1. กลยุทธ์ในการพัฒนาการศึกษา
โรงเรียนวัดทุ่งเบญจาได้ศึกษาและวิเคราะห์สภาพของหน่วยงานที่มีอิทธิพลต่อการ
จัดการศึกษา ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) สภาพแวดล้อม (Environment Analysis)
ผลการประเมินประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 ของ สมศ. และองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องทุกด้าน
เพื่อกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ในการพัฒนาการศึกษาประกอบด้วยการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายนอก
1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม (Social and Cultural Factors)
2) ด้านเทคโนโลยี (Technological Factors)
3) ด้านเศรษฐกิจ (EconomicFactors)
4) ด้านการเมืองและกฎหมาย (Politcal and LegalFactors)
และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
1) ด้านโครงสร้าง (Structure)
2) ด้านผลผลิตและบริการ (Service)
3) ด้านบุคลากร (Man)
4) ด้านประสิทธิภาพทางการเงิน (Money)
5) ด้านวัสดุอุปกรณ์ (Material)
6) ด้านการบริหารจัดการ(Management)
การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง PDCA เพื่อใช้ดำเนินการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาดำเนินการ 1.วิเคราะห์สภาพ ปัญหา และความต้องการจำเป็น 2.กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย 3.จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (4 ปี) 4.จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 5.ดำเนินการตามแผน 6.ติดตาม ตรวจสอบ 7.ประเมิน ปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคลองกับแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เพื่อมากำหนดยุทธศาสตร์ในการวางแผนพัฒานา (แผน 4 ปี พ.ศ.2564-2567 ) ของโรงเรียนวัดทุ่งเบญจา ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่1 ยุทธศาสตร์พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
ผลผลิต /ผลลัพธ์
ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น สามารถท่องจำและนำสิ่งที่จำไปฝึกคิดวิเคราะห์
คิดสังเคราะห์คิดในเชิงสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้มีทักษะการทางานร่วมกับผู้อื่น
สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรมจริยธรรม ผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับ/ประเภท
ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีจิตสำนึกประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รวมทั้งสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสามัคคีปรองดอง
กลยุทธ์
1.1 พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ และจัดกิจกรรมเสริมทักษะพัฒนาผู้เรียน
ในรูปแบบที่หลากหลาย สอดคล้องกับทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21
1.2 พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร การวัดและประเมินผลการศึกษาทุกระดับ/ประเภทการศึกษา
ให้ทันสมัย สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
1.3 ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองและพลโลก ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงในระบบการศึกษาอย่างเข้มข้น
ยุทธศาสตร์ที่2 ยุทธศาสตร์ผลิต พัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
ผลผลิต /ผลลัพธ์
มีการผลิตครูได้สอดคล้องกับความต้องการในการจัดการศึกษาทุกระดับทุกประเภท มีครูครบ
ตามเกณฑ์มีครูประจำชั้นครบทุกห้อง และมีครูที่จบตรงวุฒิตามสาขาวิชาที่สอน ผู้มีใบอนุญาตประกอบ
วิชาชีพครูมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่มีสมรรถนะตาม
มาตรฐานวิชาชีพ สามารถใช้ศักยภาพในการสอนได้อย่างเต็มที่และขวัญกาลังใจที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่
กลยุทธ์
2.1 วางแผนอัตรากำลังครู
2.2 สร้างขวัญกำลังใจ สร้างแรงจูงใจให้กับครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
2.3 พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูให้มี
ประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่3 ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการ
ของการพัฒนาประเทศ
ผลผลิต /ผลลัพธ์
มีการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่มีคุณภาพ
เพิ่มจำนวนบัณฑิตในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน มีสมรรถนะ มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน
ตามมาตรฐานวิชาชีพ และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ประชาชนได้รับการฝึกอาชีพตามความถนัด
และความสนใจ รวมทั้งมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์
การให้การรักษาพยาบาล และการพัฒนาความเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภูมิภาค
กลยุทธ์
3.1 เร่งผลิตและพัฒนากำลังคนสาขาที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ อาทิด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีแพทย์และพยาบาล
3.2 เสริมสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการผลิตและพัฒนากำลังคน โดยสร้างเครือข่าย
ความร่วมมือ กังองค์กรภายนอก เช่น องค์กรปกครองท้องถิ่นเทศบาลตำบลหนองคล้า คณะกรรมการการสถานนศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.3 ส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ยุทธศาสตร์ที่4 ยุทธศาสตร์ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษา และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิต
ผลผลิต /ผลลัพธ์
ผู้เรียนทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกันในทุกระดับและประเภทการศึกษา
ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสามารถเรียนรู้จาก
แหล่งเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สถานศึกษาในภูมิภาค/ชนบท ได้รับการยกระดับคุณภาพใน
การให้บริการ เด็กพิการและด้อยโอกาสได้รับโอกาสทางการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบ
โรงเรียน รวมทั้งสามารถเทียบโอนผลการเรียนและทักษะประสบการณ์เพื่อขอรับวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้นได้
กลยุทธ์
4.1 ประกันโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนในทุก
พื้นที่ครอบคลุมถึงคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความต้องการพิเศษ
4.2 จัดหาทุนและแหล่งทุนทางการศึกษา
4.3 เร่งพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพมี
ความหลากหลาย และสามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง
ยุทธศาสตร์ที่5 ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
ผลผลิต /ผลลัพธ์ผู้เรียน สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับทุกประเภทการศึกษาเข้าถึงทรัพยากร
และระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ มีองค์ความรู้เทคโนโลยีเพื่อ
การศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น รวมทั้งมีศูนย์กลางในการจัดเก็บรวบรวมสื่อการเรียน
การสอนแบบดิจิทัลที่ทันสมัย และระบบฐานข้อมูลกลางทางการศึกษาของประเทศที่ถูกต้องและเป็น
ปัจจุบัน
กลยุทธ์
5.1 พัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาและการบริหารจัดการที่ทันสมัย
และไม่ซ้าซ้อน ให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
5.2 จัดหาอุปกรณ์/ทรัพยากรพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับผู้เรียนอย่างเพียงพอ
ทั่วถึง และเหมาะสมกับการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่6 ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการ
จัดการศึกษา
ผลผลิต /ผลลัพธ์
ระบบบริหารจัดการมีความคล่องตัวในการบริหารงานการศึกษามากยิ่งขึ้น มีความโปร่งใส
และเป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการ โครงสร้างของกระทรวงได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพโดยการ
กระจายอานาจลงไปสู่ส่วนภูมิภาคและสถานศึกษา และมีกลไกการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมใน
การสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา สถานศึกษาทุกระดับทุกประเภทมีธรรมาภิบาลในการบริหาร
รวมทั้งผู้เรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น มีศักยภาพเพื่อไปประกอบ
อาชีพ ในท้องถิ่นได้
กลยุทธ์
6.1 ปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการการศึกษาให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โดยเน้น
ด้านคุณธรรม ความโปร่งใส
6.2 พัฒนาระบบบริหารงานงบประมาณ/การเงินให้มีประสิทธิภาพ
6.3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาตอบสนองการสร้างอาชีพและเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดวามเหลื่อมล้า
สร้างความสมานฉันท์และเสริมสร้างความมั่นคงในจังหวัด
6.4 เร่งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมรับผิดรับชอบในการจัดการศึกษา รวมทั้งสนับสนุน
ทรัพยากรเพื่อการศึกษา
6.5 เสริมสร้างภาพลักษณ์หน่วยงานให้เกิดความร่วมมือ และสร้างเครือข่าย/ความเป็นภาคี
มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561 มีจำนวน 3 มาตรฐาน ได้แก่มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญรายละเอียดแต่ละมาตรฐาน มีดังนี้
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
1) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ
2) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น และแก้ปัญหา
3) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
6) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
1) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
2) ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
3) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
4) สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา
และทุกกลุ่มเป้าหมาย
2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและ การจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
3.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนาผลมาพัฒนาผู้เรียน
3.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู
2. การรายงานผลการดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2563
1 โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่
21 มีผลการดำเนินงานดังนี้
1.พื่อส่งเสริมให้นักเรียนมี
ทักษะการเรียนรู้และ
นวัตกรรม คิดสร้างสรรค์ ใส่ใจนวัตกรรม มีวิจารณญาณ แก้ปัญหาเป็น สื่อสารดี เต็มใจร่วมมือ ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
2.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะสารสนเทศ สื่อเทคโนโลยี อัพเดตทุกข้อมูลข่าวสาร รู้เท่าทันสื่อ
รอบรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ฉลาดสื่อสาร ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะชีวิตและอาชีพ มีความยืดหยุ่น รู้จักปรับตัว
ริเริ่มสิ่งใหม่ ใส่ใจดูแลตัวเอง รู้จักเข้าสังคม ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
4.เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
สรุปผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย
เชิงปริมาณ ร้อยละ 100 นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เชิงคุณภาพ นักเรียนร้อยละ 80 มีทักษะการ
เรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ
4C
จุดเด่น/จุดควรพัฒนา
จุดเด่น นักเรียนได้รับการส่งเสริม/พัฒนา
ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และเตรียมพร้อมกับการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21
จุดที่ควรพัฒนา ไม่มี
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ควรจัดโครงการนี้
อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
2. โครงการพัฒนาผู้เรียนปฐมวัย มีผลการดำเนินงานดังนี้
1. เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 รู้จักการช่วยเหลือตนเองและปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับวัย
2. เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 รู้จักคิดวิเคราะห์ จากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริง
3. ครูมีสื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็ก
3.โครงการพัฒนาปรับปรุงคอมพิวเตอร์สื่อเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ มีผลการดำเนินงานดังนี้
ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์
1.ปรับปรุง/ซ่อมแซม/จัดซื้อ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพวง ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
2.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมี
ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
สรุปผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย
เชิงปริมาณ นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียน
วัดทุ่งเบญจามีแหล่งเรียนรู้และสื่อ
เทคโนโลยีที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนร้อยละ 100
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 100 นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียน
วัดทุ่งเบญจามีคุณภาพและศักยภาพในการใช้สื่อเทคโนโลยี
และสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษา
จากแหล่งเรียนรู้นั้นไปปรับใช้ใน
กระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
จุดเด่น/จุดควรพัฒนา
จุดเด่น นักเรียนและบุคลากรมีแหล่งเรียนรู้และสื่อเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนร้อยละ 100
และสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้นั้นไปปรับใช้ในกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
จุดที่ควรพัฒนา ไม่มี
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ควรจัดโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถด้านเท๕โนโลยี
4. โครงการเรีนดี เรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ มีผลการดำเนินงานดังนี้
ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์
1. นักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งเบญจาทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
สรุปผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1.นักเรียนทุกคนได้รับหนังสือเรียนฟรี
ตลอดปีการศึกษา ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
2.นักเรียนทุกคนได้รับเงินอุปกรณ์การ
เรียน ภาคเรียนละ 2 ครั้ง ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
3.นักเรียนทุกคนได้เข้าร่วมกิจกรรม
พัฒนาผู้เรียน ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
เชิงคุณภาพ
1.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการแนะแนวในการศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
จุดเด่น/จุดควรพัฒนา
จุดเด่น นักเรียนได้รับทุนการศึกษา
และอุปกรณ์การเรียน รวมถึงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
จุดที่ควรพัฒนา ไม่มี
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ควรจัด
โครงการนี้อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มการติดตามผลในระยะยาว
5. โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและพัฒนาครูสู่มาตรฐานวิชาชีพ มีผลการดำเนินงานดังนี้
1. มีครูสอนตรงตามกลุ่มสาระครูและผู้บริหารสถานศึกษาได้เข้ารับการประชุมอบรม
และศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนาตนเองนำผลที่ได้จากการพัฒนามาปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อ
พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น
2. บุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอ
สถานศึกษา ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
3. บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาและศึกษาดูงานจากภายนอกสถานศึกษาสามารถนำมาขยายผล
ให้กับผู้อื่น ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
4. สามารถนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ได้อย่างถูกต้อมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตประพฤติมิชอบ ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
6 โครงการบริหารงบประมาณและการระดมทรัพยากรจากภาคีเครือข่าย/ภาคประชาสังคม มา
ใช้เพื่อประโยชน์ทางราชการ มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์
1.การตรวจสอบระบบงานการเงิน การบัญชี
และพัสดุของโรงเรียนให้ดำเนินการอย่าง
ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
2.การพัฒนาระบบงานธุรการ การเงินและ
พัสดุของโรงเรียน และมีการปฏิบัติงานที่
สอดคล้องสัมพันธ์กัน ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
3. การระดมทรัพยากรเพื่อนำมาใช้ใน
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่าง
เพียงพอและและมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ประสบผลสำเร็จ ร้อยละ 100
4.สรรหา จัดจ้างครูตำแหน่งครูพี่เลี้ยง
อนุบาล ครูสอนว่ายน้ำ ประสบผลสำเร็จ ร้อยละ 100
5.เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายค่าสาธารณูปโภค
ค่าจ้างครูให้เป็นปัจจุบัน ประสบผลสำเร็จ ร้อยละ 100
สรุปผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1.ระบบงานการเงิน การบัญชี และพัสดุ
ของโรงเรียนถูกต้องตามระเบียบเป็น
ปัจจุบันและสามารถตรวจสอบได้ใน
ระดับดี ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
2. ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง สามารถปฏิบัติหน้าที่ เกี่ยวกับงานธุรการ การเงิน
และพัสดุได้อย่างรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน
ถูกต้องตามระเบียบและเกิด
ประสิทธิภาพสูงสูดในระดับดี ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
3.โรงเรียนได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือในการจัดการระดมทรัพยากรในการจัดการศึกษาจากคณะกรรมการ
สถานศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรภาครัฐและเอกชน ผู้ปกครองและ
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
เชิงคุณภาพ
1.มีระบบงานการเงิน การบัญชี และพัสดุ
ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน มีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบได้ ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
2. โรงเรียนสามารถระดมทุนทรัพยากรมา
ใช้ในการบริหารโรงเรียน ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
3. มีครูพี่เลี้ยงอนุบาล/ครูสอนว่ายน้ำ เพื่อจัดประชุมผู้ปกครองโดยทางโรงเรียน
นำเสนอความรู้แนวคิดที่จะเป็นประโยชน์
ต่อการให้การศึกษา การอบรมเลี้ยงดู
นักเรียน การแลกเปลี่ยนความคิด
ข้อเสนอแนะ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี
ระหว่างบ้านและโรงเรียน
จุดเด่น/จุดควรพัฒนา
จุดเด่น สามารถบริหารจัดการงบประมาณและพัสดุได้อย่างเป็นระบบ และระดมทุนจาก
เครือข่ายมาใช้เพื่อพัฒนาโรงเรียน
จุดที่ควรพัฒนา ไม่มี
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ควรจัดโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มการติดตามผลในระยะยาว
7. โครงการการมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์
1.เพื่อจัดประชุมผู้ปกครองโดยทางโรงเรียน
นำเสนอความรู้แนวคิดที่จะเป็นประโยชน์
ต่อการให้การศึกษา การอบรมเลี้ยงดู
นักเรียน การแลกเปลี่ยนความคิด
ข้อเสนอแนะ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี
ระหว่างบ้านและโรงเรียน ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
2. เพื่อสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาสถานศึกษา
และเป็นการระดมทรัพยากรทางการศึกษา
ประกอบด้วยคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการห้องเรียน
ชมรมผู้ปกครองและครูในการสร้างความ
ตระหนักในบทบาทหน้าที่ ร่วมคิด ร่วม
พัฒนา ร่วมรับผิดชอบและร่วมภาคภูมิใจ
ในการร่วมพัฒนาการเรียนการสอนให้
นักเรียนมีคุณภาพ ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
3.เพื่อส่งเสริมภารกิจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการพัฒนาองค์คณะบุคคลและสถานศึกษาสู่คุณภาพที่คาดหวัง ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
สรุปผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1.โรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียนทุกคน
ประชุมร่วมกันเพื่อการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาการศึกษาภาคเรียนละ ๑ ครั้ง ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
2.ผู้แทนผู้ปกครองนักเรียน เครือข่าย
ผู้ปกครอง เครือข่ายศิษย์เก่า ชมรม
ผู้ปกครองและครูร่วมประชุมภาคเรียน
ละ ๑ ครั้ง เพื่อประสานความร่วมมือ
ระหว่างบ้านและโรงเรียน ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
3.คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ร่วมประชุมภาคเรียนละ ๒ ครั้ง เพื่อการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
เชิงคุณภาพ
1.โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่
เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันพัฒนาการศึกษา
ของโรงเรียนและพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์
สังคมและสติปัญญา ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
2.สร้างเครือข่ายโรงเรียน เครือข่าย
ผู้ปกครอง องค์กร ชุมชน เพื่อการ
ร่วมกันส่งเสริมประสิทธิภาพในการจัด
การศึกษาของโรงเรียน ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
3.คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมี
ส่วนร่วมในการทำงานเพื่อประสาน
ประโยชน์ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ของสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ประสบผลสำเร็จร้อยละ 100
จุดเด่น/จุดควรพัฒนา
จุดเด่น มีความสามัคคีกันภายในเครือข่าย โรงเรียนและชุมชน รวมถึงสร้างความมั่นใจ
ให้กับผู้ปกคองของนักเรียน
จุดที่ควรพัฒนา ไม่มี
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ควรจัดโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มการติดตามผลในระยะยาว
8.โครงการอัตราการเกณฑ์เด็กเข้าเรียนส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาต่อของนักเรียน มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1.นักเรียนในเขตพื้นที่บริการเข้ารับการศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 100
2.นักเรียนที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่
6เข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ100
9. โครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีผลการดำเนินการดังนี้
1.นักเรียนระดับประถมศึกษาทุกคนได้รับการจัดกิจกรรม 4 H ร้อยละ 100
2. นักเรียนมีความสุขในการเรียนพัฒนาและตนเองตามความสนใจและความถนัดอย่าง เต็มตามศักยภาพ ร้อยละ 100