ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บทสรุปสำหรับผู้บริหารการประเมินตนเองของสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านสะพานเลือก เป็นโรงเรียนขนาดเล็กตั้งอยู่เลขที่ 15 หมู่ 5 ตำบล ทุ่งเบญจา อำเภอ ท่าใหม่ จังหวัด จันทบุรี ขนาดพื้นที่ 15 ไร่ 2งาน 68 ตารางวา จัดการศึกษาระดับชั้นอนุบาล ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีเขตบริการจัดการศึกษาในเขต หมู่ 5 หมู่ 8 หมู่ 11 และ หมู่ 12 ตำบลทุ่งเบญจา ในภาพรวมสภาพชุมชนมีลักษณะเกษตรกรรม ผู้ปกครองนักเรียนประกอบอาชีพอย่างหลากหลาย อาทิเช่น ค้าขาย ลูกจ้าง และเกษตรกร ในปีการศึกษา 2563 มีผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู จำนวน 3 คน ช่วยราชการ - คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน - คน นักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 17 คน ระดับประถมศึกษา จำนวน 70 คน มีผลการทดสอบระดับชาติของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เฉลี่ยร้อยละ 34.46 ปี พ.ศ. 2555 ได้รับการประเมินจากหน่วยงายภายนอกมีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบสาม (พ.ศ.2554 – 2558) มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านสะพานเลือกจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย มีนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 รวม 17 คน ครูผู้สอน 1 คน (เดือนมกราคม 2563 ครูประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ทำให้ไม่มีครูประจำชั้น แต่โรงเรียนแก้ปัญหาโดยการจ้างครูพี่เลี้ยงดูแล ) จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 2563 ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ..ดีเลิศ.. มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้เด็ก ระดับปฐมวัย 17 คน มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์จำนวน ..13.. คน มีน้ำหนักส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน..4.... คน โครงการส่งเสริมสุขภาพเป็นโครงการที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ส่งผลให้เด็กร้อยละ.76.47สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ด้านอารมณ์จิตใจควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ โรงเรียนบ้านสะพานเลือกได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กๆได้สนุกสนาน มีความสุขในการเรียนรู้ จากโครงการโครงการพัฒนาผู้เรียนปฐมวัยส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านสะพานเลือก ร้อยละ 100.00 มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย ด้านสังคมช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านสะพานเลือกทุกคนช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันมีวินัยในตนเองรู้จักการประหยัดพอเพียง มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน มีมารยาททางวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การทักทาย จากโครงการโครงการคุณธรรมจริยธรรมส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านสะพานเลือก ร้อยละ 100 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้อย่างเหมาะสม
ด้านสติปัญญาสื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านสะพานเลือกทุกคน สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัยและพยายามค้นหาคำตอบ อ่านนิทานและเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆได้ นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านสะพานเลือก ร้อยละ 82.35 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสม รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเปิดบ้านอนุบาล ส่งผลให้โรงเรียนได้มีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ ด้านการสร้างโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข โรงเรียนบ้านสะพานเลือกได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคีการแบ่งปัน และการรอคอยเพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขจากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้างส่งผลให้โรงเรียนบ้านสะพานเลือกได้มีการจัดประสบการณ์ที่สร้างโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข ด้านการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยโรงเรียนบ้านสะพานเลือกได้จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกันซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน นอกจากนี้โรงเรียนบ้านสะพานเลือกมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศ แจ่มใสกว้างขวางพอเหมาะ มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใสและมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเปิดบ้านอนุบาลส่งผลให้โรงเรียนบ้านสะพานเลือกได้มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ด้านการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กโรงเรียนบ้านสะพานเลือกมีกระบวนการ การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจและการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็กโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนจากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเปิดบ้านอนุบาลและกิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการ ส่งผลให้โรงเรียนบ้านสะพานเลือกได้มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก
ด้านคุณภาพการการบริหารจัดการ ด้านการจัดการหลักสูตรโรงเรียนบ้านสะพานเลือกมีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น จากโครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช2560 กิจกรรมบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอนส่งผลให้โรงเรียนบ้านสะพานเลือก มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยตามพุทธศักราช 2560 ด้านการจัดครูเนื่องจากมีปัญหาครูไม่ครบชั้นเรียน โรงเรียนบ้านสะพานเลือกจึงแก้ปัญหาให้เพียงพอต่อชั้นเรียนได้มีการจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านสะพานเลือกได้ส่งบุคคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องจากกิจกรรมโรงเรียนจัดหาพี่เลี้ยงเด็กปฐมวัย ส่งผลให้โรงเรียนบ้านสะพานเลือกมีครูเพียงพอต่อชั้นเรียนในระดับหนึ่ง ด้านส่งเสริมให้ครูมีความชำนาญด้านการจัดประสบการณ์โรงเรียนบ้านสะพานเลือกได้มีการพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง จากโครงการพัฒนาบุคคลากร กิจกรรมPLC กิจกรรมการประชุมสัมมนา และกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ ส่งผลให้ครูโรงเรียนบ้านสะพานเลือกมีความรู้และทักษะด้านการจัดประสบการณ์ ด้านสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัย และพอเพียง โรงเรียนบ้านสะพานเลือกมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียนส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่มมีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชนมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ ด้านการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์โรงเรียนบ้านสะพานเลือก มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึงจากโครงการส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้กิจกรรมจัดหาสื่อการเรียนการสอนส่งผลให้โรงเรียนบ้านสะพานเลือกมีการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมโรงเรียนมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนดได้มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่องจากโครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านสะพานเลือกจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 70คน ครูผู้สอน 3 คน ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนและ 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย ด้านคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านสะพานเลือกกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย ประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียนสถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพจัดแหล่งเรียนรู้ภายในให้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี มีความกล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เน้นทักษะการทำงานร่วมกัน ทำให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น จากการประเมินการอ่านของนักเรียน ชั้น ป.1 RT ปีการศึกษา 2563 การอ่านออกเสียงและการอ่านรู้เรื่อง ระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 20.00 ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 53.33 ระดับพอใช้คิดเป็นร้อยละ 20.00ระดับปรับปรุงคิดเป็นร้อยละ 6.66 การประเมินนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการวัดผลปลายปี ระดับ3 ขึ้นไปร้อยละ 64.44 นักเรียนมีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด เฉลี่ยระดับดีขึ้นไปจำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 78.95 มีผลการอ่านคิด วิเคราะห์และเขียนผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ร้อยละ 67.14 ด้านคุณภาพกระบวนการบริหารและการจัดการ ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการเพื่อให้บรรลุตามกระบวนการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ในโรงเรียนบ้านสะพานเลือกดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหาผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาโดยใช้ข้อมูลฐานในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจนในดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมาย เชื่อมโยงกับชีวิตจริง จัดทำแผนพัฒนา คุณภาพจัดการศึกษา ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพตามความต้องการของครูและสถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนบ้านสะพานเลือก โดยประเมินภาพความสำเร็จดังนี้ โรงเรียนมีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่โรงเรียนกำหนดชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาตินโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัดรวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมมีระบบการบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ วางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยนำแผนไปปฏิบัติ ติดตามตรวจสอบ ประเมินผล และปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่องมีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการนิเทศภายใน นำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในการวางแผน ปรับปรุงพัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามีการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ พัฒนาหลักสูตรกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านเชื่อมโยงวิถีชีวิตจริงและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายรวมถึงการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มที่เรียนแบบควบรวมและกลุ่มเรียนร่วมด้วย มีการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรตรงตามความต้องการและจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัยจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน จัดหา พัฒนาและบริการด้านเทคโนโลยี สารสนเทศจัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้านกระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลายเช่น โครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โครงการการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โครงการส่งเสริม นิสัยรักการอ่านมีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำข้อมูลและผลจากการวิเคราะห์มาออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดประเมินผลที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่นักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยความเสมอภาค ส่งเสริมให้ครูใช้ผลจากการประเมินผู้เรียนมาทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบ มีการจัดบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตรงตามความรู้ประสบการณ์และความถนัด และจัดการเรียนการสอนในวิชาที่ได้รับอย่างเต็มเวลาและความสามารถ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน และเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีโครงการที่ส่งเสริมให้ครูได้ทุกกลุ่มสาระพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา 1. ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านสะพานเลือกมีกระบวนการพัฒนาผลการเรียนรู้ที่เน้นคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนบ้านสะพานเลือก ได้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 1.1 คุณภาพมาตรฐาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ระดับคุณภาพ: ดีเลิศ 1. กระบวนการพัฒนา ผู้เรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน และการสื่อสาร ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในแต่ละระดับชั้น โรงเรียนบ้านสะพานเลือกมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนโดยเน้นดำเนินการตามงาน/โครงการ กิจกรรมที่หลากหลาย เพี่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ โดยให้นักเรียนได้เรียนในรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติม มีการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบทางการศึกษาทั้ง Reading Test (RT), National Test (NT) และ Ordinary National Education Test (O-Net) พร้อมทั้งพัฒนาครูทุกคนให้เข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองด้วยวิธีที่หลากหลาย ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ จัดให้มีโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและพัฒนาทักษะ กิจกรรมเสริมทักษะการอ่าน กิจกรรมวันภาษาไทย การใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองหรือเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เช่น การเรียนด้วย DLTV การบันทึกพัฒนาการอ่านและการเขียน มีการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ ให้ผู้เรียนสามารถสรุปความคิดจากเรื่องที่อ่าน ฟัง ดู และสื่อสาร ด้วยการพูดหรือเขียน มีความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ผลงาน นอกจากนี้มีโครงการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอน การเข้าไปศึกษากับภูมิปัญญาในชุมชนนอกสถานที่ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเบญจาและโรงเรียนมัธยม 2. ผลการดำเนินงาน 2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 2.1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านสะพานเลือกมีการกำหนดค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับ 3.00 ขึ้นไป โรงเรียนบ้านสะพานเลือก มีการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบทางการศึกษาทั้ง Reading Test (RT), National Test (NT) และ Ordinary National Education Test (O-Net) จากโครงการหรือกิจกรรม ดังนี้
จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้นักเรียนของโรงเรียนบ้านสะพานเลือก มีผลการทดสอบระดับชาติของผู้เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (NT) ปีการศึกษา 2563มีค่าเฉลี่ยลดลง จากปีการศึกษา 2562 คือ – 8.14 และระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการทดสอบระดับชาติของผู้เรียนเพิ่มขึ้นมากกว่า 2.1.2ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านสะพานเลือกมีการพัฒนาผู้เรียนโดยเน้นดำเนินการตามงาน/โครงการ และกิจกรรม
จากการดำเนินโครงการ/กิจกรรมดังกล่าว ส่งผลให้นักเรียนของโรงเรียนบ้านสะพานเลือก
สามารถอ่านออกและอ่านคล่องเป็นส่วนใหญ่ตรงตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้นการประเมินความสามารถในการเขียนทุกระดับชั้นอยู่ในระดับดีมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพตามเป้าหมาย 2.2ผลคุณลักษณะและค่านิยมที่พึงประสงค์ ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยม และจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีงามของสังคม ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะและค่านิยมที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด กล่าวคือ ผู้เรียนมีความเอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง มีความตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทยของตนเอง มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัย รู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัย
โรงเรียนบ้านสะพานเลือก มีการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์จากโครงการหรือกิจกรรม ดังนี้
จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ส่งผลให้นักเรียนของโรงเรียนบ้านสะพานเลือก มีคุณลักษณะ
3. จุดเด่น สถานศึกษา มีการนำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปกำหนดเป้าหมายและแผนเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น มีการกำหนดบทบาทครูผู้สอนและกิจกรรมในโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และเน้นทักษะในการอ่าน การเขียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ 4.จุดที่ควรพัฒนา จุดที่ควรพัฒนาในด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ได้แก่ 1. พัฒนากระบวนการคิด ฝึกทักษะด้านการแสดงความคิดเห็น และการแก้ปัญหา 2. พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงานอย่างสร้างสรรค์และมีคุณธรรม 3. พัฒนาวิธีการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนผ่านกระบวนการวิจัย 4. การจัดกิจกรรมต่างๆยังขาดความต่อเนื่องและยังไม่จริงจังเนื่องจากสถานการณ์ 5.แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น 1. ดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอย่างเป็นระบบตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 2. ให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดต่างๆ มากขึ้น โดยมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และมีการประเมินความสามารถในการคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ 3. พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการสร้างและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 4.พัฒนาด้านการสอนอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ คำนวณและเสริมกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนมีทักษะเพิ่มขึ้นและเป็นไปตามมาตรฐานตัวชี้วัด 5. พัฒนาด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีจุดเน้นเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ความมีวินัย
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ : ดีเลิศ 1. กระบวนการพัฒนา สถานศึกษามีโครงการพัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ ติดตาม ประเมินครู และบุคลากร มีโครงการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานทั่วไป โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศ - การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ ตลอดจนกำหนดเป้าประสงค์และได้นำเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบเป็นการวางกรอบในการพัฒนาโรงเรียน - การมีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา โรงเรียนได้แบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 5 กลุ่มงาน โดยได้ดำเนินการบริหารจัดการแบบการมีส่วนร่วมทุกกลุ่มงาน ทำรูปแบบการบริหารงานมาขับเคลื่อนกระบวนการบริหารจัดการ - การดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยยึดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศจัดกิจกรรม ลูกเสือ แนะแนว ชุมนุม กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ - พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ สถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนให้ครูทุกคนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ โดยส่งครูเข้ารับการอบรมทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชนทางการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน - จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ โรงเรียนมุ่งเน้นการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งอาคารเรียน ห้องเรียน ให้มีเพียงพอ โดยได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน จัดให้มีห้องสมุดการเรียนรู้ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และแหล่งสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่นักเรียนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ได้ง่าย - มีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โรงเรียนจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม โดยมีข้อมูลสารสนเทศที่มีความถูกต้องครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและจัดการเรียนรู้ เช่น มีคอมพิวเตอร์ และติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อกระจายสัญญาณ Wi-Fi ให้ครอบคลุมทั้งบริเวณโรงเรียนเพื่อส่งเสริมให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน เข้าถึงระบบสารสนเทศของโรงเรียนได้ง่ายขึ้น โรงเรียนมีระบบการรับส่งเอกสารทางราชการ โดยใช้ระบบ AMSS++ เพื่อเป็นการลดกระดาษ 2. ผลการพัฒนา สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นมีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียน ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับพอใช้ สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา ที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เยี่ยมบ้านนักเรียนสถานศึกษามีการจัดหาทรัพยากร เช่นทุนการศึกษา จากบุคคลและหน่วยงานในบริเวณใกล้เคียง เพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน 3.จุดเด่น โรงเรียนบ้านสะพานเลือกมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนตามความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาการศึกษาชาติ นโยบายของรัฐและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อีกทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม ดำเนินการพัฒนางานวิชาการเน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา จัดกิจกรรมส่งเสริมและปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นทั้งคนเก่งและคนดี พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถสร้างและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน 4. จุดที่ควรพัฒนา โรงเรียนควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาช่วยในการสอนกิจกรรมเสริมหลักสูตรและพัฒนาผู้เรียน เนื่องจาก ปีการศึกษาที่ผ่านมา โรงเรียนขาดครูผู้สอนมีครูไม่ครบชั้นเรียน และพัฒนาในเรื่องสื่อเทคโนโลยีให้ทันสมัยต่อการเรียนรู้และลดภาระครูผู้สอนที่มีจำนวนไม่เพียงพอ 5. แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น 1. ส่งเสริมการนิเทศติดตามอย่างเป็นระบบ เพื่อการพัฒนาการสอนที่มีคุณภาพ 2. ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวิทยากรภายนอก เข้ามาช่วยจัดกิจกรรมเรียนรู้ 3. โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี 4.โครงการพัฒนาบุคลากร มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ : ดีเลิศ 1. วิธีดำเนินการพัฒนา สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลายเช่น โครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โครงการการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โครงการส่งเสริม นิสัยรักการอ่าน การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำข้อมูลและผลจากการวิเคราะห์มาออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติจริง ฝึกทักษะการคิดผ่านกิจกรรมการเรียนด้วยเทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดประเมินผลที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่นักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยความเสมอภาค ส่งเสริมให้ครูใช้ผลจากการประเมินผู้เรียนมาทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบ มีการจัดบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตรงตามความรู้ประสบการณ์และความถนัด และจัดการเรียนการสอนในวิชาที่ได้รับอย่างเต็มเวลาและความสามารถ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน และเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีโครงการที่ส่งเสริมให้ครูได้ทุกกลุ่มสาระพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งกับเพื่อน ครูและผู้ปกครองเพื่อแลกเปลี่ยนแนวการจัดการเรียนรู้ และนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมได้ลงมือปฏิบัติจริง สรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศบริเวณต่างๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน อีกทั้งการใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรม และเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูทำวิจัยนักเรียนเพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาผู้เรียนใ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนที่ 3
สรุปผล
แนวทางการพัฒนา และความต้องการการช่วยเหลือ
ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาถือเป็นข้อมูลสารสนเทศสำคัญที่สถานศึกษาจะต้องนำไปวิเคราะห์
สังเคราะห์ เพื่อสรุปนำไปสู่การเชื่อมโยงหรือสะท้อนภาพความสำเร็จกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
และนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ดังนั้น
จากผลการดำเนินงานของสถานศึกษา สามารถสรุปผลการประเมินในภาพรวมของจุดเด่น
จุดควรพัฒนาของแต่ละมาตรฐาน พร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น
ดังนี้
สรุปผล
1. ด้านคุณภาพผู้เรียน
2.
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหาร
3. ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
แนวทางการพัฒนาในอนาคต
1.
จัดทำโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
เพื่อการพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะการอ่าน การเขียน การสื่อสาร ให้สูงขึ้น
2. พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง
และสังคมในด้านการเรียนรู้ การทำงานอย่างสร้างสรรค์ มีคุณธรรม
สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยกับตนเองและผู้อื่น
สามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้องในสังคมออนไลน์
ความต้องการและการช่วยเหลือ
1. งบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อ จัดหา สื่อ และวัสดุอุปกรณ์ ที่จะนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2. ขอรับการสนับสนุนข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษาครบทุกชั้นเรียน
|