รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดรำพัน

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

โรงเรียนวัดรำพัน (สุขสวัสดิพิชาญราษฎร์) ได้ดำเนินงานด้านการสร้างความเข้มแข็งของระบบประกันคุณภาพภายใน อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันโดยได้ดำเนินงานตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2562 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ เมื่อวิเคราะห์แยกตามมาตรฐานการศึกษา พบว่า

ด้านคุณภาพนักเรียน มีคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับดีเลิศ จุดเด่น 3 อันดับแรก ซึ่งมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ตามเกณฑ์มาตรฐานสถานศึกษากำหนด ได้แก่ ด้านผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และด้านความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย โดยนักเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 90.16, 81.97 และ81.15 ตามลำดับ

สำหรับจุดที่ควรพัฒนา 3 อันดับแรกได้แก่ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ในประเด็นผลการทดสอบระดับชาติ (0-net) ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนที่มีผลคะแนนเฉลี่ย เท่ากับหรือสูงกว่าประเทศ คิดเป็นร้อยละ 50.00 และ 23.08 ตามลำดับ สำหรับผลการทดสอบระดับชาติ (NT)ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีนักเรียนที่มีผลคะแนนเฉลี่ย เท่ากับหรือสูงกว่าประเทศ คิดเป็นร้อยละ 27.27 ซึ่งไม่บรรลุเป้าหมายโรงเรียนที่ตั้งไว้

อันดับที่สองได้แก่ ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณมีนักเรียนที่มีคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไป จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 51.64 มีระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนอยู่ในระดับ ปานกลาง และอันดับที่สาม ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหามีนักเรียนที่มีคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไป จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 59.02 มีระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน อยู่ในระดับ ปานกลาง

จากปัญหาดังกล่าวโรงเรียนจึงได้จัดทำแผนพัฒนา เพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น ดังนี้

แผนปฏิบัติงานที่ ๑ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน NT, O-NET

แผนปฏิบัติงานที่2 จัดกิจกรรมส่งเสริม และพัฒนา ในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดคำนวณ ทุกระดับชั้น

แผนปฏิบัติงานที่ 3 จัดกิจกรรมส่งเสริม และพัฒนา ความสามารถความสามารถในสร้างนวัตกรรม และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะ และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทุกระดับชั้น

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการมีคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ จุดเด่น 3 อันดับแรก ได้แก่ โรงเรียนกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน นโยบายของรัฐบาล และมีความเป็นไปได้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียนที่ชัดเจน เป็นระบบ มีการวางแผนพัฒนาการจัดการศึกษา และการนำแผนไปสู่การปฏิบัติโดย โดยใช้กระบวนการ PDCA มีการบริหารอัตรากำลังอย่างชัดเจน มีประสิทธิภาพ มีการระดมทรัพยากรทางการศึกษา โดยการร่วมมือภาคีเครือข่าย มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นระบบ และมีระบบการนิเทศภายใน และการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นระบบ และมีหลักฐานอ้างอิงที่ชัดเจน ตรวจสอบการดำเนินงานได้ มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ และการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ โดยโรงเรียนมีการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ตรงตามความต้องการของตนเอง โดยปรับการสอนให้ตรงตามวิชาเอก และความถนัดของครูเป็นส่วนใหญ่ และส่งเสริมให้ดำเนินการ มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ เพิ่มมากขึ้น

สำหรับจุดที่ควรพัฒนา 2 อันดับแรกได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียน และสภาพล้อมทางสังคมที่เอื้อการจัดการเรียนรู้ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีดังนั้นโรงเรียน ควรเพิ่มการจัดจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ให้พร้อมใช้งาน มีความสะอาด ปลอดภัย สามารถเป็นแหล่งการเรียนรู้ ในชุมชน องค์กรใกล้เคียง เพิ่มขึ้น ตลอดจนสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายใน และภายนอกให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และความปลอดภัยเพิ่มขึ้น เช่น ระบบความปลอดภัย การจราจร และการดูแลความช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคลเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด และสนับสนุน ส่งเสริม เป็นต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

จากปัญหาดังกล่าวโรงเรียนจึงได้จัดทำแผนพัฒนา เพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น ดังนี้

แผนปฏิบัติงานที่ ๑พัฒนาแหล่งเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียน ให้สอดคล้องกับ หลักสูตรที่เน้นคุณภาพรอบรอบด้าน ส่งเสริมให้นักเรียนผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะการแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ ตามศักยภาพของผู้เรียนเชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดสรรงบประมาณ และดำเนินการระดมทุนการสรรหางบประมาณเพิ่มขึ้นในปีการศึกษา 2564

แผนปฏิบัติงานที่ ๒ พัฒนาจัดระบบเทคโนโลยี เพิ่มขึ้นให้พร้อมใช้งาน มีความสะอาด ปลอดภัย สามารถเป็นแหล่งการเรียนรู้ ในชุมชน องค์กรใกล้เคียง และส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษาเป็นต้นแบบที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้น

ด้านจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า จุดเด่น 3 อันดับแรก ซึ่งมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ ได้แก่ ด้านการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน ใช้เครื่องมือและวิธีวัดและประเมินที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ และให้ข้อมูล ย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้และด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ส่งผลให้เด็กรักที่จะเรียนรู้ และเรียนร่วมกันอย่างมีความสุข

สำหรับจุดที่ควรพัฒนา 2 อันดับแรกซึ่งมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี ได้แก่ ด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยเฉพาะในประเด็นการใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพิ่มเติมขึ้น และให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา และด้านการจัดการเรียนรู้และดำเนินการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง โดยครูผู้สอนควรจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอนผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบactive learning เน้นผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะการแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ ตามศักยภาพของผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น

จากปัญหาดังกล่าวโรงเรียนจึงได้จัดทำแผนพัฒนา เพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น ดังนี้

แผนปฏิบัติงานที่ 1การพัฒนา และส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนเพิ่มขึ้น และมีการประสานงานร่วมมือกับแหล่งเรียนรู้ในองค์กรใกล้เคียง ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น

แผนปฏิบัติงานที่ ๒ การส่งเสริม และพัฒนาครูจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบactive learning โดยมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง
 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

สถานศึกษามีแหล่งข้อมูลหลักฐานอ้างอิงเชิงประจักษ์ ดังนี้

๑. มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

๒. แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา

๓. แผนปฏิบัติการประจำปี

๔. หลักสูตรสถานศึกษา, หลักสุตรกลุ่มสาระการเรียนรู้, กรอบสาระท้องถิ่น,หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

๕. คำสั่งโรงเรียน

๖. รายงานการประชุม

๗. รายงานสรุปโครงการ/กิจกรรม

๘. ปฏิทินปฏิบัติงาน

๙. ข้อมูลสารสนเทศ

๑๐. การจัดทำข้อมูลนักเรียน (Data Management Center : DMC)

๑๑. รายงานการควบคุมภายใน

๑๒. ผลการแข่งขันทางวิชาการระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ

๑๓. เกียรติบัตร โล่รางวัล เหรียญรางวัล

๑๔. ภาพกิจกรรม

15. รายงาน SAR
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

ด้านคุณภาพผู้เรียน

 

จุดเด่น

จุดควรพัฒนา

Ø ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

Ø ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

Ø ด้านความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย

 

Ø ผลการทดสอบระดับชาติ

Ø ความสามารถในการคิดคำนวณ

Ø ความสามารถใน คิด วิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารญาณ และการแก้ปัญหา

 

 

 

 

แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น

แผนปฏิบัติงานที่ ๑ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน NT, O-NET

o   โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้  8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

แผนปฏิบัติงานที่2 จัดกิจกรรมส่งเสริม และพัฒนาในการอ่าน  การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดคำนวณ ทุกระดับชั้น

o   โครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนของนักเรียน

o   โครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

o   โครงการโรงเรียนสุจริต วิถีพุทธ คุณธรรม

o   โครงการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

แผนปฏิบัติงานที่3 จัดกิจกรรมส่งเสริม และพัฒนา ความสามารถความสามารถในสร้างนวัตกรรม  และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะ และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทุกระดับชั้น

o   โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

o   โครงการโรงเรียนดีประจำตำบล

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

จุดเด่น

จุดควรพัฒนา

Ø โรงเรียนกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน นโยบายของรัฐบาล และมีความเป็นไปได้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

Ø  โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียนที่ชัดเจน  เป็นระบบ มีการวางแผนพัฒนาการจัดการศึกษา และการนำแผนไปสู่การปฏิบัติโดย โดยใช้กระบวนการ PDCA มีการบริหารอัตรากำลังอย่างชัดเจนมีประสิทธิภาพ มีการระดมทรัพยากรทางการศึกษา โดยการร่วมมือภาคีเครือข่าย มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นระบบ และมีระบบการนิเทศภาย และการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นระบบ และมีหลักฐานอ้างอิงที่ชัดเจน ตรวจสอบการดำเนินงานได้

Ø การพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้

 

Ø การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสังคมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

Ø จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และจัดการเรียนรู้

 

 

 

 

 

แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น

แผนปฏิบัติงานที่ ๑พัฒนาแหล่งเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียน ให้สอดคล้องกับ หลักสูตรที่เน้นคุณภาพรอบรอบด้าน ส่งเสริมให้นักเรียนผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะการแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้  นำเสนอผลงาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ ตามศักยภาพของผู้เรียน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดสรรงบประมาณ และดำเนินการระดมทุนการสรรหางบประมาณเพิ่มขึ้นในปีการศึกษา 2564

o   โครงการพัฒนาอาคารสถานที่และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

o   โครงการธนาคารขยะ

 

แผนปฏิบัติงานที่ ๒ พัฒนาจัดระบบเทคโนโลยี เพิ่มขึ้นให้พร้อมใช้งาน มีความสะอาด ปลอดภัย สามารถเป็นแหล่งการเรียนรู้ ในชุมชน องค์กรใกล้เคียง และส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษาเป็นต้นแบบที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้น

o   โครงการพัฒนาระบบการบริหาร จัดการ สารสนเทศของโรงเรียน

 

การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

จุดเด่น

จุดควรพัฒนา

Ø ด้านการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน ใช้เครื่องมือและวิธีวัดและประเมินที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ และให้ข้อมูล ย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้

Ø ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้

Ø ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ส่งผลให้เด็กรักที่จะเรียนรู้ และเรียนร่วมกันอย่างมีความสุข

 

Ø ด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

Ø ด้านการจัดการเรียนรู้และดำเนินการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง

 

 

 

แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น

แผนปฏิบัติงานที่ 1การพัฒนา และส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนเพิ่มขึ้น และมีการประสานงานร่วมมือกับแหล่งเรียนรู้ในองค์กรใกล้เคียง ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น

o   โครงการพัฒนาอาคารสถานที่และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

o   โครงการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

          แผนปฏิบัติงานที่ ๒ การส่งเสริม และพัฒนาครูจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบactive  learning โดยมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง

o   โครงการพัฒนาส่งเสริมประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา



 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

๑.๑  ข้อมูลทั่วไป

          ชื่อสถานศึกษา: โรงเรียนวัดรำพัน (สุขสวัสดิพิชาญราษฎร์)

          ที่อยู่: เลขที่ ๑/๑  หมู่ที่ ๕  ตำบลรำพัน  อำเภอท่าใหม่  จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์   ๒๒๑๗๐

          สังกัด: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑

          โทรศัพท์: 039-417983     โทรสาร 039-417983       E-Mail :  -

          เปิดสอน: ระดับชั้นอนุบาล ๒  ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

          สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นบ้านส่วนตัวมีประชากรประมาณ ๑,๒๒๕ คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ วัด องค์การบริหารส่วนตำบล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชุมชนอาชีพหลักของชุมชน คือการเกษตรกรรมส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคืองานบุญเจดีย์ทราย  รำสวดงานศพ ดนตรีไทย(ปี่พาทย์)  ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาอาชีพหลัก คือ การเกษตรกรรมส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี 6๐,๐๐๐บาท  จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว  ๔  คน

     โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียนโรงเรียนตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของวัดลำพันได้รับการสนับสนุนจากเจ้าอาวาสเป็นอย่างดีโดยสนับสนุนด้านอาคารสถานที่ ทุนการศึกษาและเป็นแหล่งเรียนรู้ ฐานะส่วนใหญ่ของผู้ปกครองพอเลี้ยงตัวได้ จัดอยู่ในประเภทยากจน  โรงเรียนต้องหาทุนการศึกษา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองในการที่จะส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนอย่างต่อเนื่องผู้ปกครองมุ่งแต่ทำงานหาเงินเลี้ยงครอบครัว จึงทำให้มีเวลาในเรื่องการอบรมสั่งสอนคุณธรรมจริยธรรม  และขนบธรรมเนียมประเพณีแก่บุตรหลานค่อนข้างน้อย

ความสัมพันธ์กับสถานศึกษาและความเข้มแข็งของชุมชน ประชาชนในพื้นที่มีความสัมพันธ์กับโรงเรียนอย่างใกล้ชิดให้การสนับสนุนและร่วมมือกับทางโรงเรียนเป็นอย่างดี

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์

          เรียนดี มีคุณธรรม ก้าวทันเทคโนโลยี สู่วิถีพอเพียง

 

พันธกิจ

๑.  พัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถปรับตัวทันการเปลี่ยนแปลงยุคสมัย และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

          ๒. พัฒนากระบวนการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นกระบวนการคิด การปฏิบัติจริง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต และมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

          ๓. ส่งเสริม และสนับสนุน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรสถานศึกษา ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณครู พัฒนาตนอย่างสม่ำเสมอ และทำงานเต็มศักยภาพ

          ๔. พัฒนาระบบการบริหาร และการจัดการของผู้บริหารให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินงาน

          ๕. พัฒนาสภาพแวดล้อม บรรยากาศในชั้นเรียน และจัดหาแหล่งเรียนรู้ทั้งใน/นอก โรงเรียน และ      ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่

เป้าประสงค์

๑.      ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

          ๒. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นไทย และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

          ๓. นักเรียนมีความรู้ มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา สามารถใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการแสวงหาความรู้

          4. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านกระบวนการคิด และปฏิบัติจริง

          5. ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาตนตามมาตรฐานวิชาชีพ และนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มศักยภาพ

          6. โรงเรียนมีระบบการบริหาร และจัดการที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวทางการกระจายอำนาจ เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

          7. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อม บรรยากาศ แหล่งเรียนรู้ทั้งใน/นอก โรงเรียน และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่

 

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา

           ซื่อสัตย์สุจริต  รักท้องถิ่น

 

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา

          เสริมสร้างคุณธรรม นำสู่ชีวิตพอเพียง

 


ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 13 1 0 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน


โครงสร้างเวลาเรียน
          หลักสูตรสถานศึกษา  กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียน ดังนี้


กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

เวลาเรียน

ระดับประถมศึกษา

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

ม. ๑

ม. ๒

ม. ๓

— กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๒๐
(๓ นก.)

๑๒๐
(๓ นก.)

๑๒๐
(๓ นก.)

คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๒๐
(๓ นก.)

๑๒๐
(๓ นก.)

๑๒๐
(๓ นก.)

วิทยาศาสตร์

120

120

120

120

120

120

๑60
(4นก.)

๑60
(4นก.)

๑60
(4นก.)

สังคมศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๑๒๐
(๓ นก.)

๑๒๐
(๓ นก.)

๑๒๐
(๓ นก.)

ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐
(๑นก.)

๔๐
(๑นก.)

๔๐
(๑นก.)

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐
(๒นก.)

๘๐
(๒นก.)

๘๐
(๒นก.)

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

40

40

40

๘๐
(๒นก.)

๘๐
(๒น??

-

 


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

โรงเรียนวัดรำพัน(สุขสวัสดิพิชาญราษฎร์) เปิดบริการการจัดการศึกษาระดับชั้น อ.2 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีอาคารเรียนจำนวน 4 หลัง อาคารเรียนที่ ๑ ชื่ออาคาร "สุขสวัสดิพิพัฒน์” ใช้เป็นห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ห้องคุณธรรม ห้องธุรการ ห้องประชุม และห้องผู้อำนวยการ อาคารเรียนที่ ๒ ใช้เรียนชั้นอนุบาล ๑ และอนุบาล๒ อาคารเรียนที่ 3 ชื่ออาคาร"ทรัพย์มณีประชานุเคราะห์” ใช้เป็นอาคารเรียนสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่1-6 อาคารที่ 4 ชื่ออาคาร "อนุสรณ์พระครูสุภัทจันทคุณ” ใช้เป็นอาคารเรียนสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง ห้อสมุด 1 หลัง ห้องสุขา 5 หลัง บ้านพักครูจำนวน 3 หลัง สนามกีฬา 1 สนาม


หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
          ๑)ห้องสมุดมีขนาด ๙๖ ตารางเมตร จำนวนหนังสือในห้องสมุด  ๒,๘๖๔ เล่มการสืบค้นหนังสือและการยืม-คืน ใช้ระบบดิวอี้
          จำนวนนักเรียนที่ใช้ห้องสมุดในปีการศึกษาที่รายงาน เฉลี่ย ๑๕ คน ต่อวันคิดเป็นร้อยละ ๙.๔๓ ของนักเรียนทั้งหมด
          ๒) ห้องปฏิบัติการ
          ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์    จำนวน ๑ห้อง
                   ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์    จำนวน ๑ห้อง
          ๓) คอมพิวเตอร์  จำนวน ๓๗ เครื่อง
                   ใช้เพื่อการเรียนการสอน ๒๕ เครื่อง
                   ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ๑๒ เครื่อง
                   จำนวนนักเรียนที่สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตในปีการศึกษาที่รายงาน เฉลี่ย๕oคน ต่อวัน คิดเป็นร้อยละ๒๖.o๔ของนักเรียนทั้งหมด
                   ใช้เพื่อการบริหารจัดการ  ๕  เครื่อง
          ๔)แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน


แหล่งเรียนรู้ภายใน

สถิติการใช้จำนวนคน/วัน

ชื่อแหล่งเรียน

๑.ห้องสมุดโรงเรียน
๒.ห้องคอมพิวเตอร์
๓.ห้องวิทยาศาสตร์
๔.ห้องพยาบาล
๕.ห้องสหกรณ์
๖.ห้องธุรการ
๗.ห้องอาหาร
๘.ห้องสุขา

๑๕
๓๐
๔๐

๑๐๐
๑๕
๘๐
๑๕๙

          ๕) แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน      


แหล่งเรียนรู้ภายนอก

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

๑.มหาวิทยาลัยบูรพา  วิทยาเขตจันทบุรี
๒.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน
๓.พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอ่าวคุ้งกระเบน
๔.โครงการอันเนื่องจากพระราชดำริยางตอกทอย
๕.วัดลำพัน
๖.วัดคมบาง
๗.ค่ายลูกเสือชั่วคราว  โรงเรียนบ้านคลองกะพง 

 






๓๐

๑ 

         
          ๖) ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่สถานศึกษาเชิญมาให้ความรู้แก่ครู นักเรียน
ในปีการศึกษาที่รายงาน
๖.๑ชื่อ - สกุล   พระศุภโชค สุทธปญโญ วัดเสม็ดโพธิ์ศรี  ให้ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาสถิติการให้ความรู้ในโรงเรียนแห่งนี้ จำนวน๔๐ครั้ง/ปี
๖.๒ ชื่อ-สกุล    นางเฉลียว จันทสิทธิ์       ให้ความรู้เรื่องงานจักสานไม้ไผ่
สถิติการให้ความรู้ในโรงเรียนแห่งนี้ จำนวน๒o  ครั้ง/ปี
                   ๖.3 ชื่อ-สกุลนางชลูด  เก่งธัญกิจ    ให้ความรู้เรื่องงานจักสานไม้ไผ่
สถิติการให้ความรู้ในโรงเรียนแห่งนี้ จำนวน  ๑๕ ครั้ง/ปี


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา   โรงเรียนวัดรำพันฯ มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ 2 ครั้ง มีกิจกรรมออกกำลังกายก่อนเรียนทุกวัน จัดหาอุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรำพัน ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถ มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน โดยการจัดกิจกรรมแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อนในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ของตน และของส่วนรวม ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมส่งเสริมความเป็นไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยจัดกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ เช่น วันพ่อ วันแม่ วันไหว้ครู วันเข้าพรรษา ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตน โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ครูและเพื่อนฟัง มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่าง ๆ มีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การตัด ฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
ผลการดำเนินงาน  

สรุปผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานที่1 : ด้านคุณภาพเด็ก
ระดับประเด็นพิจารณา   ปีการศึกษา 2563 


มาตรฐาน / ประเด็นการพิจารณา

ประเด็นการพิจารณาย่อย

ค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

ร้อยละที่ได้

ผลการประเมิน

ไม่บรรลุ

บรรลุ

1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเอง

1. น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

82

88.67

 

2. มีสุขภาพอนามัย สุขนิสัยที่ดี

82

89.28

 

3. รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น

82

83.79

 

4. เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว ประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้

82

89.28

 

5. ใช้มือ-ตาประสานสัมพันธ์กัน

82

83.79

 

1.2 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้

1. แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม

82

85.64

 

2. มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

82

83.79

 

3. สนใจ มีความสุขและแสดงออกผ่านงานศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

82

87.77

 

4. ซื่อสัตย์สุจริต

82

88.67

 

5. มีความเมตตากรุณา มีน้ำใจ และช่วยเหลือแบ่งปัน

82

87.15

 

6. มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

82

83.79

 

7. มีความรับผิดชอบ

82

85.92

 

1.3 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

1.  ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

82

93.27

 

2.  มีวินัยในตนเอง

82

86.25

 

3. ประหยัดและพอเพียง

82

89.28

 

4. ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

82

88.05

 

5. มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและรักความเป็นไทย

82

89.28

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1i_iltR6wipCn99__ZjSKJwzF2RA18810?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  
การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดรำพันฯ ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย ได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ สำหรับด้านระบบกลไก การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

โรงเรียนวัดรำพันฯ ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้ เช่น จัดให้มีห้องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เด็กได้ศึกษาหาข้อมูลทางโลกออนไลน์ จัดให้มีอุปกรณ์ ของเล่น ของใช้ เครื่องนอน เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้พอเพียงกับเด็ก โดยจัดให้เหมาะสม สะอาด ปลอดภัย ให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก ให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย จัดให้มีเครื่องเล่นสนามที่เหมาะสมปลอดภัย จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน ล้างมือ ทำความสะอาดร่างกาย ห้องน้าห้องส้วม พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น จัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูประจำชั้นที่จบการศึกษาปฐมวัย ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง พัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และ

อัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน  

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานที่2 ด้านการบริหารจัดการ

ระดับประเด็นพิจารณา   ปีการศึกษา 2563 

มาตรฐานการศึกษา / ประเด็นการพิจารณา

(ค่าเป้าหมาย)

ผลการดำเนินงาน

ความสำเร็จ

ปีการศึกษา 2563

ปีการศึกษา 2563

บรรลุ

ไม่บรรลุ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

2.1  มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

 

 

/

 

     1) โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษา ที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

 

 

 

 

     2)โรงเรียนมีการออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือปฏิบัติ  โดยใช้วิธีเตรียมความพร้อมและไม่เร่งรัดวิชาการ เน้นกิจกรรม STEM , บ้านวิทยาศาสตร์น้อย ฯลฯ  ครบทุกชั้น

 

 

 

2.2  การจัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

 

       1)  โรงเรียนจัดครูให้เหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน หรือจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยหรือผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัย

 

 

 

 

       2) โรงเรียนจัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน

 

 

 

 

2.3  ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

 

       1)  โรงเรียนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

 

 

       2) โรงเรียนส่งเสริมครูให้มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็ก

 

 

 

 

       3) โรงเรียนส่งเสริมครูใช้ประสบการณ์สำคัญในการออกแบบการจัดกิจกรรมใช้การสังเกตและประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล

 

 

 

 

       4) โรงเรียนส่งเสริมให้ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและครอบครัว

 

 

 

 

       5) โรงเรียนส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์โดยการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้(Professional Community : PLC เป็นวิธีการในการพัฒนา

 

 

 

 

 

มาตรฐานการศึกษา / ประเด็นการพิจารณา

(ค่าเป้าหมาย)

ผลการดำเนินงาน

ความสำเร็จ

ปีการศึกษา 2563

ปีการศึกษา 2563

บรรลุ

ไม่บรรลุ

2.4  จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัยและเพียงพอ 

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

 

      1)  โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1i_iltR6wipCn99__ZjSKJwzF2RA18810?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  
การจัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของพัฒนาการในทุกๆด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุขภายใต้คำว่า เก่ง ดี มีสุข ประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบ ด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ด้านสติปัญญา มีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน

ห้องเรียนมีบรรยากาศ แจ่มใส กว้างขวางพอเหมาะ มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน  

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานที่3 : ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
ระดับประเด็นพิจารณา   ปีการศึกษา 2563


มาตรฐานการศึกษา / ประเด็นการพิจารณา

(ค่าเป้าหมาย)

ผลการดำเนินงาน

ความสำเร็จ

ปีการศึกษา 2563

ปีการศึกษา 2563

บรรลุ

ไม่บรรลุ

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

 

3.1 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการ ทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

ดี

ดี

/

 

      1)  มีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดประสบการณ์/กิจกรรม และช่วยเหลืออย่างเหมาะสมกับเด็ก

 

 

 

 

      2)  จัดทำแผนและใช้แผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา

 

 

 

 

      3) จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาอย่างสมดุล

 

 

 

 

3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

 

     1) สร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้  ลงมือทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข

 

 

 

 

3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้  ใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาสมกับวัย

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

 

     1) จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนได้สะอาด ปลอดภัย อากาศถ่ายเทสะดวก โดยเด็กมีส่วนร่วมในการจัดห้องเรียน

 

 

 

 

     2) ใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก

 

 

 

 

3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

 

1) ใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลาย ตามสภาพจริง ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้อย่างเหมาะสม

 

 

 

 

2) มีการวิเคราะห์ผลการประเมินพัฒนาการเด็กโดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม

 

 

 

 

3) มีการนำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็ก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพ

 

 

 

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1i_iltR6wipCn99__ZjSKJwzF2RA18810?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
มาตรฐานที่1 ด้านคุณภาพเด็ก
โรงเรียนวัดรำพันฯ มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย จัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และถูกหลักอนามัย จัดกิจกรรมให้เด็กได้ออกกำลังกาย จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กรู้จักประหยัด มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและรู้จักรักความเป็นไทย จัดกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

มาตรฐานที่2 ด้านการบริหารและการจัดการ
โรงเรียนวัดรำพันฯ มีการจัดหาครูที่จบการศึกษาปฐมวัยโดยตรงมาสอน จัดให้ครูเข้ารับการอบรม จัดสภาพแวดล้อม จัดมุมประสบการณ์การให้กับเด็กหลากหลาย เพียงพอและปลอดภัย

มาตรฐานที่3 ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
โรงเรียนวัดรำพันฯ มีการสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง ประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
คุณภาพของเด็ก

-เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตร ประจำวันได้

-เด็กมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ปฏิบัติตนเบื้องต้นในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

-เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ แสดงท่าทาง เคลื่อนไหวตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์

-เด็กมีสุขภาพอนามัย สุขนิสัยที่ดี รู้จักประหยัดพอเพียง มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและรักความเป็นไทย
wกระบวนการบริหารและการจัดการ

- มีครูเพียงพอกับชั้นเรียนและจบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยโดยตรง

-ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ ผ่านการอบรมด้านการศึกษาปฐมวัย

-โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ จัดมุมประสบการณ์ที่หลากหลาย
wการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

- เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข

- มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้มีสื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

- มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 ราhttps://drive.google.com/drive/folders/1i_iltR6wipCn99__ZjSKJwzF2RA18810?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรโดยใช้กระบวนการPDCA ตั้งแต่การวางแผนจากการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ อัตลักษณ์และบริบทของโรงเรียน การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผ่านรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง (active learning) สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ ในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ และสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน สรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยเน้นให้ครูจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ตามธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการสอนแบบโครงงาน การทำ Mind mapping การทำงานกลุ่ม งานเดี่ยว เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย การใช้ห้องปฏิบัติการต่างๆ ตลอดจนสอดแทรกเทคนิค (Brain break) และบูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การป้องกันทุจริต หน้าที่พลเมือง ในหน่วยการเรียนและเนื้อหาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรูปแบบโครงการกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ กิจกรรมฝึกทักษะทางอาชีพ กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กิจกรรมวิชาการ กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความสามารถในการอ่าน การเขียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้และสื่อต่างๆ รอบตัว ให้มีทักษะในการอ่าน ฟัง ดู พูด เขียน และตั้งคำถามเพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้และทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่อการทำงานและอาชีพ ให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียนในแต่ละดับชั้น ตลอดจนยังส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพ ระดับอำเภอ ระดับเขตพื้นที่ ระดับภาค
ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียน ได้ดำเนินงานได้บรรลุผลตามเป้าหมายและไม่บรรลุตามมาตรฐานการศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียนที่กำหนดไว้ มีรายละเอียด ดังนี้


มาตรฐานการศึกษา / ประเด็นการพิจารณา

(ค่าเป้าหมาย)

ผลการดำเนินงาน

ความสำเร็จ

ปีการศึกษา 2563

ปีการศึกษา 2563

บรรลุ

ไม่บรรลุ

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

ดีเลิศ
(70.00)

ดีเลิศ
(74.59)

/

๑.๑.๑  มีความสามารถในการอ่าน  การเขียน     การสื่อสาร และการคิดคำนวณ

ดี
(60.00)

ปานกลาง
(51.64)

/

๑. ร้อยละของนักเรียน  มีผลการประเมินการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับชั้นเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไป  

ดี
(60.00)

ดี
(64.75)

/

 

๒. ร้อยละของนักเรียน มีความสามารถในการสื่อสาร ในระดับดีขึ้นไป  

ดี
(60.00)

ดีเลิศ
(74.59)

/

๑.   ร้อยละของนักเรียน มีความสามารถใช้ในการคิดคำควณตามระดับชั้นเรียน

ดี
(60.00)

ปานกลาง
(52.46)

/

1.1.2 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา

ดี
(60.00)

ปานกลาง
(59.02)

 

/

1.  ร้อยละของนักเรียน มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับดี ขึ้นไป  

ดี
(60.00)

ดี
(67.21)

/

 

2. ร้อยละของนักเรียน มีความสามารถในการ แก้ปัญหา

ดี
(60.00)

ดี
(69.67)

/

 

3. ร้อยละของนักเรียน อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแก้ปัญหา อย่างมีเหตุผล        มีวิจารญาณอยู่ในระดับดี ขึ้นไป

ดี
(60.00)

ดี
(65.57)

/

 

1.1.3 มีความสามารถในสร้างนวัตกรรม

ดี
(60.00)

ดี
(68.85)

/

 

1. ร้อยละของนักเรียน ที่สามารถอธิบายหลักการ แนวคิด    ขั้นตอนการทำงาน และปัญหาอุปสรรคของการทำงานในการสร้างผลงาน ชิ้นงานใหม่ได้

ดี
(60.00)

ดีเลิศ
(76.23)

/

 

2.ร้อยละของนักเรียน มีผลงานชิ้นงาน/ผลงานที่แสดงถึงความองค์ประกอบด้งนี้ 1.สร้างสรรค์ 2. ความสวยงาม 3. ความคงทน 4.ประโยชน์การใช้ และ5.ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

*

* * *

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1ufSpLIyxjtKvRS6yyztfZk156nSaowQ9?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ยอดเ
กระบวนการพัฒนา  
โรงเรียนส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และตรงตามอัตลักษณ์ด้านคุณธรรมของโรงเรียนคือ ความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และพอเพียง ตลอดจนมีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น กตัญญูกตเวทีต่อบุพการีและผู้มีพระคุณ ยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่างเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความตระหนัก รู้คุณค่าร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และเป็นคนดีของสังคม โดยสอดแทรกหลักคุณธรรม และจริยธรรมในชั่วโมงการเรียนการสอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และ ดำเนินการตามกิจกรรม/โครงการด้านคุณธรรม เช่น โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โครงการโรงเรียนคุณธรรมสพฐ โครงการโรงเรียนสุจริต กิจกรรมจิตอาสา อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพัฒนาชุมชน กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี ตลอดจนส่งเสริมผู้เรียนมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน รู้จักการป้องกันโรคติดต่อและหลีกเลี่ยงสารเสพติดให้โทษ เห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และให้เกียรติผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าในศิลปะความไพเราะของดนตรี โดยดำเนินการตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การเรียนรู้จากวิทยากรในท้องถิ่น เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครูสอนดนตรี ครูสอนโขน ครูสอนแกะสลัก ตำรวจ

นอกจากนี้โรงเรียนส่งเสริม ให้ผู้เรียนมีความสามารถในการทำงานอย่างเป็นระบบ สำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด อย่างมีคุณภาพ ทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางานและภูมิใจ ในผลงานของตนเอง สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริต โดยการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่เน้นฝึกทักษะทางอาชีพในกิจกรรมชุมนุม และกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย โดยให้ผู้เรียนมีระดมสมอง ประชุม ทำงานกลุ่ม การทำใบงาน /ชิ้นงาน ทำแผนผังความคิด
ผลการดำเนินงาน  

๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

ยอดเยี่ยม(80.00)

ยอดเยี่ยม(90.16)

/

 

๑.๒.๑ มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

ยอดเยี่ยม (80.00)

ยอดเยี่ยม(90.16)

/

 

1. ร้อยละของนักเรียน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์๘ ประการ /ค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ อยู่ในระดับดี ขึ้นไป

ยอดเยี่ยม (80.00)

ยอดเยี่ยม (92.62)

/

 

2. ร้อยละของนักเรียน น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับดี   ขึ้นไป

ยอดเยี่ยม (80.00)

ยอดเยี่ยม(91.80)

/

 

3. ร้อยละของนักเรียน การปฏิบัติตนตามแนวทางโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ/โรงเรียนสุจริต อยู่ในระดับดี   ขึ้นไป

ยอดเยี่ยม(80.00)

ยอดเยี่ยม(97.54)

/

 

4. ร้อยละของนักเรียน การปฏิบัติตนตามแนวทางโครงการโรงเรียนสีขาว อยู่ในระดับดี   ขึ้นไป

ยอดเยี่ยม(80.00)

ยอดเยี่ยม(99.18)

/

 

1.2.2 มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

ยอดเยี่ยม(80.00)

ยอดเยี่ยม(81.15)

/

 

1. ร้อยละของนักเรียน ข้าร่วม หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องวัฒนธรรม และประเพณี อยู่ในระดับดี ขึ้นไป

ยอดเยี่ยม(80.00)

ยอดเยี่ยม(97.54)

/

 

2. ร้อยละของนักเรียน การแสดงความคิดเห็นที่สะท้อนถึงความภูมิใจในท้องถิ่น /ความเป็นไทย อยู่ในระดับดี ขึ้นไป

ยอดเยี่ยม(80.00)

ยอดเยี่ยม(81.97)

/

 

     1.2.3 ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ยอดเยี่ยม(80.00)

ยอดเยี่ยม(86.07)

/

 

1. ร้อยละของนักเรียน รับความคิดเห็นของผู้อื่น และสามารถทำงานกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล อยู่ในระดับดี ขึ้นไป

ยอดเยี่ยม(80.00)

ยอดเยี่ยม(89.34)

/

 

2. ร้อยละของนักเรียน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นและตนเอง อยู่ในระดับดี ขึ้นไป

ยอดเยี่ยม(80.00)

ยอดเยี่ยม(90.98)

/

 

3. ร้อยละของนักเรียน การปฏิบัติตนตามข้อตกลง กฎ กติกา ของกลุ่ม ห้องเรียน โรงเรียน อยู่ในระดับดี ขึ้นไป

ยอดเยี่ยม(80.00)

ยอดเยี่ยม(90.98)

/

 

     1.2.4 มีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

ยอดเยี่ยม(80.00)

ดีเลิศ(78.69)

 

/

1. ร้อยละของนักเรียน น้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ และออกกำลังกายเสริมสร้างสมรรถภาพ อยู่ในระดับดี ขึ้นไป

ยอดเยี่ยม(80.00)

ยอดเยี่ยม(81.15)

/

 

2. ร้อยละของนักเรียน แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

ยอดเยี่ยม(8000)

ยอดเยี่ยม(90.98)

/

 

3.. ร้อยละของนักเรียน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1ufSpLIyxjtKvRS6yyztfZk156nSaowQ9?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  
โรงเรียนวัดรำพันฯ บริหารงานโดยใช้วงจร เดมมิ่งแบบ PDCA การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Base Management) มีการกำหนดวิสัยทัศน์ และพันธกิจอย่างชัดเจน ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน และจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ทั้งแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 ปี แผนปฏิบัติการประจำปี โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ทั้งคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน คณะกรรมที่ปรึกษาสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน โดยดำเนินการทำการประชุม จัดทำเอกสารการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ทางออนไลน์ มีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบตามแผนการปฏิบัติ และดำเนินการการแผนงาน ติดตาม ตรวจสอบประเมินผล ปรับปรุงพัฒนางานอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดการ ติดตามและตรวจสอบ 2 ระยะ คือ สิ้นภาคเรียนที่ 1 เพื่อดูความก้าวหน้า และปรับปรุงแก้ไขเมื่อมีปัญหาอุปสรรค และสิ้นปีการศึกษา โดยให้บุคลากรในโรงเรียนได้สรุปผลการดำเนินงาน โครงการ / กิจกรรม และจัดการประเมินผลภายในเพื่อการประกันคุณภาพ การจัดการศึกษาและนำผลมา วิเคราะห์ เพื่อหาปัญหา สาเหตุ เพื่อทำการปรับปรุงการดำเนินงานในระยะต่อไป

มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา ตามสภาวะ ปัญหาที่ต้องเผชิญ ตลอดจนคำนึงถึงการจัดสรรตรงตามความวิชาเอก และความถนัดของบุคลากรทางการศึกษา มีการจัดระบบช่วยเหลือนักเรียนเหมาะสมกับสภาพบริบท โดยมีครูให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองเป็นรายชั้นเรียน และรายบุคคล สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน

สำหรับด้านงานพัฒนาวิชาการโรงเรียนได้จัดทำ และพัฒนาหลักสูตร ทั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (แนะแนว ลูกเสือ-เนตรนารี ชุมนุม จิตสาธารณะ) กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมนอกชั้นเรียน เช่น โครงการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพนักเรียน โครงการส่งเสริมพัฒนาทักษะอาชีพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงการเศรษฐกิจพอเพียง โครงการคุณธรรม สพฐ. โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โครงการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โครงการส่งเสริมรักการอ่าน โครงการประชาธิปไตย โครงการโรงเรียนสีขาว ฯ ที่เน้นการฝึกทักษะอาชีพ กระบวนการคิด และทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ตลอดจน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตร นโยบายของรัฐ โดยคำนึงถึงศักยภาพผู้เรียน เป็นสำคัญ

ในด้านการพัฒนาครูและบุคลากร โรงเรียนวัดรำพันได้ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความสามารถด้านวิชาชีพ โดยการให้ครูและบุคลากรได้จัดทำ ID plan สอดคล้องตามความต้องการที่พัฒนา และเผยแพร่ข้อมูลในการฝึกอบรมและพัฒนาแก่ครูและบุคลากรอย่างทั่วถึง เตรียมพร้อมการรับการอบรม ตลอดจนส่งเสริมครูและบุคลากรเข้ารับการอบรมในโครงการอบรมครูแบบครบวงจร และการอบรมทางออนไลน์ และมีการนำกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางาน และการเรียนรู้ ตลอดจน ส่งเสริมการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนภาคเรียนละ 1 เรื่อง และรายงานผลการปฏิบัติงาน และประเมินตนเองทุกปีการศึกษา เพื่อส่งเสริมการประเมิน วิทยฐานะของบุคคลากรในระดับต่างๆ

โรงเรียนวัดรำพันฯ ได้จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทั้งภายในและภายนอกให้ปลอดภัย และเอื้อต่อการเรียนรู้ ตลอดจนจัดเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้ผู้เรียนได้เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ ตามความสามารถของผู้เรียน

และเหมาะสมกับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ตลอดจนจัดสรรหางบประมาณ ทรัพยากร และแหล่งเรียนรู้จาก สถานที่ต่างๆ และบุคคลภายนอก ในชุมชน ตลอดจนหน่วยงานใกล้เคียงเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ผลการดำเนินงาน  

มาตรฐานการศึกษา / ประเด็นการพิจารณา

(ค่าเป้าหมาย)

ผลการดำเนินงาน

ความสำเร็จ

ปีการศึกษา 2563

ปีการศึกษา 2563

บรรลุ

ไม่บรรลุ

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

๒.๑  มีเป้าหมาย  วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนด

ดีเลิศ

ยอดเยี่ยม

/

      ๑)  โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจน  สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน  ความต้องการของชุมชน นโยบายรัฐบาลแผนการศึกษาชาติ 

 

 

 

 

     ๒) เป้าหมาย  วิสัยทัศน์ และพันธกิจมีความเป็นไป     ได้ในการปฏิบัติ  ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

 

 

 

 

๒.๒  มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

     ๑)  โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการคุณภาพของ      โรงเรียนที่ชัดเจน  เป็นระบบ มีการวางแผนพัฒนาการจัดการศึกษา และการนำแผนไปสู่การปฏิบัติโดย โดยใช้กระบวนการ PDCA

 

 

 

 

     ๒)  โรงเรียนมีการบริหารอัตรากำลังอย่างชัดเจน     และมีประสิทธิภาพ

 

 

 

 

    ๓)  โรงเรียนมีการระดมทรัพยากรทางการศึกษา โดยความร่วมมือแบบภาคีเครือข่าย

 

 

 

 

    ๔) โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นระบบและต่อเนื่อง  มีระบบการส่งต่อที่เป็นระบบ

 

 

 

 

    ๕)  โรงเรียนมีระบบการนิเทศภายในที่เป็นระบบต่อเนื่อง

 

 

 

 

๒.3  ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

ดี

ดีเลิศ

/

     ๑)  โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการเกี่ยวกับวิชาการ ทั้งด้านการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่เน้นคุณภาพเรียนรอบด้าน เชี่ยมโยงวิถีชีวิตจริง ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

 

 

 

๒.4  พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้

ดี

ดีเลิศ

/

   ๑)  โรงเรียนมีการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ตรงตามความต้องการของตนเองและสถานศึกษาและจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ

 

 

 

 

๒.5  จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ 

ดี

ดี

/

       ๑)  โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียน และสภาพล้อมทางสังคมที่เอื้อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีอย่างปลอดภัย

 

 

 

 

๒.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และจัดการเรียนรู้ 

ดี

ดี

/

 

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1ufSpLIyxjtKvRS6yyztfZk156nSaowQ9?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนวัดรำพัน(สุขสวัสดิพิชาญราษฎร์) เปิดบริการการจัดการศึกษาระดับชั้น อ.2 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีอาคารเรียนจำนวน 4 หลัง อาคารเรียนที่ ๑ ชื่ออาคาร "สุขสวัสดิพิพัฒน์” ใช้เป็นห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ห้องคุณธรรม ห้องธุรการ ห้องประชุม และห้องผู้อำนวยการ อาคารเรียนที่ ๒ ใช้เรียนชั้นอนุบาล ๑ และอนุบาล๒ อาคารเรียนที่ 3 ชื่ออาคาร"ทรัพย์มณีประชานุเคราะห์” ใช้เป็นอาคารเรียนสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่1-6 อาคารที่ 4 ชื่ออาคาร "อนุสรณ์พระครูสุภัทจันทคุณ” ใช้เป็นอาคารเรียนสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกสร้างปฏิสัมพันธ์ ที่ดี ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำผลที่ได้มาให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง ห้อสมุด 1 หลัง ห้องสุขา 5 หลัง บ้านพักครูจำนวน 3 หลัง สนามกีฬา 1 สนาม
ผลการดำเนินงาน  

ผลการดำเนินงาน


มาตรฐานการศึกษา / ประเด็นการพิจารณา

(ค่าเป้าหมาย)

ผลการดำเนินงาน

ความสำเร็จ

ปีการศึกษา 2563

ปีการศึกษา 2563

บรรลุ

ไม่บรรลุ

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการที่        เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสอน           

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

๓.๑ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

ดี

ดี

/

 ๑) ร้อยละของครู มีแผนการจัดการเรียนตามมาตรฐาน การเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง
อยู่ในระดับดีขึ้นไป

ดี
(100.00)

ดี
(100.00)

/

 

๒) ร้อยละของครู จัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะการแสดงออก  แสดงความคิดเห็น  สรุปองค์ความรู้  นำเสนอผลงาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ ตามศักยภาพของผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  อยู่ในระดับดีขึ้นไป

ดี
(100.00)

ดี
(100.00)

/

๓.๒  ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ดี

ดี

/

 ๑) ร้อยละของครู ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น  ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับดีเลิศขึ้นไป

ดี
(100.00)

ดี
(100.00)

/

๓.๓  มีการบริหารจัดการเชิงบวก

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

๑) ร้อยละของครู มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ส่งผลให้เด็กรักที่จะเรียนรู้ และเรียนร่วมกันอย่างมีความสุข อยู่ในระดับดีเลิศขึ้นไป

ดีเลิศ
(70.00)

ดีเลิศ
(83.61)

/

 

3.4  ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

 

๑) ร้อยละของครู มีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน ใช้เครื่องมือและวิธีวัดและประเมินที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ และให้ข้อมูล ย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ อยู่ในระดับดีเลิศขึ้นไป

ดีเลิศ
(80.00)

ดีเลิศ
(91.67)

/

 

3.5  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเรียนรู้

ดีเลิศ

ดีเลิศ

/

 

๑) ร้อยละของครูและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์รวมทั้งให้ข้อมูลป้อนกลับนำไปใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ดีเลิศ
(80.00)

ดีเลิศ
(91.67)

/

 

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1ufSpLIyxjtKvRS6yyztfZk156nSaowQ9?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ด้านคุณภาพผู้เรียน
โรงเรียนส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และตรงตามอัตลักษณ์ด้านคุณธรรมของโรงเรียนคือ ความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และพอเพียง ตลอดจนมีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น กตัญญูกตเวทีต่อบุพการีและผู้มีพระคุณ ยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่างเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความตระหนัก รู้คุณค่าร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และเป็นคนดีของสังคม โดยสอดแทรกหลักคุณธรรม และจริยธรรมในชั่วโมงการเรียนการสอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และ ดำเนินการตามกิจกรรม/โครงการด้านคุณธรรม
กระบวนการบริหารและการจัดการ

โรงเรียนวัดรำพันฯ บริหารงานโดยใช้วงจร เดมมิ่งแบบ PDCA การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Base Management) มีการกำหนดวิสัยทัศน์ และพันธกิจอย่างชัดเจน ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน และจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ทั้งแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 ปี แผนปฏิบัติการประจำปี โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ทั้งคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน คณะกรรมที่ปรึกษาสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน โดยดำเนินการทำการประชุม จัดทำเอกสารการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ทางออนไลน์ มีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบตามแผนการปฏิบัติ และดำเนินการการแผนงาน ติดตาม ตรวจสอบประเมินผล ปรับปรุงพัฒนางานอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดการ ติดตามและตรวจสอบ 2 ระยะ คือ สิ้นภาคเรียนที่ 1 เพื่อดูความก้าวหน้า และปรับปรุงแก้ไขเมื่อมีปัญหาอุปสรรค และสิ้นปีการศึกษา โดยให้บุคลากรในโรงเรียนได้สรุปผลการดำเนินงาน โครงการ / กิจกรรม และจัดการประเมินผลภายในเพื่อการประกันคุณภาพ การจัดการศึกษาและนำผลมา วิเคราะห์ เพื่อหาปัญหา สาเหตุ เพื่อทำการปรับปรุงการดำเนินงานในระยะต่อไป

 

มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา ตามสภาวะ ปัญหาที่ต้องเผชิญ ตลอดจนคำนึงถึงการจัดสรรตรงตามความวิชาเอก และความถนัดของบุคลากรทางการศึกษา มีการจัดระบบช่วยเหลือนักเรียนเหมาะสมกับสภาพบริบท โดยมีครูให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองเป็นรายชั้นเรียน และรายบุคคล สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกสร้างปฏิสัมพันธ์ ที่ดี ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำผลที่ได้มาให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ด้านคุณภาพผู้เรียน นักเรียนมีคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับดีเลิศ จุดเด่น 3 อันดับแรก ซึ่งมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ตามเกณฑ์มาตรฐานสถานศึกษากำหนด ได้แก่ ด้านผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และด้านความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย โดยนักเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 90.16, 81.97 และ81.15 ตามลำดับ
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการมีคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ จุดเด่น 3 อันดับแรก ได้แก่ โรงเรียนกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน นโยบายของรัฐบาล และมีความเป็นไปได้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียนที่ชัดเจน เป็นระบบ มีการวางแผนพัฒนาการจัดการศึกษา และการนำแผนไปสู่การปฏิบัติโดย โดยใช้กระบวนการ PDCA มีการบริหารอัตรากำลังอย่างชัดเจน มีประสิทธิภาพ มีการระดมทรัพยากรทางการศึกษา โดยการร่วมมือภาคีเครือข่าย มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นระบบ และมีระบบการนิเทศภายใน และการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นระบบ และมีหลักฐานอ้างอิงที่ชัดเจน ตรวจสอบการดำเนินงานได้ มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ และการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ โดยโรงเรียนมีการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ตรงตามความต้องการของตนเอง โดยปรับการสอนให้ตรงตามวิชาเอก และความถนัดของครูเป็นส่วนใหญ่ และส่งเสริมให้ดำเนินการ มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ เพิ่มมากขึ้น
ด้านจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า จุดเด่น 3 อันดับแรก ซึ่งมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ ได้แก่ ด้านการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน ใช้เครื่องมือและวิธีวัดและประเมินที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ และให้ข้อมูล ย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้และด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ส่งผลให้เด็กรักที่จะเรียนรู้ และเรียนร่วมกันอย่างมีความสุข
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1rBYO68GK-bHlGsLUMw8lwoUc9747j3k-?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/folders/1rBYO68GK-bHlGsLUMw8lwoUc9747j3k-?usp=sharing