ตอนที่2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
1. ผลการประเมินรายมาตรฐาน
มาตรฐานที่1 คุณภาพของผู้เรียน
1. ระดับคุณภาพ ดี
2. ผลการดำเนินงาน
ในด้านการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและเขียนคล่องอยู่ในระดับดี แต่มีนักเรียนบางรายเป็นนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ครูประจำชั้นควรสอนเสริมให้เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียนต่อไป นักเรียนทุกคนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ผู้เรียนมีความรู้และรู้จักป้องกันตนให้ห่างจากสิ่งเสพติด รวมทั้งโทษและพิษภัยของยาเสพติด นักเรียนทุกคนสามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละประเภท และมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต ทั้งนี้ มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่างๆ
3. จุดเด่น
ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ร่าเริง แจ่มใส เรียนรู้อย่างมีความสุข เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นนักเรียนที่ดีของโรงเรียน ไม่มีปัญหาด้านการปกครอง ช่วยเหลืองานสาธารณะ มีความใฝ่รู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนมีอัตลักษณ์ คือ "ยิ้ม ไหว้ มีสัมมาคารวะ”พัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา คือ "สิ่งแวดล้อมสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย”
4. จุดควรพัฒนา
๑) สถานศึกษามีผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีอยู่แล้ว แต่ควรปลูกฝังให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ และสุขอนามัยของนักเรียน โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การพักผ่อนที่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคู่กับการส่งเสริมให้ผู้เรียนใส่ใจดูแลสุขภาพในเรื่องสุขอนามัย เช่น ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำ การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร แปรงฟันอย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง เป็นต้น
๒) สถานศึกษามีโครงการ /กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม อันพึงประสงค์อยู่แล้ว แต่ควรมีการจัดโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมพฤติกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย เช่น การจัดประกวดนักเรียนดีเด่น ซึ่งอาจจะประเมินจากการบันทึกความดีของนักเรียน เพื่อมอบรางวัลหรือเกียรติบัตร ซึ่งกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากทำความดีมากยิ่งขึ้น
๓) สถานศึกษามีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว แต่ควรเน้นให้ผู้เรียนมีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากการอ่านหนังสือที่ห้องสมุด และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้น
5. การปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดี หรือดีเลิศ
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
มาตรฐานที่2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
1. ระดับคุณภาพ ดี
2. กระบวนการพัฒนาและผลการดำเนินงาน
โรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการในปัจจุบัน พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร โดยความร่วมมือของผู้บริหาร คณะครู และชุมชน ทั้งในรูปของงบประมาณ อุปกรณ์การเรียนการสอนต่าง ๆ และจัดจ้างบุคลากรมาช่วยในการสนับสนุนการเรียนการสอน มีการมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ และกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย และสรุปผลการดำเนินการให้ทันตามกำหนดการ
๒. ผลการพัฒนา
๑) แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนประจำปีของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับผู้เรียน มีการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน
๒) สถานศึกษามีการระดมทรัพยากร เพื่อนำมาใช้ในการจัดการศึกษา พัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์ ส่งผลให้โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
๓)สถานศึกษามีการพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
3. จุดเด่น
ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและความสามารถในการบริหารจัดการ สถานศึกษามีการจัดองค์กร/โครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีเทคนิคการประชุมที่หลากหลาย เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม ในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติพัฒนาการของผู้เรียนเป็นสำคัญ มีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษามีการดำเนินการนิเทศกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาและโรงเรียนได้ใช้กระบวนวิจัยในการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
4. จุดควรพัฒนา
โรงเรียนควรมีการบริหารจัดการโดยเน้นการเข้ามามีส่วนร่วมของเครือข่าย ทั้งผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และชุมชน
5. การปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดี หรือดีเลิศ
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
มาตรฐานที่3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ระดับคุณภาพ ดี
2. กระบวนการพัฒนาและผลการดำเนินงาน
โรงเรียนและกลุ่มเครือข่าย ได้ดำเนินการส่งเสริมจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น การจัดค่ายยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กิจกรรมค่ายลูกเสือ กิจกรรมค่ายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ (กิจกรรมแม่บ้านแม่เรือน) เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้แบบกลุ่มโดยการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อสร้างเสริมความรู้ และประสบการณ์ที่หลากหลายให้แก่ผู้เรียน โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน เช่น ห้องสมุด
ห้องคอมพิวเตอร์ แปลงเกษตร เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกเรียนรู้และปฏิบัติจริง อีกทั้งยังสามารถนำไปเป็นความรู้ในการประกอบอาชีพส่งเสริมรายได้ให้กับผู้เรียน ครอบครัว และชุมชน มีการศึกษาตามแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ เพื่อให้นักเรียนได้สัมผัสกับสถานที่จริง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ อย่างสนุกสนาน และสร้างองค์ความรู้ขึ้นเองอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินงาน โครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งในโรงเรียน นอกสถานที่ และ
โครงการส่งเสริมเรียนรู้โดยเครือข่าย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานที่ ๓ อยู่ในระดับดี
3. จุดเด่น
โรงเรียน มีเครือข่ายที่ดี ที่ร่วมกันจัดกิจกรรมพัฒนาความรู้ ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ในกิจกรรมที่หลากหลาย โดยการคิด การลงมือปฏิบัติจริง จากการจัดการเรียนการสอน และจากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ทำให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ขึ้นเองอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
4. จุดควรพัฒนา
ครูควรพัฒนาด้านการสอนและควรมีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียนรายบุคคล และควรเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักเรียน เพื่อเพิ่มเติมกิจกรรมให้ผู้เรียนสนใจ เกิดแรงจูงใจ สนุกกับการเรียนรู้
5. การปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดี หรือดีเลิศ
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
2.สรุปผลการประเมินในภาพรวม
1. ระดับคุณภาพ ดี
2. ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาเป็นข้อมูลสารสนเทศสำคัญที่สถานศึกษาจะต้องนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อสรุปนำไปสู่การเชื่อมโยงหรือสะท้อนภาพความสำเร็จกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
3. โรงเรียนมีแผนจะพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้นอีก 1 ระดับ
๑) สถานศึกษามีผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีอยู่แล้ว แต่ควรปลูกฝังให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ และสุขอนามัยของนักเรียน โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การพักผ่อนที่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคู่กับการส่งเสริมให้ผู้เรียนใส่ใจดูแลสุขภาพในเรื่องสุขอนามัย เช่น ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำ การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร แปลงฟันอย่างน้อยวันล่ะ ๒ ครั้ง เป็นต้น
๒) สถานศึกษามีโครงการ /กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์อยู่แล้ว แต่ควรมีการจัดโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมพฤติกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย เช่น การจัดประกวดนักเรียนดีเด่น ซึ่งอาจจะประเมินจากการบันทึกความดีของนักเรียน เพื่อมอบรางวัลหรือเกียรติบัตร ซึ่งกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากทำความดีมากยิ่งขึ้น
๓) สถานศึกษามีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว แต่ควรเน้นให้ผู้เรียนมีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากการอ่านหนังสือที่ห้องสมุด และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้น
๔..ส่งเสริมผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และมีคุณธรรม จริยธรรม ให้สามารถดำรงตนได้อย่างมีความสุข และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
๕. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขนิสัยที่ดี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากสิ่งเสพติดและสิ่งมอมเมา มีสุขภาพจิตที่ดี ร่าเริง แจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน และมีสุนทรียภาพทั้งดนตรี
ศิลปะและกีฬา
๖. ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะต่างๆที่ได้เรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเกิดประโยชน์
๗. ส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ
๘. ส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
4. การปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดี หรือดีเลิศ
..............................................................................................................................................
..............................................................................................................................................
5. ความต้องการช่วยเหลือ
๑. ครูไม่ครบชั้นเรียน และขาดครูผู้สอนตามสาขาวิชาเอก
๒. ผู้ปกครองส่วนใหญ่ฐานะยากจน ให้การสนับสนุนทางด้านกำลังทรัพย์ได้น้อย