รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 14

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
0 0 0 0 0 0


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)


หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก  ผลการประเมินระดับ  ดีเลิศ

        1.1 กระบวนการพัฒนา

        โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๔ (ท่าใหม่บ้านสิ้ว) จัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย โดยมุ่งส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ให้เต็มตามศักยภาพ เพื่อให้เด็กมีความสนใจในการเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ ผ่านกระบวนการที่หลากหลายและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองซึ่งมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการแต่ละด้าน  ดังนี้

          พัฒนาการด้านร่างกายจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรปฐมวัยผ่านการจัดกิจกรรมหลักประจำวัน 6 กิจกรรมการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมเพิ่มเติมได้แก่ กิจกรรมหนูน้อยรักสุขภาพจิตสดใสร่างกายแข็งแรง

จากกระบวนการพัฒนาดังกล่าว ส่งผลให้เด็กปฐมวัยทุกคน มีผลการประเมินพัฒนาการด้านร่างกายอยู่ในระดับดี คือ มีสุขภาพที่แข็งแรงมีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน สามารถเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างคล่องแคล่ว เห็นได้จาก การบันทึกน้ำหนัก ส่วนสูงของนักเรียน แบบสรุปภาวะโภชนาการของนักเรียน เด็กมีสุขนิสัยที่ดี รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้หลากหลายชนิด และดื่มน้ำสะอาด รู้จักล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังจากการใช้ห้องน้ำห้องส้วม มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและนอนพักผ่อนเป็นเวลา เห็นได้จากการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ จัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยทุกคนเพื่อมุ่งส่งเสริมให้เด็กมีความพร้อมทางอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองผ่านผ่านการจัดกิจกรรมหลักประจำวัน 6 กิจกรรมการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

จากกระบวนการพัฒนาดังกล่าว ส่งผลให้เด็กปฐมวัยทุกคน มีผลการประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจอยู่ในระดับดี คือ มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม เช่น ยิ้ม หัวเราะ ร่าเริง แจ่มใส มีความมั่นใจในตนเอง กล้าพูดกล้าแสดงออก สามารถแสดงอารมณ์และความรู้สึกได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสมมีความสุขในขณะทำกิจกรรม แสดงความพึงพอใจในผลงาน ความสามารถของตนเองและผู้อื่น ผ่านชิ้นงานศิลปะสร้างสรรค์และผลงานด้านอื่นๆ มีความสุขจากการแสดงออกผ่านการทำท่าทางตามเสียงเพลงหรือจังหวะจากดนตรี สามารถเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระประกอบเพลง จังหวะดนตรีและอุปกรณ์ต่างๆ ได้ รู้จักยั้งชั่งใจและขออนุญาตเพื่อให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการ อดทนและรอคอยตามลำดับก่อนหลัง มีความเมตตากรุณา มีน้ำใจและช่วยเหลือแบ่งปัน กับเพื่อนและสัตว์เลี้ยง มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เคารพสิทธิของผู้อื่น รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง  มีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด

พัฒนาการด้านสังคมจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยทุกคนโดยมุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมโดยการจัดประสบการณ์ผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม กิจกรรมเพิ่มเติมได้แก่ กิจกรรมหนูน้อยคนดี กิจกรรมหนูน้อยรักความเป็นไทย กิจกรรมหนูน้อยรักสิ่งแวดล้อม กิจกรรมหนูน้อยนักออม

จากกระบวนการพัฒนาดังกล่าวส่งผลให้เด็กปฐมวัยทุกคน มีผลการประเมินพัฒนาการด้านสังคมอยู่ในระดับ ดี คือ สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเองในการแต่งกาย การรับประทานอาหาร เก็บของเล่น ของใช้เข้าที่ได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เข้าแถวตามลำดับก่อนหลัง ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัดและพอเพียง คุ้มค่า มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน รู้จักทิ้งขยะได้ถูกที่และมีจิตอาสา มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและรักความเป็นไทย รู้จักกล่าวคำขอบคุณและขอโทษเมื่อตนเองทำผิด และพร้อมที่จะให้อภัยต่อผู้อื่นเสมอ มีสัมมาคารวะต่อ คุณครูและ ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นที่แตกต่างไปจากตนโดยมีเป้าหมายเดียวกัน มีส่วนร่วมในการสร้างข้อตกลงภายในห้องเรียนร่วมกัน เป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของเพื่อนร่วมห้องเรียนและสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่โดยไม่เกิดปัญหา

พัฒนาการด้านสติปัญญาจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยทุกคนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมโดยการสอนแบบโครงการ (Project Approach)และกิจกรรมเพิ่มเติมได้แก่ กิจกรรมหนูน้อยรักภาษา กิจกรรมหน กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย จัดกิจกรรมบูรณาการทักษะวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และสเต็มศึกษา(SMT) กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ

          จากกระบวนการดังกล่าว ส่งผลให้เด็กปฐมวัยทุกคน มีผลการประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญาอยู่ในระดับดี คือสื่อสารสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ เล่าเรื่องราวจากประสบการณ์เดิมของตนเองให้ผู้อื่นฟังได้ รู้จักตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสงสัยและพยายามค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง มีความสามารถในการคิดรวบยอด จากการบอกลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงหรือความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ จากการสังเกตโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และใช้เทคโนโลยี เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก กล้องดิจิตอล คอมพิวเตอร์ เป็นต้น อธิบายเชื่อมโยงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้น คาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นและมีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตุผล มีการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ ได้ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ สนใจในเรื่องการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ สนใจหยิบจับหนังสือนิทานและเขียนสื่อความคิดของตนเอง มีความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม

ผลการดำเนินงาน  

ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา

 

ร้อยละของเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา                                           

ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์รายด้านในระดับดี ภาคเรียนที่ 2 / 2563

ระดับชั้น

จำนวนเด็ก

ผู้เรียนระดับปฐมวัยที่มีพัฒนาการในระดับดี (คน)

ร่างกาย

ร้อยละ

อารมณ์-จิตใจ

ร้อยละ

สังคม

ร้อยละ

สติปัญญา

ร้อยละ

อนุบาลปีที่ 1

-

-

-

-

-

-

-

-

-

อนุบาลปีที่ 2

7

7

100

7

100

7

100

7

100

อนุบาลปีที่ 3

6

6

100

6

100

6

100

6

100

รวม

13

13

100

13

100

13

100

13

100

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1Lh33BkaaI3zVe-VNOvCLcNdIeV9UJ8aY/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

มาตรฐานที่ 2กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินระดับ ดีเลิศ

          2.1 กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๔ (ท่าใหม่บ้านสิ้ว)  มีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการ PDCA (วางแผน ลงมือทำ ตรวจสอบประเมินผลและพัฒนาปรับปรุง) และเทคนิคการประชุม PLCเห็นได้จากการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา

          มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ครูทุกคนสามารถจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงการ (Project  Approach) และการสอนแบบหน่วยโดยมีการวิเคราะห์หลักสูตรและออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับสภาพและบริบทของท้องถิ่น

          มีการจัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียนซึ่งมีครูประจำการที่จบเอกการศึกษาปฐมวัยจำนวน 1  คน ดูแลนักเรียนปฐมวัยทั้งหมด 12 คน ซึ่งถือเป็นอัตรากำลังที่เพียงพอ

          มีโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในโรงเรียน โดยครูต้องเข้ารับการพัฒนาตนเองอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เช่น การศึกษาดูงาน การเข้ารับการอบรมโครงการคูปองครู การประชุม                    เชิงปฏิบัติการ การสัมมนา  อบรมออนไลน์ เป็นต้น

          มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด ห้องน้ำ ห้องส้วม                   แหล่งเรียนรู้ทั้งในห้องเรียน เช่น มุมหนังสือ มุมธรรมชาติ มุมเสริมประสบการณ์ต่าง ๆ และแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนครูจัดมุมประสบการณ์ในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้แก่เด็กได้อย่างเหมาะสม

          มีการอำนวยความสะดวกและให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ มีอุปกรณ์สื่อเทคโนโลยี เครื่องคอมพิวเตอร์ ทีวีและระบบอินเตอร์เน็ตครบทุกชั้นเรียน เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

          มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เห็นได้จากการมีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติงานของโรงเรียน โดยการให้ความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครองในชั้นเรียน ชุมชนและท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเช่น เทศบาลตำบลสองพี่น้อง โรงพยาบาลสองพี่น้องสถานีตำรวจภูธรทุ่งเบญจา และผู้ปกครองนักเรียนให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาเป็นอย่างดี

ผลการดำเนินงาน  

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา

 

2.1 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย  ปีการศึกษา 2563

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด

ปีการศึกษา 2563

ค่าเป้าหมาย

ผลการดำเนินการ

มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพของเด็ก

ดีเลิศ

ยอดเยี่ยม

1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

ร้อยละ 90

ร้อยละ 100

1.2 มีพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้

ร้อยละ 90

ร้อยละ 100

1.3 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

ร้อยละ 90

ร้อยละ 100

1.4 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้

ร้อยละ 90

ร้อยละ 100

 

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดีเลิศ

ดีเลิศ

2.1 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

ดีเลิศ

ดีเลิศ

2.2 จัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียน

ดีเลิศ

ยอดเยี่ยม

2.3 ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

ดีเลิศ

ยอดเยี่ยม

2.4 จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

ดีเลิศ

ดีเลิศ

2.5 ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

ดีเลิศ

ดีเลิศ

2.6มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

ดีเลิศ

ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ดีเลิศ

ดีเลิศ

  3.1 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

ดีเลิศ

ดีเลิศ

  3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับปะสบการตรงเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

ดีเลิศ

ดีเลิศ

  3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

ดีเลิศ

ดีเลิศ

  3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

ดีเลิศ

ดีเลิศ

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา

ดีเลิศ

ดีเลิศ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1II6z2Tz4pEAi_y403pdBfP1_0zD1AgUQ/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผลการประเมินระดับ  ดีเลิศ

        3.1 กระบวนการพัฒนา

          ครูปฐมวัยจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มตามศักยภาพ

          ครูมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายและได้รับการส่งเสริมพัฒนาการครอบคลุมทุกด้านทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์ จิตใจสังคมและสติปัญญา ไปพร้อมกันโดยไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่ง โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรสถานศึกษา จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ เพื่อให้สัมพันธ์กับพัฒนาการและความต้องการของเด็กตามวัย และบริบทของท้องถิ่นที่เด็กอาศัยอยู่ ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมประจำวัน       ครูปฐมวัยสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข

          ครูจัดประสบการณ์ ที่เชื่อมโยงจากประสบการณ์เดิม เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงศักยภาพของตนเองออกมาผ่านการทำกิจกรรมการทดลอง การสืบค้นความรู้ การเล่าเรื่อง การนำเสนอผลงาน การแสดงความคิดเห็นของตนเอง สร้างโอกาสให้เด็กเป็นผู้คิดริเริ่มและวางแผนการทำกิจกรรม ทั้งกิจกรรมที่ทำรายบุคคลและกิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความสนใจและความต้องการของตนเอง ตามแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามการเรียนรู้แบบโครงการ (Project  Approach) กิจกรรมการทดลองบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย การจัดประสบการณ์บูรณาการ STEM โดยนำมาบูรณาการจากกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม และกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ลงมือทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข

          ครูจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีความสะอาด น่าอยู่ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และปลอดภัย มีพื้นที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่หลากหลายอย่างเพียงพอ มีพื้นที่จัดแสดงผลงานของเด็ก และมีมุมประสบการณ์ที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการดูแลและจัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน  ครูมีการจัดทำสื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก

ครูมีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง เห็นได้จาก บันทึกหลังการจัดประสบการณ์ การประเมินพัฒนาการเด็กจากพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมและจากการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน โดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน มีการนำผลที่ได้จากการสังเกตและประเมินพัฒนาการเด็ก เห็นได้จาก การรายงานผลการประเมินพัฒนาการของเด็ก นำผลการประเมิน มาจัดทำเป็นเอกสารความก้าวหน้าของเด็กเป็นรายบุคคลที่สามารถบอกเรื่องราว ประสบการณ์ผู้สอนประเมินผลพัฒนาการตามสภาพที่พึงประสงค์และตัวบ่งชี้ที่กำหนดเป็นเป้าหมายในแต่ละแผนการจัดประสบการณ์ของหน่วยการเรียนรู้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การสังเกต การสนทนา การสัมภาษณ์ การรวบรวมผลงานที่แสดงออกถึงความก้าวหน้า แต่ละด้านของเด็กเป็นรายบุคคล การแสดงกริยาอาการต่างๆของเด็กตลอดเวลาที่จัดประสบการณ์เรียนรู้

       

ผลการดำเนินงาน  
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1II6z2Tz4pEAi_y403pdBfP1_0zD1AgUQ/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จุดเด่น จุดควรกระบวนการพัฒนา แนวทางการพัฒนาในอนาคต

ระดับการศึกษาปฐมวัย

จุดเด่น

จุดควรพัฒนา

แนวทางการพัฒนาในอนาคต

1. ด้านคุณภาพเด็ก

     เด็กปฐมวัยโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๔ มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านที่เหมาะสม มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้ ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม

 

  เด็กยังขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจในเรื่องที่ซับซ้อนและทักษะการแก้ปัญหา

ครูควรจัดประสบการณ์ให้กับเด็กที่มีความแตกต่างและเด็กที่มีความสามารถที่โดดเด่นเพื่อส่งเสริมให้เด็กที่มีความสามารถพิเศษมีศักยภาพที่มากขึ้น

 

 

จัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและฝึกการคิดและการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่หลากหลาย

จัดกิจกรรมหนูน้อยคนเก่งเพื่อส่งเสริมศักยภาพเด็กให้ถึงขีดสุด

2. กระบวนการบริหารและการจัดการ

         มีกระบวนการบริหารจัดการที่เป็นระบบ กำหนดนโยบายและแผนที่ชัดเจนและครูนำไปปฏิบัติได้อย่างมีคุณภาพ

    ในปีการศึกษา 2563 มีการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการในการสอนให้เหมาะสนกับสถานการณ์ซึ่งทางโรงเรียนยังมีปัญหาในด้านการสนับสนุนสื่อและอุปกรณ์ต่างๆซึ่งไม่เพียงพอ

 

  

 ระดมทรัพยากรจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงพัฒนาและจัดทำกิจกรรมระบบดูแลความปลอดภัย

 

3. การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ครูมีการจัดประสบการณ์ที่ ใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายสนองต่อความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก

 

ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ค่อนข้างน้อย

 

 

จัดกิจกรรมสายสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จุดเด่น จุดควรพัฒนาผลการดำเนินการ  แนวทางการพัฒนาในอนาคต

ระดับการศึกษาปฐมวัย

จุดเด่น

ผลการดำเนินการ

แนวทางการพัฒนาในอนาคต

1. ด้านคุณภาพเด็ก

     เด็กปฐมวัยโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๔ มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านที่เหมาะสม มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้ ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม

จากกระบวนการดังกล่าว ส่งผลให้เด็กปฐมวัยทุกคน มีผลการประเมินพัฒนาการด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับดีเลิศ คือสื่อสารสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ เล่าเรื่องราวจากประสบการณ์เดิมของตนเองให้ผู้อื่นฟังได้ รู้จักตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสงสัยและพยายามค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง มีความสามารถในการคิดรวบยอด จากการบอกลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงหรือความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ จากการสังเกตโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และใช้เทคโนโลยี

 

 

จัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและฝึกการคิดและการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่หลากหลาย

จัดกิจกรรมหนูน้อยคนเก่งเพื่อส่งเสริมศักยภาพเด็กให้ถึงขีดสุด

2. กระบวนการบริหารและการจัดการ

         มีกระบวนการบริหารจัดการที่เป็นระบบ กำหนดนโยบายและแผนที่ชัดเจนและครูนำไปปฏิบัติได้อย่างมีคุณภาพ

มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เห็นได้จากการมีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติงานของโรงเรียน โดยการให้ความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครองในชั้นเรียน ชุมชนและท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเช่น เทศบาลตำบลสองพี่น้อง โรงพยาบาลสองพี่น้องสถานีตำรวจภูธรทุ่งเบญจา และผู้ปกครองนักเรียนให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาเป็นอย่าง

  

 ระดมทรัพยากรจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงพัฒนาและจัดทำกิจกรรมระบบดูแลความปลอดภัย

 

3. การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ครูมีการจัดประสบการณ์ที่ ใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายสนองต่อความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก

ครูจัดประสบการณ์ ที่เชื่อมโยงจากประสบการณ์เดิม เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงศักยภาพของตนเองออกมาผ่านการทำกิจกรรมการทดลอง การสืบค้นความรู้ การเล่าเรื่อง การนำเสนอผลงาน การแสดงความคิดเห็นของตนเอง สร้างโอกาสให้เด็กเป็นผู้คิดริเริ่มและวางแผนการทำกิจกรรม ทั้งกิจกรรมที่ทำรายบุคคลและกิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความสนใจและความต้องการของตนเอง ตามแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามการเรียนรู้แบบโครงการ (Project  Approach) กิจกรรมการทดลองบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย การจัดประสบการณ์บูรณาการ STEM โดยนำมาบูรณาการจากกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม และกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ลงมือทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข

 

 

 

จัดกิจกรรมสายสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1II6z2Tz4pEAi_y403pdBfP1_0zD1AgUQ/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  
ผลการดำเนินงาน  
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  
ผลการดำเนินงาน  
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  
ผลการดำเนินงาน  
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  
ผลการดำเนินงาน  
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก