รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดขุนซ่องสาขาบ้านโป่งเกตุ

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

โรงเรียนวัดขุนซ่อง สาขาบ้านโป่งเกตุ ตั้งอยู่ที่ บ้านโป่งเกตุ หมู่ 11 ตำบลขุนซ่อง  อำเภอแก่งหางแมว  จังหวัดจันทบุรี   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีนักเรียนชั้นอนุบาล 2-3 จำนวน 10 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 รวมทั้งหมด  81 คน (ข้อมูล ณ 9 เมษายน 2564)  มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมด  11  คน ได้แก่ ผู้อำนวยการ จำนวน 1 คน  รองผู้อำนวยการ จำนวน 1 คนข้าราชการครู จำนวน 4  คน พี่เลี้ยงเด็กพิการจำนวน 1 คน ครูอัตราจ้างจำนวน  2 คน เจ้าหน้าที่ธุรการจำนวน 1 คน และ นักการภารโรงจำนวน 1 คน ผลการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2563 พบว่า การศึกษาระดับปฐมวัยมีคุณภาพโดยรวมอยู่ใน ระดับดีเลิศ  และการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานมีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ  ดังนี้

       ระดับปฐมวัย 

 ผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาปฐมวัย พบว่า อยู่ในระดับ  ดีเลิศ

       โรงเรียนวัดขุนซ่อง สาขาบ้านโป่งเกตุมีผลการดำเนินการตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย 3 มาตรฐาน ดังนี้  

ด้านคุณภาพของเด็ก ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

      เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ พัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ ได้เหมาะสมตามวัย พัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้อย่างเหมาะสม พัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสาร ได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย

ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

                มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองสอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น จัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้   คือ  ครูมีความเหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน  ครูจบการศึกษาปฐมวัยและผ่านการอบรมด้านการศึกษาปฐมวัยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้ชุมชนแห่ง การเรียนรู้ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อร่วมปรึกษา ปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน ครูปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยมีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ทักษะการสังเกต  และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง  มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน  ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุน การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง  มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

 

ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ ดี

                ครูได้มีการจัดกิจกรรมประจำวัน6 กิจกรรมหลัก ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้านเต็มตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน และได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่หลากหลายวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์- จิตใจ สังคม และสติปัญญา  ตอบสนองความสนใจ  ความสามารถของเด็กเป็นรายบุคคและรายกลุ่มจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับเด็กได้เลือกเล่น ตามมุมประสบการณ์ ตามความสนใจของเด็ก  เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างอิสระและสร้างสรรค์ ให้ประสบการณ์ตรง  ลงมือปฏิบัติจริง  สร้างองค์ความรู้ด้วยเอง และปลูกฝังให้เด็กมีมีน้ำใจ ความสามัคคี  การแบ่งปัน และการรอคอย  เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน รักษาสภาพแวดล้อมห้องเรียนให้สะอาด น่าอยู่ ทันสมัย อบอุ่น มีอากาศถ่ายเทสะดวก มีสภาพแวดล้อมในห้องเรียนปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยเด็ก ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข และปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน

ด้านการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุง การจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก โรงเรียนมีกระบวนการในการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายครอบคลุม เหมาะสมกับวัยเด็ก  เช่น การสังเกต  การสอบถาม การสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็กโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมินพัฒนาการเด็กเพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนให้ดียิ่งขึ้นไป

   ผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า จากผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ใน แต่ละมาตรฐาน จากผลการประเมินสรุปว่าได้  ระดับ ดีเลิศ 

มาตรฐานที่ 1คุณภาพของผู้เรียน  อยู่ในระดับ ดี                     

มาตรฐานที่ 2กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดีเลิศ 

มาตรฐานที่ 3กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดีเลิศ

                โรงเรียน มีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายที่เป็นไปตาม ปัญหาและ ความต้องการพัฒนาตามสภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของโรงเรียน และความต้องการของชุมชนท้องถิ่น พัฒนาการของค่าเฉลี่ยผลการประเมินการทดสอบความสารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ(NT)สูงขึ้นและ ผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) สูงขึ้นทั้ง 4 รายวิชา  ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียน การสื่อสารภาษาไทย ความสามารถในการคิดคํานวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดีและมีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมและคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากําหนดปรากฏอย่างชัดเจนดังที่ปรากฏผลการประเมินในมาตรฐานที่1ในด้านกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารมีกระบวนการบริหารและการจัดการโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาล ดําเนินงานบริหารจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้น พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการประจําปีเพื่อจัดทําโครงการตามยุทธศาสตร์และจุด  เน้นของช่วงชั้นที่วางไว้ โดยมีปัจจัยสนับสนุน จากต้นสังกัดและได้รับความร่วมมือจากผู้บริหาร ครูบุคลากรทางการศึกษานักเรียน  ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กร ภาครัฐ/เอกชนสถานศึกษามีการวางแผน ออกแบบกิจกรรมและการดําเนินงานตามแผนที่เกิด จากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและการดําเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนาและสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนา ตรวจสอบผลการดําเนินงาน และการปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครูได้รับการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และนำความรู้มา วิเคราะห์ ออกแบบและจัดการเรียนรู้เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตร และบริบทของสถานศึกษา พัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ ใช้สื่อการสื่อการเรียนการสอน และเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียนมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ฝึกการแก้ปัญหา การให้เหตุผลมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย จัดกิจกรรมเดี่ยว กิจกรรมกลุ่ม การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงาน นักเรียนสามารถร่วมอภิปราย ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ติดตาม ตรวจสอบและช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหารายบุคคล และการประเมินผลจากสภาพจริงทุกขั้นตอน 

 

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเองระดับปฐมวัย

1.       โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

2.       โครงการอนุบาลแจ่มใส

3.       โครงฝึกทักษะการคิดระดับปฐมวัย

4.       โครงการอาหารเสริม(นม)

5.       กิจกรรมโครงงานขนมไข่แสนอร่อย

6.       แบบบันทึกการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

7.       แบบบันทึกการตรวจสุขภาพ

8.   แบบบันทึกการแปรงฟัน

9.   กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

10.   กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ 

11.  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

12. แผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

13. รายงานผลการประเมินตนเองประจำปี

14. โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

15. บันทึกการได้รับอาหารกลางวัน

16. บันทึกการประเมินพัฒนาการ

17. บันทึกการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 12  ประการ

18.บันทึกการเยี่ยมบ้าน

19.บันทึกการตรวจสุขภาพนักเรียน บัตรสุขภาพนักเรียน

20.วิจัยในชั้นเรียน

21.กิจกรรมจัดหา จัดทำสื่อวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนและเครื่องเล่น

22.มุมประสบการณ์

23.บรรยากาศ  ห้องเรียนแจ่มใส  มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ 

24.การจัดกิจวัตรประจำวัน  

25.ภาพถ่าย เกียรติบัตร รางวัลต่างๆ

ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเองระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

   จากความสําเร็จด้านคุณภาพผู้เรียน  โรงเรียนได้ดําเนินการโครงการต่าง ๆ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง ได้แก่

                1. โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา  ได้แก่ กิจกรรมสอนเสริมเติมความรู้สู่โอเนต  กิจกรรมพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนใน 8 กลุ่มสาระ

                  2. โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  ได้แก่ กิจกรรมทัศนศึกษา  กิจกรรมวิชาการ  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 

                  3. โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 

                  4. โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน

                 5. โครงการนิเทศภายใน

                 6. โครงการนักเรียนพิเศษเรียนร่วม 

                 7. โครงการส่งเสริมกิจการนักเรียน  ได้แก่ กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์  กิจกรรมวันภาษาไทย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ  กิจกรรมสหกรณ์ กิจกรรมออมทรัพย์ กิจกรรมอาหารกลางวัน  กิจกรรมอาหารเสริม(นม)  กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสีภานในและภายนอก  กิจกรรมประเพณีท้องถิ่น

                 8. โครงการห้องเรียนสะอาด

                9. โครงการเกษตรพอเพียง

                10. โครงการพัฒนาระบบงานทะเบียนและวัดผล

                11. โครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียน

                12. โครงการเลี้ยงปลาในกระชัง

                13. โครงการเลี้ยงไก่ไข่

                14.  หลักฐาน ร่องรอย การเข้าร่วมหรือมีส่วนปฏิบัติกิจกรรม

                15. ประเมินและสรุปผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

                16. เอกสาร/หลักฐานการวัดและประเมินผลผู้เรียนทุกระดับชั้น

                17. รายงานประจำปีของสถานศึกษา

                18. รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของผู้เรียนทุกกลุ่มสาระ และ ทุกระดับชั้น 

                19. รายงานผลการทดสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ของผู้เรียนชั้นที่มีการทดสอบ 

                20. สมุดบันทึก  เกียรติบัตร รางวัล ภาพถ่าย

                21. คำสั่งของโรงเรียน

                22. เอกสารรายงานการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

                23. บันทึกการประชุมของโรงเรียน

                24. อาคาร ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ สื่อ/วัสดุอุปกรณ์ สภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้   

               25. รายงานผลการเข้าร่วมอบรมพัฒนาของครูและบุคลากร

                26. สมุดบันทึก เกียรติบัตร รางวัล ภาพถ่าย

              
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

1.ส่งเสริมให้คณะครูเข้ารับการอบรมพัฒนาความรู้ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อนำความรู้มาบูรณาการในการพัฒนาเด็กปฐมวัย และการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยให้ดียิ่งขึ้น

           2.  การประชาสัมพันธ์กิจกรรม ของโรงเรียนให้กว้างขวางขึ้น การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เช่น  ชุมชน ศิษย์เก่า องค์กรส่วนท้องถิ่น และอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง 

           3.  พัฒนาปรับปรุงการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการ  ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

         4. พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคํานวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่ โรงเรียนกําหนดในแต่ระดับชั้น 

        5. พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ พิจารณาอย่าง รอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  

     6. พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทํางานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

    7. พัฒนาให้นักเรียน มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทํางาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม 

      8. พัฒนาให้นักเรียน มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้าน ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ  กระบวนการต่างๆ รวมทั้งเจตคติที่ดี

   9. พัฒนาให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ มีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการ เจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น มีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา

     10. พัฒนาให้นักเรียนมีค่านิยมและจิตสํานึกตามที่สถานศึกษามีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของ ความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย

      11. พัฒนาให้นักเรียน มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคมแสดงออกอย่างเหมาะสม ในแต่ละช่วงวัย         

       12. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

       13. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ความเป็นมืออาชีพ

   14. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา ตามแนวทางการกระจายอำนาจและเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา

      15. การประชาสัมพันธ์กิจกรรม ของโรงเรียนให้กว้างขวางขึ้น การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เช่น  ชุมชน ศิษย์เก่า องค์กรส่วนท้องถิ่น และอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

    16. พัฒนาปรับปรุงการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการ ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

    17. ควรจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนในระดับชั้น ป.1-3 ให้สามารถนำเสนอ อภิปรายแลกเปลี่ยน เรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และมีทักษะในการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม

   18. ควรจัดกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างหลากหลายและใช้แหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองน้อย

   19. ควรการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลาย  สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และฝึกให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์หาความรู้จากแหล่งเรียนรู้  สื่อเทคโนโลยีให้มากขึ้น

  20. ควรมีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้   แหล่งเรียนรู้ต่างๆให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลได้ด้วยตนเอง

   21. ห้องปฏิบัติการต่างๆ  ควรมีอุปกรณ์ที่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน  และอยู่ในสภาพดีและพร้อมใช้งานเสมอ

 22. ควรวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และธรรมชาติวิชา

   23. ครูควรให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง

   24. ครูควรใช้สื่อและเทคโนโลยีมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนให้มากยิ่งขึ้น

  25. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ความเป็นมืออาชีพ โดยการอบรมให้ครูได้เข้ารับการพัฒนาตนเองให้ตรงกับวิชาเอกและตรงกับงานที่ได้รับมอบหมาย

   26. สร้างเครือข่ายการศึกษากับโรงเรียนอื่นและองค์กรต่างๆ รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา

   27. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

 


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ชื่อโรงเรียน                วัดขุนซ่อง สาขาบ้านโป่งเกตุ

ที่อยู่                        434 หมู่11ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี

สังกัด                      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

โทรศัพท์                   039-609923              E-mail : ks.pongkat@gmail.com

โทรสาร                    039-609923 

เปิดสอนระดับชั้น         อนุบาล2         ถึงระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6

เขตพื้นที่บริการจำนวน   8 หมู่บ้าน  ได้แก่   หมู่ 1 , 2 , 3  ,9 , 10 , 11 , 16  และหมู่ 18

ประวัติโดยสังเขป        

             โรงเรียนวัดขุนซ่องสาขาบ้านโป่งเกตุ  เริ่มก่อตั้งเมื่อ  ปีพุทธศักราช 2531 สร้างบนพื้นที่  21  ไร่  1 งาน 80  ตาราวาเปิดสอนตั้งแต่ชั้น2-3ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่6ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช 2542 โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาร่วมกันกำหนดทิศทางในการพัฒนาการศึกษาอย่างชัดเจน  ตามมาตรฐานตลอดจนสร้างวิสัยทัศน์  และพัฒนาการเรียนอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม

          1) สภาพชุมชน ในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนมีลักษณะเป็นราบและภูเขา  พื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าไม้อุดมสมบูรณ์  สภาพชุมชนกระจัดกระจาย  ห่างไกลโรงเรียน  เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียนลำบาก เนื่องจากโรงเรียนมีเขตพื้นที่ที่ให้บริการหลายหมู่บ้านในชุมชนมีประชากรโดยรวมประมาณ  1,200 ครัวเรือน  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ  ทำสวนยาง ร้อยละ  20   ทำไร่มันสำประหลัง  ร้อยละ 63   อาชีพรับจ้างทั่วไป  ร้อยละ 10   อาชีพค้าขาย  ร้อยละ 5 และอาชีพรับราชการ  ร้อยละ 2สภาพฐานะทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ค่อนข้างยากจน เนื่องจากการประกอบอาชีพเป็นการทำไร่ และรับจ้าง ซึ่งมีรายได้ที่ไม่แน่นอน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 95 ที่เหลือนับถือศาสนาอื่น  เช่น ศาสนาคริสต์  ศาสนาอิสลาม ในชุมชนมีประเพณี/วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมา  คือ การทำบุญตามเทศกาลวันสำคัญ

       2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาภาคบังคับร้อยละ 80  ฐานะทางส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เศรษฐกิจ / รายได้โดยเฉลี่ย ต่อครอบครัว ต่อปี  30,000  บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว  5 คน     

          3) โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน

           โอกาส โรงเรียนวัดขุนซ่อง สาขาบ้านโป่งเกตุ มีพื้นที่  21 ไร่  มีจุดมุ่งเน้น  คือ การส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจพอเพียง สถานที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ในหมู่บ้านมีประชากรอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย  ตาม สวน และไร่ ของตน  ผู้ปกครองส่วนใหญ่ให้ความสนใจและสนับสนุน   การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเป็นอย่างดี

          ข้อจำกัด ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง มีฐานะยากจน

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

1)วิสัยทัศน์

          หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดขุนซ่อง สาขาบ้านโป่งเกตุ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้คู่คุณธรรม นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ ผู้เรียนมีคุณธรรมตามแนววิถีพุทธ ดำรงตนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รอบรู้เทคโนโลยีและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

 

2) พันธกิจ

          จัดการศึกษาตามภารกิจของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ได้คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

 

3) อัตลักษณ์ของสถานศึกษา

"ยิ้มง่าย  ไหว้สวย

 

4)เป้าประสงค์

          1.ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีคุณภาพการศึกษา

          2.ครูมีศักยภาพและมีสมรรถภาพเพียงพอต่อการจัดการศึกษา

          3.สถานศึกษาบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ใช้ทรัพยากรการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

          4.ส่งเสริมการมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

          5.ส่งเสริมวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

          6.ส่งเสริมความมีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒธรรม

 

 

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
2 4 0 3 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดขุนซ่อง สาขาบ้านโป่งเกตุ ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และ  พันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย ได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 จัดประสบการณ์ที่มุ่งเตรียมความพร้อมส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านที่เหมาะสมตามวัย และได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น  พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้  มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ  สำหรับด้านระบบกลไก  การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

            การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษามีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจโรงเรียนกำหนดชัดเจน  สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน และมีการปรับให้สอดคล้องกับผลการประเมินที่ผ่านมา และบริบทของสถานศึกษาทุกปี  มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจําปี  ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพ  ปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้น การพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตาม หลักสูตรโรงเรียนและจุดเน้น  แต่ละช่วงชั้น โดยการบริหารจัดการเป็นช่วงชั้น ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ  มีการดําเนินการนิเทศ  กํากับ  ติดตาม  ประเมินผลการดําเนินงาน  และการจัดทํารายงานผลการจัดการศึกษาและโรงเรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และสถานศึกษาจัดบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษา มีความตั้งใจ และมีความพร้อมใน การปฏิบัติตามหน้าที่  



ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1-WLm0e6XzmHUyWvwTWfZPEFpaB1Qw-DF/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1rSzrTmFCXBdXecmFt0RQIL-QYb4L1QQo/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

 พัฒนาการด้านร่างกาย

    โรงเรียนได้จัดให้มีโครงการอาหารกลางวันให้เด็กทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะครบ 5หมู่ และได้รับอาหารเสริมนมฟรีทุกวัน มีการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนได้อย่างหลากหลายฝึกให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เช่น กิจกรรมประจำวัน 6 กิจกรรมหลัก ได้แก่กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และการเล่นตามมุมให้เด็กได้วาดภาพ ระบายสี  การเป่าสี การฉีก  ตัด  ปะ การใช้กรรไกรตัดกระดาษ การขยำกระดาษ การปั้นดินน้ำมัน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียงเพลง เครื่องเคาะจังหวะต่างๆ ท่องคำคล้องจอง การเล่นนิ้วมือ ปรบมือ กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง  โดยให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสนามเกมการละเล่นต่างๆจากกิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีน้ำหนัก-ส่วนสูง  ตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถใช้มือและตาประสานสัมพันธ์กัน ดูแลรักษาสุขอนามัยของส่วนตนอย่างสม่ำเสมอปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับความปลอดภัย บอกวิธีการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อโรค สิ่งเสพติด สิ่งแวดล้อมและจากบุคคลที่แปลกหน้าได้ ผลการประเมินพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ อยู่ในระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ  ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้

     โรงเรียนได้จัดกิจกรรม ประจำวัน 6 กิจกรรมหลักให้เหมาะสมกับวัย และจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์  จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้โดยจัดให้เด็กได้เข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญต่างๆในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมวันสำคัญของชาติ กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ประเพณีวัฒนธรรมในชุมชน  เช่น วันไหว้ครู  วันแม่แห่งชาติ  วันพ่อแห่งชาติ  วันมาฆบูชา  วันวิสาขบูชา  วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา กิจกรรมการศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา  กิจกรรมการทำงานตามเขตบริการ  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ซึ่งการจัดโครงการและกิจกรรมดังกล่าว ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านอารมณ์  จิตใจที่ดี ร่าเริงแจ่มใส  สามารถสามารถควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย   ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ยอมรับและพอใจในความสามารถของตนเองและผู้อื่น  มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี เคารพสิทธิ  รู้หน้าที่ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต  มีคุณธรรม จริยธรรม มั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก มีเมตตา กรุณา และมีน้ำใจช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่น ชื่นชมและมีความสุขกับการทำศิลปะ ดนตรี และกิจกรรมการเคลื่อนไหว ผลการประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ อยู่ในระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

 

พัฒนาการด้านสังคม  ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

    โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมประจำวัน 6 กิจกรรมหลักที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ที่เน้นให้เด็กได้ปฏิบัติจริง ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ ให้เด็กมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก โดยแบ่งหน้าที่การทำหน้าที่เวรประจำวันในการช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดในห้องเรียน และช่วยกันดูแลเก็บกวาดขยะรอบๆ บริเวณอาคารเรียนอนุบาล อีกทั้งช่วยกันคัดแยกขยะ ลงในถัง ตามแต่ละของชนิดขยะ ซึ่งเด็กทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิบัติ ทั้งการแก้ปัญหาในการทำงานร่วมกัน การรู้จักการขอโทษ การให้อภัย  มีคุณธรรม  จริยธรรม  โดยไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา  เด็กทุกคนร่วมกันปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องที่เด็กร่วมกันสร้างขึ้น และการปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของโรงเรียน เช่น การแต่งกายประจำวัน วันจันทร์แต่งกายด้วยชุดนักเรียน วันอังคารแต่งกายด้วยชุดพละศึกษา วันพุธแต่งกายด้วยชุดนักเรียน  วันพฤหัสบดีแต่งกายด้วยชุดพละศึกษา และวันศุกร์แต่งกายด้วยชุดผ้าไทย เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักการปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมประเพณีของสังคมที่ตนอาศัยอยู่ และ การปฏิบัติตนตามข้อตกลงของโรงเรียน  ผลการประเมินพัฒนาการด้านสังคม อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

 

พัฒนาการด้านสติปัญญา  สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

     โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างหลากหลาย เช่น การจัดกิจกรรมประจำวัน 6 กิจกรรมหลักที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 โครงการฝึกทักษะชีวิตเด็กปฐมวัยโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทยกิจกรรมโครงงาน กิจกรรมจัดทำสื่อวัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา ส่งผลให้เด็กปฐมวัยสามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ สามารถตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัย และพยายามค้นหาคำตอบ สามารถอ่านนิทานและเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย  มีความคิดรวบยอดในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เรียนรู้อย่างมีความสุข  สามารถคิดเชิงเหตุผล ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ คิดแก้ปัญหาและตัดสินใจได้มีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ  ด้านงานศิลปะ การเคลื่อนไหวท่าทาง  การเล่นอิสระ และสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ในการแสวงหาความรู้ เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก  ผลการประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

 

ผลการดำเนินงาน  

                   - เด็กปฐมวัยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วมีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัยมีการใช้มือและตาประสานสัมพันธ์กันได้ดีมีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพของตนเอง ได้แก่ ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำ รู้จักดูแลรักษาสุขภาพสุขอนามัยส่วนตนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย  ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและเจริญเติบโตตามวัย เด็กปฐมวัยร่าเริงแจ่มใส  ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น  มีความมั่นใจ  กล้าคิดและกล้าแสดงออก  สามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย

           - เด็กปฐมวัยมีวินัยรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเองเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่  ครูและญาติผู้ใหญ่  มีความซื่อสัตย์สุจริต  ช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่น  มีความประหยัดและพอเพียง  ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ

            - เด็กปฐมวัยสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้  สนทนาโต้ตอบ  แสดงความคิดเห็นร่วมกันได้และเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจได้สามารถตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัยได้มีทักษะการคิดพื้นฐานมีความสามารถในการคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้รู้จักคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์  มีการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมกับวัย

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1xwCdoZ5mKx7rElhgwOI-IhrhcoLvz6Jx/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดขุนซ่องสาขาบ้านโป่งเกตุ ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และ  พันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน  มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่  การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช2560 จัดประสบการณ์ที่มุ่งเตรียมความพร้อมส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทั้ง4 ด้านที่เหมาะสมตามวัย และได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น พิจารณาจากวัยของเด็กประสบการณ์ของเด็ก  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้  มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ  สำหรับด้านระบบกลไก  การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาโดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

          โรงเรียนได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก  ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม จิตใจ  และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อ  การเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้  เช่น  จัดให้มีอุปกรณ์  ของเล่น  ของใช้  เครื่องนอน  เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆให้พอเพียงกับเด็ก  โดยจัดให้เหมาะสม  สะอาด  ปลอดภัย  ให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็กให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย  จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน  ล้างมือ  ทำความสะอาดร่างกาย ห้องน้ำ  ห้องส้วม พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็กมีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม  เน้นการเรียนรู้ผ่าน  การเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัวชุมชน และท้องถิ่น  ครูมีความเหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน ครูจบการศึกษาปฐมวัยและผ่านการอบรมด้านการศึกษาปฐมวัยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ให้มีประสิทธิภาพโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อร่วมปรึกษา  ปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน ครูปฐมวัยมีความรู้  ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลมีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ทักษะการสังเกตและการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน  ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม  มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน  มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอุปกรณ์เพื่อสนับสนุน การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึงมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา  ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมพร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

 

ผลการดำเนินงาน  

                   1.  มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน  สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

           2. ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล  ครูและบุคลากรของโรงเรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นครูมืออาชีพจากการอบรมเชิงปฏิบัติการอีกทั้งมีการนิเทศภายในเพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอยู่สม่ำเสมอมี การบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีระบบ มีการผลิตสื่อและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้อยู่เสมอ

                 3.  ผู้บริหารหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาเด็กปฐมวัยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมให้คำแนะนำคำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาปฐมวัยเต็มศักยภาพ มีการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวัยอย่างเหมาะสมรวมถึงระบบความปลอดภัยที่สอดคล้องกับวัยและสภาพบริบทของโรงเรียน

   

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1o5rOCYG3UK_IV2QNTc4yHfu7xUVd_-g4/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

               1. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

                ครูได้มีการจัดกิจกรรมประจำวัน 6 กิจกรรมหลัก  ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้านเต็มตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน และได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย ที่มีการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์- จิตใจ สังคม และสติปัญญา ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่ง  โครงการฝึกทักษะชีวิตขเด็กปฐมวัย เช่น กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมจัดหา จัดทำสื่อวัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอน กิจกรรมรักษ์สุขภาพ  กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยโครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย เช่น กิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  กิจกรรมโครงงาน ซึ่งโครงการและกิจกรรมเหล่านี้เป็นโครงการที่มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างหลากหลาย มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

            2สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

                 ครูได้จัดกิจกรรมประจำวัน 6 กิจกรรมหลัก ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้านเต็มตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน ตอบสนองความสนใจ ความสามารถของเด็กเป็นรายบุคคล จัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับเด็กได้เลือกเล่น ตามมุมประสบการณ์ เช่น  มุมหนังสือนิทาน  มุมบล็อก  มุมเกมการศึกษา  มุมตัวต่อพลาสติกเป็นต้น  ตามความสนใจของเด็ก  เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างอิสระและสร้างสรรค์ และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย เด็กเกิดการเรียนรู้ ลงมือ กระทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และปลูกฝังให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เด็กจะรู้จักการสังเกต การเปรียบเทียบ การคาดคะเน การคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และ       การแก้ปัญหา โดยผ่านการทดลองกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง โดยทุกคนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมทุกขั้นตอน เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข

             3. จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

                  ครูจัดห้องเรียนคุณภาพ  มีพื้นที่แสดงผลงานเด็กอย่างชัดเจนที่ผู้ปกครองมองเห็นได้  มีมุมประสบการณ์ต่างๆ  ให้กับเด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ  ตามความสนใจของเด็กแต่ละคนโดยครูให้เด็กทุกคนในห้องมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนด้วยกัน เช่น การแบ่งเวรการทำหน้าที่เวรประจำวัน รับผิดชอบช่วยเหลือกันในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมห้องเรียนให้สะอาด น่าอยู่  มีอากาศถ่ายเทสะดวก ที่เอื้อต่อการเรียนรู้  มีสภาพแวดล้อมในห้องเรียนปลอดภัยมีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยเด็ก เช่น การค้นคว้าข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากคอมพิวเตอร์  สื่อของเล่นที่กระตุ้นให้คิดและหาคำตอบ เช่น เกม เพลงต่างๆ และ  การพัฒนาห้องเรียนและคุณภาพการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาห้องเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจ  น่าอยู่  ทันสมัย  อบอุ่น

             4ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

                ครูมีการประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือการวัดและวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง  ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้อย่างเหมาะสมกับวัยเด็ก การประเมินพัฒนาการเด็กทุกครั้ง ให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการประเมินพัฒนาการเด็ก และนำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาปรับปรุงคุณภาพเด็ก ให้ดียิ่งขึ้นไป เช่น แบบบันทึกพัฒนาการเด็ก  สมุดบันทึกเด็กเป็นรายบุคคล  แบบประเมินผลงานเด็ก  แบบบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นรายบุคคล  แบบสังเกตพฤติกรรมเด็ก     แบบสัมภาษณ์เด็ก  นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ใน  ชั้นเรียนเพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา  ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี  มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน  

 

            1.  ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์  สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล  สามารถบริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวกได้  ทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสุข  

        2.ครูจัดกิจกรรมให้ เด็กได้รับประสบการณ์ การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองโดยจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้โดยจัดแห่งเรียนรู้ในโรงเรียนอย่างหลากหลายทำให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน

        3.  มีการผลิตสื่อและนวัตกรรมสร้างสรรค์ระดับปฐมวัยมาใช้ในการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน  ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้ทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีอย่างสมดุลรอบด้าน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1gHsuHtA9AeqVqUWR7BTiM1ubZTgE5mM8/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

     พัฒนาการด้านร่างกาย โรงเรียนได้จัดให้มีโครงการอาหารกลางวันให้เด็กทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะครบ 5 หมู่  และได้รับอาหารเสริมนมฟรีทุกวันมีการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนได้อย่างหลากหลายฝึกให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เช่น กิจกรรมประจำวัน 6 กิจกรรมหลัก ได้แก่กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และการเล่นตามมุมให้เด็กได้วาดภาพ ระบายสี  การเป่าสี การฉีก  ตัด  ปะ การใช้กรรไกรตัดกระดาษ การขยำกระดาษ  การปั้นดินน้ำมัน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียงเพลง  เครื่องเคาะจังหวะต่างๆ ท่องคำคล้องจอง  การเล่นนิ้วมือ ปรบมือ กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง  โดยให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสนาม  เกมการละเล่นต่างๆ จากกิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีน้ำหนัก-ส่วนสูง  ตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถใช้มือและตาประสานสัมพันธ์กัน  ดูแลรักษาสุขอนามัยของส่วนตนอย่างสม่ำเสมอ  ปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับความปลอดภัย บอกวิธีการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อโรค สิ่งเสพติด สิ่งแวดล้อมและจากบุคคลที่แปลกหน้าได้  ผลการประเมินพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ อยู่ในระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ  ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ โรงเรียนได้จัดกิจกรรม ประจำวัน 6 กิจกรรมหลักให้เหมาะสมกับวัย และจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์  จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้  โดยจัดให้เด็กได้เข้าร่วม กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมวันสำคัญของชาติ กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ประเพณีวัฒนธรรมในชุมชน  เช่น วันไหว้ครู  วันแม่แห่งชาติ  วันพ่อแห่งชาติ  วันมาฆบูชา  วันวิสาขบูชา  วันอาสาฬหบูชา  วันเข้าพรรษา กิจกรรมการศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา  กิจกรรมการทำงานตามเขตบริการ  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ซึ่งการจัดโครงการและกิจกรรมดังกล่าว ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านอารมณ์  จิตใจที่ดี ร่าเริงแจ่มใส  สามารถสามารถควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย   ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ยอมรับและพอใจในความสามารถของตนเองและผู้อื่น  มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี เคารพสิทธิ  รู้หน้าที่ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต  มีคุณธรรม จริยธรรม มั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก มีเมตตา กรุณา และมีน้ำใจช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่น ชื่นชมและมีความสุขกับการทำศิลปะ ดนตรี และกิจกรรมการเคลื่อนไหว ผลการประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ อยู่ในระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

 

พัฒนาการด้านสังคม  ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

    โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมประจำวัน 6 กิจกรรมหลักที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ที่เน้นให้เด็กได้ปฏิบัติจริง ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ ให้เด็กมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก  โดยแบ่งหน้าที่การทำหน้าที่เวรประจำวันในการช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดในห้องเรียนและช่วยกันดูแลเก็บกวาดขยะรอบๆ บริเวณอาคารเรียนอนุบาล อีกทั้งช่วยกันคัดแยกขยะ ลงในถัง ตามแต่ละของชนิดขยะ ซึ่งเด็กทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิบัติ ทั้งการแก้ปัญหาในการทำงานร่วมกัน  การรู้จักการขอโทษ การให้อภัย  มีคุณธรรม  จริยธรรม  โดยไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา  เด็กทุกคนร่วมกันปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องที่เด็กร่วมกันสร้างขึ้น และการปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของโรงเรียน เช่น การแต่งกายประจำวัน วันจันทร์แต่งกายด้วยชุดนักเรียน วันอังคารแต่งกายด้วยชุดพละศึกษา วันพุธแต่งกายด้วยชุดนักเรียน  วันพฤหัสบดีแต่งกายด้วยชุดพละศึกษา และวันศุกร์แต่งกายด้วยชุดผ้าไทย เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักการปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมประเพณีของสังคมที่ตนอาศัยอยู่และการปฏิบัติตนตามข้อตกลงของโรงเรียน  ผลการประเมินพัฒนาการด้านสังคม อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

 

พัฒนาการด้านสติปัญญา  สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

    โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างหลากหลาย เช่น การจัดกิจกรรมประจำวัน 6 กิจกรรมหลักที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 โครงการฝึกทักษะชีวิตเด็กปฐมวัยโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย กิจกรรมโครงงาน กิจกรรมจัดทำสื่อวัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา ส่งผลให้เด็กปฐมวัยสามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ สามารถตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัย และพยายามค้นหาคำตอบ สามารถอ่านนิทานและเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย  มีความคิดรวบยอดในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เรียนรู้อย่างมีความสุขสามารถคิดเชิงเหตุผล ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ คิดแก้ปัญหาและตัดสินใจได้มีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ  ด้านงานศิลปะ การเคลื่อนไหวท่าทาง  การเล่นอิสระ และสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ในการแสวงหาความรู้ เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก  ผลการประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

            การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดขุนซ่อง สาขาบ้านโป่งเกตุ ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และ  พันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย ได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 จัดประสบการณ์ที่มุ่งเตรียมความพร้อมส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านที่เหมาะสมตามวัย และได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น  พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้  มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ  สำหรับด้านระบบกลไก  การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาโดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

           โรงเรียนได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก  ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม จิตใจ  และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อ การเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้  เช่น  จัดให้มีอุปกรณ์  ของเล่น  ของใช้  เครื่องนอน  เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆให้พอเพียงกับเด็ก  โดยจัดให้เหมาะสม  สะอาด  ปลอดภัย  ให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็กให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย  จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน  ล้างมือ  ทำความสะอาดร่างกาย ห้องน้ำ  ห้องส้วม พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม  เน้นการเรียนรู้ผ่าน  การเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น  ครูมีความเหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอนครูจบการศึกษาปฐมวัยและผ่านการอบรมด้านการศึกษาปฐมวัย มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อร่วมปรึกษา  ปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน ครูปฐมวัยมีความรู้ 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

          จากผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่าง ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้  มาตรฐาน จากผลการประเมินภาพรวมสรุปว่าได้อยู่ใน ระดับดีเลิศ  ดังนี้

ด้านคุณภาพของเด็ก  

เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้  พัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ ได้เหมาะสมตามวัย พัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้อย่างเหมาะสม พัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย

ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ

มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น จัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ มีครูเพียงพอกับชั้นเรียน  ครูมีความเหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน   ครูจบการศึกษาปฐมวัยและผ่านการอบรมด้านการศึกษาปฐมวัย  มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ให้มีประสิทธิภาพโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้(Professional Learning Community : PLC) เพื่อร่วมปรึกษา  ปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน ครูปฐมวัยมีความรู้  ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย  มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล  มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองมี   การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียนส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่มมีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชนมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผล การประเมินตนเองประจำปี  มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมพร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

 

ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ครูได้มีการจัดกิจกรรมประจำวัน6กิจกรรมหลักที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้านเต็มตามศักยภาพของเด็กแต่ละคนและได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่หลากหลายวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน  ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ  สังคม และสติปัญญา  ตอบสนองความสนใจ  ความสามารถของเด็กเป็นรายบุคคและรายกลุ่ม  จัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับเด็กได้เลือกเล่น ตามมุมประสบการณ์ ตามความสนใจของเด็ก เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างอิสระและสร้างสรรค์ให้ประสบการณ์ตรง  ลงมือปฏิบัติจริง  สร้างองค์ความรู้ด้วยเอง  และปลูกฝังให้เด็กมีมีน้ำใจ ความสามัคคี  การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน รักษาสภาพแวดล้อมห้องเรียนให้สะอาด น่าอยู่ ทันสมัย  อบอุ่น  มีอากาศถ่ายเทสะดวก มีสภาพแวดล้อมในห้องเรียนปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยเด็ก ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้น และปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1FwaY9s7jluE0lQwfxWKZP6LB2XSnUu5b/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน  การสื่อสาร  การคิดคํานวณรวมทั้ง  การมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการ  วิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ  มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ  โดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก และเน้นเรื่อง การอ่านออกของผู้เรียนเป็นสําคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนําเทคโนโลยี  เทคนิควิธีการสอนให้ตรงตามศักยภาพของผู้เรียน  ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน  มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด ห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์  ครูในระดับช่วงชั้นเดียวกัน ร่วมกันกําหนดแผนการจัดการเรียนรู้  การวัดผลและประเมินผลแบบบูรณาการ และมีการนิเทศการจัดการเรียนการสอนแต่ละระดับชั้น ให้การช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม ให้คำแนะนำการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อให้ได้มาซึ่งผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้นของแต่ละวิชา ครูเน้นการใช้คําถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน   สําหรับ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากําหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม  ความภูมิใจในท้องถิ่น และ  ความเป็นไทย  การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย 

ผลการดำเนินงาน  

 ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านคล่องรวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้  มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง  มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์  กล้าแสดงออก ร่าเริง  แจ่มใส มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานของส่วนรวม ทั้งในโรงเรียนและชุมชน  มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและสามารถแสดงความคิดเห็นได้  มีระเบียบวินัย  เคารพกติกาของโรงเรียน  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถใช้ เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล้งเรียนรู้ภายใน ได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนตามหลักสูตรอยู่ในระดับดี 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/10-1CJJd85SPnRqk0dhHaQuw2MgfUPTUl/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดขุนซ่อง สาขาบ้านโป่งเกตุ ได้มีการดําเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาอีกทั้งมีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตและมีคุณภาพได้มาครฐานสากลเพื่อการแข่งขันในยุคปัจจุบัน พัฒนาคุณธรรม ผู้เรียนตามหลักสูตรเน้นให้ผู้เรียนมีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ มีระบบการแนะแนวและการดูแลสุขภาวะจิต เช่น กิจกรรมการแข่งขันกีฬา นําภูมิปัญญา ท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอน และมีการเรียนรู้ในโลกกว้าง การเข้าไปศึกษาภูมิปัญญาในชุมชน การเขาร่วมกิจกรรมสำคัญกับชุมชนในงานประเพณีวันสําคัญต่างๆและวันสําคัญทางศาสนา กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ เพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน และมีสวนเกษตรในโรงเรียนซึ่งใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริฯ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน ได้แก่ การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงปลาในกระชัง  การปลูกผักสวนครัว   โรงเรียนจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการและถูกสุขลักษณะตามโปรแกรม Thai school lunch ส่งผลให้นักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์  มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง   สมบูรณ์ตามวัยและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ผลการดำเนินงาน  ผู้เรียนมีความประพฤติด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏอย่างชัดเจน
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/137CeRiXCfkR6vhAaemxqc1i8xtEQcFLl/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดขุนซ่อง สาขาบ้านโป่งเกตุ  ได้ดําเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่าน มาโดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกําหนด   เป้าหมาย  ปรับวิสัยทัศน์  กําหนดพันธกิจ  กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา  แผนปฏิบัติการประจําปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา  และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาพร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดําเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดให้มีการดําเนินการนิเทศ กํากับ  ติดตาม ประเมิน ผลการดําเนินงาน และสรุปผลการดําเนินงาน

ผลการดำเนินงาน  

    1.โรงเรียนมีการกําหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการ พัฒนาของโรงเรียน นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนว ทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ 

        2. โรงเรียนมีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจําปี สอดคล้องกับการพัฒนา   ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตําแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นําไปประยุกต์ใช้ได้ ดําเนินการ อย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรม จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้                                

        3. โรงเรียนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจําปี ให้สอดคล้องกับ สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปสภาพปัญหา ความตัองการพัฒนา และนโยบาย   การปฏิรูปการศึกษาโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ          

       4. ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา 

       5. โรงเรียนมีการนิเทศ กํากับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสม   เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา   

       6. โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา  

       7. โรงเรียนมีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์ ส่งผลให้ สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

       8. การจัดหาทรัพยากร  ผู้บริหารได้ระดมทุนทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาทั้งในรูปของงบประมาณและบุคคลที่เป็นภูมิปํญญาท้องถิ่นมาช่วยในการสนับสนุนการเรียนการสอน       

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1i6GOw26ZIIXTSlPFRhOfzZyvy0ntq8bl/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

                 โรงเรียนวัดขุนซ่อง สาขาบ้านโป่งเกตุ ดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560)ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ(Active learning)ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิดปฏิบัติจริงเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้  มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุง การจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูผลิตสื่อและนวัตกรรม  แผนการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชากำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียน การสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเองจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่างๆ  ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน  นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียนปีการศึกษาละ1 เรื่อง ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนปลูกผักสวนครัว ดูแลต้นไม้ และเลี้ยงไก่  นําผลผลิตสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน  

ผลการดำเนินงาน             ครูมีความตั้งใจ  มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน  จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยใช้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์  ได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน  มีการใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยการให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  มีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลาและความสามารถ ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอโดยการเข้ารับการอบรม ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และมีผลงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นและมีระบบช่วยเหลือนักเรียนเยี่ยมบ้าน
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1gjN29uTMe1sR0yyVJlbBjz4U8oBbxfpH/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 1.)ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน  การสื่อสาร  การคิดคํานวณรวมทั้ง  การมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการ  วิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ  มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ  โดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก และเน้นเรื่อง การอ่านออกของผู้เรียนเป็นสําคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนําเทคโนโลยี  เทคนิควิธีการสอนให้ตรงตามศักยภาพของผู้เรียน  ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน  มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด ห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์  ครูในระดับช่วงชั้นเดียวกัน ร่วมกันกําหนดแผนการจัดการเรียนรู้  การวัดผลและประเมินผลแบบบูรณาการ และมีการนิเทศการจัดการเรียนการสอนแต่ละระดับชั้น ให้การช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม ให้คำแนะนำการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อให้ได้มาซึ่งผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้นของแต่ละวิชา ครูเน้นการใช้คําถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน   สําหรับ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากําหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม  ความภูมิใจในท้องถิ่น และ  ความเป็นไทย  การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย 
2.)โรงเรียนวัดขุนซ่อง สาขาบ้านโป่งเกตุ ได้มีการดําเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาอีกทั้งมีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตและมีคุณภาพได้มาครฐานสากลเพื่อการแข่งขันในยุคปัจจุบัน พัฒนาคุณธรรม ผู้เรียนตามหลักสูตรเน้นให้ผู้เรียนมีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ มีระบบการแนะแนวและการดูแล สุขภาวะจิต เช่น กิจกรรมการแข่งขันกีฬา นําภูมิปัญญา ท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอน และมีการเรียนรู้ในโลกกว้าง  การเข้าไปศึกษาภูมิปัญญาในชุมชน การเขาร่วมกิจกรรมสำคัญกับชุมชนในงานประเพณีวันสําคัญต่างๆ และวันสําคัญทางศาสนา กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ เพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน และมีสวนเกษตรในโรงเรียนซึ่งใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริฯ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน ได้แก่ การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงปลาในกระชัง  การปลูกผักสวนครัว   โรงเรียนจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการและถูกสุขลักษณะตามโปรแกรม Thai school lunch ส่งผลให้นักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์  มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง   สมบูรณ์ตามวัยและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
3.)โรงเรียนวัดขุนซ่อง สาขาบ้านโป่งเกตุ  ได้ดําเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่าน มาโดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกําหนด   เป้าหมาย  ปรับวิสัยทัศน์  กําหนดพันธกิจ  กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา  แผนปฏิบัติการประจําปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา  และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาพร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดําเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดให้มีการดําเนินการนิเทศ กํากับ  ติดตาม ประเมิน ผลการดําเนินงาน และสรุปผลการดําเนินงาน
4.)  โรงเรียนวัดขุนซ่อง สาขาบ้านโป่งเกตุ ดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560)ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ(Active learning)ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิดปฏิบัติจริงเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้  มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุง การจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูผลิตสื่อและนวัตกรรม  แผนการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชากำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียน การสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเองจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่างๆ  ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน  นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียนปีการศึกษาละ1 เรื่อง ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนปลูกผักสวนครัว ดูแลต้นไม้ และเลี้ยงไก่  นําผลผลิตสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน  
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 1.)ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านคล่องรวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้  มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง  มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์  กล้าแสดงออก ร่าเริง  แจ่มใส มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานของส่วนรวม ทั้งในโรงเรียนและชุมชน  มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและสามารถแสดงความคิดเห็นได้  มีระเบียบวินัย  เคารพกติกาของโรงเรียน  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถใช้ เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล้งเรียนรู้ภายใน ได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนตามหลักสูตรอยู่ในระดับดี
2.)ผู้เรียนมีความประพฤติด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏอย่างชัดเจน
3.) โรงเรียนมีการกําหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการ พัฒนาของโรงเรียน นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนว ทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ 

 4.) โรงเรียนมีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจําปี สอดคล้องกับการพัฒนา   ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตําแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นําไปประยุกต์ใช้ได้ ดําเนินการ อย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรม จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้                                

 5.) โรงเรียนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจําปี ให้สอดคล้องกับ สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปสภาพปัญหา ความตัองการพัฒนา และนโยบาย   การปฏิรูปการศึกษาโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ          

 6.) ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา 

 7.) โรงเรียนมีการนิเทศ กํากับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสม   เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา   

 8. )โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา  

 9.) โรงเรียนมีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์ ส่งผลให้ สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

 10.) การจัดหาทรัพยากร  ผู้บริหารได้ระดมทุนทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาทั้งในรูปของงบประมาณและบุคคลที่เป็นภูมิปํญญาท้องถิ่นมาช่วยในการสนับสนุนการเรียนการสอน     

 11.)  ครูมีความตั้งใจ  มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน  จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยใช้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์  ได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน  มีการใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยการให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  มีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลาและความสามารถ ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอโดยการเข้ารับการอบรม ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และมีผลงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นและมีระบบช่วยเหลือนักเรียนเยี่ยมบ้าน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1CbPgw4tqXR_KoPRmD_--xVpxO2yP3kDW/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/16TM-vEpYDil93JpNlgKcoQW7Wc10fzm2/view?usp=sharing