รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดหนองคัน

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

๑.ครูมีความรู้ความสามารถพัฒนาตนเองและวิชาชีพนำมาใช้พัฒนาผู้เรียน ให้มีความรู้และทักษะ สามารถแสดงออกให้ผู้ปกครองและชุมชนยอมรับ

๒.ผู้เรียนมีความรู้และทักษะตามหลักสูตร มีคุณธรรม จริยธรรม

๓.โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาและกิจกรรมร่วมกับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ชุมชนให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือเป็นอย่างดี
๔. โรงเรียนจัดการเรียนรู้โดยนำผลการประเมินผู้เรียนมาพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมและพัฒนาผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ ทำงานร่วมกับผู้อื่น

๕.โรงเรียนมีชุมชนที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน

๖.โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดีได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานต่างๆมีการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาจัดการเรียน การสอนในโรงเรียน

๗.มุ่งเน้นส่งเสริมสนับสนุน สืบสานโครงการพระราชดำริ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

สรุปผลการสังเคราะห์รายงานประจำปีของสถานศึกษาของมาตรฐานที่2กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่ามาตรฐานที่ 2 มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 4 แปลผลดีเยี่ยม ได้แก่

1.การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจนมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 4 แปลผลดีเยี่ยม

2. การวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 4 แปลผลดีเยี่ยม พิจารณาจาก

2.1 การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านทุกกลุ่มเป้าหมาย และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 4 แปลผลดีเยี่ยม

2.2 การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 4 แปลผลดีเยี่ยม

2.3 การวางแผนการบริหารและการจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 4 แปลผลดีเยี่ยม

2.4 การวางแผนและจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 4 แปลผลดีเยี่ยม

3. การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการร่วมรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 4 แปลผลดีเยี่ยม

4. การกำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 4 แปลผลยอดเยี่ยม
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

๑ ผลการเรียนของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มประสบการณ์สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

๒  ส่งเสริมบุคลากรให้มีการพัฒนาตนเองในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

  ฝึกผู้เรียนคิดเป็นระบบ  นำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

  ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสาร สามารถพัฒนาและสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตนเองได้



 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

๑.๑ ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียนวัดหนองคัน (ไจ พิทยาคาร) ที่อยู่ ม.๔ ต.ตะกาดเง้า อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑ โทรศัพท์ ๐๓๙-๔๘๐๓๙๐

โทรสาร ๐๓๙-๔๘๐๓๙๐ เปิดสอนระดับชั้น อนุบาลชั้นปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

e-mail : watnongkhanschool๒๕๖๒ @ gmail.com

มีเขตพื้นที่บริการ ๔ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ ๔, หมู่ ๕, หมู่ ๗, หมู่ ๑๐ ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

ปรัชญา

การศึกษาพัฒนาคุณภาพชีวิต

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา

ยิ้มง่าย ไหว้สวย

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา

สิ่งแวดล้อม และศิลปะพื้นบ้านละครชาตรี (เท่งตุ๊ก)

วิสัยทัศน์

โรงเรียนวัดหนองคัน (ไจ พิทยาคาร) ส่งเสริมวิชาการน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ละครชาตรี(เท่งตุ๊ก) สู่สิ่งแวดล้อม มุ่งอาชีพ

พันธกิจ

๑. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมสู่อาชีพ

๒. ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจพอเพียง

๓. อนุรักษ์และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป้าประสงค์

๑. นักเรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพในการเรียนรู้และมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและด้านอาชีพ

๒. โรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจพอเพียง

๓. โรงเรียนจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 15 0 2 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โรงเรียนวัดหนองคัน (ไจ พิทยาคาร) จัดการเรียนการอสอนโดยการใช้หลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ฉบับนี้ เป็นฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๔ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และกระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นกรอบ และทิศทางในการจัดการเรียนการสอน ให้ตรงตามมาตรฐานตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ ทั้ง ๘ สาระ

ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

โรงเรียนวัดหนองคัน (ไจ พิทยาคาร) เดิมอาศัยศาลาวัดเป็นโรงเรียนมีพระภิกษุเป็นผู้สอน ต่อมานายเสริม มงคลสงวน เป็นครูผู้สอน ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูใหญ่ คนแรกตรงกับวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยอาศัยศาลา

การเปรียญเป็นที่เรียน

พ.ศ. ๒๔๗๓ เจ้าอาวาสร่วมกับชาวบ้านก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.๑ ก

พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ๐๑๗

พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับงบประมาณทำโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน โดยการทาสีอาคารจัดทำห้องปฏิบัติการทางภาษา และห้องวิทยาศาสตร์ รื้อถอนอาคารเรียน ป.๓ ก มาสร้างอาคารเรียน จำนวน ๔ ห้องเรียน งบประมาณได้รับการบริจาคจากชาวบ้าน คณะครู ผู้ปกครองนักเรียน และผู้มีจิตศรัทธา

พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน สปช. ๑๐๔/๒๖

พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รื้อถอนอาคารเรียนบ้านท่าใต้มาสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.ร.ย. ๑๐๑/๔

พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับงบบริจาคก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. ๒๐๔/๒๖

พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารแบบสร้างเอง จำนวน ๑ ห้อง (ศูนย์ประวัติศาสตร์)

พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้รับงบประมาณจากกรมการทหารสื่อสารกองทัพบกจัดซื้อสัญญาณดาวเทียมพร้อมอุปกรณ์

พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้รับงบประมาณปรับปรุงห้องปฏิบัตรการดนตรีกีฬา

พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้รับงบประมาณปรับปรุงห้องวิชาการและแหล่งเรียนรู้ (ห้องศิลป)

พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมปูกระเบื้องอาคารเรียนแบบสปช.รย. ๑๐๖/๔๓

งบประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๕๘ - ได้รับมอบห้องสมุดตู้ container สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ งบประมาณ ๘๗๐,๐๐๐ บาท

- สร้างอาคารเรียนแบบสปช.๑๐๕/๒๙ ปรับปรุง ๒ ชั้น ๔ ห้องเรียน ใต้ถุนโล่ง งบประมาณ๓,๔๘๓,๑๐๐ บาท

- สร้างส้วมแบบ สปช.๖๐๓/๒๙ ขนาด ๖ ที่นั่ง งบประมาณ ๓๕๒,๐๐๐ บาท

- ได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ๑,๘๔๐,๔๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๖๓ ได้งบประมาณสร้างบ้านพักครู แบบ ๒๐๓/๒๗ ๒ ชั้น ๓ ห้องนอน ๑ ห้อง ห้องเก็บ ๑ ห้อง ห้องครัว ๑ ห้อง และห้องน้ำ ๑ ห้อง งบประมาณ ๘๗๘,๐๐๐ บาท

หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้

1.ห้องสมุด/ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ

2.ห้องวิทยาศาสตร์

3.ห้องคอมพิวเตอร์

4.ห้องส่งเสริมสุขภาพ

5.ห้องสหกรณ์

6.ห้องเรียนรู้เรื่องผักผลไม้

7.ห้องครัว

8.ศูนย์ประวัติศาสตร์

9.น้ำตกในฝัน

10.สวนเศรษฐกิจพอเพียง

11.ศูนย์เรียนรู้สู่การพัฒนา

12.พืชผักสวนครัว

13.โรงเพาะเห็ด

14.บ่อบำบัดน้ำเสีย

15.สนามกีฬา

16.สนามเด็กเล่น

17.ป้ายนิเทศ

18.ป้ายโรงเรียน

19.มุมความรู้ประจำห้องเรียน

20.ห้องน้ำ/ห้องสุขา

21.โรงจอดรถ

22.ศาลาพักร้อน


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  
โรงเรียนวัดหนองคัน (ไจ พิทยาคาร) มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนได้จัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ ๔ ครั้ง มีกิจกรรมออกกำลังกาย หน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวัน จัดหาอุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎกติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย
มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน ในความรู้เรื่องอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ตะกาดเง้า ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถ มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน โดยการจัดกิจกรรมแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อนในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวม ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ คุณครู โดยจัดกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ

กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันพ่อ วันแม่ วันครู วันเข้าพรรษา ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น อ่าน ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตน โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบที่ตนเองสงสัย มีการจัดกิจกรรมหนูรักภาษาไทย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ครูและเพื่อนฟัง มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆ มีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยผ่านการปั้นดินน้ำมัน การวาดภาพระบายสี การตัด ฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้นำเสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
ผลการดำเนินงาน  นักเรียนมีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://www.youtube.com/watch?v=ZZTA510l9T0
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  
การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนบ้านโรงเรียนวัดหนองคัน (ไจ พิทยาคาร) ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ สำหรับด้านระบบกลไก การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

โรงเรียนวัดหนองคัน(ไจ พิทยาคาร) ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ จัดให้มีอุปกรณ์ ของเล่น ของใช้ เครื่องนอน เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พอเพียงกับเด็ก โดยจัดให้เหมาะสม สะอาด ปลอดภัย ให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก ให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นน้ำ เล่นทราย ที่เหมาะสมปลอดภัย จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟันล้างมือ ทำความสะอาดร่างกาย ห้องน้าห้องส้วม พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน  
- มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง
4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น
การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์
- ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://www.facebook.com/photo?fbid=962453430971524&set=pcb.962458120971055
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข ประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบการเรียนรู้ผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุก ๆ ด้านให้เหมาะสม กับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ด้านสติปัญญา มีความคิดรวบยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแต่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน
ผลการดำเนินงาน  
เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล
เด็กเรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม
มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้
ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://www.youtube.com/watch?v=rnwl-fbpbSE
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
  เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีพัฒนาการด้านการด้านการแสดงออก ทางอารมณ์ ความรู้สึกได้เหมาะสม มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และผู้อื่น มีพัฒนาการด้านสังคม และช่วยเหลือ ตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีมารยาทตามวัฒนธรรม ไทย เช่น การไหว้ การยิ้ม การทักทาย และมีสัมมาคารวะ สามารถสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่น เข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัย และพยายามค้นหาคำตอบ อ่านเขียนภาพ คิดแก้ปัญหา ทำงาน ศิลปะตามจินตนาการ แสดงท่าทางเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
1.พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบ Active Learningเพื่อมาพัฒนาเด็กปฐมวัย
2.จัดโครงการกิจกรรมให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม
3.จัดโครงการกิจกรรมให้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้าน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัด การศึกษา


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://www.youtube.com/watch?v=fkpIHRTg4l4
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  
สถานศึกษาสร้างโรงเรียนเป็นศูนย์กลางของชุมชนและเป็นต้นแบบ สร้างความเข็มแข็งทางวิชาการ สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง วัดชุมชนและหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และ สร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ นำไปสู่การร่วมกันจัดกิจกรรมทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์ เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ผู้บริหาร ครู มีการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพทางการบริหารการจัดการศึกษา มีการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม อาชีพ และสุขภาพอนามัย เพื่อเสริมทักษะชีวิต ส่งเสริมการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชา เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมทางวิชาการ มีความพร้อมในด้านบุคลากร ด้านการจัดการเรียนการสอน มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน มีการจัดการเรียนเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก สร้างบรรยากาศที่เอื้อและตอบสนองต่อการเรียนรู้ สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดโดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป. ๑ อ่านคล่องเขียนคล่อง มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ในระดับชั้น ป.๔ - ม.๓ พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ครูร่วมกันกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน

นอกจากนี้ สถานศึกษาได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาทักษะอาชีพให้แก่นักเรียน ตลอดจนพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม อาชีพ และสุขภาพอนามัย ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โดยพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรอาชีพให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอน มีจิกกรรมส่งเสริมทักษะสู่อาชีพ การสร้างรายได้ เช่น ชุมนุมเครป kids ชุมนุมขนมไทยประยุกต์ (ลูกชุบแฟนตาชี และข้าวหลามโรล) ชุมนุมมหัศจรรย์เห็ดนางฟ้า ชุมนุมสร้างรายได้ด้วยมือเรา (ชาใบขลู่และอีแปะ) ชุมนุมอังกะลุง ชุมนุมละครชาตรี (เท๊งตุ๊ก) ชุมนุมหนูน้อยนักประดิษฐ์การผลิตของใช้จากวัสดุเหลือใช้ และชุมนุมกกคือชีวิต (ผลิตภัณฑ์จากกก) เป็นต้น ซึ่งนักเรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ จัดโครงการทักษะชีวิต โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ และพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรต้านทุจริต โครงการประชาธิปไตยในโรงเรียน จัดกิจกรรมการพัฒนาให้เหมาะสมกับวัย พัฒนาคุณธรรมผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนมีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ จัดโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร มีระบบการแนะแนวและการดูแลสุขภาวะจิต ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องพิษภัยจากขนมกรุบกรอบน้ำหวานน้ำอัดลม ส่งเสริมการออกกำลังกาย โรงเรียนสามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน เป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทุกด้าน มีครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการบริหารจัดการ จนเป็นโรงเรียนต้นแบบในด้านการพัฒนาทุก ๆ ด้าน ให้กับโรงเรียนอื่นได้
ผลการดำเนินงาน  ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้นสามารถเขียนสื่อสารได้ดีรู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ด้วยตนเองรวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์ รักการออกกำลังกาย นักเรียนทุกคนสามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละประเภท ยอมรับในกฎ กติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษา ของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัยทั้งนี้ รู้จักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รู้จักการทำของเหลือใช้มาสร้างมูลค่าให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่าง ๆ


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://www.youtube.com/watch?v=fkpIHRTg4l4
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา   ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านคล่อง รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ทุกคน สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดีเยี่ยม ผลคะแนนประเมินการอ่าน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ สูงกว่าระดับเขตพื้นที่ ในด้านการอ่านออกเสียง มีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สูงกว่าระดับเขตพื้นที่ ในกลุ่มสาระภาษาไทย คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ สูงกว่าระดับเขตพื้นที่ ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ที่มีการทดสอบและมีการพัฒนาต่อเนื่องมาโดยตลอด นักเรียนมีการพัฒนาทักษะสู่อาชีพ สามารถสร้างรายได้ระหว่างเรียน ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ รักษ์สิ่งแวดล้อมจนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษาเป็นที่ยอมรับของชุมชนโดยรอบและหน่วยงานอื่นในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เคารพกฎมีระเบียบวินัย กติกามารยาทของสังคม ได้แก่ การเข้าแถวซื้ออาหาร
ผลการดำเนินงาน  ผู้เรียนในระดับชั้น ป.๑ – ป.๓ ยังต้องเร่งพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ ป.๔ – ป.๖ ยังต้องเร่งพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ การนำเสนอ การอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล ในระดับชั้น ม.๑ – ม.๓ ยังต้องเร่งพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสมผู้เรียน และยังต้องเร่งพัฒนาให้มีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ สูงกว่าระดับเขตพื้นที่ ในกลุ่มสาระภาษาไทย คณิตศาสตร์ ให้คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ให้สูงกว่าระดับเขตพื้นที่ และระดับชาติ ในกลุ่มสาระภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://docs.google.com/spreadsheets/d/1jkrnCSDeLC3DQS7EgAUKeoTIqLxmBkbT8ZS361kfZR8/edit#gid=0
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนวัดหนองคันฯ ได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยได้ทำการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม และการประเมินผลการจัดการศึกษาตามนโยบาย การปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้อง การพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนา ตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน ผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน  
๒.๑ สถานศึกษาได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของ ชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

๒.๒ แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับ การพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและ สังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

๒.๓ สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการ ประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

๒.๔ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมใน การร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

๒.๕ สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการ จัดการศึกษาที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษา

๒.๖ สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่าย มีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนา ผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา

๒.๗ สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจาก เครือข่ายอุปถัมภ์ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://www.youtube.com/watch?v=fkpIHRTg4l4
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านการเรียนจากครูประจำชั้น / ครูประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเฉพาะ ป.๑ ,ป.๓ ,ป.๖ และ ม.๓ ครูได้ดำเนินการติวเข้มนักเรียนแต่ละชั้น โดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประกอบการเรียนการสอน ในทุกชั้นเรียนครูมีการจัดหา ผลิตสื่อ สำหรับจัดการเรียนการสอนนักเรียน จัดแหล่งเรียนรู้ภายในและแนะนำการค้นหาสื่อด้วยตนเองโรงเรียนจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยใช้ห้องสมุดเป็นฐานในการเรียนรู้ ส่งเสริมนักเรียน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ครูทุกคนจัดทำแผนและวิจัยในชั้นเรียนครูทุกคนปรับปรุงหลักสูตรตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบ
ผลการดำเนินงาน  
๑.ครูมีความรู้ความสามารถพัฒนาตนเองและวิชาชีพนำมาใช้พัฒนาผู้เรียน ให้มีความรู้และทักษะ สามารถแสดงออกให้ผู้ปกครองและชุมชนยอมรับ

๒.ผู้เรียนมีความรู้และทักษะตามหลักสูตร มีคุณธรรม จริยธรรม

๓.โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาและกิจกรรมร่วมกับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ชุมชนให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือเป็นอย่างดี

๔. โรงเรียนจัดการเรียนรู้โดยนำผลการประเมินผู้เรียนมาพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมและพัฒนาผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ ทำงานร่วมกับผู้อื่น

๕.โรงเรียนมีชุมชนที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน

๖.โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดีได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานต่างๆมีการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาจัดการเรียน การสอนในโรงเรียน

๗.มุ่งเน้นส่งเสริมสนับสนุน สืบสานโครงการพระราชดำริ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://www.youtube.com/watch?v=wUxXEAcTa8o
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ครูมีความตั้งใจมุ่งมั่น ในการพัฒนาการสอน เน้นจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ โดยการคิด ลงมือปฏิบัติจริง ใช้สื่อแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายมาจัดการเรียนการสอน ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนส่งเสริมให้ครูทุกคนจัดทำสื่อ มีผลงานวิจัยในชั้นเรียนของครู ครูทุกคนดำเนินการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อติดตามผู้เรียน ได้รับการตรวจประเมินผลและพร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำจากคณะกรรมการของเขตพื้นที่การศึกษาอย่างต่อเนื่อง
 
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 การให้ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ และการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการพัฒนาของนักเรียนและโรงเรียนทันที เพื่อนักเรียนนำไปพัฒนาตนเอง สามารถสะท้อนคุณภาพเกิดประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://www.youtube.com/watch?v=jqXCgUkawNA&ab_channel=%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5
 2.3 ภาคผนวก
 https://docs.google.com/document/d/1gEttb5-mdNS6ewj9UPmrIkm3j8_Dd_rQ/edit