รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดท่าศาลา

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

โรงเรียนวัดท่าศาลา  ตั้งอยู่เลขที่ 25 หมู่ที่ 3 ตำบลรำพัน  อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี  เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล 1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีจำนวนนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่1 ถึงอนุบาลปีที่ 3 จำนวน  15 คน  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ จำนวน  33 คน  รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 48  คน    มีบุคลากรสายบริหาร  จำนวน 1 คน และมีข้าราชการครูครูอัตราจ้างและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวน คน  


       ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนวัดท่าศาลา ระดับปฐมวัยในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ โดยมี กระบวนการพัฒนาและผลการดำเนินงานในแต่ละมาตรฐาน ดังต่อไปนี้ มีการจัดทำหลักสูตร สถานศึกษาระดับปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ตามโครงการพัฒนา หลักสูตรปฐมวัยให้เป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมเน้นการเรียนรู้ผ่านการ เล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น กิจกรรมบูรณาการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน ส่งผลให้โรงเรียนวัดท่าศาลามีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่มี ความยืดหยุ่น เมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้าน การจัดประสบการณ์โดยโรงเรียนวัดท่าศาลาได้มีการพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา ปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการ ออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง ตามโครงการพัฒนา บุคคลากร ส่งผลให้ครูโรงเรียนวัดท่าศาลามีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย รวมทั้งโรงเรียนได้ส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และ พอเพียง มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อ เทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ จากโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ปฐมวัย ส่งผลให้โรงเรียนวัดท่าศาลา มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียงการให้บริการสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้าน สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง และโรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ร่วมกันกำหนดมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนดได้มี การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผล ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้ง รายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

โครงการระดับปฐมวัย

โครงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาปฐมวัย

-กิจกรรมพัฒนาหลักสูตรปฐมวัย

- กิจกรรมป้องกันการทุจริตศึกษา

- กิจกรรมธุรการประจำชั้นเรียน

- กิจกรรมภาษาสื่อสาร

- กิจกรรมการคิดพื้นฐาน

- กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4ด้าน

- กิจกรรมสุนทรียสภาพสิ่งแวดล้อม(ปฐมวัย)

- กิจกรรมจัดซื้อวัสดุ  อุปกรณ์การเรียน

- กิจกรรมปรับปรุงซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์

- กิจกรรมวิชาการปฐมวัย

- กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์

- กิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย

โครงการระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.โครงการส่งเสริมความสามารถ และทักษะของนักเรียนประถมศึกษาด้านการอ่าน  การเขียน  และพื้นฐานคณิตศาสตร์

2. โครงการการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวัดท่าศาลา

3.โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

4.โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

5.โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

6. โครงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาปฐมวัย

7.โครงการส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยมที่พึงประสงค์   และทักษะการแสวงหาความรู้

8.โครงการสร้างความสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

9.โครงการอาหารกลางวัน

10.โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรภายโรงเรียน

11.โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน

12. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

โครงการระดับปฐมวัย

โครงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาปฐมวัย

- กิจกรรมภาษาสื่อสาร

- กิจกรรมการคิดพื้นฐาน

- กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4ด้าน

- กิจกรรมสุนทรียสภาพสิ่งแวดล้อม(ปฐมวัย)

- กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์

- กิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย

โครงการระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

1.โครงการส่งเสริมความสามารถ และทักษะของนักเรียนประถมศึกษา :  ด้านการอ่าน  การเขียน  และพื้นฐานคณิตศาสตร์

2. โครงการการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวัดท่าศาลา

3.โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

4.โครงการส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยมที่พึงประสงค์   และทักษะการแสวงหาความรู้



 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

๑.๑ ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียนวัดท่าศาลา ที่ตั้ง 35 หมู่ที่ 3 ตำบล รำพัน อำเภอ ท่าใหม่ จังหวัด จันทบุรี สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โทร. 039-417164 โทรสาร 039 – 417164 e-mail:watthasala35@hotmail.com เปิดสอนระดับชั้น อนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บนเนื้อที่ธรณีสงฆ์ 22 ไร่ - งาน 22 ตารางวา เขตพื้นที่บริการ 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 และหมู่ 3

ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

โรงเรียนวัดท่าศาลา จัดเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่เลขที่ 35 หมู่ที่ 3 ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี จัดการศึกษาในระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2471 โดย ขุนประมวล ดิตถศาล กำนันตำบลรำพัน เป็นผู้ดำเนินการ มีพระอธิการแย้ม เจ้าอาวาสวัดท่าศาลาเป็นผู้อุปการะ แต่ขุนประมวล ดิตถศาล ได้ถึงแก่กรรมก่อน นายเผื่อ จันทสิทธิ์ กำนันคนต่อมาได้ดำเนินการต่อจนเสร็จ โรงเรียนนี้ดำรงอยู่ด้วยเงินประชาชนในท้องถิ่นเป็นเวลา 2ปีเศษ จากนั้น รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณมาให้บ้าง และตั้งชื่อโรงเรียนวัดท่าศาลา เปิดสอนตอนแรกตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 4 โดยนายสำรวญ เชื้อไทย เป็นครูใหญ่คนแรก พ.ศ. 2493

ปัจจุบันโรงเรียนได้จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1- 6 มีนักเรียนจำนวนทั้งหมด 49 คน ข้าราชการครู 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ครูจ้างสอน 1 คน ลูกจ้างประจำ ตำแหน่งงานช่างไม้ฝีมือ(3) 1 คน ธุรการโรงเรียน 1 คน

๑.๙ สภาพชุมชนโดยรวม

1) สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะ ค่อนข้างยากจนมีประชากรประมาณ 172 ครอบครัว บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ วัดท่าศาลา อาชีพหลักของชุมชน คือ รับจ้าง ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ รำสวด

2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับ ชั้น ป.4 อาชีพหลัก คือ รับจ้าง ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปีประมาณ 40,000 บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 4 คน

3) โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน

1.โอกาส โรงเรียนตั้งอยู่ในเขต ตำบลรำพัน ซึ่งมีโรงเรียนหลายแห่ง ประกอบกับการ

คมนาคมสะดวกเป็นอย่างดี โรงเรียนจำเป็นต้องอาศัยแหล่งเรียนรู้บริเวณใกล้เคียงและตำบลอื่นๆในเขตพื้นที่ อำเภอเป็นต้นว่า เขตห้ามล่าสัตว์คุ้งกระเบน ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศวิทยาป่าชายเลน การฝึกอาชีพ นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้วัดซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ได้อย่างดี

 

2.ข้อจำกัด ผู้ปกครองมีค่านิยมในการส่งบุตรหลานไปเรียนในตัวเมืองมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการคมนาคมสะดวก มีรถรับส่งนักเรียน ผู้ปกครองไม่ต้องเป็นภาระในการรับส่ง และมีโรงเรียนใกล้กัน บุคลากรลดลง ถึงแม้ว่าได้รับความร่วมมือจากชุมชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นพอสมควร แต่การพัฒนาปรับปรุงด้านต่างๆไม่สามารถทำให้นักเรียนในเขตบริการเข้ามาเรียนได้
การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์โรงเรียน

          โรงเรียนวัดท่าศาลา  มุ่งเน้นให้โรงเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา พัฒนาคุณธรรม มีวัฒนธรรมความเป็นไทย ร่วมใจเกษตรพอเพียง (3ค ๑ก)

 

พันธกิจ

              1. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่นักเรียนในชุมชน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ

              2. สนับสนุนฝึกอบรมสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษา

              3.พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนให้มีค่านิยมที่พึงประสงค์

              4. ส่งเสริมให้นักเรียนและบุคลากรอนุรักษ์วัฒนธรรมความเป็นไทยและรักษ์สิ่งแวดล้อม

              5. ร่วมกับชุมชนในการดำเนินกิจกรรมการเกษตรผสมผสานเพื่อความพอเพียง

 

เป้าหมาย

              1. นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน   

              2. บุคลากรนำความรู้ไปพัฒนาคุณชีวิตและด้านการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

              3. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีคุณธรรมและจริยธรรมที่พึงประสงค์

              4. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเห็นคุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมความเป็นไทยและรู้จักดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

              5. ชุมชนและโรงเรียนได้ร่วมพัฒนาโรงเรียนการเกษตรผสมผสานเพื่อความพอเพียง

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 3 0 1 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

๑.11  โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดท่าศาลา

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา/กิจกรรม

เวลาเรียน : ชั่วโมง/ปี

ระดับประถมศึกษา

ป.1

ป.2

ป.3

ป.4

ป.5

ป.6

กลุ่มสาระการเรียนรู้ / วิชาพื้นฐาน

 

 

 

 

 

 

1. ภาษาไทย

160

160

160

160

160

160

2. คณิตศาสตร์

160

160

160

160

160

160

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

80

80

80

80

80

80

4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

40

40

40

40

40

40

5. ประวัติศาสตร์

40

40

40

40

40

40

6. สุขศึกษาและพลศึกษา

80

80

80

80

80

80

7. ศิลปะ

40

40

40

80

80

80

8. การงานพื้นฐานอาชีพ

40

40

40

40

40

40

9. ภาษาต่างประเทศ

200

200

200

160

160

160

รวมเวลาเรียน(พื้นฐาน)

840

840

840

840

840

840

รายวิชาเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

1. การป้องกันการทุจริต (เพิ่มเติม)

40

40

40 40 40 40

 


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

         โรงเรียนวัดท่าศาลา จัดเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่เลขที่ 35  หมู่ที่ 3 ตำบลรำพัน  อำเภอท่าใหม่  จังหวัดจันทบุรี จัดการศึกษาในระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี  เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1  เมษายน พ.ศ.2471 โดย ขุนประมวล  ดิตถศาล กำนันตำบลรำพัน เป็นผู้ดำเนินการ มีพระอธิการแย้ม    เจ้าอาวาสวัดท่าศาลาเป็นผู้อุปการะ แต่ขุนประมวล   ดิตถศาล  ได้ถึงแก่กรรมก่อน นายเผื่อ  จันทสิทธิ์  กำนันคนต่อมาได้ดำเนินการต่อจนเสร็จ โรงเรียนนี้ดำรงอยู่ด้วยเงินประชาชนในท้องถิ่นเป็นเวลา 2ปีเศษ   จากนั้น รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณมาให้บ้าง และตั้งชื่อโรงเรียนวัดท่าศาลา เปิดสอนตอนแรกตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 4  โดยนายสำรวญ  เชื้อไทย เป็นครูใหญ่คนแรก  พ.ศ. 2493

ปัจจุบันโรงเรียนได้จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1- 6  มีนักเรียนจำนวนทั้งหมด  48   คน  ข้าราชการครู  3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 1  คน ครูจ้างสอน  1 คน  ลูกจ้างประจำ ตำแหน่งงานช่างไม้ฝีมือ(3)   1  คน  ธุรการโรงเรียน 1 คน

           ปัจจุบันโรงเรียนมีอาคารต่างๆ  ดังนี้

อาคารเรียน  2  หลัง อาคารประกอบ  3  หลัง 

อาคารเรียน                     แบบ  ป.3               1  หลัง   4  ห้องเรียน

                                 แบบ  ป.1                1  หลัง   5  ห้องเรียน

อาคารเอนกประสงค์          แบบ  สปช. 202/2536 

ส้วม   ขนาด   3   ที่นั่ง ไม่มีที่ปัสสาวะ    

ส้วม แบบ สปช.601/2526  ขนาด  4  ที่นั่ง

       

ห้องเรียน  ห้องพิเศษ 

ห้องเรียนปฐมวัย    จำนวน 1   ห้อง  (เรียนรวม อ.1 - อ.3)

ห้องเรียน  ป.1 -  .6     จำนวน  3   ห้อง (เรียนคละชั้น ป.1-ป.2, ป.3-ป.4, ป.5-ป.6)

ห้องพิเศษ   ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องธุรการ  ห้องปฏิบัติการโครงการอาหารกลางวัน

                                    ห้องดนตรี  ห้องเกษตร  ห้องสมุด  ห้องประชุม

 

 

         

 


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/118L9zUr7L5bAcPR_uqeX3rqchak_MyDq/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งการเรียนรู้

โรงเรียนวัดท่าศาลา มีแหล่งเรียนรู้ดังนี้

แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

1. ห้องสมุด

2. ห้องพยาบาล

3. ห้องคอมพิวเตอร์

4. ห้องดนตรี

5. โรงอาหาร

6. แปลงผัก

7.บ่อเลี้ยงปลา

8. สวนหม่อน

9. โรงเพาะเห็ด

10. สนามเด็กเล่น

11.สนามฟุตบอล

12.ต้นไม้บริเวณโรงเรียน

 

แหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษาใกล้โรงเรียน

ลำดับที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

ที่ตั้ง

1

วัดท่าศาลา

ต.รำพัน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

2

ที่ทำการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรท่าศาลา

ต.รำพัน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

3

สวน 100 ไร่ บ้านไร่เก่า

ต.รำพัน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

4

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน

ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

5

หน่วยสาธิตการเลี้ยงสัตว์น้ำภายในอ่าวคุ้งกระเบน

ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

6

หาดเจ้าหลาว

ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

7

หาดแหลมเสด็จ

ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

8

มหาวิทยาลัยบูรพา

ต.โขมง อ.ท่าใหม่


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  

ผลการประเมินมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 

แบบบันทึกน้ำหนักส่วนสูง

แผนการจัดประสบการณ์

บัญชีเรียกชื่อและสมุดบันทึกพัฒนาการเด็กนักเรียนระดับปฐมวัย

ภาพถ่ายกิจกรรมและการสัมภาษณ์ เด็กและผู้เกี่ยวข้อง

ผลงานเด็ก

1. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ได้แก่

- มีสุขภาพอนามัย สุขนิสัยที่ดี มีการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ , ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำ, นอนพักผ่อนเป็นเวลา , ออกำลังกาย ,

- เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว ประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้ การเคลื่อนไหวร่างกายอยู่กับที่ และเคลื่อนที่ ตามจังหวะเสียงเพลง หรือตามจังหวะการเคาะเครื่องดนตรี ช้า เร็ว หยุด โดยมีอุปกรณ์ประกอบ,ทำท่าทางตามผู้นำ, ทำท่าทางตามคำสั่ง,ทำเลียนแบบท่าทางสัตว์,เดินต่อเท้าตามแนวเส้นที่กำหนด,กระโดดขึ้นลง,วิ่งหลบหลีก,วิ่งแล้วหยุด,โยนและรับลูกบอล

- ใช้มือกับตาประสานสัมพันธ์กัน ฝึกการใช้กรรไกรตัดกระดาษตามแนวเส้นที่กำหนด, ฝึกการเขียนรูปวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมตามที่ครูกำหนด ,ฝึกการร้อยวัสดุที่มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ครูกำหนด

2. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ได้แก่

- ทำกิจกรรมเคารพธงชาติและสวดมนต์ไหว้พระทุกวัน ร่วมกิจกรรมศีล 5 กับการดำรงชีวิต โดยการสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ และฟังธรรมก่อนกลับบ้านทุกวันศุกร์

3. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ได้แก่

- ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การใช้ห้องน้ำห้องส้วม เก็บของเล่นของใช้เข้าที่ การล้างมือ การเก็บถาดอาหาร การทิ้งขยะ การล้างหน้าแปรงฟัน รู้จักช่วยเหลือและแบ่งปันมีน้ำใจ

- ร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

- ร่วมกิจกรรมวันไหว้ครู

- ร่วมกิจกรรมเกษตรผสมผสาน

- กิจกรรมวันลอยกระทง

4. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ได้แก่

- การจัดกิจกรรมกระตุ้นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น การคิดสร้างสรรค์ และการคิดแก้ปัญหา

- การใช้ภาษาในการสื่อสารด้วยการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน

- การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ และการจัดหมวดหมู่สิ่งของ

- จำนวน การนับจำนวน และการรู้ค่าของจำนวน

- มิติสัมพันธ์คือ การเข้าใจและการอธิบายในเรื่องพื้นที่ ตำแหน่ง ระยะทาง

- เวลาใช้ในการเปรียบเทียบเวลาต่างๆ เรียงลำดับเหตุการณ์ และความเข้าใจเกี่ยวกับฤดูกาล

- โครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ได้แก่ โครงงานดินกระดาษ

- กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย

ผลการดำเนินงาน  

1. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ 85 มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

2. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ 85มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย

3. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ 85 มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ

4. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ 85หลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด

5. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ 80 ร่าเริงแจ่มใส มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

6. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ 80 ของเด็กที่มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยใน ระดับดีขึ้นไป

7. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ 80 มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก

8. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ80 ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมกับวัย

9. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ80 ชื่นชมศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักธรรมชาติ

10. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ80 มีวินัย รับผิดชอบ เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์

11. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ80 มีความซื่อสัตย์สุจริต ช่วยเหลือแบ่งปัน

12. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ80 เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

13. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ80 ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทย และศาสนาที่ตนนับถือ

14. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ85 สนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ซักถามอย่างตั้งใจ และรักการเรียนรู้

15. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ85 มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้

16. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ85 มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย

17. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ85 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

 

18. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ร้อยละ85 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1hFGkESFxPTqjb6bYToQEEDaWdG7esq9B/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  

ผลการประเมินมาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการ

1. มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นใช้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2563

ประกาศใช้หลักสูตรปฐมวัยปี 2563

หลักสูตรปฐมวัยปี 2563

2. จัดครูให้เพียงพอและเหมาะสมกับชั้นเรียน ซึ่งสถานศึกษาจัดครูให้ เหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน ตรงตาม สาขาวิชาหรือจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยหรือผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัย อย่างพอเพียงกับชั้นเรียน จำนวน 1 คน โดยสอน 3 ระดับชั้น อนุบาล 1, อนุบาล 2, อนุบาล 3 โดยมรจำนวนนักเรียน 15 คน

3. ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ โดยครูได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ออกแบบหลักสูตร สถานศึกษา มีทักษะ ในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการของเด็ก ใช้ประสบการณ์สำคัญในการออก แบบการจัดกิจกรรม โดยเข้ารับการอบรมดังนี้

          3.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการขับเคลื่อนนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้: Active Learning

          3.2 การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการการพัฒนาระบบและกลไกการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อซักซ้อมการประเมินภายนอกรอบสี่

          3.3 การอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติ การจัดการเรียนการสอนโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย (โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับ ปฐมวัย) และสัมมนาวิชาการครบรอบ ๑๐ ปี     "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยกับการศึกษาเพื่อความยังยืน”

          3.4 การประชุมการจัดทำรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยด้วยระบบออนไลน์                 ( Application Zoom )

          3.5 การอบรมหลักสูตรการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวณด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวน ระดับอนุบาล

          3.6 การพัฒนาและทดสอบความรู้ตามหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยระบบonline เรื่อง Digital Content and Creation

          3.7 การพัฒนาและทดสอบความรู้ตามหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยระบบonline เรื่อง การสร้างสื่อการสอนแบบ interactive ด้วย Microsoft powerpoint

          3.8 การพัฒนาและทดสอบความรู้ตามหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยระบบonline เรื่อง การใช้ดิจิตัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย

          3.9 การพัฒนาและทดสอบความรู้ตามหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยระบบonline เรื่อง สนุกคำนวณด้วยโปรแกรมตารางคำนวณขั้นมืออาชีพ

          3.10 การพัฒนาและทดสอบความรู้ตามหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยระบบonline เรื่อง การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ

          3.11การพัฒนาและทดสอบความรู้ตามหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยระบบonline เรื่อง การใช้งานอินเทอร์เน็ต

4. จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

- การจัดสภาพแวดล้อม ภายในและภายนอก ห้องเรียนที่คำนึงความปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและกลุ่มมีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก มีมุมประสบการณ์อย่างน้อย4 มุม และครูมีการจัดหาสื่อเกมการศึกษา ห้องเรียนมีป้ายนิเทศ มีสื่อเทคโนโลยี มีทีวี สื่อของเล่นที่กระตุ้นให้คิดและหาคำตอบ

5. ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู

     - ครูและเด็ก ได้รับการอำนวยความสะดวกและ ให้บริการสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ วัสดุและอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการจัด ประสบการณ์แก่นักเรียน

- ห้องสมุด

- ห้องดนตรี

- ป้ายนิเทศ

- มุมเสริมประสบการณ์

- มุมสื่อ

6. มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

- สถานศึกษามีแผนพัฒนา การศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาและสามารถตรวจสอบได้ 

- มีการประเมินผลและ ตรวจสอบคุณภาพภายใน สถานศึกษาติดตามผลการ ดำเนินการอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

- จัดทำรายงานผลการ ประเมินตนเองประจำปี นำผลการประเมินไปปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดปีการศึกษาละ 1 ครั้ง

- การประชุมผู้ปกครอง

- กิจกรรมวันไหว้ครู

- กิจกรรมวันสำคัญทางพุทธศาสนา

- กิจกรรมวันสุนทรภู่

 

- กิจกรรมวันแม่

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนวัดท่าศาลา มีกระบวนการบริหารและการจัดการ เพื่อให้เกิดการประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนี้

         การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดท่าศาลา ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และ พันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น  พิจารณาจากวัยของเด็ก  ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากร ให้มีศักยภาพ สำหรับด้านระบบกลไก การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มี การประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

โรงเรียนวัดท่าศาลา ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์  และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ จัดให้มีอุปกรณ์  ของเล่น ของใช้  เครื่องนอน เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พอเพียงกับเด็ก โดยจัดให้เหมาะสม  สะอาด ปลอดภัย ให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็กให้เพียงพอและเหมาะสม จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน ล้างมือ ทำความสะอาดร่างกาย  ห้องน้ำ ห้องส้วม พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว  ชุมชน และท้องถิ่นจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  โรงเรียนมีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย ซึ่งส่งผลให้ครูมีความสามารถวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล  มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม  ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1YYLqyRx2JbC8qNtGPw27TqmzUfTkn9kN/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  

1. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ ได้แก่

- ประเมินนักเรียนเป็นรายบุคคล

- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

- กิจกรรมสร้างสรรค์และเสรี

- กิจกรรมเสริมประสบการณ์

- กิจกรรมศิลปะ

- กิจกรรมเสรี/เล่นตามมุม

- กิจกรรมกลางแจ้ง

2. สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข ได้แก่

- ครูจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมให้เด็กมี โอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ ความ สามารถ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็น รายบุคคลหลากหลาย รูปแบบจากแหล่งเรียนรู้ที่ หลากหลาย เด็กได้เลือกเล่น เรียนรู้ ลงมือ กระทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

- เกมการศึกษา

- กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย

- โครงงานปฐมวัยไข่ตุ๋นกับผัก 5 สี

- โคงงานปฐมวัยแซนวิชฝีมือหนู

- กิจกรรมเกษตรผสมผสาน

- กิจกรรมวันไหว้ครู

- กิจกรรมวันสำคัญทางพุทธศาสนา

- กิจกรรมวันลอยกระทง

- กิจกรรมวันสุนทรภู่

3. จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

- ครูจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้สะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก พื้นที่สำหรับมุมประสบการณ์และการจัด กิจกรรม โดยเด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน โดยมีมุมดังต่อไปนี้

-มุมดนตรี

-มุมศิลปะ

-มุมร้านค้าชุมชน

-มุมเกมการศึกษา

-มุมบล็อก

- มุมหนังสือ

4. ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

- ครูวิเคราะห์ ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้านทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา

- แบบบันทึกน้ำหนักส่วนสูง

- แผนการจัดประสบการณ์

- บัญชีเรียกชื่อและสมุดบันทึกพัฒนาการเด็กนักเรียนระดับปฐมวัย

 

- สมุดประจำตัวนักเรียนปฐมวัย

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนวัดท่าศาลา มีการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ดังนี้

 

          ดำเนินจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  ที่มุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน  ทั้งทางด้านร่างกาย   อารมณ์จิตใจ  สังคม และสติปัญญา ให้เด็กมีความรู้ คู่คุณธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข  ภายใต้คำว่า ดี  เก่ง มีสุข จัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม  รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้านสังคม  เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้  มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ด้านสติปัญญา มีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม  เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ  ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข  การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน  และปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1vbVk04PwjTku0-jHippc_jRqpOX0sKVr/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จุดเด่น มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

- มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

- สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด

- มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

จุดเด่น มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

- มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

- การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

- ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ

จุดเด่น มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

- เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล

- เด็กเรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม

- มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้

- ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ด้านคุณภาพเด็ก

1.  เด็กมีการพัฒนาการด้านร่างกายเหมาะสมตามวัยสามารถดูแลสุขอนามัยและความปลอดภัยของตนเอง

2.  เด็กมีการพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจสมวัยเกี่ยวกับสุขภาพจิตสมวัย  มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และสุนทรียภาพสมวัย สามารถแสดงความชื่นชอบและตอบสนองต่องานศิลปะ เสียงดนตรีและจังหวะการเคลื่อนไหว

3.  เด็กมีการพัฒนาการด้านสังคมสมวัย มีความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย และการปรับตัวเข้ากับสังคมได้ เด็กได้รับการส่งเสริมให้รู้จักปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทยและหลัdศาสนาที่นับถือ

4. เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสมวัย ได้รับการส่งเสริมให้พูดคุยโต้ตอบกับผู้อื่นได้ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการแสดงออกในขณะที่เข้าร่วมกิจกรรม

5. เด็กมีทักษะพื้นฐานตามพัฒนาการ ด้านอารมณ์และจิตใจสมวัย มีความรู้สึกที่ดีร่วมกับผู้อื่น และมีมนุษย์สัมพันธ์กับคนคุ้นเคย ด้านสังคมสมวัย มีความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัยและการปรับตัวเข้ากับสังคม ในการปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่และความเป็นไทยสมวัย ด้านสติปัญญาสมวัย  มีทักษะในการสื่อสารสมวัย ด้านร่างกายสมวัย รู้จักหลีกเลี่ยงการกระทำที่นำไปสู่การบาดเจ็บได้ตามวัย

ด้านกระบวนการบริหารจัดการ

๑) ผู้บริหารมีความตั้งใจมีความมุ่งมั่น มีหลักการบริหารและมีวิสัยทัศน์ที่ดีในการบริหารงานสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานและคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมีความตั้งใจและมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาท

๒) โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบโรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธีเช่นการประชุมแบบมีส่วนร่วมการประชุม ระดมสมองเพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจเป้าหมายที่ชัดเจนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษาสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานหลักสูตรของสถานศึกษาครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพมีการดำเนินการนิเทศกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาและโรงเรียนได้ใช้กระบวนวิจัยในการรวบรวมข้อมูลมาใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

๑) ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลาและความสามารถ

๒) ครูจัดกิจกรรมให้เด็กแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

๓) ครูให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

๔) ครูจัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้จากการคิดได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1JVTvSuyd8GGEb_LfxoufGI33Q41OIkVm?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดท่าศาลามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก และเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1 พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีการสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ครูร่วมกันกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน

          นอกจากนี้ โรงเรียนวัดท่าศาลา  ได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน พัฒนาคุณธรรมผู้เรียนตามหลักสูตร โตไปไม่โกง เน้นให้ผู้เรียนมีวินัย ซี่อสัตย์ รับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอนและมีการเรียนรู้ในโลกกว้าง การเข้าไปศึกษากับภูมิปัญญาในชุมชนรอบๆ โรงเรียน

ผลการประเมินมาตรฐานที่  1 คุณภาพของผู้เรียน
ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 

หลักสูตรสถานศึกษา

แผนการจัดการเรียนรู้และบันทึกผลหลังจัดการเรียนรู้

-เอกสารหลักฐานการวัดและประเมินผล เครื่องมือวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้

ชิ้นงานหรือผลของนักเรียน/แฟ้มสะสมงาน

-สื่อการเรียนการสอน และแหล่งเรียนรู้

1. ศึกษาผู้เรียนรายบุคคล จัดกลุ่ม เพื่อพัฒนาผู้เรียน

- โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษา
- บันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน
- บันทึกการสอนซ่อมเสริม

2. ส่งเสริมและจัดกิจกรรมรักการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน

- กิจกรรมคลังคำภาษาไทย  

- กิจกรรมวันภาษาไทย

- กิจกรรมเขียนตามคำบอก

3. จัดกิจกรรมการฝึกทักษะการคิดคำนวณขั้นพื้นฐาน

4.โครการส่งเสริมความสามารถของนักเรียนชั้นประถมศึกษา : ด้านการอ่าน  การเขียน  และพื้นฐานคณิตศาสตร์

5.กิจกรรมยกระดับคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดท่าศาลา

 

ผลการดำเนินงาน  

2. ผลการดำเนินงาน

          ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดี รู้จักวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาดและมีประโยชน์    รักการออกกำลังกาย นักเรียนทุกคนสามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละประเภท ยอมรับในกติกาของกลุ่ม ของโรงเรียน ของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัย

ความสามารถในการอ่านการเขียนการสื่อสารและการคิดคำนวณ

1.นักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 ร้อยละ 90 สามารถท่องบทอาขยาน อ่านคำพื้นฐานและเขียนคำศัพท์ตามคำบอกได้มีความสามารถในการอ่านเขียนภาษาไทยตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

2.นักเรียน ป.1 – ป.6 ร้อยละ 70 สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการทักทายเพื่อนและครูด้วยคำ/ประโยคง่ายๆ ได้

3.นักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 ร้อยละ 80 ได้รับการฝึกทักษะการคิดคำนวณ การคิดเลขเร็วโดยมีกิจกรรม ท่องสูตรคูณ

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์คิดอย่างมีวิจารณญาณอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา

1. นักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 ร้อยละ 85 สามารถวางแผนการคิดอย่างเป็นระบบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาโดยการเรียนรู้แบบเชิงรุกActive Learningได้แก่ กิจกรรมระดมสมอง

ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

1. นักเรียน ป.4 – ป.6 ร้อยละ 80 สามารถอ่านและเขียนคำศัพท์ได้

1. นักเรียน ป.1 – ป.6 ร้อยละ 80 สามารถสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์

-การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่

- การเรียนรู้จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

- การเรียนรู้จากห้องสมุด

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

1. นักเรียน ป.1 – ป.6 ร้อยละ 10มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปี 2563ตามหลักสูตรสถานศึกษามากกว่าระดับ3ขึ้นไป

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1mTEhHgWySAHkTl8nyOGpjeZreDTEtaOQ?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 

สรุปรายงานผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( 8 ประการ )

แบบบันทึกพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์

สมุดบันทึกความดี

สมุดออมทรัพย์

แบบสรุปผลการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ

จัดโครงการส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ และทักษะการแสวงหาความรู้

- กิจกรรมโรงเรียนคุณธรรม

- กิจกรรมโรงเรียนสุจริต

- กิจกรรมโรงเรียนสีขาว

- กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ

- กิจกรรมประชาธิปไตย
ผลการดำเนินงาน  การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

1. นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำเวรประจำวัน (เวรสี) บริเวณเขตรับผิดชอบ

2. นักเรียนมีกิจกรรมนั่งสมาธิเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มเรียน

3. นักเรียนมีวินัยในการเข้าแถวเป็นระเบียบ การแต่งกายเรียบร้อย

4. นักเรียนมีกิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระช่วงเวลาบ่ายทุกวันศุกร์

5. นักเรียนมีจิตอาสาช่วยงานคุณครูทุกคน

6. นักเรียนมีคุณลักษณะลักษณะอันพึงประสงค์ 12 ประการ นักเรียนมีความรักชาติ เข้า แถวเคารพธงชาติทำกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้า หากเก็บสิ่งของ ของเพื่อนได้ก็จะนำมาแจ้งคุณครูให้ประกาศหาเจ้าของทุกครั้งไป

ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

1. นักเรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมการเข้าแถวเคารพธงชาติ

2. นักเรียนทุกคนทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางพุทธศาสนาร่วมกับชุมชน เช่น วันเข้าพรรษา วันอาสาฬหบูชา วันวิสาขบูชา ฯลฯ

3. นักเรียนร่วมกันปลูกต้นไม้ในโรงเรียนและที่สาธารณะประโยชน์ร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น

4. นักเรียนร่วมกิจกรรมประเพณีไทย

5.นักเรียนแต่งกายด้วยชุดไทยในวันศุกร์  (เสื้อลูกไม้ โจงกระเบน)

การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

1. นักเรียน ป.1 – ป.6 ร่วมกันสร้างกติกาข้อตกลงประจำห้องเรียนและเวรประจำวัน

2. นักเรียนจัดทำโครงงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรมต้านทุจริต

3. กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ การแข่งขันกีฬาสี

สุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม

1. นักเรียน ป.1 - ป.6 ร้อยละ 100 ดื่มนมทุกวัน

2. นักเรียน ป.1 – ป.6 มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพร่างกาย(กายบริหาร) สุขภาพฟัน(การแปรงฟัน) 

3. นักเรียน ป.1 – ป.6 ร้อยละ 95 มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง สามารถเล่นกีฬาต่างๆ ได้โรงเรียนมีการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน และการร่วมแสดงออกในกิจกรรมวันแม่ วันเด็ก วันสุนทรภู่ วันภาษาไทย
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1gaDITmMnmqg-UTXGQG3j58s2bbMJpGuV/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

๑. กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนวัดท่าศาลา มีโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับหน้าที่ ที่รับผิดชอบพร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงานโดยมีโดยการสำรวจความพึงพอใจผลการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการศึกษา

๒.๑ สถานศึกษา มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

๒.๒ แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

๒.๓ สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

๒.๔ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

๒.๕ สถานศึกษา มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา ที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

๒.๖ สถานศึกษา มีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา

๒.๗ สถานศึกษา มีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่งผลให้โรงเรียนมีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ


 

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนวัดท่าศาลา มีแผนจัดสรรงบประมาณประจำปีการศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียน และงบประมาณในการบริหารโครงการ  ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ของโรงเรียนมีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา  แผนปฏิบัติการประจำปี  หลักสูตรสถานศึกษาที่คณะกรรมบริหารโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน  ดำเนินการ  เพื่อการบริหารจัดการศึกษา  ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ได้ตั้งไว้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1OT9jpEtbwowAf8_F2jz7NDZzNsbDNOXs/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

1. กระบวนการพัฒนา

                    โรงเรียนวัดท่าศาลา ดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงานกิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน มีการบูรณาการภาระงาน ชิ้นงาน โดย ทุกระดับชั้นจัดทำหน่วยบูรณาการอาเซียน เศรษฐกิจพอเพียงปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วยกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้มีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำข้อมูลและผลจากการวิเคราะห์มาออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดประเมินผลที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนรวมทั้งให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่นักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยความเสมอภาคส่งเสริมให้ครูใช้ผลจากการประเมินผู้เรียนมาทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบ มีการจัดบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตรงตามความรู้ประสบการณ์และความถนัด และจัดการเรียนการสอนในวิชาที่ได้รับอย่างเต็มเวลาและความสามารถ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียนปีการศึกษาละ ๑ เรื่อง  มีโครงงานวิทยาศาสตร์ปีการศึกษาละ 2 เรื่อง แบ่งเป็นภาคเรียนละ 1 เรื่อง  มีโครงการที่ส่งเสริมให้ครูได้ทุกกลุ่มสาระพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน 

ผลการดำเนินงาน  

2. ผลการดำเนินงาน

                    จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครูการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ  สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเป็นระดับเด็กอ่อน ปานกลาง และเก่ง ทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความแตกต่างบุคคล มีการสอนเสริมความรู้ให้ผู้เรียนกลุ่มปานกลางและกลุ่มเก่ง มีการสอนซ่อมเสริมผู้เรียนกลุ่มอ่อน มีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชา มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย มีครูทุกคนยังมีงานวิจัยในชั้นเรียนและนำผลของงานวิจัยนั้นไปพัฒนาการเรียนการสอน ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนของครูครอบคลุมทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1LKk7Mn1qivggHaq0hFXvZEbRlpItYReS/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ด้านคุณภาพผู้เรียน

๑) ครูให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามตัวชี้วัดอย่างครบถ้วน  มีการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ

๒) ฝึกให้ผู้เรียนได้อ่านหนังสือ  และสื่อสารและเปลี่ยนความคิดเห็นกันอยู่เสมอ

๓) ให้ผู้เรียนได้รับประทานอาหารที่ครบ ๕ หมู่  ถูกสุขอนามัย  มีสารอาหารครบถ้วยตามแต่ละช่วงวัย

ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1) ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีความตั้งใจมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลาและสุดความสามารถ

2) ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอยู่เสมอ

3) ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน

4) ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง  การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑  และการจัดการเรียนรู้แบบ Active  Learning

ด้านการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล

       โรงเรียนให้ความสำคัญกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เน้นการสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับคณะครูบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเน้นการมีส่วนร่วมโดยดำเนินการในรูปของคณะกรรมการสร้างวัฒนธรรมการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกระดับ

ด้านการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล

1) สถานศึกษาจัดให้ครูประเมินตนเองรายบุคคลตามแผนพัฒนาตนเอง และส่งข้อมูลย้อนกลับแก่ครูในการพัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียน

2) นักเรียนมีการประเมินตนเองในการเรียนรู้ มีการติดตาม ช่วยเหลือด้านการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายบุคคล


ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ด้านคุณภาพผู้เรียน

๑) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาพรวมสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา และนักเรียนกล้าแสดงออกร่าเริงแจ่มใส สุขภาพกายแข็งแรงและเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด

๒) ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านได้เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ทุกคน สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดี

๓) ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มีระเบียบวินัยเป็นที่ยอมรับของชุมชนโดยรอบในเรื่องความมีวินัยเคารพกฎกติการะเบียบของสังคม และร่าเริงแจ่มใส

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหาร

สถานศึกษา

๑) ผู้บริหารมีความตั้งใจมีความมุ่งมั่น มีหลักการบริหารและมีวิสัยทัศน์ที่ดีในการบริหารงานสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานและคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมีความตั้งใจและมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาท

๒) โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบโรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธีเช่นการประชุมแบบมีส่วนร่วมการประชุม ระดมสมองเพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจเป้าหมายที่ชัดเจนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษาสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานหลักสูตรของสถานศึกษาครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพมีการดำเนินการนิเทศกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาและโรงเรียนได้ใช้กระบวนวิจัยในการรวบรวมข้อมูลมาใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๑) ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลาและความสามารถ

๒) ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

๓) ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

๔) ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้จากการคิดได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

ด้านการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล

       โรงเรียนให้ความสำคัญกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เน้นการสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับคณะครูบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเน้นการมีส่วนร่วมโดยดำเนินการในรูปของคณะกรรมการสร้างวัฒนธรรมการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกระดับ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://www.facebook.com/profile.php?id=100004964653343
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/14f_EiffFyOOzpxPB6ks_nxOftmU1Sw11/view?usp=sharing