รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านโป่งวัว

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

โครงการและกิจกรรมสนับสนุนกลยุทธ์

2.1 กลยุทธ์ของโรงเรียนบ้านโป่งวัว

เพื่อการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งวัว เป็นไปตามแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนที่วางไว้จึงได้กำหนดโครงการและกิจกรรมตามกลยุทธ์โรงเรียน ดังนี้

กลยุทธ์ที่ ๑: ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ และส่งเสริมความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือการเรียนรู้

กลยุทธ์ที่ ๒: ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ที่ ๓: สร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาเต็มตามศักยภาพ ให้ทั่วถึงครอบคลุม

กลยุทธ์ที่ ๔: พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

กลยุทธ์ที่ ๕ : ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชน และท้องถิ่น ในการจัดการศึกษาและสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียน

2.2 การกำกับติดตาม

โรงเรียนบ้านโป่งวัว กำหนดแนวทางการกำกับติดตามการดำเนินงานในการบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน โดยยึดหลัก PDCA : DMING CYCLE ( วงจรคุณภาพ ) โดย Dr. Edward W.Deming ดังนี้

1) P : PLAN การวางแผนจัดทำโครงการ

- วัตถุประสงค์เหมาะสม และสอดคล้องกับแผนของพันธกิจหรือไม่

- มีการกำหนดผู้รับผิดชอบหรือไม่

- ระยะเวลาดำเนินการที่กำหนดไว้เหมาะสมหรือไม่

- งบประมาณที่กำหนดเหมาะสมหรือไม่

- มีการเสนอเพื่อขออนุมัติก่อนดำเนินการหรือไม่

2) D : DO การกำกับติดตามการปฏิบัติงานตามโครงการ

- มีการกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินการหรือไม่

- มีผู้รับผิดชอบดำเนินการได้ตามที่กำหนดไว้หรือไม่

- มีการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงไร

- สามารถดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่

- สามารถดำเนินการได้ตามงบประมาณที่กำหนดไว้หรือไม่

3) C : CHECK ตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงาน

- ได้มีการกำหนดวิธี/รูปแบบการประเมินหรือไม่

- มีรูปแบบของการประเมินเหมาะสมหรือไม่

- ผลขอการประเมินตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่

- ปัญหา/จุดอ่อนที่พบในการดำเนินการมีหรือไม่

- ข้อดี/จุดแข้ง ขอการดำเนินการมีหรือไม่

 

4) A : ACTION นำข้อมูลที่ได้จากการกำกับติดตามการดำเนินงานไปปรับปรุงต่อไป

- มีการระดมสมองเพื่อหาทางแก้ปัญหา/จุดอ่อนที่ค้นพบ

- มีการระดมสมองเพื่อหาทางส่งเสริมข้อดี/จุดแข็งเพิ่มขึ้น

- มีการนำผลที่ได้จากการระดมสมองเนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาสำหรับใช้ วางแผนจัดทำโครงการในครั้งต่อไป

- กำหนดกลยุทธ์ในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในครั้งต่อไป

2.3 ระบบการติดตามประเมินผล

โรงเรียนบ้านโป่งวัว ได้กำหนดให้มีระบบการติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งวัว ดังนี้

2.3.1 มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ

2.3.2 จัดทำคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ

2.3.3 จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานและการติดตามประเมินผล

2.3.4 ดำเนินการตามปฏิทินและติดตามประเมินผล

2.3.5 รายงานผลการปฏิบัติงานและการติดตามประเมินผล โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

- ระยะที่ 1 รายงานผลการปฏิบัติงานและการติดตามประเมินผลระหว่างปฏิบัติ

- ระยะที่ 2 รายงานผลการปฏิบัติงานและการติดตามประเมินผลเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น

แล้ว

2.3.6 นำข้อมูลที่ได้จากกรรายงานทั้ง 2 ระยะ มาศึกษาวิเคราะห์ เพื่อนำผลการศึกษาวิเคราะห์ ดังกล่าวไปพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้ดีขึ้นต่อไป
 
 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

1 แผนปฏิบัติการประจำปี
2.การรายงานการประเมินตนเอง (SAR)
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่

โครงการ/กิจกรรม
ที่มีในแผนปฏิบัติราชการ (ใหม่)

ผลที่เกิดจากการดำเนินงาน

1.    ความสามารถในการอ่าน การเขียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย

๑ .โครงการยกระดับความสามารถในการอ่านการเขียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย
1)     กิจกรรมพัฒนาการอ่านออกเขียนได้
2)     กิจกรรมการนิเทศภายใน
3)     กิจกรรมรักการอ่าน
4)     กิจกรรมการอ่านซ่อมเสริม
5)     กิจกรรมพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียน
6)     กิจกรรมคัดลายมือ

  นักเรียนมีความสามารถและทักษะในการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ ตลอดจนการสร้างนิสัยรักการอ่านทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยที่ดี

2. ผลงานหรือรางวัลที่เกิดจากการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

๒. โครงการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
1)   กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์และความเป็นเลิศทางวิชาการในการประกวดการแข่งขัน
2)   กิจกรรมพัฒนาข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา

  การปฏิบัติงานบรรลุตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานต้นสังกัด สร้างความเชื่อถือให้กับนักเรียนผู้ปกครองชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

3. ผลการเฉลี่ย 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก

๓. โครงการยกระดับผลการเรียนรู้เฉลี่ย 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
1)      กิจกรรมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
2)      กิจกรรมพัฒนากระบวนการเรียนการสอน

  นักเรียนมีผลการเรียนรู้เฉลี่ย 5 กลุ่มสาระหลักตามเป้าหมาย

4.การบริหารงบประมาณและการระดมทรัพยากรและการลงทุนจากภาคีเครือข่ายหรือภาคประชาสังคมมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

๔.  โครงการบริหารงบประมาณและการระดมทรัพยากรมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
1)  กิจกรรมการบริหารงบประมาณการเงินและพัสดุ
2)  กิจกรรมพัฒนาระบบสาธารณูปโภค
3)  กิจกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี
4)  กิจกรรมการระดมทรัพยากร 

 

  การบริหารงบประมาณเกิดประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส ดำเนินการตามระเบียบพัสดุ               มีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและได้รับทรัพยากรจากภาคีเครือข่ายชุมชนเพื่อใช้ใน                การพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 

ตัวบ่งชี้ที่

โครงการ/กิจกรรม
ที่มีในแผนปฏิบัติราชการ (ใหม่)

ผลที่เกิดจากการดำเนินงาน

5. ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาวิชาชีพ

๕. โครงการพัฒนาครูและบุคลากรเพื่อให้ได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพ
1)    กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาวิทยฐานะ
2)       กิจกรรมการประกันคุณภาพภายใน
3)       กิจกรรมการสร้างขวัญและกำลังใจครู

   ครูและบุคลากรทางการศึกษามีศักยภาพ มีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนการสอนให้เกิดคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายการจัดการศึกษาและสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน

6. การบริหารงานตามหลัก
ธรรมาภิบาล

๖.  โครงการส่งเสริมสนับสนุนให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย วินัย จรรยาบรรณของข้าราชการ
1)  กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านวินัย และจรรยาบรรณครู

   การปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายที่ทางราชการกำหนดมีความโปร่งใสตรวจสอบได้และมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเปิดประโยชน์ต่อทางราชการและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเกิดประสิทธิภาพ

7.  การมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน

๗. โครงการมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน
1)       กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง
2)       กิจกรรมประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา
3)       กิจกรรมงานธุรการและประสานเครือข่าย
4)       กิจกรรมปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่
 ให้เอื้ออำนวยต่อการจัดการศึกษา

   เกิดความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานและเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนและโรงเรียนได้รับความสนับสนุนช่วยเหลือจากผู้ปกครองและชุมชน

8. อัตราการเกณฑ์เด็กเข้าเรียนหรือการรับนักเรียนตามแผนการรับนักเรียน

๘.  โครงการรับนักเรียน
1)       กิจกรรมการวางแผนการรับนักเรียน
2)       กิจกรรมการสำรวจนักเรียนในเขตบริการ
3)       กิจกรรมการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์
4)   กิจกรรมจัดทำทะเบียนนักเรียนและรายงานข้อมูลนักเรียน

   นักเรียนได้เข้าเรียนตามแผนการรับนักเรียน สถานศึกษาจัดการศึกษาได้ครอบคลุมผู้เรียนในวัยเรียน สร้างโอกาสและคุณภาพทางการศึกษา

9.  อัตราการศึกษาต่อของนักเรียน

๙. โครงการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาต่อของนักเรียน
1)       กิจกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อ
2)       กิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน
3)       กิจกรรมจัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคล

 

    ลดปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนและนักเรียนทุกคนได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

ตัวบ่งชี้ที่

โครงการ/กิจกรรม
ที่มีในแผนปฏิบัติราชการ (ใหม่)

ผลที่เกิดจากการดำเนินงาน

10.  ผลการดำเนินงานตามนโยบากระทรวงศึกษาธิการหรือสพฐ.

๑๐. โครงการเสริมสร้างคุณภาพสถานศึกษาตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1)   กิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย
2) กิจกรรมส่งเสริมความรู้พัฒนาอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
3)   กิจกรรมส่งเสริม?

 


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

1. สภาพทั่วไป

1.1 ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งวัว ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ 13 ตำบลแก่งหางแมว

อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22160 โทรศัพท์ 062-3496632

1.2 เปิดสอนตั้งแต่ระดับ อนุบาลปีที่1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

1.3 เขตพื้นที่บริการมี 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 7 , หมู่ 8 ,หมู่ 13 และหมู่ 20

2. ข้อมูลด้านการบริหาร

2.1 ชื่อ-สกุลผู้บริหาร นายรัชพล วริศเมธากุล

วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขา การบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่ง

ที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 2 เดือน - เดือน

2.2 ประวัติของโรงเรียน

โรงเรียนบ้านโป่งวัวตั้งอยู่ที่ เลขที่ 3 หมู่ที่ 13 ตำบลแก่งหางแมว อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี

มีพื้นที่จำนวน 20 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา เป็นที่ดินที่ได้รับบริจาค จากนายเทียมและนางปราณี เนาวบุตร ราษฎรที่เข้ามาบุกเบิกพื้นที่ทำสวนยางพาราในบริเวณบ้านโป่งวัวเป็นกลุ่มแรก ๆ และได้เห็นว่าเด็ก ๆ ที่อพยพย้ายถิ่นมาตามผู้ปกครองนั้นไม่ได้เรียนหนังสือ อีกทั้งบริเวณบ้านโป่งวัวเป็นท้องที่ทุรกันดาร ห่างไกลจากตัวเมือง และการคมนาคมไม่สะดวก ทำให้เด็ก ๆ ไม่สามารถไปเรียนหนังสือได้เป็นจำนวนมากจึงได้ร่วมกันกับชาวบ้านคนอื่น ๆ ตั้งโรงเรียนเพื่อให้ลูกหลานได้มีที่เรียนหนังสือดังกล่าว

โรงเรียนบ้านโป่งวัว เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2529

โดยอาศัยอาคารเรียนชั่วคราวขนาด 2 ห้องเรียน (ซึ่งราษฎรที่อาศัยอยู่ในบ้านโป่งวัวได้ระดมกำลังกันสร้างขึ้น)

โดยเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนวัดแก่งหางแมว ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนวัดแก่งหางแมวสาขาบ้านโป่งวัว”

อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของนายพิสิษฐ์ ศรีประสม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดแก่งหางแมวในขณะนั้นและ

มีนายเด่น ตำแหน่ง อาจารย์ 1 ระดับ 4 โรงเรียนบ้านซอยสองมาช่วยราชการทำการสอนในครั้งแรก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ 312 จากโครงการพัฒนาพิเศษ ตามข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท ร่วมกับเงินบริจาคสมทบจากประชาชนอีกเป็นจำนวน 182,743 บาท รวมเป็นเงินที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งสิ้น 232,743 บาท และได้รับงบประมาณเพื่อสร้างบ้านพักครู (รื้อย้ายมาจากโรงเรียนบ้านท่าใต้) แบบกรมสามัญ 1 หลัง เป็นจำนวนเงิน 80,000 บาท

ปี พ.ศ. 2536 ได้รับงบประมาณจากการแปรญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 ขนาด 2 ชั้น 5 ห้องเรียน เป็นจำนวนเงิน 2,120,000 บาท

โรงเรียนบ้านโป่งวัวได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกเทศโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยมีนายอุทิศ แสงผ่อง ตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 4 โรงเรียนวัดแก่งหางแมวทำหน้าที่เป็นครูใหญ่เป็นการชั่วคราวต่อมา นางปัทมา สอสกุล ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านโป่งวัวตั้งแต่ ปีการศึกษา 2536 ถึง พ.ศ. 2539 ต่อมา เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2540 นายธานินทร์ ปริญโญกุล ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ

ถึง เดือน ธันวาคม 2549 หลังจากนั้นโรงเรียนบ้านโป่งวัวได้ว่างเว้นผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1 ได้แต่งตั้ง นายสุชิน ประสานพันธ์ ตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านโป่งวัว เป็นผู้รักษาการ

ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 เป็นต้นมา

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1 ได้บรรจุและแต่งตั้ง

นายรัชพล วริศเมธากุล มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งวัวถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันโรงเรียนบ้านโป่งวัวเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 96 คน บุคลากรรวมทั้งสิ้น 9 คน
การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

๑. วิสัยทัศน์โรงเรียน (Vision)

โรงเรียนบ้านโป่งวัว พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง สามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข รักความเป็นไทย อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะ

๒. พันธกิจ (Mission)

๒.๑ ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา โดยได้รับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง

๒.๒ พัฒนาผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๒.๓ ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ

๒.๔ ประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ภาคีเครือข่าย เพื่อสนับสนุนในการจัดการศึกษา


๓. เป้าหมาย (Goals)

๓.๑ ประชากรในวัยเรียนทุกคนได้รับการบริการทางการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษาอย่างมีคุณภาพ

๓.๒ ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีคุณธรรมจริยธรรม สืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีไทย บนพื้นฐานความเป็นไทย น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การดำรงชีวิต

๓.๓ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

๓.๔ ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ได้พัฒนาตนเองด้านความรู้ ด้านวิทยฐานะ มีทักษะการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

๓.๕ ผู้ปกครอง ชุมชน ภาคีเครือข่ายอุปภัมภ์ มีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการศึกษาที่มีส่วนร่วม

 

กลยุทธ์โรงเรียนบ้านโป่งวัว

กลยุทธ์ที่ 1 ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ และส่งเสริมความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือการเรียนรู้

กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ที่ 3 สร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาเต็มตามศักยภาพ ให้ทั่วถึงครอบคลุม

กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชน และท้องถิ่น ในการจัดการศึกษาและสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียน
 

 
ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 6 0 0 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งวัว  ปีการศึกษา ๒๕๖๓

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

เวลาเรียน  (ชั่วโมง/ปี)

ระดับประถมศึกษา

ป.๑

ป.๒

ป.๓

ป.๔

ป.๕

ป.๖

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๔๐

๔๐

๔๐

120

120

120

สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม
-          ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม
-          หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม
-          เศรษฐศาสตร์
-          ภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์

๔๐

 

 

๔๐

๔๐

 

 

๔๐

๔๐

 

 

๔๐

๘๐

 

 

๔๐

๘๐

 

 

๔๐

๘๐

 

 

๔๐

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

การงานอาชีพ

๔๐

๔๐

๔๐

4๐

4๐

4๐

ภาษาต่างประเทศ

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๘๐

๘๐

๘๐

รวมเวลาเรียนรายวิชาพื้นฐาน

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

รายวิชาเพิ่มเติม
 หน้าที่พลเมือง
 ต้านทุจริตศึกษา

๘๐
๔๐
๔๐

๘๐
๔๐
๔๐

๘๐
๔๐
๔๐

๘๐
๔๐
๔๐

๘๐
๔๐
๔๐

๘๐
๔๐
๔๐

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
-          กิจกรรมแนะแนว
-          กิจกรรมนักเรียน
-ลูกเสือ-เนตรนารี
-ชุมนุม ชมรม
-          กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

๑๒๐
๓๐

๔๐
๔๐

 


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

.  ข้อมูลด้านอาคารสถานที่  แหล่งเรียนรู้และการใช้งาน

          6.1 อาคารเรียนและอาคารประกอบจำนวน  หลัง  ได้แก่  อาคารเรียน หลัง

อาคารเอนกประสงค์  หลัง  (อาคารโรงอาหาร อาคารหลวงปู่ทวนอุปถัมภ์ และอาคารคอบร้าโกลด์)

          6.2  จำนวนห้องเรียนทั้งหมด   ห้องเรียน  แบ่งเป็น

                ชั้นอนุบาลปีที่ 1 -3          จำนวน  ห้องเรียน

                ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6     จำนวน  ห้องเรียน

          6.3 มีห้องสมุดขนาด  36  ตารางเมตร    มีหนังสือทั้งหมด  800 เล่ม 

          6.4 โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนจำนวน  เครื่อง มีการติดตั้งอินเตอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าของนักเรียน มีจำนวน  4  เครื่อง

          6.5 แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ได้แก่  ห้องสมุด  ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องพยาบาล ห้องวิทยาศาสตร์  ห้องเรียนอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ ห้องครัว  สวนเกษตร  สวนสมุนไพร สวนหย่อม  โรงเพาะเห็ด 

6.6  แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน  ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ในชุมชน (วัดโป่งวัว  วัดโป่งยาง  ปุ๋ยอินทรีย์ อบต.มด   จักรสานหมู่ 8  น้ำยาล้างจานหมู่ 13   สวนยางพารารอบโรงเรียน  แหล่งเรียนรู้ในอำเภอ (อบต.แก่งหางแมว  โรงพยาบาลแก่งหางแมว  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนหนองบัวทอง  สถานีตำรวจ อ.แก่งหางแมว  ที่ว่าการอำเภอแก่งหางแมว  ตลาดนัดวัดช่องกะพัด  อ่างเก็บน้ำศาลทราย  ฯลฯ) แหล่งเรียนรู้ในจังหวัดจันทบุรี (ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน อนุสาวรีย์ทุ่งนาเชย ค่ายตากสิน  ค่ายเนินวง  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี  ศาลหลักเมือง หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  โบสถ์คาทอริก  อู่ต่อเรือเสม็ดงาม  วัดเขาสุกิม วัดกะทิง  น้ำตกกระทิง  น้ำตกคลองไพบูลย์  รอยพระพุทธบาทพลวงเขาคิชฌกูฏ  หาดเจ้าหลาว พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอ่าวคุ้งกระเบน                  (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ)  แหลมเสด็จ  ป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ)  อ่าวคุ้งวิมาน  โอเอซีส ซีเวิลด์  น้ำตกพลิ้ว หาดแหลมสิงห์  ถนนอัญมณี  เจดีย์เขาพลอยแหวน  บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์  อุทยานเขาสิบห้าชั้น  น้ำตกสอยดาว หิ่งห้อยท่าสอน  แม่น้ำจันทบุรี  ตลาดริมน้ำร้อยปี สวนผลไม้ต่าง ๆ สวนพริกไทย  ฯลฯ

 


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1asaqsSU4dM04iF3Mn2Hpqr5buNPqsX8c/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ได้แก่  ห้องสมุด  ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องพยาบาล ห้องวิทยาศาสตร์  ห้องเรียนอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ 6  ห้องครัว  สวนเกษตร  สวนสมุนไพร สวนหย่อม  โรงเพาะเห็ด 

แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน  ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ในชุมชน (วัดโป่งวัว  วัดโป่งยาง  ปุ๋ยอินทรีย์ อบต.มด   จักรสานหมู่  น้ำยาล้างจานหมู่ 13   สวนยางพารารอบโรงเรียน  แหล่งเรียนรู้ในอำเภอ (อบต.แก่งหางแมว  โรงพยาบาลแก่งหางแมว  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนหนองบัวทอง  สถานีตำรวจ อ.แก่งหางแมว  ที่ว่าการอำเภอแก่งหางแมว  ตลาดนัดวัดช่องกะพัด  อ่างเก็บน้ำศาลทราย  ฯลฯ) แหล่งเรียนรู้ในจังหวัดจันทบุรี (ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน อนุสาวรีย์ทุ่งนาเชย ค่ายตากสิน  ค่ายเนินวง  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี  ศาลหลักเมือง หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  โบสถ์คาทอริก  อู่ต่อเรือเสม็ดงาม  วัดเขาสุกิม วัดกะทิง  น้ำตกกระทิง  น้ำตกคลองไพบูลย์  รอยพระพุทธบาทพลวงเขาคิชฌกูฏ  หาดเจ้าหลาว พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอ่าวคุ้งกระเบน                  (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ)  แหลมเสด็จ  ป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ)  อ่าวคุ้งวิมาน  โอเอซีส ซีเวิลด์  น้ำตกพลิ้ว หาดแหลมสิงห์  ถนนอัญมณี  เจดีย์เขาพลอยแหวน  บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์  อุทยานเขาสิบห้าชั้น  น้ำตกสอยดาว หิ่งห้อยท่าสอน  แม่น้ำจันทบุรี  ตลาดริมน้ำร้อยปี สวนผลไม้ต่าง ๆ สวนพริกไทย  ฯลฯ


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1CzirGow0B8CrK-1Ae1rYVaCM51DaWdbq/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  90
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนบ้านโป่งวัวมีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ 2 ครั้ง มีกิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวัน จัดหา อุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหนองบัวทอง ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถ สนับสนุนให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับอำเภอ มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน โดยการจัดกิจกรรมแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อนในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวม ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยจัดกิจกรรมวันสำคัญทางชาติ

          กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันแม่ วันไหว้ครู วันเข้าพรรษา ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน               มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน                     มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น อ่าน ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตน  โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ มีการจัดกิจกรรมหนูรักภาษาไทย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ครูและเพื่อนฟัง  มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่าง ๆ มีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การตัด ฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัยจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง

 

ผลการดำเนินงาน  


 

จุดเด่น

จุดที่ควรพัฒนา

เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

 

-ด้านการมีความคิดรวบยอด การแก้ปัญหาที่เกิดจากการอ่าน

-การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย

-การพัฒนา ปลูกฝังในเรื่องสุขนิสัยที่ดี เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ล้างมือก่อนออกจากห้องน้ำ ห้องส้วม และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้เป็นนิสัย

-การยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติ

-การใช้คำพูดขอบคุณ ขอโทษ

-การใช้วาจาสุภาพเหมาะสมกับวัย

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/14cT54MgjzVnkRsyzu7fR-jsDTH6KbKcO/view?usp=sharing, https://drive.google.com/file/d/1pv00lCiJQZQo4S-AX1DG85AIYAuBHkm7/view?usp=sharing, https://drive.google.com/file/d/1uvwBUvYh8rmqSabWncZh1ZiZCwjYQLQY/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  90
กระบวนการพัฒนา  

              การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนบ้านโป่งวัวได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย ได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น  พิจารณาจากวัยของเด็ก  ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ สังคม  และสติปัญญา  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้  มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ  สำหรับด้านระบบกลไก  การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้  และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

            โรงเรียนบ้านโป่งวัว ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์  และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก  ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์และจิตใจ  สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้  เช่น จัดให้มีอุปกรณ์  ของเล่น  ของใช้ เครื่องนอน  เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้พอเพียงกับเด็ก โดยจัดให้เหมาะสม  สะอาด  ปลอดภัย ให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก  ให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย  จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม  เครื่องเล่นน้ำ  เล่นทราย ที่เหมาะสมปลอดภัย จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน ล้างมือ  ทำความสะอาดร่างกาย  ห้องน้าห้องส้วม  พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว  ชุมชน และท้องถิ่นจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย  และมีครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัย ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องrพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย  มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล  มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม  ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม  มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้  มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา  ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน  

จุดเด่น

จุดที่ควรพัฒนา

- มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

- การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

- ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ

- จัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียน

- ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

- จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง

- กำหนดแผนการพัฒนาครูอย่างชัดเจน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1re__X2rLqZo7GPABL8FAuGiDno-uWfG5/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  90
กระบวนการพัฒนา  

การจัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน  ทั้งทางด้านร่างกาย   อารมณ์จิตใจ  สังคม และสติปัญญา  มีความรู้  คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข  ภายใต้คำว่า เก่ง  ดี   มีสุข ประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ   สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน  มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย  จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุก ๆ ด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม  รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้านสังคม  เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้  มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ด้านสติปัญญา   มีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม  เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ  ความสามัคคี การแบ่งปัน  และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน  ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น  ความเห็นอกเห็นใจ   มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน  ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน  และปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน

          ห้องเรียนมีบรรยากาศ  แจ่มใส กว้างขวางพอเหมาะ  มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  และการจัดกิจวัตรประจำวัน   ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต  การสอบถาม  การสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด  มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

ผลการดำเนินงาน  

จุดเด่น

จุดที่ควรพัฒนา

-เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล

-เด็กเรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม

-มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้

-ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย

 

- จัดอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย

- พัฒนาเครื่องเล่นสนามและระบบสาธารณูปโภค

- จัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1_YQlBbBMc78Vx4MMs_Gqh1h9jhXQd5Cf/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  90
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จุดเด่น

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


จุดเด่น

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

- มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

- การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

- ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ

มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

 

จุดเด่น

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

-เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล

-เด็กเรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม

-มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้

-ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย

 


ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จุดเด่น

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

-ด้านการมีความคิดรวบยอด การแก้ปัญหาที่เกิดจากการอ่าน

-การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย

-การพัฒนา ปลูกฝังในเรื่องสุขนิสัยที่ดี เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ล้างมือก่อนออกจากห้องน้ำ ห้องส้วม และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้เป็นนิสัย

-การยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติ

-การใช้คำพูดขอบคุณ ขอโทษ

-การใช้วาจาสุภาพเหมาะสมกับวัย

จุดเด่น

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

- จัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียน

- ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

- จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง

- กำหนดแผนการพัฒนาครูอย่างชัดเจน

จุดเด่น

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

- จัดอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย

- พัฒนาเครื่องเล่นสนามและระบบสาธารณูปโภค

- จัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1rq6ZnZWQcy6H-0hTbDQEqQ4Q5ncWc_Pa?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  89
กระบวนการพัฒนา  

 2.2 ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

          - มุมประสบการณ์

          - แบบบันทึกการพัฒนาการของเด็ก

          -รายงานผลการประเมินตนเอง

          -บรรยากาศ  ห้องเรียนแจ่มใส  มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ 

          -การจัดกิจวัตรประจำวัน  

          - รายงานการใช้หลักสูตรปฐมวัย

ผลการดำเนินงาน  ผลจากการประเมินการอ่านการเขียน ผู้เรียนมีความสามารถอ่านออกเขียนได้และอ่านคล่อง                ตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้นอยู่ในระดับดีถึงดีเยี่ยม มีผลการประเมินการสื่อสาร คิดคำนวณ            และคิดวิเคราะห์สามารถเขียนสื่อสารได้อยู่ในระดับดีเลิศ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล ค้นคว้าเรียนรู้สิ่งที่สนใจและสอดคล้องกับบทเรียน นำความรู้ที่ได้มาใช้ในการเรียนรู้ เช่น การทำโครงงาน การจัดทำหนังสือเล่มเล็กส่งเสริมการอ่านได้  การประดิษฐ์ตามแนวทาง Stem Education มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์                  ที่โรงเรียนกำหนด  นักเรียนเรียนจบหลักสูตรตามเวลาที่กำหนด มีทักษะการทำงานร่วมกันและมีทักษะด้านอาชีพสามารถจัดทำโครงงานที่เป็นพื้นฐานด้านอาชีพ เช่น การผลิตสิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ สวนสมุนไพรสร้างรายได้ การทำเครื่องดื่มสมุนไพร ผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร 
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1ZTSQl2d6OIDMjUGGYQFekrhItoa5syFH?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  
กระบวนการพัฒนา  

ระดับชั้น

จำนวน นักเรียนทั้งหมด

จำนวนนักเรียนตามระดับคุณภาพ

(คุณลักษณะอันพึงประสงค์)

จำนวนนักเรียนระดับดีขึ้นไป

ร้อยละของนักเรียนระดับดีขึ้นไป

ดีเยี่ยม

ดี

ผ่าน

ไม่ผ่าน

ประถมศึกษาปีที่ 1

9

8

1

-

-

9

100

ประถมศึกษาปีที่ 2

3

2

1

-

-

3

100

ประถมศึกษาปีที่ 3

9

9

-

-

-

9

100

ประถมศึกษาปีที่ 4

7

7

-

-

-

7

100

ประถมศึกษาปีที่ 5

13

13

-

-

-

13

100

ประถมศึกษาปีที่ 6

12

12

-

-

-

12

100

รวม

53

51

2

-

-

53

-

เฉลี่ยร้อยละ

100

96.23

3.77

0

0

100

-

ผลการดำเนินงาน  
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1rq6ZnZWQcy6H-0hTbDQEqQ4Q5ncWc_Pa?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  89
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดกิจกรรมระดมความคิดเห็น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาด้านต่าง ๆของสถานศึกษา ร่วมทั้งให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาของประเทศ จัดสรรงบประมาณ ทรัพยากรต่าง ๆ และมอบหมายงานให้แก่ผู้รับผิดชอบได้ดำเนินงานพัฒนางานตามแผนปฏิบัติการประจำปีให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการนิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ และสรุปผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยใช้                 วงจรคุณภาพ  (PDCA)

 

ผลการดำเนินงาน  

สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับ                   แนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีการกำหนดมาตรฐานสถานศึกษา  กำหนดเป้าหมาย แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความชำนาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์ ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ เช่น การติดตั้งคอมพิวเตอร์ PC พร้อมชุดอุปกรณ์ต่อพ่วง TV LCD  คอมพิวเตอร์สำหรับห้องปฏิบัติการจำนวน9 เครื่อง และติดตั้ง TV LCDและคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ตในห้องเรียนจำนวน 8 ชุด สามารถใช้การได้ดีทุกชุด ติดตั้งระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ครบคลุมทั่วถึงทั้งบริเวณโรงเรียน โดยติดตั้งทั้งระบบ LAN  และระบบ Wifi   จดหน้าแฟนเพจของโรงเรียน ชื่อ โป่งวัว แสงทอง  สพป.จันทบุรี เขต 1      https://www.facebook.com/โป่งวัว แสงทอง/  เพื่อให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศของโรงเรียนได้ง่ายขึ้น สะดวกต่อการติดต่อประสานงานและอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ได้มากขึ้น  มีการ ใช้ระบบกลุ่มใน Face book , Google Drive , Line และเกมส์ Kahoot  มาใช้ในการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1squDsFgsP7QgMNIPDWb59v8CLgugIM4y?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  95
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้รับการอบรมพัฒนาความรู้ที่ตรงกับความต้องการของครูและสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและมีการจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ดังนี้

1.    โครงการอบรมคุรุพัฒนา ข้าราชการครูโรงเรียนบ้านโป่งวัว จำนวน 6  คน ได้เข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาครูเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ จำนวน 6 คนคิดเป็นร้อยละ 100รวมหลักสูตรที่ครูเข้ารับการอบรมทั้งหมด 3  หลักสูตร

2.    การเข้ารับการพัฒนาจากหน่วยงานต้นสังกัด (สพป.จันทบุรี เขต 1) : ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งวัว จำนวน 6 คน ได้เข้ารับการอบรมและพัฒนาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 100รวมหลักสูตรที่เข้ารับการอบรมทั้งหมด 22 หลักสูตร

3.    โรงเรียนจัดการพัฒนาให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนภายในโรงเรียน จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ โครงการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อจัดการข้อมูลและสารสนเทศสำหรับบุคลากรโรงเรียนบ้านโป่งวัว  และ โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563

4. การเข้ารับการพัฒนาโดยครูและบุคลากรทางการศึกษาสมัครใจเข้ารับการอบรมจากหน่วยงาน

อื่น ๆ  จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ100 รวมหลักสูตรที่เข้ารับการอบรมทั้งหมด 32 หลักสูตร โดยครูสมัครเข้ารับการอบรมเองตามความสมัครใจ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการเรียนการสอนได้

5. จัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกสัปดาห์ โดยจัดแบ่งครูเป็น

กลุ่ม จำนวน 1 กลุ่ม หลังเลิกเรียน ให้ครูได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันหาแนวทางแก้ปัญหาด้านการเรียนเรียนและการทำงานของนักเรียน โดย จัดPLC ทุกวันจันทร์กับวันอังคาร

 

ผลการดำเนินงาน  

ครูมีความรู้ ทักษะมีความมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อการจัดการเรียนการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้รับจาก การพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายสอดคล้องกับหลักสูตร ปัญหา และความต้องการของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการ PLC มาใช้ในการพัฒนาตน พัฒนางานแลกเปลี่ยนเรียนรู้                  มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ  สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเป็นระดับเด็กอ่อน ปานกลาง และเก่ง ทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความแตกต่างบุคคล มีการสอนเสริมความรู้ให้ผู้เรียนกลุ่มปานกลางและกลุ่มเก่ง มีการสอนซ่อมเสริมผู้เรียนกลุ่มอ่อน มีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่และ                            นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชา มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย มีการใช้ข้อสอบจุดเน้นจากสพฐ. เพื่อวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ครูทุกคนยังมีงานวิจัยในชั้นเรียนและนำผลของงานวิจัยนั้นไปพัฒนาการเรียนการสอน ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนของครูครอบคลุมทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1dInx-vSKgx6oUBm3k2ZZiK0PFKGk2tKU?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  90
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
มาตรฐานที่ 1 สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีทั้งการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบโครงงาน รูปแบบ Stem Education รูปแบบActive leaningแบบใช้กระบวนการคิดกระบวนการแก้ปัญหาเป็นหลัก และเน้นเรื่องการอ่านออกเขียนได้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ ป.1 พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถ                ในการนำเสนอเทคนิคการสอนให้ตรงกับศักยภาพของผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีสื่อแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล เช่น ห้องสมุด ห้อง ICT ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ครูทุกคนเข้าร่วม PLC เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยเน้นการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนทุกคนทุกระดับชั้น

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
สถานศึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดกิจกรรมระดมความคิดเห็น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาด้านต่าง ๆของสถานศึกษา ร่วมทั้งให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาของประเทศ จัดสรรงบประมาณ ทรัพยากรต่าง ๆ และมอบหมายงานให้แก่ผู้รับผิดชอบได้ดำเนินงานพัฒนางานตามแผนปฏิบัติการประจำปีให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการนิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ และสรุปผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยใช้                 วงจรคุณภาพ  (PDCA)

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
สถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้รับการอบรมพัฒนาความรู้ที่ตรงกับความต้องการของครูและสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและมีการจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกสัปดาห์

1.    โครงการอบรมคุรุพัฒนา ข้าราชการครูโรงเรียนบ้านโป่งวัว จำนวน 6  คน ได้เข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาครูเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ จำนวน 6 คนคิดเป็นร้อยละ 100รวมหลักสูตรที่ครูเข้ารับการอบรมทั้งหมด 3  หลักสูตร

2.    การเข้ารับการพัฒนาจากหน่วยงานต้นสังกัด (สพป.จันทบุรี เขต 1) : ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งวัว จำนวน 6 คน ได้เข้ารับการอบรมและพัฒนาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 100รวมหลักสูตรที่เข้ารับการอบรมทั้งหมด 22 หลักสูตร

3.    โรงเรียนจัดการพัฒนาให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนภายในโรงเรียน จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ โครงการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อจัดการข้อมูลและสารสนเทศสำหรับบุคลากรโรงเรียนบ้านโป่งวัว  และ โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563

4. การเข้ารับการพัฒนาโดยครูและบุคลากรทางการศึกษาสมัครใจเข้ารับการอบรมจากหน่วยงาน

อื่น ๆ  จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ100 รวมหลักสูตรที่เข้ารับการอบรมทั้งหมด 32 หลักสูตร โดยครูสมัครเข้ารับการอบรมเองตามความสมัครใจ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการเรียนการสอนได้

5. จัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกสัปดาห์ โดยจัดแบ่งครูเป็น

กลุ่ม จำนวน 1 กลุ่ม หลังเลิกเรียน ให้ครูได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันหาแนวทางแก้ปัญหาด้านการเรียนเรียนและการทำงานของนักเรียน โดย จัดPLC ทุกวันจันทร์กับวันอังคาร

 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
ผลจากการประเมินการอ่านการเขียน ผู้เรียนมีความสามารถอ่านออกเขียนได้และอ่านคล่อง                ตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้นอยู่ในระดับดีถึงดีเยี่ยม มีผลการประเมินการสื่อสาร คิดคำนวณ            และคิดวิเคราะห์สามารถเขียนสื่อสารได้อยู่ในระดับดีเลิศ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล ค้นคว้าเรียนรู้สิ่งที่สนใจและสอดคล้องกับบทเรียน นำความรู้ที่ได้มาใช้ในการเรียนรู้ เช่น การทำโครงงาน การจัดทำหนังสือเล่มเล็กส่งเสริมการอ่านได้  การประดิษฐ์ตามแนวทาง Stem Education มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์                  ที่โรงเรียนกำหนด  นักเรียนเรียนจบหลักสูตรตามเวลาที่กำหนด มีทักษะการทำงานร่วมกันและมีทักษะด้านอาชีพสามารถจัดทำโครงงานที่เป็นพื้นฐานด้านอาชีพ เช่น การผลิตสิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ สวนสมุนไพรสร้างรายได้ การทำเครื่องดื่มสมุนไพร ผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับ                   แนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีการกำหนดมาตรฐานสถานศึกษา  กำหนดเป้าหมาย แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความชำนาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์ ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ เช่น การติดตั้งคอมพิวเตอร์ PCพร้อมชุดอุปกรณ์ต่อพ่วง TV LCD  คอมพิวเตอร์สำหรับห้องปฏิบัติการจำนวน 9 เครื่อง และติดตั้ง TV LCDและคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ตในห้องเรียนจำนวน 8 ชุด สามารถใช้การได้ดีทุกชุด ติดตั้งระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ครบคลุมทั่วถึงทั้งบริเวณโรงเรียน โดยติดตั้งทั้งระบบ LAN  และระบบ Wifi   จดหน้าแฟนเพจของโรงเรียน ชื่อ โป่งวัว แสงทอง  สพป.จันทบุรี เขต 1      https://www.facebook.com/โป่งวัว แสงทอง/  เพื่อให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศของโรงเรียนได้ง่ายขึ้น สะดวกต่อการติดต่อประสานงานและอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ได้มากขึ้น  มีการ ใช้ระบบกลุ่มใน Face book , Google Drive , Line และเกมส์Kahoot  มาใช้ในการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอน
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ครูมีความรู้ ทักษะมีความมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อการจัดการเรียนการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้รับจาก การพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายสอดคล้องกับหลักสูตร ปัญหา และความต้องการของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการ PLC มาใช้ในการพัฒนาตน พัฒนางานแลกเปลี่ยนเรียนรู้                 มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ  สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเป็นระดับเด็กอ่อน ปานกลาง และเก่ง ทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความแตกต่างบุคคล มีการสอนเสริมความรู้ให้ผู้เรียนกลุ่มปานกลางและกลุ่มเก่ง มีการสอนซ่อมเสริมผู้เรียนกลุ่มอ่อน มีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่และ                            นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชา มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย มีการใช้ข้อสอบจุดเน้นจากสพฐ. เพื่อวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ครูทุกคนยังมีงานวิจัยในชั้นเรียนและนำผลของงานวิจัยนั้นไปพัฒนาการเรียนการสอน ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนของครูครอบคลุมทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1rq6ZnZWQcy6H-0hTbDQEqQ4Q5ncWc_Pa?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1HKtpFeEmynxA--a2GeDNf1TivlKxgCSW/view?usp=sharing