รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดเนินโพธิ์

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ระดับการศึกษาปฐมวัย

          โรงเรียนวัดเนินโพธิ์ (สวาสดิ์ราษฎร์อุปถัมภ์) จัดการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาล ๒ – ๓  ได้ดำเนินงาน ด้านการสร้างความเข้มแข็งของระบบงานประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเป็นการดำเนินงาน ตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๓

ผลการดำเนินงาน

มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

          โรงเรียนวัดเนินโพธิ์ฯ ได้ร่วมกันดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา และวางแผน เพื่อแก้ไขปรับปรุง  พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการจัดทำโครงการที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ตลอดจนกลยุทธ์ ครูมีความรู้และทักษะในการจัดทำแผนประสบการณ์ที่มีความสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยมุ่งเน้นให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านอย่างสมดุล เต็มศักยภาพ และสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ได้คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ ซึ่งได้จัดทำโครงการพัฒนาการเด็กด้านร่างกาย เพื่อพัฒนาด้านร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โครงการพัฒนาการเด็กด้านอารมณ์และจิตใจ  เพื่อพัฒนาให้เด็กสามารถควบคุมอารมณ์และจิตใจ ร่าเริงแจ่มใส มีความมั่นใจและ กล้าแสดงออก รู้จักการรอคอยและอดทน รู้จักหน้าที่มีความซื่อสัตย์ และชื่นชมในงานศิลปะ โครงการพัฒนาการเด็กด้านสังคม เพื่อให้เด็กได้มีวินัยมีความประหยัด สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีมารยาทตาม วัฒนธรรมไทย และโครงการพัฒนาการเด็ก   ด้านสติปัญญา เพื่อพัฒนาให้เด็กมีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ รวมทั้งมีทักษะกระบวนการ  ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สามารถสร้างสรรค์ผลงานตาม ความคิด และจินตนาการได้

 

ด้านคุณภาพของเด็ก

          เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีพัฒนาการด้าน อารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ เด็กมีความสามารถ ในการทำกิจกรรมตามโครงงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยและมีผลงานศิลปะสร้างสรรค์

 

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

          สถานศึกษามีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน ส่งเสริมครูให้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและมีสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างเพียงพอ ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา บริหารโดยใช้รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ๕ ขั้นตอน โดยใช้วงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูและ บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

 

ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

          จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ สร้างโอกาสให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก


จุดควรพัฒนา

1. ด้านทักษะการคิดพื้นฐาน การสื่อสาร กล้าถาม สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดของเด็ก

2. พัฒนาด้านการกล้าแสดงออกของเด็ก

แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น

ด้านคุณภาพเด็ก

- จัดทำโครงการ/กิจกรรมการสอนแบบโครงงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

- จัดหาทรัพยากรจากหน่วยงานอื่นๆ เพื่อพัฒนาการบริการจัดการของปฐมวัย

ด้านจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

- จัดกิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้กับสิ่งที่สนใจ มีความสุข


ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนวัดเนินโพธิ์ฯ ได้ดำเนินงานด้านระบบประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินงาน ตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ดังนี้

๑. กำหนดมาตรฐานการศึกษาสอดคล้องกับมาตรฐานชาติ บริบท ปัญหาและความต้องการโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

๒. จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

๓. ปฏิบัติงานตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนปฏิบัติงานประจำปีการศึกษา

๔. จัดให้มีการวัดผล ประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพการศึกษาและติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

๕. จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง และนำผลมาพัฒนาคุณภาพการศึกษา/ส่งหน่วยงานต้นสังกัด

ผลการดำเนินงาน

มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับคุณภาพดีเลิศ

หลักฐานสนับสนุน ครูจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีการบริหารจัดการชั้นเรียน เชิงบวก มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผลผู้เรียนอย่างเป็นระบบ แล้วนำผลมาพัฒนาผู้เรียน และปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

ผู้เรียนมีความสามารถอ่านออกเขียนได้และอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละดับชั้น มีความสามารถในการคิดจำแนกแยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีระบบ สามารถใช้กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา ได้สร้างชิ้นงานด้วยตนเองได้ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) และ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติชั้นพื้นฐาน (O-NET) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศผู้เรียนมีทักษะการทำงานร่วมกันและมีทักษะด้านอาชีพ
มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร มีความภูมิใจในท้องถิ่นของตน มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตที่ดี

ด้านคุณภาพของเด็ก

สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน ๓ ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี กล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีแผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย
มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยมีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิด ได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น

ด้านคุณภาพของผู้เรียน

- การวัดผลประเมินผลให้ตรงตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด สอดคล้องกับข้อสอบ ONET/NT

- การนำผลคะแนนการทดสอบระดับชาติ O-NET/NT ปีการศึกษา ๒๕๖๓ มาพัฒนาการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

- จัดอบรมครูและบุคลากรในการจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

- จัดอบรมครูและบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจกระบวนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาผู้เรียน โดยใช้กระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน



 

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

เอกสาร/หลักฐาน (งาน/โครงการ/กิจกรรม) 
-  หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐
-  แผนปฏิบัติการ   , 
-  แผนการจัดประสบการณ์สื่อ ๖๐ พรรษา
- กิจกรรมเสริมประสบการณ์
- กิจกรรมเกมการศึกษา
- กิจกรรมกลางแจ้ง 
- กิจกรรมเล่นตามมุม
 -กิจกรรมสร้างสรรค์ 
- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ,ผลงานของเด็ก
- รายงานกิจกรรมตามโครงการ
- รูปภาพการจัดกิจกรรม
- เกียรติบัตร
-โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย”
- โครงการจัดการศึกษาก่อนประถมศึกษา
- โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
-โครงการการดำเนินการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
- โครงการส่งเสริมดนตรี กีฬาการละเล่นพื้นบ้านและอนุรักษ์ความเป็นไทย
- โครงการนิเทศภายใน
- โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
-  โครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
- โครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
-โครงการเด็กพิการเรียนรวม
- โครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
-โครงการบริหารงานธุรการ
- โครงการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศ
- โครงการความสัมพันธ์ชุมชน
- โครงการพัฒนาบุคลากร
- กิจกรรมการบริหารงบประมาณและแผนงาน
- โครงการบริหารงานการเงินและพัสดุ
- โครงการสาธารณูปโภคโรงเรียน
- กิจกรรมบริหารกิจการนักเรียน
- โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
- โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
- โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและวันสำคัญของไทย
- โครงการเสริมสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียนสู่ชุมชน
-โครงการพัฒนาการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
- โครงการอาหารกลางวัน
- โครงการกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

ระดับปฐมวัย
แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น ด้านคุณภาพของเด็ก

แผนปฏิบัติงานที่ 1 จัดทำโครงการ/กิจกรรมการสอนแบบโครงงาน

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

แผนปฏิบัติงานที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ครูและบุคลากรในการจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในช่วง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

แผนปฏิบัติงานที่ 3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้
ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

แผนปฏิบัติงานที่ 4 จัดอบรมครูในเรื่องการใช้สื่อ ICT สำหรับเด็กปฐมวัย


ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น ด้านคุณภาพของผู้เรียน

แผนปฏิบัติงานที่ 1 การวัดผลประเมินผลให้ตรงตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด สอดคล้องกับข้อสอบ O-NET/NT 

แผนปฏิบัติงานที่ 2 การนำผลคะแนนการทดสอบระดับชาติ O-NET/NT ปีการศึกษา 2562 มาพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

แผนปฏิบัติงานที่ 3 จัดอบรมครูและบุคลากรในการจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

แผนปฏิบัติงานที่ 4 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

แผนปฏิบัติงานที่ 5 จัดอบรมครูและบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจกระบวนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาผู้เรียน โดยใช้กระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลทั่วไป

โรงเรียนวัดเนินโพธิ์(สวาสดิ์ราษฎร์อุปถัมภ์)  ตั้งอยู่เลขที่ ๗๙/๒ หมู่ที่ ๙ ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑  มีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๒ งาน ๖๒ ตารางวา  เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ ๒  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  เขตพื้นที่บริการ ๑ หมู่บ้าน  ได้แก่ หมู่ ๙ บ้านเนินโพธิ์


การจัดการศึกษา
           เน้นการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)  โดยการใช้สื่อ ๖๐ พรรษาประกอบการจัดการเรียนการสอน


สภาพชุมชน
           ลักษณะชุมชน เป็นครอบครัวรวม และครอบครัวเดี่ยวปะปนกัน ส่วนใหญ่มีฐานะปานกลาง จำนวนประชากรประมาณ ๔๐๐ คน อาชีพสำคัญในชุมชน ทำเกษตรกรรม และประมงพื้นบ้าน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

 ปีการศึกษา ๒๕๖๓   

          เปิดทำการสอนระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา  มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น ๖๒  คน โดย มีจำนวนนักเรียนชั้นอนุบาล ๒ และชั้นอนุบาล ๓ จำนวน  ๒๐  คน  และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  จำนวน ๔๒  คน  มีข้าราชการครู ๕ คน ครูอัตราจ้าง ๑ คน พนักงานธุรการ ๑ คน ภารโรง(ช่างไม้) ๑ คน  ครูจ้างสอน  ๒ คน 

 

 

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์
          นักเรียนโรงเรียนวัดเนินโพธิ์ฯ ได้รับการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา มีทักษะสำหรับการดำรงชีวิต  ในโลกแห่งศตวรรษที่ ๒๑ เสริมสร้างสุขภาพ ดนตรี กีฬา ร่วมรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม

อัตลักษณ์ของโรงเรียน         อนามัยดี   สถานที่พร้อม   สิ่งแวดล้อมงามตา

พันธกิจ
     ๑)  พัฒนาการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     ๒)  จัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้น คุณธรรมและจริยธรรม
     ๓)  จัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
     ๔)  จัดกิจกรรมกีฬา นันทนาการและดนตรี

เป้าประสงค์
      ๑) ผู้เรียนมีความรู้  และมีคุณธรรม  จริยธรรม
      ๒) ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
      ๓) ผู้เรียนมีวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
      ๔) ชุมชนและองค์กรมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
0 4 0 1 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โรงเรียนวัดเนินโพธิ์(สวาสดิ์ราษฎร์อุปถัมภ์) จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยจัดการเรียนการสอนในระดับ อนุบาล(หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560) และระดับประถมศึกษา (หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ปรับปรุง 2560)
ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลอาคารสถานที่

อาคารเรียนจำนวน ๒ หลัง ได้แก่
    -  อาคารเรียนแบบ  ป.1ข
    -  อาคารเรียนแบบ  สปช  105/29

อาคารประกอบจำนวน ๒  หลัง
    -   บ้านพักครู แบบกรมสามัญ
    -   โรงอาหาร แบบ 312

ส้วม ๑ หลัง
    - อาคารแบบ สพฐ.4 (แบบ 4 ที่นั่ง)





หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1FoD_DxJSZc9ay1PY18Pm992ZsD4ptkRj/view
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑) ห้องสมุดมีขนาด ๑๒ ตารางเมตร จำนวนหนังสือในห้องสมุด ๑,๖๐๐ เล่ม
การสืบค้นหนังสือและการยืม-คืน ใช้  ระบบดิวอี้  จำนวนนักเรียนที่ใช้ห้องสมุดในปีการศึกษาที่รายงาน เฉลี่ย ๒๐คน ต่อวัน คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๕๗ ของนักเรียนทั้งหมด

๒) ห้องปฏิบัติการ
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน ๑ ห้อง

๓) คอมพิวเตอร์จำนวน ๑๐ เครื่อง
ใช้เพื่อการเรียนการสอน ๑๐ เครื่อง
ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ๑๐ เครื่อง
จำนวนนักเรียนที่สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตในปีการศึกษาที่รายงาน เฉลี่ย ๕๒ คน ต่อวัน คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๖๑ ของนักเรียนทั้งหมด
ใช้เพื่อการบริหาร ๒ เครื่อง

แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

 

แหล่งเรียนรู้ภายใน

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

๑.สนามเด็กเล่น
๒. สวนหย่อม
๓. ห้องครัว – โรงอาหาร
๔. ร้านค้าสหกรณ์
๕.  ต้นไม้พูดได้
๖.  ป้ายนิเทศ
๗.  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
๘.   ห้องสมุด
๙.  มุมหนังสือ

๓๐ ครั้ง/ ปี
๓๐ ครั้ง/ ปี
๓๐ ครั้ง/ ปี
๓๐ ครั้ง/ ปี
๓๐ ครั้ง/ ปี
๓๐ ครั้ง/ ปี
๓๐ ครั้ง/ ปี
๓๐ ครั้ง/ ปี
๓๐ ครั้ง/ ปี

แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

สถิติการใช้
จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

๑.  วัดเนินโพธิ์
๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว
๓.  อู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสิน เสม็ดงาม
๔.  โบราณสถานเมืองเพนียด ต. คลองนารายณ์ อ. เมืองจันทบุรี
๕.  วัดโบสถ์เมืองจันทบุรี
๖.  ศาลหลักเมืองจันทบุรี 
๗.  สวนสาธารณะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 
๘. วังสวนบ้านแก้ว 
๙. วัดคาทอลิกจันทบุรี
๑๐. วังสวนบ้านแก้ว 
๑๑. โบราณสถานค่ายเนินวง 
๑๒.  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี 
๑๓. ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านการทอเสื่อจันทบูรหมู่บ้านเสม็ดงาม 
๑๔.  ต่อเรือพระเจ้าตาก หรือ อู่ต่อเรือเสม็ดงาม 
๑๕.  เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่าวคุ้งกระเบน 
๑๖วนรุกขชาติชายหาดแหลมเสด็จ 
๑๗. หาดเจ้าหลาว 
๑๘. แหลมเสด็จ 
๑๙แหลมเสด็จ-อ่าวคุ้งกระเบน 
๒๐. คุกขี้ไก่ 
๒๑. ตึกแดง 
๒๒. ศูนย์วิจัยพืชสวน 
๒๓.  อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว 
๒๔ .โอเอซีส ซี เวิลด์ 
๒๕. หาดแหลมสิงห์ 

๒๐ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี
๑ ครั้ง/ ปี

๖)ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่สถานศึกษาเชิญมาให้ความรู้แก่ครู นักเรียน
 ในปีการศึกษาที่รายงาน
๖.๑ นางดาวลอย  ถนอมจิตร  ผู้เชี่ยวชาญด้านการรำละคร เท่ง ตุ๊ก ให้ความรู้เรื่อง การรำละครชาตรี ๑๒ ท่า ในชั้นประถมปีที่ ๓– ๖
๖.๒ นายบุญเตือน  ถนอมจิตร ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาพื้นบ้านให้ความรู้เรื่อง กีฬาพื้นบ้าน 
ในชั้นประถมปีที่๓–๖
๖.๓ นางเรียม ใจกว้าง ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรุงน้ำพริกแกงแกงป่าให้ความรู้เรื่อง การปรุง
น้ำพริกแกงแกงป่าพื้นบ้าน   นักเรียนชั้นประถมปีที่ ๓– ๖
๖.๔  พระอธิการนฤพนขนฺติกฺโก เจ้าอาวาสวัดเนินโพธิ์ พระผู้เชี่ยวชาญด้านการการเผยแผ่
พระธรรม ให้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแก่ นักเรียนชั้นประถมปีที่ ๓– ๖ เป็นการปลูกฝังคุณธรรมแก่นักเรียน
๖.๕  นายวิชัย โพธิวรรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำไม้กวาดก้านมะพร้าว ให้ความรู้ในเรื่องการทำไม้กวาดก้านมะพร้าวแก่ นักเรียนชั้นประถมปีที่ ๓–๖


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/19CLcfZ-DugssoGDvVOL6LENujSpiZBUj/view
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

 

โรงเรียนวัดเนินโพธิ์ฯ มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ ๒ ครั้ง มีกิจกรรม BBL หน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวัน จัดหา อุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสนใจ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน โดยการจัดกิจกรรมแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อนในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการ
จัดประสบการณ์การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวม ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยจัดกิจกรรม
วันสำคัญทางชาติกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นวันพ่อ วันแม่ วันไหว้ครู วันเข้าพรรษา ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน
มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น อ่าน ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตนโรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการ
จัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ มีการจัดกิจกรรมวันภาษาไทย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ครูและเพื่อนฟังมีการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆมีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การตัด ฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง


 



ผลการดำเนินงาน  

 

-รายงาน สรุป โครงการ/กิจกรรม

- เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ร้อยละ ๑๐๐

- เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ร้อยละ ๑๐๐ สังเกตได้จากการกล้าพูด กล้าแสดงออก รู้จักเข้าแถว รอคิว ในการรับประทานอาหาร รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในและนอกห้องเรียน ตามเขตพื้นที่รับผิดชอบ ร่าเริง แจ่มใส

- เด็กมีพัฒนาด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ได้ร้อยละ ๑๐๐ สังเกตได้จากการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รู้จักเก็บสิ่งของเครื่องใช้ ทั้งของส่วนตัวและส่วนรวม รู้จักยิ้ม ทักทาย อยู่เป็นนิจ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

- เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๐๐


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1VJBMrxV9mR7nXiWQRH_9qKSKhnc29zAk/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดเนินโพธิ์ฯ ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจนมีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญาเพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพสำหรับด้านระบบกลไกการเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาโดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

โรงเรียนวัดเนินโพธิ์ฯได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้ เช่นจัดให้มีอุปกรณ์ ของเล่น ของใช้เครื่องนอนเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พอเพียงกับเด็ก โดยจัดให้เหมาะสม สะอาดปลอดภัยให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก ให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม ที่เหมาะสมปลอดภัย จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน ล้างมือทำความสะอาดร่างกายห้องน้ำห้องส้วมพร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็กมีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น จัดครูที่มีความสามารถเหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัยส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง พัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลให้ครูมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยมีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชนมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนดมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง


 

ผลการดำเนินงาน  

- แผนปฏิบัติการ หลักสูตร

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

- รายงานผลการเข้าร่วมอบรมพัฒนาของครูและบุคลากร

- แผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

- รายงานผลการประเมินตนเองประจำปี


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1ZAVVBNB7QWiuDHf8bU-V95uiXMXJXr1S/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน  ทั้งทางด้านร่างกาย   อารมณ์จิตใจ  สังคม และสติปัญญา  มีความรู้  คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข  ภายใต้คำว่า เก่ง  ดี   มีสุข ประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ   สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม  รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบ  ด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้  มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่  ด้านสติปัญญา มีความคิดรวบยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสาร และมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย    

จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม  เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ  ความสามัคคี การแบ่งปัน  และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน  ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น  ความเห็นอกเห็นใจ   มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน  ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน  และปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน

                   ห้องเรียนมีบรรยากาศ  แจ่มใส กว้างขวางพอเหมาะ  มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  และการจัดกิจวัตรประจำวัน   ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต  การสอบถาม  การสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม  เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

 

ผลการดำเนินงาน  

-เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุลโดยประเมินจากพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน  

- เด็กร้อยละ ๑๐๐ เรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม

- บรรยากาศสภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้สามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีเหมาะสมกับวัย

- ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินไปปรับปรุงในการจัดการเรียนการสอน

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1VJBMrxV9mR7nXiWQRH_9qKSKhnc29zAk/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 ด้านที่ ๑ มาตรฐานด้านคุณภาพของเด็ก
          เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

          โรงเรียนวัดเนินโพธิ์ฯ มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ ๒ ครั้ง มีกิจกรรม BBL หน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวัน จัดหา อุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสนใจ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน โดยการจัดกิจกรรมแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อนในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการ
จัดประสบการณ์การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวม ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยจัดกิจกรรม
วันสำคัญทางชาติกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นวันพ่อ วันแม่ วันไหว้ครู วันเข้าพรรษา ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน
มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น อ่าน ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตนโรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการ
จัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ มีการจัดกิจกรรมวันภาษาไทย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ครูและเพื่อนฟังมีการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆมีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การตัด ฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง


ด้านที่ ๒  มาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

           การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดเนินโพธิ์ฯ ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่
การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ สำหรับด้านระบบกลไกการเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

          โรงเรียนวัดเนินโพธิ์ฯ ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้ เช่น จัดให้มีอุปกรณ์ ของเล่น ของใช้ เครื่องนอน เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พอเพียงกับเด็ก โดยจัดให้เหมาะสม สะอาด ปลอดภัย ให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก ให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม ที่เหมาะสมปลอดภัย จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน ล้างมือ ทำความสะอาดร่างกาย ห้องน้ำห้องส้วม พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็กมีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น จัดครูที่มีความสามารถเหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัย ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง พัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนดมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง       

ด้านที่ ๓ มาตรฐานด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

          จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจสังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข ภายใต้คำว่าเก่ง ดี มีสุข ประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนมีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ด้านสติปัญญา มีความคิดรวบยอด รู้จักการแก้ปัญหาสื่อสาร และมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย

          จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคีการแบ่งปัน และการรอคอยเพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน

         ห้องเรียนมีบรรยากาศ แจ่มใสกว้างขวางพอเหมาะมีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใสและมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจและการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็กโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการ
จัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง


ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ด้านที่ ๑ มาตรฐานด้านคุณภาพของเด็ก

          เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

ด้านที่ ๒  มาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ
          - มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น
          - การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์
          - ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ

ด้านที่ ๓ มาตรฐานด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
          -   เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล

-  เด็กเรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม

-  มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้

        -  ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  สถานศึกษามีกระบวนการในการดำเนินการพัฒนา ตามแผนปฏิบัติการของโรงเรียน ปี2563โดยในส่วนของการพัฒนาสัมฤทธิ์ของผู้เรียน สถานศึกษาได้ดำเนินการตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทางการเรียนของนักเรียน ดำเนินการตามกิจกรรม, กิจกรรมอ่านหนังสือ/บันทึกการอ่าน, กิจกรรมสุภาษิตไทย, กิจกรรมสะเต็มศึกษาสู่การประกอบอาชีพตามแนวทางพระราชดำริ, วิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล, การวิจัยในชั้นเรียน, 
รวบรวมคำใหม่ คำยากและคำที่นักเรียนเขียนผิดในวิชาภาษาไทยให้นักเรียนอ่านละคัดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง, 
จัดกิจกรรมเสริมการอ่านคำภาษาอังกฤษทุกวัน, การสอนซ่อมเสริม, ท่องสูตรคูณ, ฝึกทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบที่หลากหลาย, ฝึก วิเคราะห์โจทย์ปัญหา, สอนเสริมในเวลาพักกลางวัน, ใช้สื่อช่วยสอน,สอนพิเศษวันเสาร์, 
อาทิตย์  ในภาคเรียนที่ 2, กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน, สร้างความตระหนักให้ครูและนักเรียนเห็นความสำคัญของผลการสอบ O-net, NT, Las, ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรมวิธีการ เทคนิคการสอนหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่มีคุณภาพผ่านกระบวนการตรวจสอบที่เชื่อถือ, แก้ปัญหาการเรียนการสอน, จัดทำคู่มือบัญชีคำศัพท์พื้นฐาน,จัดทำคู่มือการฝึกหัดอ่านและสื่อสาร, จัดทำสื่อเพิ่มเติม


ผลการดำเนินงาน  

ผลการดำเนินการตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนคือ 

1. ครูมีความรู้ ความเข้าใจ เทคนิควิธีการและการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียน

2.จัดกิจกรรมการเรียนให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

3.นักเรียนอ่านหนังสือจากแหล่งเรียนรู้

4. นักเรียนร้อยละ 100 เข้าร่วมกิจกรรมสะเต็มศึกษาสู่การประกอบวิชาชีพ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ภายในงาน

      สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

5. ครูผู้สอนร้อยละ 80 สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนาการแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียน ตลอดจนมีกระบวนการวัดผลและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมตามศักยภาพและวัยของผู้เรียน

6. ครูผู้สอนสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนาการแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียน ตลอดจนมีกระบวนการวัดผลและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม ตามศักยภาพและวัยของผู้เรียนผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางการเรียนรู้ของตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

7. นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน และมีทักษะในการอ่านเพิ่มมากขึ้น

8.นักเรียนสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ

9. นักเรียนสามารถบูรณาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสู่การประกอบอาชีพตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

10. ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองและหน่วยงานภายนอกให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสู่การประกอบอาชีพตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

11. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกินร้อยละ ๕๐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ของข้อมูลปีฐาน

12. ครูรู้จักใช้ข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาพัฒนาการ การสอนและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test :  NT)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ประจำปีการศึกษา  2563

ด้าน

คะแนนเฉลี่ยร้อยละของโรงเรียน

คะแนนเฉลี่ยร้อยละของระดับเขตพื้นที่

คะแนนเฉลี่ยร้อยละของระดับประเทศ

ด้านคณิตศาสตร์

64.00

49.74

40.47

ด้านภาษาไทย

57.30

53.15

47.46

เฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน

60.65

51.44

43.97

ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน ( O – NET)
ประจำปีการศึกษา 256๓  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ระดับ/รายวิชา

ภาษาไทย

คณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์

ภาษาอังกฤษ

คะแนนเฉลี่ยของโรงเรียน

๗๓.๖๙

๕๑.๒๕

๔๘.๙๐

๕๐.๖๓

คะแนนเฉลี่ยระดับจังหวัด

๖๐.๖๔

๓๓.๗๑

๔๑.๐๙

๕๐.๑๑

คะแนนเฉลี่ย สังกัด สพฐ.ทั้งหมด

๕๔.๙๖

๒๘.๕๙

๓๗.๖๔

๓๘.๘๗

คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ

๕๖.๒๐

๒๙.๙๙

3๘.๗๘

๔๓.๕๕

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1ZH4Hd9KEDhVvMw65JR-4vzpBgXs3Wa0Q/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  
ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน

ระดับคุณภาพผู้เรียน :ดี

1. กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดเนินโพธิ์(สวาสดิ์ราษฎร์อุปถัมภ์) ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.๒๕๖๐) เพื่อให้ครู
ใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่ว่า"การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข ดังนั้นโรงเรียนวัดเนินโพธิ์ จึงกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน
๒ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ๒) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียน
มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และ มีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจ
ในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
ผลการดำเนินงาน  
2. ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียนที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง ได้แก่

๑. โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านกิจกรรมบันทึกการอ่าน กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่

๒. โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมปลอดลูกน้ำยุงลาย กิจกรรมหัวปลอดเหา กิจกรรมบริการทันตกรรม กิจกรรมการสำรวจภาวะโภชนาการของนักเรียน กิจกรรมยิ้มทุกวันฟันสะอาด

๓. โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมทำสมาธิเจริญปัญญา กิจกรรมไหว้พระ สวดมนต์ทุกวันศุกร์

๔. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมจ่ายค่าหนังสือเรียน กิจกรรมจ่ายค่าอุปกรณ์การเรียน กิจกรรมจ่ายค่าเครื่องแบบนักเรียน กิจกรรมจ่ายค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๕. โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กิจกรรมวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล กิจกรรมการวิจัยในชั้นเรียน กิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการอ่านและคัด คำใหม่และคำยาก กิจกรรมเสริมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กิจกรรมการสอนซ่อมเสริม กิจกรรมท่องสูตรคูณ กิจกรรมฝึกทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบที่หลากหลาย กิจกรรมวิเคราะห์โจทย์ปัญหา กิจกรรมสอนเสริมในเวลาพักกลางวัน กิจกรรมใช้สื่อช่วยสอน กิจกรรมสอนพิเศษวันเสาร์-อาทิตย์ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน

๓. จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

จุดเด่น

จุดที่ควรพัฒนา

สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน ๓ ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียน
ให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิต ดี กล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์
ยังต้องการรักษาระดับ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การยกระดับผลสัมฤทธิ์แต่ละกลุ่มสาระประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง นักเรียนส่วนใหญ่ยังต้องได้รับการพัฒนาต่อไป เพื่อรักษาผลสัมฤทธิ์ระดับชาติของนักเรียน
ให้พัฒนาขึ้น

จัดกิจกรรมด้านการอ่าน การเขียน คำนวณให้กับนักเรียนเรียนร่วม เปรียบเทียบความก้าวหน้า
และการพัฒนาของนักเรียนเป็นรายบุคคล

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

๑. พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์
ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น

๒. พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล

๓. พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

๔. พัฒนาให้นักเรียน มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม

๕. พัฒนาให้นักเรียน มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง

๖. พัฒนาให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ มีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการเจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น มีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพ
ในกฎกติกา

๗. พัฒนาให้นักเรียนมีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษามีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่า
ของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย

๘. พัฒนาให้นักเรียน มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1ZH4Hd9KEDhVvMw65JR-4vzpBgXs3Wa0Q/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
ระดับคุณภาพผู้เรียน:ดีเยี่ยม
๑. กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนวัดเนินโพธิ์ (สวาสดิ์ราษฎร์อุปถัมภ์)ได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา แผนกลยุทธ์
การจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีมีคำสั่งมอบหมายงานให้มีผู้รับผิดชอบจัดทำโครงการ /กิจกรรม
ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เช่นโครงการโรงเรียนวิถีพุทธโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี จัดทำสมุดบันทึกความดีให้ผู้เรียนได้บันทึกการทำความดีในแต่ละวัน กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระวันศุกร์ เข้าวัดฟังเทศน์ในวันพระ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ มีความ
อ่อนน้อม กิจกรรมอบรมหน้าเสาธง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เรียนไปปฏิบัติ
ผลการดำเนินงาน  
๒. ผลการพัฒนา

โรงเรียนวัดเนินโพธิ์ (สวาสดิ์ราษฎร์อุปถัมภ์)กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยมีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายพัฒนาการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อการผลการัดการศึกษา มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสมเป็นระเบียบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา มีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

วิธีการพัฒนา

ผลการพัฒนา

การพัฒนาครุบุคลากรทางการศึกษา

ครูทุกคนได้รับการอบรมพัฒนาทางวิชาชีพมากกว่า 2 ครั้งต่อภาคเรียน

การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา/ การให้ความรู้ในกระบวนการเรียนรู้

มีเครือข่ายกลุ่มโรงเรียนคณะกรรมการสถานศึกษา/ผู้ปกครอง/ชุมชน วิทยากรท้องถิ่นมาช่วยในการจัดการเรียนรู้

การจัดหาทรัพยากร

ผู้บริหารได้ระดมทุนทรัพยากรสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนทั้งในรูปของงบประมาณและบุคลากรที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยในการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้

การนิเทศ กำกับติดตามและประเมินผล

มีการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลจากผู้บริหารเดือนละ 1 ครั้ง

๓. จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

จุดเด่น

จุดที่ควรพัฒนา

โรงเรียนวัดเนินโพธิ์ (สวาสดิ์ราษฎร์อุปถัมภ์) มีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ มีการประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมแบบระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย
ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่มีความสอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ครูผู้สอนมีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และมีการจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา

โรงเรียนต้องเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ให้มีความเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการ
จัดการศึกษา

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

1. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน

2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อ

ผลการจัดการศึกษา
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1UAXKrk51h5B23Q2D7A9Lw7fmc6W0ByTm/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ระดับคุณภาพผู้เรียน:ดี

1. กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดเนินโพธิ์ (สวาสดิ์ราษฎร์อุปถัมภ์) ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.๒๕๖๐) ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด
ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา
ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูผลิตนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้
อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ ๑ เรื่อง
ผลการดำเนินงาน  
2. ผลการดำเนินงาน

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง ได้แก่หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมชุมนุม
ให้นักเรียนเลือกตามความถนัดและความสนใจผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง เอกสารการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียนมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกโดย
ครูมีวิจัยชั้นเรียนและนำผลไปแก้ไขปัญหาจริง ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ
เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ และครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถานศึกษาในเครือข่าย

3. จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น
จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา
ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน
โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิด
ได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้
ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้
จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการ
จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้และการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น
๑.นำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในการเรียนรู้
๒. ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1ZH4Hd9KEDhVvMw65JR-4vzpBgXs3Wa0Q/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน
สถานศึกษามีกระบวนการในการดำเนินการพัฒนา ตามแผนปฏิบัติการของโรงเรียน ปี2563โดยในส่วนของการพัฒนาสัมฤทธิ์ของผู้เรียน สถานศึกษาได้ดำเนินการตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทางการเรียนของนักเรียน ดำเนินการตามกิจกรรม, กิจกรรมอ่านหนังสือ/บันทึกการอ่าน, กิจกรรมสุภาษิตไทย, กิจกรรมสะเต็มศึกษาสู่การประกอบอาชีพตามแนวทางพระราชดำริ, วิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล, การวิจัยในชั้นเรียน, 
รวบรวมคำใหม่ คำยากและคำที่นักเรียนเขียนผิดในวิชาภาษาไทยให้นักเรียนอ่านละคัดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง, 
จัดกิจกรรมเสริมการอ่านคำภาษาอังกฤษทุกวัน, การสอนซ่อมเสริม, ท่องสูตรคูณ, ฝึกทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบที่หลากหลาย, ฝึก วิเคราะห์โจทย์ปัญหา, สอนเสริมในเวลาพักกลางวัน, ใช้สื่อช่วยสอน,สอนพิเศษวันเสาร์, 
อาทิตย์  ในภาคเรียนที่ 2, กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน, สร้างความตระหนักให้ครูและนักเรียนเห็นความสำคัญของผลการสอบ O-net, NT, Las, ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรมวิธีการ เทคนิคการสอนหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่มีคุณภาพผ่านกระบวนการตรวจสอบที่เชื่อถือ, แก้ปัญหาการเรียนการสอน, จัดทำคู่มือบัญชีคำศัพท์พื้นฐาน,จัดทำคู่มือการฝึกหัดอ่านและสื่อสาร, จัดทำสื่อเพิ่มเติม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
ระดับคุณภาพผู้เรียน:ยอดเยี่ยม
๑. กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนวัดเนินโพธิ์ (สวาสดิ์ราษฎร์อุปถัมภ์)ได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา แผนกลยุทธ์
การจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีมีคำสั่งมอบหมายงานให้มีผู้รับผิดชอบจัดทำโครงการ /กิจกรรม
ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เช่นโครงการโรงเรียนวิถีพุทธโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี จัดทำสมุดบันทึกความดีให้ผู้เรียนได้บันทึกการทำความดีในแต่ละวัน กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระวันศุกร์ เข้าวัดฟังเทศน์ในวันพระ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ มีความ
อ่อนน้อม กิจกรรมอบรมหน้าเสาธง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เรียนไปปฏิบัติ

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ระดับคุณภาพผู้เรียน:ดี

1. กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดเนินโพธิ์ (สวาสดิ์ราษฎร์อุปถัมภ์) ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.๒๕๖๐) ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด
ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา
ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูผลิตนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้
อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ ๑ เรื่อง

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

สรุปผลการดำเนินงานมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

๑.๑ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

ประเด็นพิจารณา

โครงการ/กิจกรรม

หลักฐานเชิงประจักษ์/ผลงานโดดเด่น

. มีความสามารถในการอ่าน การเขียน

การสื่อสาร และการคิดคำนวณ

โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

ผลการประเมินการอ่าน การเขียน

- แบบบันทึกการอ่าน

. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหา

โครงการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการค้นคว้าและคิดอย่างเป็นระบบ

แบบฝึกทักษะ

- ผลงานนักเรียน

. มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

กิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบาย/กิจกรรม Active learning

ผลงานนักเรียน,นวัตกรรมของครู/นักเรียน

. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

โครงการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศ

มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

๕. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา

หลักสูตรสถานศึกษา

- ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้น

ป.๑-๖

๖. มีผลการทดสอบระดับชาติ

โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา

- ผล NT , ผล O-Net

- การทดสอบชั้น ป.๑-๖

๗. มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

กิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบาย/กิจกรรม Active learning

ภาพการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

ประเด็นพิจารณา

โครงการ/กิจกรรม

หลักฐานเชิงประจักษ์/ผลงานโดดเด่น

. การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

- ภาพกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา

. ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

- ภาพกิจกรรมการร่วมในวันสำคัญต่างๆ

. การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

โครงการพิการเรียนรวม

- แผนIEP.

. สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

- แบบบันทึกน้ำหนัก/ส่วนสูงของนักเรียน

- บัตรสุขภาพ

- ภาพถ่าย

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

ประเด็นพิจารณา

โครงการ/กิจกรรม

หลักฐานเชิงประจักษ์/ผลงานโดดเด่น

. มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และ

พันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

โครงการนิเทศภายใน

- แผนปฏิบัติการ

. มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

โครงการนิเทศภายใน

- ข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน

- รายงานผลการประกันคุณภาพ

- แผนปฏิบัติการ

. ดำเนินงานพัฒนางานวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

กิจกรรมหลักสูตรสถานศึกษา

- หลักสูตรสถานศึกษา

- หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม

. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

โครงการพัฒนาบุคลากร

- บันทึกการไปราชการ

- บันทึกการอบรม/ดูงาน

- ภาพถ่าย,วิจัยชั้นเรียน

. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

- สนามเด็กเล่น

- มีห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติคอมพิวเตอร์

6. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

โครงการข้อมูลสารสนเทศ

-ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

มาตรฐานที่ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1ADNb0BeMbGRneteh9Rj6TdBrwuGRCgCw/view?usp=sharing