รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

แนวทางการพัฒนาในอนาคต

1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น

2. การส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดทำการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ

3. การพัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผลการนำไปใช้และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

4. การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียน บ้านเขาแก้ววิทยา ที่อยู่101 หมู่7 ตำบลเขาแก้ว อ. ท่าใหม่ จ. จันทบุรี

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต1….

โทร.........

โทรสาร...................

e-mail........kkw.kkw2561@gmail.com

เปิดสอนระดับชั้น อนุบาล1ถึงระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

สภาพชุมชนโดยรวม

สภาพชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนมีลักษณะ. อยู่ใกล้เทือกเขาแก้วกำปราง สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา ลูกเนิน ลูกคลื่น เส้นทางคมนาคมในหมู่บ้านยังเป็นทางลูกรังส่วนใหญ่ ประชากรที่อยู่อาศัยยังเป็นชุมชนที่มาบุกเบิกที่ทำกินใหม่ ไม่ใช่คนในพื้นที่ดั้งเดิม มาจากหลากหลายจังหวัด เจ้าของที่ดินมักจะไม่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ ปลูกบ้านอยู่ห่างกันกระจายไปทั่วตามพื้นที่ที่ประกอบอาชีพรับจ้าง และทำสวนผลไม้ กรีดยางพารา ทำไร่มันสำปะหลังมีประชากรโดยรวมประมาณ 283 ครอบครัว ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง.( 60 %) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 40 % สภาพฐานะทางเศรษฐกิจโดยรวมยังมีฐานะยากจนเป็นส่วนมาก และส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ (...95..%) ในชุมชนมีประเพณี / วัฒนธรรมท้องถิ่นที่รู้จักโดยทั่วไป คือการบวช การแต่งงาน การทำบุญ ทอดผ้ากฐิน ทอดผ้าป่า และงานประจำปีของวัด เหมือนในท้องถิ่น อื่น ๆ ทั่วไป
ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบอาชีพรับจ้าง ( 60 %) อาชีพเกษตรกรรม ( 40 %) มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัวปีละประมาณ 80,000 บาท ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ( 95 %) จำนวนคนในครอบครัวของผู้ปกครองโดยเฉลี่ยครอบครัวละประมาณ 4 คน และมีผู้ปกครองที่มีความสามารถเป็นวิทยากร /ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ ....10...คน
โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา

ด้านโอกาส

โรงเรียนอยู่ในสภาพชุมชน และการประกอบอาชีพส่วนใหญ่เป็นอาชีพเกษตรกรรมที่หลากหลายชนิด ได้แก่ สวนผลไม้ต่าง ๆ กรีดยางพารา ไร่มันสำปะหลัง ไร่สับปะรด เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา เหมาะแก่การเรียนรู้ด้านอาชีพเกษตรกรรมให้แก่นักเรียน และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเทือกเขาแก้วกำปราง และเนินเขาเตี้ย ๆ อีกมากมายที่เหมาะกับการศึกษาเรียนรู้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และชีวิตสัตว์ป่านานาชนิด และนอกจากนั้นการบริหารจัดการโรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน มีผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำท้องถิ่น และชุมชนที่มีความสามารถเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมจัดการเรียนรู้ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน และให้ความร่วมมือกับคณะครู และนักเรียนเป็นอย่างดี ได้แก่
1.) การทำสวนผลไม้ การกรีดยางพารา การปลูกมันสำปะหลัง การปลูกสับปะรด โดยภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ปกครองนักเรียน ครู และวิทยากร
2.) การทำปุ๋ยหมักเกษตรอินทรีย์ การเพาะถั่วงอกโดยใช้ระบบน้ำหยด โดยกลุ่มธุรกิจ SML และผู้นำหมู่บ้าน
3.) เลี้ยงปลาน้ำจืดในบ่อดิน โดยกลุ่มสนใจนักเรียน ครู
4.) การทำไม้กวาดดอกหญ้า การทำอาหารพื้นบ้าน การทำขนมไทย การแปรรูปผลไม้ โดยกลุ่มแม่บ้าน ผู้ปกครองนักเรียน ครู และ อสม.
5.) การเล่นกีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล เปตอง กีฬาพื้นบ้าน โดย อบต.เขาแก้ว ผู้นำหมู่บ้าน และครู เป็นต้น
6.) แหล่งโบราณคดีบ้านคลองเหล็กบน และธรรมชาติแวดล้อมเทือกเขาแก้วกำปราง โดย ครู คณะนักเรียนมัคคุเทศก์น้อย ผู้นำชุมชน สมาชิก สกว.จันทบุรี และอบต.เขาแก้ว
7.) การบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธ การเสริมสร้างคุณธรรมนักเรียน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเรียนรู้หลักธรรมธรรมศาสนาพุทธ โดยเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว และคณะครู
ด้านข้อจำกัด โรงเรียนอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากแหล่งชุมชนใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่มาอาศัยอยู่ทำกินใหม่ เจ้าของที่ดินมักไม่อยู่ในพื้นที่ คนที่อยู่ในพื้นที่จริงมักเป็นคนงานรับจ้าง หรือผู้รับจ้างเหมาเช่าทำกินมาอยู่แทน สภาพเศรษฐกิจในชุมชนมีฐานะยากจนเป็นส่วนใหญ่ มีเวลาให้กับโรงเรียนได้น้อยเนื่องจากต้องยุ่งกับการประกอบอาชีพไม่สามารถที่จะมาร่วมกิจกรรมได้เต็มที่ พื้นฐานความรู้ของประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และบางคนเรียนไม่จบ จึงไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาไม่อยากส่งให้นักเรียนมาเข้าเรียน หรือเรียนจบชั้น ป.6 แล้วไม่อยากให้ศึกษาต่อ เนื่องจากต้องการอาศัยแรงงานจากเด็กออกมาช่วยงานหารายได้ช่วยเหลือครอบครัว นักเรียนที่เรียนต่อส่วนใหญ่ต้องมาโรงเรียนสาย อดนอน เรียนไม่รู้เรื่อง เนื่องจากต้องช่วยพ่อแม่ตัดยางพาราตอนดึก และเก็บน้ำยางพาราตอนเช้าก่อนมาโรงเรียน สภาพครอบครัวนักเรียนส่วนหนึ่งมีปัญหาครอบครัวแตกแยก พ่อแม่เลิกกัน ทิ้งลูกให้อยู่กับญาติ นักเรียนเหล่านี้มักขาดที่พึ่ง เบื่อเรียน หนีเรียนมั่วสุมกับเพื่อนรุ่นพี่


การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์ (Vision)

"จัดการศึกษาให้นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงมีคุณธรรมตามแนววิถีพุทธ รักสามัคคี มีประชาธิปไตย มีความรู้ความสามารถ มีทักษะอาชีพได้มาตรฐานคุณภาพการศึกษาเป็นคนดี คนเก่ง อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รักษามรดกวัฒนธรรม และภูมิใจความเป็นไทย

พันธกิจ ( Mission)

1. จัดการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างทั่วถึงได้มาตรฐานคุณภาพการศึกษา

2. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณธรรมตามแนววิถีพุทธ รักความสามัคคี มีประชาธิปไตย รักษ์สิ่งแวดล้อม ภูมิใจความเป็นไทย

3. นักเรียนทุกคนมีความรู้ความสามารถ และทักษะอาชีพได้มาตรฐาน

4. บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานแหล่งเรียนรู้ด้วยข้อมูลสารสนเทศ

5. ประสานชุมชน ร่วมใจพัฒนาโดยระบบเครือข่ายผู้ปกครอง

6. พัฒนาอาคาร สถานที่ และสิ่งแวดล้อมให้สวยงาม สะอาด มีบรรยากาศน่าอยู่ น่าเรียน

เป้าประสงค์ (Goal)

1. เพื่อให้เด็กวัยก่อนเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ อนุบาลปีที่ 1 – 3 ได้รับการพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์

สังคม และสติปัญญาตามศักยภาพ ได้มาตรฐานคุณภาพการศึกษาปฐมวัย และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 ให้มีความพร้อมที่จะเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่1

2. เพื่อให้เด็กที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับทุกคนได้เรียนอยู่ในโรงเรียนจนจบหลักสูตรการศึกษา

ภาคบังคับ และ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ..2542 (ฉบับปรับปรุง 2545)

3. เพื่อให้นักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.1 – .3 มีความรู้ ทักษะเจตคติสามารถอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสื่อความ และ

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 โดยมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร และความต้องการของท้องถิ่น ได้มาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4. เพื่อให้นักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ได้มีโอกาสศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเป็นการสร้างความพร้อมในการศึกษาต่อและเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสามารถสื่อสารแลกเปลี่ยน

เรียนรู้ และประกอบอาชีพอิสระได้

5. เพื่อพัฒนานักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วให้มีความรู้

ความสามารถทั้งทางด้านวิชาการ วิชาชีพและศักยภาพเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับสังคมชุมชน โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างดี มีคุณภาพได้มาตรฐานคุณภาพการศึกษา ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาและพัฒนาตนเองให้ทันสมัยทันโลกพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และได้ศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือสายอาชีพต่อไป

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 16 0 2 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โครงสร้างเวลาเรียนของโรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา ปีการศึกษา 2563
ระดับประถมศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6
กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย 160 160 160 160 160 160
คณิตศาสตร์ 160 160 160 160 160 160
วิทยาศาสตร์ 120 120 120 120 120 120
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 120 120 120 120 120 120
- ประวัติศาสตร์ 40 40 40 40 40 40
- ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 80 80 80 80 80 80
- หน้าที่พลเมืองวัฒนธรรม
และการดำเนินชีวิตในสังคม
- เศรษฐศาสตร์
- ภูมิศาสตร์
สุขศึกษาและพลศึกษา 80 80 80 80 80 80
ศิลปะ 80 80 80 120 120 120
การงานอาชีพและเทคโนโลยี 40 40 40 40 40 40
ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) 120 120 120 80 80 80
รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน) 880 880 880 880 880 880
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 120 120 120 120 120 120
—ลูกเสือ เนตรนารี 40 40 40 40 40 40
—ชมรม 40 40 40 40 40 40
—แนะแนว 40 40 40 40 40 40
รายวิชา/กิจกรรมที่สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้น 160 160 160 160 160 160
—คณิตศาสตร์เพิ่มเติม - - - 80 80 80
—หน้าที่พลเมืองเพิ่มเติม 40 40 40 40 40 40
—หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา 40 40 40 40 40 40
—ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 80 80 80 - - -
รวมเวลาเรียนทั้งหมด 1,160 1,160 1,160 1,160 1,160 1,160
โครงสร้างเวลาเรียนของโรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา ปีการศึกษา 2563
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม ม.1 ม.2 ม.3
ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย 60 60 60 60 60 60
คณิตศาสตร์ 60 60 60 60 60 60
วิทยาศาสตร์ 60 60 60 60 60 60
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 80 80 80 80 80 80
- ประวัติศาสตร์ 20 20 20 20 20 20
- ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 60 60 60 60 60 60
- หน้าที่พลเมืองวัฒนธรรม
และการดำเนินชีวิตในสังคม
- เศรษฐศาสตร์
- ภูมิศาสตร์
สุขศึกษาและพลศึกษา 40 40 40 40 40 40
ศิลปะ 40 40 40 40 40 40
การงานอาชีพและเทคโนโลยี 40 40 40 40 40 40
ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) 60 60 60 60 60 60
รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน) 440 440 440 440 440 440
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 60 60 60 60 60 60
—ลูกเสือ เนตรนารี 20 20 20 20 20 20
—ชมรม 20 20 20 20 20 20
—แนะแนว 20 20 20 20 20 20
รายวิชา/กิจกรรมที่สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้น 100 100 100 100 100 100
—คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 40 40 40 40 40 40
—หน้าที่พลเมืองเพิ่มเติม 20 20 20 20 20 20
—หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา 20 20 20 20 20 20
—ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 20 20 20 20 20 20
รวมเวลาเรียน 600 600 600 600 600 600
รวมเวลาเรียนทั้งหมด 1,200 1,200 1,200


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

  • อาคารเรียน 5 หลัง
  • อาคารอเนกประสงค์/โรงอาหาร/โรงฝึกงาน  7  หลัง  ได้แก่  อาคารอนุบาล  โรงอาหาร  อาคารเกษตร  โรงเพาะเห็ด  อาคารสหกรณ์  โรงครัว  อาคารเก๋็บน้ำกินน้ำใช้
  • บ้านพักครู 2 หลัง
  • ส้วม  5  หลัง
  • สนามเด็กเล่น 2 สนาม
  • บ่อเลี้ยงปลา 1 บ่อ
  • สนามกีฬา 2 สนาม ได้แก่  สนามฟุตบอล  สนามบาสเก็ตบอล
  • ถังเก็บน้ำ 4  ถัง


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/drive/folders/1uCSdizxdfijgn2wfhSvj0lgYKnbWtGes?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

  • มีห้องสมุด  อยู่ในอาคารเรียน ขนาด.............1..............ห้องเรียนมีจำนวนหนังสือในห้องสมุดทั้งหมด.......5,000.......เล่ม มีการสืบค้นหนังสือและการยืม – คืนหนังสือด้วยระบบ....ดิวอี้..................... จำนวนนักเรียนที่ใช้ห้องสมุดในปีการศึกษานี้  คิดเป็นเฉลี่ยร้อยละ.......78......./  วัน
  • จำนวนนักเรียนที่สามารถสืบค้นข้อมูลความรู้ต่าง ๆ จากอินเทอร์เน็ต  เฉลี่ยร้อยละ..30..
  •  ภูมิปัญญาท้องถิ่น / วิทยากรที่โรงเรียนเชิญมาให้ความรู้แก่นักเรียน / ครู  ในปีการศึกษานี้

                    1)   นายประดิษฐ์    ชมจิตร..........ให้ความรู้เรื่อง  แหล่งโบราณคดีบ้านคลองเหล็กบน...

                    2)   นางกัลยา   ไชยเสนาะ..........ให้ความรู้เรื่อง แหล่งโบราณคดีบ้านคลองเหล็กบน...

                    3)  นายวิม   ขำเจริญ................ให้ความรู้เรื่อง ปุ๋ยเกษตรอินทรีย์  กองทุนหมู่บ้าน

                    4)  นายกิ่ม    สัญญะรัตน์...........ให้ความรู้เรื่อง  การทำสวนผลไม้

                    5)   นางชะเอม   สัญญะรัตน์.......ให้ความรู้เรื่อง การทำน้ำยาล้างจาน  ไม้กวาด...

                    6)  นายสมร   แก้วอุไร...............ให้ความรู้เรื่อง การเพาะถั่วงอก  หมอดินหมู่บ้าน

                    7)   นางสาวบุษรา   สีเชียว........ให้ความรู้เรื่อง การทำพวงมะโหด  งานประดิษฐ์

                    8)   นายวินัย   แก้วอุไร..............ให้ความรู้เรื่อง การประดิษฐ์  งานช่างไม้  ช่างปูน

                    9)   นางพิไล   เทียนวิชัย............ให้ความรู้เรื่อง การทำอาหารพื้นบ้านไทย

                    10)   พระมหาสุเทพ  สุภาจาโร....ให้ความรู้เรื่อง  หลักสูตรพุทธศาสนา

                    11)  นายเจริญ   ศุภประเสริฐ.....ให้ความรู้เรื่อง  งานช่างปูน  ช่างไม้

                    12)   น.ส.ชนิตา   จาวไข่.............ให้ความรู้เรื่อง   การทำบัญชีรับจ่ายในครัวเรือน

  • ห้องสหกรณ์
  • ห้องปฏิบัติการทางภาษา
  • ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
  • แปลงเกษตร
  • บ่อดินเลี้่ยงปลา
  • ห้องเพาะเห็ดนางฟ้า
  • ห้องดนตรี
  • ห้องนาฏศิลป์


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา            โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา จัดการเรียนการสอนใระดับปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพโดยการยึดหรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนได้ศึกษาเป้าหมายของหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560 และนำความรู้จากหลักสูตร มาจัดทำเป็นหลักสูตรของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยในบริบทเหมาะสมกับชมชน มีความสุขกับการเรียน ปลูกฝังระเบียบวินัยที่เหมาะสม และจัดทำแผนการจัดประสบการณ์โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นำวิธีการประเมินผลการเรียนการสอนมาใช้พัฒนานักเรียน ครูผู้สอนจึงได้จัดระบบงานที่ตนเองปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญตามวิธีการดังนี้ 1. ศึกษาเอกสาร2. วิเคราะห์ศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล 3. จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4.ประเมินพัฒนาการตามหลักสูตร โดยใช้เทคนิคการสอนแบบบูรณาการสื่อการสอน ได้แก่ สื่อประเภทของจริง สื่อรูปภาพ สื่อสัญลักษณ์ สื่อที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน การประเมินผล ได้ใช้วิธีการสังเกต สัมภาษณ์ ตรวจผลงาน การประเมินผลตามสภาพจริง ในด้านการจัดสภาพแวดล้อม ได้จัดให้มีการซ่อมแซมอาคารเรียน และสภาพแวดล้อมภายในภายนอกให้มีความปลอดภัย มีการจัดสื่อการเรียนรู้ มีการจัดสรรสื่อให้เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน รวมถึงอุปกรณ์ของใช้ส่วนตัวให้มีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน
ผลการดำเนินงาน  นักเรียนมีพัฒนาการทั้งด้านเหมาะสมตามช่วงวัย มีระเบียบวินัยและความพร้อม ด้านร่างกาย มีร่างกายแข็งแรง เจริญเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดีเป็นไปตามช่วงวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ดูแลความปลอดภัยตนเองได้ ด้านสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ด้านอารมณ์จิตใจ มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ด้านสติปัญญา มีการเรียนรู้ การจดจำ มีทักษะการคิด การตัดสินใจที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ ดังตารางต่อไปนี้
รายงาน
ข้อมูลเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา
ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์รายด้านในระดับดี
โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา ปีการศึกษา 2563
ส่วนบนของฟอร์ม

 


ระดับชั้น

จำนวนเด็กปฐมวัยทั้งหมด

จำนวนเด็กปฐมวัยที่ปกติทั้งหมด

จำนวนเด็กปฐมวัยที่มีความบกพร่องทั้งหมด

เด็กปฐมวัยที่ปกติมีพัฒนาการในระดับดี (คน)

เด็กปฐมวัยที่ปกติผ่านเกณฑ์
การประเมินคุณภาพระดับดี ทั้ง 4 ด้าน

ด้านร่างกาย

ด้านอารมณ์-จิตใจ

ด้านสังคม

ด้านสติปัญญา

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

อนุบาล
ปีที่ 1

20

20

0

20

100.00

20

100.00

19

95.00

16

80.00

16

80.00

อนุบาล
ปีที่ 2

15

15

0

15

100.00

15

100.00

15

100.00

12

80.00

12

80.00

อนุบาล
ปีที่ 3

31

31

0

31

100.00

28

90.32

28

90.32

27

87.10

27

87.10

รวม

66

66

0

66

100.00

63

95.45

62

93.94

55

83.33

55

83.33

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาได้ดำเนินการ โดยมีแนวทางในการจัดการบริหาร ดังนี้ ให้ครูผู้สอนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับบริบทและหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560 เป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านการเรียนรู้ด้วยการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามศักยภาพ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบบูรณาการสื่อการสอน มีการประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีแนวทางการสรรงบประมาณในการจัดจ้างครูผู้สอนให้เพียงพอต่อการจัดชั้นเรียน จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่อการพัฒนาเด็กทั้งด้านร่างกายอารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนมีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดตามลำดับ
ผลการดำเนินงาน  โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา มีการบริหารและมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารสถานศึกษากับบุคลากรในโรงเรียน ในการประชุมระดมสมอง  เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการปรับแผนที่วางไว้ เพื่อให้ตรงตามแผนปฏิบัติการ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และนโยบายของสถานศึกษา ซึ่งครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และได้ใช้กระบวนการวิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาในปีต่อๆ ไป โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา  ได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ซึ่งเกิดจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมและดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมโดยการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลของครู การพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในด้านการศึกษาปฐมวัย ครูมีความรู้และเข้าใจปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและสามารถจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล บริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการของเด็ก และสรุปรายงานผลพัฒนาการของเด็กให้ผู้ปกครองทราบพร้อมกับช่วยกันหาแนวทางพัฒนาบุตรหลานร่วมกัน จัดสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของเด็ก
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา จัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพโดยการยึดหรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนได้ศึกษาเป้าหมายของหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560  และนำความรู้จากหลักสูตร มาจัดทำเป็นหลักสูตรของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยในบริบทเหมาะสมกับชมชน และจัดทำแผนการจัดประสบการณ์โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นำวิธีการประเมินผลการเรียนการสอนมาใช้พัฒนานักเรียน  ครูผู้สอนจึงได้จัดระบบงานที่ตนเองปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญตามวิธีการดังนี้ 

1. ศึกษาเอกสาร 2. วิเคราะห์ศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล 3. จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ4.ประเมินพัฒนาการตามหลักสูตร โดยใช้เทคนิคการสอนแบบบูรณาการสื่อการสอน  ได้แก่ สื่อประเภทของจริง  สื่อรูปภาพ สื่อสัญลักษณ์ สื่อที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน การประเมินผล ได้ใช้วิธีการสังเกต  สัมภาษณ์  ตรวจผลงาน การประเมินผลตามสภาพจริง และจัดให้มีการซ่อมแซมอาคารเรียน และสภาพแวดล้อมภายในภายนอกให้มีความปลอดภัยมีการจัดสรรสื่อให้เพียงต่อจำนวนนักเรียน
ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา มีเด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้มีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ และสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศที่เอื้อการเรียนรู้ ใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กในชั้นเรียนที่มีความหลากหลายทางด้านเชื่อชาติ ซึ่งส่งผลตามตารางการประเมินพัฒนาการ ดังนี้



ระดับชั้น

จำนวนเด็กปฐมวัยทั้งหมด

จำนวนเด็กปฐมวัยที่ปกติทั้งหมด

จำนวนเด็กปฐมวัยที่มีความบกพร่องทั้งหมด

เด็กปฐมวัยที่ปกติมีพัฒนาการในระดับดี (คน)

เด็กปฐมวัยที่ปกติผ่านเกณฑ์
การประเมินคุณภาพระดับดี ทั้ง 4 ด้าน

ด้านร่างกาย

ด้านอารมณ์-จิตใจ

ด้านสังคม

ด้านสติปัญญา

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

อนุบาล
ปีที่ 1

20

20

0

20

100.00

20

100.00

19

95.00

16

80.00

16

80.00

อนุบาล
ปีที่ 2

15

15

0

15

100.00

15

100.00

15

100.00

12

80.00

12

80.00

อนุบาล
ปีที่ 3

31

31

0

31

100.00

28

90.32

28

90.32

27

87.10

27

87.10

รวม

66

66

0

66

100.00

63

95.45

62

93.94

55

83.33

55

83.33


โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา มีการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

  •  เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับช่วงวัย มีความพร้อมในการเรียนในระดับสูงขึ้นต่อไป และมีความสุขในการเรียน
  • ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา โดยให้ความสำคัญกับนักเรียนทุกคน

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จุดเด่น

จุดควรพัฒนา

1. คุณภาพของเด็ก
นักเรียนมีพัฒนาทั้ง  4  ด้านเหมาะสมตามช่วยวัย มีระเบียบวินัยและความพร้อม ด้าน
ร่างกาย มีร่างกายแข็งแรง เจริญเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดีเป็นไปตามช่วงวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ดูแลความปลอดภัยตนเองได้ ด้านสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ด้านอารมณ์จิตใจ มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ด้านสติปัญญา มีการเรียนรู้ การจดจำ มีทักษะการคิด การตัดสินใจที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์

1. คุณภาพของเด็ก
 โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา มีจำนวนนักเรียนที่เพิ่มจำนวนขึ้นในทุกปี และมีความหลากหลายทางเชื่อชาติ ดังนั้น สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน รวมถึงการจัดบรรยากาศและความปลอดภัย จำนวนสื่อและอุปกรณ์ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็ก จุดที่ควรพัฒนาอย่างเร่งด่วนคือ อุปกรณ์ในและนอกห้องเรียน อาทิ  สื่อการเรียนรู้ ของเล่นเด็ก ชั้นวางกระเป๋า ตู้เก็บผลงานนักเรียน ตู้จัดวางสื่อตามมุม โต๊ะเรียน  โทรทัศน์ดิจิตอล และเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น เป็นต้น

2. กระบวนการบริหารและการจัดการ
โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา มีการบริหารและมีการจัดการอย่างเป็นระบบ  เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารสถานศึกษากับบุคลากรในโรงเรียน ในการประชุมระดมสมอง  เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการปรับแผนที่วางไว้ เพื่อให้ตรงตามแผนปฏิบัติการ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และนโยบายของสถานศึกษา ซึ่งครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และได้ใช้กระบวนการวิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาในปีต่อๆ ไป

2. กระบวนการบริหารและการจัดการ
โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา มีจำนวนนักเรียนที่เพิ่มจำนวนขึ้นในทุกปี และมีความหลากหลายทางเชื่อชาติ ดังนั้น จึงควรจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เครื่องเล่นสนามและสื่อเพื่อการเรียนรู้ให้หลากหลาย อย่างปลอดภัย และพอเพียงต่อจำนวนนักเรียน

3. การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา มีการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

  •  เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับช่วงวัย มีความพร้อมในการเรียนในระดับสูงขึ้นต่อไป และมีความสุขในการเรียน
  • ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา โดยให้ความสำคัญกับนักเรียนทุกคน

3. การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
 โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา ควรพัฒนาในเรื่อง สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน รวมถึงการจัดบรรยากาศและความปลอดภัยในการใช้และจำนวนสื่อและอุปกรณ์ที่มีไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็กที่มากขึ้น และมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา จะดำเนินการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ ให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการ การพัฒนาของโรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี จัดให้สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐาน ตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้องครบถ้วนทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

  • ·       โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้มีส่วนได้ส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ
  • ·       ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและรับทราบรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา
  • ·       โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา มีการนิเทศกำกับติดตามและประเมินผลการบริหาร และการจัดการศึกษาที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
  • ·       โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา มีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาลและแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา

โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา จะส่งเสริมเด็กปฐมวัยโดยมีการดำเนินการจัดกิจกรรมและโครงการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคมและสติปัญญา ตามโครงการและกิจกรรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด ได้แก่

  • โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ใน-นอกโรงเรียน (จัดบรรยากาศในห้องเรียนและจัดสภาพแวดล้อมระดับปฐมวัย (อ. 1-3))
  • โครงการหนูน้อยสุขภาพดี  (เพื่อพัฒนาร่างกายของเด็กปฐมวัย)
  •  กิจกรรมหนูน้อยจิตอาสาตามรอยพ่อ
  • กิจกรรมธรรมะสวัสดี
  • กิจกรรมยิ้มใสไหว้สวย
  • โครงการการศึกษาแหล่งเรียนรู้
  • โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
  • จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ในทุกชั้นเรียน
  • จัดเรียนรู้แบบ STEM
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียนเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก เน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดโดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นป.1 - ป.6 พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด 3 D ห้องคอมพิวเตอร์ครูในช่วงชั้นเดียวกันร่วมกันกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน และร่วมจัดทำแผนการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย ในระดับชั้น ป.1-2 ทำแผนพัฒนาความสามารถในการอ่านของผู้เรียน "ชุดแบบวัดความสามารถในการอ่าน” ในระดับชั้น ป.3-4 ทำแผนพัฒนาความสามารถในการคิดคำนวณของผู้เรียน "ชุดแบบฝึกการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์” ในระดับชั้น ป.5-6 ทำแผนพัฒนาความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของผู้เรียน "ชุดจับศัพท์หาภาพ จับภาพหาศัพท์” ในระดับชั้นม.1-3 ทำแผนพัฒนาความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของผู้เรียน "ชุดคลังคำศัพท์ พิชิตโอเน็ต” นอกจากนี้สถานศึกษาได้มีการดำเนินการพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน และตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา "ป้องกันการทุจริต” โครงการโรงเรียนสุจริต โดยการจัดทำบริษัทสร้างการดี สาขาย่อยโรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น "โครงงานอาชีพธุรกิจคุณธรรม
CSR : ร้านค้าสร้างเสริมอาชีพ :นักเรียนสร้างจิตอาสา” และบริษัทสร้างการดี ในระดับชั้นประถมศึกษา "โครงงานอาชีพเลี้ยงไก่ไข่” โดยจัดกิจกรรมการเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ เน้นการป้องกัน ปลูกฝังนักเรียนให้ตระหนักรู้ เข้าใจ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นคนเก่งในการเรียนรู้ เป็นคนดี มีกิริยามารยาท รู้จักการทำมาหากิน สร้างชีวิตให้รุ่งเรืองได้ ซึมซับคุณค่าแห่งการทำความดี สร้างความรู้สึก รับผิดชอบในบริบทของสังคมไทยในปัจจุบัน ปลูกฝังค่านิยมไม่ทุจริตให้กับนักเรียน ให้มีจิตสำนึกของการมีคุณธรรม ไม่มุ่งหวังแต่ผลประโยชน์ส่วนตน ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนที่ผ่านกระบวนการ เป็นนักเรียนที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชาติบ้านเมือง มีความรักชาติในทางที่ถูก ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณธรรมผู้เรียน มีระบบการแนะแนวและการดูแลสุขภาวะจิต นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอน มีการเข้าไปศึกษากับภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยาได้จัดกิจกรรม อย.น้อย ให้ความรู้เรื่องอาหารที่มีพิษภัยและส่งเสริมการออกกำลังกายตอนเช้า เพื่อให้ผู้เรียนมีสุขภาพที่ดีและมีที่ร่างกายแข็งแรง เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของโรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา "ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง” และจัดกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ เช่น โครงงานอาชีพขนมทองม้วนกะทิสด โครงงานอาชีพขนมกะหรี่พับ โครงงานอาชีพการจักสานชะลอมไม้ไผ่ การเพาะเห็ดนางฟ้า การเลี้ยงไข่ไก่และการเลี้ยงปลาน้ำจืด เป็นต้น


ผลการดำเนินงาน  

ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการผู้เรียนมีผลการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถในการอ่าน ชั้น ป.1 ด้านการอ่านออกเสียง มีค่าเฉลี่ย 46.66 ด้านการอ่านรู้เรื่อง มีค่าเฉลี่ย 49.80 ทั้ง 2ด้าน รวมกัน มีค่าเฉลี่ย 48.23 ซึ่งต่ำกว่าปีการศึกษา 2562 ร้อยละ3.09 ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทย มีค่าเฉลี่ย 57.18 วิชาคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 27.14 วิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 32.87 และวิชาภาษาอังกฤษ มีค่าเฉลี่ย 36.43 ทั้ง 4 วิชามีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ แต่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าปีการศึกษา 2562 และผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิชาภาษาไทย มีค่าเฉลี่ย 58.46 ซึ่งต่ำกว่าระดับประเทศ วิชาคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 22.46 วิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 26.57 และวิชาภาษาอังกฤษ มีค่าเฉลี่ย 32.81 ทั้ง 3 วิชาหลัง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ แต่มีค่าเฉลี่ยทั้ง 4 วิชาต่ำกว่า ปีการศึกษา 2562

นักเรียนร้อยละ 60 มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารภาษาอังกฤษ เช่นบทสนทนาเบื้องต้น การแนะนำตนเอง การแนะนำครอบครัว โดยกิจกรรมสาระเพิ่มเติมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

และกิจกรรมพัฒนาคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการPLC คลังคำศัพท์พิชิตโอเน็ต โดยใช้นวัตกรรม "จำไทยได้อังกฤษ” นักเรียนร้อยละ 50 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา โดยจัด1 กิจกรรมการสอนโดยใช้active Learning และการสอนด้วยโครงงาน เช่นโครงงานอาชีพ ,โครงงานคุณธรรม,โครงงานวิทยาศาสตร์ และฝึกนักเรียนในการนำเสนอผลงานของนักเรียนนักเรียนร้อยละ 60 มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ความสามารถในการรวบรวมความรู้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จากการจัดการเรียนการสอนโครงงานต่างๆ เช่นโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง แชมพูกำจัดเห็บ น้ำสมุนไพรกำจัดเหา เกมบันไดงู (วิทย์) กล่องไฟฟ้าทดสอบความรู้ทั่วไป และเกมคอมพิวเตอร์ นักเรียนร้อยละ 80 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ จากผลการประเมินวิชาคอมพิวเตอร์ ความสารมารถในการใช้เทคโนโลยีในรายวิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ E-Learning และแบบทดสอบอิเล็กทรอนิกส์ ผลงานนักเรียน
ด้านการจัดทำวิดีทัศน์เรื่องการศึกษาแหล่งที่มาของโบราณวัตถุที่พบในพื้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านคลองเหล็กบน และขนมทองม้วนกะทิสดการจัดทำ
Power Point เรื่องแหล่งโบราณคดีบ้านคลองเหล็กบน บทเรียนสำเร็จรูป การสร้างเพจขายสินค้า สร้างตราสินค้าสินค้าโครงงานอาชีพต่างๆ เช่น ชะลอม,ชะลอมปิ่นโต ขนมทองม้วนกะทิสด และแชมพูสระผม เป็นต้น นักเรียนร้อยละ 90 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยรวมตามหลักสูตรสถานศึกษาระดับ 2 ขึ้นไป นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกคนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานต่องานอาชีพอย่างน้อย1 อย่าง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียนเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก เน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดโดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นป.1 - ป.6 พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด 3 D ห้องคอมพิวเตอร์ครูในช่วงชั้นเดียวกันร่วมกันกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน และร่วมจัดทำแผนการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย ในระดับชั้น ป.1-2 ทำแผนพัฒนาความสามารถในการอ่านของผู้เรียน "ชุดแบบวัดความสามารถในการอ่าน” ในระดับชั้น ป.3-4 ทำแผนพัฒนาความสามารถในการคิดคำนวณของผู้เรียน "ชุดแบบฝึกการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์” ในระดับชั้น ป.5-6 ทำแผนพัฒนาความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของผู้เรียน "ชุดจับศัพท์หาภาพ จับภาพหาศัพท์” ในระดับชั้นม.1-3 ทำแผนพัฒนาความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของผู้เรียน "ชุดคลังคำศัพท์ พิชิตโอเน็ต” นอกจากนี้สถานศึกษาได้มีการดำเนินการพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน และตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา "ป้องกันการทุจริต” โครงการโรงเรียนสุจริต โดยการจัดทำบริษัทสร้างการดี สาขาย่อยโรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น "โครงงานอาชีพธุรกิจคุณธรรม
CSR : ร้านค้าสร้างเสริมอาชีพ :นักเรียนสร้างจิตอาสา” และบริษัทสร้างการดี ในระดับชั้นประถมศึกษา "โครงงานอาชีพเลี้ยงไก่ไข่” โดยจัดกิจกรรมการเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ เน้นการป้องกัน ปลูกฝังนักเรียนให้ตระหนักรู้ เข้าใจ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นคนเก่งในการเรียนรู้ เป็นคนดี มีกิริยามารยาท รู้จักการทำมาหากิน สร้างชีวิตให้รุ่งเรืองได้ ซึมซับคุณค่าแห่งการทำความดี สร้างความรู้สึก รับผิดชอบในบริบทของสังคมไทยในปัจจุบัน ปลูกฝังค่านิยมไม่ทุจริตให้กับนักเรียน ให้มีจิตสำนึกของการมีคุณธรรม ไม่มุ่งหวังแต่ผลประโยชน์ส่วนตน ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนที่ผ่านกระบวนการ เป็นนักเรียนที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชาติบ้านเมือง มีความรักชาติในทางที่ถูก ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณธรรมผู้เรียน มีระบบการแนะแนวและการดูแลสุขภาวะจิต นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอน มีการเข้าไปศึกษากับภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยาได้จัดกิจกรรม อย.น้อย ให้ความรู้เรื่องอาหารที่มีพิษภัยและส่งเสริมการออกกำลังกายตอนเช้า เพื่อให้ผู้เรียนมีสุขภาพที่ดีและมีที่ร่างกายแข็งแรง เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของโรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา "ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง” และจัดกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ เช่น โครงงานอาชีพขนมทองม้วนกะทิสด โครงงานอาชีพขนมกะหรี่พับ โครงงานอาชีพการจักสานชะลอมไม้ไผ่ การเพาะเห็ดนางฟ้า การเลี้ยงไข่ไก่และการเลี้ยงปลาน้ำจืด เป็นต้น


ผลการดำเนินงาน  

นักเรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนดนักเรียนทุกคนมีพฤติกรรมที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 8 ประการ มีคุณลักษณะตามค่านิยมหลัก 12 ประการ มีคุณลักษณะตามโครงการโรงเรียนคุณธรรมมีคุณลักษณะตามโครงการโรงเรียนสุจริต จากการดำเนินโครงการโรงเรียนสุจริต บริษัทสร้างการดี การเลี้ยงไก่ไข่ บริษัทสร้างการดี โครงงานอาชีพธุรกิจคุณธรรม CSR : สร้างเสริมอาชีพ : นักเรียนสร้างจิตอาสา นักเรียนทุกคนมีพฤติกรรมที่มีคุณลักษณะตามโรงเรียนสถานศึกษาพอเพียง เช่น กิจกรรมสถานศึกษาพอเพียง กิจกรรมส่งเสริมการออมทรัพย์นักเรียน (ธกส.) กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า และกิจกรรมเลี้ยงปลาน้ำจืด นักเรียนทุกคนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามรายงานผลการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ประเพณี มารดกวัฒนธรรม เช่น กิจกรรมวันศุกร์แต่งกายด้วยผ้าไทย กิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาษาไทย เลขไทย กิจกรรมยิ้มใส ไหว้สวย กิจกรรมกลองยาว กิจกรรมกีฬาพื้นบ้าน โครงการศึกษาแหล่งโบราณคดีบ้านคลองเหล็กบน เช่น กิจกรรมมัคคุเทศก์น้อย กิจกรรมสำรวจแหล่งโบราณคดีบ้านคลองเหล็กบน กิจกรรมขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านคลองเหล็กบน และห้องนิทรรศการแหล่งโบราณคดีบ้านคลองเหล็กบนนักเรียนทุกคนยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และประเพณี จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตร่วมกันของนักเรียน ที่นับถือศาสนาพุทธ และอิสลาม และตามรายงานผลการดำเนินงานโครงการการจัดการศึกษานักเรียนเรียนร่วม นักเรียนทุกคนน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน ตามรายงานผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โครงการอาหารกลางวันและอาหารเสริม(นม) และกิจกรรมภาวะทุพโภชนาการ

นักเรียนทุกคนป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงตนเองจากสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรค ภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ ตามรายงานผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดสารเสพติดและอบายมุข เช่น กิจกรรมห้องเรียนสีขาว ห้องเรียนอุ่นใจ โครงการสารเสพติด กิจกรรมลูกเสือต้านยาเสพติด กิจกรรมสารวัตรห้องเรียน กิจกรรมเยี่ยมบ้าน และกิจกรรมสนทนาศิษย์-ลูก นักเรียนทุกคนเห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและให้เกียรติผู้อื่นตามรายงานผลการดำเนินงานโครงการแนะแนวในกิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษาYC โครงการแข่งขันกีฬาและการออกกำลังกายนักเรียน กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เช่น กิจกรรมกรำวงมาตรฐาน กิจกรรมกลองยาว กิจกรรมวงดุริยางค์ กิจกรรมนาฏศิลป์และจินตลีลา และผลงานโครงงานต่างๆของนักเรียน และการช่วยเหลืองานชุมชน

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยาได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหาผลการจัดการศึกษาในที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศติดตามประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในโรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา เพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน นโยบายรัฐบาล แผนการศึกษาชาติเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียนที่ชัดเจนเป็นระบบ โดยใช้ PDCA มีการบริหารอัตรากำลังอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ มีการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยความร่วมมือแบบภาคีเครือข่าย มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นระบบและต่อเนื่อง มีระบบการส่งต่อที่เป็นระบบ มีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาลและแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา มีการระดมทรัพยากร เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และมีเครือข่ายทางการศึกษา คือ เครือข่ายที่ 5 กลุ่มเบญจไตรภาคี ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และมีระบบการนิเทศภายในที่เป็นระบบต่อเนื่อง มีการบริหารจัดการด้านการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร มีการบริหารจัดการการสอนของกลุ่มที่เรียนร่วม ส่งเสริมพัฒนาครู บุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญ ส่งเสริมการจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นำมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของนักเรียน จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน จัดสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และมีความปลอดภัย จัดระบบการจัดหา การพัฒนาและการบริการ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา ดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงานและกิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตร มีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน และมาตรฐานสากลมีการบูรณาการภาระงานชิ้นงาน โดยทุกระดับชั้นจัดทำหน่วยบูรณาการอาเซียน เศรษฐกิจพอเพียง ปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอน ที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมได้ลงมือปฏิบัติจริง สรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เช่น โครงงานคุณธรรม เรื่องรองเท้าเจ้าระเบียบ เรื่องลดเวลาเกม เพิ่มเวลาทำการบ้าน โครงงานอาชีพธุรกิจคุณธรรม CSR :ร้านค้าสร้างเสริมอาชีพ:นักเรียนสร้างจิตอาสา โครงงานอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอน เช่น โครงการศึกษาแหล่งโบราณคดีบ้านคลองเหล็กบน นักเรียนจัดทำโครงงานศึกษาที่มาของโบราณวัตถุที่พบในพื้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านคลองเหล็กบน กิจกรรมมัคคุเทศก์น้อยโรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา โครงการฟื้นฟูเอกลักษณ์ไทย กิจกรรมกลองยาว กีฬาเปตองและศาสนพิธีกรน้อย ประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศและบรรยากาศตามสถานที่ต่างๆ ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียนปีการศึกษาละ1 เรื่อง
ผลการดำเนินงาน  

การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสถานศึกษาจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ในชีวิตได้ ครูทุกคนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ครูทุกคนจัดกิจกรรมการที่เน้นผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้มีความจำเป็นพิเศษและต้องการความช่วยเหลือพิเศษมีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะการแสดงออก สรุปองค์แสดงความคิดเห็น ความรู้ นำเสนอผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ ครูทุกคนจัดกิจกรรมโดยใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ครูทุกคนจัดกิจกรรมโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ การตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีเครื่องมือวัดผลและประเมินผลที่เหมาะสมสร้างโอกาสให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก ครูทุกคนจัดกิจกรรมโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ผลการวัดผลและประเมินผลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1ldRWZgl8pN3hUe354V1rqi6F9DVFonfK/view?usp=sharing