รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดขุนซ่อง

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ภาพรวมของสถานศึกษา

 

มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย

      มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

      วิธีดำเนินการพัฒนา

                    โรงเรียนส่งเสริมผู้เรียนให้มีพัฒนาการครบทั้ง4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา โดยได้ดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพเด็กปฐมวัย ส่งเสริมการเล่นกีฬาและการแข่งขันกีฬากิจกรรมกายบริหารทุกวัน มีการทดสอบสมรรถภาพทางกายชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงการออกกำลังกาย เคลื่อนไหวประกอบจังหวะ และการเล่นเครื่องเล่นที่สนามเด็กเล่น                       รวมทั้งการส่งเสริมให้นักเรียนรับประทานอาหารเสริม(นม)และอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบ5หมู่นักเรียนจะช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมจากการเก็บขยะภายในโรงเรียน  ดูแลสิ่งแวดล้อม  โดยจัดกิจกรรม ๖ กิจกรรมหลักให้กับนักเรียน ดังนี้ เคลื่อนไหว สร้างสรรค์ เสรี เสริมประสบการณ์ กลางแจ้ง และเกมการศึกษา       ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจของนักเรียน  โดยปลูกฝังให้นักเรียนกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการกลุ่มฝึกให้นักเรียนควบคุมอารมณ์ของตนเอง  แสดงความสามารถด้านศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหวและ ได้เรียนรู้การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน กิจกรรมวันสำคัญ ฝึกความกตัญญูเสียสละ และสามัคคี กิจกรรมรักไทยฝึกความภูมิใจในความเป็นไทย นิยมไทย ดำรงความเป็นไทยกิจกรรมฝึกความเป็นระเบียบวินัยในการเข้าแถว กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยและการรณรงค์การเลือกตั้ง  ปลูกฝังให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ ได้ทำผลงานด้วยตนเอง และได้ซักถาม นำเสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย เรียนรู้ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

          ผลการดำเนินการพัฒนา

          จัดกิจกรรมการเรียนรู้และดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา นักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ     ภัยและสิ่งเสพติด มีความร่าเริงแจ่มใส มั่นใจกล้าแสดงออกควบคุมอารมณ์ของตนเองและชื่นชมศิลปะดนตรีการเคลื่อนไหวและรักธรรมชาติ  มีวินัย รับผิดชอบ เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์  ซื่อสัตย์สุจริต ช่วยเหลือแบ่งปันเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ มีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ซักถามอย่างตั้งใจ และรักการเรียนรู้  มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  

จุดเด่น

1.นักเรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านที่ดี ร่าเริงแจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ กล้าแสดงออก เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครูได้อย่างมีความสุข

2. นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ความรับผิดชอบ มุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมและทำงานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ด้วยตนเองได้ตามวัย

3. นักเรียนมีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ รักการเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และความคิดรวบยอด มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ในชั้นสูงขึ้น

 

      มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

      วิธีดำเนินการพัฒนา

โรงเรียน จัดระบบบริหารจัดการ แบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น  ฝ่ายคือ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป จัดโครงการ จัดหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร มีการบริหารจัดการให้มีครูที่มีความรู้ความสามารถด้านปฐมวัยจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีการนิเทศภายอย่างเป็นระบบจัดสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารร่มรื่น สวยงาม สะอาด เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมให้บุคลากรร่วมกันทำงานตามความเหมาะสมกับความรู้ความสามารถและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  มีการสำรวจความพึงพอใจในการบริหารจัดการศึกษาและประชุมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการด้านอาคารสถานที่ และบุคลากร  นอกจากนี้ยังมีโครงการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร อันจะเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนพัฒนาศักยภาพและมีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารสนับสนุนการให้ครูเข้ารับการอบรมสัมมนาและศึกษาดูงาน

 

 ผลการดำเนินการพัฒนา

จัดกิจกรรมส่งเสริมและดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดประสิทธิผล 

 

จุดเด่น 

1.ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการศึกษา มีคุณธรรม จริยธรรมและมีภาวะผู้นำ

2. ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรม  สัมมนาและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

 

      มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

      วิธีดำเนินการพัฒนา

โรงเรียนส่งเสริมให้ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล โดยได้ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เด็กปฐมวัย ส่งครูเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กิจกรรมวิจัยในชั้นเรียนในการซ่อมเสริมและแก้ไขปัญหาในการเรียน รวมถึงแก้ปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนด้วย    

 

ผลการดำเนินการพัฒนา

จัดกิจกรรมส่งเสริมและดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผล   รู้และเข้าใจปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัย และสามารถนามาประยุกต์ใช้ ในการจัดประสบการณ์ จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและสามารถจัดการ เรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล บริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก  ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างหลากหลาย และสรุปรายงานผลพัฒนาการของเด็กแก่ผู้ปกครอง วิจัยในชั้นเรียนที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการจัดประสบการณ์ จัดสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา  มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก และผู้ปกครอง พัฒนาครูให้มีวุฒิและความรู้ความสามารถในด้านการศึกษาปฐมวัย  และจัดทำสารนิทัศน์และนำมาไตร่ตรองเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก  

จุดเด่น

1.ครูมีคุณวุฒิ/ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ    มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ      มีบุคลิกลักษณะที่เหมาะสมกับการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยครูได้รับการอบรม สัมมนาและพัฒนาตนเองอยู่เสมอและเอาใจใส่นักเรียน

2.ครูมีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาผู้เรียนที่มีปัญหา

3.ครูมีการอุทิศเวลาในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุมาตรฐาน

 

มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

วิธีดำเนินการพัฒนา

สถานศึกษามีการจัดกิจกรรม กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย  โดยบูรณาการในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ ให้ตรงตามศักยภาพของผู้เรียน และเน้นเรื่องการอ่านออกเขียนได้ของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1 จัดกิจกรรมซ่อมเสริมให้นักเรียนได้ฝึกฝนพัฒนาทักษะด้านต่างๆเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  โดยใช้เทคโนโลยี จัดให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา อีกทั้งฝึกให้ผู้เรียนได้เกิดจากการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร  เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  จัดให้มีผลการประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียนเป็นไปตามเกณฑ์

                    นอกจากนี้  สถานศึกษาได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนมีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ  มีระบบการแนะแนวและการดูแลสุขภาวะจิต นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอนและมีการเรียนรู้ในโลกกว้าง  การเข้าไปศึกษากับภูมิปัญญาในชุมชนรอบๆ สถานศึกษา  เช่น การทำสบู่  การทำไข่เค็ม และจัดกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โครงการส่งเสริมการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนกิจกรรมสภานักเรียน จากการปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าว ทำให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน มีการวางแผนในการทำงานร่วมกัน ทำงานกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

        

         ผลการดำเนินการพัฒนา

                   ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น  สามารถเขียนสื่อสารได้ดี  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย  กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์  ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น  รวมทั้งรู้เท่าทันข่าวสาร สื่อเทคโนโลยีและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ  เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์    รักการออกกำลังกาย  ยอมรับและปฏิบัติตามกฎกติกาของกลุ่มในสถานศึกษา รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัย 

จุดเด่น

ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านคล่องตามเกณฑ์ในทุกระดับชั้น รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้และสามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดี  นอกจากนี้ผู้เรียนยังเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นชาวพุทธที่ดี  มีสุขนิสัยที่ดี มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์  ปลอดสิ่งเสพติด  มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง  รู้จักให้เกียรติผู้อื่น  เห็นคุณค่าในตนเอง  เห็นคุณค่าศิลปะ ได้เข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี/นาฏศิลป์ กีฬา นันทนาการได้เป็นอย่างดี

          มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

          วิธีดำเนินการพัฒนา

โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการ ศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการ ปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผน ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถาน ศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการ ประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนา ตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศกำกับ ติดตาม ประเมิน ผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน 

ผลการดำเนินการพัฒนา

                   สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพ ปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของ ชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

                   แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับ การพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและ สังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

                   ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมใน การร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารและการจัดการ  โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนา ผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา

                   สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษา

         จุดเด่น

โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการ ประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น  การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการ ปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวน วิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

          มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

          วิธีดำเนินการพัฒนา

โรงเรียนได้ดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น ตามความสนใจ ความต้องการ และความถนัดของผู้เรียน โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล ตามแผนงาน/โครงการและกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการ ได้แก่  การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา บูรณาการการจัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน เศรษฐกิจพอเพียง การจัดการศึกษา    สะเต็มศึกษา และกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เพื่อให้ครูสามารถวางแผนและออกแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนครอบคลุมทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดทำสารสนเทศอย่างเป็นระบบ และใช้ข้อมูลสารสนเทศวางแผนจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งเสริมให้ครูใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย พัฒนาครูให้มีความรู้ในการวิจัย มีการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ อย่างน้อยปีละ ๑ เรื่อง มีโครงการการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานจัดการเรียนการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง

          ผลการดำเนินการพัฒนา

                    มีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตนเอง กำหนดเนื้อหาสาระ กิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดเป็นรายบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สรุปองค์ความรู้ และสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ แสดงออก นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็นคิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยเชื่อมโยงบูรณาการสาระการเรียนรู้และทักษะด้านต่างๆ  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน  และเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยอย่างต่อเนื่อง

                    การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอน  ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

                    การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน  ครูมีการวัดและประเมินผลผู้เรียนจากสภาพจริง มีขั้นตอนตรวจสอบและประเมินอย่างเป็นระบบ ใช้เครื่องมือและวิธีการวัด??

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

1) ผลการดำเนินงานโครงการ

โครงการ/กิจกรรม

เป้าหมาย/ตัวชี้วัด

ผลการดำเนินงาน

1. โครงการส่งเสริมทักษะการอ่าน และการเขียน

มฐ.1/1.1

ร้อยละ 82.00

2. โครงการส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาไทย

มฐ.1/1.1

ร้อยละ 85.00

3. โครงการส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ

มฐ.1/1.1

ร้อยละ 63.00

4. โครงการส่งเสริมความสามารถในด้านการคิดคำนวณ

มฐ.1/1.1/

ร้อยละ 80.00

5. โครงการส่งเสริมทักษะการคิด

มฐ.1/1.1

ร้อยละ 80.00

6. โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยโครงงาน

มฐ.1/1.1

ร้อยละ 80.00

7. โครงการส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

มฐ.1/1.1

ร้อยละ 85.00

8. โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา (ผลการทดสอบระดับชาติ NT,O-NET)

มฐ.1/1.1

ร้อยละ 90.00

9. โครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้สู้อาชีพ

มฐ.1/1.1

ร้อยละ 88.00

10. โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์

มฐ.1/1.2

ร้อยละ 90.00

11. โครงการส่งเสริมวิจัยในชั้นเรียน

มฐ.2/2.3

ร้อยละ 85.00

12. โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

มฐ.2/2.2

ร้อยละ 85.00

13. โครงการกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

มฐ.3/3.1

ร้อยละ 85.00

14. โครงการอาเซียนศึกษา

มฐ.1/1.2

ร้อยละ 100

15. โครงการ DLTV,DLIT

มฐ.1/1.1, มฐ.3/3.2

ร้อยละ 80.00

16. โครงการห้องสมุดส่งเสริมการอ่าน

มฐ.1/1.1

ร้อยละ 90.00

17. โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

มฐ.2/2.1

ร้อยละ 85.00

18. โครงการนิเทศภายใน

มฐ.2/2.2

ร้อยละ 85.00

19. โครงการจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วม

มฐ.1/1.1,1.2

ร้อยละ 90.00

20. โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ

มฐ.1/1.1, มฐ.3/3.1

ร้อยละ 95.00

โครงการ/กิจกรรม

เป้าหมาย/ตัวชี้วัด

ผลการดำเนินงาน

21. โครงการ ENGLISH CAMP

มฐ.1/1.1, มฐ.3/3.1

ร้อยละ 100

22. โครงการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระ

มฐ.2/2.3

ร้อยละ 95.00

23. โครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

มฐ.2/2.5

ร้อยละ 95.00

24. โครงการพัฒนาบุคคล

มฐ.2/2.4

ร้อยละ 100

25. โครงการประเมินสมรรถนะครู และบุคลากร

มฐ.2/2.4

ร้อยละ 95.00

26. โครงการแต่งตั้ง และสรรหาบุคลากร

มฐ.2/2.3

ร้อยละ 95.00

27. โครงการอัดสำเนา

มฐ.2/2.6

ร้อยละ 90.00

28. โครงการจัดซื้อจัดหาหนังสือเรียน และแบบฝึกหัด

มฐ.3/3.2

ร้อยละ 90.00

29. โครงการจัดชื้อจัดหาอุปกรณ์การเรียนและเครื่องแบบนักเรียน

มฐ.2/2.2

ร้อยละ 100

30. โครงการจัดสรรค่าใช้จ่ายสำหรับนักเรียนยากจน

มฐ.2/2.2

ร้อยละ 100

31. โครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค

มฐ.2

ร้อยละ 100

32. โครงการพัฒนาระบบบริหารงานงบประมาณ

มฐ.2

ร้อยละ 90.00

33. โครงการพัฒนาผู้เรียนให้มีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ

มฐ.1, มฐ.3

ร้อยละ 89.66

34. โครงการส่งเสริมสุขภาพ "สุขกายสบายชีวี"

มฐ.1/1.2

ร้อยละ 95.00

35. โครงการสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา

มฐ.1/1.2

ร้อยละ 75.00

36. โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

มฐ.1/1.2

ร้อยละ 90.00

37. โครงการจัดสภาพแวดล้อม และการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

มฐ.2/2.5

ร้อยละ 80.00

38. โครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

มฐ.1, มฐ.3

ร้อยละ 90.00

39. โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ

มฐ.2, มฐ.3

ร้อยละ 95.00

40. โครงการสร้างเสริมวินัย และจิตสำนึกความเป็นไทย

มฐ.1/1.2/3

ร้อยละ 90.00

41. โครงการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการทำ งานรักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

มฐ.1/1.1,1.2 , มฐ. 3

ร้อยละ 90.00

โครงการ/กิจกรรม

เป้าหมาย/ตัวชี้วัด

ผลการดำเนินงาน

42. โครงการพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นที่กำหนด

มฐ.2/2.1

ร้อยละ 100

43. โครงการยกย่องเชิดชูเกียรติเด็กไทยมีคุณธรรมจริยธรรม ตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ "เด็กดีศรี ข.ซ."

มฐ.1/1.2/1

ร้อยละ 90.00

44. โครงการเดินทางไกลอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ -เนตรนารี

มฐ.1, มฐ.3

ร้อยละ 85.00

45. โครงการเด็กไทยหัวใจสีขาว ก้าวทันสื่อป้องกันทุจริตคอรัปชั่น

มฐ.1, มฐ.3

ร้อยละ 90.00

46. โครงการจัดมาตรฐานห้องเรียนสวยด้วย5 ส.

มฐ.2/2.5

ร้อยละ 90.00

47. โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ

มฐ.2/2.6

ร้อยละ 90.00

 

2) ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามนโยบายพิเศษ

โครงการ/กิจกรรม

เป้าหมาย/ตัวชี้วัด

ผลการดำเนินงาน

1. โครงการลดเวลาเรียน

เพิ่มเวลารู้

มฐ.2/2.3

88.00

2. โรงเรียนปลอดขยะ

(Zero Waste School)

มฐ.2/2.2

98.66

 



 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

 

มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย

      มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

      แนวทางพัฒนาในปีถัดไป

                    1.นักเรียนควรได้รับการส่งเสริมเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานต่างๆเพิ่มมากขึ้น

 2.นักเรียนควรได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์

 3.นักเรียนควรได้รับการส่งเสริมการฝึกฝนให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีเหตุผล

 

      มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

      แนวทางพัฒนาในปีถัดไป

1. ผู้บริหารควรมีการนิเทศติดตามอย่างเป็นระบบ บันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน  เพื่อนำผลมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

2.ผู้บริหารควรสร้างเครือข่ายฯความสัมพันธ์กับชุมชน

      มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

      แนวทางพัฒนาในปีถัดไป

1.ครูควรแสวงหาความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

2.ส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ

 

มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

      แนวทางพัฒนาในปีถัดไป

                   ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1 ยังต้องพัฒนาความสามารถในด้านการอ่านเขียน  และเร่งยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติNT – O-NET   และสถานศึกษาควรกำหนดเป้าหมายการพัฒนานักเรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระให้เป็นไปตามเกณฑ์ หลักการวัดและประเมินผลและหลักเกณฑ์ในหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   จัดกิจกรรมที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  จัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย  ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง  โดยบูรณาการในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ 

 

 

          มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

      แนวทางพัฒนาในปีถัดไป

1. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียน

2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพ การจัดการศึกษา การพัฒนา ผลการพัฒนา  การนิเทศ กำกับ ติดตาม และ ประเมินผล

          มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

      แนวทางพัฒนาในปีถัดไป

                   การจัดการเรียนการสอนควรบูรณาการให้เชื่อมโยง สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ท้องถิ่น จุดเน้นและนโยบายของกระทรวง  ควรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานและการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม

 

 


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียนวัดขุนซ่อง ที่ตั้ง 4 หมู่ที่ 3 ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1โทรศัพท์ 039-308942 โทรสาร 039-308942

เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3เขตพื้นที่บริการจำนวน 8 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ 1 , 2 , 3 , 9 , 10 , 11 , 16 และหมู่ 18

 

ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

โรงเรียนวัดขุนซ่อง เริ่มก่อตั้งเมื่อ 14มิถุนายน ปีพุทธศักราช 2482 มีพื้นที่110 ไร่ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ซึ่งมีโรงเรียนสาขา 1 โรงเรียนคือ โรงเรียนวัดขุนซ่อง สาขา บ้านโป่งเกตุ และ 1 ห้องเรียน คือห้องเรียนบ้านคลองโปร่ง ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาร่วมกันกำหนดทิศทางในการพัฒนาการศึกษาอย่างชัดเจน ตามมาตรฐานตลอดจนสร้างวิสัยทัศน์ และพัฒนาการเรียนอย่างต่อเนื่อง

ในการจัดการศึกษา โรงเรียนวัดขุนซ่อง จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3ระดับ คือ

1. ระดับก่อนประถมศึกษา ชั้นอนุบาลปีที่ 1-3

2. ระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

3. ชั้นมัธยมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

ในภาพรวมสภาพชุมชนมีลักษณะเป็นราบและภูเขา พื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าไม้อุดมสมบูรณ์ สภาพชุมชนกระจัดกระจาย ห่างไกลโรงเรียน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียนลำบากเนื่องจากโรงเรียนมีเขตพื้นที่ที่ให้บริการหลายหมู่บ้านสภาพฐานะทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ค่อนข้างยากจนเนื่องจาก การประกอบอาชีพเป็นการทำไร่ และรับจ้างซึ่งมีรายได้ที่ไม่แน่นอน

 


การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าประสงค์

วิสัยทัศน์

เป็นโรงเรียนที่สร้างโอกาส ที่ได้มาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เทียบเคียงหลักการมีส่วนร่วม

 

 

พันธกิจ

1. พัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร

2. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3. พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาและความต้องการของผู้เรียนทันต่อการ เปลี่ยนแปลงของโลก

4. ส่งเสริม สนับสนุน ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ชุมชน ในการดำรงตนตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

5. พัฒนาการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ตรวจสอบได้และมีเครือข่ายร่วมพัฒนา

6. พัฒนาอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้ได้มาตรฐานเอื้อต่อการเรียนรู้

7. พัฒนาระบบประกันคุณภาพในสถานศึกษา

 

อัตลักษณ์

สะอาดกาย ยิ้มง่าย ไหว้สวย

 

เป้าประสงค์(Goals)

1. ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษาขั้น

พื้นฐาน

2. มีหลักสูตรหลากหลายที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน

3. มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

4. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสู่ครูมืออาชีพ

5. มีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ตรวจสอบได้และมีเครือข่ายร่วมพัฒนา

6. ดำรงตนอย่างมีความสุขตามหลักหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

7.มีอาคาร สถานที่ แหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมได้มาตรฐานเอื้อต่อการเรียนรู้

8. โรงเรียนมีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
2 24 1 11 2 2


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดขุนซ่อง

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

สัดส่วนเละเวลาเรียน(รายปี)

สัดส่วนเละเวลาเรียน(รายภาค)

ช่วงชันที่ ๑-

ช่วงชั้นที่ ๓

ป.๑

ป.๒

ป.๓

ป.๔

ป.๕

ป.๖

ม.๑

ม.๒

ม.๓

เทอม ๑

เทอม ๒

เทอม ๑

เทอม ๒

เทอม ๑

เทอม ๒

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

. ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

. คณิตศาสตร์

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

. วิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี

๘๐

๘๐

๘๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

๔.๑ สังคมศึกษา ศาสนาและ

วัฒนธรรม

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

๔.๒ ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

. สุขศึกษาและพลศึกษา

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

. ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

. การงานอาชีพ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

. ภาษาต่างประเทศ

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๘๐

๘๐

๘๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

๖๐

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๔๔๐

๔๔๐

๔๔๐

๔๔๐

๔๔๐

๔๔๐

รายวิชาเพิ่มเติม

. ภาษาไทย

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๘๐

๘๐

๘๐

 

 

 

 

 

 

. คณิตศาสตร์

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๘๐

๘๐

๘๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

. วิทยาศาสตร์

 

 

 

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

. คอมพิวเตอร์

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

. ภาษาต่างประเทศ

(ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร)


๔๐

๔๐

๔๐

 

 

 

 

 

 

๖. เกษตร

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๗. การป้องกันการทุจริต

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

รวมเวลาเรียน (เพิ่มเติม)

๒๔๐

๒๔๐

๒๔๐

๒๔๐

๒๔๐

๒๔๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

. กิจกรรมแนะแนว

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

. กิจกรรมนักเรียน

๒.๑ กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒.๒ กิจกรรมชุมนุม ชมรม

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๑๒

๑๓

๑๒

๑๓

๑๒

๑๓

๓. กิจกรรมเพื่อสังคม

และสาธารณประโยชน์

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

รวมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๕๙

๖๑

๕๙

๖๑

๕๙

๖๑

รวม

๑,๒๐๐

๑,๒๐๐

๑,๒๐๐

๑,๒๐๐

๑,๒๐๐

๑,๒๐๐

๕๙๙

๖๐๑

๕๙๙

๖๐๑

๕๙๙

๖๐๑

 

หมายเหตุ รายวิชาหน้าที่พลเมืองให้บูรณาการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ลำดับที่

ลักษณะ

ราคา

การได้มา

การใช้ประโยชน์

1

อาคารแบบ สปช. 102/26

เป็นอาคาร คสล. ชั้นเดียวผนังคอนกรีต มุงกระเบื้อง

จำนวน 4 ห้องเรียน

พื้นที่ 306 ตารางเมตร

 

 

 

2

อาคารแบบ สปช. 201/26

เป็นอาคาร คสล. ชั้นเดียว

มุงกระเบื้อง มีห้อง ขนาด 3ตารางเมตร จำนวน 3 ห้องเรียน

พื้นที่ 200 ตารางเมตร

 

 

 

3

อาคารแบบ สปช. 601/26

เป็นอาคาร คสล. ชั้นเดียว

ผนังคอนกรีต มุงกระเบื้อง

พื้นที่ 19.5 ตารางเมตร

 

 

 

4

อาคารแบบ ป.1ก

เป็นอาคาร คสล. ชั้นเดียว

ผนังคอนกรีตและไม้ หลังคามุงกระเบื้อง จำนวน 2 ห้องเรียน

พื้นที่ 153 ตารางเมตร

 

 

 

5

อาคารแบบ กรมสามัญ

เป็นอาคาร คสล. 2 ชั้น ผนังชั้นบนเป็นไม้ มีห้องนอน 2 ห้อง ใต้ถุนโล่ง ข้างล่างมีห้องน้ำ 1 ห้อง

ห้องครัว 1 ห้อง มุงกระเบื้องพื้นที่ 18 ตารางเมตร

 

 

 

6

อาคารแบบ กรมสามัญเป็นอาคาร คสล. 2 ชั้น ผนังชั้นบนเป็นไม้ มีห้องนอน 2 ห้อง ใต้ถุนโล่ง ข้างล่างมีห้องน้ำ 1 ห้องห้องครัว 1 ห้อง

มุงกระเบื้องพื้นที่ 18 ตารางเมตร

 

 

 

7

อาคารแบบ สปช. 601/26

เป็นอาคาร คสล. ชั้นเดียว

ผนังคอนกรีต มุงกระเบื้อง

พื้นที่ 27 ตารางเมตร

 

 

 

8

อาคารแบบ สปช. 601/26

เป็นอาคาร คสล. ชั้นเดียว

ผนังคอนกรีต มุงกระเบื้อง

พื้นที่ 27 ตารางเมตร

 

 

 

9

อาคารแบบ สปช. 105/26

เป็นอาคาร คสล. สองชั้น ผนังคอนกรีต มุงกระเบื้อง จำนวน 10 ห้องเรียน พื้นที่ 382.5 ตารางเมตร

 

 

 

10

อาคารแบบ สปช. 601/26

เป็นอาคาร คสล. ชั้นเดียว

ผนังคอนกรีต มุงกระเบื้อง

จำนวน 4 ที่ พื้นที่ 19.5 ตารางเมตร

 

 

 

11

อาคารแบบ สปช. 601/26

เป็นอาคาร คสล. ชั้นเดียว

ผนังคอนกรีต มุงกระเบื้อง

จำนวน 4 ที่ พื้นที่ 19.5 ตารางเมตร

 

 

 

12

เรือนไม้ระแนง แบบ พ1 ขนาด ความสูง 2.5 เมตร พื้นที่ 24 ตารางเมตร

 

 

 

13

อาคารแบบ 301/26 เป็นอาคาร คสล. เป็นตึก 2 ชั้น

ผนังคอนกรีต มีห้องนอน 2 ห้อง ข้างล่างมีห้องน้ำ 1 ห้อง ห้องครัว 1 ห้องมุงก พื้นที่ 24.5 ตารางเมตร

 

 

 

14

อาคารแบบ 303/28 เป็นอาคาร คสล. เป็นตึกเรือนแถว 2 ชั้น 3 คูหา

มุงกระเบื้อง ผนังคอนกรีต ชั้นบน มีห้องนอน 6 ห้องห้องน้ำ 3 ห้อง ข้างล่างมีห้องน้ำ 3 ห้อง ห้องครัว

3ห้อง พื้นที่ 75 ตารางเมตร

 

 

 

15

อาคารแบบ สปช. 2/28

เป็นอาคาร คสล. 3 ชั้น

ผนังคอนกรีต มุงกระเบื้อง

จำนวน 18 ห้องเรียน พื้นที่ 420 ตารางเมตร

 

 

 

16

อาคารแบบ 301/26 เป็นอาคาร คสล. เป็นตึกเรือนแถว 2 ชั้น

มุงกระเบื้อง ผนังคอนกรีต ชั้นบน มีห้องนอน 2 ห้อง ข้างล่างมีห้องน้ำ 1 ห้อง ห้องครัว 1 ห้อง พื้นที่ 24.5 ตารางเมตร

 

 

 

17

สนามกีฬา แบบ สนามบาสเกตบอล กว้าง 16 เมตร ยาว 28.60 เมตร พื้นที่ 457.60 ตารางเมตร

 

 

 


 


หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา

1. แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

1.1 ห้องสมุด

1.2 ห้องพยาบาล

1.3 ห้องคหกรรม

1.4 โรงอาหาร

1.5 ห้องสหกรณ์โรงเรียน

1.6 ห้องน้ำ – ห้องส้วม

1.7 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

1.8 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์กายภาพ

1.9 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

1.10 ห้องดนตรี – นาฏศิลป์

1.11 ห้องปฏิบัติการภาษาไทย

1.12 ห้องปฏิบัติการประวัติศาสตร์

1.13 ห้องปฏิบัติการพลศึกษา

1.14 ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์

1.15 แปลงเกษตร

1.16 ห้องปฏิบัติงานช่าง

1.17 สนามเด็กเล่น

1.18 สนามฟุตบอล

1.19 สนามบาสเก็ตบอล

1.20 สนามเซปัคตะกร้อ

1.21 สวนยางพารา

2. ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา

2.1 วัดขุนซ่อง

2.2 องค์การบริหารส่วนตำบลขุนซ่อง

2.3 อ่างเก็บน้ำคลองหางแมว

2.4 อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น

2.5 สำนักฝึกกรรมฐานฟื้นฟูจิตเขาแหลม


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

           โรงเรียนวัดขุนซ่องส่งเสริมผู้เรียนให้มีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา โดยได้ดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพเด็กปฐมวัย ที่มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาคุณภาพเด็กโดยองค์รวมให้มีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สามารถควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ พัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยมีการวางแผนการดำเนินการและกระบวนการพัฒนา ดังนี้

          พัฒนาการด้านร่างกายโรงเรียนส่งเสริมให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดีเเละดูเเลความปลอดภัยของตเองได้ จัดบริการอาหารให้เด็กอย่างเพียงพอและถูกหลักโภชนาการ จัดกิจกรรมและโครงการต่างๆของโรงเรียนได้แก่ จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้และทำกิจกรรมเพื่อปลูกฝังการดูแลสุขภาพอนามัย  มีการบันทึกการตรวจสุขภาพ มีการประเมินภาวะโภชนาการเป็นประจำทุกภาคเรียนและได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกคน โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนซ่องในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง มีอาหารเสริมนม มีแบบบันทึกการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกวัน เด็กล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย รวมทั้งการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคภัยต่างๆ และสิ่งเสพติดทั้งหลาย  นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมกิจกรรมกีฬาสีภายในโรงเรียน  กีฬาอำเภอแก่งหางแมว ส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถ ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรง  ส่งเสริมให้เด็กใช้ทักษะและความสามารถด้านกีฬา ต่างๆทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน และรู้จักระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นจากการเล่นและทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน เด็กเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็กและมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาได้ตามวัย 

          พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ โรงเรียนส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจควบคุมเเละเเสดงออกทางอารมณ์ได้ จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ  กิจกรรมการเคลื่อนไหวยามเช้าเด็กจะผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำผู้ตามในการออกกำลังกาย  กิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพ  การระบายสี การปั้นดินน้ำมัน  การประดิษฐ์  การตัด ฉีก  ปะ หลังจากเสร็จงานทุกครั้งเด็กๆจะได้เล่าเรื่องราวจากงานที่ทำเสร็จ และร่วมกันประเมินผลงานว่าของเพื่อนเป็นอย่างไร  ของเราเป็นอย่างไร  ทำให้เด็กๆได้รับความภาคภูมิใจเมื่อได้รับคำชมและโรงเรียนยังได้จัดกิจกรรม/โครงการที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์  จิตใจของเด็กอีกอย่างหลากหลาย  เช่น กิจกรรมวันเด็ก กิจกรรมวันคริสมาสต์ วันปีใหม่  โครงการวันสำคัญต่างๆ  โครงการอนุบาลแจ่มใส  ที่ส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกบนเวที ส่งเสริมให้เด็กมีความมั่นใจ  กล้าพูด กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ สามารถแสดงความรู้สึกต่างๆได้   โดยที่เด็กรู้จักควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ เผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและการนับถือตนเอง  เล่นและปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นสนใจและมีความสุขในการทำกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักธรรมชาติ เด็กได้รับการพัฒนาด้านอารมณ์และจิตใจ ทำให้เข้าใจและรู้จักจัดการกับอารมณ์ตนเอง ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ รู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบ

          พัฒนาการด้านสังคมโรงเรียนส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคมช่วยเหลือตนเองเเละเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยสอดแทรกการพัฒนาด้านสังคมเข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนของทุกกิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละวันให้เด็กๆได้ทำกิจกรรมร่วมกันรู้จักการคิด การแก้ไขปัญหา มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมระดับปฐมวัย ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่โรงเรียนต้องการให้เกิดขึ้นกับเด็ก ให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  ปฐมนิเทศ  กิจกรรมวันไหว้ครู  กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ กิจกรรมวันคริสมาสต์ กิจกรรมวันวิสาขบูชา กิจกรรมวันมาฆบูชา กิจกรรมวันเข้าพรรษา กิจกรรมประชาธิปไตยการเลือกประธานนักเรียน โครงการอนุบาลรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โครงการลูกเสือน้อย โครงการฝึกทักษะชีวิตเบื้องต้นเด็กปฐมวัย สิ่งที่เด็กได้คือ การทำกิจกรรมเรียนรู้การเข้าสังคมการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม  เป็นหมู่คณะรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น  มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามข้อตกลงร่วมกันได้ เล่นและทำงานร่วมกันได้ ปลูกฝังและส่งเสริมให้เด็กดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน เด็กรู้จักประหยัด รู้จักวางแผนการใช้จ่ายของตนเอง มีการออมเงิน ปลูกฝังให้เด็กมีมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เด็กรับผิดชอบดูแลเรื่องความสะอาดทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีความซื่อสัตย์ สุจริต รู้จักช่วยเหลือและแบ่งปันผู้อื่น และช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ 

          เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานเเละเเสวงหาความรู้ได้จาดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมทักษะในการคิด การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยและตามศักยภาพของเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย  โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทยเป็นการปลูกฝังให้เด็กๆมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติและเทคโนโลยี ให้เด็กๆหัดสังเกต รู้จักตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจัดกิจกรรมวิทยาการคำนวณกิจกรรมSTEM การจัดสภาพการณ์ให้เด็กปฐมวัย เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Active Learning) ซึ่งใช้การบูรณาการสาขาวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า จากการได้สำรวจ เล่น ทดลอง ค้นพบสิ่งต่างๆด้วยตนเอง เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้  และเกิดความคิดรวบยอดจากประสบการณ์เรียนรู้  สนใจการเรียนรู้  รู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหา และใช้ภาษาสื่อความหมายเหมาะกับวัย ส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถในการคิดอย่างระบบ มีความคิดรวบยอดในสิ่งต่างๆ ใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  ช่างสังเกต มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัยโดยจัดทำโครงการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนให้มีประสิทธิภาพ  จัดกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด เกิดความภาคภูมิใจในตนเองและยอมรับในผู้อื่น กิจกรรมเล่านิทาน ให้เด็กมีการฝึกพัฒนาทักษะทางภาษา  ฝึกการฟัง กิจกรรมเกมการศึกษา  ให้นักเรียนได้ฝึกการจำแนก  เปรียบเทียบ การจับคู่  การเล่นเกมตัดต่อภาพ  โครงการทักษะการคิดปฐมวัย  เป็นการจัดกิจกรรมและจัดประสบการณ์ให้เด็กได้พัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพจากกิจกรรมต่างๆให้เด็กได้คิด การจำแนกและเปรียบเทียบ จำนวน มิติสัมพันธ์ และเวลา โรงเรียนมีโครงงานสู่การเรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก 

ผลการดำเนินงาน  

          ด้านร่างกายเด็กปฐมวัยมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานที่กรมอนามัยกำหนด มีทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายเหมาะสมกับวัย เล่นและทำกิจกรรมต่างๆ อย่างคล่องแคล่ว การใช้มือและตาประสานสัมพันธ์กันดี รู้จักดูแลรักษาสุขอนามัยของตนเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปฏิบัติตนตามข้อตกลงเกี่ยวกับความปลอดภัย ส่งผลให้การประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย พบว่า เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับ ดีเลิศ

          ด้านอารมณ์ จิตใจ มีความมั่นใจในตนเองเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์  ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ชื่นชมงานศิลปะ ดนตรี  การเคลื่อนไหว รักธรรมชาติ รักสิ่งแวดล้อม  มีคุณธรรม จริยธรรม  และมีจิตใจที่ดีงาม มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักวิธีหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ ภัยต่างๆ สิ่งเสพติด สิ่งมอมเมา และมีความระมัดระวังตนเองไม่ให้เกิดอันตรายจากการเล่นและการทำกิจกรรมกิจวัตรประจำวัน  ปฏิบัติตนตามวัฒนธรรม ประเพณีไทย และศาสนาที่ตนนับถือได้อย่างเหมาะสม มี่ทักษะชีวิตและรู้จักปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ดำเนินชีวิต คือ รู้จักประหยัด รู้จักการออม และวางแผนการใช้จ่ายของตนเองในแต่ละวันได้ตามวัย มีวินัยในตนเอง  รักธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม  และความเป็นไทย นิสัยร่าเริง แจ่มใส อารมณ์ดี มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันได้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล  รู้จักเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่และครู มีความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่เอาของคนอื่นมาเป็นของตนเอง มีน้ำใจ และช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่นได้เหมาะสมตามวัย เล่นและทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข รักการเรียนรู้ และสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว มีความคิดรวบยอดจากประสบการณ์เรียนรู้ ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัยสามารถสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ มีสมาธิในการเรียนรู้สามารถจำสิ่งต่างๆ ได้ตามวัย รู้จักแก้ปัญหา สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยภาษา ท่าทาง การเขียน สัญลักษณ์ มีทักษะการอ่านอย่างถูกต้องเหมาะตามวัยมีทักษะในการเรียนรู้และปฏิบัติโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สร้างทักษะการคิดเชิงมีเหตุผล มีความคิดสร้างสรรค์และถ่ายทอดออกมาตามจินตนาการของตนเองให้คนอื่นเข้าใจได้  โดยผลงานมีรายละเอียด แปลกใหม่ และหลากหลาย ได้รับการยอมรับจากเพื่อน ครู ผู้เกี่ยวข้อง จากผลการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ การประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ พบว่า เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ อยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับ ดีเลิศ

          ด้านสังคม เด็กๆรู้จักการรอคอยตามลำดับก่อน-หลัง สามารถเล่นร่วมกับผู้อื่นได้ตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป รู้จักการแบ่งปัน ปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียนและโรงเรียนได้ รู้จักการเป็นผู้นำ-ผู้ตาม ช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้เช่น การเข้าห้องน้ำ การรับประทานอาหาร กินอาหารได้ด้วยตนองไม่หกเลอะเทอะ ระมัดระวังดูแลตนเองและผู้อื่นให้ปลอดภัย มีความรับผิดชอบ ทิ้งขยะได้ถูกที่เปิด-ปิด น้ำหลังการใช้ทุกครั้ง มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยรู้จักยกมือไหว้กล่าวคำ "สวัสดี หรือ "ขอบคุณ ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องบอกจากผลการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม การประเมินพัฒนาการด้านสังคม พบว่ามีพัฒนาการด้านสังคมอยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับ ดีเลิศ

          ด้นสติปัญญา โรงเรียนมีการประเมินคุณภาพเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง รวมทั้งมีการนำผลการประเมินคุณภาพเด็กไปพัฒนาผู้เรียน โดยการนำผลการประเมินในปีการศึกษาที่ผ่านมาเด็กมีพัฒนาด้านสติปัญญาที่ดี สามารถสร้างผลงานตามความคิดของตนเองได้อย่างหลากหลาย มีลำดับขั้นตอน รู้จักการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ เรียงลำดับสิ่งต่างๆได้นับเลข 1-10 บอกค่าของจำนวนได้ รู้จักการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ฟังคำสั่งและปฏิบัติตามได้ ส่งเสริมการอ่านการเล่านิทานสามารถสนทนาโต้ตอบหรือเล่าเป็นเรื่องราวเป็นประโยคต่อเนื่องได้คิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจในเรื่องง่ายๆได้เหมาะสมตามวัย ขีดเขียนเป็นเส้นเป็นตัวหนังสือเขียนชื่อ-นามสกุล ของตนเองได้ มีการบูรณาการกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนได้เข้าร่วมเช่น กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมสเต็มศึกษา ทำให้เด็กๆมีพัฒนาการด้านสติปัญญาในทางที่ดีขึ้น จากผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา การประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา พบว่า เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์การประเมินระดับ ดีเลศ

      

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1MbpFC8NEFT-dXtKIHORoQIHYw2nhOoSb?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  
          โรงเรียนพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้คลอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นที่จะส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์จิตใจ  ด้านสังคม ด้านสติปัญญา เป็นคนดี  มีวินัย สำนึกความเป็นไทย และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน  สังคม และประเทศชาติในอนาคต และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560  ตามโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย จัดทำหลักสูตรต้านทุจริตระดับปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการอย่างเป็นองค์รวม ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านปฐมวัยโดยตรง และจัดครูเพียงพอกับจำนวนห้องเรียนในชั้นอนุบาล 1 อนุบาล2 อนุบาล3  ส่งเสริมครูให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านการจัดประสบการณ์ให้เด็กกับปฐมวัย ส่งครูเข้าอบรม ประชุม สัมนา ศึกษาดูงาน ตามโครงการพัฒนาครูและบุคลากร และโครงการศึกษาดูงาน เพื่อให้ครูได้นำความมารู้พัฒนาตนเอง เปิดให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีการกำกับติดตามการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และดำเนินการประเมินหลักสูตรของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานที่ชัดเจน จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา SARส่งหน่วยงานต้นสังกัดและเผยแพร่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกปีการศึกษา  มีโครงการนิเทศการสอน ที่ส่งเสริมให้ครูจัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนและเน้นในเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ มีสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่เพียงพอและหลากหลาย ให้บริการสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ  และในห้องเรียนมีโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต ให้ครูใช้เป็นสื่อในการจัดประสบการณ์ได้หลากหลาย และทันต่อเหตุการณ์ มีสื่อและอุปกรณ์ที่นำมาจัดประสบการณ์และกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการและทักษะด้านต่างๆ ทำให้เด็กได้พัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ ตามแหล่งเรียนรู้ภายนอกและภายใน และมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้แสวงหาความรู้  มีระบบการบริหาร มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา และประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างความร่วมมือและสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ปกครองกับครูและชุมชน เกี่ยวกับหลักการการจัดการศึกษาปฐมวัย ส่งผลให้การดำเนินงานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

 

ผลการดำเนินงาน  

      โรงเรียนมีหลักสูตรปฐมวัยของสถานศึกษาที่เป็นปัจจุบัน และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบันและตามบริบทของโรงเรียนโดยหลักสูตรจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 มาเป็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรปฐมวัยของสถานศึกษามาส่งเสริมพัฒนาเด็กด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์จิตใจ  ด้านสังคม ด้านสติปัญญา เป็นคนดี  มีวินัย สำนึกความเป็นไทย และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน  สังคม และประเทศชาติในอนาคต และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เด็กมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย ครูผู้สอนชั้นอนุบาล 1-3 ได้เข้ารับการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอทำให้มีความรู้ความสามารถด้านจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ มีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย และผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัย ซึ่งส่งผลให้ครูปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนากรเด็กเป็นรายบุคคล มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองการดำเนินการบริหารจัดการครอบคลุมด้านวิชาการ ด้านครูบุคลากร และด้านการประกันคุณภาพภายในโดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก มีสื่อการเรียนรู้ ของเล่นเสริมพัฒนาการ หนังสือนิทาน การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนมีความร่มรื่น  และปลอดภัย มีห้องสื่อ อุปกรณ์ ที่พร้อมใช้ ครูมีสื่อเทคโนโลยีสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ และรู้จักการแสวงความรู้ด้วยตนเองได้ตามวัย ผู้ปกครอง ชุมชน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย  เห็นความสำคัญ และให้ความร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัยมากกว่าที่ผ่านมา

     

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1NCrKA9Inzk6sOWlVBY8ewPUJjiM46EnA?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

 

    โรงเ                     โรงเรียนวัดขุนซ่องมีหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ได้นำหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อมาจัดกิจรรมการสอนการให้มีคุณภาพ  โดยมีกิจกรรมที่สงเสริมพัฒนาเด็กครบทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข มีโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย STEM วิทยาการคำนวณ Active Learning ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย  อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา อย่างเต็มศักยภาพ  ผู้ปกครองและชุมชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการจัดบรรยากาศที่เอื่อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อเเละเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่เด็กสนใจ  ได้ลงมือปฏิบัติ และเกิดกระบวนการเรียนรู้จากการแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง มีความสุขในการเรียนรู้ มีโครงการเปิดโลกทัศน์แสวงหาความรู้ให้เด็กได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเกิดการการเรียนรู้อย่างแท้จริง   ครูจัดกิจกรรมหลัก 6กิจกรรม  คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์  กิจกรรมเสรีเล่นตามมุม  กิจกรรมกลางแจ้ง  กิจกรรมเกมการศึกษา ที่ส่งเสริมทักษะและพัฒนาการทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล  เด็กมีการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ อย่างเป็นลำดับขั้นตอน  และเหมาะสมตามวัย  ใช้เครื่องมือและประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงเเละนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงจัดประสบการณ์เเละพัฒนาการเด็ก เป็นไปตามเป้าหมาย โดยอยู่ในเกณฑ์ประเมินโดยภาพรวมในระดับ ดีเลิศ

ผลการดำเนินงาน  

         จัดกิจกรรมส่งเสริมและดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผล   รู้และเข้าใจปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัย และสามารถนามาประยุกต์ใช้ ในการจัดประสบการณ์  จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและสามารถจัดการ เรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล บริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก  ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างหลากหลาย และสรุปรายงานผลพัฒนาการของเด็กแก่ผู้ปกครอง วิจัยในชั้นเรียนที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการจัดประสบการณ์ จัดสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก และผู้ปกครอง พัฒนาครูให้มีวุฒิและความรู้ความสามารถในด้านการศึกษาปฐมวัย  และจัดทำสารนิทัศน์และนำมาไตร่ตรองเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก  

 

จุดเด่น

1.ครูมีคุณวุฒิ/ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ    มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ      มีบุคลิกลักษณะที่เหมาะสมกับการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยครูได้รับการอบรม  สัมมนาและพัฒนาตนเองอยู่เสมอและเอาใจใส่นักเรียน

2.ครูมีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาผู้เรียนที่มีปัญหา

3.ครูมีการอุทิศเวลาในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุมาตรฐาน

 

      จุดที่ควรพัฒนา

1.ครูควรแสวงหาความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

2.ส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1M86Y5xqRIANXtVp0uSwn4dHznBDvdAVf?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
          มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
โรงเรียนพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้คลอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นที่จะส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคมด้านสติปัญญา เป็นคนดี มีวินัย สำนึกความเป็นไทยและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวชุมชน สังคม และประเทศชาติในอนาคต และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 ตามโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย จัดทำหลักสูตรต้านทุจริตระดับปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการอย่างเป็นองค์รวม ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านปฐมวัยโดยตรง และจัดครูเพียงพอกับจำนวนห้องเรียนในชั้นอนุบาล1อนุบาล2 อนุบาล3 ส่งเสริมครูให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านการจัดประสบการณ์ให้เด็กกับปฐมวัย ส่งครูเข้าอบรม ประชุม สัมนา ศึกษาดูงานตามโครงการพัฒนาครูและบุคลากรและโครงการศึกษาดูงาน เพื่อให้ครูได้นำความมารู้พัฒนาตนเอง เปิดให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีการกำกับติดตามการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และดำเนินการประเมินหลักสูตรของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานที่ชัดเจน จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาSARส่งหน่วยงานต้นสังกัดและเผยแพร่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกปีการศึกษา มีโครงการนิเทศการสอน ที่ส่งเสริมให้ครูจัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนและเน้นในเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ มีสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่เพียงพอและหลากหลาย ให้บริการสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและในห้องเรียนมีโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต ให้ครูใช้เป็นสื่อในการจัดประสบการณ์ได้หลากหลาย และทันต่อเหตุการณ์ มีสื่อและอุปกรณ์ที่นำมาจัดประสบการณ์และกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการและทักษะด้านต่างๆ ทำให้เด็กได้พัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพตามแหล่งเรียนรู้ภายนอกและภายใน และมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้แสวงหาความรู้ มีระบบการบริหาร มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างความร่วมมือและสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ปกครองกับครูและชุมชน เกี่ยวกับหลักการการจัดการศึกษาปฐมวัย ส่งผลให้การดำเนินงานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

โรงเรียนวัดขุนซ่องส่งเสริมผู้เรียนให้มีพัฒนาการครบทั้ง4ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา โดยได้ดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพเด็กปฐมวัยที่มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาคุณภาพเด็กโดยองค์รวมให้มีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สามารถควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ พัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยมีการวางแผนการดำเนินการและกระบวนการพัฒนา ดังนี้

พัฒนาการด้านร่างกายโรงเรียนส่งเสริมให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดีเเละดูเเลความปลอดภัยของตเองได้ จัดบริการอาหารให้เด็กอย่างเพียงพอและถูกหลักโภชนาการจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆของโรงเรียนได้แก่จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้และทำกิจกรรมเพื่อปลูกฝังการดูแลสุขภาพอนามัย มีการบันทึกการตรวจสุขภาพ มีการประเมินภาวะโภชนาการเป็นประจำทุกภาคเรียนและได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกคน โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนซ่องในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง มีอาหารเสริมนมมีแบบบันทึกการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกวัน เด็กล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย รวมทั้งการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคภัยต่างๆ และสิ่งเสพติดทั้งหลาย นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมกิจกรรมกีฬาสีภายในโรงเรียน กีฬาอำเภอแก่งหางแมว ส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถ ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรง ส่งเสริมให้เด็กใช้ทักษะและความสามารถด้านกีฬา ต่างๆทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน และรู้จักระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นจากการเล่นและทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน เด็กเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วส่งเสริมการจัดกิจกรรมการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็กและมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาได้ตามวัย

พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ โรงเรียนส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจควบคุมเเละเเสดงออกทางอารมณ์ได้ จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆกิจกรรมการเคลื่อนไหวยามเช้าเด็กจะผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำผู้ตามในการออกกำลังกาย กิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพ การระบายสีการปั้นดินน้ำมัน การประดิษฐ์ การตัดฉีก ปะหลังจากเสร็จงานทุกครั้งเด็กๆจะได้เล่าเรื่องราวจากงานที่ทำเสร็จและร่วมกันประเมินผลงานว่าของเพื่อนเป็นอย่างไร ของเราเป็นอย่างไร ทำให้เด็กๆได้รับความภาคภูมิใจเมื่อได้รับคำชมและโรงเรียนยังได้จัดกิจกรรม/โครงการที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจของเด็กอีกอย่างหลากหลาย เช่นกิจกรรมวันเด็ก กิจกรรมวันคริสมาสต์วันปีใหม่ โครงการวันสำคัญต่างๆ โครงการอนุบาลแจ่มใส ที่ส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกบนเวที ส่งเสริมให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ สามารถแสดงความรู้สึกต่างๆได้ โดยที่เด็กรู้จักควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์เผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและการนับถือตนเอง เล่นและปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นสนใจและมีความสุขในการทำกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักธรรมชาติเด็กได้รับการพัฒนาด้านอารมณ์และจิตใจทำให้เข้าใจและรู้จักจัดการกับอารมณ์ตนเองควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ รู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบ

พัฒนาการด้านสังคมโรงเรียนส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคมช่วยเหลือตนเองเเละเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยสอดแทรกการพัฒนาด้านสังคมเข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนของทุกกิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละวันให้เด็กๆได้ทำกิจกรรมร่วมกันรู้จักการคิด การแก้ไขปัญหา มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมระดับปฐมวัย ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่โรงเรียนต้องการให้เกิดขึ้นกับเด็ก ให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ปฐมนิเทศ กิจกรรมวันไหว้ครู กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ กิจกรรมวันคริสมาสต์ กิจกรรมวันวิสาขบูชา กิจกรรมวันมาฆบูชา กิจกรรมวันเข้าพรรษา กิจกรรมประชาธิปไตยการเลือกประธานนักเรียน โครงการอนุบาลรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โครงการลูกเสือน้อย โครงการฝึกทักษะชีวิตเบื้องต้นเด็กปฐมวัย สิ่งที่เด็กได้คือ การทำกิจกรรมเรียนรู้การเข้าสังคมการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่คณะรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น มีวินัยมีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามข้อตกลงร่วมกันได้ เล่นและทำงานร่วมกันได้ ปลูกฝังและส่งเสริมให้เด็กดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน เด็กรู้จักประหยัด รู้จักวางแผนการใช้จ่ายของตนเอง มีการออมเงิน ปลูกฝังให้เด็กมีมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เด็กรับผิดชอบดูแลเรื่องความสะอาดทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีความซื่อสัตย์ สุจริต รู้จักช่วยเหลือและแบ่งปันผู้อื่น และช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้

เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาโรงเรียนส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานเเละเเสวงหาความรู้ได้จาดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมทักษะในการคิด การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยและตามศักยภาพของเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทยเป็นการปลูกฝังให้เด็กๆมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติและเทคโนโลยี ให้เด็กๆหัดสังเกต รู้จักตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจัดกิจกรรมวิทยาการคำนวณกิจกรรมSTEMการจัดสภาพการณ์ให้เด็กปฐมวัย เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Active Learning)ซึ่งใช้การบูรณาการสาขาวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า จากการได้สำรวจ เล่น ทดลอง ค้นพบสิ่งต่างๆด้วยตนเองเด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเกิดความคิดรวบยอดจากประสบการณ์เรียนรู้ สนใจการเรียนรู้ รู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหา และใช้ภาษาสื่อความหมายเหมาะกับวัย ส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถในการคิดอย่างระบบมีความคิดรวบยอดในสิ่งต่างๆใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ช่างสังเกตมีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัยโดยจัดทำโครงการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนให้มีประสิทธิภาพ จัดกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดเกิดความภาคภูมิใจในตนเองและยอมรับในผู้อื่น กิจกรรมเล่านิทาน ให้เด็กมีการฝึกพัฒนาทักษะทางภาษา ฝึกการฟัง กิจกรรมเกมการศึกษา ให้นักเรียนได้ฝึกการจำแนก เปรียบเทียบการจับคู่ การเล่นเกมตัดต่อภาพ โครงการทักษะการคิดปฐมวัย เป็นการจัดกิจกรรมและจัดประสบการณ์ให้เด็กได้พัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพจากกิจกรรมต่างๆให้เด็กได้คิด การจำแนกและเปรียบเทียบ จำนวน มิติสัมพันธ์ และเวลา โรงเรียนมีโครงงานสู่การเรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
โรงเรียนพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้คลอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นที่จะส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคมด้านสติปัญญา เป็นคนดี มีวินัย สำนึกความเป็นไทยและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวชุมชน สังคม และประเทศชาติในอนาคต และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 ตามโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย จัดทำหลักสูตรต้านทุจริตระดับปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการอย่างเป็นองค์รวม ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านปฐมวัยโดยตรง และจัดครูเพียงพอกับจำนวนห้องเรียนในชั้นอนุบาล1อนุบาล2 อนุบาล3 ส่งเสริมครูให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านการจัดประสบการณ์ให้เด็กกับปฐมวัย ส่งครูเข้าอบรม ประชุม สัมนา ศึกษาดูงานตามโครงการพัฒนาครูและบุคลากรและโครงการศึกษาดูงาน เพื่อให้ครูได้นำความมารู้พัฒนาตนเอง เปิดให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีการกำกับติดตามการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และดำเนินการประเมินหลักสูตรของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานที่ชัดเจน จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาSARส่งหน่วยงานต้นสังกัดและเผยแพร่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกปีการศึกษา มีโครงการนิเทศการสอน ที่ส่งเสริมให้ครูจัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนและเน้นในเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ มีสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่เพียงพอและหลากหลาย ให้บริการสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและในห้องเรียนมีโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต ให้ครูใช้เป็นสื่อในการจัดประสบการณ์ได้หลากหลาย และทันต่อเหตุการณ์ มีสื่อและอุปกรณ์ที่นำมาจัดประสบการณ์และกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการและทักษะด้านต่างๆ ทำให้เด็กได้พัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพตามแหล่งเรียนรู้ภายนอกและภายใน และมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้แสวงหาความรู้ มีระบบการบริหาร มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างความร่วมมือและสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ปกครองกับครูและชุมชน เกี่ยวกับหลักการการจัดการศึกษาปฐมวัย ส่งผลให้การดำเนินงานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

 

โรงเรียนวัดขุนซ่องมีหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ได้นำหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อมาจัดกิจรรมการสอนการให้มีคุณภาพ โดยมีกิจกรรมที่สงเสริมพัฒนาเด็กครบทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข มีโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยSTEMวิทยาการคำนวณActive Learningที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา อย่างเต็มศักยภาพ ผู้ปกครองและชุมชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการจัดบรรยากาศที่เอื่อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อเเละเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่เด็กสนใจ ได้ลงมือปฏิบัติ และเกิดกระบวนการเรียนรู้จากการแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง มีความสุขในการเรียนรู้ มีโครงการเปิดโลกทัศน์แสวงหาความรู้ให้เด็กได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเกิดการการเรียนรู้อย่างแท้จริง ครูจัดกิจกรรมหลัก6กิจกรรม คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรีเล่นตามมุม กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเกมการศึกษา ที่ส่งเสริมทักษะและพัฒนาการทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล เด็กมีการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และเหมาะสมตามวัย ใช้เครื่องมือและประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงเเละนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงจัดประสบการณ์เเละพัฒนาการเด็กเป็นไปตามเป้าหมาย โดยอยู่ในเกณฑ์ประเมินโดยภาพรวมในระดับ ดีเลิศ


ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จุดเด่นของมาตรฐานที่ 1

1.นักเรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านที่ดี ร่าเริงแจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ กล้าแสดงออก เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครูได้อย่างมีความสุข

2. นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ความรับผิดชอบ มุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมและทำงานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ด้วยตนเองได้ตามวัย

3. นักเรียนมีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ รักการเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และความคิดรวบยอด มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ในชั้นสูงขึ้น

จุดเด่นของมาตรฐานที่ 2

1. ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการศึกษา มีคุณธรรม จริยธรรมและมีภาวะผู้นำ

2. ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรม สัมมนาและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

จุดเด่นของมาตรฐานที่ 3

1.ครูมีคุณวุฒิ/ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีบุคลิกลักษณะที่เหมาะสมกับการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยครูได้รับการอบรม สัมมนาและพัฒนาตนเองอยู่เสมอและเอาใจใส่นักเรียน

2.ครูมีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาผู้เรียนที่มีปัญหา

3.ครูมีการอุทิศเวลาในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุมาตรฐาน


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1JudfePVf39HGpc9YoslUyZEmfgB8TiFF?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

1. มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และ งานห้องสมุด

ได้ดำเนินการพัฒนาในรูปของกิจกรรม ดังนี้กิจกรรมส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ 4 ทักษะ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ นักเรียนด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษ(ท่องศัพท์ อ่านออกเสียง) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนทางคณิตศาสตร์ กิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนนำเสนอวิธีคิด วิธีแก้ปัญหาด้วยภาษาหรือวิธีการของตนเอง กิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านเรียนคณิตศาสตร์กิจกรรม พัฒนาผู้เรียนให้มีการคิดเลขเป็นเกิดทักษะการคิดแบบรูปธรรมและ นามธรรม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีการทักษะด้านการคิดอย่างมี วิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพ นักเรียนทางด้านคณิตศาสตร์และกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน ผลการดำเนินงาน ผู้เรียนได้เข้าร่วมแสดง และได้รับรางวัลเกี่ยวกับ ด้านการ ฟัง/พูด/อ่าน/เขียน

ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ

ผู้เรียนร้อยละ 83 มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

2. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ได้ดำเนินการ พัฒนาในรูปของกิจกรรม ดังนี้กิจกรรมจัดการเรียนการสอนแบบ โครงงานวิทยาศาสตร์และSTEMศึกษา กิจกรรมพัฒนานักเรียนมุ่งสู่ เกณฑ์มาตรฐาน กิจกรรมพัฒนาทักษะโครงงานวิทยาศาสตร์กิจกรรม พัฒนาผู้เรียนให้มีกระบวนการคิดและทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ ผลการดำเนินงาน ผู้เรียนสามารถคิดโดยใช้ข้อมูล ข้อความรู้ ประกอบการคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบในการทำความเข้าใจกับ เรื่องราวแล้วนำมาตั้งเป็นสมมติฐานจากเรื่องราวนั้นนำใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และสรุปข้อมูลอย่างสมเหตุผล และรู้จักแยกแยะ ข้อมูลว่าข้อมูลใดคือ ข้อเท็จจริง ข้อมูลใดคือความคิดเห็น ตลอดจน พิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล แล้วตั้งสมมติฐานเพื่อหาสาเหตุของ ปัญหา และสามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้

ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา

ผู้เรียนร้อยละ 81 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

3. มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

โรงเรียนได้ดำเนินการจัดโครงการ/กิจกรรมให้ผู้เรียนทุกคน มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ด้วย ตนเองและทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ น าประสบการณ์แนวความคิดมาใช้ในการทำโครงงาน โครงการ ชิ้นงาน ผลผลิตของตนเองอย่างสร้างสรรค์ บูรณาการกับแนวคิดสะเต็มศึกษา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มาใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม การจัดทำโครงงาน (Project Based Learning : PBL) มีครูประจำชั้นเป็นที่ปรึกษาโครงงาน ทุกโครงงานได้รับการประเมินจากคณะกรรมการที่ โรงเรียนแต่งตั้ง โดยใช้เกณฑ์การประเมินที่โรงเรียนกำหนด เผยแพร่โครงงานภายในโรงเรียนและภายนอก โรงเรียน

ผู้เรียนร้อยละ 60 มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

ผู้เรียนร้อยละ 62 มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

 

 

 

 

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

4. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาผู้เรียนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาตนเองของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยกำหนดรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมไว้ในโครงสร้างหลักสูตร สถานศึกษาให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสาร การทำงาน การศึกษาเรียนรู้ และการ พัฒนาตนเองอย่างสร้างสรรค์ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนใช้สื่อการเรียนรู้ตามโครงการ การพัฒนาคุณภาพ การศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) ในการจัดการเรียนรู้ เช่น ผลิตสื่อการเรียนรู้เพื่อใช้จัดการเรียนรู้ พัฒนาเว็บไซต์ DLIT เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ครูในการจัดการเรียนรู้ โดยสามารถนำไปใช้เป็นช่องทางให้ครู มอบหมาย ติดตามภาระงาน เป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนในประเด็นต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้าง สังคมแห่งการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์

ผู้เรียนร้อยละ 70 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ผู้เรียนร้อยละ 78 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

5. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

งานการเรียนการสอน งานส่งเสริมวิชาการ ได้ดำเนินการพัฒนาในรูปของการจัดกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมทบทวน แก้ไข และปรับปรุงเอกสาร ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาประกอบการเรียนการสอน กิจกรรมอบรมการจัดทำประมวลการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้โดยให้แต่ละกลุ่มสาระ การเรียนรู้ได้ทำการวิเคราะห์ ลำดับเนื้อหา ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกรายวิชา กิจกรรมการจัดวางตัวบุคลากรครูผู้สอนและจัดทำตารางสอน กิจกรรม ส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน การส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ(8 กลุ่มสาระ) กิจกรรม ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนตาม กิจกรรม ค่ายทักษะวิชาการ

ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร้อยละ 50 ของนักเรียนที่มีผลการเรียน ระดับ 3 ขึ้นไป

- กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ร้อยละ 50 ของนักเรียนที่มีผลการเรียน ระดับ 3 ขึ้นไป

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 50 ของนักเรียนที่มีผลการเรียน ระดับ 3 ขึ้นไป

- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ร้อยละ 60 ของนักเรียนที่มีผลการเรียน ระดับ 3 ขึ้นไป

- กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา ร้อยละ 60 ของนักเรียนที่มีผลการเรียน ระดับ 3 ขึ้นไป

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ร้อยละ 60 ของนักเรียนที่มีผลการเรียน ระดับ 3 ขึ้นไป

ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร้อยละ 54.52

- กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ร้อยละ 46.64

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 51.53

- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ร้อยละ 60.15

- กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา ร้อยละ 75.87

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ร้อยละ 57.59

- กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพฯ

ร้อยละ 72.73

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ร้อยละ 35.88

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

5. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

- กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพฯ

ร้อยละ 60 ของนักเรียนที่มีผลการเรียน ระดับ 3 ขึ้นไป

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ร้อยละ 50 ของนักเรียนที่มีผลการเรียน ระดับ 3 ขึ้นไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

6. มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

งานแนะแนว ได้ดำเนินการพัฒนาในรูปของการจัด กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมพี่แนะน้อง กิจกรรมแนะแนวการศึกษา/ เตรียมพร้อม/ทักษะ กิจกรรม ม.3 เตรียมความพร้อมสู่สายสามัญและสาย อาชีพ กิจกรรม ป.6 เตรียมความพร้อมสู่มัธยมศึกษาตอนต้น กิจกรรม อาชีพในดวงใจ กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ ป.6 ม.3 ผลการดำเนินงาน ผู้เรียนมีความสามารถในการทำงานอย่างเป็น ระบบ โดยมีการวางแผนการทำงาน ดำเนินงานตามแผนอย่างรอบคอบ เอาใจใส่ มานะ พากเพียร มีการตรวจสอบทบทวนการทำงานเป็นระยะ ๆ จนงานที่ดำเนินการบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ กำหนดจนสำเร็จอย่างมีคุณภาพ ทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ มีความรู้สึก ที่ดีต่ออาชีพสุจริต สามารถบอกแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ และหาความรู้ เกี่ยวกับอาชีพที่สนใจ

ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

ผู้เรียนร้อยละ 84 มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

ผลการดำเนินงาน  
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  

รายละเอียดที่ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

รายละเอียดย่อยที่ 1) ร้อยละ 95 ของผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

1) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

ผู้เรียนมีพฤติกรรม

เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม

- ผู้เรียนร้อยละ 95.00 มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

 

 

 

 

ระดับ 5

ยอดเยี่ยม

 

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

รายละเอียดที่ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

รายละเอียดย่อยที่ 2) ร้อยละ 95 ของผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

2) มีความภูมิใจในท้องถิ่นและ

ความเป็นไทย

ผู้เรียนมีความภูมิใจ

ในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม

และประเพณีไทยรวมทั้ง

ภูมิปัญญาไทย

- ผู้เรียนร้อยละ 95.00 มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

 

 

 

 

 

 

ระดับ 5

ยอดเยี่ยม

 

 

 

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

รายละเอียดที่ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

รายละเอียดย่อยที่ 3) ร้อยละ 95 ของผู้เรียนยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

3) ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ผู้เรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้าน เพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณี

- ผู้เรียนร้อยละ 95.00

ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ระดับ 5

ยอดเยี่ยม

 

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

รายละเอียดที่ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

รายละเอียดย่อยที่ 4) ร้อยละ 95 ของผู้เรียนมีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

4) มีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

ผู้เรียนมีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์และสังคม และแสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุขเข้าใจผู้อื่นไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น

- ผู้เรียนร้อยละ 95.00

มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย

สม่ำเสมอ ส่งผลให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์

 

 

ระดับ 5

ยอดเยี่ยม

 

ผลการดำเนินงาน  
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

1. มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่สถานศึกษา กำหนดชัดเจน

โรงเรียนดำเนินการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาล และใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SchoolBased Management : SBM)

กำหนดโครงสร้างบริหารงานเป็น 4 กลุ่ม คือกลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหาร งบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารทั่วไป

วางแผนการจัดการศึกษา

ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบทของโรงเรียน จากการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ กรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง ผู้แทนครู และฝ่ายบริหารของโรงเรียน ประชุมร่วมกัน วิเคราะห์สภาพ ปัจจัยภายใน (STEP) และปัจจัยภายนอก (2S4M) โดยใช้เทคนิค SWOT (SWOT Analysis) กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ โดยใช้แนวคิด balance scorecard ในการ

กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ แผนงาน โครงการ กิจกรรมให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล นโยบายต้นสังกัด ชุมชนและท้องถิ่น จัดทำธรรมนูญ โรงเรียนและแผนพัฒนาการศึกษาระยะ 5 ปี แผนปฏิบัติการประจำปี จากการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ หัวหน้างาน และ ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ผู้อำนวยการสื่อสารให้บุคลากรและผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนทุกคนรับทราบถือปฏิบัติ โดยการประชุมผู้เกี่ยวข้อง ติดตามการดำเนินงานตาม แผนปฏิบัติการประจำปีทุกไตรมาส เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด จัดทำรายงานผลการ ดำเนินงานทุกภาคเรียน (SSR) รายงานประจำปีของสถานศึกษา (SAR) และรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (AR) ทุกปีการศึกษา นำข้อมูลผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาทบทวนวัตถุประสงค์เป้าหมาย เพื่อปรับ แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องและบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ พันธกิจ และวิสัยทัศน์ที่กำหนดทุกปี พร้อมรายงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและหน่วยงานต้นสังกัด และดำเนินการทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์เพื่อปรับธรรมนูญโรงเรียนและแผนพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาบริบทของ โรงเรียน ทุก 4 ปี

มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ 4 ดีเลิศ

มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ 4 ดีเลิศ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

2. มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

โรงเรียนนำกลยุทธ์ของโรงเรียนมาร่วมกันจัดทำแผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map) ภายใต้มุมมอง 4 ด้าน คือ ด้านประสิทธิผล ด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านประสิทธิผลของการปฏิบัติงานและด้านการพัฒนา องค์กร โดยวิเคราะห์เป้าประสงค์ในแต่ละประเด็นกลยุทธ์ตามลำดับความสำคัญ แล้วกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกล ยุทธ์เพื่อตอบสนองความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ ความสำคัญต่อสมรรถนะหลักและโอกาสในการ สร้างนวัตกรรมทางการศึกษาของโรงเรียน แล้วนำแผนพัฒนาการศึกษา ผลการประเมินสถานภาพโรงเรียน (SWOT Analysis) วิสัยทัศน์ พันธกิจ เปูาประสงค์ ยุทธศาสตร์ (กลยุทธ์) มาวิเคราะห์จัดทำแผน กลยุทธ์ โดยผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้างานและผู้เกี่ยวข้อง ประชุมพิจารณาประเด็น นโยบายทางการศึกษาและรายงานผลการดำเนินงานพร้อมข้อเสนอแนะของปีที่ผ่านมาเป็นข้อมูลในการจัดทำ แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณของโรงเรียนและกำหนดปฏิทินการดำเนินงานของโรงเรียน โดยผ่านความ เห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนก่อนนำไปสู่การปฏิบัติโรงเรียนคำนึงถึงระดับการ ปฏิบัติงานตามสภาพโครงสร้างบริหารของโรงเรียนในการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติจึงให้ผู้รับผิดชอบตามโครงสร้าง บริหารของโรงเรียน ทำการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของกลุ่มงาน เพื่อ แปลงกลยุทธ์ของโรงเรียนไปสู่การปฏิบัติในระดับหน่วยงาน โดยหัวหน้างาน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ภายในกลุ่มงาน และกลุ่มสาระการเรียนรู้ร่วมกันประชุม วิเคราะห์ปัจจัยภายในกลุ่มงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้โดยใช้หลัก 7Ss วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน 7 ด้าน คือ โครงสร้างองค์กร (Structure) ระบบองค์กร (System) ทักษะและประสบการณ์ (Skill) คุณค่าร่วม (Share Value) อัตรากำลังคน (Staff) รูปแบบการบริหารจัดการ (Style of management) วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกกลุ่มงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้โดย ใช้หลัก C–PEST วิเคราะห์โอกาสและภาวะคุกคาม 5 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) ด้านนโยบาย (Political) ด้านงบประมาณ (Economic) ด้านสังคม (Social) ด้านระบบ IT (Technology) หัวหน้างานและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้นำผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มากำหนดเป็น วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ของกลุ่มงานหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้นำไปจัดทำกรอบ

กลยุทธ์ของกลุ่มงาน กลุ่ม สาระการเรียนรู้โดยนำเป้าประสงค์ วัตถุประสงค์

และตัวชี้วัดที่กำหนด มาวิเคราะห์กำหนดโครงการ วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ นำไปจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ การกำหนดโครงการกิจกรรมของแผนปฏิบัติการของโรงเรียนมาจากการมีส่วนร่วมของบุคลากร ในกลุ่มงานและกลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียน โดยใช้ระบบวงจรคุณภาพ Deming Cycle (PDCA) ในการปฏิบัติงาน เริ่มจากการวางแผน (Plan) การดำเนินงาน การลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนของกิจกรรม (Do) การ ติดตามตรวจสอบขณะปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนจนสำเร็จ (Check) นำผลสำเร็จที่เกิดขึ้นมากำหนดแนวทาง พัฒนาให้ดีขึ้น (Act) ผู้รับผิดชอบโครงการ กิจกรรม จะประเมินผลความสำเร็จทุกภาคเรียน Self Assessment Report : SAR 38 กลุ่มนโยบายและแผนจะรวบรวมผลการประเมินต่าง ๆ นี้เป็นข้อมูลย้อนกลับใช้ในการทบทวนจัดทำแผนปฏิบัติ การปีต่อไป โดยกลุ่มนโยบายและแผนมีหน้าที่กำกับติดตามการปฏิบัติงานและการใช้งบประมาณ ตามแผนปฏิบัติ การประจำปี ทุกกลุ่มงานและกลุ่มสาระการเรียนรู้จะปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนดไว้แผนปฏิบัติการประจำปี และปฏิทินโรงเรียน ผู้รับผิดชอบโครงการจะบันทึกการขอใช้งบประมาณในแบบสรุปการขออนุมัติใช้งบประมาณ ที่กลุ่มนโยบายและแผนทุกครั้ง กลุ่มบริหารงบประมาณดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่ผ่านการอนุมัติตาม

ลำดับ ขั้นเมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว ผู้รับผิดชอบโครงการสรุปรายงานผลการปฏิบัติงานส่งกลุ่มนโยบายและแผน ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ซึ่งกลุ่มนโยบายและแผนจะรวบรวมข้อมูลจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน (SSR) เมื่อสิ้น ภาคเรียน (ปีละ 2 ครั้ง) และนำข้อมูลสารสนเทศนั้นมาจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา (SAR) เมื่อสิ้นปี

มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ 4 ดีเลิศ

มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ 4 ดีเลิศ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

3. ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียน รอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมาย

โรงเรียนดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการ ที่ประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ผู้อำนวยการ โรงเรียน รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้างานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดทำและพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาที่มีโครงสร้าง องค์ประกอบของหลักสูตรครบถ้วน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาชาติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ตอบสนอง วิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดเน้นของสถานศึกษา ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของ โรงเรียน และนำสู่การปฏิบัติโดยครูนำไปจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ลำดับเนื้อหาสาระตามกระบวนการ เรียนรู้ บูรณาการสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น

มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ 4 ดีเลิศ

มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ 4 ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

4. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ ทางวิชาชีพ

โรงเรียนมีแผนงาน / โครงการ / กิจกรรม ที่ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากร ทั้งด้านความรู้ ความสามารถและทักษะตามมาตรฐานตำแหน่งทั้ง 3 ด้าน โดยการใช้หลักการ PLC (Professional Learning Community) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ได้แก่ การทำแผนพัฒนาตนเองของครูและบุคลากรทางการศึกษา ( Id Plan) การอบรมสัมมนา (ครูปองครู) หลักสูตรต่างๆ ตามความสนใจและเนื้อหาวิชาของครูแต่ละท่าน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ของครูและบุคลากร มีการนิเทศติดตามการสอนของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ การสอนงานโดย ระบบพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ทั้งภายในโรงเรียนและจากหน่วยงานภายนอก นอกจากนี้ยังส่งเสริม ให้ครูและบุคลากรได้พัฒนาวิชาชีพการทำวิทยฐานะในระดับต่างๆ เมื่อถึงเวลาที่จะต้องส่งผลงานครูและบุคลากร เข้ารับการพัฒนาอย่างน้อยคนละ 20 ชั่วโมง

มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ 4 ดีเลิศ

มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ 4 ดีเลิศ

 

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

5. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อ การจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

โรงเรียนมีแผนงาน / โครงการ / กิจกรรม พัฒนาอาคารสถานที่ให้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องน้ำ โรงอาหาร หอประชุม อาคารประกอบการ ฯลฯ ทุกแห่งสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความมั่งคงแข็งแรง และ ปลอดภัย จัดสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนให้สวยงาม ร่มรื่น ภายในห้องเรียนมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการ เรียนรู้ ได้แก่ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้อย่างเพียงพอกับผู้เรียน และพร้อมใช้ งาน จัดพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนครบทุกกลุ่มสาระ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในให้มีระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ ทันสมัย เพียงพอ และสะดวกต่อการใช้งาน

มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ 4 ดีเลิศ

มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ 4 ดีเลิศ

 

 

 

 

 

 

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

รายละเอียดของมาตรฐาน

คำอธิบายของรายละเอียด

ประเด็นพิจารณา

เกณฑ์คุณภาพ

6. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการ บริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

โรงเรียนกำหนดผู้รับผิดชอบจัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการของโรงเรียนโดย กำหนดหมวดหมู่ข้อมูลให้ถูกต้อง ครอบคลุม และพร้อมใช้ โดยจัดหาฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพใช้งานง่าย สะดวก ถูกต้อง ปลอดภัย โดยการกำหนดรหัสแต่ละระดับของผู้ใช้งาน ซึ่งมีขั้นตอนในการจัดระบบสารสนเทศ 5 ขั้นตอน คือ 1. การรวบรวมข้อมูล 2. การตรวจสอบข้อมูล 3. การประมวลผลข้อมูล 4. การน าเสนอข้อมูลและสารสนเทศ 5. การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ กลุ่มงานทั้ง 4 กลุ่มงาน คือ กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารทั่วไป และ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้มีการกำหนด ผู้รับผิดชอบจัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุมภารกิจ แต่งตั้งคณะกรรมการงานสารสนเทศจากทุก กลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนในการดำเนินการจัดเก็บข้อมูล กำหนดเวลา แจ้ง ผู้รับผิดชอบของแต่ละกลุ่มบริหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ในการรายงานข้อมูล

ดำเนินการจัดการข้อมูลที่

สำคัญของ หน่วยงานตนให้เป็นปัจจุบัน นำ ไปใช้ในการวางแผนการจัดการศึกษาที่ครอบคลุมภารกิจทั้ง 4 กลุ่มงาน 8 กลุ่ม สาระการเรียนรู้ จัดทำและให้บริการข้อมูลสารสนเทศที่เป็นระบบแก่ผู้ต้องการใช้ทุกฝ่าย บุคลากรทุกคนสามารถ เข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วเป็นปัจจุบัน

นำข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญย้อนหลัง 3 ปี ใช้เป็นข้อมูลในการทบทวน ปรับปรุงพัฒนางาน มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนให้นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถ ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และสืบค้นหาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ได้อย่างคล่องแคล่ว โดยโรงเรียนขับเคลื่อน โครงการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียน สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งเป็นช่องทางให้ครูมอบหมาย และติดตามภาระงาน

มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ 4 ดีเลิศ

มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ 4 ดีเลิศ

 

ผลการดำเนินงาน  
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนได้ดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น ตามความสนใจ ความต้องการ และความถนัดของผู้เรียน โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล ตามแผนงาน/โครงการและกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา บูรณาการการจัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน เศรษฐกิจพอเพียง การจัดการศึกษา สะเต็มศึกษา และกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เพื่อให้ครูสามารถวางแผนและออกแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนครอบคลุมทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดทำสารสนเทศอย่างเป็นระบบ และใช้ข้อมูลสารสนเทศวางแผนจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งเสริมให้ครูใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย พัฒนาครูให้มีความรู้ในการวิจัย มีการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ อย่างน้อยปีละ ๑ เรื่อง มีโครงการการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานจัดการเรียนการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง

การนิเทศเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ จะต้องตั้งอยู่บนหลักแห่งมนุษยสัมพันธ์ กับครูโดยตรงผสมผสานกันทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนวัดขุนซ่อง มีดังนี้

1.จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฎิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิด และปฏิบัติจริง มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้ที่มีความจำเป็น และต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

2.ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งทางโรงเรียนได้เน้นการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียน รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย

3.มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก โรงเรียนมีจุดเน้นเรื่องการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก โดยการให้ครูเรียนรู้กระบวนการจัดการเรื่องการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญเพื่อตอบสนองสมรรถนะของนักเรียน5 สมรรถนะ คือ ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการใช้เทคโนโลยี ทักษะการสื่อสาร ทักษะในการแก้ปัญหา และทักษะในการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เน้นการจัดกระบวนการกลุ่ม กระบวนการ Active Leaningนักเรียนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ มีส่วนร่วมในการสร้างข้อตกลงกับครูและเพื่อน เน้นการปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน อีกทั้งยังร่วมกับครูในการจัดมุมประสบการณ์การเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อปลูกฝังทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

4.ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ทางโรงเรียนมีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบมีขั้นตอน โดยใช้เครื่องมือวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งดูได้จากแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เครื่องมือวัดและประเมินผลตามสภาพจริง

5.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ทางโรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ผลการดำเนินงาน  

มีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตนเอง กำหนดเนื้อหาสาระ กิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดเป็นรายบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สรุปองค์ความรู้ และสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ แสดงออก นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็นคิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องผู้เรียนได้เรียนรู้โดยเชื่อมโยงบูรณาการสาระการเรียนรู้และทักษะด้านต่างๆ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยอย่างต่อเนื่อง

การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่นผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอน ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน ครูมีการวัดและประเมินผลผู้เรียนจากสภาพจริง มีขั้นตอนตรวจสอบและประเมินอย่างเป็นระบบ ใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1-MSsdYaxzTGhC0ap3yYjnU9rNZN7hcSO/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

วิธีดำเนินการพัฒนา

สถานศึกษามีการจัดกิจกรรม กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย  โดยบูรณาการในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ ให้ตรงตามศักยภาพของผู้เรียน และเน้นเรื่องการอ่านออกเขียนได้ของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1 จัดกิจกรรมซ่อมเสริมให้นักเรียนได้ฝึกฝนพัฒนาทักษะด้านต่างๆเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  โดยใช้เทคโนโลยี จัดให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา อีกทั้งฝึกให้ผู้เรียนได้เกิดจากการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร  เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  จัดให้มีผลการประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียนเป็นไปตามเกณฑ์

                    นอกจากนี้  สถานศึกษาได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนมีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ  มีระบบการแนะแนวและการดูแลสุขภาวะจิต นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอนและมีการเรียนรู้ในโลกกว้าง  การเข้าไปศึกษากับภูมิปัญญาในชุมชนรอบๆ สถานศึกษา  เช่น การทำสบู่  การทำไข่เค็ม และจัดกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โครงการส่งเสริมการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนกิจกรรมสภานักเรียน จากการปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าว ทำให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน มีการวางแผนในการทำงานร่วมกัน ทำงานกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

          มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

          วิธีดำเนินการพัฒนา

โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการ ศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการ ปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผน ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถาน ศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการ ประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนา ตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศกำกับ ติดตาม ประเมิน ผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน 

                  

          มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

          วิธีดำเนินการพัฒนา

โรงเรียนได้ดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น ตามความสนใจ ความต้องการ และความถนัดของผู้เรียน โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล ตามแผนงาน/โครงการและกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการ ได้แก่  การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา บูรณาการการจัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน เศรษฐกิจพอเพียง การจัดการศึกษา    สะเต็มศึกษา และกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เพื่อให้ครูสามารถวางแผนและออกแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนครอบคลุมทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดทำสารสนเทศอย่างเป็นระบบ และใช้ข้อมูลสารสนเทศวางแผนจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งเสริมให้ครูใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย พัฒนาครูให้มีความรู้ในการวิจัย มีการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ อย่างน้อยปีละ ๑ เรื่อง มีโครงการการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานจัดการเรียนการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง


 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

     มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

         ผลการดำเนินการพัฒนา

                   ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น  สามารถเขียนสื่อสารได้ดี  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย  กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์  ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น  รวมทั้งรู้เท่าทันข่าวสาร สื่อเทคโนโลยีและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ  เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์    รักการออกกำลังกาย  ยอมรับและปฏิบัติตามกฎกติกาของกลุ่มในสถานศึกษา รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัย 

จุดเด่น

 

ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านคล่องตามเกณฑ์ในทุกระดับชั้น รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้และสามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดี  นอกจากนี้ผู้เรียนยังเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นชาวพุทธที่ดี  มีสุขนิสัยที่ดี มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์  ปลอดสิ่งเสพติด  มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง  รู้จักให้เกียรติผู้อื่น  เห็นคุณค่าในตนเอง  เห็นคุณค่าศิลปะ ได้เข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี/นาฏศิลป์ กีฬา นันทนาการได้เป็นอย่างดี

          มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

ผลการดำเนินการพัฒนา

                   สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพ ปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของ ชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

                   แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับ การพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและ สังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

                   ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมใน การร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารและการจัดการ  โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนา ผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา

                   สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษา

         จุดเด่น

 

โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการ ประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น  การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการ ปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวน วิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

            มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

          ผลการดำเนินการพัฒนา

                    มีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตนเอง กำหนดเนื้อหาสาระ กิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดเป็นรายบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สรุปองค์ความรู้ และสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ แสดงออก นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็นคิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยเชื่อมโยงบูรณาการสาระการเรียนรู้และทักษะด้านต่างๆ  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน  และเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยอย่างต่อเนื่อง

                    การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอน  ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

                    การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน  ครูมีการวัดและประเมินผลผู้เรียนจากสภาพจริง มีขั้นตอนตรวจสอบและประเมินอย่างเป็นระบบ ใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม  โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน

         

 

          จุดเด่น

                                ครูมีความมุ่งมั่น ตั้งใจและรับผิดชอบในหน้าที่การจัดการเรียนการสอน โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ แสดงออก นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอน



ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/folders/1iMbIymhL4L0NBR5NL8QhygTn7K7zJJrn?usp=sharing