รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านโคกวัด

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านโคกวัด เป็นโรงเรียนขยายโอกาสขนาดกลาง ที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีเขตบริการจัดการศึกษาในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลขุนซ่อง มีเขตบริการอยู่ 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 13 หมู่ที่ 14 หมู่ที่ 15 และหมู่ที่ 12 ในภาพรวมสภาพชุมชนมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่รอบบริเวณโรงเรียนเป็นสวนยางและสวนผลไม้ ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่เรียบง่าย ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ในปีการศึกษา 2563 มีข้าราชการครู จำนวน 15 คน ครูอัตราจ้าง จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 1 คน และนักการภารโรงจำนวน 1 คน นักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 28 คน ระดับประถมศึกษา จำนวน 71 คน และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 27 คน มีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 สูงกว่าระดับเขตพื้นที่ฯ ระดับจังหวัด ระดับสังกัด และระดับประเทศ มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงกว่าระดับสังกัด และมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ฯ ระดับสังกัดและระดับประเทศ ในปีงบประมาณ 2563 มีงบประมาณในการบริหารจัดการการศึกษาในภาพรวมเป็นจำนวนเงิน1,166,701 บาท ในปี พ.ศ. 2555 ได้รับการประเมินจากหน่วยงายภายนอก แต่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปรากฏผล ดังนี้
1. มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

โดยผลการประเมินในภาพรวม มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านโคกวัด อยู่ในระดับ ดี
 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

ข้อมูล หลักฐาน และเอกสารเชิงประจักษ์

1. ด้านคุณภาพผู้เรียน

ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ทุกคนสามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับที่ดีขึ้น โดยมีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 สูงกว่าระดับเขตพื้นที่ฯ ระดับจังหวัด ระดับสังกัด และระดับประเทศ มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงกว่าระดับสังกัดและมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ฯ ระดับสังกัดและระดับประเทศ ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีระเบียบวินัย มีการปรับตัวในการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เป็นที่ยอมรับของชุมชนโดยรอบในเรื่องความมีวินัย การปรับตัวในการดำรงชีวิต มารยาทของสังคม

2. ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ

โรงเรียนบ้านโคกวัดมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคในการประชุมที่หลากหลาย เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนพัฒนาประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

3. ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิดได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และผลการวิจัยในชั้นเรียนของครูทุกคน ได้รับการตรวจประเมินพร้อมทั้งให้คำแนะนำจากผู้อำนวยการโรงเรียน
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

แนวทางพัฒนาคุณภาพ

1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น

2. การส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ

3. การพัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรมในเรื่องที่นำมาพัฒนาผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผลการนำไปใช้ และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

4. การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน โดยมีความต้องการพัฒนาครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 การสร้างข้อสอบที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามแนวทางของการประเมินด้วยวิธีที่หลากหลายและการจัดสรรครูผู้สอนให้ตรงตามวิชาเอกที่โรงเรียนมีความต้องการและจำเป็น

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

โรงเรียนบ้านโคกวัด ที่ตั้งเลขที่ 32 หมู่ที่ 5 ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22160 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โทรศัพท์ 039 - 480038 Website : http://www.bankhokwad.ac.th

โรงเรียนบ้านโคกวัด เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเขตพื้นที่บริการทางการศึกษา 7 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 4 บ้านหางแมว ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว

หมู่ที่ 5 บ้านโคกวัด ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว

หมู่ที่ 7 บ้านสุขใจ ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว

หมู่ที่ 12 บ้านเกาะลอย ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว

หมู่ที่ 13 บ้านคลองพริก ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว

หมู่ที่ 14 บ้านวังแจง ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว

หมู่ที่ 15 บ้านคลองใหม่ ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว
การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์

ผู้เรียนมีความรู้ ควบคู่เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนน่าอยู่

ชุมชนมีส่วนร่วม รวมใจพัฒนาครู ก้าวสู่เทคโนโลยี

อัตลักษณ์

อัธยาศัยดี มีวินัย

เอกลักษณ์

มีคุณธรรม นำความพอเพียง

คำขวัญ ของโรงเรียน

มีคุณธรรม นำความรู้ อยู่อย่างพอเพียง

ปรัชญาของโรงเรียน

( ปัญญาเป็นแก้วกล้า ของนรชน )
ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 14 0 1 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

การเรียนการสอน การจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ระดับได้แก่ระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา

            ระดับก่อนประถมศึกษา  มีการจัดประสบการณ์โดยส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนา ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา อย่างครบถ้วนและเหมาะสมกับวัย กิจกรรมสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนอาคารเรียนให้พร้อมใช้งบประมาณราชการส่วนหนึ่งและได้รับการช่วยเหลือจากชุมชนส่วนหนึ่ง  

            ระดับประถมศึกษา  ได้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ส่งเสริมพัฒนาวิธีการสอนของครู ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริม   การเรียนโดยเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงกล้าคิด กล้าตัดสินใจ และมีความรับผิดชอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าพอใจ สำหรับกลุ่มทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จะต้องเร่งพัฒนาคุณภาพ    เพื่อรองรับการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้น สภาพปัญหาที่มีผลกระทบต่อการเรียนการสอนของนักเรียนคือปัญหาครอบครัว นักเรียนขาด การเอาใจใส่ดูแลจากทางบ้าน ขาดเรียนบ่อย ทำให้เป็นปัญหา ต่อการจัดการเรียน     การสอน

            ระดับมัธยมศึกษา  ได้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)


หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์ของกรมอนามัยคิดเป็นร้อยละ 92.85 มีการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงทุกเดือน เพื่อนำผลการวัดมาเทียบกับกราฟ ครูจะรวบรวมสรุปข้อมูล นำผลที่ได้มาพัฒนาและหาแนวทางแก้ไข เด็กรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ดี และมีประโยชน์ครูจัดอาหารกลางวันให้กับนักเรียนตามมาตรฐานโดยกำหนดรายการอาหารตามโปรแกรมThai School Lunch ออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างเหมาะสม ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปลอดภัยในรอบปีการศึกษา 2563 ไม่มีเด็กได้รับอุบัติเหตุจากการดูแลในระหว่างที่อยู่ในโรงเรียน กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรง การเคลื่อนไหวร่างกายเหมาะสมตามวัยครูมีการประเมินพัฒนาการอย่างต่อเนื่องในระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รู้จักแบ่งปัน รอคอย มีระเบียบวินัยในการเข้าแถว เก็บของเล่นเข้าที่ได้อย่างเป็นระเบียบ กล้าพูดกล้าแสดงออกโดยในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เด็กๆสามารถแสดงผลงาน นำเสนอผลงานของตนเองให้เพื่อนฟังเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างเหมาะสม สนใจและมีความสุขในการเรียนรู้ ปฏิบัติตนตามข้อตกลงของห้องเรียนได้ มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้จักประหยัดออมเงินมีโดยมีกระปุกออมสินให้เด็กๆ คนละ 1 ลูก เด็กๆจะนำเงินที่ได้ค่าขนมมาหยอดกระปุกก่อนแล้วจึงเหลือไว้ซื้อขนมที่หลัง ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้เด็กรู้จักวางแผนการใช้จ่ายเงิน มีน้ำใจช่วยเหลือแบ่งปันกับเพื่อน มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างเหมาะสมตามวัย ช่วยกันรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ทิ้งขยะ โดยแต่ละห้องจะมีถังขยะแยกประเภทขยะไว้ มีกิจกรรมต่าง ๆตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ปฏิบัติตามมารยาทไทยได้ตามกาลเทศะ รักความเป็นไทย โดยการจัดกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ ตลอดปีการศึกษา รู้จักขอบคุณเมื่อได้รับสิ่งของและขอโทษเมื่อทำความผิด อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างเหมาะสม เป็นผู้ฟังที่ดี เล่าเรื่องราวจากภาพและสัญลักษณ์ได้ เขียนชื่อตนเองตามแบบได้ รู้จักสังเกต หาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ จับคู่เปรียบเทียบ ความเหมือน ความต่าง น้ำหนัก จำนวนได้ มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มิเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย สนใจหยิบหนังสือมาอ่าน กระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม ค้นหาคำตอบด้วยวิธีการที่หลากหลาย ใช้ประโยคคำถามในการหาคำตอบ โดยครูได้จัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายตามบริบทของโรงเรียน มีการประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และประเมินสภาพที่พึงประสงค์ อย่างต่อเนื่องจากการสังเกตรายบุคคล และการจัดกิจกรรมกลุ่ม
ผลการดำเนินงาน  
๑.เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดีคิดเป็นร้อยละ92.85

๒.เด็กมีกล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็กที่แข็งแรง เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วและประสาน

สัมพันธ์กันคิดเป็นร้อยละ 92.85

๓.เด็กมีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุขคิดเป็นร้อยละ 96.42

๔.เด็กสามารถชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะดนตรีและการเคลื่อนไหวคิดเป็นร้อยละ 96.42

๕.เด็กมีคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามคิดเป็นร้อยละ 100.00

๖.เด็กมีทักษะชีวิตและปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคิดเป็นร้อยละ 100.00

๗.เด็กรักธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและความเป็นไทยคิดเป็นร้อยละ 100.00

๘.เด็กสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขคิดเป็นร้อยละ 100.00

๙.เด็กสามารถใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างเหมาะสมกับวัยคิดเป็นร้อยละ 93.33

๑๐.เด็กมีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 89.28

๑๑. เด็กมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ คิดเป็นร้อยละ 96.42

๑๒.เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัยคิดเป็นร้อย ละ 93.33
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนบ้านโคกวัดได้จัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6ปี โดยมีแผนการจัดประสบการณ์ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านสอดคล้องกับมาตรฐานตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์ของแต่ละช่วงวัยและ สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนให้เหมาะสม มีมุมประสบการณ์ในห้องเรียน อย่างน้อย 5 มุม เช่น มุมวิทยาศาสตร์ มุมดนตรี มุมศิลปะสร้างสรรค์ มุมหนังสือ มุมบ้าน นอกจากนี้โรงเรียนบ้านโคกวัดยังมีแหล่งเรียนรู้ที่เด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายภายในโรงเรียน เช่นโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ โรงเรือนเลี้ยงหมูป่า โรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า บ่อเลี้ยงกบ แปลงปลูกมะนาว และบ่อเลี้ยงปลา เป็นต้น ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพึงตนเอง นอกจากนี้โรงเรียนบ้านโคกวัดยังเป็นโรงเรียนที่ผ่านการประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ซึ่งครูได้การจัดกิจกรรมตามใบกิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์ มาอย่างต่อเนื่องโดยบูรณาการเข้ากับแผนการจัดประสบการณ์ในแต่ละสัปดาห์ อย่างน้อยภาคเรียนละ 10 กิจกรรมเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความคิดรวบยอด การคิดอย่างมีเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ รู้จักสังเกตจดจำ การทดลองหาคำตอบด้วยตนเอง และห้องเรียนอนุบาลยังมีสื่อเทคโนโลยี ที่สามารถค้นหาความรู้ต่าง ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ตลอดเวลา มีโครงการพัฒนาการเรียนการสอนปฐมวัย 1โครงการ ส่วนด้านอื่นๆ บูรณาการกับโครงการ กิจกรรมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารเห็นความสำคัญในปัญหาของเด็ก ส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีการนิเทศภายในภาคเรียนละ 1 ครั้ง ผู้ปกครองและครูมีการสื่อสารกันตลอดเวลา ในการให้คำปรึกษาในด้านพัฒนาการเด็ก สร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็ก
ผลการดำเนินงาน  
๑.โรงเรียนบ้านโคกวัดมีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

๒.โรงเรียนมีการออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมและไม่เร่งรัดวิชาการ เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือปฏิบัติ โดยใช้กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมโครงงาน กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้ครบทุกชั้น ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

๓.โรงเรียนจัดครูที่จบการศึกษา หรือผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัยอย่างเพียงพอกับชั้นเรียนในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

๔.โรงเรียนมีการส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

๕.โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ห้องเรียนคุณภาพ ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

๖.ห้องเรียนมีการติดตั้งสื่อเทคโนโลยี ที่สามารถค้นหาความรู้ต่าง ๆ ครบทุกชั้นเรียน มีเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเผยแพร่กิจกรรมต่างๆ ในระดับคุณภาพดีเลิศ

๗.โรงเรียนมีระบบบริหารคุณภาพโดยใช้รูปแบบloveโมเดล และรูปแบบ PDCA ในระดับคุณภาพ ดี
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนมีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ ครูสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล จัดทำแผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา มีแผนการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน ครบทั้ง 6 กิจกรรม สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข เด็กได้ลงมือกระทำผ่านสัมผัสทั้ง 5 ใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแบบ Waldorf และกิจกรรมการทดลองตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง ตั้งสมมุติฐาน ทดลอง หาคำตอบ รวบรวมความคิด และสรุปผลจากการทดลอง และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ เนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ มีการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาและการเรียนรู้ โดยพิจารณาว่าเด็กมีปัญหาพฤติกรรมที่แสดงออกผิดไปจากปกติหรือไม่ เพื่อหาแนวทางแก้ไขพฤติกรรมร่วมกับผู้ปกครอง ศึกษาเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อเข้าใจพฤติกรรมเด็กแต่ละคน และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม ห้องเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมครบทุกห้องเรียน ครูมีการประเมินพัฒนาการตามสภาพจริง โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม และนำผลการประเมินพัฒนาเด็กมาปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน  
๑.เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

๒.เด็กมีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและลงมือปฏิบัติอย่างมีความสุข ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

๓.ห้องเรียนมีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยครบทุกห้องเรียนในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

๔.ครูมีการประเมินพัฒนาการตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  
ผลการดำเนินงาน  
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  
ผลการดำเนินงาน  
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  
ผลการดำเนินงาน  
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  
ผลการดำเนินงาน  
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก