รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดหนองบัว

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

       โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ตั้งอยู่เลขที่ 47 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เป็นโรงเรียนขนาดกลาง จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวนนักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 20 คน ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 95 คน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 48 คน รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 163 คน มีบุคลากรสายบริหาร จำนวน 1 คน ข้าราชการครู จำนวน 13 คน พนักงานราชการ จำนวน 1 คน ครูอัตราจ้างและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวน 3 คน
       ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ระดับปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม อยู่ในระดับ ดี โดยมีกระบวนการพัฒนาและผลการดำเนินงานในแต่ละมาตรฐาน ดังต่อไปนี้ โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ยึดหลักการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามหลักการสำคัญของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่ดีและเป็นไปตามความต้องการของสังคม และชุมชนแม้ว่าในปีการศึกษา 2563 ที่ผ่านมาจะต้องประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ทำให้ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียน และกระทบกับการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต่าง ๆ แต่ทางโรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ก็มีการปรับแผนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยพัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม เป็นผู้ที่มีจริยธรรมในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ใฝ่รู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ที่พอเพียงต่อการพัฒนางานอาชีพและคุณภาพชีวิตส่วนตนสามารถเผชิญความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเท่าทันและชาญฉลาด และมีความเป็นประชาธิปไตย จัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทย ให้มีความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นและประเทศชาติ มีความรู้และทักษะพื้นฐานสำหรับการประกอบอาชีพสุจริต มีความมุ่งมั่น ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน มีลักษณะนิสัยและทัศนคติที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีทั้งของครอบครัว ชุมชน สังคมไทย และสังคมโลก ใช้หลักแห่งความเสมอภาค การมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงเท่าเทียม ควบคู่ไปกับความมีคุณภาพ ใช้หลักการมีส่วนร่วม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนมี ส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้างเอกลักษณ์และตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นตลอดจนยึดหลักแห่งความสอดคล้อง อุดมการณ์และมาตรฐานในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับสาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา หลักสูตรและกิจกรรมของสถานศึกษา รวมทั้งสภาพแวดล้อมและการบริการ ปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่ต้องการได้ คือ ครู ซึ่งมีความรักศรัทธาในอาชีพ เมตตาและเอาใจใส่ลูกศิษย์เป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์ หมั่นพัฒนาตนเอง เข้ากับผู้ปกครองและชุมชนได้ดี มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง หมั่นปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการดำรงชีวิตมีบุคลิกลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์อย่างยั่งยืน พร้อมที่จะเจริญเติบโตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา และเป็นที่ยอมรับของสังคมและประเทศชาติในอนาคต ในส่วนด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหารสถานศึกษาได้ขับเคลื่อนให้เกิดการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย กำหนดทิศทางการทำงาน เป็นผู้นำทางวิชาการ มีความคิดริเริ่ม มีวิสัยทัศน์ รอบรู้ เป็นที่พึ่งทางวิชาการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีความสามารถในการจัดการองค์กร บริหารจัดการให้มีครูสอนอย่างพอเพียง มอบหมายงานให้บุคลากรได้เหมาะกับศักยภาพ สอดรับกับภาระและปริมาณงาน ใช้หลักการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมในการบริหาร ส่งเสริมให้มีการจัดหลักสูตรสถานศึกษา ที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์รอบด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ทำให้บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาตระหนักถึงหน้าที่ที่รับผิดชอบ ครูทุกคนรักในงานสอน มีการทำงานและเก็บงานอย่าง เป็นระบบ ทำให้มีข้อมูลสารสนเทศที่มีความหมายและสามารถนำไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจการด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษา ทำให้โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) มีคุณภาพการจัดการศึกษาเป็นที่ยอมรับของชุมชนและมีผลการดำเนินงานเป็นที่ประจักษ์ด้วยดีเสมอมา

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

  • โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
  • โครงการขับเคลื่อนการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา "ป้องกันการทุจริต" โรงเรียนสุจริต
  • โครงการห้องสมุด 3D
  • โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
  • โครงการอ่านออกเขียนได้ พัฒนาทักษะภาษาไทย
  • โครงการคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  • โครงการ Project Approch
  • โครงการ STEM ปฐมวัย
  • โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
  • โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
  • โครงการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  • โครงการอาหารกลางวันโรงเรียน
  • โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
  • โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)
  • โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
  • โครงการวันสำคัญทางศาสนา (วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันวิสาขบูชา)
  • โครงการวันสำคัญของชาติ (วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันแม่ วันไหว้ครู)
  • โครงการโรงเรียนดนตรีไทย 100%
  • โครงการลูกเสือต้านภัยยาเสพติด
  • โครงการไก่ไข่อารมณ์ดี
  • โครงการปลูกผักปลอดสาร
  • โครงการเพาะและแปรรูปเห็ดนางฟ้า
  • โครงการเพาะถั่วงอกคอนโด
  • โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
  • โครงการส่งเสริมการเรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง
  • โครงการกีฬาและนันทนาการ
https://drive.google.com/file/d/1ndQPGsqPUP2_enBi2NTNUQyah3akic2y/view?usp=sharing

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

การพัฒนาคุณภาพของเด็กและผู้เรียน
       พัฒนากระบวนการวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ สรุปความคิดรวบยอด อย่างเป็นระบบ และมีการคิดแบบองค์รวม โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการรักการอ่าน ภายใต้โครงการห้องสมุด 3D ควบคู่ไปกับกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศผ่านกิจกรรมหน้าเสาธงในช่วงเช้า และช่วงพักกลางวัน

การพัฒนากระบวนการบริหารและการจัดการ
       พัฒนากระบวนการบริหารและการจัดการ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ภายใต้วงจรคุณภาพ (PDCA) มีการบริหารที่เป็นระบบ ยึดหลักธรรมาภิบาล การบริหารแบบมีส่วนร่วม มีระบบนิเทศติดตามที่ไม่เพิ่มภาระและแรงกดดันให้แก่ครูผู้สอน โดยการนิเทศผ่านระบบออนไลน์ หรือรายงานการจัดการเรียนรู้ผ่านทางคลิปวิดีโอ เพื่อให้ครูได้เรียนรู้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาบูรณาการกับการสอน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) สามารถทบทวน และปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ของตนเองได้ดีขึ้นด้วยตนเอง และจากการให้ข้อมูลย้อนกลับในทันทีของผู้บริหารเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กและผู้เรียนเป็นสำคัญ
      พัฒนาการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย โดยนำเอาแนวคิดไฮสโคปเข้ามาประยุกต์ใช้  ซึ่งมีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage’s Theory) ว่าด้วยพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้างความรู้ได้เอง โดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตน การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน และดำเนินงานตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และโครงการ Project Approch ควบคู่กันไป
      พัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ให้หลากหลาย และบูรณาการทุกกลุ่มสาระวิชา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้เองจากการลงมือปฏิบัติจริง เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดม สมอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นต้น สอดแทรกการจัดการเรียนรู้แบบ Problem Based Learning และ Project Based Learning เพื่อให้ผู้เรียนฝึกการแก้ปัญหา โดยนำความรู้จากในห้องเรียน ผสมผสานกับทักษะกระบวนการคิดที่หลากหลาย และสามารถนำผลจากการเรียนรู้นั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาได้จริงในชีวิตประจำวัน

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลทั่วไป

       โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ตั้งอยู่ เลขที่ 47 หมู่ที่ 4 ถนนญาณวิโรจน์ ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา มีเขตพื้นที่บริการ 8 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 – 8 ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 เปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   โทรศัพท์ 0-3948-0628, e-mail: nongbua.school@hotmail.com

ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม

1) สภาพชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนมีลักษณะ เป็นชุมชนชานเมืองขนาดกลาง อยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 7 กิโลเมตรประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเจียระไนพลอย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ประเพณีถือศีลกินเจ

2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม/รับจ้าง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี 90,000 บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว5 คน

สภาพแวดล้อมภายนอก

1) ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยที่เป็นโอกาสมากกว่าอุปสรรคต่อการดำเนินภารกิจของโรงเรียน กล่าวคือ ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีการศึกษา เห็นความสำคัญของการศึกษา สนับสนุนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ โรงเรียนจึงจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งผู้ปกครองมีการประกอบอาชีพต่าง ๆ อย่างหลากหลายสามารถใช้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นให้นักเรียนได้ศึกษาและเรียนรู้ จากประสบการณ์จริง ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษาคือ ผู้ปกครองบางส่วนมีอาชีพ ที่ไม่มั่นคง ต้องย้ายที่อยู่ เพื่อประกอบอาชีพบ่อยๆ ทำให้นักเรียน เรียนไม่ต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทั้งปัญหาด้านสังคมที่ทำให้นักเรียนอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกี่ยวข้อง เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการพนัน เป็นต้น

2) ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่เป็นโอกาสต่อการดำเนินภารกิจของโรงเรียนเป็นอย่างมาก โดยโรงเรียนได้นำเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและสังคม ประกอบกับการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย

3) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษาผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และได้รับการศึกษาน้อยจึงไม่สามารถสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนได้เท่าที่ควร

4) ปัจจัยทางด้านการเมืองและกฎหมาย เป็นปัจจัยที่เป็นโอกาสต่อการดำเนินงานของโรงเรียนเป็นอย่างมาก เพราะ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2562 ทำให้ครูมีการพัฒนาตนเองและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายมากขึ้น นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตลอดจนการได้รับการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ จากองค์กรส่วนท้องถิ่นและชุมชน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น ส่วนอุปสรรคในการดำเนินงานตามภารกิจ คือ ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายจัดการศึกษาในระดับต่าง ๆ

        จากสภาพแวดล้อมภายนอกตามปัจจัย 4 ด้าน ดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) มีปัจจัยที่เป็นโอกาสมากกว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรค กล่าวคือ มีความพร้อมในการจัดการศึกษา โดยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เกิดผลตามเป้าหมายของโรงเรียน

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์

โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) เป็นโรงเรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม รักความเป็นไทย มีทักษะอาชีพ ก้าวทัน เทคโนโลยี ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีศักยภาพเป็นที่ยอมรับ

พันธกิจ

1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา บนพื้นฐานของความเป็นไทยตาม แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพึ่งตนเองได้

2. พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศทางวิชาชีพ

3. พัฒนาหลักสูตร รูปแบบ วิธีการการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างตามศักยภาพ ของผู้เรียน ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

4. สร้างภาคีเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

5. ส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์ เอกลักษณ์ความเป็นไทย

เป้าประสงค์

1. ได้รับการส่งเสริมและพัฒนา การจัดการศึกษาเต็มตามศักยภาพตามมาตรฐาน สถานศึกษาที่กำหนด คงไว้ซึ่งความเป็นไทย และสู่การเป็นพลเมืองดี พลโลกได้ในอนาคต

2. ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม ตามค่านิยม 12 ประการ มีใจรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถดำรงตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความพร้อมในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

4. โรงเรียนมีการบริหารจัดการศึกษาเป็นระบบโดยมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และใช้หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในการบูรณาการตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

กลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาบนพื้นฐานของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ที่ 2 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาสในการศึกษาเต็มตามศักยภาพ

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาครูและบุคลากรให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่ความเป็นครูมืออาชีพ กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโดยเน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนและ ความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา

การอนุรักษ์ความเป็นไทย
ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 13 1 1 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

       โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องคำสั่งหน่วยงานต้นสังกัด โดยวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา บริบทของโรงเรียน และจัดทำโครงสร้างหลักสูตร กำหนดรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติมในแต่ละระดับชั้นให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กำหนดเกณฑ์การจบการศึกษาของโรงเรียน และตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04010/ว779 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2557 เรื่องแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับนโยบายจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองที่ให้โรงเรียนปรับปรุงหลักสูตร โดยปรับให้มีวิชาหน้าที่พลเมือง เป็นรายวิชาเพิ่มเติม ระดับประถมศึกษาและ ชั้นมัธยมศึกษา ทุกชั้นปี จำนวน 40 ชั่วโมงต่อปี นอกจากนี้รัฐบาลได้มีนบายเพิ่มหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน) 

       โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) จึงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) พุทธศักราช 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) เป็นหลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน การเรียนรู้ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข มีศักยภาพเป็นที่ยอมรับ โดยมุ่งหวังให้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา อีกทั้งมีความรู้และทักษะ ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต มีทักษะอาชีพ มีทักษะในการติดต่อสื่อสาร การถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ในการพัฒนาตนเองและสังคม มีคุณภาพได้มาตรฐานสากลในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 และ ในปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ได้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาได้หลอมรวม กับหลักสูตรโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลเพื่อให้ผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตร จะได้รับการพัฒนาคุณภาพ ในด้านทักษะวิชาการ ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ รวมทั้งบูรณาการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) ในสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและวิถีชีวิตในสถานศึกษา

วิสัยทัศน์ของหลักสูตรสถานศึกษา

       หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม รักความเป็นไทย มีทักษะอาชีพ ก้าวทันเทคโนโลยี ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภูมิใจในท้องถิ่น มีสำนึกความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

 ลักษณะของหลักสูตรสถานศึกษา

        หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) พุทธศักราช 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) เป็นหลักสูตรที่โรงเรียนได้พัฒนาขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น โดยยึดองค์ประกอบหลักสำคัญ 5 ส่วนคือ 1) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 2) มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 3) นโยบายการจัดการเรียนการสอนหน้าที่พลเมือง 4) กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น และ 5) สาระสำคัญ จุดเน้นตามนโยบายและที่โรงเรียนพัฒนาเพิ่มเติม เป็นกรอบในการจัดทำรายละเอียดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนด เหมาะสมกับสภาพชุมชนและท้องถิ่นและจุดเน้นของโรงเรียน โดยหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดหนองบัว(ปทุมาภิพัฒน์) พุทธศักราช 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่พัฒนาขึ้น มีลักษณะของหลักสูตร ดังนี้

1. เป็นหลักสูตรเฉพาะของโรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) สำหรับจัดการศึกษา ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3)

2. เป็นหลักสูตรที่มีความเป็นเอกภาพสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับให้ครูผู้สอนนำไปจัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย โดยกำหนดให้มีรายละเอียด ดังนี้

2.1 สาระการเรียนรู้ที่โรงเรียนใช้เป็นหลักเพื่อสร้างพื้นฐานการคิด การเรียนรู้ และ การแก้ปัญหาประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี 

2.2 สาระการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ ศักยภาพการคิดและการทำงาน ประกอบด้วย สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและภาษาอังกฤษ

2.3 สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยจัดทำเป็นรายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติมตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับโครงสร้างเวลาเรียน สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ความต้องการของผู้เรียน และบริบทของโรงเรียนและเพิ่มวิชาหน้าที่พลเมืองให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1 และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระทรวงศึกษาธิการด้วย

2.4 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และ สังคม เสริมสร้างการเรียนรู้นอกจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม และการพัฒนาตน ตามศักยภาพ

2.5 การกำหนดมาตรฐานของโรงเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานระดับต่าง ๆ เพื่อเป็นเป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน จัดทำรายละเอียดสาระการเรียนรู้ และจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพในชุมชน สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

 3. มีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) พุทธศักราช 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับความรู้ ทักษะ กระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เพื่อเป็นแนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีการกำหนดมาตรฐานไว้ดังนี้

3.1 มาตรฐานหลักสูตร เป็นมาตรฐานด้านผู้เรียนหรือผลผลิตของหลักสูตรโรงเรียน เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมตามโครงสร้างของหลักสูตรทั้งหมดของครู และใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบคุณภาพโดยรวมของการจัดการศึกษาตามหลักสูตรในทุกระดับ ซึ่งโรงเรียนต้องใช้สำหรับ การประเมินตนเองเพื่อจัดทำรายงานประจำปีตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการศึกษา เพื่อนำมาเป็นข้อมูลใน การกำหนดแนวปฏิบัติในการส่งเสริม กำกับ ติดตาม ดูแล และปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้ได้ ตามมาตรฐานที่กำหนด

3.2 มีตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจง และมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน ตรวจสอบพัฒนาการผู้เรียน ความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ และเป็นหลักในการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย

3.3 มีความเป็นสากล ความเป็นสากลของหลักสูตรโรงเรียน คือมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาษาอังกฤษ การจัดการสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีคุณลักษณะที่จำเป็นในการอยู่ในสังคมได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา การเสียสละ การเอื้อเฟื้อ โดยอยู่บนพื้นฐานของความพอดีระหว่างการเป็นผู้นำ และผู้ตาม การทำงานเป็นทีม และการทำงานตามลำพัง การแข่งขัน การรู้จักพอ และการร่วมมือกันเพื่อสังคม วิทยาการสมัยใหม่ และภูมิปัญญาท้องถิ่น การรับวัฒนธรรมต่างประเทศ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย การฝึกฝนทักษะเฉพาะทาง และการบูรณาการในลักษณะที่เป็นองค์รวม

4. มีความยืดหยุ่น หลากหลาย หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) พุทธศักราช 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่โรงเรียนจัดทำรายละเอียดต่าง ๆ ขึ้นเอง โดยยึดโครงสร้างหลักที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น เป็นขอบข่าย ในการจัดทำ จึงทำให้หลักสูตรของโรงเรียนมีความยืดหยุ่น หลากหลาย สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเหมาะสมกับตัวผู้เรียน

5. การวัดและประเมินผลเน้นหลักการพื้นฐานสองประการคือการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน โดยผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นเป้าหมายหลักในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน ตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ

โครงสร้างเวลาเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

สัดส่วนและเวลาเรียน (ชั่วโมง )

ประถมศึกษาตอนต้น

ประถมศึกษาตอนปลาย

ชั้นมัธยมศึกษา

กลุ่มสาระการเรียนรู้

ป. 1

ป. 2

ป. 3

ป. 4

ป. 5

ป. 6

ม. 1

ม. 2

ม. 3

ภาษาไทย

200

200

200

160

160

160

120

120

120

คณิตศาสตร์

160

160

160

160

160

160

120

120

120

วิทยาศาสตร์

80

80

80

120

120

120

160

160

160

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

40

40

40

80

80

80

120

120

120

ประวัติศาสตร์

40

40

40

40

40

40

40

40

40

สุขศึกษาและพลศึกษา

40

40

40

80

80

80

80

80

80

ศิลปะ

40

40

40

80

80

80

80

80

80

การงานอาชีพฯ

40

40

40

40

40

40

40

40

40

ภาษาต่างประเทศ

200

200

200

120

120

120

120

120

120

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

840

840

840

880

880

880

880

880

880

รายวิชาที่สถานศึกษาจัดเพิ่มเติม

การป้องกันการทุจริต

40

40

40

40

40

40

40

40

40

คอมพิวเตอร์

40

40

40

40

40

40

 

 

 

คณิตศาสตร์

 

 

 

 

 

 

80

80

80

ภาษาต่างประเทศ

 

 

 

40

40

40

40

40

40

งานอาชีพ

 

 

 

 

 

 

40

40

40

รวมสาระเพิ่มเติม

80

80

80

120

120

120

200

200

200

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมแนะแนว

40

40

40

40

40

40

40

40

40

กิจกรรมนักเรียน

* กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี

* กิจกรรมชุมนุม ชมรม

* กิจกรรมเพื่อสังคม

และสาธารณประโยชน์

 

40

40

 

40

40

 

40

40

 

40

40

 

40

40

 

40

40

 

40

40

 

40

40

 

40

40

รวมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

120

120

120

120

120

120

120

120

120

รวมเวลาทั้งสิ้น

1,040 ชั่วโมง/ปี

1,120 ชั่วโมง/ปี

1,200 ชั่วโมง/ปี

หมายเหตุ 

  1. บูรณาการหน้าที่พลเมืองในสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  2. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ จัดบูรณาการในรายวิชาและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยจัดทั้งในเวลาและนอกเวลาเรียน
  3. กิจกรรมลดเวลาเรียน – เพิ่มเวลารู้ บูรณาการในระดับในทุกระดับชั้น

 


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลอาคารสถานที่ โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์)
อาคารเรียน
008
ปีที่สร้าง 2503
อาคารเรียน
017
ปีที่สร้าง 2514
อาคารเรียน
017
ปีที่สร้าง 2519
อาคารเรียน
สปช.105/29
ปีที่สร้าง 2558
อาคารอเนกประสงค์/โรงอาหาร/โรงฝึกงาน
312
ปีที่สร้าง 2513
อาคารอเนกประสงค์/โรงอาหาร/โรงฝึกงาน
312
ปีที่สร้าง 2525
อาคารอเนกประสงค์/โรงอาหาร/โรงฝึกงาน
อื่น อื่น(สร้างเอง)
ปีที่สร้าง 2525
บ้านพักครู
อื่น อื่น(สร้างเอง)
ปีที่สร้าง 2516
บ้านพักครู
อื่น อื่น(สร้างเอง)
ปีที่สร้าง 2518
บ้านพักครู
อื่น อื่น(สร้างเอง)
ปีที่สร้าง 2519
บ้านพักครู
อื่น อื่น(สร้างเอง)
ปีที่สร้าง 2521
ส้วม
401
ปีที่สร้าง 2523
ส้วม
401
ปีที่สร้าง 2525
ส้วม
สปช.604/45
ปีที่สร้าง 2553
เรือนเพาะชำ
พ.1
ปีที่สร้าง 2527
สนามกีฬา
สนามบาสเก็ตบอล
ปีที่สร้าง 2520
สนามกีฬา
อื่น อื่น
ปีที่สร้าง 2556
สนามกีฬา
สนามฟุตบอล แบบ ฟ.1
ปีที่สร้าง 2523
ถังเก็บน้ำ
แท้งค์น้ำ
ปีที่สร้าง 2518
ถังเก็บน้ำ
ฝ.33
ปีที่สร้าง 2519
ถังเก็บน้ำ
แท้งค์น้ำ
ปีที่สร้าง 2525
ถังเก็บน้ำ
หอส่งน้ำ(ประปา ร.ร.)
ปีที่สร้าง 2544
รั้ว
รั้วคอนกรีต
ปีที่สร้าง 2527


หลักฐานอ้างอิง : https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_bobec.php?School_ID=1022060022&Area_CODE=2201
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

  1. ห้องสมุด
  2. เล้าไก่อารมณ์ดี
  3. แปลงผักสวนครัวพอเพียง
  4. เรือนเพาะชำเห็ดนางฟ้า
  5. ห้องคอมพิวเตอร์
  6. ห้องวิทยาศาสตร์
  7. ห้องคณิตศาสตร์
  8. ห้องภาษาไทย
  9. ห้องภาษาอังกฤษ
  10. ห้องดนตรี
  11. ห้องสังคม
  12. เรือนคหกรรม
  13. เรือนพยาบาล
  14. สนามฟุตบอล
  15. สนามฟุตซอล
  16. สนามบาสเกตบอล
  17. สนามวอลเลย์บอล
  18. สนามตะกร้อ
  19. สนามเด็กเล่น
แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน
  1. วัดหนองบัว
  2. เทศบาลตำบลหนองบัว
  3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว
  4. ชุมชนหนองบัว
  5. โรงเรียนวัดไผ่ล้อม
  6. โรงเรียนวัดเกาะตะเคียน
  7. วัดทรายงาม
  8. อู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  9. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1iztI-9yhUZpaSSPDveB4n3zMl8nc9bUM/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา         โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลายส่งเสริมให้เด็กมี พัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนม เป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ 2 ครั้ง มีกิจกรรมออกกำลังกาย หน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวัน จัดหาอุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุข เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลหนองบัว ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถ สนับสนุนให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับอำเภอ มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัย ในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน โดยการจัดกิจกรรมแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อนในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อน ๆ ได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวม ปลูกฝังให้นักเรียน รู้จักประเพณีวัฒนธรรมด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนานมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น อ่าน ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตน โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ มีการจัดกิจกรรมหนูรักภาษาไทย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ครูและเพื่อนฟัง มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่าง ๆ มีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การตัด ฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอก ห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
ผลการดำเนินงาน  

       เนื่องจากโรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรและมีแผนงาน โครงการ กิจกรรมเสริมในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง จึงส่งผลให้มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

  1. เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมายที่ สถานศึกษากำหนด มีความพร้อมในการศึกษาระดับประถมศึกษา
  2. เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
  3. เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อม
  4. ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขมีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้ มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/12CUMBK58gveqdr35bzDqp6cqQQL5L4Ii/view
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

       การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อน การศึกษาระดับปฐมวัย ได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตร สถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากร ให้มีศักยภาพสำหรับด้านระบบกลไกการเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

     โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ เพื่อการจัดการเรียนรู้ เช่น จัดให้มีห้องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เด็กได้ศึกษาหาข้อมูลทางโลกออนไลน์ จัดให้มีอุปกรณ์ ของเล่น ของใช้ เครื่องนอน เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้พอเพียงกับเด็ก โดยจัดให้เหมาะสม สะอาด ปลอดภัย ให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก ให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นน้ำ เล่นทราย ที่เหมาะสม ปลอดภัย จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน ล้างมือ ทำความสะอาดร่างกาย ห้องน้ำห้องส้วม พร้อมอุปกรณ์ ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็น รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย และมีครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัย ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง พัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน  

        เนื่องจากโรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) มีการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัยอย่างมีระบบ มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย จึงส่งผลให้มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

  1. มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

  2. มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อ สนับสนุนการจัดประสบการณ์ของเด็ก

  3. มีครูให้เพียงพอเหมาะสมกับชั้นเรียน และครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพอย่างเหมาะสม

  4. มีบรรยากาศสภาพห้องเรียนที่สะอาด และเอื้อต่อการเรียนรู้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1w_DcJ69uLDhfXoNj3s73vw4blZEjbAgj/view
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา         โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ภายใต้คำว่า เก่ง ดี มีสุข ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็ก ได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และ สติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและ นอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุม พัฒนาการในทุก ๆ ด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็ก เคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการ เพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จัก ยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะ ต่อผู้ใหญ่ด้านสติปัญญา มีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐาน แสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้ รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน ห้องเรียนมีบรรยากาศแจ่มใส กว้างขวางพอเหมาะ มีมุมส่งเสริมประสบการณ์ การเรียนรู้ มีการตกแต่ง ห้องเรียนให้สดใส และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน  

       เนื่องจากโรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่เน้นผู้เด็กเป็นสำคัญมาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จึงส่งผลให้มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

  1. เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล เนื่องจากมีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ สติปัญญา อย่างเต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่และครอบครัว ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง
  2. เด็กได้เรียนรู้จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม โดยผู้สอนจะคอยสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เรียนรู้ลงมือทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข
  3. มีบรรยากาศสภาพห้องเรียนที่สะอาด และเอื้อต่อการเรียนรู้ เด็กมีส่วนร่วม ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย
  4. ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยผู้ปกครองและ ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม นำผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1UeUIIVRLark3MJxtPS4DZrypEHr1wNHA/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
       มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตร และมีแผนงาน โครงการ กิจกรรมเสริมในการพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลายส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมายที่ สถานศึกษากำหนด มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
       มีการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัยอย่างมีระบบ มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
     จัดการศึกษาที่มุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ภายใต้คำว่า เก่ง ดี มีสุข ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
       เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมายที่ สถานศึกษากำหนด มีความพร้อมในการศึกษาระดับประถมศึกษา
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
       มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และมีบรรยากาศสภาพห้องเรียนที่สะอาด และเอื้อต่อการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
       เด็กได้เรียนรู้จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม โดยผู้สอนจะคอยสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เรียนรู้ลงมือทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข 
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://sites.google.com/chan1.go.th/watnongbua/
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

       โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ดังต่อไปนี้

  1. ส่งเสริมการอ่านหนังสือ บทความ หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ทุกครั้งเมื่อมีเวลาและโอกาส ส่งเสริมและพัฒนากระบวนสืบเสาะหาความรู้ที่ผู้เรียนริเริ่มด้วยตนเองตามความสนใจ การจับประเด็นใจความหลักจากสิ่งที่ฟัง การสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว แล้วสรุปเป็นความรู้ได้ การพูดคุย ซักถาม แสดงความคิดเห็น หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น การเขียนถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด เรื่องราว ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการตั้งคำถามเพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ผ่านกิจกรรมในชั้นเรียน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (​COVID-19) และบูรณาการการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
  2. ส่งเสริมความสามารถของผู้เรียนในวิชาภาษาอังกฤษ ผู้เรียนมีความรู้ทางด้านฟัง พูด อ่าน เขียน การสื่อสารได้ตามวัย โดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลายในชั่วโมงการจัดการเรียนรู้ เช่น การเล่านิทาน การแสดงบทบาทสมมติเป็นภาษาอังกฤษ
  3. ส่งเสริมความสามารถของผู้เรียนในวิชาคณิตศาสตร์ตรงตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด ของแต่ละ ระดับชั้น โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การคิดเลขเร็ว และการใช้เวทคณิต
  4. ส่งเสริมความสามารถของผู้เรียนในด้านการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดแยกแยะ ความรู้ความจำตามหลักสูตร มุ่งเน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ส่งเสริมกระบวนการวางแผน การทำงาน การดำเนินงานตามขั้นตอน ตรวจสอบทบทวน ปรับปรุงแก้ไขการทำงาน จนบรรลุผล สำเร็จตามวัตถุประสงค์
  5. ส่งเสริมให้นักเรียนมีการสร้างนวัตกรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเอง มีการคิดอย่างเป็นระบบ
  6. จัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจในระบบและวิธีการใช้เทคโนโลยี การสืบค้นความรู้และสื่อสาร ทางอินเทอร์เน็ต การใช้เทคโนโลยีในการประมวลผลข้อมูลและการนำเสนอผลงานหรือสร้างผลงาน โดยใช้เทคโนโลยี เพิ่มเติมจากการเรียนในชั้นเรียนปกติ เพื่อเตรียมพร้อมหากต้องเข้าสู่สถานการที่ไม่สามารถมาเรียนที่โรงเรียน (On-Site) ได้ตามปกติ
  7. จัดกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในทุกระดับชั้น ประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร ประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน วิเคราะห์ผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติเพื่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น
ผลการดำเนินงาน  
  1. ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคำนวณ เป็นไปตาม เป้าหมายของโรงเรียน
  2. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรของโรงเรียนเป็นไปตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด
  3. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหาได้
  4. ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะพื้นฐานในการสร้างนวัตกรรม
  5. ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองได้ อย่างเหมาะสม ปลอดภัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ หรือสถานการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1R9ppCMXi3_DY6eE-VvstpkwhXurPYfwL/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา         โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียนที่ส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน ในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ดังต่อไปนี้
  1. ส่งเสริมการทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง พัฒนาการมีส่วนร่วมในการวางแผนการทำงานกับหมู่คณะ ความสามารถในการทำงาน โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์และมีเหตุผล ยอมรับความ คิดเห็นของเพื่อน การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การมีมนุษยสัมพันธ์ สามารถประสานการทำงานร่วมกับ หมู่คณะจนบรรลุผลสำเร็จ เสนอแนะผู้เรียนเกี่ยวกับทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับ อาชีพที่ตนเองสนใจ
  2. จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยม 12 ประการของ ผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ โครงการคุณธรรม โครงการวันสำคัญ และบูรณาการสอดแทรกกับการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
  3. จัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าความเป็นไทย มีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย ทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และประเพณี ได้แก่ กิจกรรมโรงเรียนดนตรีไทย 100% การแต่งกายด้วยผ้าไทยทุกวันศุกร์ การทำความเคารพด้วยการไหว้ของนักเรียนทุกคนภายในโรงเรียน การแต่งชุดขาวในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา การเข้าร่วมกิจกรรมวันลอยกระทง เข้าร่วมกิจกรรมถือศีลกินเจของชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนขนมแปลกหนองบัว และการนำดนตรีไทยไป ร่วมงานต่าง ๆ
  4. นักเรียนทุกคนรักษาสุภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ สังคม และแสดงออกอย่างเหมาะสม แต่ละช่วงวัย โดยส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง แต่งกายสะอาดเรียบร้อย เครื่องแต่งกาย และเครื่องใช้ส่วนตัวสะอาด การปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติ 10 ประการ จัดทำรายการอาหารตามโปรแกรม School Lunch โดยให้นักเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน ทดสอบและพัฒนาสมรรถภาพทางกายของผู้เรียนทุกปี ตลอดจนให้ความรู้เกี่ยวกับการรู้จักวิธีดูแลรักษาตนเองให้ปลอดภัยจากเหตุความรุนแรง การรู้จักวิธีป้องกันอุบัติเหตุ ป้องกันโรค ป้องกันภัยต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาทางเพศ จากทั้งบุคลากรภายในโรงเรียน และหน่วยงานจากภายนอก (รพ.สต.หนองบัว)
  5. มีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจผู้อื่น ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน เช่น ร่วมกันทำความสะอาดบริเวณวัด การเก็บขยะบริเวณชุมชน และปลูกป่าชายเลนริมคลองหนองบัว
ผลการดำเนินงาน  
  1. ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
  2. ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีเป็นไปตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1oCkXdioa-L_-ITLrqAbg4Q31T03IFH9p/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

       โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ได้มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการ วางแผนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การแสดงทิศทางของการพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาใน อนาคตที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและชุมชน การคิดริเริ่มเทคนิค วิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การกระตุ้นครู และบุคลากรให้ร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา โดยศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาและดำเนินการตาม ขั้นตอนตามที่กำหนด กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน และนำผลไปปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

       โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ได้จัดกิจกรรม โครงการในแผนพัฒนาการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาที่จัดทำขึ้นจากการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครู บุคลากร ชุมชน และองค์กรภายนอก โครงการ กิจกรรมสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ปรัชญา จุดเน้น เป้าหมาย และกลยุทธ์ ของสถานศึกษา และได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา บุคลากร ผู้เกี่ยวข้องและ ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามกลยุทธ์ โครงการหรือกิจกรรมที่สถานศึกษากำหนดอย่างครบถ้วน การ ดำเนินงานตามกลยุทธ์ โครงการ กิจกรรม และจุดเน้น ได้รับการกำกับติดตามและนิเทศอย่างสม่ำเสมอ สถานศึกษา มีรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ กิจกรรมที่สนับสนุนส่งเสริมผู้เรียนที่ บรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา
ผลการดำเนินงาน  
  1.  มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน นโยบายรัฐบาล แผนการศึกษาแห่งชาติ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
  2. มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
  3. ดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมาย เชื่อมโยงกับชีวิตจริง
  4. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครู และสถานศึกษา
  5. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย
  6. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่ เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1w_DcJ69uLDhfXoNj3s73vw4blZEjbAgj/view
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา         โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลายได้แก่ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ครบทุกชั้นเรียน ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง และคงทนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียน เป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการ เรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียน เชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูล มาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการรักษาความ สะอาดของโรงเรียน ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและ เทคโนโลยี ที่หลากหลายและครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ 1 เรื่อง
ผลการดำเนินงาน  
  1. มีการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
  2. มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
  3. มีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
  4. มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เด็กรักที่จะเรียนรู้อย่างมีความสุข
  5. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนา และปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://obecmail-my.sharepoint.com/:f:/g/personal/nareekarn_sao_obecmail_org/EkM_3CAYRzZPs6_b1S-mVn8BxuvsQHwMd0clFeOi-qLBLQ?e=IAr255
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
       โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และส่งเสริมคุณภาพของผู้เรียน ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้วยการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ จัดกิจกรรม/โครงการ ตามแผนปฏิบัติการประจำปี ที่ช่วยส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน การสืบเสาะหาความรู้ และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ความสามารถทางทักษะภาษา การคิดคำนวณ การสร้างนวัตกรรม และการใช้เทคโนโลยี และมีการจัดโครงการในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดี จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพร่างกายตามสุขบัญญัติ 10 ประการ จัดรายการตามโปรแกรม School Lunch และมีการให้ความรู้ให้ผู้เรียนรู้จักดูแลตนเอง ให้ปลอดภัยจากความรุนแรง อุบัติเหตุ รวมทั้งปัญหาทางเพศ
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
       โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ได้จัดกิจกรรม โครงการในแผนพัฒนาการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาที่จัดทำขึ้นจากการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครู บุคลากร ชุมชน และองค์กรภายนอก โครงการ กิจกรรมสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ปรัชญา จุดเน้น เป้าหมาย และกลยุทธ์ ของสถานศึกษา และได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา บุคลากร ผู้เกี่ยวข้องและ ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามกลยุทธ์ โครงการหรือกิจกรรมที่สถานศึกษากำหนดอย่างครบถ้วน การ ดำเนินงานตามกลยุทธ์ โครงการ กิจกรรม และจุดเน้น ได้รับการกำกับติดตามและนิเทศอย่างสม่ำเสมอ สถานศึกษา มีรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ กิจกรรมที่สนับสนุนส่งเสริมผู้เรียนที่ บรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
       โรงเรียนวัดหนองบัว (ปทุมาภิพัฒน์) ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ครบทุกชั้นปี ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning)ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง และคงทนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อนำผลที่ได้กลับมาพัฒนาผู้เรียน
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
  1. ผู้เรียนมีการเขียน การสื่อสาร คำนวณที่ดีขึ้นตามลำดับ
  2. ผู้เรียนมีผลการเรียนและการสอบต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น
  3. ผู้เรียนสามารถทำงานเป็นกลุ่ม ช่วยกันคิดวิเคราะห์ และเปลี่ยนความคิดเห็นได้ดีขึ้น
  4. ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
  5. ผู้เรียนมีการใช้เทคโนโลยี เพื่อการเรียนได้อย่างเหมาะสม
  6. ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะอาชีพต่าง ๆ เพื่ออนาคตสามารถนำไปประกอบอาชีพได้
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
  1. ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล มีวิสัยทัศน์ พันธกิจที่ชัดเจน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน นโยบายรัฐ และ แผนการศึกษาแห่งชาติ
  2. การจัดการศึกษา มีหลักสูตรสถานศึกษาและนำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพมีระบบและกลไกให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายตระหนักและเข้าใจการจัดการศึกษา จัดกิจกรรมเสริมสร้างความ ตระหนักรู้ความเข้าใจหลักการจัดการศึกษา สร้างการมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือกับ ผู้ปกครอง ชุมชนและท้องถิ่น จัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน
มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  1. ครูมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  2. ครูตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน และนำผลกลับมาพัฒนาผู้เรียน
  3. ครูสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://sites.google.com/chan1.go.th/watnongbua/
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1POGh-RGN98smJ2l9N3x7Pwp5gmaA9Z6A/view?usp=sharing