รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านช่องกะพัด

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา: ระดับปฐมวัย

โรงเรียนบ้านช่องกะพัดจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยแบบยึดแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ในบริบทของ สพฐ. เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 3 รวม 121 คน ครู 6 คน จัดทำรายงานการประเมิน คุณภาพของตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 2563 นำเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด อยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลการ ดำเนินงานดังนี้ จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561 จากผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานสถานศึกษาระดับปฐมวัย

มาตรฐานที่1คุณภาพเด็ก ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

มาตรฐานที่2กระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

มาตรฐานที่3การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดีดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัย ปฏิบัติตนตามข้อตกลงเกี่ยวกับ ความปลอดภัย หลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค สิ่งเสพติด และระวังภัยจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ที่เสี่ยงต่ออันตราย มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ เด็กร่าเริงแจ่มใส แสดงความรู้สึกได้เหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย ยอมรับและพอใจในผลงานของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ช่วยเหลือ แบ่งปัน เคารพสิทธิ รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ อดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด ชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว มีพัฒนาการทางด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน มีวินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียง มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายในและนอกห้องเรียน และมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย ยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ แก้ไขความขัดแย้งโดยปราศจากความรุนแรง และมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิด พื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ สนทนา เล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนสงสัย อ่านนิทานเล่าเรื่องได้เหมาะสมกับวัยมีความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจ ในเรื่องง่ายๆ ได้ สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการและใช้สื่อเทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ สถานศึกษามีการประเมินและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น มีครูเพียงพอและเหมาะสมกับชั้นเรียน มีการส่งเสริมให้ครู มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคลตรงความต้องการของครูและสถานศึกษา มีสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัย และมีสื่อ เพื่อการเรียนรู้อย่างพอเพียงและหลากหลาย ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษามีการชี้แนะระหว่างการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อคุณภาพมาตรฐานของสถานศึกษา บูรณาการการปฏิบัติงานและเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และครูสามารถจัดประสบการณ์ ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างสมดุลเต็มศักยภาพโดย ความร่วมมือของพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น ปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ลงมือทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยเด็กมีส่วนร่วม ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมนำผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา:ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนบ้านช่องกะพัด จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษามีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1 – 6 จำนวน 368 คน ครูผู้สอน 21 คน จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR)ปีการศึกษา 2562 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับดี มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

มาตรฐานที่1คุณภาพนักเรียน ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

มาตรฐานที่2กระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

มาตรฐานที่3กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่า โรงเรียนบ้านช่องกะพัด มุ่งเน้นที่การพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนเน้นที่การบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม โดยให้ความสำคัญกับการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษารวมทั้งระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามมาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเน้นที่การปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการปฏิบัติที่นำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จากผลการดำเนินงาน และการพัฒนา พบว่า มีผลการประเมิน อยู่ในระดับ ดี ทั้งนี้ เพราะมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับ ดีเลิศ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดีเลิศ และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดีเลิศ ทั้งนี้ ผลที่เกิดจากการพัฒนา ด้านคุณภาพผู้เรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความสามารถในการอ่านเขียน ผ่านการประเมินความสามารถในการอ่านออกของผู้เรียน (RT) ค่าเฉลี่ยรวม 2 สมรรถนะร้อยละ 77.45 (ดีมาก) ผลการทดสอบวัดความสามารถ การประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คะแนนเฉลี่ย 40.30 การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนเฉลี่ย 42.12 ผลการประเมินคุณลักษณ์อันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามตัวบ่งชี้/มาตรฐาน ได้ระดับคุณภาพ ดีเลิศ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านช่องกะพัด ได้ระดับคุณภาพ ดีเลิศ ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการสถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจอย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาความต้องการของชุมชน แผนการศึกษาแห่งชาติ และนโยบาย ของรัฐบาล มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมาย ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครู และสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับ สภาพของสถานศึกษา และด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูสามารถ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียนครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

1. คำสั่งโรงเรียนบ้านช่องกะพัด ที่ 4/2564

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563

2. รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ ทบทวน และรายงานคุณภาพการศึกษา (SAR)

ประจำปีการศึกษา 2562

3. กำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย

ประจำปีการศึกษา 2562

4. กำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ประจำปีการศึกษา 2562

5. การประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ

(National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562

6. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET)

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562

7. รายงานผลการทดสอบ RT , NT และ O-NET

8. สรุปผลสัมฤทธิ์ระดับโรงเรียน

9. สรุปการตรวจสอบและประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ปีการศึกษา2562

10. สรุปการตรวจสอบและประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา2562

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีการศึกษา 2564
ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น (ระบุแผนงานโครงการ/กิจกรรม)

1) จัดประสบการณ์เรียนรู้ปฐมวัย(MONTESSORI) ในบริบทของ สพฐ.

- กิจกรรมเล่นตามมุม (เคารพสิทธิของตนเองและรู้จักสิทธิของผู้อื่น)

2) จัดโครงการเด็กแห่งอนาคต (โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย)

- กิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

3)จัดโครงการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต (Active Learning)

- กิจกรรมค่ายลูกแมว (เรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครอง)

4) จัดกิจกรรมปฐมวัยกับการเรียนรู้แบบ STEM (สสวท.)

- กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ 10 กิจกรรม

ตามโครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์เรียนรู้ปฐมวัย

5) จัดกิจกรรมยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ การอ่าน การเขียน และคิดวิเคราะห์ชั้นอนุบาลปีที่ 3

ตามโครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์เรียนรู้ปฐมวัย


มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น (ระบุแผนงานโครงการ/กิจกรรม)

จัดทำเครื่องมือในการติดตามประเมินผลโครงการการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ได้แก่

1) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ

2) โครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายใน

3) โครงการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต (Active Learning)

4) โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

5) โครงการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางการศึกษา

6) โครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์เรียนรู้ปฐมวัย


 

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น (ระบุแผนงานโครงการ/กิจกรรม)

1) จัดทำโครงการปรับปรุงหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2561

2) อบรมพัฒนาครูในการใช้สื่อ เทคโนโลยี สู่ห้องเรียน

3) ครูใช้กระบวนการPLC ในการแก้ปัญหาในชั้นเรียน

 

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น (ระบุแผนงานโครงการ/กิจกรรม)

1) พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในแต่ระดับชั้น

2) พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญ ไตร่ตรองพิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา

อย่างมีเหตุผล

3) พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ด้วยตนเองและทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

4) พัฒนาให้นักเรียน มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม

5) พัฒนาให้นักเรียน มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิม

ในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการต่าง ๆ

6) พัฒนาให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในการทดสอบระดับชาติ มีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการ มีเจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น

7) พัฒนาให้นักเรียนมีค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนดมีความภูมิใจในท้องถิ่น

เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีไทย รวมทั้งภูมิปัญญาไทย

8) พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสม

9) ดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น (ระบุแผนงานโครงการ/กิจกรรม)

จัดทำเครื่องมือในการติดตามประเมินผลโครงการการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ได้แก่

1) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ

2) โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3) โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและห้องสมุดมีชีวิต

4) โครงการเศรษฐกิจพอเพียง "เรียนรู้สู่อาชีพ”

5)โครงการนิเทศภายในสถานศึกษา

6)โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร

7)โครงการสถานศึกษาน่าอยู่ (สะอาด บรรยากาศสดชื่น ร่มรื่น ปลอดภัย)

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น (ระบุแผนงานโครงการ/กิจกรรม)

1) จัดทำโครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา

2) จัดประกวดโครงงานระดับชั้นเรียน

3) อบรมพัฒนาครูในการจัดทำ/ใช้สื่อ เทคโนโลยี สู่ห้องเรียน

4) จัดกิจกรรมสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ/นักเรียนเรียนรวมให้สามารถพัฒนาได้ตามศักยภาพ


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

 ข้อมูลทั่วไป

1.1 ชื่อสถานศึกษาโรงเรียนบ้านช่องกะพัด

1.2 ที่อยู่เลขที่1หมู่ที่ 11บ้านวังตาเมือง  ตำบลแก่งหางแมว  อำเภอแก่งหางแมว

จังหวัดจันทบุรี  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

โทรศัพท์ 039 – 308176 โทรสาร 039 - 308176 

e-mail : chongkapad@gmail.com

website  : http://data.bopp-obec.info/web/?School_ID=1022060188 

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

1.3 ชื่อผู้บริหาร       นายศุภณัฏฐ์ปรานต์ชนิษฎา    โทร 087-9227555     ผู้อำนวยการโรงเรียน

                         นางสาวเพ็ญนภา วิสารวุฒิ      โทร 089-2441226     รองผู้อำนวยการโรงเรียน

1.4 ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พุทธศักราช 2482 มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 13 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา เปิดการเรียนการสอน 2 ระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา  

1.5 มีเขตพื้นที่บริการ 12 หมู่บ้าน ดังนี้ 
ตำบลแก่งหางแมว ได้แก่ หมู่ 1, 2, 5, 11, 12, 15 ,16 ,19 
ตำบลขุนซ่อง ได้แก่ หมู่ 6, 8, 12, 17 1.4 
ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ ชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ประวัติของโรงเรียน 
     โรงเรียนบ้านช่องกะพัด  เริ่มก่อตั้งเป็นโรงเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2482 สร้างเป็นอาคารเรียนด้วยไม้เบญจพรรณมุงหลังคาด้วยใบไม้ อยู่กลางทุ่งนา โดยมีนายเจน ดาศรีจันทร์ เป็นครูใหญ่ และต่อมาโรงเรียนได้ย้ายมาสร้างในหมู่บ้านคู่กับสำนักสงฆ์ช่องกะพัด และ ได้ใช้ศาลาของสำนักสงฆ์ช่องกะพัดเป็นที่เรียน และสอนหนังสือให้กับเด็กนักเรียน 
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านช่องกะพัด  มีอาคารเรียน จำนวน 4 หลัง 26 ห้อง แบ่งเป็นห้องเรียน อาคารเอนกประสงค์ 2 หลัง อาคารโรงอาหาร 1 หลัง 

 

สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียน 
      1 สภาพทั่วไปของชุมชน 
         สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียน มีลักษณะเป็นชุมชนหมู่บ้านชนบท การเดินทางในหน้าฝน ค่อนข้างยากลำบาก ถนนเป็นดินลูกรัง อยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 80 กิโลเมตร สถานที่และ หน่วยงานราชการต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ วัดช่องกะพัด อำเภอแก่งหางแมว สถานีตำรวจ อำเภอแก่งหางแมว เกษตรอำเภอแก่งหางแมว ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอแก่งหางแมว สำนักงานป่าไม้อำเภอแก่งหางแมว สาธารณสุขอำเภอแก่งหางแมว โรงพยาบาลแก่งหางแมว องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งหางแมว 
     2 สภาพเศรษฐกิจของชุมชนและผู้ปกครอง 
        ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีฐานะค่อนข้างยากจน อาชีพหลักของ ชุมชน คือ เกษตรกรรม เช่น สวนยางพารา สวนผลไม้ การปลูกผัก หัตถกรรมพื้นบ้าน การแปรรูป ผลิตภัณฑ์เกษตร ร้อยละ 90 อาชีพรับจ้าง ใช้แรงงาน ร้อยละ 5 และอาชีพอื่น ๆ อีกร้อยละ 5 มีรายได้ โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว 40,000 บาท 
     3 สภาพสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน 
        ผู้ปกครองนักเรียนในชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 95 ศาสนาอื่น ๆ คิดเป็น ร้อยละ 5 ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ เพลงรำวงพื้นบ้าน 
     4 สภาพทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ 
        เนื่องจากมีภูมิประเทศส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยภูเขาและป่าธรรมชาติดังนั้นอำเภอแก่งหางแมว จึงมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย เช่น ถ้ำเขาวงกต น้ำตกคลองไพบูลย์ น้ำตกเขาสิบห้าชั้น อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น และมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในชุมชน เป็นต้น

 

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

ปรัชญา (Philosophy)

"นตฺถิ ปญฺ̣ญา สมา อาภาแสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี

วิสัยทัศน์ (Vision)

โรงเรียนบ้านช่องกะพัดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ควบคู่คุณธรรม ก้าวล้ำเทคโนโลยี

มากมีงานอาชีพ รักสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

อัตลักษณ์ (Identity)

เด็กดี วิถีพอเพียง

 

เอกลักษณ์ (Uniqueness)

สภาพแวดล้อมดี มีแหล่งเรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
2 22 0 4 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โครงสร้างหลักสูตร
          โรงเรียนใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (ฉบับปรับปรุง) มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย และคู่มือประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นหน่วยการเรียนรู้เวลาเรียนตลอดหลักสูตร 2 ปี ปีละ 40 สัปดาห์ (200 วัน โดยประมาณ) สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 5 ชั่วโมงและจัดการสอน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2551 โดยโรงเรียนได้จัดสัดส่วนสาระการเรียนรู้และเวลาเรียน ดังแสดงในตารางต่อไปนี้
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย

กิจกรรมประจำวัน
อนุบาลปีที่1
(4 ปี)
ชั่วโมง : วัน
1 การเคลื่อนไหวและจังหวะ 20 นาที 
2 กิจกรรมสร้างสรรค์ 30 นาที 
3 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 30 นาที .
4 กิจกรรมเสรี 30 นาที 
5 กิจกรรมกลางแจ้ง 40 นาที 
6 เกมการศึกษา 30 นาที 
7 ทักษะพื้นฐานในชีวิตประจำวัน
(การช่วยเหลือตนเองในการรับประทานอาหาร
ดื่มนม สุขอนามัย และการนอนพักผ่อน) 2 ชม. 

รวมทั้งสิ้น 5 ชม. /วัน 
1,000 ชม./ปี 

อนุบาลปีที่2
(5 ปี)
ชั่วโมง : วัน 
1 การเคลื่อนไหวและจังหวะ  20 นาที
2 กิจกรรมสร้างสรรค์  1 ชม.
3 กิจกรรมเสริมประสบการณ์  1 ชม.
4 กิจกรรมเสรี  50 นาที
5 กิจกรรมกลางแจ้ง  50 นาที
6 เกมการศึกษา  30 นาที
7 ทักษะพื้นฐานในชีวิตประจำวัน
(การช่วยเหลือตนเองในการรับประทานอาหาร
ดื่มนม สุขอนามัย และการนอนพักผ่อน) 1 ชม. 30 นาที

รวมทั้งสิ้น  5 ชม. /วัน
 1,000 ชม./ปี

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                         โรงเรียนบ้านช่องกะพัด ได้ประกาศใช้หลักสูตรโรงเรียนบ้านช่องกะพัด พุทธศักราช 2553 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) โดยเริ่มใช้หลักสูตรดังกล่าวกับนักเรียนทุกระดับชั้นในปีการศึกษา 2553 ต่อมาในปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านช่องกะพัด ได้เพิ่มรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องรับกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ มีเวลาในการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การสร้างวินัย การมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ยึดมั่น ในสถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ และมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยตลอดจนการเรียนการสอนในวิชาประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง รวมถึงการสอนศีลธรรมแก่นักเรียน และในปีการศึกษา 2560 อ้างอิงตาม คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ. 1239/2560 เรื่องให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561) ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560 และคำสั่ง สพฐ. ที่ 30/2561 เรื่องให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561) ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561 ประกาศ สพฐ. เรื่อง การบริการจัดการหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561) ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการเวลาเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 จึงมีความจำเป็นที่โรงเรียนต้องดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนบ้านช่องกะพัดจึงได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรโดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ได้เพิ่มเติม สาระภูมิศาสตร์ (2) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีการปรับลดเนื้อหา ปรับย้ายเนื้อหาระหว่างชั้น และเพิ่มเนื้อหาใหม่ จำนวน 3 สาระการเรียนรู้ สาระที่ 1 จำนวนและพีชคณิต สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต สาระที่ 3 สถิติและความน่าจะเป็น (3) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีการย้ายสาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมาเป็นสาระที่ 4 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ได้เปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็น "กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ” (4) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 4 เทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วย การออกแบบและเทคโนโลยี และ วิทยาการคำนวณ และในการนี้ได้เปลี่ยนชื่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้จากเดิม "กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์” เป็น "กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี” โดยได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โครงสร้างรายวิชา คำอธิบายรายวิชา ตลอดจนหน่วยการจัดการเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1,4 (ในปีการศึกษา 2561) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2,5 (ในปีการศึกษา 2562) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3,6 (ในปีการศึกษา 2563)

โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนบ้านช่องกะพัด

โครงสร้างเวลาเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ตามหลักสูตรสถานศึกษาปรับปรุง พ.ศ. 2563

  

กลุ่มสาระการเรียนรู้

ระดับประถมศึกษา

ป.1

ป.2

ป.3

ป.4

ป.5

ป.6

รายวิชาพื้นฐาน

 

ภาษาไทย

160

160

160

160

160

160

คณิตศาสตร์

160

160

160

160

160

160

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

80

80

80

120

120

120

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

80

80

80

80

80

80

ประวัติศาสตร์

40

40

40

40

40

40

สุขศึกษาและพลศึกษา

80

80

80

80

80

80

ศิลปะ

80

80

80

80

80

80

การงานอาชีพ

40

40

40

40

40

40

ภาษาอังกฤษ

120

120

120

80

80

80

รวมเวลาเรียน(พื้นฐาน)

840

840

840

840

840

840

รายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม

 

อ่าน เขียน เรียนดี

 

 

 

40

40

40

หน้าที่พลเมือง *

40

40

40

40

40

40

ภาษาอังกฤษเสริม

80

80

80

40

40

40

รวมเวลาเรียน (เพิ่มเติม)

120

120

120

120

120

120

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 

กิจกรรมแนะแนว

40

40

40

40

40

40

กิจกรรมนักเรียน

40

40

40

40

40

40

• ลูกเสือ – เนตรนารี

• ชมรม ชุมนุม

40

40

40

40

40

40

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

นอกชั่วโมงเรียน

รวมเวลากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

120

120

120

120

120

120

รวมเวลาเรียน

1,080

1,080

1,080

1,080

1,080

1,080





ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลด้านอาคารสถานที่ 
     1 อาคารเรียนจำนวน 4 หลัง อาคารประกอบจำนวน 5 หลัง ส้วม 3 หลัง
สนามเด็กเล่น 1 สนาม 
สนามฟุตบอล 1 สนาม
สนามวอลเล่ย์บอล 1 สนาม
     2 จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 15 ห้องเรียน
     3 มีห้องสมุด ขนาด 270 ตารางเมตร มีหนังสือทั้งหมด 6,533 เล่ม
     4 โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน  มีการติดตั้งอินเตอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าของนักเรียน 

หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

โรงเรียนบ้านช่องกะพัดมีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาที่หลากหลาย 
แหล่งเรียนรู้ภายใน
1. ห้องสมุด
2. ห้องคอมพิวเตอร์
3. ห้องดนตรี
4. แปลงเกษตร / ลานเศรษฐกิจพอเพียง
5. สวนพฤกศาสตร์
6. ห้องสหกรณ์
แหล่งเรียนรู้ภายนอก
1. วัดช่องกะพัด
2. ห้องสมุดประชาชน
3. โรงพยาบาลแก่งหางแมว
4. ที่ว่าการอำเภอ
5. อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น
นอกจากนี้ยังมีแหล่งเรียนรู้ภายนอกที่เพิ่มเติมตามกิจกรรมเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ในแต่ละปีการศึกษา 
โดยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 และประถมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษาละ 2 แห่ง 
ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษาละ 2-3 แห่ง
และทางโรงเรียนได้จัดทำสถิติจำนวนนักเรียนที่ใช้แหล่งเรียนรู้ได้ ดังนี้
       แผนภูมิแสดงจำนวนนักเรียนที่ใช้แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา                                 แผนภูมิแสดงจำนวนนักเรียนที่ใช้แหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา
                  


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  4.17
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนบ้านช่องกะพัดได้ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางจัดประสบการณ์ การเรียนรู้และจัดกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 3 6 ปี ให้มีพฤติกรรมหรือความสามารถ บนพื้นฐานพัฒนาการตามวัยหรือความสามารถตามธรรมชาติในแต่ละระดับอายุเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดสาระการเรียนรู้ในการจัดประสบการณ์และประเมินพัฒนาการเด็กโดยยึดรายละเอียดของมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โดยมีการดำเนินโครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามแผนปฏิบัติการ ปีการศึกษา 2563
ผลการดำเนินงาน  เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดีดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัย ปฏิบัติตนตามข้อตกลงเกี่ยวกับความปลอดภัย หลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 19 เด็กรู้วิธีและแนวทางการป้องกันตนเองให้ห่างไกลโรค ดำเนินชีวิตตามแนววิถีชีวิตใหม่ (New – Normal) รวมทั้งห่างไกลจากสิ่งเสพติด และระวังภัยจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ที่เสี่ยงต่ออันตราย มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออก ทางอารมณ์ได้ ร่าเริงแจ่มใส แสดงความรู้สึกได้เหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย ยอมรับและพอใจในความสามารถผลงานของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ช่วยเหลือ แบ่งปัน เคารพสิทธิ รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ อดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด ชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว มีพัฒนาการทาง ด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันมีวินัย ในตนเอง ประหยัดและพอเพียง มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน และ มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย ยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ แก้ไขความขัดแย้งปราศจากความรุนแรง และมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิด พื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ สนทนา เล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่ง ที่ตนสงสัย อ่านนิทานเล่าเรื่องได้เหมาะสมกับวัยมีความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ ได้ สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการและใช้สื่อเทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 - รายงาน สรุป โครงการ/กิจกรรม - เกียรติบัตร/เหรียญรางวัล - แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ - แบบบันทึกการตรวจสุขภาพ - แบบบันทึกการแปรงฟัน - แบบบันทึกอาหารเสริม (นม) - แบบบันทึกความดี - แบบบันทึกยืม/คืนหนังสือ - แฟ้มสะสมผลงานนักเรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4.28
กระบวนการพัฒนา  สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โดยสถานศึกษาออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมและไม่เร่งรัดวิชาการ เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กปกติ และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น จัดครูให้เหมาะสมกับภารกิจการเรียน การสอนหรือจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยหรือผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัย อย่างพอเพียงกับชั้นเรียน พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็ก ใช้ประสบการณ์สำคัญในการออกแบบการจัดกิจกรรม มีการสังเกตและประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก และครอบครัว มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและกลุ่ม เล่นแบบร่วมมือร่วมใจ มีมุมประสบการณ์หลากหลาย มีสื่อการเรียนรู้ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน สื่อจากธรรมชาติ สื่อสำหรับเด็กมุด ลอด ปีนป่าย สื่อเทคโนโลยี สื่อเพื่อการสืบเสาะหาความรู้ สถานศึกษาอำนวยความสะดวก และให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุ และอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์และพัฒนาครู กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดและดำเนินการตามแผน มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี นำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงาน ต้นสังกัด
ผลการดำเนินงาน  สถานศึกษามีการประเมินและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น มีครูเพียงพอและเหมาะสมกับชั้นเรียนมีการส่งเสริมให้ครู มีความเชี่ยวชาญ ด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคลตรงความต้องการของครูและสถานศึกษา มีสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัย และมีสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างพอเพียงและหลากหลาย ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา การชี้แนะระหว่าง การปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อคุณภาพมาตรฐานของสถานศึกษา บูรณาการการปฏิบัติงานและเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 - หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2561 - แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา - แผนปฏิบัติราชการประจำปี - รายงานการปฏิบัติงานและผลการประเมินตนเองรายบุคคล (SAR) - แบบบันทึกการปฏิบัติงาน - รายงานการนิเทศภายใน - รายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา - รายงานการอบรมพัฒนาของครูบุคลากร - บันทึกการเข้ารับการอบรม/ประชุม - บันทึกการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา - บันทึกการประชุมของโรงเรียนบ้านช่องกะพัด - รายงานสรุปโครงการ/กิจกรรม
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  3.98
กระบวนการพัฒนา  ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ รู้จักเด็กเป็นรายบุคคลและสร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัส จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย มีการติดตามและประเมินผลพัฒนาการเด็กอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้านทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ครูจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความต้องการ ความสนใจ ความสามารถ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กได้เลือกเล่น เรียนรู้ ลงมือ กระทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จัดห้องเรียนให้สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก ปลอดภัย มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก พื้นที่สำหรับจัดมุมประสบการณ์และการจัดกิจกรรม เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน เช่น ป้ายนิเทศ การดูแลต้นไม้ เป็นต้น ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ระยะความสนใจ และวิถีการเรียนรู้ของเด็ก เช่น กล้องดิจิตอล คอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนรู้กลุ่มย่อย สื่อของเล่นที่กระตุ้นให้คิดและ หาคำตอบ เป็นต้น ครูประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช้แบบทดสอบ วิเคราะห์ผลการประเมินพัฒนาการเด็กโดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม และนำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็กและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินงาน  ครูสามารถจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์/จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างสมดุลเต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น ปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ลงมือทำ และสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเองอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยเด็กมีส่วนร่วม ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมนำผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 - หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2561 - ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล - แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ - รายงาน สรุป โครงการ/กิจกรรม - แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ - รายงานวิจัยในชั้นเรียน - แบบบันทึกความรู้/โครงงาน - นวัตกรรมการสอน - เกียรติบัตร/เหรียญรางวัล
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4.14
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
เด็กปฐมวัย มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์/จิตใจ สังคม และสติปัญญา สามารถเคลื่อนไหวตามจังหวะได้ เป็นผู้นำผู้ตามที่ดีตามบริบท สร้างงานศิลปะอย่างสร้างสรรค์ มีสุขภาพจิตที่ดี ร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส และมีความสุข

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

1) สถานศึกษามีครูและบุคลากรเพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2) ครูมีประสบการณ์และผ่านการอบรมครบทุกคน

3) สถานศึกษามีเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตสำหรับการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ และมีสื่อเทคโนโลยีประเภทDLTV ครบทุกห้อง/ชั้นเรียน สำหรับให้ครูจัดกิจกรรมการเรียน การสอนครบทุกห้องทุกชั้นเรียน

4) สภาพแวดล้อมดี สะอาด ร่มรื่นน่าอยู่

5) สถานศึกษามีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

1) ครูทุกคนสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยปีละ2เรื่อง และส่งเสริมให้นักเรียนจัดทำโครงงานอย่างน้อย 2 เรื่อง

2) มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นข้อมูล DLTV เป็นต้น

ให้ครูจัดการเรียนการสอน และให้เด็กแสวงหาความรู้ จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง

3) ครูสามารถผลิตสื่อได้สอดคล้องกับการจัดประสบการณ์เรียนรู้
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดีดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัย ปฏิบัติตนตามข้อตกลงเกี่ยวกับความปลอดภัย หลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 19 เด็กรู้วิธีและแนวทางการป้องกันตนเองให้ห่างไกลโรค ดำเนินชีวิตตามแนววิถีชีวิตใหม่ (New – Normal) รวมทั้งห่างไกลจากสิ่งเสพติด และระวังภัยจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ที่เสี่ยงต่ออันตราย มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออก ทางอารมณ์ได้ ร่าเริงแจ่มใส แสดงความรู้สึกได้เหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย ยอมรับและพอใจในความสามารถผลงานของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ช่วยเหลือ แบ่งปัน เคารพสิทธิ รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ อดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด ชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว มีพัฒนาการทาง ด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันมีวินัย ในตนเอง ประหยัดและพอเพียง มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน และ มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย ยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ แก้ไขความขัดแย้งปราศจากความรุนแรง และมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิด พื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ สนทนา เล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่ง ที่ตนสงสัย อ่านนิทานเล่าเรื่องได้เหมาะสมกับวัยมีความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ ได้ สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการและใช้สื่อเทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้

มาตรฐานที่2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
สถานศึกษามีการประเมินและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น มีครูเพียงพอและเหมาะสมกับชั้นเรียนมีการส่งเสริมให้ครู มีความเชี่ยวชาญ ด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคลตรงความต้องการของครูและสถานศึกษา มีสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัย และมีสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างพอเพียงและหลากหลาย ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา การชี้แนะระหว่าง การปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อคุณภาพมาตรฐานของสถานศึกษา บูรณาการการปฏิบัติงานและเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
ครูสามารถจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์/จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างสมดุลเต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น ปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ลงมือทำ และสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเองอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยเด็กมีส่วนร่วม ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมนำผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 - หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2561 - แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา - แผนปฏิบัติราชการประจำปี - รายงานการปฏิบัติงานและผลการประเมินตนเองรายบุคคล (SAR) - แบบบันทึกการปฏิบัติงาน - รายงานการนิเทศภายใน - รายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา - รายงานการอบรมพัฒนาของครูบุคลากร - บันทึกการเข้ารับการอบรม/ประชุม - บันทึกการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา - บันทึกการประชุมของโรงเรียนบ้านช่องกะพัด - รายงานสรุปโครงการ/กิจกรรม
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3.80
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนบ้านช่องกะพัด มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ได้ทำการศึกษา วิเคราะห์ปัญหา กำหนดกรอบทิศทางการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา และจัดทำโครงการรองรับการพัฒนาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาและของชาติ ได้ดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่หลากหลายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ได้ตามมาตรฐาน โดยทำการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านช่องกะพัด พุทธศักราช 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) เพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่ว่า "การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข ดังนั้น  โรงเรียนบ้านช่องกะพัด จึงกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนไว้ 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาในระดับชั้นที่สูงขึ้น รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

ผลการดำเนินงาน  

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความสามารถในการอ่านเขียน ผ่านการประเมินความสามารถในการอ่าน (RT) 77.45 (ดีมาก) ผลการทดสอบวัดความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คะแนนเฉลี่ย 40.30 การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนเฉลี่ย 42.12 ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศ 2.49

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4.15
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนบ้านช่องกะพัด จึงกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนไว้ 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี มีความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย สามารถอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย และมีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม ตามที่สถานศึกษากำหนด

ผลการดำเนินงาน  

ผลการประเมินคุณลักษณ์อันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามตัวบ่งชี้/มาตรฐาน ได้ระดับคุณภาพ ดีเลิศ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านช่องกะพัด ได้ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4.27
กระบวนการพัฒนา  กระบวนการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษาในโรงเรียนบ้านช่องกะพัด ได้ทำการศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาในรอบปีที่ผ่านมาโดยใช้ข้อมูลเป็นฐานใน การกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม บริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ มีการติดตาม ตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน มีการนำข้อมูลมาใช้ใน การพัฒนาบุคลากร ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา บริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ ทั้งด้านการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครู บุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และมีความปลอดภัย จัดระบบการจัดหา การพัฒนาและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ และการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา
ผลการดำเนินงาน  

สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจอย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาความต้องการของชุมชน แผนการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาล มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมาย ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครู และสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4.17
กระบวนการพัฒนา  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านช่องกะพัด ส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการคิด และปฏิบัติจริง (Active Learning) เช่น การเรียนรู้แบบโครงงาน ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็น และต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ครูทุกคนทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก เด็กรักที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัดประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์รวมทั้งให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ผลการดำเนินงาน  

ครูสามารถจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4.13
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จุดเด่นของมาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน

1) สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ฐานข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง

2) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ คิดวิเคราะห์ ทักษะการใช้เทคโนโลยี การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3) มีสื่อด้านเทคโนโลยี DLTVครบทุกห้องเรียน

4) ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี และกล้าแสดงออก

5) มีกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจ สังคมตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด เช่น ได้รับรางวัลโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี รุ่นที่ 6 ระดับประเทศ

จุดเด่นของมาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

1) สถานศึกษามีครูและบุคลากรเพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2) ครูร้อยละ 70จบการศึกษาระดับ ปริญญาโท

3) สถานศึกษามีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ มีสื่อเทคโนโลยีประเภท DLTVสำหรับให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครบทุกห้องทุกชั้นเรียน

4) สภาพแวดล้อมดี สะอาด ร่มรื่นน่าอยู่ อาคารสถานที่ปลอดภัยและเพียงพอต่อการใช้งาน

5) สถานศึกษามีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ

จุดเด่นของมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1) ครูทุกคนสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยปีละ2เรื่อง และส่งเสริมให้นักเรียนจัดทำโครงงานอย่างน้อย 2 เรื่อง

2) มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นข้อมูล DLTV เป็นต้น

ให้ครูจัดการเรียนการสอน และให้นักเรียนแสวงหาความรู้ จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง

3) ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมตลาดนัดนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม ส่งผลให้นักเรียนสามารถจัดทำโครงงาน และเข้าแข่งขันจนได้รับรางวัลในระดับชาติ เช่น รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันการทำอาหารประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับชั้น ป.1-ป.6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69, รางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น ระดับชั้น ป.4-ป.6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69 เป็นต้น


 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 ผลการดำเนินงานมาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความสามารถในการอ่านเขียน ผ่านการประเมินความสามารถในการอ่าน (RT) 77.45 (ดีมาก) ผลการทดสอบวัดความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คะแนนเฉลี่ย 40.30 การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนเฉลี่ย 42.12 ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศ 2.49

ผลการประเมินคุณลักษณ์อันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามตัวบ่งชี้/มาตรฐาน ได้ระดับคุณภาพ ดีเลิศ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านช่องกะพัด ได้ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

ผลการดำเนินงานมาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจอย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน แผนการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาล มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมาย ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครู และสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา

ผลการดำเนินงานมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูสามารถจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1SsCyc1jUNku96sHLi4475YAZePqj-IYO/view?usp=sharing