รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดแสลง

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

จากการประเมินตนเองของโรงเรียนวัดแสลง (เขมราษฎร์วิทยาคาร) ปีการศึกษา ๒๕๖๓ มีผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา  สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้


ระดับปฐมวัย

มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย

ผลการประเมินตนเอง
ของสถานศึกษา

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก

ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ยอดเยี่ยม

สรุประดับการศึกษาปฐมวัย

ยอดเยี่ยม

ด้านคุณภาพของเด็ก   ยอดเยี่ยม 

          โรงเรียนวัดแสลงมีแนวทางการพัฒนาเด็กในระดับปฐมวัยให้มีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน ทั้งทางด้านร่างกายด้านอารมณ์จิตใจด้านสังคมและด้านสติปัญญาโดยด้านร่างกายจัดให้เด็กรับประทานอาหารหลักครบ5 หมู่ จากการจัดให้มีโครงการอาหารกลางวันประจำโรงเรียน  ทดสอบสมรรถนะด้านร่างกายปีการศึกษาละ2 ครั้ง และการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กได้เคลื่อนไหวในการปฏิบัติกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน  และพัฒนาการด้านอื่นห้องเรียนอนุบาลโรงเรียนวัดแสลงได้จัดกิจกรรมการสอนตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ซึ่งจัดกิจกรรมให้เด็กเลือกปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจของเด็กจากสื่ออุปกรณ์และการจัดสภาพแวดล้อมในห้อง  เด็กจึงมีพัฒนาการด้านร่างกาย  แข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้  มีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ มีพัฒนาการด้านสังคมช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและมีพัฒนาการด้านสติปัญญา  สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้     

ผลการพัฒนาในด้านร่างกายเด็กมีภาวะโภชนาการดีขึ้นส่วนในด้านอารมณ์จิตใจ  ด้านสังคม  และด้านสติปัญญา  เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง  โดยเด็กเลือกปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองตามความสนใจโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดมอนเตสซอรีเด็กจึงมีความรับผิดชอบซื่อสัตย์ช่วยเหลือแบ่งปันเคารพสิทธิของผู้อื่นและรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนองและมีพัฒนาการด้านสติปัญญาเพิ่มมากขึ้น

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

          โรงเรียนวัดแสลงมีการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 โดยนวัตกรรมการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดมอนเตสซอรีมาใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย เน้นกระบวนการเตรียมความพร้อมโดยไม่เร่งรัดวิชาการ  เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือปฏิบัติจริง  ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล  มีความสอดคล้องกับชีวิตประจำวันในครอบครัว  วิถีชุมชนและท้องถิ่นซึ่งมีครูและบุคลากรที่จบการอบรมหลักสูตรการสอนมอนเตสซอรีสากล (Association Montessori International : AMI)  จำนวน  2  คน  และเป็นครูที่จบการศึกษาปฐมวัย ที่พร้อมในการจัดการศึกษา และประเมินพัฒนาการเด็กอย่างครบทุกด้าน  มีการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นรายบุคคล  มีปฏิสัมพันธ์    ที่ดีกับเด็กและครอบครัว  ซึ่งมีการสื่อสาร  และประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างข้อตกลง ทำความเข้าใจปีการศึกษาละ 2 ครั้ง  ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อม ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม การร่วมมือกันของเด็ก การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน การเคารพสิทธิซึ่งกันและกันของเด็กที่คละอายุอยู่ในห้อง    ผ่านสื่ออุปกรณ์ ทั้ง 4 หมวด ของการสอนมอนเตสซอรี  ได้แก่  หมวดชีวิตประจำวัน  หมวดประสาทรับรู้  หมวดภาษา  และหมวดคณิตศาสตร์  เพื่อการเรียนรู้มีความปลอดภัยและเพียงพอต่อการเรียนรู้ของเด็ก ได้รับการสนับสนุนสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อการจัดประสบการณ์สำหรับครู  จากการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐ  นอกจากนี้โรงเรียนวัดแสลงได้มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด คือ การสอนแบบมอนเตสซอรี ได้กำหนดและดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี  มีการประเมินและการตรวจสอบคุณภาพภายในและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีพร้อมจัดส่งให้หน่วยงานต้นสังกัด

ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม
          โรงเรียนวัดแสลงได้จัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดมอนเตสซอรี  โดยมีการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กมีพัฒนาการที่ครบทุกด้านอย่างสมดุล และเต็มศักยภาพของตนเอง เน้นการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง มีอิสระในการเลือกปฏิบัติกิจกรรมที่สนใจด้วยตนเองผ่านประสาทรับรู้ของร่างกาย จากการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม  ทั้งในและนอกห้องเรียน ที่สะอาด เหมาะสม  และปลอดภัยเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย และมีการใช้วิธีการการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงที่มีความหลากหลายทั้งจากการสังเกต  สัมภาษณ์  ภาพถ่าย  และ  จดบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงและเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ และได้นำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการประเมินตนเอง
ของสถานศึกษา

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
                     เป็นสำคัญ                          

ดีเลิศ

สรุประดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน   

ดีเลิศ

ด้านคุณภาพของผู้เรียน ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

          โรงเรียนวัดแสลงฯ ได้พัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียน สื่อสาร ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสื่อสารภาษาจีนเบื้องต้น ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้เรียนสามารถทำงานกับกลุ่มเพื่อน ทำให้เกิดการปฎิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันทั้งด้านความคิด และทักษะด้านสังคม มีการจัดบูรณาการเรียนการสอนแบบActive learning ในแต่ละสาระการเรียนรู้ นักเรียนมีการเรียนรู้แบบลงมือปฎิบัติ มีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มีความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพและการศึกษาต่อ นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมเสริมความรู้ด้านการศึกษาและอาชีพ จัดกิจกรรมโครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง เช่น กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน ฝึกปฎิบัติทักษะอาชีพ เช่น เพาะเห็ดนางฟ้า ปลูกผักยกแคร่ ในด้านผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีการจัดการเรียนการสอนสาระเพิ่มเติมรายวิชาการป้องกันการทุจริตในทุกระดับชั้น กิจกรรมตามโครงการโรงเรียนคุณธรรม กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน โรงเรียนมีวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ นักเรียนมีการเรียนร่วมกันแบบคละชั้น พี่ดูแลน้องในการทำกิจกรรม และสร้างความเท่าเทียมกันในการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย โรงเรียนได้ดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตทีดีและในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ โรงเรียนมีมาตรการในการคัดกรองนักเรียนก่อนเข้าโรงเรียน โดยการตรวจวัดอุณหภูมิและล้างเจลแอลกอฮอล์ก่อนเข้ามาในโรงเรียนเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

          โรงเรียนวัดแสลงฯ มีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยมีการแบ่งงานเป็น ๔ ด้าน คือ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคลและงานบริหารทั่วไป ผู้บริหารใช้หลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมตรวจสอบ ตามวงจรการทำงาน PDCA ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา การนำแผนไปปฏิบัติ มีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการประชุมบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันในการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและความต้องการของชุมชน โรงเรียนดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดแสลง ปีการศึกษา ๒๕๖๓ โรงเรียนดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพในสาขาที่ตนสอนและงานที่รับผิดชอบ สนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาต่างๆ เช่น การอบรมออนไลน์ โครงการพัฒนาบุคลากร นำคณะครูศึกษาดูงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ และศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบลส่งผลให้โรงเรียนมีสื่อเทคโนโลยีที่พร้อมในการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนมีการดูแลอาคารสถานที่ให้สะอาดและปลอดภัย มีห้องเรียน ห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ เพียงพอในการจัดการเรียนการสอน  จัดทำโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา มีจุดแยกขยะ ๔ ประเภทตามนโยบายของรัฐบาล มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ร่มรื่นสวยงามและปลอดภัย

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

          ครูทุกคนมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ตามรูปแบบลักษณะธรรมชาติของรายวิชา ครูใช้สื่อและผลิตสื่อที่หลากหลายในการจัดการเรียนการสอน เช่น สื่อมอนเตสซอรี่ สื่อเทคโนโลยีของโรงเรียนประชารัฐ สื่อโครงการ DLIT สื่อออนไลน์ ห้องสมุดโรงเรียน การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เช่น โรงเพาะเห็ด สนามเด็กเล่น สหกรณ์โรงเรียน นำนักเรียนทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน ปีการศึกษาละ ๑ ครั้ง โรงเรียนมีเครื่องมือวัดและประเมินผลที่ได้มาตรฐานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ เช่น การนิเทศชั้นเรียน การประชุม PLC เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพเด็ก
หลักฐานและข้อูการสนับสนุนการดำเนินงาน

     ในด้านร่างกายเด็กมีภาวะโภชนาการดีขึ้น ส่วนในด้านอารมณ์ จิตใจ  ด้านสังคม  และด้านสติปัญญา  เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง  โดยเด็กเลือกปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองตามความสนใจโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดมอนเตสซอรี เด็กจึงมีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ช่วยเหลือแบ่งปัน เคารพสิทธิของผู้อื่นและรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนอง และมีพัฒนาการด้านสติปัญญาเพิ่มมากขึ้น

  มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
  หลักฐานและข้อูการสนับสนุนการดำเนินงาน
     โรงเรียนวัดแสลงมีการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 โดยนวัตกรรมการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดมอนเตสซอรีมาใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย เน้นกระบวนการเตรียมความพร้อมโดยไม่เร่งรัดวิชาการ เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือปฏิบัติจริง ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล  มีความสอดคล้องกับชีวิตประจำวันในครอบครัว  วิถีชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งมีครูและบุคลากรที่จบการอบรมหลักสูตรการสอนมอนเตสซอรีสากล (Association Montessori International : AMI) จำนวน  2  คน  และกำลังเรียนหลักสูตรการสอนมอนเตสซอรีสากล (Association Montessori International : AMI) อีก  1 คน และเป็นครูที่จบการศึกษาปฐมวัย ที่พร้อมในการจัดการศึกษา และประเมินพัฒนาการเด็กอย่างครบทุกด้าน  มีการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นรายบุคคล  มีปฏิสัมพันธ์    ที่ดีกับเด็กและครอบครัว  ซึ่งมีการสื่อสาร  และประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างข้อตกลง ทำความเข้าใจปีการศึกษาละ 2 ครั้ง  ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อม ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม  การร่วมมือกันของเด็ก การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน การเคารพสิทธิซึ่งกันและกันของเด็กที่คละอายุอยู่ในห้อง ผ่านสื่ออุปกรณ์ ทั้ง 4 หมวด ของการสอนมอนเตสซอรี  ได้แก่  หมวดชีวิตประจำวัน  หมวดประสาทรับรู้  หมวดภาษา  และหมวดคณิตศาสตร์  เพื่อการเรียนรู้มีความปลอดภัยและเพียงพอต่อการเรียนรู้ของเด็กได้รับการสนับสนุนสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อการจัดประสบการณ์สำหรับครู  จากการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐ  นอกจากนี้โรงเรียนวัดแสลงได้มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด คือ การสอนแบบมอนเตสซอรี ได้กำหนดและดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี  มีการประเมินและการตรวจสอบคุณภาพภายในและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีพร้อมจัดส่งให้หน่วยงานต้นสังกัด

มาตรฐานที่ ๓  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
หลักฐานและข้อูการสนับสนุนการดำเนินงาน
            เน้นการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง มีอิสระในการเลือกปฏิบัติกิจกรรมที่สนใจด้วยตนเองผ่านประสาทรับรู้ของร่างกาย จากการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม  ทั้งในและนอกห้องเรียน ที่สะอาด เหมาะสม  และปลอดภัยเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย และมีการใช้วิธีการการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงที่มีความหลากหลายทั้งจากการสังเกต  สัมภาษณ์ ภาพถ่าย  และ จดบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงและเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ และได้นำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก
กิจกรรม โครงการ/ แผนงานที่ดำเนินงานในแผนปฎิบัติการปีงบประมาณ ๒๕๖๓


๑) โครงการส่งเสริมสุขภาพ


๒) โครงการข่าวสารถึงผู้ปกครอง


๓) โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม


๔) โครงการส่งเสริมพัฒนาบุคลากร


๕) โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้


๖) โครงการอนุบาลมอนเตสซอรี่


๗) โครงการนักวิทยาศาสตร์น้อย  
๘) โครงการศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านการสอนแบบมอนเตสซอรี่(Montessori) 


ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียน

          ๑. ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT)ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ + ๕.๑๙
          ๒. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ +๓.๑๗
          ๓.เกียรติบัตร รางวัล ดีเด่น การคัดเลือกการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยใช้หนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๓
          ๔. นักเรียนได้รับรางวัล เหรียญเงิน การประกวดแข่งขันกิจกรรมสภานักเรียนดีเด่น ในการทำคลิปวีดีโอการส่งเสริมให้เด็กไทยเลิกใช้ถุงพลาสติก ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพงานสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๖๓
          ๕.โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสเซอรรี่ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาและเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อ มีการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน นักเรียนถูกฝึกให้รู้จักเคารพกฎ กติกา กล้าคิดกล้าแสดงออกและมีความสุขกับการเรียน
          ๖. โรงเรียนมีรายวิชาเพิ่มเติม ภาษาจีน มีการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสาร ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาที่ ๓ จากครูที่มีวุฒิตรงเอก
กิจกรรม โครงการ/ แผนงานที่ดำเนินงานในแผนปฎิบัติการปีงบประมาณ ๒๕๖๓
          ๑) โครงการพัฒนาวิชาการ
          ๒) โครงการห้องสมุดมีชีวิต
          ๓) โครงการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา
          ๔) โครงการโรงเรียนคุณธรรม
          ๕) โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
          ๖) โครงการอาหารกลางวัน
          ๗) โครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
          ๘) โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

          ๑. โรงเรียนวัดแสลง ผ่านการประเมิน ระดับ A ในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาออนไลน์ (ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
          ๒. โรงเรียนมีเครือข่ายคณะกรรมการสถานศึกษาที่เข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถและให้ความสำคัญในการเข้าร่วมประชุมและสนับสนุนในการบริหารจัดการด้านการศึกษา
          ๓. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น สวยงามสะอาดและปลอดภัยในการจัดการศึกษามีห้องสมุดที่มีความพร้อมทั้งด้านอาคาร สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าสิ่งพิมพ์และสืบค้นจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรม โครงการ/ แผนงานที่ดำเนินงานในแผนปฎิบัติการปีงบประมาณ ๒๕๖๓
          ๑) โครงการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
          ๒) โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
          ๓) โครงการพัฒนาบุคลากร
          ๔) โครงการพัฒนาผู้เรียน
          ๕) โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา
          ๖) โครงการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศ

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          ๑. ครูมีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากโรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยีของครูโดยโรงเรียนมีการติดตั้งโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทุกห้องเรียน ทำให้ครูเกิดการจัดรูปแบบการสอนได้หลากหลายและส่งผลให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนมากขึ้น
          ๒. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ
          ๓.โรงเรียนวัดแสลงได้รับการคัดเลือกนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนการสอนในระดับดีจากการจัดกิจกรรมคัดเลือกนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน และจัดนิทรรศการในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลประจำปี ๒๕๖๓ ผลการการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (๑ นวัตกรรม ๑ โรงเรียน) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
กิจกรรม โครงการ/ แผนงานที่ดำเนินงานในแผนปฎิบัติการปีงบประมาณ ๒๕๖๓
          ๑) โครงการพัฒนาการอ่าน
          ๒) โครงการผลิตสื่อการเรียนการสอน
          ๓) โครงการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการใช้เทคโนโลยี
          ๔) โครงการประกันคุณภาพภายใน
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

ระดับปฐมวัย

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

          จุดที่ควรพัฒนา ฝึกวินัยให้ผู้เรียนโดยผ่านการจัดประสบการณ์ตามแบบมอนเตสซอรี

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริการและการจัดการ

          จุดที่ควรพัฒนา พัฒนาสื่อการสอนให้ทันสมัย เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการการเรียนรู้ของผู้เรียน ระบุแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ชัดเจน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับครอบครัวชุมชน และ องค์กรที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

          จุดที่ควรพัฒนา ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาบุคลกรให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น

กิจกรรมโครงการ/แผนงานที่ดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพ

๑.โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
๒.โครงการส่งเสริมพัฒนาบุคลากร
๓.โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้
๔.โครงการอนุบาลมอนเตสซอรี่
๕.โครงการนักวิทยาศาสตร์น้อย
๖.โครงการศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori)


ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          ๑. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นโดยจัดโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กิจกรรมรักการอ่าน และใช้กระบวนการ PLCขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
          ๒. การพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ โดยส่งเสริมให้ครูพัฒนาและเก็บผลงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินความก้าวหน้าในวิชาชีพ
          ๓. การเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต โดยควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย
          ๔. การพัฒนานักเรียนให้มีโอกาสเข้าถึงสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอกับความต้องการ

กิจกรรมโครงการ/แผนงานที่ดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพ

     ๑. โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

     ๒. โครงการพัฒนาการอ่าน

     ๓. โครงการห้องสมุดมีชีวิต

     ๔. โครงการพัฒนาผู้เรียน

     ๕. โครงการพัฒนาบุคลากร

     ๖. โครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

     ๗. โครงการส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี




 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

ข้อมูลทั่วไป

               ชื่อโรงเรียนวัดแสลง (เขมราษฎร์วิทยาคาร)ที่ตั้ง ๒๕/๒ หมู่ที่๒ ตำบลแสลง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑ โทรศัพท์ ๐๓๙–๓๒๐๙๐๗ โทรสาร ๐๓๙ – ๓๒๐๙๐๗ e-mail : wanchai 616200@gmail.com เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่๑ ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

มีเขตพื้นที่ให้บริการ ๕ หมู่บ้าน ได้แก่

     -หมู่ที่ ๑ ตำบลแสลง (บ้านหนองคล้า)

     -หมู่ที่ ๒ ตำบลแสลง (บ้านเนินท้ายวัด)

     -หมู่ที่ ๓ ตำบลแสลง (บ้านหนองตะเคียนเฒ่า)

     -หมู่ที่ ๔ ตำบลแสลง (บ้านหนองตะโกรม)

     -หมู่ที่ ๕ ตำบลแสลง (บ้านคลองขวาง)

สภาพชุมชนโดยรวม

               ลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรม ประชากรในพื้นที่มีอาชีพทำสวน รับราชการ รับจ้างทั่วไปและอื่นๆ ฐานะทางเศรษฐกิจของ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ ระดับปานกลาง และมีฐานะยากจน ประชากร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักทั่วไป คือ ประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีวันออกพรรษา เป็นต้น ชุมชนให้ความร่วมมือในการบริหาร จัดการด้านการศึกษาในระดับดี

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์

ระดับปฐมวัย

          เด็กทุกคนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า รักษาระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ กล้าคิดกล้าแสดงออก ร่วมกิจกรรมได้เหมาะสมกับวัย เรียนรู้อย่างมีความสุข

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          มีคุณธรรม นำความรู้ สู่เทคโนโลยี มีวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณภาพตามมาตรฐานโดยความร่วมมือของชุมชนและองค์กร

พันธกิจ

ระดับปฐมวัย

          จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี และส่งเสริมพัฒนาการนักเรียนให้มีความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีทันสมัย และพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม มีความรู้ตามมาตรฐาน ศึกษาหลักเศรษฐกิจพอเพียง

อัตลักษณ์ของผู้เรียน

          ระดับปฐมวัย    การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี

          ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน      ผู้เรียนมีทักษะการใช้เทคโนโลยี

เป้าประสงค์

          ๑. ผู้เรียนมีความรู้ และมีคุณธรรมจริยธรรม

          ๒. ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

          ๓. ผู้เรียนมีวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

          ๔. ชุมชนและองค์กรมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา


ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 12 1 1 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

หลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน
          โรงเรียนวัดแสลง(เขมราษฎร์วิทยาคาร) มีการจัดการศึกษา  ๒  ระดับ
 ๑. ระดับปฐมวัย   ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ - ๓
 ๒. ระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖

ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลด้านอาคารสถานที่  
          โรงเรียนวัดแสลง(เขมราษฎร์วิทยาคาร) มีอาคารเรียนและอาคารประกอบจำนวน ๑๒ หลัง ได้แก่                 
               ๑. อาคารเรียน จำนวน ๔ หลัง 
               ๒. อาคารประกอบ จำนวน ๖ หลัง 
                    ๒.๑  อาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง 
                    ๒.๒  อาคารห้องสมุด ๑ หลัง 
                    ๒.๓  อาคารสำนักงานโรงเรียน ๑ หลัง 
                    ๒.๔  บ้านพัก ๓ หลัง 
              ๓. ส้วม จำนวน ๒ หลัง


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1faUVvUwG9h5_hX6asVuqrifG_6CNX_g3/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

๑. จำนวนนักเรียนที่ใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

ชื่อแหล่งเรียนรู้

จำนวนนักเรียนเฉลี่ยแยกตามระดับชั้น/ปี

.

.

.

.

.

.

๑. ห้องคอมพิวเตอร์

๒๗

๓๑

๓๓

๒๖

๒๐

๒๕

๒. ห้องวิทยาศาสตร์

๒๗

๓๑

๓๓

๒๖

๒๐

๒๕

๓. ห้องสมุด

๒๗

๓๑

๓๓

๒๖

๒๐

๒๕

. สหกรณ์โรงเรียน

๒๗

๓๑

๓๓

๒๖

๒๐

๒๕

๕. สนามฟุตบอล

๒๗

๓๑

๓๓

๒๖

๒๐

๒๕

๖. สนามเด็กเล่น

๒๗

๓๑

๓๓

๒๖

๒๐

๒๕

๕. โรงเพาะเห็ด

-

-

-

-

๒๐

-



๒. จำนวนนักเรียนที่ใช้แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน    
 

ชื่อแหล่งเรียนรู้

จำนวนนักเรียนแยกตามระดับชั้น

.

.

.

.

.

.

๑. วัดแสลง

๒๗

๓๑

๓๓

๒๖

๒๐

๒๕

๒. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี และโอเอซิส ซีเวิลด์ จันทบุรี

๒๖

๓๑

๓๓

๒๖

๑๘

๒๐

 


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1R6g6eKmC9M7OWWrPZEOk0hyjl50QnMyT/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนวัดแสลงมีแนวทางการพัฒนาเด็กในระดับปฐมวัยให้มีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยด้านร่างกายจัดให้เด็กรับประทานอาหารหลักครบ 5 หมู่ จากการจัดให้มีโครงการอาหารกลางวันประจำโรงเรียน ทดสอบสมรรถนะด้านร่างกายปีการศึกษาละ 2 ครั้ง และการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ เด็กได้เคลื่อนไหวในการปฏิบัติกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน และพัฒนาการด้านอื่นห้องเรียนอนุบาล โรงเรียนวัดแสลงได้จัดกิจกรรมการสอนตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ ซึ่งจัดกิจกรรมให้เด็กเลือกปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจของเด็ก จากสื่ออุปกรณ์และการจัดสภาพแวดล้อมในห้อง เด็กจึงมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้
ผลการดำเนินงาน  
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน
ผลการดำเนินงาน


ที่

รายละเอียดแต่ละมาตรฐาน

คิดเป็นร้อยละ

ระดับคุณภาพ

ร่องรอยความพยายาม

(โครงการ/กิจกรรมที่ทำ)

1.1

มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัย

ที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

96.56

ยอดเยี่ยม

- สมุดบันทึกอาหารเสริม (นม)

- บันทึกพัฒนาการเด็ก

- ภาพถ่าย

- โครงการส่งเสริมสุขภาพ

- บันทึกสมรรถภาพ

นักเรียนบันทึกพฤติกรรม

- แผนการจัดประสบการณ์

- บันทึกหลังสอน

- ชิ้นงาน/ผลงานเด็ก

- ข้อตกลงในห้องเรียน

1.2

มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้

96.49

ยอดเยี่ยม

1.3

การพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

97.83

ยอดเยี่ยม

1.4

มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

95.41

ยอดเยี่ยม

ค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ

96.57

ยอดเยี่ยม

สรุประดับคุณภาพมาตรฐาน

ยอดเยี่ยม


ผลการพัฒนา
          เด็กมีภาวะโภชนาการดีขึ้น ส่วนในด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง โดยเด็กเลือกปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองตามความสนใจโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดมอนเตสซอรี เด็กจึงมีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ช่วยเหลือแบ่งปัน เคารพสิทธิของผู้อื่นและรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนอง และมีพัฒนาการด้านสติปัญญาเพิ่มมากขึ้น

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1Ljl_wygOsmf9TWAMHONVV_jHGgr9QiNP?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
กระบวนการพัฒนา
          โรงเรียนวัดแสลงมีการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 โดยนวัตกรรมการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดมอนเตสซอรีมาใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย เน้นกระบวนการเตรียมความพร้อมโดยไม่เร่งรัดวิชาการ เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือปฏิบัติจริง ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความสอดคล้องกับชีวิตประจำวันในครอบครัว วิถีชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งมีครูและบุคลากรที่จบการอบรมหลักสูตรการสอนมอนเตสซอรีสากล (Association Montessori International : AMI)จำนวน 2 คน และเป็นครูที่จบการศึกษาปฐมวัย ที่พร้อมในการจัดการศึกษา และประเมินพัฒนาการเด็กอย่างครบทุกด้าน มีการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นรายบุคคล มีปฏิสัมพันธ์ ที่ดีกับเด็กและครอบครัว ซึ่งมีการสื่อสาร และประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างข้อตกลง ทำความเข้าใจปีการศึกษาละ 2 ครั้ง ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อม ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม การร่วมมือกันของเด็ก การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน การเคารพสิทธิซึ่งกันและกันของเด็กที่คละอายุอยู่ในห้อง ผ่านสื่ออุปกรณ์ ทั้ง 4 หมวด ของการสอนมอนเตสซอรี ได้แก่ หมวดชีวิตประจำวัน หมวดประสาทรับรู้ หมวดภาษา และหมวดคณิตศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้มีความปลอดภัยและเพียงพอต่อการเรียนรู้ของเด็ก ได้รับการสนับสนุนสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อการจัดประสบการณ์สำหรับครู จากการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐ นอกจากนี้โรงเรียนวัดแสลงได้มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด คือ การสอนแบบมอนเตสซอรี ได้กำหนดและดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี มีการประเมินและการตรวจสอบคุณภาพภายในและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีพร้อมจัดส่งให้หน่วยงานต้นสังกัด
ผลการดำเนินงาน  
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
ผลการดำเนินงาน

ที่

รายละเอียดแต่ละมาตรฐาน

คิดเป็นร้อยละ

ระดับคุณภาพ

ร่องรอยความพยายาม

(โครงการ/กิจกรรมที่ทำ)

2.1

มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น

100

ยอดเยี่ยม

- หลักสูตร

- แผนการจัดประสบการณ์

- แฟ้มข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล

- แผ่นพับ

- แนะแนว

- บันทึกการประชุม

- สื่อ, การจัดซื้อสื่อ

- คำสั่งการปฏิบัติงานโรงเรียน

- แผนปฏิบัติราชการประจำปี

- รายงานประจำปี

- บันทึกการสังเกต

- ภาพถ่าย

- สมุดเยี่ยมชมศึกษาดูงาน

- สมุดนิเทศ

- จัดอบรมบุคลากร

- รางวัล

2.2

จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน

86.66

ยอดเยี่ยม

2.3

ส่งเสริมให้ครูมีความเชียวชาญด้านการจัดประสบการณ์

96.00

ยอดเยี่ยม

2.4

จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้

อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

100

ยอดเยี่ยม

2.5

ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู

100

ยอดเยี่ยม

2.6

มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

100

ยอดเยี่ยม

ค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ

97.11

ยอดเยี่ยม

สรุประดับคุณภาพมาตรฐาน ยอดเยี่ยม

ผลการพัฒนา
ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารให้การสนับสนุนและปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ แนวการจัดการศึกษาที่ดีขึ้น ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี และเด็กเข้าร่วมโครงการที่จัดทำขึ้น
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1nSVbDsq2We7VPSTg2-s2SHWu5Gp4cBkO?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนวัดแสลงได้จัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดมอนเตสซอรี โดยมีการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กมีพัฒนาการที่ครบทุกด้านอย่างสมดุล และเต็มศักยภาพของตนเอง เน้นการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง มีอิสระในการเลือกปฏิบัติกิจกรรมที่สนใจด้วยตนเองผ่านประสาทรับรู้ของร่างกาย จากการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ทั้งในและนอกห้องเรียน ที่สะอาด เหมาะสม และปลอดภัยเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย และมีการใช้วิธีการการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงที่มีความหลากหลายทั้งจากการสังเกต สัมภาษณ์ภาพถ่าย และจดบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงและเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ และได้นำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

ผลการดำเนินงาน  

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
ผลการดำเนินงาน


ที่

รายละเอียดแต่ละมาตรฐาน

คิดเป็นร้อยละ

ระดับคุณภาพ

ร่องรอยความพยายาม

(โครงการ/กิจกรรมที่ทำ)

3.1

จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการ
ทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

100

ยอดเยี่ยม

- รายงานการพัฒนาคุณภาพคุณภาพการศึกษา (SAR)
- ภาพถ่าย
- แผนปฏิบัติราชการ
- โครงการต่าง ๆ

 

3.2

สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

100

ยอดเยี่ยม

3.3

จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

80.00

ยอดเยี่ยม

3.4

ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

100

ยอดเยี่ยม

ค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ

95.00

ยอดเยี่ยม

สรุประดับคุณภาพมาตรฐาน

ยอดเยี่ยม

ผลการพัฒนา
          สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในตามกฎกระทรวงที่ดีขึ้นและได้รับความสนใจจากชุมชน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1A3MZIDrWk_xqmZCZE2bSrmWtiRZwgLeE?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
กระบวนการพัฒนา

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผุ้เรียน
ส่งเสริมให้เด็กรับสารอาหารและอาหารเสริมอย่างครบถ้วน การออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกาย จากกิจกรรมตามหมวดงานต่าง ๆ ที่จัดเตรียมไว้ตามความสนใจ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ผู้บริหารมีนโยบายมุ่งเน้นการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยใช้แนวคิดการสอนแบบมอนเตสซอรี พร้อมจัดทำโครงการที่เกี่ยวข้อง และการตอบรับให้การสนับสนุนจากชุมชน

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
จัดรูปแบบการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย โดยใช้การสอนแบบมอนเตสซอรีและประชุมจัดเอกสารและประเมินผล
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ผลการดำเนินงาน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีการพัฒนาตามศักยภาพ ปฏิบัติตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายมีนิสัยรักการอ่านและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีความรู้หลากหลาย สืบค้นข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สนใจเข้าห้องสมุด ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง มีความรู้ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีตระหนักปัญหาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด มีสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี ได้รับการพัฒนาให้มีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา เข้าร่วมกิจกรรมในโอกาสต่าง ๆ รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง ได้เรียนรู้จากจากการปฏิบัติจริงจากโครงการเข้าค่ายดาราศาสตร์ ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความรับผิดชอบแสวงหาความรู้และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ใช้เทคโนโลยีและสื่อการสอนที่หลากหลาย

จุดเด่น

ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ มีคุณธรรมจริยธรรม สามารถร่วมงานกับผู้อื่นได้ มีทักษะการเรียนรู้ที่เหมาะสม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

การบริหารงานของโรงเรียนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย บุคลากรภายในโรงเรียนสามารถปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการเก็บข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ มีการควบคุมและ จัดทำบัญชีด้านการเงินที่เป็นปัจจุบัน โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้และรายงานทันตามกำหนดใช้จ่ายได้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

จุดเด่น

ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์ตามแบบมอนเตสซอรี ชุมชนให้การสนับสนุนในการใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถศึกษาหาความรู้ ด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลแสลง ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ โครงการอาหารกลางวันและอาหารเสริม(นม)

จุดเด่น

การจัดการสอนแบบมอนเตสซอริในระดับปฐมวัย

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

กระบวนการพัฒนา

๑. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

 ๑.๑ ผู้เรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ

ค่าเป้าหมาย

โรงเรียนกำหนดเกณฑ์ การพัฒนาการเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ไว้ดังนี้
          ร้อยละ ๗๐ ผู้เรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสารภาษาไทยในระดับดีขี้นไป 
          ร้อยละ ๗๐ ผู้เรียนสามารถสนทนาภาษาอังกฤษอย่างง่ายในระดับดีขี้นไป
          ร้อยละ ๕๐ ผู้เรียนมีทักษะการคิดคำนวณในระดับดีขี้นไป

          โรงเรียนได้พัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียน สื่อสาร ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ มุ่งให้ผู้เรียนอ่านออก เขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ และอ่านคล่องเขียนคล่องในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นฝึกทักษะการอ่าน การเขียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการห้องสมุดมีชีวิต จัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน นักเรียนได้อ่านหนังสือตามความสนใจ โครงการพัฒนาการอ่าน ส่งเสริมและช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านการเขียน โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาจีนนอกจากนี้ในตอนเข้าแถวเคารพธงชาติ โรงเรียนจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกพูดนำเสนอกิจกรรมหน้าเสาธงเช่น การนำเสนอภาษาไทยวันละคำ ภาษาอังกฤษ และภาษาจีนหน้าเสาธง ในด้านการคิดคำนวณมีการท่องสูตรคูณพร้อมกันทุกเช้าและหลังจากเสร็จกิจกรรมหน้าเสาธงครูประจำชั้นจัดให้มีฝึกคิดเลขเร็วก่อนเริ่มเรียนในชั่วโมงปกติ

๑.๒ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา

ค่าเป้าหมาย

          ร้อยละ ๗๐ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา

          โรงเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยในระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ มีการจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรีต่อเนื่องจากระดับปฐมวัยฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อมอนเตสซอรี สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถทำงานกับกลุ่มเพื่อนทำให้เกิดการปฎิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันทั้งด้านความคิด และทักษะด้านสังคม โดยครูมีหน้าที่คอยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ และในทุกระดับชั้นมีการจัดบูรณาการเรียนการสอนแบบActive learning ในแต่ละสาระการเรียนรู้ เช่น ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ฝึกทักษะการทดลอง มีการเรียนรู้แบบลงมือปฎิบัติจริง และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำกิจกรรม ในสาระสังคมศึกษาฯ ฝึกการวิเคราะห์ข่าวสรุปสิ่งที่เรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด (Mind mapping)

๑.๓ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

ค่าเป้าหมาย

          ร้อยละ ๗๐ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

          โรงเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ โดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติ จากการเรียนสาระการงานอาชีพนำวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นของเล่นของใช้ การจัดกิจกรรมตามโครงการสะเต็มศึกษา ผู้เรียนสามารถรวบรวมโดยใช้สื่อเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลและทำงานเป็นทีมในการสร้างผลงานสิ่งประดิษฐ์ เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น

๑.๔ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ค่าเป้าหมาย

          ร้อยละ ๗๐ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

          โรงเรียนมีการจัดการสอนในวิชาวิทยาการคำนวณตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.. ๒๕๖๐) ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ได้เหมาะสมตามช่วงวัย ฝึกทักษะการออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ นักเรียนระดับชั้นป.๔-๖ สามารถใช้อินเทอร์เนตค้นหาความรู้ในห้องศูนย์สารสนเทศในช่วงพักกลางวันตามความสนใจ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลครบถ้วนใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสม และทำงานสำเร็จตามเวลาที่กำหนดให้ นอกจากนี้ยังมีโครงการส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน

๑.๕ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

ค่าเป้าหมาย

          ร้อยละ ๗๐ ของนักเรียนที่ได้เกรด ๓ ขึ้นไป มีคุณภาพในระดับ ดี 
          ผู้เรียนมีผลการทดสอบระดับชาติ สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ

          โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดแสลง ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดำเนินกิจกรรมตามโครงการพัฒนาผู้เรียนสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำตลอดปีการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ได้ตามมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนด ในภาคเรียนที่ ๒ จัดโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการวิเคราะห์ผลการสอบและวิเคราะห์ข้อสอบ จัดกิจกรรมติวข้อสอบ NTและ O-NET เพื่อทบทวนความรู้และสร้างความคุ้นเคยกับรูปแบบข้อสอบมาตรฐานระดับชาติ

 ๑.๖ มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติทีดีต่องานอาชีพ

ค่าเป้าหมาย

          นักเรียนร้อยละ ๘๐ มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติทีดีต่องานอาชีพ

          โรงเรียนดำเนินการจัดการเรียนรู้พัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดี พร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น หรือมีวุฒิภาวะทางอาชีพที่เหมาะสมกับช่วงวัย ตามโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษากำหนดจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น ชั่วโมงแนะแนวเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้มีทักษะ ในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น
มีความสุขในการทำงาน มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
มีความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพและการศึกษาต่อ นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมเสริมความรู้ด้านการศึกษาและอาชีพ จัดกิจกรรมโครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง เช่น กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน ฝึกปฎิบัติทักษะอาชีพ เช่น เพาะเห็ดนางฟ้า ปลูกผักยกแคร่

ผลการดำเนินงาน  

ผลการดำเนินงาน

          ๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

๑.๑ ผู้เรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ 

          ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียนภาษาไทย ในภาพรวมระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓ ผู้เรียนสามารถอ่าน เขียนภาษาอังกฤษ ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๘๐และมีทักษะการคิดคำนวณในระดับดีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ ๗๖.๐๐ ซึ่งมีการพัฒนาสูงกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด และผลการประเมินโดยใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียนของสถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปรากฏว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ มีความสามารถในการอ่านออกเสียงและอ่านตามหลักภาษาเฉลี่ยร้อยละ ๙๖.๕๘ การอ่านรู้เรื่องเฉลี่ยร้อยละ ๘๐.๑๔ความสามารถในการเขียนคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ เฉลี่ยร้อยละ ๗๖.๙๒ และการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖เฉลี่ยร้อยละ ๙๔.๘๑ และในการร่วมกิจกรรมการคัดเลือกการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยใช้หนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๓ โรงเรียนวัดแสลงฯ ได้รับเกียติบัตร รางวัล ดีเด่น

๑.๒ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา

          นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการกลุ่มโดยมีผลการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียนอยู่ในระดับคุณภาพดีคิดเป็นร้อยละ๘๖.๔๒และในการประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา โดยใช้แบบประเมินผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดีขึ้นไป คิดเป็น ร้อยละ ๗๗.๗๘ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด

๑.๓ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

          นักเรียนสามารถรวบรวมความรู้สร้างชิ้นงานทั้งที่เป็นงานเดี่ยวและการทำงานเป็นกลุ่ม สามารถเชื่อมโยงความรู้และสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ได้ตรงตามเป้าหมาย เช่น ทำงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียน อาทิ หมวกจากกล่องนม เปเปอร์มาเช่กระปุกออมสิน โครงการสะเต็มศึกษา นักเรียนสามารถบูรณาการความรู้โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ ใช้เทคโนโลยีในกระบวนการแก้ปัญหา วิศวกรรมศาสตร์ในการออกแบบชิ้นงาน และคณิตศาสตร์ในการคิดคำนวณสร้างสรรค์ชิ้นงาน เช่น การทำพัดลมจิ๋ว เครื่องดักแมลงวัน ในภาพรวมผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมคิด
เป็นร้อยละ ๘๕.๘๐ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด

ร้อยละ(ระดับดีขึ้นไป)ของจำนวนผู้เรียนที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๓

 

๑.๔  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

          ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยพิจารณาจากผลการประเมินความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ได้เหมาะสมตามช่วงวัยและเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ถูกต้องสร้างสรรค์มีคุณธรรม ซึ่งมีผลการประเมินร้อยละ ๘๗.๐๔ สูงกว่าค่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด

ร้อยละ(ระดับดีขึ้นไป) ของจำนวนนักเรียนที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-
ปีการศึกษา ๒๕๖๓



๑.๕ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 
          ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้ระดับ ๓ ขึ้นไปเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ ๖๙.๙๘ เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งยังต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่วนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ ๔๖.๒๗ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ +๓.๑๗ และผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๔๙.๑๖ สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ + ๕.๑๙ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด

 ๑.๖ มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติทีดีต่องานอาชีพ 

          โรงเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี มีเจตคติที่ดีที่อาชีพและมีความพร้อมในการศึกษาต่อระดับสูง ร้อยละ ๙๘.๗๗ ของนักเรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพในปีการศึกษา ๒๕๖๓ นักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาคิดเป็นร้อยละ ๙๖.๐๐ มีค่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด   

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1lZxE6Oaw2FcHS0sjP5BJxuYz_CRDlKJx?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  กระบวนการพัฒนา

๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

๒.๑ มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

ค่าเป้าหมาย 
          ร้อยละ ๘๐ มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนดในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

           โรงเรียนมุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ เช่น รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะส่งเสริมให้ผู้เรียนอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเป็นสุข โรงเรียนมีกิจกรรมส่งเสริมผู้เรียนดังนี้ มีการจัดการเรียนการสอนสาระเพิ่มเติมรายวิชาการป้องกันการทุจริตในทุกระดับชั้น กิจกรรมตามโครงการโรงเรียนคุณธรรม เช่น กิจกรรมวิถีพุทธ นำนักเรียนไปสวดมนต์ที่วัดทุกวันศุกร์ พระอาจารย์สอนพระพุทธศาสนาในชั่วโมงสังคมศึกษา ชั้นป.๕-๖  กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน นักเรียนใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งประธานนักเรียน นักเรียนฝึกความรับผิดชอบโดยมีการแบ่งเขตทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละระดับชั้น จัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ พานักเรียนร่วมเก็บขยะในชุมชน ทำความสะอาดวัดโรงเรียน มีการวัดผลประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ๘ ประการ ทุกระดับชั้น

๒.๒ มีความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย

ค่าเป้าหมาย
          นักเรียนร้อยละ ๘๐ มีความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย

          โรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย โดยผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรม ประเพณีไทยต่าง ๆ ในรายวิชาประวัติศาสตร์และศิลปะ อาศัยรูปแบบกระบวนการคิด และสร้างผลงานตามภาระงานในแต่ละระดับชั้นโดยการลงมือปฏิบัติจริง ในโครงการโรงเรียนคุณธรรมส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา เช่น ร่วมถวายเทียนวันเข้าพรรษา ทำบุญตักบาตรอาหารแห้ง ร่วมเป็นเปรตและนางฟ้าในกิจกรรมตักบาตรเทโวของวัดแสลง สืบสานประเพณีของท้องถิ่น จัดกิจกรรมบูรณาการวันลอยกระทงประดิษฐ์กระทงในสาระการงานอาชีพ

 ๒.๓ ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

เป้าหมาย

          นักเรียนร้อยละ ๘๐ ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย 

          โรงเรียนมีวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่๑-๓ นักเรียนมีการเรียนร่วมกันแบบคละชั้น พี่ดูแลน้องในการทำกิจกรรม และสร้างความเท่าเทียมกันในการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย มีปฎิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างครูและผู้เรียนด้วยกัน ฝึกการเป็นสมาชิกที่ดีของห้อง ในบางชั้นเรียนมีการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวมทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ โรงเรียนมีครูที่ผ่านการอบรมเด็กพิเศษเรียนรวมและพี่เลี้ยงเด็กพิการรับผิดชอบพัฒนาการของเด็กทำหน้าที่ดูแลร่วมกับครูประจำชั้น นอกจากนี้ในโรงเรียนยังมีการเรียนร่วมกันของนักเรียนหลายเชื้อชาติ เช่น เขมร ลาว พม่า ซึ่งเป็นลูกคนงาน ลูกจ้างในสวนผลไม้ และล้งรับซื้อผลไม้ที่อยู่ในชุมชนตำบลแสลงและใกล้เคียงโรงเรียนมีการจัดโครงการพัฒนาผู้เรียน เช่น กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมสภานักเรียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมร่วมกันและดูแลช่วยเหลือกัน ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยการยอมรับเสียงข้างมากในการอยู่ร่วมกัน

๑.๔ มีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

ค่าเป้าหมาย

          นักเรียนร้อยละ ๘๐ มีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม 
          โรงเรียนได้ดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ดี โดยการตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตรวจคัดกรองการมองเห็นและนำนักเรียนที่ปัญหาสายตาไปตัดแว่น โรงเรียนได้จัดกิจกรรมตามโครงการอาหารกลางวัน ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีประโยชน์และมีสารอาหารครบทุกคน นักเรียนทุกคนได้ดื่มนมทุกวัน โรงเรียนมีสถานที่ให้นักเรียนได้ออกกำลังกาย มีสนามเด็กเล่น และสนามกีฬาให้นักเรียนได้พักผ่อน และในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ โรงเรียนมีมาตรการในการคัดกรองนักเรียนก่อนเข้าโรงเรียน โดยการตรวจวัดอุณหภูมิและล้างเจลแอลกอฮอล์ก่อนเข้ามาในโรงเรียนเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ ในด้านของจิตใจ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีภูมิคุ้มกันป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด โดยได้รับความร่วมมือจากครูตำรวจมาอบรมตามหลักสูตร D.A.R.E. โรงเรียนมีกิจกรรมเดินรณรงค์ต่อต้านต่อต้านสารเสพติด ตามโครงการรณรงค์ป้องกันสารเสพติด


ผลการดำเนินงาน  ผลการดำเนินการ

๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

๒.๑ มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด 
          ผู้เรียนมีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริตมีวินัย ใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะมีพฤติกรรมเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนดในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๙๔.๔๕ สูงกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด

แผนภูมิแสดงค่าเฉลี่ยร้อยละ การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

 


๒.๒ มีความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย 

          นักเรียนมีความภูมิใจและเห็นคุณค่าในความเป็นไทย นักเรียนร้อยละ ๑๐๐ เข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาและกิจกรรมตามประเพณีของท้องถิ่นกับโรงเรียน

๒.๓ ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย 
          ผู้เรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคล เพศ วัย เชื้อชาติ และความแตกต่างในด้านความสามารถในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสุขและสามารถอยู่ร่วมกันโดยไม่ทะเลาะขัดแย้งกัน ร้อยละ ๑๐๐ นักเรียนยอมรับจะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

 ๒.๔ มีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม  
          ผู้เรียนมีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคมที่ดีมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์กรมอนามัยมีสุขภาพแข็งแรงมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ จำนวนนักเรียนที่มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๗๗ สูงกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด  

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1LovlsIIBOW5j9zUNHWPptiyQKoH24MD0?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและจัดการ

กระบวนการพัฒนา

เป้าหมาย

          การพัฒนากระบวนการบริหารและจัดการ ในระดับคุณภาพดีเลิศ

๑ มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนด

          โรงเรียนมีการประชุมบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์ และพันธกิจกลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและความต้องการของชุมชน

๒ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

          โรงเรียนวัดแสลงฯ มีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยมีการแบ่งงานเป็น ๔ ด้าน คือ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคลและงานบริหารทั่วไป ผู้บริหารใช้หลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิดร่วมทำ และร่วมตรวจสอบ ตามวงจรการทำงาน PDCA ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา การนำแผนไปปฏิบัติ มีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

๓. ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

          โรงเรียนดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการ ที่ประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดทำและพัฒนาหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐) ได้เป็นหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดแสลง ปีการศึกษา ๒๕๖๓ โรงเรียนได้จัดทำสาระเพิ่มเติมรายวิชาภาษาจีน และสาระเพิ่มเติมรายวิชาการป้องกันการทุจริต เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและบริบทของโรงเรียน

๔ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

          โรงเรียนดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพในสาขาที่ตนสอนและงานที่รับผิดชอบ สนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาต่างๆ เช่น การอบรมออนไลน์ โครงการพัฒนาบุคลากร นำคณะครูศึกษาดูงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ จังหวัดเชียงราย ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์เรียนรู้เห็ดครูเจี๊ยบพารวย จังหวัดเชียงราย เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา

๕ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

          โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพสังคมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีห้องศูนย์สารสนเทศสำหรับผู้เรียนได้สืบค้นข้อมูล โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ส่งผลให้โรงเรียนมีสื่อเทคโนโลยีที่พร้อมในการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนมีการดูแลอาคารสถานที่ให้สะอาดและปลอดภัย มีห้องเรียน ห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ เพียงพอในการจัดการเรียนการสอน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑๓ มีการขยายพื้นที่ห้องเรียนให้มีพื้นที่เพียงพอในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี และภายใต้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ที่ต้องเว้นระยะห่างในการเรียนการสอน สร้างอ่างล้างมือ และจุดล้างแอลกอฮฮล์ก่อนเข้าห้องเรียน จัดทำโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา มีจุดแยกขยะ ๔ ประเภทตามนโยบายของรัฐบาล มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ร่มรื่นสวยงามและปลอดภัย

๖. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

          โรงเรียนมีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน โรงเรียนใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการ เช่นระบบการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (DMC) โปรแกรมระบบบริหารจัดการผลการเรียน (School MIS) ระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน ระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงเรียนเรียนรวม โปรแกรม B-OBEC ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา(EMIS) โปรแกรมThai School Lunch เป็นต้น นอกจากนี้โรงเรียนมีโครงการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศ เพื่อจัดเก็บข้อมูลและรายงานผลประจำปี

ผลการดำเนินงาน  

ผลการดำเนินงาน

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและจัดการ

๑ มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนด

          โรงเรียนวัดแสลงฯ มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

๒. มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

          โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยมีค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กำหนด มีแผนปฏิบัติการประจำปี ดำเนินงานตามแผน มีการตรวจสอบ ประเมินผล และปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาจากศึกษานิเทศ ผู้บริหารโรงเรียน และคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างต่อเนื่อง มีจำนวนครูและบุคลากรสนับสนุนด้านการศึกษาเพียงพอ มีคณะกรรมการสถานศึกษาที่ให้ความสำคัญและร่วมสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาด้านการศึกษา โรงเรียนมีระบบข้อมูลสารสนเทศและใช้สารสนเทศในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา จัดให้มีการติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและจัดทำรายงานประจำปี ครูร้อยละ ๑๐๐
มีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการจัดเก็บข้อมูลหลักฐานและประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

๓. ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 

          โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดแสลง ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตอบสนองวิสัยทัศน์ พันธกิจและจุดเน้นของสถานศึกษามีกำหนดเวลาเรียนเหมาะสมกับระดับชั้นเรียน ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสานึก ในการเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๔ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 
          โรงเรียนจัดโครงการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนปีการศึกษาละ ๑ ครั้ง และครูได้มีการพัฒนาตนเองโดยการเข้ารับการประชุมและอบรมจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต ๑ การอบรมออนไลน์ ครูร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพ เฉลี่ยจำนวน ๗ ครั้ง / ปีการศึกษา
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1j6IUTVYHZF76Ni49cWfH-qpij5UNGwGC?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

กระบวนการพัฒนา

เป้าหมาย

          กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับคุณภาพดีเลิศ

๑ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต

          ครูมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ตามรูปแบบลักษณะธรรมชาติของรายวิชา เช่น ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ ใช้รูปแบบการสอนมอนเตสซอรี ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ จัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละสาระการเรียนรู้มีการบูรณาการ โดยใช้ Active Learning และทักษะการคิด เช่น การจัดกิจกรรมการสอนแบบแบ่งกลุ่มอภิปราย การนำเสนอผลงาน การเขียนเรียงความ ย่อความ การค้นคว้าทำรายงาน การทำแผนผังความคิด ( Mind mapping) การประดิษฐ์ การทดลอง การทำโครงงาน การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ปฏิบัติจริง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

๒ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

          โรงเรียนส่งเสริมให้ครูใช้สื่อและผลิตสื่อที่หลากหลายในการจัดการเรียนการสอน เช่น
สื่อมอนเตสซอรี สื่อเทคโนโลยีของโรงเรียนประชารัฐ สื่อโครงการ
DLIT สื่อออนไลน์ ห้องสมุดโรงเรียน
การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เช่น โรงเพาะเห็ด สนามเด็กเล่น สหกรณ์โรงเรียน สนามฟุตบอล เป็นต้น โรงเรียนจัดทำโครงการพัฒนาผู้เรียนนำนักเรียนทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน ปีการศึกษาละ ๑ ครั้ง เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอก

๓ มีการบริหารจัดการเชิงบวก

          ผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ นักเรียนมีความสุขในการเรียน ครูมีการกล่าวชมเชยนักเรียนที่มีพฤติกรรมเหมาะสมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เช่น การชมเชยหน้าเสาธง การมอบรางวัล ทุนการศึกษาให้นักเรียนที่เรียนดี
ขาดแคลนทุนทรัพย์

๔ ตรวจสอบและประมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

          โรงเรียนใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่ได้มาตรฐาน เช่น ข้อสอบมาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑ ในระดับชั้น ป. ๓ ในสาระภาษาไทย และคณิตศาสตร์และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ในสาระภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม และ ภาษาอังกฤษ และในสาระวิชาที่ไม่มีข้อสอบมาตรฐาน ครูได้จัดทำเครื่องมือวัดและประมินผลโดยการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด ขั้นตอนสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลอย่างเป็นระบบตามประกาศของสพฐ.

๕ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

          โรงเรียนส่งเสริมให้ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรมนิเทศชั้นเรียนโดยครูที่ได้รับการ
แต่งตั้ง และนิเทศทั่วไปจากผู้บริหาร ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมประจำเดือนของโรงเรียน
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ 
PLC ครูมีการทำวิจัยชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน

ผลการดำเนินงาน  

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ผลการดำเนินงาน

จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต 

          ครูร้อยละ ๙๐ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เช่น การฝึกทักษะการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณทักษะการทดลอง การทำกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสรุปความรู้โดยใช้แผนผังความคิด การนำเสนอผลงาน ผู้เรียนได้รับการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด

ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 

          ครูมีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน มีการใช้ห้องสมุด การสืบค้นอินเทอร์เนตในการจัดการเรียนสอน ครูร้อยละ ๑๐๐ มีการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน

มีการบริหารจัดการเชิงบวก 

          ครูมีการจัดบรรยากาศห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้สะอาด เรียบร้อย ครูชมเชยผู้เรียนหรือให้รางวัลเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ครูร้อยละ ๑๐๐ มีผลการประเมินการบริหารจัดการเชิงบวกอยู่ในระดับดีเลิศ

ตรวจสอบและประมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 

          ครูมีการตรวจสอบและประเมินผลผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน เช่น ครูร้อยละ ๑๐๐ มีการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลตามมาตรฐานการเรียนรู้

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ 

          ครูทุกคนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ เช่น การนิเทศชั้นเรียน การประชุม PLC เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียนครูร้อยละ ๙๐ ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียนและในการจัดกิจกรรมคัดเลือกนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนและจัดนิทรรศการในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลประจำปี ๒๕๖๓ ผลการการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (๑ นวัตกรรม ๑ โรงเรียน) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑โรงเรียนวัดแสลงได้รับการคัดเลือกนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนการสอนในระดับดี

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/191RCaHemEI7EmVYI-9DizK78NOPk5-Dm?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
กระบวนการพัฒนา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
ด้านคุณภาพผู้เรียน 

          โรงเรียนวัดแสลงฯ มีการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลายให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียนและเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร  ทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ  และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
 ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ 
           โรงเรียนวัดแสลงฯ  มีกระบวนการบริหารจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามยุทธศาสตร์ที่โรงเรียนตั้งไว้   โดยใช้หลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม  คือ  ร่วมคิด  ร่วมทำ   และร่วมตรวจสอบ ใช้วงจรการควบคุมคุณภาพเดมมิ่ง ( PDCA)  เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบกระบวนการทำงาน  มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และจัดทำแผนพัฒนาปฎิบัติการให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาและบริบททั้งภายในและภายนอกของโรงเรียน 
 ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
          ครูทุกคนมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีการจัดการเรียนรู้โดยใช้  Active Learning บูรณาการในแต่ละกลุ่มสาระ   ครูมีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการวัดผลและประเมินผลตามมาตรฐานการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่มีกระบวนการพัฒนาที่ได้มาตรฐานสอดคล้องตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ  
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 ผลการดำเนินงาน
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน จากผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ระดับ  ดีเลิศ โดยมีผลการประเมินรายมาตรฐาน ดังนี้
          มาตรฐานที่ ๑  ด้านคุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับ  ดีเลิศ
          มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดีเลิศ
          มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนารสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดีเลิศ

ด้านคุณภาพผู้เรียน 
          ๑. โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาและเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อ มีการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน นักเรียนถูกฝึกให้รู้จักเคารพกฎ กติกา กล้าคิดกล้าแสดงออกและมีความสุขกับการเรียน 
          ๒. โรงเรียนมีรายวิชาเพิ่มเติม ภาษาจีน มีการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสาร ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาที่ ๓ จากครูที่มีวุฒิตรงเอก ทำให้นักเรียนความสามารถในการสื่อสารด้านภาษาเพิ่มขึ้น  
          ๓. ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มีสุขภาพกายและจิตที่ดี เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึกที่ดี สามารถอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลายระหว่างบุคคล เชื้อชาติและวัย

 ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ 

          ๑. โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยมีการแบ่งงานเป็น ๔ ด้าน คือ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคลและงานบริหารทั่วไป ผู้บริหารมีการประชุมเพื่อให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการวางแผนปฎิบัติงาน 
          ๒. โรงเรียนมีเครือข่ายคณะกรรมการสถานศึกษาที่เข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถและให้ความสำคัญในการเข้าร่วมประชุมและสนับสนุนในการบริหารจัดการด้านการศึกษา
          ๓. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น สวยงาม สะอาดและปลอดภัยในการจัดการศึกษา มีห้องสมุดที่มีความพร้อมทั้งด้านอาคาร สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าสิ่งพิมพ์และสืบค้นจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

 ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
          ๑. ครูมีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนสนับสนุนส่งเสริมให้ครูทุกท่านมีการใช้สื่อเทคโนโลยีในกระบวนการสอนเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากโรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยีของครู โดยโรงเรียนมีการติดตั้งโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทุกห้องเรียน ทำให้ครูเกิดการจัดรูปแบบการสอนได้หลากหลายและส่งผลให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนมากขึ้น
          ๒. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน จัดทำแผนการเรียนรู้ที่สอดคล้องตามหลักสูตร มาตรฐาน และตัวชี้วัดในทุกวิชาที่สอน จัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ และมีการส่งบันทึกหลังการสอนตามแผนการเรียนรู้ทุกสัปดาห์ และนำผลจากบันทึกหลังสอนไปพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1hhf4Mu2ezWlAFsRthQ9mHe2QAI_Z8SY0/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/folders/1WawAM4iwFWT44olTAmqxXfXAVSP-FGSo?usp=sharing