รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านชำโสม

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

1. มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามีระดับคุณภาพ ดีเลิศ

คุณภาพมาตรฐาน ระดับประถมศึกษา 
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ผลการประเมินตนเอง
ของสถานศึกษา

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดี

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ดี

สรุประดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ดีเลิศ

คุณภาพมาตรฐาน ระดับปฐมวัย

มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ผลการประเมินตนเอง
ของสถานศึกษา

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดี

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ดี

สรุประดับปฐมวัย

ดีเลิศ

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

2. ข้อมูล หลักฐาน และเอกสารเชิงประจักษ์สนับสนุน

2.1 ด้านคุณภาพของผู้เรียน ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม

1. ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT)

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 66.54 มีคะแนนสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ทั้ง 2 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ ร้อยละ 15.10 มีคะแนนสูงกว่าระดับประเทศ ทั้ง 2 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 22.57 จำนวนนักเรียนที่มีคะแนนระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 100

2. ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (O-Net)

ชั้นประถมศึกษาปีที่6 ประจำปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละรวม 38.16 มีค่าเฉลี่ยร้อยละรวมต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่ ร้อยละ 11.00 ในรายวิชาคณิตศาสตร์มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าระดับประเทศร้อยละ3.76 และมีค่าเฉลี่ยร้อยละรวมต่ำกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 3.97

3. ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน(RT)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ปีการศึกษา 2563มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 64.12 จำนวนผู้เรียนที่มีระดับคุณภาพระดับดีขึ้นไป จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 มีค่าเฉลี่ยร้อยละรวมต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่ ร้อยละ 10.79 และมีค่าเฉลี่ยร้อยละรวมต่ำกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 8.9

4. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับดีขึ้นไปร้อยละ 67.30

2.2 ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพดี

1. การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

2. มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ระดับคุณภาพดีเลิศ

3. ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมาย ระดับคุณภาพดี

4. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ระดับคุณภาพดี

5. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ระดับคุณภาพดี

6. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ ระดับคุณภาพดี


2.3ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพดี

1. จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตได้ ระดับคุณภาพดีเลิศ

2. ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ระดับคุณภาพ ดี

3. มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ระดับคุณภาพดีเลิศ

4. ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ระดับคุณภาพดี

5. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการ จัดการเรียนรู้ ระดับคุณภาพดี
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

3. แผนงาน / แนวทางพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิม
(1) แผนงาน/โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
-โครงการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

(2) แผนงาน/โครงการพัฒนาคุณภาพครูในเรื่องต่างๆ
-โครงการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร

(3) แผนงาน/โครงการพัฒนาด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
-โครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม

(4) แผนงาน/โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการ
-ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

1.1 ข้อมูลทั่วไป

โรงเรียนบ้านชำโสม ตั้งอยู่เลขที่ 129 หมู่ที่ 10 ถนนบำราศนราดูร ตำบลแสลง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1 โทรศัพท์ 0-3937- 3029

Email - banchamsom@hotmail.com เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2494 มีเขตพื้นที่บริการ 5 หมู่บ้าน ได้แก่

- หมู่ที่ 6บ้านชำโสม ตำบลแสลง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

- หมู่ที่ 7บ้านแก้ว ตำบลแสลง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

- หมู่ที่ 8บ้านเขากระแจะ ตำบลแสลง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

- หมู่ที่ 9บ้านคลองขวาง ตำบลแสลง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

- หมู่ที่10บ้านเขาตานก ตำบลแสลง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
 
การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านชำโสม เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาให้นักเรียนทุกคนเป็นคนดี  มีความรู้ตามมาตรฐานการศึกษา  มีคุณธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  อนุรักษ์ความเป็นไทย  และดูแลเอาใจใส่สิ่งแวดล้อม  
พันธกิจ
1. สร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
2. ปลูกฝังคุณธรรม พร้อมดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
4. เสริมสร้างศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
5. พัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เน้นการกระจายอำนาจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน

เป้าประสงค์
1. ประชากรวัยเรียนทุกคน  ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาคเท่าเทียมกัน
2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
4. ครูและบุคลากรของโรงเรียน  สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
6. โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่มีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์  
กลยุทธ์ที่ 1   พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มีความรู้ตามมาตรฐานการศึกษา  และรักษ์ความเป็นไทย  
กลยุทธ์ที่ 2   พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ  
กลยุทธ์ที่ 3   พัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ สื่อการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 4   พัฒนาระบบบริหารจัดการและระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ 
กลยุทธ์ที่ 5   ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษา

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา
"ยิ้ม...ไหว้  ทักทายกัน"
เอกลักษณ์ของสถานศึกษา
"สืบสานวัฒนธรรมไทย"

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 5 0 2 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านชำโสม
โครงสร้างเวลาเรียน ระดับประถมศึกษา

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

เวลาเรียน (ชั่วโมง/ปี)

ระดับประถมศึกษา

ป.๑

ป.๒

ป.๓

ป.๔

ป.๕

ป.๖

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

     ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

     คณิตศาสตร์

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

     วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

    สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

    ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

    สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

    ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

การงานอาชีพ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

    ภาษาต่างประเทศ

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๘๐

๘๐

๘๐

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

๘๔๐

๘๔๐

- - - -

ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

5. ข้อมูลด้านอาคารสถานที่

5.1อาคารเรียนและอาคารประกอบ จำนวน 3 หลัง ได้แก่ อาคารเรียน 1 หลังอาคารอเนกประสงค์2 หลัง

5.2 จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 8 ห้องเรียน แบ่งเป็น

ชั้น อ.1 - ป.6=1:1:1:1:1:1:1:1

5.3 ห้องสมุดขนาด54 ตารางเมตร

5.4 ห้องคอมพิวเตอร์



หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ได้แก่ ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องสมุด,โรงเรือนเลี้ยงเป็ดพันธุ์ไข่,สวนหย่อม,ห้องสหกรณ์,โรงอาหาร,

แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน ได้แก่ วัดโสมนาราม, ฟาร์มจระเข้, โรงพยาบาลชุมชนชำโสม ฯลฯ

หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1nDMyttjTQErq2Xw0DonZbHZxBIOultwb/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา            โรงเรียนบ้านชำโสมมีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ ๒ ครั้ง มีกิจกรรมออกกำลังกายก่อนเข้าเรียนทุกวัน จัดหา อุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านชำโสม และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเมือง ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อนในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวม ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยจัดกิจกรรมวันสำคัญทางชาติ กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันแม่ วันไหว้ครู วันเข้าพรรษา ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และมีโครงการส่งเสริมศิลปะ/ดนตรี/กีฬา ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตน โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย
ผลการดำเนินงาน            ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาเหมาะสม เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

              การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนบ้านชำโสมได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน  มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น  พิจารณาจากวัยของเด็ก  ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน  ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม  และสติปัญญา  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้  มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ  สำหรับด้านระบบกลไก  การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้  และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา  โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

             โรงเรียนบ้านชำโสม ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก  ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์และจิตใจ  สังคม  และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ  จัดให้มีอุปกรณ์  ของเล่น  ของใช้  

เครื่องนอน  เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พอเพียงกับเด็ก  โดยจัดให้เหมาะสม  สะอาด  ปลอดภัย   จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม  ที่เหมาะสมปลอดภัย  จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน  ล้างมือ  ทำความสะอาดร่างกาย  ห้องน้าห้องส้วม  พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว  ชุมชน  และท้องถิ่นจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูที่จบการศึกษาปฐมวัย     

ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องrพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม  ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด  มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน  ส่งผลให้รร.มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์  ครูได้รับการพัฒนาด้านนวิชาชีพ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  
          จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข ภายใต้คำว่า เก่ง ดี มีสุข ประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ด้านสติปัญญา มีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน

          ห้องเรียนมีบรรยากาศ แจ่มใส กว้างขวางพอเหมาะ มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน            เด็กสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข ได้รับประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา กล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้านสังคม
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

          มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ส่งเสริมให้เด็กมีสุขนิสัยที่ดี ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
           เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง4 ด้าน มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  
สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันการเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก และเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นป.1 พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพของผู้เรียน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน

นอกจากนี้ สถานศึกษาได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เน้นความเป็นไทยตามเอกลักษณ์ของโรงเรียน คือ โรงเรียนส่งเสริมความเป็นไทย โดยส่งเสริมการไหว้ทักทายกัน การเล่นดนตรีไทย การออกกำลังกายด้วยการรำประกอบจังหวะกลองยาว นำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาให้ความรู้แก่นักเรียนด้านการทำอาหาร

การตัดผม
ผลการดำเนินงาน  
1. ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT)

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 66.54 มีคะแนนสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ทั้ง 2 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ ร้อยละ 15.10 มีคะแนนสูงกว่าระดับประเทศ ทั้ง 2 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 22.57 จำนวนนักเรียนที่มีคะแนนระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 100

2. ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (O-Net)

ชั้นประถมศึกษาปีที่6 ประจำปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละรวม 38.16 มีค่าเฉลี่ยร้อยละรวมต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่ ร้อยละ 11.00 ในรายวิชาคณิตศาสตร์มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าระดับประเทศร้อยละ3.76 และมีค่าเฉลี่ยร้อยละรวมต่ำกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 3.97

3. ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน(RT)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ปีการศึกษา 2563มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 64.12 จำนวนผู้เรียนที่มีระดับคุณภาพระดับดีขึ้นไป จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 มีค่าเฉลี่ยร้อยละรวมต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่ ร้อยละ 10.79 และมีค่าเฉลี่ยร้อยละรวมต่ำกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 8.9

4. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 67.30
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1JqdqXUMQW5xbNoy9LBMnqfSkIEcAX0le?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
ผลการดำเนินงาน  ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม มีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย รวมทั้งภูมิปัญญาไทย ยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้าน เพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณี มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม และแสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข เข้าใจผู้อื่น ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม มีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย รวมทั้งภูมิปัญญาไทย ยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้าน เพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณี มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม และแสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข เข้าใจผู้อื่น ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น
ผลการดำเนินงาน  
2.1สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

2.2แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

2.3สถานศึกษามีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

2.4ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

2.5 สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา ที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

2.6สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา            สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตร มีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา มีการบูรณาการภาระงาน ปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ มีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำข้อมูลและผลจากการวิเคราะห์มาออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดประเมินผลที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนรวมทั้งให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่นักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยความเสมอภาค ส่งเสริมให้ครูใช้ผลจากการประเมินผู้เรียนมาทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบ มีการจัดบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตรงตามความรู้ประสบการณ์และความถนัด และจัดการเรียนการสอนในวิชาที่ได้รับอย่างเต็มเวลาและความสามารถ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียนปีการศึกษาละ ๑ เรื่อง
ผลการดำเนินงาน            จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครูการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเป็นระดับเด็กอ่อน ปานกลาง และเก่ง ทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความแตกต่างบุคคล มีการสอนเสริมความรู้ให้ผู้เรียนกลุ่มปานกลางและกลุ่มเก่ง มีการสอนซ่อมเสริมผู้เรียนกลุ่มอ่อน มีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชา มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย ครูทุกคนยังมีงานวิจัยในชั้นเรียนและนำผลของงานวิจัยนั้นไปพัฒนาการเรียนการสอน ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนของครูครอบคลุมทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
มาตรฐานที่ ๑ ด้านคุณภาพผู้เรียน

สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาของโรงเรียน
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ด้านคุณภาพผู้เรียน

1. ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 66.54 มีคะแนนสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ทั้ง 2 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ ร้อยละ 15.10 มีคะแนนสูงกว่าระดับประเทศ ทั้ง 2 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 22.57

2. ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (O-Net) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละรวม 38.16 มีค่าเฉลี่ยร้อยละรวมต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่ ร้อยละ 11.00 ในรายวิชาคณิตศาสตร์มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าระดับประเทศร้อยละ 3.76 และมีค่าเฉลี่ยร้อยละรวมต่ำกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 3.97

3. ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน(RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 64.12 จำนวนผู้เรียนที่มีระดับคุณภาพระดับดีขึ้นไป จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 มีค่าเฉลี่ยร้อยละรวมต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่ ร้อยละ 10.79 และมีค่าเฉลี่ยร้อยละรวมต่ำกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 8.9

4.ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป ร้อยละ 67.30

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

ของผู้บริหารสถานศึกษา

๑) ผู้บริหารมีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่น มีหลักการบริหาร และมีวิสัยทัศน์ที่ดีในการบริหารงาน สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน และคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมีความตั้งใจ และมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาท

๒) โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุม ระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานหลักสูตรของสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวนวิจัยในการรวบรวมข้อมูลมาใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๑) ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีความตั้งใจ มุ่งมั่น ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลาและความสามารถ

๒) ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

๓) ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

๔) ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้จากการคิด ได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/u/1/folders/1ifkTPnHGrPc43fF-S-Oacsa6wm4Ou2Iz