รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านคลองกะพง

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

1. ด้านคุณภาพผู้เรียน

- โรงเรียนมีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติ ทั้งทักษะในการอ่าน การเขียน และการศึกษาวิเคราะห์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอย่างเหมาะสม มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี กล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร

2. ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหาร

- โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ พันธกิจที่กำหนดไว้ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนตามความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของแผนการจัดการศึกษาของชาติ นโยบายของรัฐและต้นสังกัด ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม พัฒนางานวิชาการเน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรของสถานศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ ครูสร้างเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาพัฒนางานการเรียนรู้ของผู้เรียน


3. ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

- ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมีกิจกรรมที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีทักษะตามศตวรรษที่ 21 และให้ความสำคัญกับระบบการช่วยเหลือนักเรียน ส่งผลให้ครูทราบปัญหา รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

1. แบบประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อประกันคุณภาพภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
2. แบบประเมินการอ่าน, คิดวิเคราะห์และเขียน 
3. แบบบันทึกพฤติกรรมความสามารถ
4. โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์
5. โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน 
6. กิจกรรมภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ วันละคำ 
7. กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 
8. แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 
9. บันทึกการนิเทศชั้นเรียน 

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

แนวทางการพัฒนาในอนาคต

1. จัดทำโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เพื่อการพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะการอ่าน การเขียน การสื่อสาร ให้สูงขึ้น

2. พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การทำงานอย่างสร้างสรรค์ มีคุณธรรม สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยกับตนเองและผู้อื่น สามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้องในสังคมออนไลน์

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

1.1 ที่ตั้ง

     โรงเรียนบ้านคลองกะพง ที่ตั้ง 86 หมู่ 9 ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โทร 039-495049 โทรสาร…………...-....... E-mail khlongkapong_sch@hotmail.comwebsite….-......เปิดสอนระดับชั้นก่อนประถมศึกษาถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6เนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน 51 ตารางวา เขตพื้นที่บริการ 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 6, 7, 8, 9

1.2 การจัดการศึกษา 

- โรงเรียนบ้านคลองกะพงเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

1.3 สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม

     1) สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะ เป็นบ้านที่ห่างกัน มีประชากรประมาณ 768 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ บ้านและร้านค้า อาชีพหลักของชุมชน คือ ทำสวนและรับจ้างทั่วไป ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ สงกรานต์ ลอยกระทง วันขึ้นปีใหม่ ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน บวชนาค แห่เทียนจำนำพรรษา
     2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับ ป.6 อาชีพหลัก คือ ทำสวน/รับจ้าง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี 32,000 บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 5 คน



การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

1. วิสัยทัศน์ 
     มุ่งเน้นให้นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมครู สู่มาตรฐานวิชาชีพร่วมกับชุมชน อนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืน น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การบริหารการจัดการศึกษา ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต รักท้องถิ่นและมีความเป็นไทย
2. พันธกิจ 

     1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

     2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีคุณภาพได้รับรองมาตรฐานการศึกษา

     3. ร่วมมือกับชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

     4. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะสู่มาตรฐานวิชาชีพ

     5. จัดให้มีการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอยู่เสมอ

3. อัตลักษณ์
     " มารยาทงาม สุขภาพดี

4. เป้าประสงค์

     1. นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

     2. บุคลากรมีขวัญกำลังใจในการทำงานและได้รับการพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานวิชาชีพ



ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 6 0 3 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

เวลาเรียน(ชั่วโมง/ปี)

ระดับประถมศึกษา

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

วิทยาศาสตร์

๑๒๐

๑๒๐

๑๖๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

๘๐

๘๐

๘๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ภาษาอังกฤษ

๑๒๐

๑๒๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

๘๘๐

๘๘๐

๘๘๐

๘4๐

๘4๐

๘4๐

รายวิชาเพิ่มเติม

หน้าที่พลเมือง

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ภาษาอังกฤษ

๘๐

๘๐

๘๐

-

-

-

คอมพิวเตอร์

-

-

-

๔๐

๔๐

๔๐

การป้องกันการทุจริต

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

รวมเวลาเรียน (เพิ่มเติม)

๑๖๐ ๑๖๐
๑๖๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

กิจกรรมแนะแนว

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

กิจกรรมนักเรียน

- กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี

- ชุมนุม

๔๐

๓๐

๔๐

๓๐

๔๐

๓๐

๔๐

๓๐

๔๐

๓๐

๔๐

๓๐

กิจกรรมสาธารณประโยชน์

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

บูรณาการ

บูรณาการ

รวมเวลาเรียนทั้งหมด

๑,๑๖๐ ชั่วโมง/ปี

๑,๐๘๐ ชั่วโมง/ปี


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลอาคารสถานที่ 
     โรงเรียนบ้านคลองกะพง ที่ตั้ง 86 หมู่ 9 ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 เปิดทำการสอนระดับชั้นก่อนประถมศึกษาถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน 51 ตารางวา โดยมีข้อมูลอาคารสถานที่ ดังนี้ 
     1. อาคารเรียน แบบ ป.1 ข สปช.103/26
     2. อาคารเรียนแบบสร้างเอง 
     3. ศาลาวันเฉลิมพระชนมพรรษา
     4. โรงอาหารขนาด 29*7 เมตร สูง 3.5 เมตร 
     5. ฐานพระพุทธรูป
     6. อาคารเรียนคอนกรีต 
     7. ห้องประชุม
     8. ห้องน้ำ - ห้องส้วม - ห้องอาบน้ำ
     9. ห้องสมุด 
     10. โรงจอดรถ
     11. บ้านพักครู

หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ภายใน 
1. ห้องสมุดโรงเรียน
2. สระน้ำบริเวณโรงเรียน
3. แปลงเกษตร 
4. โรงเพาะเห็ด
5. ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ 
แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน 
1. ฝายน้ำล้นบ้านคลองกะพง 
2. วัดเขาตานก 
3. วัดป่าสิริจันโท
4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านยางระหง

หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม ( 5 )
กระบวนการพัฒนา  
สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินการอย่างหลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความพร้อม และมีพัฒนาการที่ดีขึ้นทั้ง 4 ด้านสมวัย ได้แก่ ด้านร่างกาย ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง มีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมกลางแจ้ง การเล่นเกม การออกกำลังกาย และเล่นอิสระ โดยสร้างข้อตกลงร่วมกันให้เด็กปฏิบัติตาม เพื่อสร้างสุขนิสัยที่ดี มีการดูแลสุขภาพของตนเองจากโรคภัยไข้เจ็บ การปฏิบัติสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพตนเอง การช่วยเหลือตนเอง ตรวจสุขภาพเด็กแนะนำอาหารที่มีประโยชน์ กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำสะอาด ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงทุกสามเดือนตามกรมอนามัย เพื่อเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็ก แปรงฟันทุกวันก่อนเข้านอน

ด้านอารมณ์ จิตใจ ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหวลักษณะต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองให้เด็กได้เลือกเล่นตามมุมที่ตนเองชอบ จัดกิจกรรมสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ด้านสังคม ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในสังคม จัดให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง ครูเป็นแบบอย่างให้เด็กในการปฏิบัติงานตรงตามเวลาแต่งกายสุภาพ ใช้กริยาวาจาสุภาพ ฝึกให้เด็กรู้จักการไหว้การกล่าวขอบคุณเมื่อผู้ใหญ่ให้ของ รู้จักขอโทษเมื่อทำผิด รู้จักแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่น ไม่นำของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง รู้จักอดออม ประหยัด และเพียงพอ ฝึกให้เด็กสวดมนต์ไหว้พระและปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ ให้เด็กได้เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น

ด้านสติปัญญา ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้เด็กเล่าถึงสิ่งต่างๆ เช่นการพูดคุยการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน จัดกิจกรรมให้เด็กได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์การทดลองวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองและคิดอย่างอิสระ ส่งเสริมให้เด็กได้อ่านนิทาน จัดมุมหนังสือในห้องเรียน จัดกิจกรรมให้เด็กๆ สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจิตนาการ เช่นการวาดภาพ การระบายสี จัดกิจกรรมกลางแจ้ง ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ แสดงท่าทางประกอบเพลง จังหวะ ดนตรี ตามความสนใจ
ผลการดำเนินงาน   เด็กมีพัฒนาการสมวัยทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยด้านร่างกาย เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัยมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ใช้กล้ามเนื้อใหญ่แข็งแรงเหมาะสมกับวัย ทรงตัวได้ดี ใช้กล้ามเนื้อเล็กและประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาได้เหมาะสมกับวัย สามารถหยิบจับสิ่งของได้ด้วยตนเอง เล่น และทำกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย สามารถดูแลรักษาสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ และสิ่งเสพติด ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพฤติกรรมที่กล้าแสดงออกทางอารมณ์-จิตใจ และมีความรู้สึกที่ดีเหมาะสมกับวัย ร่าเริง แจ่มใส มีความสุข มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก และควบคุมการแสดงออกได้เหมาะสมกับวัย เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนชื่นชมศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหวและรักธรรมชาติ ด้านสังคม เด็กมีพฤติกรรมการแสดงออกด้านสังคมได้อย่างเหมาะสมกับวัย โดยมีวินัย มีความรับผิดชอบ เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ผู้ปกครองและครู มีความซื่อสัตย์สุจริตช่วยเหลือแบ่งปันเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทย และศาสนาที่ตนนับถือได้อย่างเหมาะสมกับวัย ด้านสติปัญญา เด็กสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว กล้าที่ จะซักถามอย่าตั้งใจ รักการเรียนรู้ มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1XvwTPtdiIqrf7sKCKx8vUCiUSvik3iPh/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม ( 5 )
กระบวนการพัฒนา  

      สถานศึกษามีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของชุมชนท้องถิ่น และดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญญา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการคึกษาและจัดการประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อวางแผนในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการ พร้อมทั้งจัดหาครูที่มีความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติของการศึกษาระดับปฐมวัย จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียนและมีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ในการจัดกิจกรรมประจำวันและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดงบประมาณมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนา ตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้มีการดำเนินการนิเทศ ติดตาม ประเมิน ผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน  

     สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ไว้อย่างชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษาที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โยความร่วมมือของความเกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีการนำข้อมูลไปปรับปรุงพัฒนางานต่อเนื่อง มีการดำเนินงานพัฒนางานวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญตามวิชาชีพตรงกับความต้องการของครูและสถานศึกษา การจัดสภาพแวดล้อมมีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และปลอดภัย ด้านการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้นั้นสถานศึกษามีการจัดระบบการจัดการพัฒนาและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1xIyIOGKo_Bo9LqbvqBeU_pmu-l3vakaU/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ ( 4 )
กระบวนการพัฒนา   สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา อย่างสมดุล เต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่ และครอบครัว ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยครูมีแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 โดยผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม เต็มตามศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ครูมีการวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล โดยนำข้อมูลและผลการวิเคราะห์มาออกแบบการจัดประสบการณ์ที่หลากหลายตองสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูทำการวิจัยในชั้นเรียนภาคเรียนละ 1 เรื่อง มีกิจกรรมที่สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและมีส่วนร่วมได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ครูมีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภายในและภายนอกห้องเรียน เช่น มุมประสบการณ์ต่างๆ ครูใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและภูมิปัญยาท้องถิ่นที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กตามวัย ครูมีสื่อการเรียนรู้ที่กระตุ้นการคิดและหาคำตอบ มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง โดยประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาของเด็ก โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ครูใช้ผลที่ได้จากการสังเกตประเมินพัฒนาการของเด็กและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กมาพัฒนาและปรับปรุง เพื่อวางแผนจัดกิจกรรมในการพัฒนาเด็กรายบุคคล มีโครงการส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรที่ให้ครูทุกคนพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์
ผลการดำเนินงาน   จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเทการสอนอย่างเต็มเวลาและเต็มความสามารถ เพื่อพัฒนาให้เด็กมีคุณภาพบรรลุเป้าหมายตามหลักสูตรการจัดการศึกษาปฐมวัย ส่งผลให้ครูผู้สอนมีแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านโดยผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคลและการเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อดูสภาพความเป็นอยู่และให้ความช่วยเหลือ ทำให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตองสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ใช้สื่อเทคโนโลยี สอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก ใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการอย่างหลากหลาย มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้พร้อมจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของเด็ก พร้อมทั้งงานวิจัยในชั้นเรียนและนำผลของงานวิจัยนั้นไปพัฒนาการเรียนการสอน ส่งผลให้จัดการเรียนการสอนของครูครอบคลุมทั้งพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1d8xioqjufS_GL8J2cqLp_1jh-q7eqvfP/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม ( 5 )
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาถือเป็นข้อมูลสารสนเทศสำคัญที่สถานศึกษาจะต้องนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อสรุปนำไปสู่การเชื่อมโยงหรือสะท้อนภาพความสำเร็จกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ดังนั้น จากผลการดำเนินงานของสถานศึกษา สามารถสรุปผลการประเมินในภาพรวมของจุดเด่น จุดควรพัฒนาของแต่ละมาตรฐาน พร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น ดังนี้

สรุปผลกระบวนการพัฒนาของโรงเรียนบ้านคลองกะพง
1. ด้านคุณภาพผู้เรียน

- เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสม

2. ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหาร

- สถานศึกษามีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรของสถานศึกษาที่เน้นรูปแบบ

การจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สถานศึกษามีการจัดครูให้เหมาะสมกับชั้นเรียนและส่งครูเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเอง เพื่อนำความรู้มาพัฒนาเด็กอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลให้ครูสามารถวิเคราะห์และออกแบบการเรียนรู้และมีทักษะในการจัดประสบการณ์มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเด็กและผู้ปกครอง

3. ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

- ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดประสบการณ์ โดยนำความรู้ที่ได้จากการอบรมพัฒนา มาจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้โดยผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านอย่างสมดุล เต็มศักยภาพ ให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรงและมีส่วนร่วมได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่หลากหลาย เช่น คอมพิวเตอร์ สื่อของเล่นที่กระตุ้นการคิดและหาคำตอบในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมีการประเมินผลเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก มีการประเมินพัฒนาการเด็ก จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจ การทดลอง และการวิเคราะห์ผลการพัฒนาเด็กโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์เรียนรู้ในชั้นเรียน

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
  โรงเรียนบ้านคลองกะพง มีกระบวนในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมกับวัย ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยด้านร่างกาย เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัยมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ใช้กล้ามเนื้อใหญ่แข็งแรงเหมาะสมกับวัย ทรงตัวได้ดี ใช้กล้ามเนื้อเล็กและประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาได้เหมาะสมกับวัย สามารถหยิบจับสิ่งของได้ด้วยตนเอง เล่น และทำกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย สามารถดูแลรักษาสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ และสิ่งเสพติด ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพฤติกรรมที่กล้าแสดงออกทางอารมณ์-จิตใจ และมีความรู้สึกที่ดีเหมาะสมกับวัย ร่าเริง แจ่มใส มีความสุข มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก และควบคุมการแสดงออกได้เหมาะสมกับวัย เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนชื่นชมศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหวและรักธรรมชาติ ด้านสังคม เด็กมีพฤติกรรมการแสดงออกด้านสังคมได้อย่างเหมาะสมกับวัย โดยมีวินัย มีความรับผิดชอบ เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ผู้ปกครองและครู มีความซื่อสัตย์สุจริตช่วยเหลือแบ่งปันเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทย และศาสนาที่ตนนับถือได้อย่างเหมาะสมกับวัย ด้านสติปัญญา เด็กสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว กล้าที่ จะซักถามอย่าตั้งใจ รักการเรียนรู้ มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1ZQfDEp67dhce-ckZCl41rHGyLOOTEs80/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  79
กระบวนการพัฒนา  
1. ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารภาษาไทย ระดับดีเลิศ (ร้อยละ 89.70)
กระบวนการพัฒนาผู้เรียนโดยเน้นดำเนินการตามงาน/โครงการ กิจกรรมที่หลากหลาย เพี่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ โดยให้นักเรียนได้เรียนในรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติม รวมทั้งมีการจัดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษา และยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยพัฒนาทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสารของนักเรียน

2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างเป็นระบบและมีวิจารณญาณ ระดับยอดเยี่ยม (ร้อยละ 92.64)
ได้มีการสอดแทรกในกระบวนการจัดการเรียนการสอน และการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีการส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา และจัดให้มีการนำเสนอผลงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะตามศตวรรษที่ 21 มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ระดับดีเลิศ (ร้อยละ 79.48)
กระบวนการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบทางการศึกษาทั้ง Reading Test (RT), National Test (NT) และ Ordinary National Education Test (O-Net)


 


ผลการดำเนินงาน  

     ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านคลองกะพง ได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านวิชาการ ดนตรี กีฬา ศิลปะ และมีความสามารถด้านเทคโนโลยี พัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ใฝ่เรียนรู้ เป็นพลเมืองที่ดี และมีทักษะในศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้มีผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา เป็นดังนี้

1. ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน อยู่ในระดับดีเลิศ (ร้อยละ 89.70)

2. ผู้เรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างเป็นระบบและมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (ร้อยละ 92.64) และผลการปฏิบัติ

3. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับดีเลิศ (ร้อยละ 79.48)

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1ATqgm_HPhU8MsvnhOkvbtdZ3eb5oGFyi?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  92
กระบวนการพัฒนา  
1. ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ระดับยอดเยี่ยม (ร้อยละ 91.60)
ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยม และจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีงามของสังคม โรงเรียนบ้านคลองกะพง มีกระบวนการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ดีงาม

2. นักเรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย ระดับยอดเยี่ยม (ร้อยละ 94.40)
โรงเรียนบ้านคลองกะพง ได้จัดการเรียนการสอน การส่งเสริมให้นักเรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย รวมทั้งภูมิปัญญาไทย โดยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น ในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาไทย

3. ผู้เรียนยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย ระดับยอดเยี่ยม (ร้อยละ 91.60)
โรงเรียนบ้านคลองกะพง มีกระบวนการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย


 


 

 
ผลการดำเนินงาน  

ที่

โครงการ/กิจกรรม

1.

โครงการวันสำคัญ

2.

โครงการส่งเสริมค่านิยมที่ดีงาม

3.

โครงการกีฬาสีภายในโรงเรียน

4.

กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

5.

โครงการส่งเสริมประชาธิปไตย

6.

โครงการเสริมสร้างคุณธรรม

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1L2nW25E86VHIFeZ8PlMRe8ILRmZszgTu?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  93
กระบวนการพัฒนา  

1.1 วิธีการดำเนินงาน

     โรงเรียนบ้านคลองกะพง ได้ดำเนินการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาชาติ นโยบายของรัฐบาลและของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยได้ประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีผ่านการเห็นชอบโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งผลให้โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียนชัดเจน มีประสิทธิภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีการนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนมีการดำเนินงานพัฒนาวิชาการผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา เชื่อมโยงกับชีวิตจริง พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนางาน จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสุนนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน โรงเรียนมีกระบวนการวิจัยและพัฒนาระบบการบริหารที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ผลการดำเนินงาน       โรงเรียนบ้านคลองกะพง กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนตามความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาการศึกษาชาติ นโยบายของรัฐและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อีกทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม ดำเนินการพัฒนางานวิชาการเน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา จัดกิจกรรมส่งเสริมและปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นทั้งคนเก่งและคนดี พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถสร้างและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน เน้นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/10WyNS6EyTWg7eywyxq5x8yYHcJoZ6nvY?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  87.3
กระบวนการพัฒนา   สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา อย่างสมดุล เต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่ และครอบครัว ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยครูมีแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 โดยผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม เต็มตามศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ครูมีการวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล โดยนำข้อมูลและผลการวิเคราะห์มาออกแบบการจัดประสบการณ์ที่หลากหลายตองสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูทำการวิจัยในชั้นเรียนภาคเรียนละ 1 เรื่อง มีกิจกรรมที่สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและมีส่วนร่วมได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ครูมีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภายในและภายนอกห้องเรียน เช่น มุมประสบการณ์ต่างๆ ครูใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและภูมิปัญยาท้องถิ่นที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กตามวัย ครูมีสื่อการเรียนรู้ที่กระตุ้นการคิดและหาคำตอบ มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง โดยประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาของเด็ก โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ครูใช้ผลที่ได้จากการสังเกตประเมินพัฒนาการของเด็กและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กมาพัฒนาและปรับปรุง เพื่อวางแผนจัดกิจกรรมในการพัฒนาเด็กรายบุคคล มีโครงการส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรที่ให้ครูทุกคนพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์
ผลการดำเนินงาน   จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเทการสอนอย่างเต็มเวลาและเต็มความสามารถ เพื่อพัฒนาให้เด็กมีคุณภาพบรรลุเป้าหมายตามหลักสูตรการจัดการศึกษาปฐมวัย ส่งผลให้ครูผู้สอนมีแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านโดยผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคลและการเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อดูสภาพความเป็นอยู่และให้ความช่วยเหลือ ทำให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตองสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ใช้สื่อเทคโนโลยี สอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก ใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการอย่างหลากหลาย มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้พร้อมจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของเด็ก พร้อมทั้งงานวิจัยในชั้นเรียนและนำผลของงานวิจัยนั้นไปพัฒนาการเรียนการสอน ส่งผลให้จัดการเรียนการสอนของครูครอบคลุมทั้งพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1d8xioqjufS_GL8J2cqLp_1jh-q7eqvfP/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  90
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาถือเป็นข้อมูลสารสนเทศสำคัญที่สถานศึกษาจะต้องนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อสรุปนำไปสู่การเชื่อมโยงหรือสะท้อนภาพความสำเร็จกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ดังนั้น จากผลการดำเนินงานของสถานศึกษา สามารถสรุปผลการประเมินในภาพรวมของจุดเด่น จุดควรพัฒนาของแต่ละมาตรฐาน พร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น ดังนี้

สรุปผลกระบวนการพัฒนาของโรงเรียนบ้านคลองกะพง
1. ด้านคุณภาพผู้เรียน
- โรงเรียนมีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติ ทั้งทักษะในการอ่าน การเขียน และการศึกษาวิเคราะห์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอย่างเหมาะสม มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี กล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร

2. ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหาร
- โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ พันธกิจที่กำหนดไว้ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนตามความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของแผนการจัดการศึกษาของชาติ นโยบายของรัฐและต้นสังกัด ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม พัฒนางานวิชาการเน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรของสถานศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ ครูสร้างเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาพัฒนางานการเรียนรู้ของผู้เรียน

3. ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมีกิจกรรมที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีทักษะตามศตวรรษที่ 21 และให้ความสำคัญกับระบบการช่วยเหลือนักเรียน ส่งผลให้ครูทราบปัญหา รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล


 


 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
      โรงเรียนบ้านคลองกะพง มีกระบวนการพัฒนาผลการเรียนรู้ที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนทั้งทางด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถในด้านการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร และคุณลักษณะด้านพึงประสงค์ที่เป็นค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างอย่างหลากหลาย อีกทั้งส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมที่หลากหลาย โดยเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ครูจัดการบริหารชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้นักเรียนมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ โดยมีการประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และมีการพัฒนาผู้เรียน
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1UPh5n4RfRAFHUcAPpV8qU1a9ZuWDv94f?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/folders/1Cm8HgLofrbXVqE_8p1tKl_eWU0ad0qlH?usp=sharing