รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียน

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

          โรงเรียนวัดแขมหนู เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการศึกษาระดับชั้นอนุบาล ถึง ระดับชั้นประถมศึกษา มีเขตบริการจัดการศึกษาในเขตตำบลตะกาดเง้า หมู่ที่ 9 สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ มีประชากรประมาณ ๔๐๐ ครอบครัว บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ วัดปากน้ำแขมหนู สวนสาธารณจุดชมวิว หมู่ที่ ๙ ต.ตะกาดเง้า อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี สะพานเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่าเทียบเรือประมง (ท่าหลวง) ตลาดนัดขายสินค้าประจำวัน (อังคาร-อาทิตย์) อาชีพหลักของชุมชน คือ ประมง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ การรำแม่บท ๑๒ ท่า ละครชาตรี (เท่งตุ๊ก) ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพหลัก คือ ประมง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี ๓๐,๐๐๐ บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว ๔ คน
 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

-
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

ได้ยุบเลิกสถานศึกษาแล้ว 

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

          โรงเรียนวัดแขมหนู เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการศึกษาระดับชั้นอนุบาล ถึง ระดับชั้นประถมศึกษา มีเขตบริการจัดการศึกษาในเขตตำบลตะกาดเง้า หมู่ที่ 9  สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ ตั้งอยู่เลขที่ 50/7 หมู่ 9 ต.ตะกาดเง้า อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี  
การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

1) สถานศึกษาควรจัดให้มีสนามเด็กเล่นและเครื่องเล่นสนามที่มีความปลอดภัยและติดตั้งปลั๊กไฟให้อยู่สูงจากพื้นมากกว่า1.50 เมตร และฝาปิดป้องกันเด็กเล่น สำรวจเพื่อค้นหาจุดเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ โดยการสำรวจและบันทึกข้อมูลเป็นประจำสม่ำเสมอ

                   2) สถานศึกษาควรดำเนินการบริหารงานตามระบบบริหารคุณภาพ(PDCA) ในการปฏิบัติงานโดยกำกับ ติดตาม ตรวจสอบให้ชัดเจนและครอบคลุมทุกโครงการและกิจกรรมในแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
0 1 1 1 1 0


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

หลักสูตรสถานศึกษา 2563
ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

-  มีอาคารเรียนทั้งหมด 2 อาคาร แต่ใช้ในการเรียน 1 อาคาร 
-  อาคารอเนกประสงค์ จำนวน ิ1 อาคาร 

หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

 - แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาจะมี ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ และบอร์ดความรู้ให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้
- แหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานที่ โบสถ์สีน้ำเงิน ป่าชายเลน การทำประมง

หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา   โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพร่างกายและสุขอนามัยที่ดี โรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย อาหารกลางวันและอาหารเสริม(นม) เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารตามโภชนาการครบ 5 หมู่ มีน้ำหนักส่วนสูงได้ตามเกณฑ์ที่กรมอนามัยกำหนด จัดทำแบบบันทึกน้ำหนักส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูงให้เด็กเทอมละ 2 ครั้ง และวัดสมรรถภาพทางกายทุกปีการศึกษา แบบบันทึกการแปรงฟัน ซึ่งเด็กจะแปรงฟันทุกวัน นอกจากนี้ส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อใหญ่ ทักษะการเคลื่อนไหวผ่านกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ, กิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายทำให้กล้ามเนื้อแขน-ขาแข็งแรง

           ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ร่าเริงแจ่มใส  ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้เหมาะสมตามวัย  มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก  ชื่อชมศิลปะ ดนตรี โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์  ได้แก่ กิจกรรมเคลื่อนไหวเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนาน  เกิดความกล้าแสดงออก และส่งเสริมจินตนาการเด็กได้ดี สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุขและเพิ่มการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะ ดนตรี  การเคลื่อนไหว และรักธรรมชาติ

ผลการดำเนินงาน  

จากการจัดกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพกาย สุขนิสัยที่ดี และมีทักษะการเคลื่อนไหวที่ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่  ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี รู้จักรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  และมีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ด้านการสื่อสารและแสวงหาความรู้ได้

           เสริมสร้างพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจของเด็ก  ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ มีความสุขและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ และสามารถสร้างผลงานทางศิลปะที่เกิดจากจินตนาการของตนเองออกมาได้อย่างชัดเจน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  

สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยมีการสำรวจสภาพปัญหาความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน สัมมนา ครู ผู้ปกครอง ครูผู้ที่เกี่ยวข้องให้ตระหนักและเข้าใจหลักการการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการจัดการศึกษา

            ส่งเสริมให้ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ โดยได้ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาบุคลากร ส่งครูเข้ารับการอบรม ไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่อคนต่อปี ดำเนินการโครงการนิเทศ เพื่อส่งเสริมครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการพัฒนาตนเองของครู และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียน 

            ส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชน และหน่วยงานอื่นสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ เครื่องเล่น เทคโนโลยีการศึกษา ครุภัณฑ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กนักเรียนได้รับการพัฒนาในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคมอย่างรอบด้านสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการประกวดแข่งขันและได้รับรางวัลระดับอำเภอ

           การจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย สามารถจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยมีการบริหารจัดการที่ใช้แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เป็นแนวทางการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามนโยบาย ระเบียบและกฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ครูมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน นักเรียนมีคุณภาพ ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  

จัดกิจกรรมเสรี  กิจกรรมสร้างสรรค์  กิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเกมการศึกษา และกิจกรรมที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน ได้ลงมือปฏิบัติ สัมผัสจับต้องด้วยตนเอง จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง จัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความหลากหลายในวิธีการเรียนของผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาอย่างรอบด้าน กิจกรรมการเรียนมีความหลากหลาย  น่าสนใจ เร้าใจที่จะปฏิบัติเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน  ประเมินพัฒนาการเด็กทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก ประเมินเป็นรายบุคคล

ผลการดำเนินงาน  

เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจและความต้องการของตนเองและมีกิจกรรมที่เน้นการฝึกทักษะในการจัดประสบการณ์ผ่านการเล่นด้วยสื่ออุปกรณ์ มุมประสบการณ์ต่างๆ  เด็กมีทักษะการคิดได้เหมาะสมกับวัย มีจินตนาการมีความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการคิดเชิงเหตุผล การคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

- ครูส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม อย่างหลากหลาย

           -ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน

           - จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิดได้ปฏิบัติจริง

           - มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

           -การมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

           - การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น

           - การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

- ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้และการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง

- การนำผลการประเมินมาปรับเปลี่ยนการเรียนรู้

- การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนเด็กมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยผ่านกระบวนการพัฒนา ผ่านกิจกรรม เช่น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา ครูจัดการเรียนรู้ ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร เน้นเรื่องการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ พัฒนาครูทุกคนให้มี ความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ของผู้เรียน นอกจากนี้ โครงการ/ กิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนา พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน/ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ/ จัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เพื่อการบริการข้อมูลและสารสนเทศ/ ระบบช่วยเหลือนักเรียน/ การทัศนศึกษา เป็นต้น
ผลการดำเนินงาน  ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่าน และคิดคำนวณได้ตามมาตรฐาน  ของแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดีรู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เด็กมีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน เหมาะสมกับวัย      
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  

ผู้เรียนอ่านหนังสือออก รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนอยู่ในระดับดี

ผลการดำเนินงาน  -
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนแบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น ๔ ฝ่าย ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารบุคลากร  งานบริหารทั่วไป และงานบริหารงบประมาณ ผู้บริหารยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม  โดยผู้บริหาร ครู นักเรียน  ผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาโรงเรียน มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน  ภายใต้แต่ละมาตรฐาน  เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้  มีการวางแผนกิจกรรม  โครงการ เพื่อนำไปปฏิบัติจริง มีการกำกับ ติดตาม  และปรับปรุงแก้ไข เด็กระดับปฐมมีความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ 
ผลการดำเนินงาน  

2.สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพ ปัญหาความต้องการพัฒนา

ของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของ ชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูป ตามแผนการศึกษาชาติ

2.แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับ การพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและ สังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

2.สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการ ประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

2.คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการศึกษา

2.สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการ จัดการศึกษา ที่เหมาะสม

เป็นระบบและต่อเนื่อง

2.6สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากองค์กรต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/ โครงการ/ กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่

1. โครงการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา

ผลการดำเนินงาน  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น มีโอกาสได้พัฒนาความสามารถต่างๆ ตามศักยภาพและความสามารถของตน มีทักษะชีวิต ทักษะงานอาชีพ ได้เรียนรู้จากการ ลงมือกระทำ ปฏิบัติหรือศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดี เชื่อมโยง การเรียนรู้กับสภาพชีวิตประจำวันตลอดจนได้แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

1. ครูมีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันต่อยุคสมัยและเป็นปัจจุบัน

2.ครูแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อใช้ในการเรียนการสอน

3. ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

          4. ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

          5. ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้โดยการเน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่ง เรียนรู้ที่

หลากหลาย
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

1. ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น

          2. ควรให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง

          3. ควรมีการเรียนรู้ทักษะอาชีพของชุมชนเพื่อเป็นการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก