รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดเสม็ดงาม

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

           ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย
           จากการดำเนินงานโครงการ และกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน จากผลการประเมินสรุปว่า ได้ระดับดี  ทั้งนี้เพราะ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับ ดี มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดี และมาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดี
          สรุปผลการประเมินตนเอง
          1. คุณภาพของเด็ก
               โรงเรียนพัฒนาให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง มีน้ำหนักส่วนสูง ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี ดูแลความปลอดภัยของตนเอง  โดยครูปฐมวัยทุกคนจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 ผ่านตารางกิจกรรมประจำวัน บันทึกน้ำหนัก ส่วนสูงทุกเดือน มีการบันทึกการตรวจสุขภาพ ส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถ มีกิจกรรมการแปรงฟัน จัดเมนูอาหารกลางวันและอาหารเสริม(นม) ให้เด็กได้รับประทานอาหารตามหลักโภชนา
               โรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีจิตใจร่าเริงแจ่มใส มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูดกล้า แสดงอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย มีระเบียบ มีวินัย มีกริยามารยาท ยิ้มง่ายไหว้สวยมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน โดยสอดแทรกในตารางกิจวัตรประจำวัน 
               โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สร้างนิสัยประหยัดและพอเพียง มีมารยาท รู้จักช่วยเหลือแบ่งปัน ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ครูจัดประสบการณ์ตามแผน ฝึกให้เด็กทุกคน มีทักษะทางสังคม ผ่าน 6 กิจกรรมหลัก และจัดกิจกรรมเสริมพัฒนาความพร้อม ปลูกฝังให้เด็กรู้จัก
ประเพณีวัฒนธรรม เช่น กิจกรรมหนูน้อยรักการออม กิจกรรมหนูน้อยวิถีพุทธ โรงเรียนดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามหลักสูตร 6 กิจกรรมหลัก ฝึกฝนให้เด็กมีทักษะการคิด การแสวงหาความรู้ ค้นหาค าตอบ มีความสามารถในการคิดรวบยอด ตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ได้ถูกต้อง นอกจากนี้ได้จัดทำกิจกรรมที่สร้างเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ได้แก่ กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Approach) เป็นต้น
         2. กระบวนการบริการและจัดการ
            โรงเรียนมีการกำหนดโครงสร้างการบริหารงานอย่างชัดเจนดำเนินการบริหารและดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ศึกษาข้อมูล สารสนเทศ นโยบายการปฏิรูปการศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาร่วมกัน กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 เน้นเรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือปฏิบัติจริง ผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม และกิจกรรมเสริมต่าง ๆ จัดครูเพียงพอและเหมาะสมกับชั้นเรียน เป็นครูที่จบการศึกษาปฐมวัย และครูได้รับการอบรมไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่อปี ครูมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตร มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบกิจกรรม มีทักษะการสังเกต และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน มีมุมเสริมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามการดำเนินงานและจัดทำรายงานการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพพร้อมทั้งรายงานผลให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
         3. การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
             ครูปฐมวัยจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ได้เรียนรู้ลงมือปฏิบัติส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ตามแนวทางของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ผ่านกิจวัตรประจำวัน เด็กได้ฝึกปฏิบัติจากประสบการณ์จริง จากกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม เด็กได้คิดทดลองหาความรู้ด้วยตนเอง ครูจัดกิจกรรมตามความสนใจของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้แสวงหาคำตอบจากแหล่งเรียนรู้ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก ให้คำแนะนำ เช่น กิจกรรมการสอนแบบโครงการ ที่เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง แสวงหาคำตอบด้วยตนเอง กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เด็กได้เรียนรู้ลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัส ได้ฝึกใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ง่าย ๆ ฝึกแก้ปัญหาและตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ มีการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลตามสภาพจริง มีการใช้เครื่องมือประเมินที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การบันทึก การใช้แบบประเมินลงในบันทึกหลังแผนการจัดประสบการณ์ และผลงานของเด็ก นำผลการประเมินไปใช้ ทำวิจัยในชั้นเรียน นอกจากนี้ครูจัดบรรยากาศในห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ ห้องเรียนสะอาด จัดวางของใช้ได้เป็นระเบียบ มีการจัดป้ายนิเทศหน่วยการเรียน มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก มีมุมประสบการณ์ มีการผลิตสื่อและนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
           ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
           จากผลการดำเนินงาน โครงการและกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้ จัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดไว้ในแต่ละมาตรฐาน จากผลการประเมินสรุปว่า ได้ระดับดี ทั้งนี้เพราะมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับดี มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการ
จัดการ อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดี
            1. คุณภาพของผู้เรียน
            โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน กำรเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร
สถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมี
สุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลายจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ จัดแหล่งเรียนรู้ภายในให้เหมาะสม จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมี สุขภาพกายสุขภาพจิตดี มีความกล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่ำงมีความสุข เน้นทักษะการทำงานร่วมกัน ทำให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น จากการเรียนรู้โดย กิจกรรมพัฒนาการอ่านเขียน นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของควำมเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทยเข้ำร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดทำคิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ร้อยละ100 มีผลการอ่านคิด วิเคราะห์และเขียนผ่านตำมที่สถานศึกษากำหนด ร้อยละ 100 นักเรียนมีทักษะในการอ่านการเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น มีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่ำงรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม มีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการเจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น การทำงานหรืองานอาชีพมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม มีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่ำของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญา ผู้เรียนยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้าน เพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณี มีการรักษาสุขภำพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข 
           2. กระบวนการบริหารและจัดการจัดการ
               ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการเพื่อให้บรรลุตามกระบวนการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา การดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยใช้ข้อมูลฐานในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน ในดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมาย เชื่อมโยงกับชีวิตจริง จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน โดยประเมินภาพความสำเร็จดังนี้ โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่โรงเรียนกำหนดชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ วางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยนำแผนไปปฏิบัติ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง  มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการนิเทศภายในอย่างต่อเนื่อง นำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามีการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ พัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริงและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  มีการส่งเสริมนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรตรงตามความต้องการและจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่ำงมีคุณภาพ มีความปลอดภัย 
             3. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                โรงเรียนได้นำสื่อการเรียนการสอนจาก DLTV มาใช้ในห้องเรียน ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่คงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนำผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่ำงมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูผลิตนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง  ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ 1 เรื่อง โดยมีประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้ ครูจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีแผนการจัดการเรียนรู้  ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ ได้แสดงความคิดเห็น ได้แสดงออก เป็นผู้สามารถสรุปองค์ความรู้  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้  ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับครู ครูกับเด็กเด็กกับเด็ก ครูร่วมกันออกแบบการวัดผลประเมินผลเพื่อตรวจสอบ และประเมินผู้เรียนอย่างมีขั้นตอน ใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม พร้อมทั้งนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน 



 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

1. หลักสูตรสถานศึกษา
2. แผนปฏิบัติการประจำปี
    - โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
    - โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    - โครงการนิเทศภายใน
    - โครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
    - โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น
    - โครงการพัฒนาระบบการเงิน พัสดุ และธุรการ
    - โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร
    - โครงการสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข
    - โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
    - โครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
    - โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
    - โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
    - โครงการส่งเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน
    - กิจกรรมวันสำคัญ
    - กิจกรรมทัศนศึกษา และแหล่งเรียนรู้
3. แผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4. ปพ.5
5. แบบบันทึกการดื่มนม และอาหารกลางวัน
6. แบบบันทึกน้ำหนักส่วนสูง
7. แบบบันทึกการออมทรัพย์
8. แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
9. แบบบันทึกพัฒนาการการเรียนรู้


 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

1. แผนปฏิบัติการประจำปี
2. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3. แผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลทั่วไป

              ชื่อโรงเรียนวัดเสม็ดงาม (เพิ่มพิทยาคาร) ที่ตั้ง 15/3 หมู่ 10 ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี  เขต 1  เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึง  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  เนื้อที่ 4 ไร่ (ที่ธรณีสงฆ์) 84 ตารางวา (ที่ราชพัสดุ) เขตพื้นที่บริการ  ได้แก่    หมู่ที่ 10, 11  ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

           เขตพื้นที่บริการของโรงเรียน

          เขตพื้นที่บริการของโรงเรียนวัดเสม็ดงาม (เพิ่มพิทยาคาร)ประกอบด้วย  เขตพื้นที่การปกครอง จำนวน  ๑ ตำบล  ๒ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านเสม็ดงาม หมู่ที่ 10 และ หมู่ 11  ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี  จังหวัดจันทบุรี      

         ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม

        1. สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะที่ราบเป็นเกาะ ประชากรประมาณ 800 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดเกาะโตนด อาชีพหลักของชุมชน คือ รับจ้าง ทอเสื่อ ประมง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ แข่งเรือหางยาว

       2. ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพหลัก คือ ทอเสื่อ ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี 20,000 บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 3 คน

       3. โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน โรงเรียนอยู่ใกล้วัด ใกล้แหล่งเรียนรู้ เช่น อู่ต่อเรือบ้านเสม็ดงาม ศูนย์ทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าอาวาสอย่างดียิ่ง เห็นได้โดยท่านมาเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาอยู่ในชุมชนที่เข้มแข็ง ที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์อันดี และให้ความร่วมมือ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ โดยพื้นฐานชุมชนเป็นลักษณะชอบทำบุญ นับถือผู้สูงวัย มีความรักท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน

 

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์  

          นักเรียนมีคุณธรรมนำความรู้ ก้าวสู่เทคโนโลยี มีสุขภาพแข็งแรงดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

 

พันธกิจ 

   ๑. จัดการศึกษาให้นักเรียนมีคุณธรรมนำความรู้และสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม

   ๒. ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง

   ๓. จัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

   ๔. ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

 

อัตลักษณ์

          นักเรียนมีสุขภาพดี

เป้าประสงค์

๑.   นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์

๒.  นักเรียนทุกคนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๓. นักเรียนทุกคนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง

๔.  นักเรียนทุกคนสามารถดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๕.  สถานศึกษาจัดการศึกษาโดยชุมชนมีส่วนร่วม

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 1 0 2 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โครงสร้างหลักสูตรเวลาเรียนโรงเรียนวัดเสม็ดงาม (เพิ่มพิทยาคาร)

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

ระดับประถมศึกษา

เวลาเรียนชั่วโมง/ปี

หมายเหตุ

ป.๑

ป.๒

ป.๓

ป.๔

ป.๕

ป.๖

รายวิชาพื้นฐาน

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

-

คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

-

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๔๐

๔๐

๔๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

-

สังคมศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

-

ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

-

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

-

ศิลปะ(ทัศนศิลป์/ดนตรี/นาฏศิลป์)

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

-

การงานอาชีพ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

-

ภาษาอังกฤษ

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๘๐

๘๐

๘๐

-

รวมเวลาเรียนพื้นฐาน

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

-

รายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม

-

หน้าที่พลเมือง

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

-

การป้องกันการทุจริต

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

-

-


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

 อาคารเรียนจำนวน 2  หลัง อาคารประกอบจำนวน  2  หลัง ส้วม 1 หลัง สระว่ายน้ำ  - สระ   สนามเด็กเล่น 1  สนาม   สนามฟุตบอล 1  สนาม   สนามบาสเก็ตบอล สนาม  สนามเทนนิส  -    สนามวอลเลย์บอล  1  สนาม อื่นๆ (ระบุ)   -


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1NvcbPz5hOff5Yi6J2xC0knqp1Uy1LAk2/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน
      1. ห้องสมุด

      2. ห้องพยาบาล

     3. สนามเด็กเล่น

     4. เรือนริมน้ำ

     5. โรงอาหาร

     6. สนามฟุตบอล

แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน

     1. อู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินฯบ้านเสม็ดงาม

     2.ศูนย์ทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม

     3.อนุสรณ์สถานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

     4. การฝึกอาชีพ ณ บ้านนายอุทัย เกาะเสม็ด

     5. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านเสม็ดงาม

     6. วัดเสม็ดงาม

     7. ป่าชายเลนเสม็ดงาม

หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1qC0rvBYtrXIqLkGinHv-ZzSD-ubmXvAo/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

1.      โรงเรียนวัดเสม็ดงามฯ มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เดือนละ 1 ครั้ง มีกิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวัน มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  ตำบลหนองบัว ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถ สนับสนุนให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับอำเภอ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน โดยการจัดกิจกรรมแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อนในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวม ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยจัดกิจกรรมวันสำคัญแห่งชาติ กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นวันพ่อ วันแม่ วันไหว้ครู วันเข้าพรรษา ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น อ่าน ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตน  โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ครูและเพื่อนฟัง 

ผลการดำเนินงาน  

1.         - เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้  ร้อยละ ๑๐๐

- เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ร้อยละ ๑๐๐   สังเกตได้จากการกล้าพูด กล้าแสดงออก รู้จักเข้าแถว รอคิว ในการรับประทานอาหาร รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในและนอกห้องเรียน ตามเขตพื้นที่รับผิดชอบ ร่าเริง แจ่มใส

- เด็กมีพัฒนาด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ได้ร้อยละ ๑๐๐ สังเกตได้จากการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รู้จักเก็บสิ่งของเครื่องใช้ ทั้งของส่วนตัวและส่วนรวม รู้จักยิ้ม ทักทาย อยู่เป็นนิจ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

- เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๖๖

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1EuwceZ4RAKmDEyVHJcOWFsqS0abh2xad/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

            การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดเสม็ดงามฯได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน  มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่  การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น  พิจารณาจากวัยของเด็ก  ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน  ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ สังคม  และสติปัญญา  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้  มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ  สำหรับด้านระบบกลไก  การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้  และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย  โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา  โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

ผลการดำเนินงาน  

            โรงเรียนวัดเสม็ดงามฯ ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์  และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก  ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์และจิตใจ  สังคม  และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้ เช่น จัดให้มีอุปกรณ์  ของเล่น  ของใช้  เครื่องนอน  เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พอเพียงกับเด็ก  โดยจัดให้เหมาะสม  สะอาด  ปลอดภัย ให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก ให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย  จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม  ที่เหมาะสมปลอดภัย  จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน  ล้างมือ  ทำความสะอาดร่างกาย  ห้องน้ำห้องส้วม  พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว  ชุมชน  และท้องถิ่นจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องrพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม  ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด  มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1IYXJd6-IxdMnyFuYIYne8n-rE9rfFHli/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน  ทั้งทางด้านร่างกาย   อารมณ์จิตใจ  สังคม และสติปัญญา  มีความรู้  คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข  ภายใต้คำว่า เก่ง  ดี   มีสุข ประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ   สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม  รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้านสังคม   เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้  มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ด้านสติปัญญา   มีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม  เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ  ความสามัคคี การแบ่งปัน  และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน  ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น  ความเห็นอกเห็นใจ   มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน  และปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน

ผลการดำเนินงาน  

            ห้องเรียนมีบรรยากาศ  แจ่มใส กว้างขวางพอเหมาะ   มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้  มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส  และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  และการจัดกิจวัตรประจำวัน   ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต  การสอบถาม  การสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด  มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1wf7WiakHxeAn13i91NO3TDXm1xPTsZSG/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
            - โรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และสติปัญญา  ให้เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีจิใจร่าเริงแจ่มใส มีความอดทน กล้าแสดงออก แสดงอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน
           - โรงเรียนกำหนดโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดประสบการณ์เรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จัดครูให้เพียงพอและจัดให้ครูมีการพัฒนาตนเองสม่ำเสมอ จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ  มีการติดตามประเมินผลการทำงาน และจัดทำรายงานประเมินตนเองประจำปี และนำผลไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพต่อไป
          - โรงเรียนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตร 6 กิจกรรมหลัก มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ให้เด็กได้เรียนรู้ลงมือปฏิบัติ ฝึกให้เด็กมีทักษะการคิด การแสวงหาความรู้ ค้นหาคำตอบ จากกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

         - ด้านคุณภาพของเด็ก ได้มีการพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้านทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และสติปัญญา

         -  ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ  จัดให้ครูมีเพียงพอกับชั้นเรียน จัดสภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนรู้และจัดให้มีสื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้สนับสนุนการจัดประสบการณ์

         -  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล  สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นอย่างมีความสุข มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1r8gq7EKDOA7SBBprrYl5wtU5SNDTcp7C/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดเสม็ดงาม( เพิ่มพิทยาคาร )ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนำสื่อDLTVมาใช้ในห้องเรียนใช้สื่อจากยูทูปและเว็บไซต์ต่างๆมีการผลิตสื่อด้วยตนเองเพื่อใช้ในการเรียนการสอน งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560)เพื่อให้ครูได้ใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1 มีแหล่งเรียนรู้สืบค้นข้อมูล ได้แก่ห้องสมุด ป้ายนิเทศต่างๆ ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลตามสภาพจริง ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน

   นอกจากนี้สถานศึกษาได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนเพื่อให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เป็นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะกับวัยของผู้เรียนตามนโยบายของผู้บริหาร มีการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายคุณธรรม ตอบปัญหาธรรมะ สวดมนต์นั่งสมาธิทุกวันศุกร์ พัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรโตไปไม่โกง มีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีกิจกรรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยยาเสพติดจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่งเสริมการออกกำลังกาย และเพิ่มเวลารู้เรื่องอาชีพเช่นการปลูกพืชผักสวนครัวเป็นต้น

ผลการดำเนินงาน  

การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการผู้เรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ น้ำหนักส่วนสูงและสมรรถภาพทางกายเป็นไปตามเกณฑ์ มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนักเรียนทุกคนสามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละ1ประเภทยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม รู้จักป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษ มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริตรวมทั้งมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัยมีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่างๆดังนี้

ผลการประเมินความสามารถในการอ่าน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2563
โรงเรียนวัดเสม็ดงาม (เพิ่มพิทยาคาร) อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

ชั้น

จำนวนนักเรียน

จำนวนนักเรียนแยกตามระดับคะแนน

การอ่านออกเสียง

การอ่านรู้เรื่อง

ดีมาก

ดี

พอใช้

ปรับปรุง

ดีมาก

ดี

พอใช้

ปรับปรุง

ป.1

1

1

0

0

0

0

1

0

0

ป.2

1

0

1

0

0

0

0

1

0

ป.3

5

4

1

0

0

1

3

1

0

ป.4

4

0

3

1

0

0

1

3

0

ป.5

2

2

0

0

0

0

2

0

0

ป.6

0

0

0

0

0

0

0

0

0

รวม

13

7

5

1

0

1

7

5

0

เฉลี่ย

92.31

61.54

 

 

หมายเหตุ ผลการประเมินการอ่านออกเสียง (ป.๑-๖) อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 92.31 ผลการประเมินการอ่านรู้เรื่อง (ป.๑-๖) อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 61.54

 

ผลการประเมินความสามารถในการเขียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2563

โรงเรียนวัดเสม็ดงาม (เพิ่มพิทยาคาร) อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

ชั้น

จำนวนนักเรียน

จำนวนนักเรียนแยกตามระดับคะแนน

การเขียนคำ

การเขียนประโยค, การเขียนเรื่อง, การเขียนเรื่องตามจินตนาการ, การเขียนย่อความ, การเขียนเรียงความ

ดีมาก

ดี

พอใช้

ปรับปรุง

ดีมาก

ดี

พอใช้

ปรับปรุง

ป.1

1

1

0

0

0

0

1

0

0

ป.2

1

0

1

0

0

0

0

1

0

ป.3

5

2

2

1

0

2

2

1

0

ป.4

4

0

3

1

0

0

3

1

0

ป.5

2

2

0

0

0

0

2

0

0

ป.6

0

0

0

0

0

0

0

0

0

รวม

13

5

6

2

0

2

8

2

0

เฉลี่ย

84.62

76.92

 

 

หมายเหตุ ผลการประเมินการเขียนคำ (ป.๑ – ๖) อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 84.62 ผลการประเมินการเขียน (ป.๑ – ๖) อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ76.92

 

การประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT)ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

สาระวิชา

จำนวนนักเรียน

คะแนนเฉลี่ย

เฉลี่ยร้อยละ

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

จำนวนร้อยละของนักเรียน

ดีมาก

ดี

พอใช้

ปรับปรุง

ภาษาไทย

5

63.17

63.17

13.27

60

20

20

0

คณิตศาสตร์

5

68.60

68.60

11.97

20

80

0

0

รวมเฉลี่ย

66.15

66.15

18.76

40

50

10

0

 

ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT)

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2563

คะแนนเฉลี่ยร้อยละ

ภาษาไทย

คณิตศาสตร์

เฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน

ระดับโรงเรียน

63.70

68.60

66.15

ระดับเขตพื้นที่

53.15

49.47

36.23

ระดับประเทศ

47.46

40.47

43.97

 

หมายเหตุNTมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ สูงกว่าระดับเขตพื้นที่ และ สูงกว่าระดับประเทศ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสูงกว่าระดับประเทศทั้ง 2 ด้าน

 

ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET)

ประจำปีการศึกษา 2563 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ระดับ

รายวิชา

 

ภาษาไทย

 

คณิตศาสตร์

 

วิทยาศาสตร์

 

ภาษาอังกฤษ

คะแนนเฉลี่ยของโรงเรียน

-

-

-

-

คะแนนเฉลี่ยระดับจังหวัด

-

-

-

-

คะแนนเฉลี่ยสังกัดสพฐ.

-

-

-

-

คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ

-

-

-

-

 

เปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)ปีการศึกษา 2562 - 2563

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

รายวิชา

ปี 2562

ปี 2563

ผลต่าง

ภาษาไทย

53.42

-

-

คณิตศาสตร์

31.67

-

-

วิทยาศาสตร์

31.00

-

-

ภาษาอังกฤษ

33.33

-

-

 

หมายเหตุO-NETปีการศึกษา 2563 ไม่มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

 

ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2563

ระดับชั้น

จำนวนนักเรียนทั้งหมด

จำนวน/ร้อยละของนักเรียนตามระดับคุณภาพ

(คุณลักษณะอันพึงประสงค์)

ดีเยี่ยม

ดี

ผ่าน

ไม่ผ่าน

ประถมศึกษาปีที่ 1

1

0

1

0

0

ประถมศึกษาปีที่ 2

1

0

1

0

0

ประถมศึกษาปีที่ 3

5

0

5

0

0

ประถมศึกษาปีที่ 4

4

0

4

0

0

ประถมศึกษาปีที่ 5

2

1

1

0

0

ประถมศึกษาปีที่ 6

0

0

0

0

0

รวม

13

1

12

0

0

ร้อยละ

7.69

92.31

-

-

 

ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 ปีการศึกษา 2563

ระดับชั้น

จำนวนนักเรียนทั้งหมด

จำนวน/ร้อยละของนักเรียนตามระดับคุณภาพ (อ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน)

ดีเยี่ยม

ดี

ผ่าน

ไม่ผ่าน

ประถมศึกษาปีที่ 1

1

0

0

1

0

ประถมศึกษาปีที่ 2

1

0

0

1

0

ประถมศึกษาปีที่ 3

5

0

4

1

0

ประถมศึกษาปีที่ 4

4

0

4

0

0

ประถมศึกษาปีที่ 5

2

0

2

0

0

ประถมศึกษาปีที่ 6

0

0

0

0

0

รวม

13

0

10

3

0

ร้อยละ

-

76.92

23.08

-

 

ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญ ของผู้เรียน ๕ ด้าน

ด้านความสามารถในการสื่อสาร

ระดับชั้น

จำนวนนักเรียนทั้งหมด

จำนวน/ร้อยละของนักเรียนตามระดับคุณภาพ (ข้อ 1 ด้านความสามารถในการสื่อสาร)

ดีเยี่ยม

ดี

ผ่าน

ไม่ผ่าน

ประถมศึกษาปีที่ 1

1

0

0

1

0

ประถมศึกษาปีที่ 2

1

0

0

1

0

ประถมศึกษาปีที่ 3

5

0

5

0

0

ประถมศึกษาปีที่ 4

4

0

2

2

0

ประถมศึกษาปีที่ 5

2

1

0

1

0

ประถมศึกษาปีที่ 6

0

0

0

0

0

รวม

13

1

7

5

0

ร้อยละ

7.69

53.85

38.46

-

 

ด้านความสามารถในการคิด

ระดับชั้น

จำนวนนักเรียนทั้งหมด

จำนวน/ร้อยละของนักเรียนตามระดับคุณภาพ (ข้อ 2 ด้านความสามารถในการคิด)

ดีเยี่ยม

ดี

ผ่าน

ไม่ผ่าน

ประถมศึกษาปีที่ 1

1

0

0

1

0

ประถมศึกษาปีที่ 2

1

0

0

1

0

ประถมศึกษาปีที??

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1pS6Mmc8-QT4N98XMHcRtKFDrTb_MrkQb/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะของผู้เรียน ได้แก่ โครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมจิตอาสา  กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมวันสำคัญ  การแต่งกายด้วยผ้าไทยในวันศุกร์ กิจกรรมออมทรัพย์ และกิจกรรมบูรณาการสอดแรกในกลุ่มสาระการเรียนรู้
ผลการดำเนินงาน  

ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และ มีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1MwAIXBWOBix7Hl9DgwRNe_QjVLJKR-UO/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา            โรงเรียนวัดเสม็ดงาม (เพิ่มพิทยาคาร) ได้มีการจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในโรงเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการปรับหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศและบริบทของตนเอง มีการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรมีการพัฒนาความรู้ ความสามารถและเทคนิคการสอนจากสื่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร ปัจจัยพื้นฐาน บุคลากร และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มที่ มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัย สะอาด ร่มรื่น น่ามอง จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้อย่างเพียงพอ เหมาะสม มีการมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน ผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน            โรงเรียนวัดเสม็ดงาม (เพิ่มพิทยาคาร)กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยมีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายพัฒนาการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อการผลการจัดการศึกษา มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสมเป็นระเบียบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา มีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1D_f1_OIj0oBZkYxyobQWrc5fxvUBaHgt/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดเสม็ดงาม (เพิ่มพิทยาคารได้นำสื่อการเรียนการสอนจาก DLTV มาใช้ในห้องเรียน  ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning)  ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน  ตาม มาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำ ผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และ แหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูผลิตนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลายเมื่อพบว่านักเรียนมีปัญหาครูผู้สอนจะมีการสอนซ่อมเสริม

ผลการดำเนินงาน  

        จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามศักยภาพ คุณครูได้มีการพัฒนาการสอนของตนเองด้วยวิธีที่หลากหลายขึ้น

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1EK4H62wwZyxdnCJSOm4szNqYShZm66Fo/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและ ความต้องการพัฒนาตามสภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของโรงเรียนและสภาพของชุมชนท้องถิ่น จนมีการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับดี ผู้เรียนมีความสามรถในการอ่านและเขียน การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความสามารถในการคิดคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดี และมีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏอย่างชัดเจน ดังที่ปรากฏผลประเมินในมาตรฐานที่ 1 ในด้านกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษามีผลประเมินในรายมาตรฐานอยู่ในระดับดี โรงเรียนมีการวางแผน ออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐาน ในการพัฒนา และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา ตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เป็นสำคัญมีผลประเมินอยู่ในระดับดี วิเคราะห์ ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตร และบริบทสถานศึกษา พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้ โรงเรียนวัดเสม็ดงาม (เพิ่มพิทยาคาร) จัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน จากผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับดี ทั้งนี้ เพราะมาตรฐานที่ 1 ผลการจัดการศึกษา อยู่ในระดับดี มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการศึกษา อยู่ในระดับดีเยี่ยม มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดี 
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1KmKIv4oJCUwHu0s3KLDBGC9L8WwXYUw2/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1ju292hUHvGaTE91SqGKQnyY-z0XLfdIM/view?usp=sharing