รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดเกาะตะเคียน

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

มาตรฐานการประกันคุณภาพระดับปฐมวัย ภาพรวมอยู่ในระดับดีเลิศ โดย

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับดีเลิศ
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและกาจัดการ อยู่ในระดับดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสําคัญ อยู่ในระดับดีเลิศ

มาตรฐานการประกันคุณภาพระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับดี โดย

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับดี

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับดี

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ อยู่ในระดับดี

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

สรุปผลการประเมินตนเองตามรายมาตรฐานของสถานศึกษาระดับปฐมวัยและระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
โดยนําเสนอในภาพรวมของโรงเรียนทั้งนระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ ๑ ด้านคุณภาพของผู้เรียน

ด้านคุณภาพเด็ก นักเรียนในระดับปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวร่างกาย คล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดีใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดีดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนได้ พัฒนาการด้าน อารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ เด็กร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจอดทนในการรอคอยยอมรับและพอใจในความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น มี พัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตร ประจําวัน มีวินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียง มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน มี มารยาทตามวัฒนธรรมไทย มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ ได้ เด็กสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจได้

ด้านคุณภาพของผู้เรียน ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการสูงขึ้น โดยมีผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6สูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษา และเมื่อดู พัฒนาการย้อนหลัง 3ปี มีพัฒนาการสูงขึ้นมีการพัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคํานวณ โดยมีการใช้นวัตกรรมการแก้ปัญหาการอ่าน การเขียน มีการประเมินการอ่านการเขียน ในทุกภาคเรียน มีการจัดการเรียนรู้วิทยาการคํานวณที่ชัดเจน ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยี รวมถึงการจัด กิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผู้เรียนคุณธรรมและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากําหนด โดย โรงเรียนจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะต่าง ๆ เช่น การเข้าค่ายธรรมะ การจัดกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ กิจกรรม 5 ส กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระทุกวันศุกร์ กิจกรรมการทําบุญตักบาตร กิจกรรมวันสําคัญต่าง ๆ

เป็นต้น ด้านสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม โรงเรียนได้ดูแลด้านสุขภาวะของนักเรียนโดยการจัด ทําอาหารกลางวันที่เพียงพอและมีประโยชน์ มีการวัดส่วนสูงชั่งน้ำหนักทุกเดือน มีการประสานเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพฟัน ฉีดวัคซีนตามอายุ และมีมาตรการการป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ เช่น โรค โควิด-19 โรคไข้เลือดออก โรคมือ เท้า ปาก เป็นต้น

มาตรฐานที่ 2 ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

โรงเรียนวัดเกาะตะเคียนฯ มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากําหนดชัดเจน มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ตามโครงสร้างการบริหารงาน 4 ฝ่ายได้แก่ การบริหารงาน วิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ร่วมถึงการพัฒนาครูและ บุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ มีกิจกรรม PLC มีการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนางานอยู่ เสมอ มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ทั้งภายใน ห้องเรียน และภายนอกห้องเรียน จัดทําจุดเช็คอิน จัดทํามุมนั่งพักผ่อนสําหรับนักเรียน บอร์ดความรู้ ป้าย ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการ เรียนรู้ มีระบบการจัดทําเอกสารประจําชั้นเรียน การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของ google drive การ ประสานงานภายในผ่าน Line มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมโรงเรียนผ่านเว็บไซต์และFacebook เป็นต้น

มาตรฐานที่ 3 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

โรงเรียนมีการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนําไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตวันได้ เช่น การเรียนรู้ผ่านโครงงาน การปฏิบัติจริงในห้องเรียน นักเรียนได้มีการวางแผน ลงมือทํา เพื่อเป็นการฝึกฝนในกิจกรรมต่าง ๆ การใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนหนองแห้ววังมนศึกษา มีการสนับสนุนด้านสื่อ เทคโนโลยี มีระบบอินเตอร์เน็ตอย่างเพียงพอ มีสื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีทุกห้องเรียน มีห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุดที่เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งฝึกปฏิบัติด้านต่าง ๆ มี การบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนําผลมาพัฒนาผู้เรียน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้โดยผ่าน กระบวนการ PLC ทั้งนี้นํามาซึ่งนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียน RC Model หรือ Reading Circle Model

จุดเด่น

โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพตามกระบวนการPDCA ส่งผลให้การดําเนินการงานประกันคุณภาพของสถานศึกษา สามารถดําเนินงานได้สะดวกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้รับผิดชอบ มีความเข้าใจและปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง ยัง ส่งผลให้สามารถเพิ่มระดับคุณภาพได้ดีขึ้น นอกจากนี้ในการดําเนินงานโดยใช้เทคนิคการประชุมที่ หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่มย่อย ๆ การประชุม ออนไลน์ กระบวนการ PLC เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายที่ชัดเจน มีการค้นหาปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติ ประจําปีเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายในทุกระดับและความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง นั้นคือในทุก ๆ ขั้นตอนของการบริหารจัดการสถานศึกษา ทุกคน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ร่วมกันทั้งระบบ


จุดที่ควรพัฒนา

โรงเรียนควรพัฒนากิจกรรมส่งเสริมความสามารถ ด้านวิชาการ ดนตรี กีฬา ทักษะอาชีพเพื่อให้ นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีความสามารถด้านทักษะอาชีพที่จะนําไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ ทั้งนี้ต้องส่งเสริมกิจกรรมแนะแนวเพื่อการศึกษาต่อ และอาชีพ พัฒนากิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สูงขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างรอบด้านทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกระบวนการประกันคุณภาพทางการศึกษา รวมถึงควรพัฒนาขีดความสามารถของครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยพัฒนาให้โรงเรียนมีระบบการบริหาร จัดการสถานศึกษาที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายพัฒนาสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community: PLC) ได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้เพื่อการเรียนรู้สู่ทักษะใน ศตวรรษที่ ๒๑ และสามารถจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญสามารถบูรณาการสาระการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

ทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต

. ผู้เรียนมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ รักการเรียนรู้ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารเพื่อการเรียนรู้สู่ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑

. ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รักความเป็นไทย และสามารถดํารงตนอยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข

. โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายพัฒนาสู่ชุมชน แห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community: PLC) ได้อย่างเป็นรูปธรรม

. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้เพื่อการเรียนรู้สู่ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑

. ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญสามารถ บูรณาการสาระการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

1.1ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียนวัดเกาะตะเคียน (วาสน์วิทยานุกูล) ที่ตั้งเลขที่ 1/4 หมู่ที่ 9 ถนนญาณวิโรจน์ ตำบลเกาะขวาง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22000 โทรศัพท์ 0-3948-0230 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

เขตพื้นที่บริการของโรงเรียน ได้แก่ หมู่ที่ 7,๘ และหมู่ที่ ๙ ตำบลเกาะขวาง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

 

1.2ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา

1) จำนวนบุคลากร

 

บุคลากร

ผู้บริหาร

ครูผู้สอน

ครูธุรการ

ลูกจ้างประจำ

รวม

ปีการศึกษา 2563

1

9

1

1

12

 


 

๒) วุฒิการศึกษาสูงสุดของบุคลากร

บุคลากร

ต่ำกว่า

ปริญญาตรี

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

รวมทั้งหมด

จำนวน

1

8

3

-

12

๓) สาขาวิชาที่จบการศึกษาและภาระงานสอน

สาขาวิชา

จำนวน (คน)

ภาระงานสอนเฉลี่ยของครู 1 คน

ในแต่ละสาขาวิชา (ชม./สัปดาห์)

1. บริหารการศึกษา

1

-

2. ภาษาไทย

1

24

3. วิทยาศาสตร์

1

24

4. ภาษาอังกฤษ

1

23

5. สังคมศึกษา

1

24

6. พลศึกษา

1

24

7.สุขศึกษา

2

24

8. บรรณารักษ์ศาสตร์

1

24

รวม

9

 

๑.๓ ข้อมูลนักเรียน

จำนวนนักเรียน ปีการศึกษา 2563 รวม ๑๓๘ คน (ข้อมูล 10 กรกฎาคม 2563)

ระดับชั้นเรียน

จำนวนห้อง

เพศ

รวม

เฉลี่ยต่อห้อง

ชาย

หญิง

อ.1

1

2

2

4

อ.2

1

12

10

22

อ.3

1

11

8

19

รวมอนุบาล

3

25

20

45


 

ระดับชั้นเรียน

จำนวนห้อง

เพศ

รวม

เฉลี่ยต่อห้อง

ชาย

หญิง

ป.1

1

13

7

20

ป.2

1

5

11

16

ป.3

1

13

6

19

ป.4

1

7

6

13

ป.5

1

10

4

14

ป.6

1

7

4

11

รวมประถมศึกษา

6

55

38

93

รวมทั้งหมด

9

80

58

138


การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

พันธกิจ

จัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา สำหรับเด็กปกติ เด็กด้อยโอกาส เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ให้เป็นคนเก่ง คนดี เลื่อมใสการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขดำรงชีวิตในสังคมอย่างพอเพียงและมีความสุข

 

อัตลักษณ์โรงเรียน

นักเรียนเป็นคนดีมีจิตสาธารณะ

เอกลักษณ์โรงเรียน

โรงเรียนจิตอาสา

เป้าประสงค์

1. นักเรียนมีความรู้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ตามระดับชั้น

2. นักเรียนมีสุขภาพจิต สุขภาพกายดี ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ

3. นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

4. นักเรียนเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทย รักและภูมิใจในความเป็นไทย

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 9 0 0 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

1.4 ข้อมูลด้านอาคารสถานที่

1.4.1อาคารเรียนและอาคารประกอบ ได้แก่

- อาคารเรียน จำนวน 1 หลัง (13 ห้องเรียน)

- อาคารประกอบ/อเนกประสงค์ จำนวน 3 หลัง ดังนี้

- โรงฝึกงาน ๑ หลัง

-อาคารห้องสมุด ๑หลัง

-โรงอาหาร ๑หลัง

- ห้องน้ำ ห้องส้วม จำนวน 2 หลัง (8 ที่นั่ง)

- บ้านพักครู จำนวน 1 หลัง

- สนามกีฬา จำนวน 3 สนามดังนี้

- สนามฟุตบอล 1 สนาม

- สนามวอลเลย์บอล 1สนาม

- สนามวอลเลย์บอลชายหาด 1สนาม

- เรือนเพาะชำ จำนวน 1 หลัง

- สนามเด็กเล่น จำนวน 1สนาม

1.4.2จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 8 ห้องเรียน ใช้ประโยชน์ ดังนี้

ชั้น อนุบาล๑ - ๒ = ๑ : ๑

ป. ๑ -ป. ๖ = ๑ : ๑: ๑ : ๑ : ๑ : ๑



หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

2 แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน และแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

๑. ห้องสมุด

๒. ห้องคอมพิวเตอร์

๓. โรงอาหาร

๔. ห้องสหกรณ์

๕. เรือนเพาะชำ

๖. บ่อเลี้ยงปลาดุกและกบ

๗. สนามกีฬาต่างๆ

แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน

. ค่ายเนินวง จังหวัดจันทบุรี

. ค่ายลูกเสือเขาคิชณกูฏ จังหวัดจันทบุรี

. ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาอาชีพเทศบาลตำบลเกาะขวาง

. อู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสิน บ้านเสม็ดงาม

๕. วัดเกาะตะเคียน

2.3.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น / วิทยากร /ผู้ทรงคุณวุฒิที่โรงเรียนเชิญมาให้ความรู้แก่นักเรียน / ครู ในปีงบประมาณนี้

ชื่อ - สกุล

เรื่องที่สอน

1. พระใบฎีกาสุรชัย สกุลทรัพย์เจริญ

ให้ความรู้เรื่อง พระพุทธศาสนา

2. นางสาวรุ่งนภา สังเกต

ให้ความรู้เรื่อง เต้นแอโรบิค

3. หมอจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

ให้ความรู้เรื่อง โรคและงานอนามัย

4. ตำรวจมวลชนสัมพันธ์/ตำรวจDARE

ให้ความรู้เรื่อง ยาเสพติดและการจราจร


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  

      โรงเรียนดำเนินการพัฒนาเด็กด้วยวิธีที่หลากหลาย ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กในรูปแบบกิจกรรมบูรณาการ ผ่านการเล่นโดยรวมกิจกรรมประจำวัน6 กิจกรรม และสอดแทรก กิจกรรมมอนเตสซอรี และกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ลงในแผนการจัดการเรียนรู้ เน้นการลงมือปฏิบัติจริงโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5  มีการจัดกิจกรรมโครงงานประจำหน่วยการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ รายบุคคล มีการทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพและแก้ปัญหาของเด็กภาคเรียนละ1 เรื่อง มีผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน  

              เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ร้อยละ88.98  ระดับคุณภาพดีเลิศ

 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงอกทางอารมณ์ได้ร้อยละ90.12 ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม

 พัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้ร้อยละ90.94ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม

 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพ้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ร้อยละ77.38ระดับคุณภาพดี

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 hhttps://drive.google.com/file/d/1fMa903LMvud0Z4CCWg05uINoo1ppA4ua/view?usp=sharingttps://drive.google.com/file/d/1pmTFYqR1C0xhHCaAie4Bwx9DUMWs0pRZ/view?usp=sharinghttps://drive.google.com/file/d/1VVQx6CD5s6LRTXn4dbl8ZO24Y3mGDevz/view?usp=sharing, https://drive.google.com/file/d/1d2W07ecsG-QUara3w2hq9mxVrbnE6q7y/view?usp=sharing, https://drive.google.com/file/d/1gvcNTPiYopurJvZjg5LbOfet2cmVuDyV/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  

   โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดประสบการณ์ที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อวางแผนร่วมกันในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็ก มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาพร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงาน  มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียนให้เหมาะสม ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ดูสะอาดสวยงามและปลอดภัยจัดหาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุน การจัดประสบการณ์ของครูสนับสนุนให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม

 

ผลการดำเนินงาน  

        โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560  แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับการพัฒนาเด็ก มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ

         มีการปรับปรุงแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 hhttps://drive.google.com/file/d/1fMa903LMvud0Z4CCWg05uINoo1ppA4ua/view?usp=sharingttps://drive.google.com/file/d/1VVQx6CD5s6LRTXn4dbl8ZO24Y3mGDevz/view?usp=sharing, https://drive.google.com/file/d/1d2W07ecsG-QUara3w2hq9mxVrbnE6q7y/view?usp=sharing, https://drive.google.com/file/d/1gvcNTPiYopurJvZjg5LbOfet2cmVuDyV/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนส่งเสริมให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กอย่างหลากหลายครอบคลุมพัฒนาการของเด็กทั้งสี่ด้าน  จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา โดยบูรณาการแผนการจัดการเรียนรู้ของสพฐ.เข้ากับกิจกรรมอนเตสซอรีและกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เป็นรายวันและรายหน่วยครูได้รับการอบรมและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ  นำความรู้ที่ได้รับการอบรมมาพัฒนาเด็กส่งเสริม ให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีที่หลากหลาย

ผลการดำเนินงาน  

จากการดำเนินงาน โครงการ กิจกรรมที่หลากหลายส่งผลให้ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานที่  3 อยู่ในระดับดีเลิศ ครูมีการพัฒนาตนเองอย่าสม่ำเสมอใช้แผนการจัดประสบการณ์ร่วมกับนักศึกษาฝึกสอนอย่างเต็มความสามารถ มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างรอบด้าน มีบรรยากาศการเรียนรู้แบบพี่ช่วยน้องพี่สอนน้องเพราะเป็นการเรียนรวมระดับอนุบาล 1และระดับอนุบาล3 เด็กได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันฝีกการช่วยเหลือตนเองในกิจกรรมประจำวันเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 httpshttps://drive.google.com/file/d/1fMa903LMvud0Z4CCWg05uINoo1ppA4ua/view?usp=sharing://drive.google.com/file/d/1VVQx6CD5s6LRTXn4dbl8ZO24Y3mGDevz/view?usp=sharing, https://drive.google.com/file/d/1d2W07ecsG-QUara3w2hq9mxVrbnE6q7y/view?usp=sharing, https://drive.google.com/file/d/1gvcNTPiYopurJvZjg5LbOfet2cmVuDyV/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 ด้านคุณภาพผู้เรียน  เด็กได้รับการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน เต็มตามศักยภาพมีการทำวิจัยในชั้นเรียน มีกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างรอบด้าน
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ   มีหลักสูตรที่เหมาะสม ส่งเสริมให้ครูได้เข้ารับการอบรมพัฒนาศึกษาดูงานอยู่เสมอปรับสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน จัดหาสื่ออุปกรณ์ เทคโนโลยีต่างอย่างพอเพียง
ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ   มีแผนการจัดประสบการณ์ที่บูรณาการกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยและกิจกรรมมอนเตสซอรี เข้ากับ 6 กิจกรรมหลัก มีการประเมินพัฒนาการอย่างหลากหลาย 
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 จากผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆส่งผลให้โรงเรียนจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้ง3 มาตรฐาน คือมาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับ ดีเลิศ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดีเลิศ มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดีเลิศ เนื่องจากโรงเรียนให้ความสำคัญของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ผู้ปกครองให้ความเชื่อมั่นและไว้วางใจในการส่งบุตรหลานมาเข้าเรียน ครูให้ความเอาใจใส่ในการดูแลเด็กและจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กอย่างเต็มความสามารถ ผู้บริหารอำนวยความสะดวกในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์สื่ออุปกรณ์ เทคโนโลยีต่างๆอย่างเพียงพอ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเรียนรู้ของเด็ก
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1fMa903LMvud0Z4CCWg05uINoo1ppA4ua/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

1. กระบวนการพัฒนา

สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลายและเหมาะสม โดยมีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดรายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับสภาพและบริบทของท้องถิ่น กระบวนการจัดการเรียนการสอน มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูและเพื่อนในชั้นเรียน มีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้เกิดค่านิยมที่ดีเพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของสังคมเช่น กิจกรรมตามวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมค่ายธรรมะ กิจกรรมส่งเสริมด้านวิชาการ เช่น วันสุนทรภู่ วันภาษาไทยแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ สัปดาห์ห้องสมุด วันยาเสพติดโลก กิจกรรมการอบรมนักเรียนหน้าเสาธงฯลฯอีกทั้งยังมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในโลกกว้างเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้สถานศึกษายังให้การสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาการใช้สื่อเทคโนโลยีให้ตรงตามศักยภาพของผู้เรียน โดยการเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำองค์ความรู้มายกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนอีกทั้งยังยังได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากสถานศึกษาและหน่วยงานอื่นๆในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่นกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ การให้ความรู้เรื่องยาเสพติด การจัดกิจกรรมอบรมธรรมะ

ผลการดำเนินงาน  

ผู้เรียนได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นและเหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ในด้านการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ ตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น มีความอิสระในการคิดวิเคราะห์และพิจารณาสิ่งที่เหมาะสมได้ด้วยตนเอง กล้าแสดงออก สามารถสืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง ให้ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี มีความรู้และความภูมิใจในท้องถิ่นตนเอง อีกทั้งยังได้รับข้อมูลในการตัดสินใจเลือกสถานศึกษาต่อเนื่องจากสถานศึกษามีระบบการแนะแนวและได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีสุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม โดยได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตลอดปีการศึกษา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

สำหรับกระบวนการบริหารและการจัดการ สถานศึกษาได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ กลยุทธ์การพัฒนาการศึกษาและพันธกิจไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการการพัฒนาสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ตลอดจนแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของชาติ โดยจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การระดมสมองเพื่อจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปี โดยใช้วงจรเดมมิง และเกาะตะเคียนโมเดล (GSP_KTK)
G Goal เป้าหมาย
S Scheme วางแผน
P Procedure กระบวนการ
K Knowledge องค์ความรู้
T Team กลุ่ม

K Key กุญแจสำคัญ
เป็นกลไกในการขับเคลื่อนภาระงาน และยังมีการวิเคราะห์ภารกิจและผลผลิตหลัก วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก การประเมินสถานภาพของสถานศึกษา การวางแผนอัตรากำลัง พัฒนาส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยการสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการอบรมตามที่ต้นสังกัดหรือหน่วยงานอื่นจัด การจัดอบรมของโรงเรียนตามความต้องการโดยการอบรมด้วยตนเอง และการศึกษาดูงานโรงเรียนที่เป็นเลิศด้านต่าง ๆ การจัดทำ
PLC เพื่อปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียน การระดมทรัพยากรทางการศึกษา การประชุม ปฐมนิเทศ ปัจฉิม นิเทศผู้ปกครอง การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การแต่งตั้งให้ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในฐานะที่ปรึกษา โดยการร่วมพิจารณาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี การรายงานประจำปี ตลอดจนให้ความเห็นชอบการปฏิบัติงานของคณะบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา การนำนโยบายของต้นสังกัดมาปฏิบัติ โดยต้นสังกัดมีการกำกับ ติดตาม ประเมินผล การดูแลช่วยนักเรียนเป็นไปตามระบบ มีการสนับสนุนทุนการศึกษา การแนะแนวศึกษาต่อ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุง บำรุงซ่อมแซม ทั้งอาคารสถานที่ และสำรวจความต้องการจำเป็น เพื่อจัดหา จัดทำ จัดสร้าง เสนอของบประมาณประจำปี ทั้งครุภัณฑ์ อาคารสถานที่ การจัดระบบเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

ผลการดำเนินงาน  

จากผลการปฏิบัติงานตลอดปีการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร มีสุขภาวะที่ดี ได้รับการส่งเสริมการเคลื่อนไหว การออกกำลังกายและการเล่นกีฬา มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม 12 ประการ ได้รับการปลูกฝังความเป็นไทย ความมีระเบียบวินัย การชื่นชมและการแสดงออกทางด้านศิลปะ นาฎศิลป์ และดนตรี โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งสถานศึกษาได้จัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้ ICT เพื่อการศึกษา ให้มีวัฒนธรรมในการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ มีหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น โดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทำงานเป็นทีม กระจายอำนาจ และความรับผิดชอบให้กับบุคลากร ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้ารับการอบรมตามที่ต้นสังกัด และหน่วยงานอื่นจัดในเรื่องที่นำมาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ส่งผลให้ผลการทดสอบความสามารถในการอ่าน การเขียน คิดวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการทดสอบระดับชาติ อยู่ในเกณฑ์ดี และสมรรถนะหลัก คุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในเกณฑ์ดี และมีอาคารสถานที่เหมาะสมสำหรับการจัดการศึกษา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

1. กระบวนการพัฒนา

สำหรับกระบวนการบริหารและการจัดการ สถานศึกษาได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ กลยุทธ์การพัฒนาการศึกษาและพันธกิจไว้อย่างชัดเจน โดยจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การระดมสมองเพื่อจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปี โดยใช้วงจรเดมมิง และเกาะตะเคียนโมเดล (KTK MODEL) เป็นกลไกในการขับเคลื่อนภาระงาน และยังมีการวิเคราะห์ภารกิจและผลผลิตหลัก วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก การประเมินสถานภาพของสถานศึกษา การวางแผนอัตรากำลัง พัฒนาส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยการสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการอบรมตามที่ต้นสังกัดหรือหน่วยงานอื่นจัด การจัดอบรมของโรงเรียนตามความต้องการโดยการอบรมด้วยตนเอง และการศึกษาดูงานโรงเรียนที่เป็นเลิศด้านต่าง ๆการจัดทำ PLCเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียน การระดมทรัพยากรทางการศึกษา การประชุม ปฐมนิเทศ ปัจฉิม นิเทศผู้ปกครอง การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การแต่งตั้งให้ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในฐานะที่ปรึกษา โดยการร่วมพิจารณาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี การรายงานประจำปี ตลอดจนให้ความเห็นชอบการปฏิบัติงานของคณะบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา การนำนโยบายของต้นสังกัดมาปฏิบัติ โดยต้นสังกัดมีการกำกับ ติดตาม ประเมินผล การดูแลช่วยนักเรียนเป็นไปตามระบบ มีการสนับสนุนทุนการศึกษา การแนะแนวศึกษาต่อ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุง บำรุงซ่อมแซม ทั้งอาคารสถานที่ และสำรวจความต้องการจำเป็น เพื่อจัดหา จัดทำ จัดสร้าง เสนอของบประมาณประจำปี ทั้งครุภัณฑ์ อาคารสถานที่ การจัดระบบเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

ผลการดำเนินงาน  

จากผลการปฏิบัติงานตลอดปีการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร มีสุขภาวะที่ดี ได้รับการส่งเสริมการเคลื่อนไหว การออกกำลังกายและการเล่นกีฬา มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม 12ประการ ได้รับการปลูกฝังความเป็นไทย ความมีระเบียบวินัย การชื่นชมและการแสดงออกทางด้านศิลปะ นาฎศิลป์ และดนตรี โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งสถานศึกษาได้จัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้ ICT เพื่อการศึกษา ให้มีวัฒนธรรมในการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ มีหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น โดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทำงานเป็นทีม กระจายอำนาจ และความรับผิดชอบให้กับบุคลากร ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้ารับการอบรมตามที่ต้นสังกัด และหน่วยงานอื่นจัดในเรื่องที่นำมาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ส่งผลให้ผลการทดสอบความสามารถในการอ่าน การเขียน คิดวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการทดสอบระดับชาติ อยู่ในเกณฑ์พอใช้ และสมรรถนะหลัก คุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในเกณฑ์ดี และมีอาคารสถานที่เหมาะสมสำหรับการจัดการศึกษา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

มาตรฐานที่3กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ระดับคุณภาพ ดี

1. กระบวนการพัฒนา

สำหรับการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด การปฏิบัติจริงและการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ร่วมมือกันจัดทำ วิเคราะห์หลักสูตร และวางแผนการจัดการเรียนการสอน โดยการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับหลักสูตรและเป้าหมายตามตัวชี้วัด ใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนหลากหลายวิธี มีโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร การใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น โดยจัดแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ลานกีฬา ห้องสมุด เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ รักการอ่านและมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้ ซึ่งสามารถพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เกิดทักษะการคิดอย่างมีระบบคิดรวบยอด คิดวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง เกิดทักษะ การแสดงออก การนำเสนอผลงาน ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานที่มีครูเป็นผู้กระตุ้นเพื่อนำความสนใจที่เกิดจากตัวนักเรียนมาใช้ในการทำกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวนักเรียนเอง โดยนักเรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มที่จะนำมาสู่การสรุปความรู้ใหม่ นอกจากนี้ ยังได้มีการรวมวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเป็นเนื้อเดียวกัน แทนการเน้นการเป็นศูนย์กลางของการจัดการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับของสิ่งต่างๆ รอบตัวมากกว่าเรียนวิชาเดียวโดยใช้วิชาที่เกี่ยวข้องกันประสานกัน เช่น วิชาภาษาไทยกับประวัติศาสตร์ร่วมบูรณาการ การจัดกิจกรรมโดยใช้ทักษะในรายวิชาต่าง ๆ ดำเนินกิจกรรม โดยการสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง มีโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลเพื่อเป็นข้อมูลในการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ มีการประเมินผู้เรียนจากการแสดงออก แสดงความคิดเห็น และนำเสนอชิ้นงานที่ภาคภูมิใจ โดยสามารถแสดงความคิดเห็นได้หลากหลายอย่างมีคุณธรรม ส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกการสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ ส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนของผู้เรียน เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของผู้เรียน ให้ครูการจัดบรรยากาศในโรงเรียน ชั้นเรียนในทางบวกด้วยการให้กำลังใจ คำพูดที่สุภาพ การกล่าวคำชมเชย ให้ความรักต่อนักเรียน ช่วยเหลืออย่างจริงจัง


 

 

ผลการดำเนินงาน  

จากผลการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่าผู้เรียนมีทักษะ และปฏิสัมพันธ์ร่วมในการเรียน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ สร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา (กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม)ได้ ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ครูจึงเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ โดยได้คิดได้รวบรวมความรู้และลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ในรายวิชาต่างๆ โดยการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้จากการค้นคว้าทดลองและการอภิปรายโดยใช้หลักเหตุผลได้คิดอย่างหลากหลาย เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิชาศิลปะและดนตรีมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายสร้างความรู้สึกดีและเป็นคนช่างสังเกตมากขึ้น ซึ่งผู้เรียนได้ทำงานตามระดับทักษะที่ตนเองมีอยู่ โดยครูทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์และจัดประสบการณ์ นอกจากนี้ จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนเข้ากับชีวิตจริงได้ และตอบสนองต่อความสามารถของผู้เรียน ผู้เรียนได้ได้บูรณาการทักษะในรายวิชาต่าง ๆ เพื่อสร้างชิ้นงานมีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณธรรมการใช้การสืบค้นโดยใช้เทคโนโลยีและหลักการอ้างอิงที่ถูกวิธี และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลที่สนใจได้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในการสร้างความรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในการแลกเปลี่ยนความรู้ . การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น การจัดการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ส่งผลให้ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ได้ดี ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน บรรยากาศชั้นเรียนอำนวยต่อการเรียนการสอน ช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนมีความสุข เกิดการทะวิวาทกันน้อยลง และมาโรงเรียนสม่ำเสมอขึ้น

 

จากผลการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่าผู้เรียนมีทักษะ และปฏิสัมพันธ์ร่วมในการเรียน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ สร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา (กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม)ได้ ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ครูจึงเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ โดยได้คิดได้รวบรวมความรู้และลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ในรายวิชาต่างๆ โดยการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้ค้นพบความรู้จากการค้นคว้าทดลองและการอภิปรายโดยใช้หลักเหตุผลได้คิดอย่างหลากหลาย เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิชาศิลปะและดนตรีมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายสร้างความรู้สึกดีและเป็นคนช่างสังเกตมากขึ้น ซึ่งผู้เรียนได้ทำงานตามระดับทักษะที่ตนเองมีอยู่ โดยครูทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์และจัดประสบการณ์ นอกจากนี้ จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนเข้ากับชีวิตจริงได้ และตอบสนองต่อความสามารถของผู้เรียน ผู้เรียนได้ได้บูรณาการทักษะในรายวิชาต่าง ๆ เพื่อสร้างชิ้นงาน มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณธรรมการใช้การสืบค้นโดยใช้เทคโนโลยีและหลักการอ้างอิงที่ถูกวิธี และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลที่สนใจได้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในการสร้างความรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในการแลกเปลี่ยนความรู้ . การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น การจัดการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ส่งผลให้ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ได้ดี ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน บรรยากาศชั้นเรียนอำนวยต่อการเรียนการสอน ช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

มาตรฐานที่ 1คุณภาพของผู้เรียน

1. กระบวนการพัฒนา

สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลายและเหมาะสม โดยมีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดรายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับสภาพและบริบทของท้องถิ่น กระบวนการจัดการเรียนการสอน มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูและเพื่อนในชั้นเรียน มีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้เกิดค่านิยมที่ดีเพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของสังคม เช่น โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมตาม วันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมค่ายธรรมะ กิจกรรมส่งเสริมด้านวิชาการ เช่น วันสุนทรภู่ วันภาษาไทยแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ สัปดาห์ห้องสมุด วันยาเสพติดโลก รวมทั้งจัดงานวันวิชาการ "เปิดเรือนเยือนเกาะตะเคียน ครั้งที่ ๑”

เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกซึ่งความสามารถทางวิชาการและทักษะ ความถนัดที่หลากหลาย
กิจกรรมเสียงตามสาย "เกาะตะเคียนนิวส์” อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงออก นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในโลกกว้างเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้สถานศึกษายังให้การสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาการใช้สื่อเทคโนโลยีให้ตรงตามศักยภาพของผู้เรียน โดยการเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อนำองค์ความรู้มายกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนอีกทั้งยังได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากสถานศึกษาและหน่วยงานภายนอก ร่วมจัดการศึกษา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น กิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ การให้ความรู้เรื่องยาเสพติดโดยกิจกรรมครูแดร์ หรือ
D.A.R.E. โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สถานีตำรวจภูธรเมืองจันทบุรี) การจัดกิจกรรมอบรมธรรมะ การจัดการเรียนการสอนและการสอบนักธรรมตรีเป็นประจำทุกปี

มาตรฐานที่ 2กระบวนการบริหารและการจัดการ

1. กระบวนการพัฒนา

สำหรับกระบวนการบริหารและการจัดการ สถานศึกษาได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ กลยุทธ์การพัฒนาการศึกษาและพันธกิจไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการการพัฒนาสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ตลอดจนแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของชาติ โดยจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การระดมสมองเพื่อจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปี โดยใช้วงจรเดมมิง และเกาะตะเคียนโมเดล (GSP_KTK)
G Goal เป้าหมาย
S Scheme วางแผน
P Procedure กระบวนการ
K Knowledge องค์ความรู้
T Team กลุ่ม

K Key กุญแจสำคัญ

เป็นกลไกในการขับเคลื่อนภาระงาน และยังมีการวิเคราะห์ภารกิจและผลผลิตหลัก วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก การประเมินสถานภาพของสถานศึกษา การวางแผนอัตรากำลัง พัฒนาส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยการสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการอบรมตามที่ต้นสังกัดหรือหน่วยงานอื่นจัด การจัดอบรมของโรงเรียนตามความต้องการโดยการอบรมด้วยตนเอง และการศึกษาดูงานโรงเรียนที่เป็นเลิศด้านต่าง ๆ การจัดทำ PLC เพื่อปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียน การระดมทรัพยากรทางการศึกษา การประชุม ปฐมนิเทศ ปัจฉิม นิเทศผู้ปกครอง การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การแต่งตั้งให้ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในฐานะที่ปรึกษา โดยการร่วมพิจารณาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี การรายงานประจำปี ตลอดจนให้ความเห็นชอบการปฏิบัติงานของคณะบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา การนำนโยบายของต้นสังกัดมาปฏิบัติ โดยต้นสังกัดมีการกำกับ ติดตาม ประเมินผล การดูแลช่วยนักเรียนเป็นไปตามระบบ มีการสนับสนุนทุนการศึกษา การแนะแนวศึกษาต่อ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุง บำรุงซ่อมแซม ทั้งอาคารสถานที่ และสำรวจความต้องการจำเป็น เพื่อจัดหา จัดทำ จัดสร้าง เสนอของบประมาณประจำปี ทั้งครุภัณฑ์ อาคารสถานที่ การจัดระบบเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

มาตรฐานที่3กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1. กระบวนการพัฒนา

สำหรับการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด การปฏิบัติจริงและการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ร่วมมือกันจัดทำ วิเคราะห์หลักสูตร และวางแผนการจัดการเรียนการสอน โดยการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับหลักสูตรและเป้าหมายตามตัวชี้วัด ใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนหลากหลายวิธี โดยจัดแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ลานกีฬา ห้องสมุด ซึ่งสามารถพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เกิดทักษะการคิดอย่างมีระบบคิดรวบยอด คิดวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง เกิดทักษะ การแสดงออก การนำเสนอผลงาน ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานที่มีครูเป็นผู้กระตุ้นเพื่อนำความสนใจที่เกิดจากตัวนักเรียนมาใช้ในการทำกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวนักเรียนเอง โดยนักเรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มที่จะนำมาสู่การสรุปความรู้ใหม่ นอกจากนี้ ยังได้มีการรวมวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเป็นเนื้อเดียวกัน แทนการเน้นการเป็นศูนย์กลางของการจัดการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับของสิ่งต่างๆ รอบตัวมากกว่าเรียนวิชาเดียวโดยใช้วิชาที่เกี่ยวข้องกันประสานกัน เช่น วิชาภาษาไทยกับประวัติศาสตร์ร่วมบูรณาการ การจัดกิจกรรมโดยใช้ทักษะในรายวิชาต่าง ๆ ดำเนินกิจกรรม โดยการสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง มีการประเมินผู้เรียนจากการแสดงออก แสดงความคิดเห็น และนำเสนอชิ้นงานที่ภาคภูมิใจ โดยสามารถแสดงความคิดเห็นได้หลากหลายอย่างมีคุณธรรม ส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกการสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ ส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนของผู้เรียน เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของผู้เรียน ให้ครูการจัดบรรยากาศในโรงเรียน ชั้นเรียนในทางบวกด้วยการให้กำลังใจ คำพูดที่สุภาพ การกล่าวคำชมเชย ให้ความรักต่อนักเรียน ช่วยเหลืออย่างจริงจัง


 

 

 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

มาตรฐานที่ 1คุณภาพของผู้เรียน

1. ครูผู้สอนเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกเขียนได้และคิดคำนวณเป็นตั้งแต่ระดับชั้นป.1ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์การทดสอบระดับชาติ คือการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน(Reading Test: RT)ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1การประเมินทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ(NT)ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่3และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติ

2. สถานศึกษาได้มีการจัดแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูลได้อย่างหลากหลายเช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องUSO NETห้องสมุด แปลงเกษตร กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต่างๆเช่น เช่นกิจกรรมประชาธิปไตย กิจกรรมวันวิชาการ กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ
3. ผู้เรียนยังมีความสนใจ กระตือรือร้นในการศึกษาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ความสนใจในด้านการศึกษาต่อ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองและหน่วยงานอื่นๆ

มาตรฐานที่2กระบวนการบริหารและการจัดการ

1. จุดเด่นของสถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน
2. มีความพร้อมในเรื่องการจัดทำโครงการกิจกรรม เช่น การจัดโครงการคุณธรรม จริยธรรม วันสำคัญ เศรษฐกิจพอเพียง การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย และสิ่งแวดล้อม
3. มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ นำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ การตัดสิน การแก้ไขปัญหา และริเริ่มพัฒนางานได้

มาตรฐานที่3กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน สามารถวางแผนสิ่งที่ตนจะเรียนหรือเข้าไปมีส่วนร่วม และประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งผลจากการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน
2. ผู้สอนเป็นผู้ป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ผู้เรียนจึงเกิดความคิดเชิงเหตุผลหรือการประเมินค่า ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างแรงจูงใจที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้
3. ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์
4. การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ดี ยังช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้บรรยากาศการเรียนดีขึ้น

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1VVQx6CD5s6LRTXn4dbl8ZO24Y3mGDevz/view?usp=sharing, https://drive.google.com/file/d/1d2W07ecsG-QUara3w2hq9mxVrbnE6q7y/view?usp=sharing, https://drive.google.com/file/d/1gvcNTPiYopurJvZjg5LbOfet2cmVuDyV/view?usp=sharing