ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน
ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
โรงเรียนบ้านศรัทธาตะพง ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
ให้มีทักษะวิชาการและศักยภาพ
เป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) โดยมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1 เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนทักษะด้านอื่นๆต่อไป
และส่งเสริมทักษะการอ่านเขียนทุกระดับชั้นผ่านการเรียนการสอนในห้องเรียน
และกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมประกวดในวันสำคัญต่างๆ กิจกรรมรักการอ่าน
โครงการห้องสมุดมีชีวิต
นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
จากโครงการ/กิจกรรมต่างๆของทางโรงเรียน เช่น กิจกรรมวันสุนทรภู่
กิจกรรมภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ-สุภาษิตวันละคำ กิจกรรมห้องสมุด กิจกรรมวันคริสต์มาส
กิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่ กิจกรรมวันพระ กิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านต่างๆทั้งเรื่อง
สุรา/ยาเสพติด การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และเพศวิถีศึกษา เป็นต้น
ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆให้มีประสิทธิภาพ
โรงเรียนบ้านศรัทธาตะพงจึงมีกระบวนการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาทุกคนผ่านการประชุมครูเป็นประจำทุกเดือน
เพื่อพูดคุยสอบถาม ให้คำแนะนำปัญหาของครูในแต่ละฝ่ายงานและแต่ละระดับชั้น
มีการส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมทางระบบออนไลน์จากต้นสังกัดรวมถึงหน่วยงานอื่นๆ
เพื่อเพิ่มศักยภาพของครู พัฒนาทักษะและนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับบริบทของโรงเรียน
ชุมชน และผู้เรียน มีการสังเกต เก็บข้อมูล
และค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละชั้นเรียน มาพูดคุยเพื่อแก้ไขปัญหาผ่านกระบวนการ PLC
(Professional Learning Community) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการแก้ปัญหา
พัฒนานักเรียนหรือกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงครูทุกคนจะต้องพัฒนานวัตกรรม
แก้ไขและพัฒนาผู้เรียนโดยการทำวิจัยในชั้นเรียนทุกปีการศึกษา
จากกระบวนการทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น
ทำให้ผู้เรียนมีผลการพัฒนาในด้านต่างๆ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
- ผู้เรียนที่มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร
และการคิดคำนวณระดับดี คิดเป็นร้อยละ 86.36
- ผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับดีขึ้นไป
คิดเป็นร้อยละ
88.63
- ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
คิดเป็นร้อยละ 95.45
- ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
คิดเป็นร้อยละ 95.45
- ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
ในระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 59.09
- ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
มีผลการประเมินการอ่านการเขียน RT เพิ่มขึ้น
+10.88
- ผู้เรียนมีผลการทดอบระดับชาติ NT ลดลง -15.45
- ผู้เรียนมีผลการทดสอบระดับชาติ O-NET เพิ่มขึ้น +4.62
- ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
อยู่ในระดับดีเยี่ยม
มาตรฐานที่ 2
กระบวนการบริหารและการจัดการ
ระดับคุณภาพ ดี
โรงเรียนบ้านศรัทธาตะพง
มีกระบวนการบริหารและการจัดการเพื่อให้ผลการจัดการศึกษาเป็นไปตามเป้าประสงค์
โดยมีการประสานความร่วมมือจากทั้งผู้บริหาร คณะครู บุคลากร และกรรมการสถานศึกษาทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะ
ให้ข้อคิดเห็นในการดำเนินงานของสถานศึกษา มีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา
ผลการจัดการศึกษา มีการนิเทศ ติดตาม
ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น
จากบุคลากรในสถานศึกษาและกรรมการสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย
ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ
กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับ
แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา
และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถตรงตามมาตรฐานวิชาชีพ
มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
และการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน
กำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษา
มีการมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนา และสรุปผลการดำเนินงาน นำผลการดำเนินงานที่มีปัญหามาวางแผนการพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป
มาตรฐานที่ 3
กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้
ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง
ซึ่งมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริงมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็น
โดยผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะ แสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้
นำเสนอผลงาน มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้
รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้
ซึ่งครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก
ให้เด็กรักครู ให้ครูรักเด็ก เด็กรักเด็กและเด็กรักที่จะเรียนรู้
สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข
โดยมีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัด
ประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน
เพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ อีกทั้งครูและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
รวมทั้งให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้