้สอนมีการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นอย่างดี มีการทำข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น แต่ต้องรู้จักการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เข้าใจความแตกต่างของเพื่อนแต่ละคน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่แบ่งแยก ทั้งในด้านเชื้อชาติและด้านความสามารถ มีวิธีการตัดสิน การแก้ไขปัญหาที่เป็นประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 12 ประการ ประกอบด้วย โครงการพาลูกๆ ไปวัดทุกวันพระ กิจกรรมจิตอาสา เพื่อเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน ฝึกความสามัคคี ปลูกฝังค่านิยมสำหรับการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและเป็นประชากรที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

สรุปผลการประเมินร้อยละ 85.71 ระดับคุณภาพดีเลิศ

1.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ครูผู้สอนมีการวัดประเมินผลอย่างเป็นระบบ มีเครื่องมือที่หลากหลาย เช่น การใช้คำถามระหว่างจัดการเรียนการสอน การทำแบบฝึกหัด การทำรายงาน การนำเสนอผลงาน การผลิตชิ้นงาน เป็นต้น ซึ่งในแต่ละชิ้นงานสามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้แตกต่างกันออกไป ตรวจสอบผู้เรียนว่ามีความเข้าใจหรือต้องการเรียนรู้เนื้อหาเพิ่มเติมด้านใดบ้าง เพื่อเสริมความรู้ให้แก่ผู้เรียน และยังสามารถนำผลที่ได้จากการประเมินไปปรับปรุงการสอน พัฒนาต่อเนื่องในการจัดการเรียนการสอนครั้งถัดไป มีการแจ้งผลการเรียนของผู้เรียนให้ผู้ปกครองทราบถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งในทางที่ดี และในทางที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

สรุปผลการประเมินร้อยละ 85.71 ระดับคุณภาพดีเลิศ

1.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมีการจัดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกวันพุธของสัปดาห์ โดยครูทุกคนร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันหาแนวทางแก้ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนและการทำงานของนักเรียน ตามชั่วโมงการสอนที่ว่างตรงกันเพื่อไม่ให้กระทบต่อเวลาเรียนของนักเรียน นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบ้านและโรงเรียน และนำสิ่งที่ได้รับมาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ โดยครูทุกคนจัดทำวิจัยในชั้นเรียนปีละ 1 เรื่อง และนำผลที่ได้จากการวิจัยไปพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

ผลการดำเนินงาน  ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของผู้เรียน ครูใส่ใจและดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคล

1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อยู่ในระดับ ดีเลิศ
2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับ ดีเลิศ
3. มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
4. การตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับ ดีเลิศ
5. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และใช้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดีเลิศ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/15hDhLfVeOx_DC-L3yoKJRwcMlV63ItBP/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ระดับปฐมวัย

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพเด็ก

กระบวนการพัฒนาเด็กอนุบาลทุกคนให้มีพัฒนาการสมวัยทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา

 มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ

 ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียน มีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ มีการเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

มาตรฐานที่3การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

มีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ ได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการ ความรู้ความสามารถเต็มศักยภาพตามที่หลักสูตรกำหนด โดยครูดำเนินการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน



ระดับขั้นพื้นฐาน

ด้านคุณภาพของผู้เรีย


ผลจากการประเมินการอ่านการเขียนนักเรียนปกติทุกระดับชั้นสามารถอ่านหนังสือออกและอ่านคล่อง รวมทั้งสามารถเขียน
เพื่อการสื่อสารได้ทุกคนส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียแต่ละระดับชั้นอยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลการประเมินการสื่อสาร คิดคำนวณ และคิดวิเคราะห์สามารถเขียนสื่อสารได้อยู่ในระดับดีเลิศ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพและด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน อย่างรอบด้านและครอบคลุม

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีการกำหนดมาตรฐานสถานศึกษา กำหนดเป้าหมาย แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความชำนาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง และได้จัดให้มีชุมชมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (
PLC) และข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์ ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ เช่น ได้รับคอมพิวเตอร์จำนวน8 เครื่อง จากการบริจาคของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และติดตั้งระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตจาก
บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ความเร็วในการ
Download…200……Mbps ความเร็วในการ Upload……100…….. Mbps จำนวน 2 วงจร เพื่อกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ครบคลุมทั่วถึงทั้งบริเวณโรงเรียน โดยติดตั้งทั้งระบบ LAN และระบบ Wifi และมีเพจของโรงเรียนhttps://www.facebook.com/pakunvit/ เพื่อให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศของโรงเรียนได้ง่ายขึ้น สะดวกต่อการติดต่อประสานงานและอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ได้มากขึ้น มีการ ใช้ระบบกลุ่มใน Line, Zoom มาใช้ในการบริหารจัดการ
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของผู้เรียน ครูใส่ใจและดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคล ทำให้รู้จักนักเรียนแต่ละคนเป็นอย่างดี พร้อมทั้งเมื่อเกิดปัญหา สามารถหาทางออกในการแก้ไขปัญหาได้ดีที่สุด
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ระดับปฐมวัย

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพเด็ก

            เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

 


มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดกา

  •  มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น
  • การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ


มาตรฐานที่3การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
  • เด็กมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ
  • เด็กเรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรมได้เป็นอย่างดี
  • มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้
  • ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การตอบคำถามของเด็ก การสนทนาโต้ตอบ ฯล

ระดับขั้นพื้นฐาน

ด้านคุณภาพของผู้เรียน

ผลจากการประเมินการอ่านการเขียน นักเรียนปกติทุกระดับชั้นสามารถอ่านหนังสือออกและอ่านคล่อง รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ทุกคนส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียแต่ละระดับชั้นอยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลการประเมินการสื่อสาร คิดคำนวณ และคิดวิเคราะห์สามารถเขียนสื่อสารได้อยู่ในระดับดีเลิศ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพและด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน อย่างรอบด้านและครอบคลุม

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีการกำหนดมาตรฐานสถานศึกษา กำหนดเป้าหมาย แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงใช้หลักธรรมาภิบาลมีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความชำนาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง และได้จัดให้มีชุมชมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์ ครูและบุคลากรในโรงเรียนเข้ารับการอบรมตามโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ชุมชนมีส่วนร่วมเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา และได้ใช้รูปแบบการบริหารจัดการ แบบ PDCAบูรณาการร่วมกับ Pongrad Model ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ เช่น ติดตั้งระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ต เพื่อกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ครบคลุมทั่วถึงทั้งบริเวณโรงเรียน โดยติดตั้งทั้งระบบ LAN และระบบ Wifi และมีเพจของโรงเรียน เพื่อให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศของโรงเรียนได้ง่ายขึ้น สะดวกต่อการติดต่อประสานงานและอำนวย ความสะดวกในด้านต่าง ๆ ได้มากขึ้น มีการ ใช้ระบบกลุ่มใน Line มาใช้ในการบริหารจัดการงานในโรงเรียน ส่งผลให้การขับเคลื่อนงานเป็นไปอย่างรวดเร็วไม่มีความเสี่ยงด้านการเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 เรียนจบหลักสูตรร้อยละ 100โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยมีการเยี่ยมบ้านนักเรียนครบร้อยละ 100 มีทุน 720 องศามอบให้กับนักเรียนทุกคน นักเรียนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมีสุขภาพจิตดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและมีสุนทรียภาพแสดงออกทางด้านดนตรีไทย

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูทุกคนสามารถนำความรู้ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงการเรียนการสอนในห้องเรียน และใช้กระบวนการ PLC ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหาของนักเรียนมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ฝึกปฏิบัติจริง รวมถึงได้รับประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง ฝึกให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้มีการให้วิธีการและโรงเรียนมีความพร้อมทั้งในระบบสาธารณูปโภคและอุปกรณ์การเรียนการสอน สื่อ DLTV มีความพร้อมด้านสัญญาณInternet สามารถใช้จัดการเรียนการสอนได้ทุกห้องเรียน จัดให้มีสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกห้องเรียนที่สะอาด ร่มรื่น ภายในห้องเรียนมีระเบียบ สะอาดเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ส่งผลให้นักเรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม มีผลการประเมินผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน อยู่ในระดับ ดี มีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม มีคุณธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร มีระเบียบวินัยมีมารยาทและปฏิบัติตนตามวิถีไทย วิถีชุมชนและท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1t29yljXURHWTIhCnKFjIrWJ5qXD6KvCZ/view?usp=sharing