รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านเจ้าหลาว

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

บทสรุปผู้บริหาร

1. ข้อมูลพื้นฐานสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านเจ้าหลาว ตั้งอยู่เลขที่ 70 หมู่ที่ 6 ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีรหัสไปรษณีย์ 22120 โทรศัพท์039 433306 e–mail 22010047@chan1.go.thเว็บไซต์ของโรงเรียนhttps://sites.google.com/chan1.go.th/22010047สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมด 68 คน แยกเป็นระดับปฐมวัย 22 คน ระดับประถมศึกษา 47 คน ผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู 4 คน ครูผู้ทรงคุณค่า 1 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน ครูธุรการ 1 คน และลูกจ้างประจำ 1 คน โรงเรียนบ้านเจ้าหลาวมีพื้นที่ 17 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา มีเขตพื้นที่บริการ จำนวน 2 หมู่บ้านได้แก่หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

ผลการประเมินคุณภาพ ภาพรวมของโรงเรียนบ้านเจ้าหลาว

ระดับการศึกษาปฐมวัย ผลการประเมินคุณภาพ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม

1. หลักฐานสนับสนุนการประเมินตนเองตามระดับคุณภาพ มีดังนี้

1.1 ผลการประเมินคุณภาพที่สอดคล้องตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โรงเรียนบ้านเจ้าหลาว พุทธศักราช 2562 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

1.2 ผลการประเมินคุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
1.3 คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
2. โรงเรียนมีแผนพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น ดังนี้
2.1 จัดจ้างครูอัตราจ้างระดับปฐมวัย เพื่อจัดประสบการณ์ในระดับชั้นอนุบาล 1 และ ชั้นอนุบาล 2
2.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูเข้าอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพสู่ครูมืออาชีพ
2.3 จัดหาสื่อและอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
2.4 ปรับปรุงสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย และได้มาตรฐานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านให้ดียิ่งขึ้น
2.5 ประสานสัมพันธ์และความร่วมมือเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครอง และจัดระบบช่วยเหลือนักเรียน
3. นวัตกรรม/แบบ อย่างที่ดี
ครูผู้สอนในระดับปฐมวัย จัดทำชุดกิจกรรมเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการนับจำนวนและตัวเลข สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2
4. ความโดดเด่นของสถานศึกษา
โรงเรียนบริหารจัดการศึกษาแบบโรงเรียนเป็นฐาน ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ตามโครงสร้างงาน 4 งาน และใช้กลัการดำเนินงานตามหลักPDCA อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิผล
5. โรงเรียนได้ดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
5.1 จัดกิจกรรม ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เรียนรู้ตามความสนใจของเด็ก ได้แก่ กิจกรรมโครงงานต้นหอมของหนู
5.2 จัดกิจกรรมเสริมสร้างประสานความร่วมมือระหว่างผู้ปกครอง ได้แก่ กิจกรรมโครงงานไข่เค็มใบเตย
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับดีเลิศ
1. หลักฐานสนับสนุนการประเมินตนเองตามระดับคุณภาพ
1.1 ผลการประเมินคุณภาพที่สอดคล้องตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเจ้าหลาว พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1.2 ผลการประเมินคุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.3 คู่มือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1.4 คู่มือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. โรงเรียนมีแผนพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น ดังนี้
2.1 พัฒนา ส่งเสริม กิจกรรมด้านวิชาการอย่างหลากหลาย และใช้กระบวนการ PLC ในการแก้ปัญหา
2.2 พัฒนา ส่งเสริมกิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม
2.3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือพัฒนามาตรฐานการศึกษา
2.4 จ้างครูในสาขาที่ขาดแคลน
2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูเข้าอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพสู่ครูมืออาชีพ
2.6 จัดระบบแนะแนว ช่วยเหลือนักเรียน และสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครอง
3. นวัตกรรม/แบบอย่างที่ดี
-
4. ความโดดเด่นของสถานศึกษา
โรงเรียนบริหารจัดการศึกษาแบบโรงเรียนเป็นฐาน ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ตามโครงสร้างงาน 4 งาน และใช้กระบวนการดำเนินงานตามหลักPDCA อย่างมีคุณภาพและประสิทธิผล
5.โรงเรียนได้ดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
5.1 จัดกิจกรรม ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เรียนรู้ตามความสนใจของเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การเรียนรู้จากสถานการณ์จำลองผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ได้แก่ กิจกรรมโครงงานอาชีพ ระดับชั้นประถมศึกษา 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
5.2 จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี เพื่อปลูกฝังความมีระเบียบวินัย
5.3 จัดการเรียนรู้กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย เน้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่น
5.4 จัดกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น ภาษาอังกฤษวันละคำ การท่องคำศัพท์ การสนทนาภาษาอังกฤษ
 

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

หลักฐานการสนับสนุนผลการประเมิน
ระดับปฐมวัย 
    1. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (3-5 ปี) พุทธศักราช 2563
    2. แผนปฏิบัติการประจำปี ระดับปฐมวัย ปีงบประมาณ 2563
    3. หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โรงเรียนบ้านเจ้าหลาว พุทธศักราช 2562 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
    4.คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
    5. รายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โรงเรียนบ้านเจ้าหลาว พุทธศักราช 2562 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
    
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    1. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (3-5 ปี) พุทธศักราช 2563
    2. แผนปฏิบัติการประจำปี ระดับขั้นพื้นฐานฐาน ปีงบประมาณ 2563
    3. หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเจ้าหลาว  พุทธศักราช 2561(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2563) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ติการประจำปี ระดับขั้นพื้นฐานฐาน ปีงบประมาณ 2563
   

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

แผนพัฒนาสถานศึกษาให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น มีดังนี้

ระดับการศึกษาปฐมวัย
- จัดหาสื่อและอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
- ปรับปรุงสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย และได้มาตรฐานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านให้ดียิ่งขั้น
- จัดจ้างครูอัตราจ้างระดับปฐมวัย เพื่อจัดประสบการณ์ในระดับชั้นอนุบาล 1 และ ชั้นอนุบาล 2
- จัดทำแผนพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ
- สนับสนุนให้ครูเข้าอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ
- พัฒนา ส่งเสริมครู ด้านการประเมินพัฒนาเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- สานสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจกับผู้ปกครอง และจัดระบบช่วยเหลือนักเรียน

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- พัฒนา ส่งเสริม กิจกรรมด้านวิชาการอย่างหลากหลาย
- พัฒนา ส่งเสริมกิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือพัฒนามาตรฐานการศึกษา
- จ้างครูในสาขาที่ขาดแคลน
- พัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ
- จัดระบบแนะแนว ช่วยเหลือนักเรียน และสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครอง
- ใช้กระบวนการ PLC ในการแก้ปัญหา

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลพื้นฐาน
โรงเรียนบ้านเจ้าหลาว ตั้งอยู่เลขที่ 70 หมู่ที่ 6 ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีรหัสไปรษณีย์ 22120 โทรศัพท์039 433306 e–mail 22010047@chan1.go.thเว็บไซต์ของโรงเรียน https://sites.google.com/chan1.go.th/22010047สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปี 6 มีนักเรียนทั้งหมด 69 คน แยกเป็นระดับปฐมวัย 22 คน ระดับประถมศึกษา 47 คน
ผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู 4 คน ครูผู้ทรงคุณค่า 1 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน ครูธุรการ 1 คน และลูกจ้างประจำ 1 คน
โรงเรียนบ้านเจ้าหลาวมีพื้นที่ 17 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวามีเขตพื้นที่บริการ จำนวน 2 หมู่บ้านได้แก่หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
สภาพชุมชนในเขตพื้นที่บริการขอข้อมูลของโรงเรียน

ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับ ชั้น ป .6 ประกอบอาชีพรับจ้าง ( 79.77%) มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัวปีละ 38,200 บาท ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (100%) จำนวนคนครอบครัวของผู้ปกครองโดยเฉลี่ย ครอบครัวละ 4 คน

เพิ่มเติม

https://youtu.be/AeAbhZnNWtQ


การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

แนวทางการจัดการศึกษา

วิสัยทัศน์ (Vision)

ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณธรรมนำความรู้ มีทักษะเทคโนโลยี อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมสืบสานวัฒนธรรม ร่วมพัฒนาชุมชน ใช้ทักษะการดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ (Missoin)

1. ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของชุมชน

2. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นมี มีคุณธรรม จริยธรรม สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐาน

4. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถมาตรฐานวิชาชีพ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามศักยภาพ

5. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามหลักธรรมาภิบาล

6. พัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์โรงเรียน

กลยุทธ์ที่ 1พัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กลยุทธ์ที่ 2 สร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐาน

กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาครูและบุคลากรตามสมรรถนะ ให้สามารถจัดการเรียนการได้อย่างมีคุณภาพ

กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ตามแนวทางการกระจายอำนาจ ยึดหลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาการใช้สื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรมทางการศึกษา และให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้สู่มาตรฐาน

เป้าหมาย

1.เด็กทุกคนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีคุณธรรม จริยธรรม รู้รักษ์ สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีและรักษ์สิ่งแวดล้อม

2.เด็กสามารถนำความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิต ได้อย่างมีความสุข

3.เด็กทุกคนได้รับการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมทุกด้าน และสมรรถนะเต็มตามศักยภาพของตนเอง มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

4.สถานศึกษามีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพียงพอ

5. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความสามารถและทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพ

6.ชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

7. สถานศึกษามีการบริหารจัดการศึกษาและกิจกรรมให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 5 0 2 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

หลักฐานการสนับสนุนผลการประเมิน
ระดับปฐมวัย 
    
    1. หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โรงเรียนบ้านเจ้าหลาว พุทธศักราช 2562 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
    2. คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
    3 . รายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โรงเรียนบ้านเจ้าหลาว พุทธศักราช 2562 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
    
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    
    1. หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเจ้าหลาว  พุทธศักราช 2561(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2563) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ติการประจำปี ระดับขั้นพื้นฐานฐาน ปีงบประมาณ 2563
    2. หลักสูตรต้านทุจริต โรงเรียนบ้านเจ้าหลาว

เพิ่มเติม



ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง

   โรงเรียนบ้านเจ้าหลาว มีอาคารเรียนและอาคารประกอบ รายละเอียดมีดังนี้

ที่

อาคารเรียน/แบบ

จำนวนห้องเรียน

หมายเหตุ

1

1

ห้องเรียน

สร้าง พ.. 2512

2

1

3 ห้องเรียน

สร้าง พ.. 2520

3

ส้วม แบบ 401

5 ที่นั่ง

สร้าง พ.. 2521

4

ส้วมแบบ สปช. 601/26

4 ที่นั่ง

สร้าง พ.. 2532

5

สปช 105/29 ขนาด 2 ชั้น

ห้องเรียน

สร้าง พ.. 2536

6

อาคารอเนกประสงค์ แบบ 312 ขนาด7*17 เมตร

โรงอาหาร

ห้อง

สร้าง พ.. 2523

7

อาคารเอนกประสงค์แบบสร้างเอง                 ขนาด 7.00*28.50  เมตร

1 ห้อง

สร้าง พ.. 2537

8

บ้านพักครู แบบ กรมสามัญ

หลัง

สร้าง พ.. 2514

9

บ้านพักครู แบบ กรมสามัญ

หลัง

สร้าง พ.. 2521

10

ถังน้ำซีเมนต์  แบบ ฝ 33            

3 หน่วย

สร้าง พ.. 2527

11

ถังน้ำซีเมนต์  แบบ ฝ 33

6 หน่วย

สร้าง พ.. 2528

12

ประดิษฐานพระพุทธรูป ขนาด 3*3 เมตร

1 หน่วย

สร้าง พ.. 2535

13

สนามกีฬาวอลเล่ย์บอล  ขนาด 10*22 เมตร

 1 หน่วย

สร้าง พ.. 2545

14

ห้องสมุด ขนาด 6*9 เมตร

2 หน่วย

สร้าง พ.. 2520


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/drive/folders/1nPEyWF3aKHsg9FIQMJulEgLZK5Ryv4CF?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ภายใน

       

แหล่งเรียนรู้ภาย

สถิติการใช้ จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

1.  แปลงเกษตรพอเพียง

2. ห้องสมุด

3. สนามกีฬา

4. โรงอาหาร

5. ลานธรรม

6. ห้องสมุด

7. ห้องคอมพิวเตอร์

ฯลฯ

 

ตลอดปี

ตลอดปี

ตลอดปี

ตลอดปี

ตลอดปี

ตลอดปี

ตลอดปี

 

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

แหล่งเรียนรู้ภาย

สถิติการใช้ จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

1.       วัดเจ้าหลาว

2.      วัดป่าบุญ

3.      ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน

4.      พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์ จันทบุรี

5.      ฟาร์มปลาโลมา

6.      โอเอซีส ปากน้ำ

7.      โบถส์สีน้ำเงิน

8.      คุกขี้ไก่

9.      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลอดขุด

10. องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขุด

ฯลฯ

 

15

15

10

5

5

5

5

5

15

10

 



หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/drive/folders/1nj8jQsVUZGZV_7NdHvqV9RSAUDa654OU?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา            โรงเรียนมีการพัฒนาคุณภาพเด็ก ผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ โครงอาหารกลางวัน อาหารเสริมนม โครงการพัฒนาศักยภาพของเด็กปฐมวัย โดยมีกิจกรรมของโครงการการ ดังนี้ กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กิจกรรมจัดหาที่นอน เสื้อกันเปื้อน กิจกรรมหนูน้อยพิชิตโลกกว้าง โดยมีกิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษาที่สำคัญ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ รู้เล่น รู้เก็บ กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ ทั้ง 6 กิจกรรม เสริมประสบการณ์ กิจกรรมวันสำคัญ ได้แก่ กิจกรรมวันแม่ กิจกรรมวันเข้าพรรษา กิจกรรมวันไหว้ครู กิจกรรมส่งเสริมภาษาอังกฤษวันคำ
ผลการดำเนินงาน  
เด็กทุกคนมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ล้างมือก่อนและหลังการใช้ห้องน้ำห้องส้วมได้ เคลื่อนไหวออกกำลังกาย เล่น และทำกิจกรรม นอนผักผ่อนตอนกลางวันและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้

เด็กทุกคนแสดงอารมณ์ ความรู้สึกได้เหมาะสมกับสถานการณ์ แสดงความพอใจในผลงานของตนเองและของผู้อื่น สนใจและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรีได้อย่างมีความสุข มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม มีความซื่อสัตย์ รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปัน และรอคอย มีความรับผิดชอบ ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ

เด็กทุกคนมีวินัยในตนเอง รู้จักประหยัด และการออม เก็บของเล่นได้เป็นระเบียบ มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ทิ้งขยะได้ถูกที่ มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย รู้จักการไหว กล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ ร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขบนความแตกต่างระหว่างบุคคล มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีเป้าหมาย

เด็กอนุบาลมีจำนวน 21 คน เด็กจำนวน 19 คน สามารถพูดสื่อสาร สนทนาโต้ตอบ และเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ทำท่าทาง กวาดสายตาอ่านข้อความตามบรรทัดได้ รู้จักสัญลักษณ์ เขียนภาพ ส่วนเด็ก จำนวน 2 คน มีพัฒนาการช้า ไม่สามารถพูดสื่อสาร สนทนาโต้ตอบ และเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ทำท่าทาง กวาดสายตาอ่านข้อความตามบรรทัดได้ รู้จักสัญลักษณ์ เขียนภาพ เด็กอนุบาลปีที่ 3 ทุกคน สามารถเขียนชื่อของตนเองตามแบบได้ บอกลักษณะสิ่งต่างไ จากการสังเกต โดยใช้ประสาทสัมผัส จับคู่ เปรียบเทียบ ความต่าง ความเหมือนโดยใช้สัญลักษณ์ที่สังเกตที่พบ ได้ 2 ลักษณะขึ้นไป จำแนกและจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ โดยใช้อย่างน้อย 2 ลักษณะ เป็นเกณฑ์เรียงลำดับสิ่งของและเหตุการณ์ อย่างน้อย 4 ลำดับได้ ทำงานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเองได้ สนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัวได้เหมาะสมกับวัย
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1pUhBtMabqZB8Xd1Uw2swckYhjKkk3h28/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา            โรงเรียนได้ดำเนินงานการบริหารจัดการผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โครงการระบบช่วยเหลือนักเรียน โครงการนิเทศภายในสถานศึกษา โครงการประกันคุณภาพภายใน โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย โครงการบริหารงานอย่างมีคุณภาพ โครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีการจัดประชุมผู้ปกครองภาคเรียนละ 2 ครั้ง
ผลการดำเนินงาน  
โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2562 ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 มีการประเมินการใช้หลักสูตรและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงตามศักยภาพของเด็ก

มีการพัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง เข้ารับการอบรมด้านต่างๆ สอดคล้องกับหน้าที่ที่รับผิดชอบอย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา และนำความรู้มาจัดทำแผนการจัดประสบการณ์และวัดผลประเมินเด็กอย่างรอบด้าน

จัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนให้มีความปลอดภัย จัดหาบำรุง รักษาสื่ออุปกรณ์ ของเล่น หนังสือนิทาน มุมประสบการณ์ที่หลากหลาย มีคอมพิวเตอร์ ทีวี ระบบอินเทอร์เนตความเร็วสูง ที่สนับสนุนการในการบริหารจัดการ ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเน้นความสะอาด ปลอดภัย เป็นระเบียบเรียบร้อย มีการตรวจสอบและดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม

โรงเรียนใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ (PDCA) และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

โรงเรียนจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม มีสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย และมีสุขภาพอนามัยดี ตรงตามเอกลักษณ์ของโรงเรียน " ยิ้ม ไว้ ทักทาย”และ อัตลักษณ์ของโรงเรียน "ตะเคียนงาม แหล่งเรียนรู้ คู่เจ้าหลาว ”
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1ZyOgUhfdIWzbZfPre3u8oRFdV7p-8i8O/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนได้มีการดำเนินงานกระบวนการการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผ่าน โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย โครงการเด็กปฐมวัยพิชิตการ เรียนรู้สู่โลกกว้าง โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย กิจกรรส่งเสริมการนิสัยรักการอ่าน การการอ่านสู่การ เรียนรู้ กิจกรรมจัดหาสื่อ/ครุภัณฑ์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ผลการดำเนินงาน  1) มีผลการดำเนินงานที่เป็นเชิงประจักษ์ ดังนี้ มีข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล จัดเก็บเป็นระเบียบง่ายต่อการนำไปใช้ มีแผนการจัด ประสบการณ์ครบทุกสัปดาห์ และบันทึกหลังการจัดประสบการณ์ทุกครั้ง แผนการจัดประสบการณ์สอดคล้อง กับการพัฒนาเด็กตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2562 มีการจัดกิจกรรมให้เด็กทุกคนได้รับ ประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริงจากโครงงาน การทดลองวิทยาศาสตร์ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วย ตนเอง การจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยี มีการจัดป้ายนิเทศในชั้นเรียน มี มุมประสบการณ์ต่างๆ ในห้องเรียน คือ มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมบทบาทสมมติ มุมวิทยาศาสตร์ ฯลฯ และมี สื่อคอมพิวเตอร์พร้อมสัญญาณอินเทอร์เนตประจำห้องเรียน สามารถใช้ง่ายได้ ห้องเรียนสะอาด ปลอดภัย และมีสื่อเพื่อใช้ประกอบการจัดประสบการณ์ตามหน่วยการเรียนรู้ มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง มีแบบบันทึกการประเมินพัฒนาการเด็กที่ สอดคล้องกับมาตรฐานปฐมวัย จัดทำและนำผลการประเมินพัฒนาการ ข้อเสนอแนะรายงานผู้ปกครอง เพื่อให้ ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลและประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก รวมทั้งมีวิจัยในชั้นเรียน
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1u9qLNcQgWJ6wA4kh-UeLgS3Ke6TpqtKS/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพเด็ก

จุดเด่น

เด็กมีสมรรถภาพทางร่างกายและทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตนเอง ร่าเริงแจ่มใส มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น สนใจและชื่นชมงานศิลปะ ดนตรี กล้าแสดงออก ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ เชื่อฟังคำสอนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู มีความซื่อสัตย์สุจริต เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน ปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนเองนับถือ มีจินตนาการสร้างสรรค์ มีทักษะภาษาที่เหมาะสมตามวัย

มาตรฐานที่ 2 การบริหารการจัดการศึกษา
                      จุดเด่น   ชุมชน และผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนเป็นอย่างดี

 

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
                      จุดเด่น  ครูจัดประสบการณ์ที่ทำให้เด็กสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ร่วมกับในสังคมได้ และปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
โรงเรียนจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม มีสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย และมีสุขภาพอนามัยดี ตรงตามเอกลักษณ์ของโรงเรียน " ยิ้ม ไว้ ทักทาย”และ อัตลักษณ์ของโรงเรียน "ตะเคียนงาม แหล่งเรียนรู้ คู่เจ้าหลาว ”การจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา

จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยี มีการจัดป้ายนิเทศในชั้นเรียน มีมุมประสบการณ์ต่างๆ ในห้องเรียน คือ มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมบทบาทสมมติ มุมวิทยาศาสตร์ ฯลฯ และมีสื่อคอมพิวเตอร์พร้อมสัญญาณอินเทอร์เนตประจำห้องเรียน สามารถใช้ง่ายได้ ห้องเรียนสะอาด ปลอดภัย และมีสื่อเพื่อใช้ประกอบการจัดประสบการณ์ตามหน่วยการเรียนรู้

มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง มีแบบบันทึกการประเมินพัฒนาการเด็กที่สอดคล้องกับมาตรฐานปฐมวัย จัดทำและนำผลการประเมินพัฒนาการ ข้อเสนอแนะรายงานผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลและประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก รวมทั้งมีวิจัยในชั้นเรียน
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1WDSCiHZiz5IbVMNeFbGb-_zYyWN_KOcG/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา            โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โครงการส่งเสริมความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ โครงการเปิดบ้านพอเพียงวิถีไทยสู่อาเซียน โครงการสร้างความปลอดภัยทางน้ำแก่นักเรียน โครงการโรงเรียนสีขาวต่อต้านยาเสพติด โครงการเปิดบ้านวิชาการ Open Houseนอกจากนี้โรงเรียนยังได้ดำเนินการจดกิจกรรมมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เช่น กิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการคิด การทำโครงงาน การสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดจากการเชื่อมโยงองค์ความรู้ กิจกรรมสอนซ่อมเสริม กิจกรรมการเรียนรู้สู่งานอาชีพ ในส่วนของกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนได้แก่ โครการคุณธรรมประจำชั้นเรียน กิจกรรมช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมครูพระสอนศีลธรรม กิจกรรมการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมการแต่งกายชุดพื้นเมือง ทั้งกิจกรรมต่างๆ ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่ายกิจกรรมพัฒนา
ผลการดำเนินงาน            ผู้เรียนมีผลการสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนดและสูงกว่าค่าเป้าหมายของสถานศึกษา และกลุ่มเด็กพิเศษบางคนที่ต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม ผล การทดสอบระดับชาติชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 2 รวมความสามารถทั้ง 2 ด้าน สูงกว่าระดับประเทศ และผลการทดสอบระดับชาติชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ยังคงต่ำกว่าระดับประเทศ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1yJ36OX4Z6v-9hx7r5Zm6UXPnzwsII8S5/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา            โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โครงการส่งเสริมความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ โครงการเปิดบ้านพอเพียงวิถีไทยสู่อาเซียน โครงการสร้างความปลอดภัยทางน้ำแก่นักเรียน โครงการโรงเรียนสีขาวต่อต้านยาเสพติด โครงการเปิดบ้านวิชาการ Open Houseนอกจากนี้โรงเรียนยังได้ดำเนินการจดกิจกรรมมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เช่น กิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการคิด การทำโครงงาน การสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดจากการเชื่อมโยงองค์ความรู้ กิจกรรมสอนซ่อมเสริม กิจกรรมการเรียนรู้สู่งานอาชีพ ในส่วนของกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนได้แก่ โครการคุณธรรมประจำชั้นเรียน กิจกรรมช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมครูพระสอนศีลธรรม กิจกรรมการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมการแต่งกายชุดพื้นเมือง ทั้งกิจกรรมต่างๆ ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่ายกิจกรรมพัฒนา
ผลการดำเนินงาน  
ผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวน 47 คน แยกเป็นเด็กปกติ 41 คน และเด็กพิเศษ 6 คน เด็กปกติทุกระดับชั้นมีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ ตรงตามเป้าหมายของโรงเรียน มีผลการเรียนเฉลี่ยในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ภาษาอังกฤษสูงกว่าเป้าหมายสถานศึกษากำหนด

ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แก้ปัญหาได้เหมาะสมตามระดับชั้น ค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนและชุมชน นำความรู้มาอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและในชั้นเรียน ผู้เรียนผ่านการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ตามหลักสูตรระดับดีขึ้นไปสูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้และนำประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและผลผลิตใหม่ๆ ผ่านการทำโครงงาน ชิ้นงาน มีการฝึกการทำงานเป็นทีม ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความปลอดภัย ลดความวิตกกังวล เพิ่มคุณค่าในตนเอง และมีมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง สามารถอธิบายแนวคิด ขั้นตอนการทำงานและปัญหาอุปสรรคในการทำงานได้

ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สื่อสารอย่างปลอดภัยและรู้เท่าทัน รับผิดชอบและมีจริยธรรมได้เหมาะสมตามระดับชั้น สามารถสรุปความรู้ในการพัฒนาตนเองและพัฒนางาน
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1yJ36OX4Z6v-9hx7r5Zm6UXPnzwsII8S5/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาในการดำเนินงานผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนในแผนปฏิบัติการประจำปี จำนวน โครงการ แบ่งเป็นงานวิชาการ โครง งานบริหารทั่วไป โครงการ งานบุคลากร โครงการ งานงบประมาณ โครงการ งานพัฒนาผู้เรียน โครงการ และงานตามนโยบาย โครงการ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมถึงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณลักษณะและสมรรถนะครบทุกด้าน
ผลการดำเนินงาน  
โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของโรงเรียน และสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษา โดยปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน มีระบบกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพ ที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกัน สอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพการศึกษา ใช้กระบวนการ (PDCA) บริหารแบบมีส่วนร่วม มีโครงสร้างการบริหารจัดการชัดเจน ดำเนินงานได้คล่องตัว รวดเร็ว มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาที่เหมาะสมเป็นระบบและต่อเนื่อง

มีการดำเนินงานพัฒนาด้านวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และครบทุกกลุ่มเป้าหมาย ปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและมีการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับกับหลักสูตรแกนกลางฯ มีแผนพัฒนางานวิชาการ เช่น แผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่พัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ เช่น กิจกรรมโครงงานอาชีพ กิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่าน กิจกรรมหลักสูตรต้านทุจริต กิจกรรมหนังสือเล่มเล็ก เป็นต้น

มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ตามมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง และจัดให้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษามีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ห้องปฏิบัติการเพียงพอ ร่มรื่น ปลอดภัย และมีเวทีให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ สามารถควบคุมและตรวจสอบการดำเนินงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีระบบ อินเทอร์เนต ความเร็วสูงที่ใช้งานได้อย่างเหมาะสม

มีการจัดกิจกรรมมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ตรงตามเอกลักษณ์ของโรงเรียน คือ "ยิ้ม ไหว้ ทักทาย” อัตลักษณ์ของโรงเรียน คือ "ตะเคียนงาม แหล่งเรียนรู้ คู่เจ้าหลาว” จนเป็นแบบอย่างที่ดี
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1rey4gZ94_b-yk_qi2EMTthTQ0dz6JrDT/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาในการดำเนินงานผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนในแผนปฏิบัติการประจำปี จำนวน โครงการ แบ่งเป็นงานวิชาการ โครง งานบริหารทั่วไป โครงการ งานบุคลากร โครงการ งานงบประมาณ โครงการ งานพัฒนาผู้เรียน โครงการ และงานตามนโยบาย โครงการ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมถึงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณลักษณะและสมรรถนะครบทุกด้าน
ผลการดำเนินงาน  
ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน สำหรับเด็กพิเศษจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) มุ่งพัฒนาผู้เรียนซึ่งเป็นผลผลิตโดยตรงให้มีศักยภาพและความสามารถที่จะพัฒนาตนเอง และสังคมไปสู่ความสำเร็จได้ โดยใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย เช่น สอนโดยใช้โครงงาน แบบพี่สอนน้อง การใช้กระบวนการกลุ่ม การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

ครูใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่น มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง สร้างความตระหนักให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาในท้องถิ่น

ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกที่เน้นปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ตามกิจกรรมห้องเรียนแห่งความสุข มีข้อมูลผู้เรียนรายบุคคลรอบด้านละใช้ข้อมูลพัฒนาผู้เรียนได้ตรงตามศักยภาพ ร่วมกันสร้างข้อตกลงและกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน

ครูมีการตรวจสอบและประเมินผลผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีแผนการวัดผลและประเมินผลอย่างชัดเจน มีการกำหนดสัดส่วนคะแนนและจำนวนชิ้นงานตามหน่วยการเรียน และนำผลการเรียนรู้มาวิเคราะห์และพัฒนาให้ผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร

ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสอนและร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาจัดการเรียนรู้ผ่านการประชุมผู้ปกครอง ในทุกชั้นเรียน
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1FauyPdB1Vp0yogAHXMzx1xV-7uPKcnbZ/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
จุดเด่น
โรงเรียนประสบความสำเร็จที่ผู้เรียนส่วนใหญ่มีสุขนิสัยที่ดี ในการดูแลสุขภาพและออกกำลังกายสม่ำเสมอ และมีสุขภาพจิตดี มีความร่าเริงแจ่มใส มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี รู้จักดูแลตนเองโดยเฉพาะการรู้จักแยกสิ่งถูกผิด ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลักเลี่ยงตนเองจากสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรค ภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ

ผู้เรียนมีทักษะในการทำงานรักการทำงาน รู้จักวางแผนการทำงานและดำเนินการจนสำเร็จ มีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถเชื่อโยงองค์ความรู้และประสบการณ์สร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมผลผลิตใหม่ๆ มีการฝึกการทำงานเป็นทีม มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง สามารถอธิบายแนวคิด ขั้นตอนการทำงานและปัญหาอุปสรรคในการทำงานได้

มาตรฐานที่ 2 การบริหารและการจัดการศึกษา

จุดเด่น

โรงเรียนมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ จนมีผลงานเป็นเชิงประจักษ์ ซึ่งแสดงถึงการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ดังนี้

ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โรงเรียนบ้านเจ้าหลาว ผ่านการคัดเลือกผลงานด้านนวัตกรรม โครงการ 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม ของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที 3 ค่าเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสูงกว่าระดับประเทศ

โรงเรียนมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ จนมีผลงานเป็นเชิงประจักษ์ ซึ่งแสดงถึงการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ดังนี้

ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โรงเรียนบ้านเจ้าหลาว ผ่านการคัดเลือกผลงานด้านนวัตกรรม โครงการ 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม ของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที 3 ค่าเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสูงกว่าระดับประเทศ

มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

จุดเด่น

โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น ตรงตามความต้องการและศักยภาพของผู้เรียน รวมทั้งครูผู้สอนมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการคิด การปฏิบัติจริง มีวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ และการศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง มีผลงานเชิงประจักษ์ ดังนี้
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะและค่านิยมที่ดี ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร และผ่านการประเมินสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนสูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด รวมทั้งมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับคุณลักษณะตรงตามเอกลักษณ์ของโรงเรียน " ยิ้ม ไว้ ทักทาย”และ อัตลักษณ์ของโรงเรียน "ตะเคียนงาม แหล่งเรียนรู้ คู่เจ้าหลาว ”รู้จักดูแลตนเองโดยเฉพาะการรู้จักแยกสิ่งถูกผิด ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย

มาตรฐานที่ 2 การบริหารและการจัดการศึกษา

โรงเรียนกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของโรงเรียน และสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษา โดยปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน มีระบบกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพ ที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกัน สอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพการศึกษา ใช้กระบวนการ (PDCA) บริหารแบบมีส่วนร่วม มีโครงสร้างการบริหารจัดการชัดเจน ดำเนินงานได้คล่องตัว รวดเร็ว มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาที่เหมาะสมเป็นระบบและต่อเนื่อง
มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน สำหรับเด็กพิเศษจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) มุ่งพัฒนาผู้เรียนซึ่งเป็นผลผลิตโดยตรงให้มีศักยภาพและความสามารถที่จะพัฒนาตนเอง และสังคมไปสู่ความสำเร็จได้ โดยใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย เช่น สอนโดยใช้โครงงาน แบบพี่สอนน้อง การใช้กระบวนการกลุ่ม การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1QoZJ_Aiu59X5xsMKBcduf8rHLg5zdZoA/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/folders/1ddc5vVUgOdmv6tPNqcZX2jrBXYZecCNq?usp=sharing