รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ)ได้ดำเนินการรายงานผลการดำเนินงานประจำปีพุทธศักราช 2563ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

 
2.1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิซาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่าน ในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดี รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตยกล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเองรวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติด ต่าง ๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาดและมีประโยชน์ รักการออกกำลังกาย นักเรียนทุกคนสามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละประเภทยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษา ของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัย
จากการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมที่กำหนดส่งผลให้ผู้เรียน มีความสามารถในการอ่านและเขียน ความสามารถในด้านการสื่อสารความสามารถในด้านการคิดคำนวณ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์คิดวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แก้ปัญหาและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลการทดสอบระดับชาติของผู้เรียน และมีความรู้ทักษะและเจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้นหรือมีวุฒิภาวะทางอาชีพเหมาะสมกับช่วงวัย มีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรมค่านิยม จิตสังคมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฎชัดเจนโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นในความเป็นไทยและเห็นคุณค่าเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยและแสดงออกได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน ยอมรับเหตุผลความคิดเห็นของผู้อื่นและมีมนุษยสัมพันธ์ มีวิธีการรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง รักษาอารมณ์และสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอ รู้และมีวิธีการป้องกันตนเองจากการล่อลวง ข่มเหง รังแก ไม่เพิกเฉยต่อการกระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องและอยู่ร่วมกันด้วยดีในครอบครัว ชุมชนและสังคม มีคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม มีคุณลักษณะที่ดีตามแบบที่สังคมไทยกำหนด รักการทำงานรู้หลักการปฏิบัติตนในอาชีพสุจริตสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความรู้ที่เหมาะสมกับความสามารถตามหลักสูตร ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ คิดวิเคราะห์ สรุปเป็นความรู้ของตนและนำเสนอได้ สามารถลำดับขั้นตอนการทำงานได้ ภูมิใจในผลงานของตนของกลุ่ม แก้ไขปัญหาที่พบ รักการเรียน สามารถพัฒนาตนเองตามความสามารถ มีสุขภาพกายที่สมบูรณ์ รู้วิธีเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพตนเอง มีสุขภาพจิตที่ดี ร่าเริง แจ่มใส รักชื่นชอบในศิลปะ ดนตรี การขับร้องและกีฬาเป็นอย่างดีห่างไกลจากยาเสพติด มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ประเด็น

ผลการประเมิน

ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำแนกตามระดับคุณภาพ

 

 

ประเด็น

ผลการประเมิน

ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำแนกตามระดับคุณภาพ

ผลการทดสอบระดับชาติ

ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินการทดสอบความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT)

ชั้นประถมศึกษาปี?

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

การกำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ)

เรื่อง กำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานการศึกษา

ค่าเป้าหมาย

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ดีเลิศ


ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานการศึกษา / ประเด็นการพิจารณา

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

(ค่าเป้าหมาย)

เอกสาร/หลักฐาน

(งาน/โครงการ/กิจกรรม)

ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ปีการศึกษา ๒๕๖๔

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

ดีเลิศ

ดีเลิศ

๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

๑)ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียนได้เหมาะสมตามระดับชั้นป.๑ ม.๓

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-แบบรายงานข้อมูลการอ่านออกเขียนได้นักเรียนชั้น ป.๑-ป.๖

-รายงานประเมินรู้เรื่องการอ่านPISAม.๑-ม.๓

-โครงการอ่านได้ เขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง

๒)ผู้เรียนมีความสามารถในด้านการสื่อสารทั้งภาษาไทยเหมาะสม ตามระดับชั้น

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-บันทึกการอ่านภาษาไทย

-กิจกรรมหน้าเสาธง

-กิจกรรมภาษาไทยวันละคำ

๓)ผู้เรียนมีความสามารถในด้านการสื่อสารทั้งภาษาอังกฤษเหมาะสม ตามระดับชั้น

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

-หนังสือเล่มเล็กภาษาอังกฤษ

-โครงการการเรียนรูปแบบ ๒ ภาษา (EBE)

๔)ผู้เรียนมีความสามารถในด้านการคิดคำนวณเหมาะสมตามระดับชั้น

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

-การเรียนรู้โดยใช้เวทคณิต

-แบบฝึกคิดเลขเร็ว

๕)ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น แก้ปัญหาและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงงานในชั้นเรียน

-ฐานการเรียนรู้ต่างๆทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

-การถอดบทเรียน ๒๓๔

-การจัดทำแผนผังความคิด

๖)ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่าง เหมาะสมปลอดภัย มีประสิทธิภาพ

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการสู่โลกกว้างด้วยICT

-การจัดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ทุกชั้นเรียน

-เกียรติบัตรการเข้าร่วมการแข่งขันความสามารถทางเทคโนโลยี

-ชุดคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูลทุกห้องเรียน

 

มาตรฐานการศึกษา / ประเด็นการพิจารณา

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

(ค่าเป้าหมาย)

เอกสาร/หลักฐาน

(งาน/โครงการ/กิจกรรม)

ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ปีการศึกษา ๒๕๖๔

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

ดีเลิศ

ดีเลิศ

๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน(ต่อ)

๗)ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

-โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ

-การประชุมวิชาการ

-การจัดค่ายยกระดับผลสัมฤทธิ์

-แบบแสดงผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

-แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล

-การสอนเสริม

๘) ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงงานต่างๆ

-หนังสือเล่มเล็ก

-การถอดบทเรียน ๒๓๔

-ใบงาน ชิ้นงาน

๙)ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดี พร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น หรือมีวุฒิภาวะทางอาชีพเหมาะสมกับช่วงวัย

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-แบบรายงานการศึกษาต่อของนักเรียน

-ผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร้อยละ ๑๐๐

๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

ดีเลิศ

ดีเลิศ

๑)ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ

-แบบบันทึกผลการเรียนประจำชั้นเรียน

-แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

-โครงการเด็กดีศรีบูรพา

-โครงการโรงเรียนสุจริต

๒)ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการส่งเสริมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

-โครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

-กิจกรรมปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่างๆ

-ฐานการเรียนรู้

๓) ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นในความเป็นไทย และเห็นคุณค่าเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย แสดงออกได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-กิจกรรมใส่ผ้าไทยในวันศุกร์

-กิจกรรมการละเล่นไทย

-กิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ

-เชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้แก่นักเรียนในโรงเรียน

 

 

 

มาตรฐานการศึกษา / ประเด็นการพิจารณา

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

(ค่าเป้าหมาย)

เอกสาร/หลักฐาน

(งาน/โครงการ/กิจกรรม)

ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ปีการศึกษา ๒๕๖๔

๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

๔) ผู้เรียนยอมรับเหตุผลความคิดเห็นของผู้อื่น

และสามารถอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน

-ความหลากหลายทางเชื้อชาติในชั้นเรียน

-กิจกรรมกีฬาสีของโรงเรียน(ยอมรับกฎกติกา,เคารพสิทธิ)

๕) ผู้เรียนมีสุขภาพแข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ดี

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

-โครงการพลิกโฉมโรงเรียนตามแนวคิดBBL

-โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

-โครงการส้วมสุขสันต์

-โครงการอนามัยโรงเรียน

๖) ผู้เรียนรู้และมีวิธีการป้องกันตนเองจากการล่อลวง ข่มเหง รังแก

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

-โครงการโรงเรียนสีขาวต่อต้านยาเสพติด

-โครงการครูแดร์

-โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต.เขาวัว มาให้ความรู้เรื่องสุขภาพอนามัยแก่นักเรียน

-ภาพถ่าย, สมุดตรวจเยี่ยม


เกณฑ์การประเมิน

ยอดเยี่ยม

:เด็กร้อยละ ๙๐.๐๐ - ๑๐๐

มีความสามารถเป็นไปตามค่าเป้าหมาย

ดีเลิศ

:เด็กร้อยละ ๘๐.๐๐ ๘๙.๙๙

มีความสามารถเป็นไปตามค่าเป้าหมาย

ดี

:เด็กร้อยละ ๗๐.๐๐ ๗๙.๙๙

มีความสามารถเป็นไปตามค่าเป้าหมาย

ปางกลาง

:เด็กร้อยละ ๖๐.๐๐ ๖๙.๙๙

มีความสามารถเป็นไปตามค่าเป้ปาหมาย

กำลังพัฒนา

:เด็กร้อยละ ๐๐.๐๐ ๕๙.๙๙

มีความสามารถเป็นไปตามค่าเป้าหมาย

 

มาตรฐานการศึกษา / ประเด็นการพิจารณา

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

(ค่าเป้าหมาย)

เอกสาร/หลักฐาน

(งาน/โครงการ/กิจกรรม)

ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ปีการศึกษา ๒๕๖๔

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดีเลิศ

ดีเลิศ

๑)สถานศึกษากำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษากับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-แบบรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา

-ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา

-แผนพัฒนาโรงเรียน

-แผนปฏิบัติการประจำปี

๒)สถานศึกษามีแผนและดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษา ที่มีความเหมาะสม ครอบคลุมประเด็นหลักต่อไปนี้

 

 

 

๒.๑ พัฒนาวิชาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรสถานศึกษา

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-หลักสูตรสถานศึกษา

-โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

-โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ

-โครงการนิเทศภายในโรงเรียน

-โครงการวิจัยในชั้นเรียน

-วาระการประชุมทางวิชาการ

๒.๒ สถานศึกษามีการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการสู่โลกกว้างด้วยICT

-โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้

-หลักสูตรสถานศึกษา

๒.๓ สถานศึกษาเชื่อมโยงวิถีชีวิตจริงทุกกลุ่มเป้าหมาย

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

-โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

-โครงการเศรษฐกิจพอเพียง

-โครงการพลิกโฉมโรงเรียนตามแนวคิดBBL

๒.๔ สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนให้ครูจัดทำแผนพัฒนาตนเองID PLAN

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-เกียรติบัตรการเข้ารับการอบรมคูปองครู

-TEPE Online

-PLC, logbook, ID Plan

๓) สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

 

 

๓.๑ สถานศึกษามีการวางแผนและจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและนำไปปฏิบัติ

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

-แผนพัฒนาสถานศึกษา

-แผนปฏิบัติราชการ

-คำสั่งโรงเรียน

๓.๒ สถานศึกษามีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา

-การนิเทศภายในโรงเรียนและในชั้นเรียน

-แบบตรวจเยี่ยมชั้นเรียน

-แบบนิเทศชั้นเรียน

-วาระการประชุมครู


มาตรฐานการศึกษา / ประเด็นการพิจารณา

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

(ค่าเป้าหมาย)

เอกสาร/หลักฐาน

(งาน/โครงการ/กิจกรรม)

ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ปีการศึกษา ๒๕๖๔

๓) สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

 

 

๓.๓ สถานศึกษามีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-มีครูครบชั้นเรียน

-มีครูตรงตามวิชาเอก

-รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา

๓.๔ สถานศึกษามีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ร้อยละ ๑๐๐

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

-การเยี่ยมบ้านนักเรียน

-ห้องเรียนเรียนร่วม

-มีการจัดทำแผนIEPสำหรับนักเรียนเรียนร่วม

-การจัดหาทุนให้นักเรียน ร้อยละ ๑๐๐

-ระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน

๓.๕ สถานศึกษามีระบบการนิเทศภายในชั้นเรียน

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการนิเทศภายในโรงเรียน

-ผู้อำนวยการนิเทศชั้นเรียนทุกเดือน

-แบบนิเทศชั้นเรียน

-แบบตรวจเยี่ยมชั้นเรียน

๔. บริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไป ประยุกต์ใช้ได้ และดำเนินการอย่างเป็นระบบ

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-แบบบันทึกผลการเรียนประจำรายวิชา

-ระบบDMC

-มีข้อมูลนักเรียนทั้งโรงเรียน

๕. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่ดีและกระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้ทั่วถึงทุกลุ่มเป้าหมาย

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการพลิกโฉมโรงเรียนตามแนวคิดBBL

-โครงการปรับปรุงอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน

-โครงการโรงเรียนประชารัฐ

-การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้

 

เกณฑ์การประเมิน

ยอดเยี่ยม

:เด็กร้อยละ ๙๐.๐๐ - ๑๐๐

สถานศึกษามีการดำเนินงานเป็นไปตามค่าเป้าหมาย

ดีเลิศ

:เด็กร้อยละ ๘๐.๐๐ ๘๙.๙๙

สถานศึกษามีการดำเนินงานเป็นไปตามค่าเป้าหมาย

ดี

:เด็กร้อยละ ๗๐.๐๐ ๗๙.๙๙

สถานศึกษามีการดำเนินงานเป็นไปตามค่าเป้าหมาย

ปางกลาง

:เด็กร้อยละ ๖๐.๐๐ ๖๙.๙๙

สถานศึกษามีการดำเนินงานเป็นไปตามค่าเป้าหมาย

กำลังพัฒนา

:เด็กร้อยละ ๐๐.๐๐ ๕๙.๙๙

สถานศึกษามีการดำเนินงานเป็นไปตามค่าเป้าหมาย


มาตรฐานการศึกษา / ประเด็นการพิจารณา

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

(ค่าเป้าหมาย)

เอกสาร/หลักฐาน

(งาน/โครงการ/กิจกรรม)

ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ปีการศึกษา ๒๕๖๔

มาตรฐานที่ ๓กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ดีเลิศ

ดีเลิศ

๑)มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะ ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง

 

๑.๑ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-แผนการจัดการเรียนรู้

-หลักสูตรสถานศึกษา

-หลักสูตรแกนกลางปี ๒๕๕๑

-สื่อการเรียนการสอน

๑.๒ มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-แผนการจัดการเรียนรู้

๑.๓ มีแผนการจัดการเรียนรู้IEPสำหรับเด็กพิเศษ

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-แผนIEP

-การทำIIP(การบันทึกเด็กพิเศษ)

๑.๔ ผู้เรียนสามารถนำเสนอผลงานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงงานต่างๆ

-การถอดบทเรียน ๒๓๔

-ใบงาน ชิ้นงาน

-แฟ้มสะสมงานนักเรียน

๒) มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้

 

๒.๑ ครูมีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-ครูผลิตสื่อการสอน

-ครูใช้ชุดคอมพิวเตอร์ในชั้นเรียนในการจัดการเรียนรู้

-DLIT, DLTV

-True, Youtube

๒.๒ ครูนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้

-เชิญวิทยากรท้องถิ่นมาให้ความรู้เรื่องต่างๆ

๒.๓ ครูสนับสนุนให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-โครงการสู่โลกกว้างด้วยICT

-ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

-บันทึกการอ่าน

-ห้องสมุดโรงเรียน

-ห้องคอมพิวเตอร์


มาตรฐานการศึกษา / ประเด็นการพิจารณา

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

(ค่าเป้าหมาย)

เอกสาร/หลักฐาน

(งาน/โครงการ/กิจกรรม)

ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ปีการศึกษา ๒๕๖๔

๓) มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

 

๓.๑ ครูจัดบรรยากาศการเรียนที่เป็นมิตร ยิ้มแย้ม แจ่มใส

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-สภาพห้องเรียน

-มุมต่างๆในห้องเรียน

-ป้ายนิเทศ

๓.๒ ครูใส่ใจต่อความคิดเห็นของเด็ก แต่ละคน

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-การเยี่ยมบ้านนักเรียน

-แบบคัดกรองนักเรียน

-การสอนแนะแนว

๓.๓ ครูสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้

ดีเลิศ

ดีเลิศ

-การเสริมแรงบวกในการเรียน

-กิจกรรมในชั้นเรียน

-บรรยากาศการเรียนกา

 

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

เป้าหมายผลผลิตหลัก

โรงเรียนวัดบูรพาพิทยารามฯ มีผลผลิตหลัก คือการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา และกำหนดเป้าหมายผลผลิตหลัก ดังนี้

ผลผลิตหลัก

เป้าหมาย

2563

2564

2565

2566

จัดบริการการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา

 

 

 

 

ปริมาณ นักเรียนก่อนประถมศึกษาที่ได้รับการเตรียมความพร้อม(คน)

35

35

40

40

คุณภาพ นักเรียนที่จบชั้นอนุบาล(อนุบาล2) ที่มีความพร้อม

 

 

 

 

ที่จะเข้าเรียน ป.1 (ร้อยละ)

100

100

100

100

จัดบริการการศึกษาระดับประถมศึกษา

 

 

 

 

ปริมาณ นักเรียนที่ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา(คน)

74

74

80

80

คุณภาพ นักเรียนระดับประถมศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐาน

 

 

 

 

(ร้อยละ)

95

95

98

100

เวลา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จบการศึกษาภายใน

 

 

 

 

ระยะเวลา 6 ปี (ร้อยละ)

99

99

100

100

ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาต่อนักเรียน1คน (บาท)

1,500

1,500

2,000

2,000

จัดบริการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

 

 

 

 

ปริมาณ เด็กอายุ12-15 ปี ทั้งในและนอกเขตบริการ ได้รับการ

 

 

 

 

ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (คน)

35

35

40

40

คุณภาพ นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐาน(ร้อยละ)

92

95

100

100

เวลา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จบการศึกษาภายใน

 

 

 

 

ระยะเวลา 3 ปี (ร้อยละ)

100

100

100

100


กลยุทธ์จัดการศึกษา

โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) ได้กำหนดกลยุทธ์ระดับสถานศึกษากลยุทธ์ระดับแผนงาน และกลยุทธ์ระดับโครงการ ดังต่อไปนี้

1.กลยุทธ์ระดับสถานศึกษา

1. การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคม

2.พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

3.พัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

4.สร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา

5.การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

6.การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา

 

2. กลยุทธ์ระดับแผนงาน

กลยุทธ์ที่1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคม

1.1เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลัก และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.2 น้อมนำแนวพระราชดำริ สืบสานพระราชปณิธาณและพระบรมราโชบายด้านการศึกษา หรือ”ศาสตร์พระราชา” มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

1.3 ปลูกฝังและเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตย ความสามัคคี สมานฉันท์ สันติวิธี ต่อต้านการทุจริต คอรัปชั่น และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.4 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ผ่านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และความเป็นพลเมือง

1.5 ปลูกฝังผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีด

ความสามารถในการแข่งขัน

2.1พัฒนาผู้เรียนระดับก่อนประถมศึกษา ให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้มีความพร้อมเข้าสู่การเรียนในระดับสูงขึ้น

2.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ตามช่วงวัย

3.3 ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน

4.4 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง(Active Learning) เน้นทักษะกระบวนการ ให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน

5.5 สนับสนุนการผลิต จัดหาและใช้สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลายรวมทั้งการพัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้ได้ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ

2.6 ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ

1.7 ส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล โดยเน้นให้มีการวิจัยในชั้นเรียน

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

3.1 ระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

3.2 สนับสนุนให้ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

3.3 แหล่งเรียนรู้วิถีไทยและภูมิปัญญาไทย

3.4 พัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้วยการจัดหาสื่อ วัสดุอุปกรณ์และจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้มีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน

กลยุทธ์ที่ 4สร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา

4.1.สร้างความเข้มแข็งของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

4.2 สร้างความเข้มแข็งของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบส่งเสริมความประพฤตินักเรียน และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม

4.3.ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance learning information technology : DLIT) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) ฯลฯ

กลยุทธ์ที่ 5 จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

5.1 ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และน้อมนำแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต

5.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

5.3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

6.1 พัฒนาระบบการวางแผน การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ การกำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล

6.2 พัฒนาระบบงบประมาณและการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน

6.3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการศึกษาที่มีมาตรฐานเชื่อมโยงและเข้าถึงได้

6.4 ส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้เข้มแข็ง

3. กลยุทธ์ระดับโครงการ

เป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จและโครงการ/กิจกรรม

กลยุทธ์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคม

ที่

เป้าหมายความสำเร็จ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

โครงการ /กิจกรรม

1

น้อมนำแนวพระราชดำริ สืบสานพระราชปณิธานและพระบรมราโชบายด้านการศึกษา หรือ "ศาสตร์พระราชา” มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

ร้อยละ 100 ของครูมีการ
บูรณาการ "ศาสตร์พระราชา” มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

-โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
- โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
- โครงการคุณธรรมนำความรู้และน้อมนำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่
การปฏิบัติ
- โครงการโรงเรียนสุจริต
- โครงการโรงเรียนหมู่บ้านศีล
5
- โครงการเด็กดีศรีบูรพา

2

ปลูกฝังและเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตย ความสามัคคี สมานฉันท์ สันติวิธี ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น และยึดมั่นในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ร้อยละ 100 ของสถานศึกษา ปลูกฝังและเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตย ความสามัคคี สมานฉันท์ สันติวิธี ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
- โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
- โครงการคุณธรรมนำความรู้และน้อมนำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่
การปฏิบัติ
- โครงการโรงเรียนสุจริต
- โครงการโรงเรียนหมู่บ้านศีล
5
- โครงการเด็กดีศรีบูรพา
- โครงการอาเซียนศึกษา

3

เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ผ่านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และความเป็นพลเมือง

ร้อยละ 100 ของผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ผ่านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และความเป็นพลเมือง

-โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
- โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
- โครงการคุณธรรมนำความรู้และน้อมนำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่
การปฏิบัติ
- โครงการโรงเรียนสุจริต
- โครงการโรงเรียนหมู่บ้านศีล
5
- โครงการเด็กดีศรีบูรพา

- โครงการวันสำคัญทางศาสนา

กลยุทธ์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคม

ที่

เป้าหมายความสำเร็จ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

โครงการ /กิจกรรม

4

ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน ที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

ร้อยละ 100 ของผู้เรียน มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

 

- โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
- โครงการโรงเรียนสุจริต
- โครงการโรงเรียนหมู่บ้านศีล
5
- โครงการเด็กดีศรีบูรพา

- โครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
- โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

ที่

เป้าหมายความสำเร็จ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

โครงการ /กิจกรรม

1

ส่งผู้เสริมพัฒนาผู้เรียนระดับก่อนประถมศึกษา ให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้มีความพร้อมเข้าสู่การเรียนในระดับสูงขึ้น

ร้อยละ 100 ของผู้เรียนระดับก่อนประถมศึกษา มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา และพร้อมเข้าสู่การเรียนในระดับที่สูงขึ้น

- โครงการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
- โครงการเด็กดีศรีบูรพา
-
โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้
-
โครงการเรียนรู้สู่โลกกว้างด้วย ICT
- โครงการอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียน

- โครงการจัดการศึกษาปฐมวัย

2

ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ตามช่วงวัย

ร้อยละ 100 ของผู้เรียนมีทักษะ การอ่าน การเขียน ผ่านเกณฑ์ตามช่วงวัย

- โครงการส่งเสริมรักการอ่านและห้องสมุดโรงเรียน

- โครงการอ่านได้ เขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง

3

ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน

ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน

- โครงการส่งเสริมรักการอ่านและห้องสมุดโรงเรียน
- โครงการอ่านได้เขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

ที่

เป้าหมายความสำเร็จ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

โครงการ /กิจกรรม

4

ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning) เน้นทักษะกระบวนการ ให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน

ร้อยละ 80 ของผู้เรียนมีทักษะการคิด วิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์จากการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (การปฏิบัติจริง (Active Learning)

- โครงการลดเวลาเรียนเพิ่ม เวลารู้

- โครงการพลิกโฉมโรงเรียนตามแนวคิด Brain Based Learning (BBL)

- โครงการเปิดรั้วโรงเรียน Open HOUSE
- โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

5

ส่งเสริมให้ครูพัฒนางานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน

ร้อยละ 100 ของครูทำวิจัยชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนในชั้นเรียน

-โครงการนิเทศภายในโรงเรียน

- โครงการวิจัยในชั้นเรียน

- โครงการพัฒนาและบำรุงขวัญบุคลากรในโรงเรียน

6

สนับสนุนการผลิต จัดหาและใช้สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลายรวมทั้งการพัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาในกาจัดการเรียนรู้ได้ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ

ร้อยละ 100 ของครูผลิต จัดหาและใช้สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยี นวัตกรรม ห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้

- โครงการจัดซื้อจัดจ้าง

- โครงการเรียนรู้สู่โลกกว้างด้วย ICT

- โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้

- โครงการส่งเสริมรักการอ่านและห้องสมุดโรงเรียน
- โครงการปรับปรุงอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน

7

พัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ

ร้อยละ 100 ผู้เรียนได้ที่รับการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ

-โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- โครงการเรียนรู้สู่โลกกว้างด้วย ICT

- โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ

 


กลยุทธ์ที่
3 พัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ที่

เป้าหมายความสำเร็จ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

โครงการ /กิจกรรม

1

ระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีปัจจัยพื้นฐานอย่างพอเพียง

- โครงการจัดซื้อจัดจ้าง

- โครงการโรงเรียนประชารัฐ

- โครงการโรงเรียนชุมชนสัมพันธ์

2

สนับสนุนให้ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน

- โครงการโรงเรียนชุมชนสัมพันธ์

- โครงการเปิดรั้วโรงเรียน Open HOUSE

3

ส่งเสริมสนับสนุนแหล่งเรียนรู้วิถีไทยและภูมิปัญญาไทย

ร้อยละ 100ของนักเรียน ได้เรียนรู้วิถีไทยและภูมิปัญญาไทย

- โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้

- โครงการสถานศึกาพอเพียง

4

พัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้วยการจัดหาสื่อ วัสดุอุปกรณ์และจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้มีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน

ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาผลิต จัดหาและใช้สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยี นวัตกรรม ห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้

- โครงการจัดซื้อจัดจ้าง

- โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้

- โครงการปรับปรุงอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน

กลยุทธ์ที่4 สร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา

 

ที่

เป้าหมายความสำเร็จ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

โครงการ /กิจกรรม

1

ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ร้อยละ 100 ของประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

- สำรวจเด็กในเขตพื้นที่บริการ

- การเกณฑ์นักเรียนเข้าเรียน

2

ผู้เรียนได้เรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานภายในเวลาที่หลักสูตรกำหนด

ร้อยละ 100 ของผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานภายในเวลาที่หลักสูตรกำหนด

- โครงการระบบดูแลช่วยเหลือ

- การประชุมผู้ปกครอง

- การคัดกรองนักเรียน

- การแนะแนว

3

นักเรียนพิการเรียนร่วมทุกคนได้รับการพัฒนาสมรรถภาพ

จำนวนนักเรียนพิการเรียนร่วมทุกคนได้รับการพัฒนาสมรรถภาพ

-โครงการเด็กพิเศษเรียนร่วม

จัดทำแผนนักเรียนรายบุคคล

พัฒนาสมรรถนะนักเรียนตามสภาพ

 

กลยุทธ์ที่ 4 สร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา

ที่

เป้าหมายความสำเร็จ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

โครงการ /กิจกรรม

4

ผู้เรียนทุกคนได้รับการสนับสนุนการศึกษา โดยไม่เสียค่าใช้ผู้จ่าย สำหรับรายการค่าเล่าเรียน หนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

ร้อยละ 100 ของผู้เรียน ที่ได้รับการสนับสนุนการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับรายการค่าเล่าเรียน หนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียนและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

- โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

5

สร้างความเข้มแข็งของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ร้อยละ 100 ของผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

- โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

- โครงการโรงเรียนสีขาวต่อต่านยาเสพติด

- โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

- โครงการส้วมสุขสันต์

- โครงการสหกรณ์ร้านค้าโรงเรียน

6

ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษา เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance learning information technology : DLIT) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) ฯลฯ

ร้อยละ 100 ของผู้เรียนได้รับการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาอย่างทั่วถึง

- โครงการจัดซื้อจัดจ้าง

-โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- โครงการเรียนรู้สู่โลกกว้างด้วย ICT

- โครงการ Learning Television: DLTV

- โครงการ Distance Learning

Information Technology: DLIT

กลยุทธ์ที่ 5 จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ที่

เป้าหมายความสำเร็จ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

โครงการ /ก?


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน

โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม(ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) ได้ดำเนินการจัดการศึกษา ประจำปีพุทธศักราช 2563 จัดทำขึ้นภายใต้วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร การระดมทรัพยากรทั้งจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานเอกชนอื่น โดยจัดทำแผนปฏิบัติราชการโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องเชื่อมโยงระหว่างประเด็นยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการเป้าประสงค์และกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับแผนการศึกษาระยะ 4 ปีของสถานศึกษา งบประมาณรายจ่ายประจำปีพุทธศักราช 2563 รวมทั้งสิ้น 2,315,400 บาท

ข้อมูลทั่วไป

โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) ที่อยู่ที่ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 4 ถนนพิศาลธรรมคุณ ตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22120 โทรศัพท์ 039-494132โทรสาร 039-494132

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 เปิดสอนนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล2 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเขตบริการ 9หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านที่ 1 ถึงหมู่บ้านที่ 9 ตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่จังหวัดจันทบุ

ข้อมูลชุมชน

๑.๓.๑สภาพชุมชน รอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีเนินเป็นบางตอน ดินดี ใช้น้ำบาดาลเป็นส่วนใหญ่ ภูมิอากาศร้อนชื้น ฝนตกชุก อาชีพของประชากร ทำสวนผลไม้ สวนพริกไทย และสวนยางพารา การอาศัยของประชากรจะกระจายเต็มพื้นที่ตามสภาพภูมิประเทศ บ้านส่วนใหญ่อยู่ห่างกันตามสภาพของสวนที่ถือครอง และเป็นตำบลที่ไม่มีรถโดยสารประจำทางวิ่งผ่านในหมู่บ้าน ต้องใช้รถยนต์ส่วนตัว รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์รับจ้างเหมาคัน ประชากร ผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนในโรงเรียน ส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในพื้นที่ แต่เป็นพวกย้ายถิ่นมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อมารับจ้างประกอบอาชีพในชุมชนนี้ โดยจะรับจ้างทำสวนผลไม้ รับจ้างกรีดยาง รับจ้างเก็บพริกไทย ครอบครัวยากจน แตกแยก ย้ายถิ่นที่ทำกินบ่อย มีรายได้ประเพณีวัฒนธรรมแตกต่างกับท้องที่ บุตรหลานเป็นผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา บางครั้งเรียนไม่ต่อเนื่องเพราะต้องย้ายติดตามผู้ปกครองไปรับจ้างทำงานในถิ่นอื่น ชุมชนมีความสัมพันธ์กับโรงเรียนเป็นอย่างดี จำนวนประชากรตามสถิติการทะเบียนราษฎร ณ วันที่๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ มีประชากรรวมทั้งสิ้น ๓,๐๒๙ คน เป็นชาย ๑,๔๕๔ คน หญิง ๑,๕๗๕ คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียนได้แก่ วัด สวนผลไม้ สวนยางพาราและหมู่บ้านที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน อาชีพหลักของชุมชน คือ ทำสวนผลไม้ เนื่องจากพื้นที่เป็นดินดี มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสำหรับการทำสวนผลไม้ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

 

 

 

 

 

 

๑.๓.๒ การศึกษาผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับภาคบังคับ ๙ ปี ประกอบอาชีพรับจ้าง ๗๐.๒๒ % ค้าขาย ๑๓.๒๖ % ทำสวน ๓.๘๘ % รับราชการ ๐.๕๔ % อื่น ๆ ๑๑.๙๙ % นับถือศาสนาพุทธ ๙๐.๓๐% ศาสนา อื่น ๆ ๙.๗๖ % รายได้โดยเฉลี่ย ต่อครอบครัว ต่อปีประมาณ ๓๘,๐๐๐ บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว ๒ คน

โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน

โรงเรียนตั้งอยู่ในบริเวณวัดบูรพาพิทยาราม ( พระอารามหลวง ) ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าอาวาสและชุมชนเป็นอย่างดียิ่งการมาโรงเรียนของนักเรียนไม่สะดวกต้องโดยสารรถรับจ้างมา เนื่องจากไม่มีรถประจำทางวิ่งผ่าน และยังตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดสารเสพติด ผู้ปกครองส่วนใหญ่ฐานะยากจนมีอาชีพรับจ้างทำสวน เก็บพริกไทย ทำให้ความเป็นอยู่ไม่ดีพอ ย้ายที่อยู่บ่อย นักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่แตกแยก เป็นเหตุให้จำนวนนักเรียนของโรงเรียนไม่แน่นอน และผลการเรียนของนักเรียนไม่ดีเท่าที่ควร ประชาชนที่เป็นเจ้าของสวนเองก็มักจะเอาบุตรหลานของตนเองไปเข้าเรียนในตัวจังหวัด เนื่องจากการคมนาคมสะดวก แนวโน้มทางสังคมของชุมชนเป็นแบบสังคมกึ่งเมืองและชนบท


การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

ทิศทางการปฏิบัติราชการ

วิสัยทัศน์ (Vision)

นักเรียนโรงเรียนวัดบูรพาพิทยารามฯ มีความเป็นไทย รักษาวินัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมจิตอาสา นำพาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

 

พันธกิจ ( Mission)

๑. จัดการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ให้แก่เด็กในเขตบริการอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพได้มาตรฐาน

 

๒.พัฒนาระบบกระบวนการบริหารจัดการศึกษาโดยชุมชนมีส่วนร่วม

๓.พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ มุ่งเน้นนักเรียนเป็นสำคัญและการประกันคุณภาพการศึกษา

 

๔.ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอาสา รู้จักตนเอง น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีทัศนคติและกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะ

 

๕.สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและเกิดประสิทธิภาพ

๖.ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

เป้าประสงค์ (Goal)

โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม ฯ กำหนดเป้าหมายการจัดการศึกษา ทั้งระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้กับเด็กในวัยเรียน๔กลุ่ม ดังนี้ .-

. เด็กวัยเรียน (เด็กปกติ )

. เด็กที่มีความสามารถพิเศษ

. เด็กพิการ

. เด็กด้อยโอกาส

โดยได้กำหนดเป้าหมายของโรงเรียนคือ การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพแก่นักเรียน เพื่อให้

๑. ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

๒. นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

๓. นักเรียนใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการแสวงหาความรู้

๔. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย มีความพอเพียง มีความรับผิดชอบ มีความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ

 

๕. นักเรียนมีความประพฤติดีและปฏิบัติตนได้อย่างเหมะสม

 

ปรัชญาการจัดการศึกษา โรงเรียนเน้นการจัดการศึกษาที่สนองความต้องการของผู้เรียน และท้องถิ่น พัฒนาสมรรถภาพด้านการเขียน อ่าน ฟัง พูด การคิดที่เป็นระบบ ด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนานักเรียนให้เต็มศักยภาพ

 

 

 

ปรัชญาของโรงเรียน อตฺตนา โจทยตฺ ตานฺ " จงเตือนตนด้วยตนเอง

อุดมการณ์ของโรงเรียน ทำเพื่อนักเรียน เพื่อชุมชน และเพื่อประเทศชาติ

คำขวัญของโรงเรียน สุขภาพดี มีจิตอาสา พัฒนาคุณธรรม
สีประจำโรงเรียน ชมพู เหลือง

สีชมพู หมายถึง ความสุภาพอ่อนหวาน อ่อนโยน นอบน้อม ความเอื้อเฟื้อที่มีให้ต่อบุคคลทั่วไป

สีเหลือง หมายถึง ทองคำที่ได้ผ่านการหลอมจนเป็นสีเหลืองสุกปลั่ง เปรียบเสมือนจิตใจที่ได้ผ่านการขัดเกลาให้สะอาดบริสุทธิ์ เป็นคนที่กอปรด้วยคุณธรรม จริยธรรม เข้มแข็ง อดทน กล้าหาญ มีใจเมตตา มีคุณค่า และมีความสุข

 

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา

"สุขภาพดีมีมารยาทงาม”

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา

"ภูมิทัศน์สะอาด บรรยากาศร่มรื่น ปลอดภัยสดชื่นมีความสุข”

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1. เด็กในวัยการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งอยู่ในเขตบริการได้เข้าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับร้อยละ 100

 

2. นักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ศึกษาต่อสายสามัญหรือสายอาชีพ ร้อยละ 100

 

3.นักเรียนทุกคนได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจนจบการศึกษา โดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

 

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยทุกชั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ทุกกลุ่มสาระวิชา

5. ผู้เรียนมีทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ร้อยละ 100ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

 

6. ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ร้อยละ 100ของนักเรียนทั้งหมด

7. ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ร้อยละ 100ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

8. ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านร้อยละ 100ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

9. ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

10. ผู้เรียนมีทักษะในกระบวนการทำงาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

11. ผู้เรียนอยู่อย่างพอเพียง ใช้ชีวิตสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 100

12. ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิต ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

 

13. ผู้เรียนปฏิบัติตนตามค่านิยมหลักของคนไทย12 ประการ ร้อยละ 100

14. ผู้เรียนมีความพึงพอใจโครงสร้างพื้นฐานด้านอาคาร สิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวก และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

 

15. บุคลากรสถานศึกษา ได้รับการพัฒนาตามเป้าหมายที่กำหนด ร้อยละ 100

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 14 1 1 1 0


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ

 

ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นที่ปรึกษา หัวหน้างานบริหารวิชาการ เป็นประธาน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และคณะครูในฝ่ายงานวิชาการเป็นกรรมการ

แผนภูมิแสดงคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม ฯ

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ

ผู้อำนวยการโรงเรียน


 

หัวหน้างานบริหารวิชาการ ประธานกรรมการ

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กรรมการ

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กรรมการ

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กรรมการ

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ กรรมการ

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กรรมการ

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา กรรมการ

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กรรมการ

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กรรมการ

หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กรรมการ

ครูประจำชั้นและครูที่ปรึกษาทุกชั้น กรรมการ

นายมงคล บุญกอง กรรมการและ

เลขานุการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 


หน้าที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ

๑. กำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของงานวิชาการของโรงเรียน

๒. จัดทำโครงการด้านวิชาการ

๓. จัดทำ จัดหาและพัฒนาหลักสูตร / เอกสารหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้

๔. กำกับติดตามและนิเทศงานวิชาการของโรงเรียน

๕. จัดหา บริการ การใช้คู่มือ วัสดุ สื่อประกอบการเรียนการสอนและดูแลให้ครูนำไปใช้

๖. ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนของนักเรียน

๗. ส่งเสริมและนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการดำเนินงานวิชาการ

หน้าที่ของหัวหน้าสายชั้น

๑. ควบคุมดูแลการจัดการเรียนการสอนในสายชั้น ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

๒. ร่วมวางแผน จัดทำแผนและปฏิบัติตามแผนงาน โครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน

๓. เสนอแนะผลการปฏิบัติงานของครูในสายชั้นต่อผู้บริหาร

๔. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

หน้าที่ของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

๑. พัฒนางานวิชาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้มีความก้าวหน้า เหมาะสม และสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา ร.ร.วัดบูรพาพิทยาราม ฯ พ..๒๕๕๕ ตามหลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พ..๒๕๕๑

๒. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิชาการ (การประกวด แข่งขันต่างๆ )

๓. ร่วมวางแผน จัดทำแผน และดำเนินงานตามแผนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

๔. นิเทศครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้

๕. เสนอผลการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่อผู้บริหาร

๖. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมา

หน้าที่ครูประจำชั้น

๑. จัดทำเอกสารธุรการประจำชั้นให้เป็นปัจจุบัน

๒. จัดทำข้อมูลนักเรียนที่รับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน

๓. จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยสังเกต ติดตาม ดูแลการประพฤติ ปฏิบัติตนของ

นักเรียน เพื่อการช่วยเหลือ ป้องกันแก้ไขและพัฒนา

๔. ติดต่อ สื่อสารกับผู้ปกครองนักเรียนในความรับผิดชอบ เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัด

การศึกษาของนักเรียน

หน้าที่ของครูผู้สอน และครูพิเศษ

๑. เตรียมการจัดการเรียนรู้โดยวิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์ผู้เรียน จัดทำแผนการเรียนรู้การสอนซ่อมเสริม การผลิตและใช้สื่อประกอบการจัดการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

 

๒. สอนตามแผนการจัดการเรียนรู้

๓. ซ่อมเสริมตามแผนการสอนซ่อมเสริม

๔. สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

๕. จัดบรรยากาศการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้

๖. จัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

๗. ผลิตและใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้

๘. วัดประเมินผลตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลาย

๙. นำบันทึกผลหลังสอนมาวางแผน ปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอน

๑๐. ปฏิบัติงานตามแผนงาน โครงการและกิจกรรมที่รับผิดชอบ

๑๑. ปฏิบัติหน้าที่ /งานอื่นตามที่ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการบริหารโรงเรียนหัวหน้าสายชั้น/ช่วงชั้น หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และหัวหน้างาน มอบหมาย

 


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

อาคารเรียน

๑. อาคารพัฒนากร เป็นอาคารแบบ ๐๐๘ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้าง

..๒๕๐๙ เป็นเงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท ประชาชนบริจาคสมทบ ๔,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑๒๔,๐๐๐ บาท สร้างอาคารเรียนได้ ๓ ห้องเรียน

..๒๕๑๑ ได้รับงบประมาณในการต่อเติมอีก ๙๐,๐๐๐ บาท สร้างต่อเติมอีก ๒ ห้องเรียน รวมเป็น ๕ ห้องเรียน

..๒๕๑๔ ได้รับงบประมาณในการสร้างต่อเติมอีก ๒๖๐,๐๐๐ บาท ประชาชนบริจาคสมทบอีก ๕๐,๐๐๐ บาท รวมเป็น ๓๑๐,๐๐๐ บาท ต่อเติมมุขกลาง ๑ ห้อง ห้องเรียนอีก ๕ ห้อง รวมเป็นอาคารเรียน ๑๐ ห้องเรียน มีมุขกลาง ๑ ห้อง

..๒๕๒๐ ได้รับเงินบริจาคจากประชาชนในการเดินไฟฟ้าทุกห้องเรียน เป็นเงิน ๑๔,๘๐๐ บาทในการสร้างต่อเติมอาคารเรียนหลังนี้ เมื่อ พ..๒๕๑๔ นางอุ๊ย พัฒนากร คหบดีชาวตำบลเขาวัวได้บริจาคเงินสมทบ ๓๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดของผู้บริจาค อาคารหลังนี้จึงได้รับเกียรติใช้ชื่อว่า " อาคารพัฒนากร

๒. อาคารประกิต อำไพวรรณ์ อุตตะโมต เป็นอาคารแบบ ๐๐๔ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้าง พ..๒๕๒๒ เป็นเงิน ๑,๑๒๒,๐๐๐ บาท ประชาชนบริจาคสมทบ ๑๙๒,๗๙๗ บาท รวมเป็นเงิน ๑,๔๑๒,๗๙๗ บาท สร้างอาคารเรียน ๒ ชั้น ๑๒ ห้องเรียน

 

 

คณะครู กรรมการศึกษา กรรมการโรงเรียนชุมชน และประชาชนได้ร่วมบริจาคเงินและแรงงานตกแต่งเพิ่มเติม ติดตั้งไฟฟ้า ต่อท่อน้ำ ติดอ่างน้ำทุกห้องเรียน และสร้างห้องส้วมใต้บันได ๒ ห้อง คิดเป็นเงินทั้งสิ้น ๖๗,๑๙๗ บาท

 

ในการสร้างอาคารเรียนหลังนี้ได้รับความร่วมมือจากนายประกิต อุตตะโมต และคณะบริจาคเงินสมทบเป็นค่าทาสี ๑๒๕,๖๐๐ บาท อาคารหลังนี้จึงได้รับเกียรติใช้ชื่อว่า"อาคารประกิต อำไพวรรณ์ อุตตะโมต

. อาคารแบบ ป. ( ดัดแปลง )ขนาด ๖.๐๐ x ๑๘.๐๐ เมตร ก่อสร้างเมื่อ พ..๒๕๒๒ โดยใช้วัสดุที่รื้อมาจากอาคารเรียนเดิม ( อาคารแบบ ป. ) โดยได้รับการบริจารวัสดุและแรงงานในการก่อสร้างคิดเป็นเงิน ๒๒,๑๙๐ บาท
๔. อาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๑/๒๖อาคาร ๒ ชั้น ๓ ห้องเรียน ๑ ห้องธุรการ ใต้ถุนโล่ง โครงหลังคาเหล็ก ก่อสร้างเมื่อ ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ งบประมาณ ๑,๗๐๓,๖๐๐.-บาท

๑.๒.๒ อาคารประกอบ

๑. ส้วม แบบ ๔๐๑ ขนาด ๕ ที่นั่ง ๔ ที่ปัสสาวะชาย จำนวน ๒ หลัง สร้างเมื่อ ..๒๕๒๒ โดยใช้วัสดุบางส่วนที่รื้อถอนจากอาคารเรียนเดิมและประชาชนบริจาคค่าวัสดุและแรงงานคิดเป็นเงินหลังละ ๑๖,๕๔๔.๕๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๓,๐๘๙ บาท

. บ้านพักครู แบบกรมสามัญศึกษา ขนาด ๒ ห้องนอน จำนวน ๒ หลัง ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างเมื่อ พ.. ๒๕๑๘ หลังละ ๕๕,๗๐๐ บาทประชาชนบริจาคสมทบอีกหลังละ ๑๕,๗๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๔๒,๘๐๐ บาท

๓.บ้านพักครู สปช.๓๐๑/๒๖ ก่อสร้างเมื่อ ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ งบประมาณ ๓๐๘,๕๐๐.-บาท

สิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ

๑. การประปาโรงเรียน พ..๒๕๑๖ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้สร้างถังน้ำซีเมนต์ แบบ กรมอนามัย ขนาดความจุ ๒๕ ลบ.เมตร จำนวน ๑ ถัง งบประมาณ ๑๗,๕๐๐ บาท และประชาชนบริจาคสมทบ ๕,๐๐๐ บาท รวมเป็น ๒๒,๕๐๐ บาท

..๒๕๑๗ กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย ได้มาเจาะบ่อบาดาลให้ ประชาชนร่วมกันบริจาคเครื่องสูบน้ำพร้อมอุปกรณ์รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๑,๕๐๐ บาท

. สนามบาสเก็ตบอล ขนาด ๑๘,๑๐x ๓๑.๑๐ เมตรได้รับงบประมาณในการก่อสร้างเมื่อ พ.. ๒๕๓๘ เป็นเงิน ๑๒๘,๐๐๐ บาท ประชาชนบริจาคสมทบอีก ๔๐,๐๐๐ บาท

๓. ฐานประดิษฐานพระพุทธรูป ขนาด ๒.๖๕x ๒.๖๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.. ๒๕๒๙ ด้วยเงินบริจาค จำนวน ๒๑,๒๖๗ บาท

. เสาธง ขนาด ๒.๐๐ x ๒.๕๐ เมตร สูง ๑๐ เมตร สร้างเมื่อ พ..๒๕๒๙ ด้วยเงินบริจาค จำนวน ๑๓,๔๐๐ บาท

 

๕. โรงรถ ขนาด ๒๐.๐๐x ๘.๐๐ สร้างเมื่อ พ..๒๕๓๙ ด้วยเงินบริจาค จำนวน ๔๕,๐๐๐ บาท

 

 

 

 

๖. ทาสีอาคารเรียนแบบสปช.๐๐๘ ปรับปรุงห้องส้วมของอาคารเรียนแบบสปช.๐๐๘ ปูกระเบื้องพื้นล่างของอาคารสปช.๑๐๑/๒๖ ด้วยงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนอาคารประกอบ แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวน ๙๖๐,๐๐๐ บาท

๗. ต่อกันสาดชั้นล่างของอาคารเรียนแบบ สปช.๐๐๔ และปูกระเบื้องหน้าห้องเรียน ชั้นล่างและทางเดินรอบอาคารเรียนแบบ สปช.๐๐๔ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ด้วยเงินบริจาคโดยมีวัตถุประสงค์ จำนวน ๓๔๕,๐๐๐ บาท

๘. ปรับปรุงพื้นเทปูนหน้าอาคารสปช.๑๐๑/๒๖ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ด้วยเงินบริจาคโดยมีวัตถุประสงค์ จำนวน ๑๐๙,๐๐๐บาท

 

๙. ซ่อมแซมปรับปรุงบ้านพักครูแบบกรมสามัญกระทรวงศึกษาธิการ เลขที่ ๘๓/๑ เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๖๒ ด้วยงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักครู งบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๖๒ งบลงทุน (ค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง) จำนวน ๑๔๐,๐๐๐ บาท

๑๐. ซ่อมแซมปรับปรุงบ้านพักครูแบบกรมสามัญกระทรวงศึกษาธิการ เลขที่ ๘๓ เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๓ ด้วยงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นจำนวน ๔๕๐,๐๐๐ บาท

๑๑. หอประชุมพิศาลธรรมคุณ เป็นของวัดบูรพาพิทยาราม มอบหมายให้โรงเรียนเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ( ไม่ได้มอบให้เป็นสมบัติของโรงเรียน )



หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

การบริหารงานวิชาการ

. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

๑.๑ การศึกษาวิเคราะห์เอกสารหลักสูตรสถานศึกษา ร.ร.วัดบูรพาพิทยาราม ฯ พ.. ๒๕๕๕
และเอกสารประกอบหลักสูตร เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สังคม ชุมชนและท้องถิ่น

๑.๒ การปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ ตลอดจนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่สถานศึกษากำหนด

๑.๓ การนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนรู้

๑.๔ การนิเทศ

๑.๕ การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร

. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้

๒.๑ ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ตามสาระและหน่วยการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญรวมทั้งการปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม อันดีงาม การส่งเสริมให้นักเรียนรักการอ่านและใฝ่รู้ใฝ่เรียน

๒.๒ จัดห้องเรียนและห้องพิเศษให้เหมาะสมและสอดคล้องกับจำนวนนักเรียน รวมถึงจัดวัสดุครุภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอตามความจำเป็น

๒.๓ จัดทำหรือจัดหาเอกสารประกอบหลักสูตรและแบบพิมพ์ต่างๆที่สนับสนุนการสอนเช่น แผนการสอน คู่มือครู และเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับครูผู้สอนให้เพียงพอ

๒.๔ เยี่ยมชั้นเรียน นิเทศการสอน โดยเน้นความเป็นกัลยาณมิตร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเสนอแนะ ช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน

๒.๕ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้ได้รับความรู้เพื่อการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

 

. การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน

๓.๑ กำหนดระเบียบ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลของสถานศึกษา

๓.๒ ส่งเสริมให้ครูวัดและประเมินผล โดยให้ครอบคลุมทั้งด้านพุทธิพิสัยทักษะพิสัย และจิตพิสัย โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และกิจกรรมการเรียนรู้

๓.๓ ส่งเสริมการประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน โดยใช้วิธีการหลากหลาย

๓.๔ จัดให้มีการเทียบโอนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์และผลการเรียนจากสถานศึกษาอื่นตามที่กระทรวงกำหนด

๓.๕ พัฒนาเครื่องมือวัดผล ประเมินผลให้ได้มาตรฐาน

๓.๖ วางแผนกำหนดระยะเวลาการวัดผลและประเมินผล จัดทำปฏิทินปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับหลักสูตรและเวลาเรียน

 

 

 

 

. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

๔.๑ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้ได้รับความรู้ด้านการวิจัยในชั้นเรียน

๔.๒ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยการทำวิจัยในชั้นเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ เรื่อง

 

๔.๓ ประสานความร่วมมือในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานวิจัย และผลงานทางวิชาการกับสถานศึกษา บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่น

 

. การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

๕.๑ ศึกษา วิเคราะห์ ความจำเป็นในการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหารงานวิชาการ

๕.๒ ส่งเสริมการผลิต พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน

๕.๓ จัดหา สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการพัฒนางานวิชาการ

๕.๔ ประสานความร่วมมือในการผลิต จัดหา พัฒนา การใช้สื่อ นวัตกรรม เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนางานวิชาการกับสถานศึกษา บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่น

๕.๕ การประเมินผลการพัฒนา การใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

 

.การพัฒนาแหล่งเรียนรู้

๖.๑ สำรวจแหล่งเรียนรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และท้องถิ่น

๖.๒ จัดให้มีพิเศษ ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุดหรือมุมหนังสือที่เหมาะสมและสอดคล้องกับจำนวนนักเรียน

๖.๓ จัดหาหนังสือ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่จำเป็นสำหรับห้องพิเศษ ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุดให้เพียงพอ

๖.๔ ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในและนอกโรงเรียนในการจัดกระบวนการเรียนรู้

. การนิเทศการศึกษา

๗.๑ ศึกษาและทำความเข้าใจถึงหลักการ และวิธีการปฏิบัติในการนิเทศ

๗.๒ สร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูเพื่อการยอมรับซึ่งกันและกัน

๗.๓ แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายใน โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาเป็นประธาน หัวหน้างานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และคณะครูทุกคนร่วมเป็นกรรมการและดำเนินการนิเทศ ตามกำหนด

๗.๔ ประเมินผลการจัดระบบ และกระบวนการนิเทศการศึกษาของสถานศึกษา

๗.๕ ติดตามประสานงานกับเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการนิเทศงานวิชาการ และการเรียนการสอน

 

 

 

 

 

. การแนะแนวการศึกษา

๘.๑ จัดระบบการแนะแนวการศึกษา โดยเชื่อมโยงกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และกระบวนการเรียนการสอน

๘.๒ ดำเนินการแนะแนวการศึกษา โดยความร่วมมือของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา

๘.๓ ติดตามและประเมินผลการแนะแนวการศึกษาในสถานศึกษา

๘.๔ ประสานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์ด้านการแนะแนวการศึกษากับสถานศึกษาอื่น หรือเครือข่ายการแนะแนวที่เกี่ยวข้อง

 

. การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

๙.๑ จัดระบบโครงสร้างองค์กร ให้สอดรับการจัดระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

๙.๒ กำหนดเกณฑ์การประเมิน เป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และมาตรฐานการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินของ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน

 

๙.๓ วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้บรรลุผลตามเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษา

๙.๔ ดำเนินการพัฒนาตามแผน กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินคุณภาพ และปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

๙.๕ ประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาและหน่วยงานอื่น ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

๙.๖ ประสานงานกับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

 

๑๐. การส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน

๑๐.๑ ศึกษา สำรวจความต้องการ และสนับสนุนงานวิชาการแก่ชุมชน

๑๐.๒ การส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางวิชาการของสถานศึกษา และที่จัดโดยบุคคล องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา

๑๐.๓ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการใช้เทคโนโลยี ระหว่างสถานศึกษา บุคคล ครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น

 

๑๑. การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น

๑๑.๑ ประสานความร่วมมือ ช่วยเหลือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาของรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ทั้งภายในเขตพื้นที่การศึกษาและนอกเขตพื้นที่การศึกษา

 

๑๑.๒ สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับองค์กรต่างๆ

 

 

 

๑๒. การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา

๑๒.๑ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาการและการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) มีกระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยการพัฒนาครูทุกคนให้มีความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กปฐมวัยตามศักยภาพตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาครูผู้สอนในระดับชั้นเดียวกันร่วมกันกำหนดแผนการจัดประสบการณ์ การสังเกต การประเมินพัฒนาการ และการใช้สื่อเทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูลในการจัดประสบการณ์ ได้แก่ ห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องสื่อปฐมวัยศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น แปลงผักไฮโดรโปนิกส์

มีการออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็กให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา ให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยใช้การจัดกิจกรรมผ่านการลงมือกระทำ เกิดความรู้ ทักษะคุณธรรม จริยธรรม โดยการจัดกิจกรรมเรียนรู้อย่างบูรณการผ่าน 6กิจกรรมหลักกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมเล่นตามมุม กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และโครงการกิจกรรม ที่โรงเรียนได้จัดส่งเสริมต่าง ๆ เช่น

พัฒนาการด้านร่างกาย โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กได้ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด โดยใช้โปรแกรม คำนวณโภชนาการอาหารกลางวัน (ไทย สคูลลั้น) ส่งเสริมสุขภาพอนามัย เช่น การล้างมือก่อนการรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน เก็บที่นอนและดูแลความสะอาดของตนเองเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ให้แข็งแรงคล่องแคล่ว สัมพันธ์กัน เหมาะสมกับวัยผ่านกิจวัตรประจำวันจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมการเคลื่อนไหว การเล่นออกกำลังกายกลางแจ้ง การปั้นดินน้ำมัน การฉีก ตัด ปะ กระดาษ การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส กิจกรรมส่งเสริมสุขลักษณะการตรวจสุขภาพ และส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยการลงมือกระทำเป็นการเรียนรู้แบบ Active Learningและรู้จักรักษาความปลอดภัยต่อตนเองส่งผลให้เด็กได้รับรางวัลต่าง ๆ หลายปีติดต่อกัน ดังนี้

1.การแข่งขันปั้นดินน้ำมันระดับปฐมวัย

-รางวัลเหรียญทองแดงระดับภาค งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 63 จังหวัดเพชรบุรี ปีการศึกษา 2556 และครั้งที่ 65 จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2558

-รางวัลเหรียญทองระดับเขตพื้นที่ ปีการศึกษา2557 2559 2560

-รางวัลเหรียญเงินระดับเขตพื้นที่ ปีการศึกษา 2562

-รางวัลเหรียญทองระดับอำเภอ ปีการศึกษา2556 2557 2558 2559 2560 2561

2.การแข่งขัน ฉีก ตัด ปะ กระดาษ

-รางวัลเหรียญทองระดับเขต งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนปีการศึกษา 2558 2560 2561 2562

-รางวัลเหรียญทองระดับอำเภอ ปีการศึกษา2556 2557 25582559 2560 2561

พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ที่เหมาะสมกับวัย มีความสุขร่าเริง แจ่มใส รักดนตรี ชื่นชมศิลปะธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่นมั่นคงเชื่อมั่นในตนเอง เรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นซึ่งเกิดจากการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นกิจกรรมเคลื่อนไหวตามดนตรีออกกำลังกาย กิจกรรมกีฬาสี กิจกรรมการละเล่นไทย กิจกรรมเล่านิทานก่อนนอน

พัฒนาการด้านสังคม โรงเรียนได้ส่งเสริม ให้เด็กมีการพัฒนาทักษะชีวิต เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและเหมาะสมตามวัย มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เช่น สามารถปฏิบัติกิจกรรมหน้าเสาธงกิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้กิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่นสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองเช่น แต่งตัว ใส่รองเท้ารับประทานอาหาร รู้จักเก็บงาน เล่นของเล่นตามมุม รู้จักเก็บของเล่นเข้าที่ มีน้ำใจเล่นแล้วร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นได้ เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก พัฒนาคุณธรรมให้เด็กเป็นคนดี มีวินัย มีมารยาท ปฏิบัติตามข้อตกลงได้ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรู้จักประหยัด แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ สำนึกความเป็นไทยและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทยได้เหมาะสมกับวัย เช่น กิจกรรมหนูน้อยมารยาทงาม รู้จักรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เช่น กิจกรรมประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครอบครัว ชุมชนและทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม

พัฒนาการด้านสติปัญญา โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ใช้ภาษาในการบอกเล่าถ่ายทอดความต้องการ ความรู้สึกได้เหมาะสมกับวัยสามารถสังเกตจำแนกเปรียบเทียบ รู้ค่าจำนวน มิติสัมพันธ์และเวลา บอกลักษณะความเหมือน ความต่าง ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ มีจินตนาการความคิดสร้างสรรค์รู้จักใช้คำถามแสวงหาคำตอบด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เช่น บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมเรียนรู้แบบโครงงาน กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้กิจกรรมเสริมหลักสูตรคอมพิวเตอร์โครงการเรียนรู้โลกกว้างด้วย ICT ส่งผลให้เด็กผ่านการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ทุกคน

ผลการดำเนินงาน  

ผลที่เกิดจากการพัฒนา

ด้านการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ เด็กปฐมวัยทุกคนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตยและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กล้าแสดงออกและแสดงความคิดเห็น รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ กตัญญูกตเวที มีความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตสาธารณะ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี รู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งมีความตระหนักถึงโทษและ พิษภัยของสิ่งเสพติด สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขและมีความพร้อมที่จะเข้าศึกษา ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต่อไป

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม(ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) ได้กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจนองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพเด็กรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา เพื่อให้เด็ก มีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ สำหรับด้านระบบกลไก การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย ได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาโดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาเด็กตามศักยภาพ

ผลการดำเนินงาน  

ผลการดำเนินงาน

1.สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นและสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

2.แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียน ทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่งข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

3.สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

4 ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

5 สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสมเป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

6 สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมยึดหลัก ธรรมาภิบาลและแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา

7 สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่งผลให้สถานศึกษา มีสื่อการเรียนการสอนโดยการผลิตสื่อการเรียนการสอนใช้เองอย่างน้อยเดือนละ 1 ชิ้น และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

ในการจัดการศึกษาปฐมวัยนั้น ได้มุ่งเน้นความสำคัญของพัฒนาการในทุกๆ ด้านทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา มีความรู้คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข ภายใต้คำว่าเก่ง ดี มีสุข ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนมีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้

ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบ

ด้านสังคมเด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่

ด้านสติปัญญา มีความคิดรวบยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย

จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคีการแบ่งปันและการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข

จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่เด็ก ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกันซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้เด็กรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็ก

ผลการดำเนินงาน  

ผลการดำเนินงาน

ประเด็นความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง ได้แก่หลักสูตรสถานศึกษา การบันทึกการใช้สื่อ เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ เอกสารการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน เชิงบวกโดยครูมีวิจัยชั้นเรียนและนำผลไปแก้ไขปัญหาจริง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

คุณภาพของเด็ก

เด็กปฐมวัยมีผลการประเมินพัฒนาการที่อยู่ในระดับดีเลิศ ตามมาตรฐานการประเมินตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

กระบวนการบริหารและการจัดการ

โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) มีการบริหารและมีการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยนำเทคนิคที่หลากหลายมาใช้ในการบริหารจัดการ เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารสถานศึกษากับบุคลากรในโรงเรียน การประชุมระดมสมอง การประชุมตามกลุ่มงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการปรับแผนที่วางไว้ เพื่อให้ตรงตามแผนปฏิบัติการ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และนโยบายของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหาความต้องการพัฒนา และนโยบายปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และได้ใช้กระบวนการวิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริง มีการใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมไปถึงการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

คุณภาพของเด็ก

- การใช้วาจาสุภาพเหมาะสมกับวัย

- เด็กควรได้รับการกระตุ้นให้ทำกิจกรรมหลากหลายทั้ง กลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้นำและการเป็นผู้ตามที่ดีสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข

- เมื่อจบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยแล้ว ควรมีการทบทวนความรู้ความสามารถของเด็ก ๆ ในระหว่างปิดภาคเรียนเป็นระยะ ๆ เพราะเด็กปฐมวัยจะใช้เวลานานในการปรับพื้นฐานการเรียนรู้ให้เข้ากับหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

กระบวนการบริหารและการจัดการ

- สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

- สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัย

การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

- ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ และการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง และติดตามประเมินผลนักเรียนเป็นระยะเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน


 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

1.1 โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ)ได้ดำเนินการสรุปผลการจัดการศึกษาประจำปีพุทธศักราช 2563 โดยสะท้อนผลการจัดการศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านกระบวนการบริหารและ การจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและด้านระบบประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล ได้นำเสนอสภาพทั่วไปของสถานศึกษา ผลการประเมินรายมาตรฐาน และภาพรวมสะท้อนจุดเด่น จุดควรพัฒนาพร้อมทั้งเสนอแนวทางพัฒนาในอนาคตและความต้องการช่วยเหลือ โดยผ่านการแต่งตั้งคณะทำงาน การรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ การเขียนรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา และนำข้อมูลผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน วัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ

1.2 โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) ได้มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการ ที่หลากหลาย ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร โดยออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนหลากหลายวิธี เช่น การจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง ลงมือปฏิบัติจริง ร่วมมือกันเรียนรู้ใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก เน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยฝึกผู้เรียนอ่านหนังสือแบบสะกดคำ-แจกลูก ฝึกเขียนตามคำบอก บันทึกการอ่าน เข้าร่วมกิจกรรมรักการอ่าน เข้าร่วมประกวดกิจกรรมห้องสมุดที่ส่งเสริมทักษะภาษาไทยและคณิตคิดเลขเร็ว พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน ครูในสายชั้นเดียวกันร่วมกันกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน

1.3 โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) ได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โดยการจัดค่ายคุณธรรมกับนักเรียนทุกระดับชั้น จัดกิจกรรมการพัฒนาให้เหมาะสมกับวัย เน้นให้ผู้เรียนมีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ มีระบบการแนะแนว และการดูแลสุขภาวะจิต นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอน และมีการเรียนรู้ในโลกกว้าง การเข้าไปศึกษากับภูมิปัญญาในชุมชนรอบ ๆ สถานศึกษา และเพิ่มเวลารู้เรื่องอาชีพ เช่น การผลิตของใช้ น้ำยาล้างจาน กระทงใบตอง พวงกุญแจลูกปัดผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นต้น
1.4 โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) ได้พัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนในด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรมค่านิยมที่พึงประสงค์ความสามารถในการคิด วิเคราะห์พัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร รู้จักใช้แหล่งเรียนรู้ในการค้นหาข้อมูล แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียน พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตพร้อมที่จะเป็นคนที่มีความสุข มีสุนทรียภาพ มีความชื่นชมในด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา โดยได้จัดโครงการ กิจกรรมให้ครอบคลุม ชัดเจนและสามารพัฒนาผู้เรียนได้ตามที่กำหนดคือโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โครงการโรงเรียนหมู่บ้านศีล 5 โครงการโรงเรียนสุจริต โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระวิชาหลักโครงการพลิกโฉมโรงเรียนตามแนวคิด Brain Based Learningโครงการโรงเรียนประชารัฐโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโครงการเด็กดีศรีบูรพา และพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่นักเรียน โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี กิจกรรมแนะแนวกิจกรรมสวดมนต์วันสุดสัปดาห์บันทึกความดี กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน โครงการห้องสมุด กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โครงการสู่โลกกว้างด้วย ICT กิจกรรมใช้แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้

นอกจากนี้มีการจัดกิจกรรมหน้าเสาธง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีงาม ภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย สามารถอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างอย่างหลากหลายได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักดูแลรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต โดยการออกกำลังกาย ดื่มนม รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ครบ 5 หมู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย สามารถหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัยพิบัติ และสิ่งเสพติดได้

ผลการดำเนินงาน  

ผลการดำเนินงาน

โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) ได้ดำเนินการรายงานผลการดำเนินงานประจำปีพุทธศักราช 2563ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

2.1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิซาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่าน ในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดี รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติด ต่าง ๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาดและมีประโยชน์ รักการออกกำลังกาย นักเรียนทุกคนสามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละประเภท ยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษา ของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัย

จากการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมที่กำหนดส่งผลให้ผู้เรียน มีความสามารถในการอ่านและเขียน ความสามารถในด้านการสื่อสารความสามารถในด้านการคิดคำนวณ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์คิดวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แก้ปัญหาและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลการทดสอบระดับชาติของผู้เรียน และมีความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดี พร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้นหรือมีวุฒิภาวะทางอาชีพเหมาะสมกับช่วงวัย มีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม จิตสังคมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฎชัดเจนโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นในความเป็นไทยและเห็นคุณค่าเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยและแสดงออกได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน ยอมรับเหตุผลความคิดเห็นของผู้อื่นและมีมนุษยสัมพันธ์ มีวิธีการรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง รักษาอารมณ์และสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอ รู้และมีวิธีการป้องกันตนเองจากการล่อลวง ข่มเหง รังแก ไม่เพิกเฉยต่อการกระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องและอยู่ร่วมกันด้วยดีในครอบครัว ชุมชนและสังคม มีคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม มีคุณลักษณะที่ดีตามแบบที่สังคมไทยกำหนด รักการทำงาน รู้หลักการปฏิบัติตนในอาชีพสุจริต สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความรู้ที่เหมาะสมกับความสามารถตามหลักสูตร ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ คิดวิเคราะห์ สรุปเป็นความรู้ของตนและนำเสนอได้ สามารถลำดับขั้นตอนการทำงานได้ ภูมิใจในผลงานของตนของกลุ่ม แก้ไขปัญหาที่พบ รักการเรียน สามารถพัฒนาตนเองตามความสามารถ มีสุขภาพกายที่สมบูรณ์ รู้วิธีเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพตนเอง มีสุขภาพจิตที่ดี ร่าเริง แจ่มใส รักชื่นชอบในศิลปะ ดนตรี การขับร้อง และกีฬาเป็นอย่างดี ห่างไกลจากยาเสพติด
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  
ผลการดำเนินงาน  
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) บริหารงานโดยกำหนดสายงานการบริหารจากผู้อำนวยการสถานศึกษา ไปยังหัวหน้าหน่วยงาน หัวหน้าสายช่วงชั้น และหัวหน้ากิจกรรม โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นคณะกรรมการในสายงานบังคับบัญชาตามกฎหมายกรณีโรงเรียนเป็นนิติบุคคล และขอบข่ายการบริหารงาน 4งานของโรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) ประกอบด้วย1) การบริหารงานวิชาการ 2) การบริหารงานบุคคล 3) การบริหารงานงบประมาณ 4) การบริหารงานทั่วไป

ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษาอย่างชัดเจน มีการวางแผนพัฒนาวิขาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี กำหนดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ โดยแต่งตั้งและมอบหมายผู้รับผิดชอบ เพื่อให้สามารถดำเนินการตามแผนที่กำหนดได้ มีการกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินโครงการ กิจกรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ และให้ผลสะท้อนกลับแก่ผู้รับผิดชอบโครงการ กิจกรรม หรือครูผู้สอน เพื่อให้นำผลมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ สนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน ผู้ปกครอง หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุนให้ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ เช่น การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร การเข้ารับการอบรม การเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงาน เป็นต้น

นอกจากนี้ผู้บริหารสถานศึกษายังให้ความสำคัญต่อการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน และแหล่งเรียนรู้ ต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของครู ส่งเสริมการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การจัดซื้อหนังสือที่ส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษ ฯลฯ เพื่อให้บริการเข้าใช้ห้องสมุด จัดบริการอินเทอร์เน็ต เพื่อผู้เรียนใช้สืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทั้งยังมีการกำหนดแผนการบริหารและจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบและเป็นปัจจุบัน

ผลการดำเนินงาน  

ผลการดำเนินงาน

โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) ให้บริการทางการศึกษารวม 9หมู่บ้านโดยจัดการศึกษาเป็น 3 ระดับ คือ 1. ระดับปฐมวัย (อนุบาล 2-3) 2. ระดับประถมศึกษา (ประถมศึกษาปีที่ 1-6) 3. ระดับมัธยมศึกษา (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3)

1) การบริหารงานวิชาการ สามารถพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนวัดผลประเมินผลได้อย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2) การบริหารงานงบประมาณ สามารถบริหารให้มีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดหลักการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และผลการดำเนินงาน

3) การบริหารงานบุคคล สามารถบริหารตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรในโรงเรียนได้รับการพัฒนามีความรู้ ความสามารถ มีขวัญกำลังใจ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ มีความมั่นคงและก้าวหน้าในวิชาชีพ

4) การบริหารงานทั่วไป สามารถประสาน ส่งเสริม สนับสนุนให้การจัดการศึกษาบรรลุเป้าประสงค์ของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษา เช่น การดำเนินโครงการสังคมแห่งการเรียนรู้ สู่เศรษฐกิจพอเพียง (โรงเรียนประชารัฐ) และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 รวมทั้งการให้ความร่วมมือจากกรรมการสถานศึกษาและชุมชน ในการดำเนินโครงการและจัดกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) จัดกระบวนการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำรวจความต้องการในการเรียนรู้หาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นและท้องถิ่นใกล้เคียง เชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน

ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตนเอง จัดกิจกรรมที่ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัดสอดคล้อง กับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการกลุ่ม การลงมือปฏิบัติจริง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง ได้รู้จักนำเสนอความคิด และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สนับสนุนให้ผู้เรียนรักการอ่าน และรู้จักสืบค้นข้อมูลจากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ครูมีการบริหารชั้นเรียนเชิงบวกจัดบรรยากาศในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สร้างขวัญกำลังใจในการเรียนรู้ มอบรางวัลตามโอกาส และจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ และทักษะที่หลากหลาย โดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โรงเพาะเห็ด แปลงขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ แปลงพืชสมุนไพร แปลงผักสวนครัว แปลงผักไฮโดรโปนิกส์และน้ำยาล้างจาน เป็นต้น

ครูมีการประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ใช้การวัดผลที่หลากหลาย สามารถตรวจสอบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ข้อมูลสะท้อนกลับที่เป็นประโยชน์ โดยการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ครูมีการประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ใช้การวัดผลที่หลากหลาย สามารถตรวจสอบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ข้อมูลสะท้อนกลับที่เป็นประโยชน์ โดยการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ผลการดำเนินงาน  

ผลการดำเนินงาน

ผู้เรียนส่วนใหญ่สามารถวิเคราะห์ตนเอง เลือกกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของตนเองได้ รู้จักเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการกลุ่ม การลงมือปฏิบัติจริง รู้จักการนำเสนอความคิด รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักสืบค้นข้อมูลจากสื่อเทคโนโลยี และสามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง แต่ผลจากการดำเนินงานบางโครงการ และบางกิจกรรม ไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายมาตรฐาน ทำให้สถานศึกษาต้องนำผลจากการดำเนินงานไปวางแผน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

. ด้านคุณภาพผู้เรียน

ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด มีความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน การคิดคำนวณ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับดี เนื่องจากผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูได้มีการประชุมวางแผน กำหนดโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมค่ายกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมลดเวลาเรียน หรือการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแบบ Active learning ทั้งทางวิชาการและทักษะอาชีพ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบปฏิบัติจริง สามารถคิดวิเคราะห์ และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดได้ กอปรกับผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการกำกับติดตามโดยผู้บริหารสถานศึกษาตลอดภาคเรียน ส่งผลให้การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปตามวัตถุประสงค์

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะความเป็นผู้นำสูง มีบุคลิกภาพและการวางตนที่เหมาะสม มีความใส่ใจ เอื้ออาทรต่อครูและบุคลากรสถานศึกษา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ได้รับการยอมรับจากกรรมการสถานศึกษาและชุมชน อีกทั้งสามารถบริหารงานเป็นไปตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ และหมั่นแสวงหาความรู้ทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ได้รับความเชื่อมั่น เชื่อถือจากครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน ผู้ปกครอง หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน เช่น การรับคณะศึกษาดูงานจากสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด

ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการคิด ได้ลงมือปฏิบัติจริง มีการใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และครูมีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ


ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ด้านคุณภาพผู้เรียน

ควรพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรสถานศึกษาในระดับ 3 ขึ้นไป สูงกว่าร้อยละ 50 ควรเพิ่มผลสัมฤทธิ์การทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ให้สูงกว่าร้อยละ 50 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และควรเร่งพัฒนาการสร้างนวัตกรรมที่หลากหลายของผู้เรียน

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

โรงเรียนมีจุดที่ควรเร่งพัฒนาได้แก่ ครูควรจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และการสร้างแบบทดสอบที่เป็นไปตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด การจัดทำวิจัยในชั้นเรียนที่สอดคล้องกับปัญหาที่พบจากการจัดการเรียนรู้ ซึ่งโรงเรียนมีการวางแผนปรับปรุงโยสร้างความตระหนักและความเข้าใจถึงความสำคัญ และเน้นย้ำให้ครูทุกคนได้ลงมือปฏิบัติ

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก
 สถานศึกษานำเสนอหลักฐานข้อมูลสำคัญ หรือเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ แบบย่อ ๆ เช่น 1. การกำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ) 2. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2563 3. คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา (รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา) ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนวัดบูรพาพิทยาราม (ธรรมรัตน์ศึกษาประชาอุทิศ)