รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดคลองขุด

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

มาตรฐานการศึกษา

มาตรฐานการศึกษา

ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

ดี

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดี

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ดี

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้นคือ

๑) โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนระดับปฐมวัย

๒) โครงการส่งเสริสมรรถภาพและสุนทรียภาพผู้เรียน

๓) โครงการหนูน้อยสุขภาพดีมีสุข

๔) โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการ

๕) โครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและวันสำคัญ

๖) โครงการพัฒนาเครื่องเล่นสนาม

๗) โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

๑.๑ ข้อมูลทั่วไป.

ชื่อสถานศึกษา : โรงเรียนวัดคลองขุด

ที่อยู่ : เลขที่ ๕/๒๑ หมู่ ๑ ตำบล คลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22120

สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑

โทรศัพท์ : 098 - 3752744 โทรสาร : - e-mail : watklongkhud-school@hotmail.com

เปิดสอน : ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

เขตพื้นที่บริการ : หมู่ ๑ หมู่ ๓ และหมู่ ๑๐ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

 

ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

โรงเรียนวัดคลองขุดตั้งขึ้นเมื่อวันที่๑๓ มีนาคม ๒๔๗๘ โดยมีพระอธิการย้อย เจ้าอาวาสวัดคลองขุด เป็นผู้ก่อตั้งอาคารเป็นไม้ชั้นเดียวมีมุขกลางขนาด ๘ วา ๒ ศอก กว้าง ๓ วา ๒ ศอก ทำการสอนบนอาคารหลังนี้เป็นเวลา ๒๐ ปี ๖ เดือน ๑๓ วัน ต่อมาอาคารหลังนี้ถูก วาตภัยเสียหายเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๐๐ และได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป.๓ ขนาด ๘×๒๔ เมตร ในราคา ๑๐๐,๐๐๐ บาท เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๔ ต่อมาทางราชการขยายการศึกษาภาคบังคับถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ทางโรงเรียนจึงได้รับงบประมาณมาสร้างในที่แห่งใหม่ห่างจากที่สร้างเดิม ๕๐๐ เมตรเป็นอาคาร แบบ ๐๐๔ จำนวน ๖ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๕๔๐,๐๐๐ บาท สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๑ โดยเปิดเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โดยมี นายไว สุดถนอม เป็นครูใหญ่และได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนด้านข้างชั้นบนจำนวน๑ ห้องเรียน เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๖๐,๐๐๐ บาท ต่อมานายไว สุดถนอม ได้เกษียณอายุราชการ โดยมีนายสุทิน ประกอบวงศ์ มาเป็นครูใหญ่ ได้รับงบประมาณมาทำการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์แบบ สปช. ๒๐๒/๒๕๒๖ จำนวน๑ หลัง ขนาด ๑๐×๑๒ เมตร ต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่นโดยมีนายสุรเชษฐ์ พรพานิช มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทนเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๐ และได้ย้ายออกไปเมื่อปี ๒๕๓๔

นายปราโมทย์ ผลอุดม มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๔และในปี ๒๕๔๐ ได้เปิดรับนักเรียนชั้นอนุบาล ๓ ขวบเป็นปีแรกและในปี ๒๕๔๑ งดรับอนุบาล ๓ ขวบ เหลือเพียงนักเรียนชั้นอนุบาล ๑ – ๒ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ จำนวนข้าราชการครูทั้งหมด ๗ คน ชาย ๓ คน หญิง ๔ คน นักการภารโรง ๑ คน ในปี ๒๕๔๐ ทำปริมาณงานขอเลื่อนตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ตามลำดับและในปีเดียวกันได้ทำการก่อสร้างส้วมเพื่อให้นักเรียนได้ใช้ จำนวน ๑ หลัง ๔ ที่ โดยมีผู้บริจาคเป็นจำนวนเงิน ๓๘,๙๐๐ บาท ในปี ๒๕๔๒ ได้จัดสร้างพระพุทธรูปประจำสถานศึกษา จำนวน ๑ องค์ โดยมีผู้บริจาคเป็นเงิน ๑๙,๐๐๐ บาท

ปี ๒๕๔๒ โรงเรียนวัดคลองขุดได้ดำเนินโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนได้ดำเนินการจนประสบความสำเร็จและเข้ารับป้ายทองพระราชทานในปี ๒๕๔๖

ในปีเดียวกันได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วมจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีจำนวน ๑ หลัง ปี ๒๕๔๗ ได้ทำการต่อเติมด้านข้างชั้นล่างเพื่อจัดทำเป็นห้องสมุดและห้องคอมพิวเตอร์ โดยมีผู้บริจาคเป็นจำนวนเงิน ๘๗,๐๐๐ บาท และได้มีการปรับปรุงพัฒนามาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง

เมื่อนายปราโมทย์ ผลอุดม ได้เกษียณราชการเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๘ และได้มีคำสั่งให้ นางโพยม นาวารัตน์ ตำแหน่งครู คศ.๓ โรงเรียนวัดคลองขุด รักษาราชการแทน

นางโพยม นาวารัตน์ ได้เกษียณราชการเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๙ และได้มีคำสั่งให้ นางบุญญา รัตโนภาส ตำแหน่งครู คศ.๓ โรงเรียนวัดคลองขุด รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนวัดคลองขุด

นางสาววิภาภรณ์ คำฤาเดช มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดคลองขุด เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้ง
- โรงเรียนวัดคลองขุด ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

- พื้นที่บริเวณโรงเรียนทั้งหมด ๑ แปลง เนื้อที่ ๑๕ ไร่ -งาน - ตารางวา

เดิมพื้นที่โรงเรียนซึ่งเป็นที่ราชพัสดุเป็นแปลงเดียวกันต่อมาได้มีการสร้างถนนตัดผ่านทำให้ที่ดินแบ่งออกเป็น ๒แปลง มีชาวบ้านเข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่เริ่มแรกและมีการออกโฉนดซ้ำซ้อนระหว่างที่ของโรงเรียนและที่ของชาวบ้านจึงทำให้ที่ของโรงเรียนมีอยู่ ๕ ไร่

- ระยะห่างจาก สพป.จบ. ๑ ถึงโรงเรียน เป็นระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ของสถานศึกษา

วิสัยทัศน์

โรงเรียนวัดคลองขุดใช้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้และสื่อทางธรรมชาติ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญพัฒนาครูให้มีความรู้และประสบการณ์อย่างหลากหลายเพื่อให้นักเรียนเป็น  คนเก่ง  ดี  มีสุข  มีคุณธรรมและจริยธรรม  ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

พันธกิจ

๑.  พัฒนาสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและสภาพแวดล้อมทั่วไปให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

๒. พัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์อย่างหลากหลาย

๓. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๔.  จัดหาเทคโนโลยี สื่อ ICT มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

๕.  ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างเต็มที่

๖.  จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม 

๗. จัดหาอาหารกลางวันให้นักเรียนได้รับประทานกันทุกคน  ทุกวัน และจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

เป้าประสงค์

      ๑. มีสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์ใช้เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

      ๒. ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

      ๓. มีเทคโนโลยีและสื่อ ICT  มาใช้ในการเรียนการสอน

      ๔. ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

      ๕. นักเรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม

       ๖.  นักเรียนมีอาหารกลางวันรับประทานครบทุกคน ทุกวันและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา

เก่ง ดี มีมารยาท

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 2 0 2 1 0


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

     หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดคลองขุด  (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๒) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษา                  เพื่อให้ผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรของสถานศึกษามีแนวปฏิบัติ ดังนี้

ระดับการศึกษา
          หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดคลองขุด  (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๒) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จัดการศึกษา ดังนี้
          ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖)การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงแรกของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการคิดพื้นฐาน                            การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้นจัดการเรียนรู้                  แบบบูรณาการ
             
การจัดเวลาเรียน
          หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดคลองขุด  (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๒) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้จัดเวลาเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยจัดให้เหมาะสมตามบริบท จุดเน้นของโรงเรียน และสภาพของผู้เรียน ดังนี้
          ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖) จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละ 6 ชั่วโมง

โครงสร้างหลักสูตร      
          โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดคลองขุด (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๒) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ประกอบด้วยโครงสร้างเวลาเรียนและโครงสร้างหลักสูตรชั้นปี ดังนี้
              ๑.  โครงสร้างเวลาเรียน เป็นโครงสร้างที่แสดงรายละเอียดในภาพรวม เวลาเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ที่เป็นเวลาเรียนพื้นฐาน เวลาเรียนรายวิชาเพิ่มเติม และเวลาในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำแนกแต่ละชั้นปี ในระดับประถมศึกษา ดังนี้

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดคลองขุด
โครงสร้างเวลาเรียน ระดับประถมศึกษา

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา/กิจกรรม

เวลาเรียน : ชั่วโมง/ปี

ระดับประถมศึกษา

.

.

.3

.4

.

.6

— กลุ่มสาระการเรียนรู้/วิชาพื้นฐาน

 

    ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

60

60

60

    คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

60

60

60

    วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๘๐

๘๐

๘๐

๑๒0

๑๒0

๑๒0

    สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

80

80

80

0

0

0

    ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

    สุขศึกษาและพลศึกษา

๒0

๒0

๒0

0

0

0

    ศิลปะ

๒0

๒0

๒0

0

0

0

 


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

โรงเรียนวัดคลองขุด ประกอบไปด้วยอาคารเรียน 2 ชั้นจำนวน 1 หลัง โรงอาหารจำนวน 1 หลัง บ้านพักครูจำนวน 1 หลัง ห้องน้ำจำนวน 2 หลัง เรือนเพาะเห็ดจำนวน 1 หลัง และสนามกีฬา 



หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายใน

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

๑. สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

๒. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

๓. โรงอาหาร

๔. ห้องพยาบาล

๕. ห้องสมุด

๖. ห้องประชาธิปไตย

๗. มุมหนังสือในห้องเรียน

๘. เรือนปลูกผักระบบไฮโดรโพนิค

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๕๐

๒๐๐

๓๐

๒๐๐


แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

สถิติการใช้

จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

๑. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อ่าวคุ้งกระเบน)

๒. สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ

๓. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด

๔. วัดคลองขุด

 


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  
๑. กระบวนการพัฒนา

สถานศึกษามีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยจัดประสบการณ์ที่เหมาะกับเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจและสังคมดังต่อไปนี้

1. นักเรียนได้รับอาหารจากโครงการอาหารกลางวัน ทุกวันทำการ และครูได้ทำการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง ไว้ทุกเดือนเพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็ก ได้พัฒนานักเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายเคลื่อนที่โดยมีอุปกรณ์ กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เล่นอิสระ เล่นเกมการละเล่นต่าง ๆ เล่นเครื่องเล่นสนาม การทรงตัว ได้แก่ ยืนขาเดียว เดินต่อเท้าเดินหน้า ถอยหลัง และพัฒนานักเรียน เรื่องการดูแลและสุขภาพ และป้องกันตนเองไม่ให้เกิดอุบัติภัย เช่น การรับประทานอาหาร การใช้ห้องน้ำ – ห้องส้วม การออกกำลังกาย การดูแลรักษาสุขภาพ

2. พัฒนาเด็กให้มีความร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย ยอมรับและพอใจในความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปัน เคารพสิทธิ รู้หน้าที่รับผิดชอบ อดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด ชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมตามตารางกิจกรรมประจำวัน เช่น สวดมนต์ไหว้พระ กิจกรรมสงบนิ่ง กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระทุกวันศุกร์ นั่งสมาธิก่อนกลับบ้าน

3. พัฒนาเด็กให้ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียง มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียนมีมารยาทยิ้ม ไหว้ ทักทาย มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ เล่นและทำงานกับผู้อื่นได้โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง

4. พัฒนาด้านสติปัญญา และการสื่อสารโดยจัดกิจกรรมสนทนา โต้ตอบ เล่าเรื่องจากภาพ อ่านนิทาน และฝึกฝนจินตนาการในการสร้างงานศิลปะ หรือเคลื่อนไหวท่าทางในการเล่นอิสระ โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

การพัฒนาเพื่อดูความก้าวหน้าของพฤติกรรมนักเรียน ผู้สอนใช้วิธีการสังเกต สัมภาษณ์การฝึกการปฏิบัติการประเมินตามสภาพจริงขณะปฏิบัติกิจกรรมและมีการบันทึกผลการสังเกตในรายกลุ่ม รายบุคคล ตามความเหมาะสม ตามแบบสังเกตพฤติกรรมที่ผู้สอนได้ออกแบบไว้
ผลการดำเนินงาน  
2.ผลการดำเนินงาน

โรงเรียนวัดคลองขุด มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ ๒ ครั้ง โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากชุมขนในการจัดหา อุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุดในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน โดยการจัดกิจกรรมแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อนในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวม

ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยจัดกิจกรรมวันสำคัญทางชาติ และกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นพ่อ วันแม่ วันไหว้ครู วันเข้าพรรษา ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน มีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การตัด ฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  
1.กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดคลองขุดจัดให้มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นใช้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2561 ด้านการจัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียน โดยทางโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากชุมขนในการจัดหา ครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัย การส่งบุคคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ การให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง กิจกรรมจัดหาสื่อการเรียนการสอน ส่งผลให้โรงเรียนวัดคลองขุดมีการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

จัดระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โรงเรียนมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด ได้มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
ผลการดำเนินงาน  
2.ผลการดำเนินงาน

การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดคลองขุด ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร โดยความร่วมมือของผู้บริหาร คณะครู และชุมชน ทั้งในรูปของงบประมาณ อุปกรณ์การเรียนการสอนต่าง ๆ และจัดจ้างบุคคลมาช่วยในการสนับสนุนการเรียนการสอน โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ทางโรงเรียนได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ เช่น จัดให้มีอุปกรณ์ ของเล่น ของใช้ เครื่องนอน เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พอเพียงกับเด็ก โดยจัดให้เหมาะสม สะอาด ปลอดภัย จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม พื้นที่สำหรับแปรงฟัน ล้างมือ ทำความสะอาดร่างกาย ห้องน้าห้องส้วม พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

การส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ครูมีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  
1. กระบวนการพัฒนา

จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข ภายใต้คำว่า เก่ง ดี มีสุข ประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ให้เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่าน การเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน

ห้องเรียนมีบรรยากาศ แจ่มใส มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน  
2. ผลการดำเนินงาน

ด้านร่างกาย เด็กมีพัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสม ตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ด้านสติปัญญา เด็กรู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้ รายกลุ่ม ส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
สถานศึกษามีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยจัดประสบการณ์ที่เหมาะกับเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจและสังคม นักเรียนได้รับอาหารจากโครงการอาหารกลางวัน พัฒนานักเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมตามตารางกิจกรรมประจำวัน เช่น สวดมนต์ไหว้พระ กิจกรรมสงบนิ่ง กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระทุกวันศุกร์ นั่งสมาธิก่อนกลับบ้าน พัฒนาเด็กให้ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเอง

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
โรงเรียนวัดคลองขุดมีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการระดมทรัพยากร เพื่อใช้ในการจัดการศึกษา พัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
โรงเรียน มีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างหลากหลาย
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
มาตรฐานที่ 1
เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี
มาตรฐานที่ 2
โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ การเปิดโอกาสให้ชุมชนและทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัด
มาตรฐานที่ 3
เด็กจึงมีพัฒนาการอย่างสมดุล มีการเรียนรู้จากการเล่น และการปฏิบัติกิจกรรม มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา   สถานศึกษามีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปที่เหมาะสมกับผู้เรียน ทั้งแบบลงมือปฏิบัติจริง แบบเรียนร่วมกัน โดยเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มภาคีเครือข่าย กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนอำเภอท่าใหม่ เครือข่ายที่ ๖จัดค่ายการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้แบบกลุ่ม เพื่อให้นักเรียนได้ช่วยกันคิดและลงมือปฏิบัติจริง รวมไปถึงการส่งเสริมเรื่องการอ่านออกเขียนได้ของผู้เรียน โดยเน้นให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ ตั้งแต่ระดับชั้น ป.๑ โดยครูใช้เทคนิคในการสอนนักเรียนให้ตรงตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล รวมไปถึงการจัดสื่อการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ สวนพฤกษศาสตร์ รวมทั้งยังมีแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง เช่น ศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ วัดคลองขุด เป็นต้น
ผลการดำเนินงาน   ในด้านการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและเขียนคล่องอยู่ในระดับ ดี แต่มีนักเรียนบางรายเป็นนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ครูประจำชั้นควรสอนเสริมให้เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียนต่อไป
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา               สถานศึกษาได้มีดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน  โดยการปลูกฝังด้านคุณธรรม และจริยธรรมที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ให้ผู้เรียนเป็นผู้มีวินัย ซื่อสัตย์และเป็นผู้มีจิตสาธารณะ เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีการสร้างค่านิยมในการป้องกันตนจากภัยยาเสพติด  โดยร่วมกับชุมชนรณรงค์ป้องกันยาเสพติด  และเข้าร่วมโครงการ D.A.R.E ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งจัดให้ครูตำรวจมาอบรมให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและป้องกันยาเสพติด รวมไปถึงโทษภัยที่ได้รับจากการติดยาเสพติดอีกด้วย  
ผลการดำเนินงาน               นักเรียนทุกคนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี  ผู้เรียนมีความรู้และรู้จักป้องกันตนให้ห่างจากสิ่งเสพติด รวมทั้งโทษและพิษภัยของยาเสพติด  นักเรียนทุกคนสามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อย    คนละประเภท  และมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  
โรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการในปัจจุบัน พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร โดยความร่วมมือของผู้บริหาร คณะครู และชุมชน ทั้งในรูปของงบประมาณ อุปกรณ์การเรียนการสอนต่าง ๆ และจัดจ้างบุคคลมาช่วยในการสนับสนุนการเรียนการสอน มีการมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบและกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย และสรุปผลการดำเนินการให้ทันตามกำหนดการ
ผลการดำเนินงาน  
                 โรงเรียนมีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนประจำปีของสถานศึกษา ที่สอดคล้อง  กับผู้เรียน มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง   มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน  สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการดำเนินการได้ มีการบริหารอัตรากำลัง  ทรัพยากรทางการศึกษา  ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในการวางแผน ปรับปรุง  พัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา จัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีคุณภาพ  มีความปลอดภัย จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน พัฒนาบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ    มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา   โรงเรียนวัดคลองขุด ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.๒๕๖๐) ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล และส่งเสริมจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้แบบกลุ่มโดยการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อสร้างเสริมความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลายให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกเรียนรู้และปฏิบัติจริง อีกทั้งยังสามารถนำไปเป็นความรู้ในการประกอบอาชีพส่งเสริมรายได้ให้กับผู้เรียน ครอบครัว และชุมชน มีการศึกษาตามแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ เพื่อให้นักเรียนได้สัมผัสกับสถานที่จริง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ อย่างสนุกสนาน และสร้างองค์ความรู้ขึ้นเองอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน  
นักเรียนมีความสุข และสนุกกับการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย และสามารถนำไปเป็นความรู้ในการประกอบอาชีพส่งเสริมรายได้ให้กับผู้เรียน และครอบครัว

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
มาตรฐานที่ 1
สถานศึกษามีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่เพียงพอ

มาตรฐานที่่ 2
สถานศึกษามีการจัดองค์กร/โครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติพัฒนาการของผู้เรียนเป็นสำคัญ มีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่กำหนดไว้ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนตามความต้องการของชุมชน พัฒนางานวิชาการเน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษา และส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญตรงตามความต้องการ ให้เป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน

มาตรฐานที่ 3
โรงเรียนวัดคลองขุด ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ ที่ลึกซึ้งและคงทน
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
มาตรฐานที่ 1
ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ร่าเริง แจ่มใส เรียนรู้อย่างมีความสุข เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นนักเรียนที่ดีของโรงเรียน ไม่มีปัญหาด้านการปกครอง ช่วยเหลืองานสาธารณะ มีความใฝ่รู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนมีอัตลักษณ์ คือ "เก่ง ดี มีมารยาท” ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิต ดี กล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

มาตรฐานที่ 2
โรงเรียนและชุมชนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ให้ความร่วมมือในทุกด้านและได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียน และชุมชนก็เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนอีกด้วย

มาตรฐานที่ 3
นักเรียนมีความสุข และสนุกกับการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย และสามารถนำไปเป็นความรู้ในการประกอบอาชีพส่งเสริมรายได้ให้กับผู้เรียน และครอบครัว




ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก