รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดตะกาดเง้า

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร เน้นเรื่องการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป. 1 พัฒนาครูทุกคนให้มี ความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะครูร่วมกันกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ของผู้เรียน นอกจากนี้ โครงการ/ กิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้/ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน/ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ/ จัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เพื่อการบริการข้อมูลและสารสนเทศ/ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ/ ระบบช่วยเหลือนักเรียน/ การทัศนศึกษา/ คนดีศรีหนองไทร เป็นต้น

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่าน และคิดคำนวณได้ตามมาตรฐาน ของแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดีรู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถสืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดีสำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทัน สื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์รักการออกกำลังกายยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษา ของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และระหว่างวัย ทั้งนี้มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่าง ๆ

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

ยุบแล้ว

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ชื่อโรงเรียนวัดตะกาดเง้า (ยงค์ราษฎร์นุเคราะห์) ที่อยู่ 62 หมู่ที่ 3 ต.ตะกาดเง้า อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี 22120

สังกัด สพป.จบ. เขต 1 โทรศัพท์ 039-455108 โทรสาร -

เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่6
การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

โรงเรียนแบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น ๔ ฝ่าย ได้แก่ งานบริหารวิชาการงานบริหารบุคลากร งานบริหารทั่วไป และงานบริหารงบประมาณ ผู้บริหารยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยผู้บริหารครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาโรงเรียน มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน ภายใต้แต่ละมาตรฐาน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ มีการวางแผนกิจกรรม โครงการเพื่อนำไปปฏิบัติจริงมีการกำกับ ติดตาม และปรับปรุงแก้ไข โดยกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายการพัฒนา ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นแผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
0 1 0 2 1 0


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

หลักสูตรสถานศึกษา 2563
ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

อาคารเรียน 2 
โรงอาหาร 1
ห้องน้ำ 2
สนามเด็กเล่น 1
สนามบาส 1

หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ได้แก่
- ห้องสมุด
- ห้องคอมพิวเตอร์

แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ได้แก่
- การปลูกป่าโกงกาง
- แหล่งเพาะพันธุ์หอยนางรม
- หอไตรกลางน้ำ วัดตะกาดเง้า


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพร่างกายและสุขอนามัยที่ดีโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย อาหารกลางวันและอาหารเสริม(นม) เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารตามโภชนาการครบ 5 หมู่ มีน้ำหนักส่วนสูงได้ตามเกณฑ์ที่กรมอนามัยกำหนด จัดทำแบบบันทึกน้ำหนักส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูงให้เด็กเทอมละ ๒ ครั้ง และวัดสมรรถภาพทางกายทุกปีการศึกษา แบบบันทึกการแปรงฟัน ซึ่งเด็กจะแปรงฟันทุกวัน นอกจากนี้ส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อใหญ่ ทักษะการเคลื่อนไหวผ่านกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ, กิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายทำให้กล้ามเนื้อแขน-ขาแข็งแรง

ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ร่าเริงแจ่มใส ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้เหมาะสมตามวัย มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก ชื่อชมศิลปะ ดนตรีโดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ ได้แก่กิจกรรมเคลื่อนไหวเคลื่อนไหวและจังหวะกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์กิจกรรมเสรี ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนาน เกิดความกล้าแสดงออก และส่งเสริมจินตนาการเด็กได้ดีสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุขและเพิ่มการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักธรรมชาติ

สร้างข้อตกลงในการแสวงหาความรู้ด้วย ตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและขอความร่วมมือผู้ปกครองนักเรียนร่วมกำกับดูแลการปฏิบัติตนของนักเรียน โรงเรียนส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการด้านสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น โดยจัดทำแผนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และฝึกระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ การช่วยเหลือแบ่งปันนอกจากนี้ยังส่งเสริมการปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ โดยให้เด็กเข้าร่วมโครงการวันสำคัญ และโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ซึ่งเด็กได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ กิจกรรมแห่เทียนในวันข้าพรรษา ฯลฯ

ส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถในการคิดรวบยอด คิดสร้างสรรค์ทักษะทางภาษา และรู้จักการแก้ปัญหาด้วยตนเองอย่างเหมาะสมกับวัยโดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านสติปัญญา ได้แก่กิจกรรมหนูน้อยรักการอ่านการจัดทำแผนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดจัดมุมเสริมประสบการณ์ต่าง ๆ ภายในห้องเรียน และสื่อเกมการศึกษา เพราะการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นได้ดี เมื่อเด็กมีสื่อกระตุ้นเร้าให้สังเกต ทดลองค้นหา แก้ปัญหา และใช้ภาษาเพื่อให้มีทักษะสอดคล้องไปกับระดับพัฒนาการของเด็ก จัดกิจกรรมแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน พัฒนาครูเพื่อให้มาสารถจัดกิจกรรมพัฒนาการคิด


 

ผลการดำเนินงาน  

จากการจัดกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพกาย สุขนิสัยที่ดี และมีทักษะการเคลื่อนไหวที่ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี รู้จักรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ด้านการสื่อสารและแสวงหาความรู้ได้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1C_N6nVeLR1WnG3CW6fJgqENyJkwXmRvo/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยมีการสำรวจสภาพปัญหาความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน และให้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเป็นในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัย ปรับปรุงหลักสูตร ดำเนินการจัดประชุม อบรม สัมมนา ครู ผู้ปกครอง ครูผู้ที่เกี่ยวข้องให้ตระหนักและเข้าใจหลักการการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการจัดการศึกษา ส่งเสริมให้ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่โดยได้ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาบุคลากร ส่งครูเข้ารับการอบรม ไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง

ต่อคนต่อปี ดำเนินการโครงการนิเทศ เพื่อส่งเสริมครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการพัฒนาตนเองของครู และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียน ส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

 

 

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชน และหน่วยงานอื่นสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ เครื่องเล่น เทคโนโลยีการศึกษา ครุภัณฑ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กนักเรียนได้รับการพัฒนาในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคมอย่างรอบด้าน

การจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย สามารถจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยมีการบริหารจัดการที่ใช้แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เป็นแนวทางการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามนโยบาย ระเบียบและกฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ครูมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน นักเรียนมีคุณภาพ ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจ


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1C_N6nVeLR1WnG3CW6fJgqENyJkwXmRvo/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

จัดกิจกรรมเสรี กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเกมการศึกษา และกิจกรรมที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน ได้ลงมือปฏิบัติ สัมผัสจับต้องด้วยตนเอง จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง จัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความหลากหลายในวิธีการเรียนของผู้เรียนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาอย่างรอบด้าน กิจกรรมการเรียนมีความหลากหลาย น่าสนใจเร้าใจที่จะปฏิบัติเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ประเมินพัฒนาการเด็กทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก ประเมินเป็นรายบุคคล

ผลการดำเนินงาน  

เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจและความต้องการของตนเองและมีกิจกรรมที่เน้นการฝึกทักษะ

ในการจัดประสบการณ์ผ่านการเล่นด้วยสื่ออุปกรณ์ มุมประสบการณ์ต่างๆเด็กมีทักษะการคิดได้เหมาะสมกับวัย มีจินตนาการมีความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการคิดเชิงเหตุผล การคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1C_N6nVeLR1WnG3CW6fJgqENyJkwXmRvo/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

- ครูส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม อย่างหลากหลาย

- ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน

- จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิดได้ปฏิบัติจริง

- มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

- การมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

- การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น

- การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ


 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

- ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้และการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง

- การนำผลการประเมินมาปรับเปลี่ยนการเรียนรู้

- การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1C_N6nVeLR1WnG3CW6fJgqENyJkwXmRvo/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร เน้นเรื่องการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป. 1 พัฒนาครูทุกคนให้มี ความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะครูร่วมกันกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ของผู้เรียน นอกจากนี้ โครงการ/ กิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้/ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน/ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ/ จัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เพื่อการบริการข้อมูลและสารสนเทศ/ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ/ ระบบช่วยเหลือนักเรียน/ การทัศนศึกษา/ คนดีศรีหนองไทร เป็นต้น


 

ผลการดำเนินงาน  

ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่าน และคิดคำนวณได้ตามมาตรฐานของแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดีรู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถสืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดีสำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทัน สื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์รักการออกกำลังกายยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษา ของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และระหว่างวัย ทั้งนี้มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1EEPAA9wq7ToIzFapoa8jzKecP-zg3xAY/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร เน้นเรื่องการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป. 1 พัฒนาครูทุกคนให้มี ความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะครูร่วมกันกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ของผู้เรียน นอกจากนี้ โครงการ/ กิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้/ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน/ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ/ จัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เพื่อการบริการข้อมูลและสารสนเทศ/ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ/ ระบบช่วยเหลือนักเรียน/ การทัศนศึกษา/ คนดีศรีหนองไทร เป็นต้น

ผลการดำเนินงาน  

ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่าน และคิดคำนวณได้ตามมาตรฐานของแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดีรู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถสืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดีสำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทัน สื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์รักการออกกำลังกายยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษา ของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และระหว่างวัย ทั้งนี้มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1LDs1tiU77exPGWh5qkRdEx1iCRo9ARiY/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

 

 

โรงเรียนแบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น ๔ ฝ่าย ได้แก่ งานบริหารวิชาการงานบริหารบุคลากร งานบริหารทั่วไป และงานบริหารงบประมาณ ผู้บริหารยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยผู้บริหารครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาโรงเรียน มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน ภายใต้แต่ละมาตรฐาน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ มีการวางแผนกิจกรรม โครงการเพื่อนำไปปฏิบัติจริงมีการกำกับ ติดตาม และปรับปรุงแก้ไข โดยกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายการพัฒนา ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นแผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้


 

 

ผลการดำเนินงาน  

 

 

2.1 สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพ ปัญหาความต้องการพัฒนา

ของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของ ชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูป ตามแผนการศึกษาชาติ

2.2 แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับ การพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและ สังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

2.3 สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการ ประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

2.4 คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการศึกษา

 

 

2.5 สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการ จัดการศึกษา ที่เหมาะสม

เป็นระบบและต่อเนื่อง

2.6สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากองค์กรต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ


 

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1EEPAA9wq7ToIzFapoa8jzKecP-zg3xAY/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

 

1. ครูมีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันต่อยุคสมัยและเป็นปัจจุบัน

2.ครูแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อใช้ในการเรียนการสอน

3. ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

4. ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

5. ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้โดยการเน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่ง เรียนรู้ที่

หลากหลาย


 

 

ผลการดำเนินงาน  

 

1. ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น

2. ควรให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง

3. ควรมีการเรียนรู้ทักษะอาชีพของชุมชนเพื่อเป็นการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น


 

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1EEPAA9wq7ToIzFapoa8jzKecP-zg3xAY/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

·ด้านคุณภาพผู้เรียน

1.)-ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1สามารถอ่านและเขียนคำง่ายๆได้ร้อยละ 100 คน

- ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สามารถอ่านและเขียนคำที่ยากขึ้นสามารถผสมคำและเขียนบันทึกประจำวันได้ร้อยละ90 คน

- ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 สามารถอ่านหนังสือออกและอ่านคล่อง รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้จำนวนร้อย 90 ของนักเรียนแต่ละห้องเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดีโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (NT) สูงกว่าระดับชาติ ใน 3 วิชา คือ ความสามารถด้านภาษา,ความสามารถด้านคำนวณ,ความสามารถด้านเหตุผล

-ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ร้อยละ 90 ของนักเรียนทั้งหมด

-มีระเบียบวินัยจนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา เป็นที่ยอมรับของชุมชนโดยรอบในเรื่องความมีวินัย เคารพกฎกติกามารยาทของสังคม

-ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม

-ผู้เรียนมีจิตโอบอ้อมอารีและมีความบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

-ผู้เรียนมีจิตสาธารณะ

·ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

1.) โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบเรียบง่ายโดยมีการประชุมแบบมีส่วนร่วมของคณะครูผู้บริการและคณะกรรมการสถานศึกษาในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวน วิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

2.) สถานศึกษามีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ


 

·ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1.) ครูตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน 2.) ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง 3.) ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

4.) ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้โดยการคิด ได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

5.) ครูจัดกิจกรรมโดยการให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้นอกห้องเรียนได้ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรง เช่น วิชาวิทยาศาสตร์

6.) ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบของการบูรณาการหลายวิชาเข้าด้วยกัน
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

·ด้านคุณภาพผู้เรียน

1.)ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1-3 ยังต้องเร่งพัฒนาด้าน การนำเสนอการอภิปราย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม

2.) ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ยังต้องปรับปรุงแก้ไขเรื่องการอ่านและเขียนคำที่ยากขึ้น และปรับปรุงเรื่องการออกเสียงการอ่านให้ชัดตามหลักภาษาไทย

3.) ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ต้องปรับปรุงทักษะภาษาวิชาภาษาอังกฤษให้เทียบเท่าระดับมาตรฐาน

4.) ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต้องพัฒนาในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และการเขียนเรียงความภาษาไทย

5.) ผู้เรียนร้อยละ 80 มีปัญหาสุขภาพภายในช่องปากซึ่งต้องใช้เวลารักษาเป็นเวลานานรวมถึงต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง

·ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

1.) เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน

2.) สถานศึกษาสร้างเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อรณรงค์ให้ผู้ปกครองเห็นคุณค่าของการศึกษา และใส่ใจดูแลบุตรหลานให้มากกว่าที่เป็นอยู่

3.) สถานศึกษามีส่วนร่วมกับชุมชนและรณรงค์เรื่องสุขอนามัยภายในช่องปากของผู้เรียน

4.) สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

·ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1.) ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น

2.) ควรให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง

 

 

3.) ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ทักษะอาชีพภายในท้องถิ่นโดยการเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้านผู้มีความรู้ความชำนาญจากอาชีพนั้นๆ

4.) ควรเน้นการเรียนรู้เพื่อนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1EEPAA9wq7ToIzFapoa8jzKecP-zg3xAY/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/folders/1pXs5Th08hzOisxdMXXzffzQ7wxBFkBOf?usp=sharing