รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดเขาวงกต

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จากผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐานจากผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับดีเลิศ ทั้งนี้เพราะมาตรฐานที่1 คุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับดีเลิศ
มาตรฐานที่2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดีเลิศ

ทั้งนี้โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชนท้องถิ่นจนมีผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับดีเลิศ พัฒนาการของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติสูงกว่าระดับประเทศ1 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสารการเรียนรู้ภาษาไทย ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียนการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษความ สามารถในการคิดคำนวณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดี และมีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมและคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏอย่างชัดเจนดังที่ปรากฏ ผลประเมินในมาตรฐานที่2 ในด้านกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา มีผลประเมินในรายมาตรฐานอยู่ในระดับยอดเยี่ยม สถานศึกษามีการวางแผนออกแบบกิจกรรม และดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนา และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาตรวจสอบผลการดำเนินงานและการปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ วิเคราะห์ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตรและบริบทสถานศึกษา กิจกรรมการเรียนรู้ใช้สื่อการเรียนรู้ติดตามตรวจสอบและช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหารายบุคคล และการประเมินผลจากสภาพจริงในทุกขั้นตอน สถานศึกษาดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นขั้นตอน จนเกิดคุณภาพประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนมีผลประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ โดยสถานศึกษาให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อเกิดความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดี และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาในระดับสูง

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

ข้อมูล/หลักฐานเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
- ผลการประเมินการอ่าน การเขียน
- แบบบันทึกการอ่านของนักเรียน
- ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 – 6
- ผลการประเมินระดับชาติ
RT, NT, O-Net
-แบบบันทึกภาษาไทย , ภาษาอังกฤษวันละคำ
- กิจกรรมวิชาการ – วิชาชีพเขาวง
- กิจกรรมกีฬาสี – กีฬากลุ่มโรงเรียนในอำเภอแก่งหางแมว
- ภาพการร่วมกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ
- การเข้าค่ายคุณธรรม – จริยธรรมสู่โรงเรียนวิถีพุทธ
- แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
- แบบบันทึกน้ำหนัก – ส่วนสูงของนักเรียน
- แบบบันทึกข้อมูลเป็นรายบุคคล
- บันทึกการอบรมหน้าเสาธง
- แบบบันทึกการการดื่มนม ,การรับประทานอาหารกลางวัน ,การแปรงฟัน
- แบบบันทึกการออมทรัพย์ของนักเรียน
- กิจกรรมตลาดนัดคุณธรรม
- หลักสูตรสถานศึกษา
- มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
- กิจกรรมเสริมสร้างทักษะอาชีพ เช่น การทำน้ำยาล้างจาน , การทำแชมพูสระผม , การทำน้ำยาถูพื้น
การทำสบู่สมุนไพร , การทำสบู่เหลว , การทำน้ำดื่มสมุนไพร , การทำขนมไทย
- ภาพถ่ายเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเขาวงกต มาให้ความรู้เกี่ยวกับฟัน
การฉีดวัคซีน และ การให้ความรู้เกี่ยวกับเกลือไอโอดีน
- ผลงานนักเรียน

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

แนวทางการพัฒนาในอนาคต

1.การพัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการประชุม สัมมนา อบรมศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่
ได้รับมอบหมายติดตามผลการนำไปใช้และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

2. การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน

3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น

4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหาเป็นเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา และระดับชาติให้สูงขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน

5. เพิ่มผลสัมฤทธิ์ NT , O-net ปีละ 2 %

6. จัดหางบประมาณสนับสนุนจากภายนอกโรงเรียน


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียนวัดเขาวงกตรุจิรวงศารามฯที่อยู่ 64 ม.1ตำบลเขาวงกต อำเภอแก่งหางแมว
จังหวัดจันทบุรี สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โทร 0-3949-0041

โทรสาร…………-…….…..e-mailkhaowongkot.school@gmail.comwebsite chan1.go.th

เปิดสอนระดับชั้น อนุบาล 2 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้บริหารสถานศึกษาชื่อ นายสุวิทย์ โพธิจักร์ วุฒิการศึกษาสูงสุด กศ.ม.สาขา บริหารการศึกษา
ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ 1 มีนาคม2562 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 2 ปี 3 เดือน


ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

โรงเรียนวัดเขาวงกตฯ ก่อตั้งเมื่อ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2505 โดยพระครูวรพรตบริหาร ขอความร่วมมือจากชาวบ้านช่วยกันสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1ข ขนาด 2 ห้องเรียน โดยใช้วัสดุบริจาค มีเนื้อที่ 14 ไร่ 3 งาน มีเขตพื้นที่บริการ 2 หมู่บ้าน ได้แก่.. หมู่ 1บ้านเขาวงกต และหมู่ 2 บ้านหนองกวาง ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 131 คน
(ข้อมูล ณ 9 เมษายน 2564)

ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม
สภาพชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนเกิดใหม่ ประชาชนส่วนใหญ่อพยพ
มาจากหลายท้องที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณีมีประชากรโดยรวมประมาณ...
1,200..ครอบครัว ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับ…ระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม 80% ทำสวนผลไม้ ทำสวนยาง เลี้ยงสัตว์ (ไก่ )สภาพฐานะทางเศรษฐกิจโดยรวม....ปานกลาง...มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว
ปีละ 6
0,000 – 120,000 บาท และส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 3–5 คน

ประเพณี/ วัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญ
1. วันขึ้นปีใหม่ มีกิจกรรมทำบุญตักบาตรที่วัด
2. วันสงกรานต์ มีกิจกรรมทำบุญตักบาตรที่วัด รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และการแสดงต่างๆ
3. วันเข้าพรรษา มีกิจกรรมแห่เทียนจำนำพรรษา และถวายเทียนแก่วัด

4. วันออกพรรษา มีกิจกรรมตักบาตรเทโวเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ร่วมทำบุญข้าวสารและอาหารแห้ง

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

การบริหารการจัดการศึกษา

วิสัยทัศน์ (VISION)
โรงเรียนวัดเขาวงกตรุจิรวงศารามฯ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ คำขวัญ พันธกิจ เป้าหมาย ไว้ดังนี้
วิสัยทัศน์ของโรงเรียน คือ นักเรียนมีคุณธรรม นำเอกลักษณ์ไทย ใส่ใจเทคโนโลยี
วิถีความพอเพียง

พันธกิจ (MISSION)
โรงเรียนวัดเขาวงกตรุจิรวงศารามฯ ได้จัดการศึกษาให้ผู้เรียนอ่านออก
เขียนได้ คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข

เป้าประสงค์ (GOALS)
1. นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
3. นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข รู้จักคิด ตัดสินใจ และแก้ปัญหาเป็น
4. นักเรียนได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา
อย่างเต็มศักยภาพ

คำขวัญโรงเรียน
โรงเรียนดี เด็กฉลาด ชาติพัฒนา

สีประจำโรงเรียน
น้ำเงิน – ขาว
ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 8 0 1 1 0


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โรงเรียนจัดการศึกษา 2 ระดับ ได้แก่ระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (ฉบับปรับปรุงปีพุทธศักราช2562)

มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย และคู่มือประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยจัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นหน่วยการเรียนรู้ หน่วยละประมาณ 1 สัปดาห์รวมเวลาตลอดปี 40 สัปดาห์

การจัดการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานโรงเรียนใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(ฉบับปรับปรุงปีพุทธศักราช 2562) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551โดยจัดเวลาเรียนไว้ตลอดปีดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

เวลาเรียน

ระดับประถมศึกษา

ป. 1

ป. 2

ป. 3

ป. 4

ป. 5

ป. 6

— กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

200

200

200

160

160

160

คณิตศาสตร์

200

200

200

160

160

160

วิทยาศาสตร์

40

40

40

80

80

80

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

40

40

40

80

80

80

ประวัติศาสตร์

40

40

40

40

40

40

สุขศึกษาและพลศึกษา

40

40

40

80

80

80

ศิลปะ

40

40

40

80

80

80

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

40

40

40

80

80

80

ภาษาต่างประเทศ

200

200

200

80

80

80

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

840

840

840

840

840

840

— กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

120

120

120

120

120

120

—รายวิชา เพิ่มเติม (ป.1-ป.6) หน้าที่พลเมือง

40

40

40

40

40

40

—รายวิชา เพิ่มเติม (ป.1-ป.6) ต่อต้านทุจริต

40

40

40

40

40

40

รวมเวลาเรียนทั้งหมด

1,040 ชั่วโมง/ปี

แผนการเรียนรู้ / จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษคือ กิจกรรมส่งเสริมอาชีพนักเรียนและคอมพิวเตอร์


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลด้านอาคารสถานที่

ข้อมูลอาคารเรียนอาคารประกอบ

อาคารเรียน 3 หลัง จัดเป็นห้องเรียนรวม 18ห้อง

อาคารประกอบ / อเนกประสงค์ 1 หลังได้แก่ โรงอาหาร

สนาม 2 สนามได้แก่ สนามฟุตบอล สนามวอลเลย์บอล

ส้วม 4 หลังรวม 13 ห้อง

บ้านพักครู 4 หลังปัจจุบันยังใช้ประโยชน์อยู่ 2 หลัง

จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 8 ห้องเรียน ชั้นอนุบาล 2-3 = 1:1  ชั้น ป.1 – ป.6 = 1:1:1:1:1:1

ห้องสมุด ขนาด 36ตารางเมตร มีจำนวนหนังสือในห้องสมุดทั้งหมด 2,500 เล่มจำแนกเป็น 10 ประเภท (ตามรหัสดิวอี้)

ห้องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน จำนวน 25 เครื่อง มีการติดตั้งอินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าของนักเรียน มีจำนวน25 เครื่อง


หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนได้แก่
ห้องสมุด
ห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์
สวนหย่อม
ห้องวิทยาศาสตร์
บ่อเลี้ยงกบ
สวนสมุนไพร
โรงเพาะเห็ด
ห้องพยาบาล
ห้องดนตรี
ห้องสหกรณ์

แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน ได้แก่

วัดเขาวงกต
อุทยานแห่งชาติเขาวง ,ถ้าเขาวง 88 ถ้ำ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวงกต
ร้านร้อยมาลัยคุณวันเพ็ญ
ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือริมทาง
ร้านตัดผมชายช่างประเสริฐ
แปลงการติดตายางของนายมานะ พรหมสวัสดิ์
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาวงกต
โรงงานทำยางแผ่น
วัดธรรมสุขสว่าง


 


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  87.8
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดเขาวงกตรุจิรวงศารามฯ มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณที่เหมาะสมตามวัยมีการควบคุมดุแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงภาคเรียนละ 2 ครั้ง มีกิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวัน จัดหาอุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวกพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตรายมีกฎกติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการทำโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก มีการตรวจสุขภาพโดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวงกต เข้ามาตรวจสุขภาพฟัน เคลือบฟลูออไรท์ ให้กับเด็กนอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมกีฬาสีเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถของตนเอง สนับสนุนให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับอำเภอ มีการจัดกิจกรรมทางด้านดนตรีและศิลปะทุกวันโดยครูดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้โดยการผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำและผู้ตาม มีความมั่นใจและกล้าแสดงออกและร่วมการแสดงในงานต่างๆของโรงเรียน รู้จักการอดทนรอคอย มีการร่วมกันทำงานเป็นกลุ่มและรู้จักการช่วยเหลือแบ่งปัน รู้หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองยอมรับและพอใจในความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่นได้ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนทั้งในและนอกห้องเรียน มีการจัดกิจกรรมตลาดนัดคุณธรรม เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน การซื้อขายสินค้า การทอนเงินนับเงิน มีวินัยในตนเอง ระเบียบวินัยในการเข้าแถวซื้ออาหารด้วยตนเอง มีมารยาทดี ยิ้มไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตร นอกจากนี้โรงเรียนยังมีกิจกรรมทัศนศึกษา นอกสถานที่เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียนมีวินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียงมีการออมเงินเป็นประจำทุกวัน ฝึกการเก็บของใช้ส่วนตัวเข้าที่และช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเช่นการพับเก็บที่นอน การแปรงฟัน รู้จักรักษาความสะอาดทั้งภายในและนอกห้องเรียนทิ้งขยะให้ถูกที่ สามารถเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่นความคิดพฤติกรรม พื้นฐานครอบครัว เชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรมโดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์และมีการปลูกฝังให้เด็กรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ความมีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย เช่นการไหว้ การยิ้มทักทายและการมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ และการเข้าร่วมกิจกรรมสำคัญทางศาสนาเช่น วันแม่ วันครู วันเข้าพรรษา วันเด็กเป็นต้นและยังมีกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมได้แก่กิจกรรมการอบรมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีงาม คิดดี พูดดี ทำดี มีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ มีจิตสาธารณะและสามารถนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทาง ในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัย โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทยทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์รู้จักการแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวสามารถสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจและตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจใช้เทคโนโลยี เช่นแว่นขยาย แม่เหล็ก เป็นเครื่องมือในการเรียนเรียนรู้และแสวงหาความรู้ได้

ผลการดำเนินงาน  

ผลการพัฒนา

1) รายงานสรุปโครงการ/กิจกรรม

2) เกียรติบัตร/เหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาระดับศูนย์เครือข่ายโรงเรียน

3) เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรงมีมีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ร้อยละ100สังเกตได้จาก บันทึกน้ำหนักส่วนสูง บันทึกการดื่มนม บันทึกอาหารกลางวัน บันทึกตรวจสุขภาพ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน

4) เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ร้อยละ 100 สังเกตจากการกล้าพูดกล้าแสดงออก รู้จักเข้าแถว รอคิว ในการรับประทานอาหาร รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในและนอกห้องเรียน ตามเขตพื้นที่รับผิดชอบ ร่าเริงแจ่มใส

5) เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ได้ร้อยละ 100 สังเกตได้จากการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รู้จักเก็บสิ่งของเครื่องใช้ ทั้งของส่วนตัวและส่วนรวม รู้จักยิ้ม ทักทายอยู่เป็นนิจ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

6) เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดเป็นพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ คิดเป็นร้อยละ 100

7) มีการสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬากลุ่มอำเภอแก่งหางแมว ได้รับรางวัลระดับชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับถ้วยกีฬารวมระดับกีฬากลุ่มอำเภอแก่งหางแมว ปีการศึกษา 2563 มีการจัดกิจกรรมทักษะอาชีพเพื่อส่งเสริมเด็กมีทักษะการทำงาน ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพเพื่อให้รู้จักการวางแผนงานอย่างเป็นระบบขั้นตอนนำไปสู่การทำงานต่างๆได้อย่างสำเร็จ และมีทักษะชีวิตที่ดีอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถปรับตัวได้และเผชิญหน้ากับปัญหารอบด้านด้วยตนเองมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพสุจริต

 

 

 

 

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  87.8
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดเขาวงกตฯ มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นและมีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช2560 ที่เน้นการเตรียมความพร้อมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญาโดยเรียนรู้ผ่านการเล่น และการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง และสอดคล้องกับวิถีของครอบครัว ชุมชน มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับผลการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้เด็กมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา และมีการจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คือมีครูประจำชั้นที่จบการศึกษาปฐมวัยโดยตรง เพียงพอต่อชั้นเรียน ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพของครูปฐมวัยให้มีความรู้ ความสามารถในการคิด วิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยมีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล และมีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกตและการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความสะอาด ปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและกลุ่ม เล่นและทำงานรวมกัน มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่นมุมหนังสือ มุมบล็อก มุมบทบาทสมมุติ มุมวิทยาศาสตร์ มุมดนตรี และมีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์และพัฒนาครู มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดรับกับมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดและดำเนินการตามแผน มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี นำผลไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน  

ผลการพัฒนา

1)โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของโรงเรียน นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

2) แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่งมีกิจกรรมสำหรับผู้เรียนที่หลากหลาย มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

3) โรงเรียนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

4) โรงเรียนมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสม
เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

5 )โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
6) ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา
7) การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวนครั้งที่ครูได้รับการอบรมพัฒนาทางวิชาชีพ มากกว่า 2 ครั้ง/ภาคเรียน ร้อยละ 100 ระดับคุณภาพ 5 ครูและบุคลากรสนับสนุนทุกคนได้รับการอบรมตรงตาม/สอดคล้องกับหน้าที่ที่ปฏิบัติอย่างน้อย 20ชั่วโมงต่อปีการศึกษา
8) การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จำนวน1ครั้ง/ภาคเรียน ร้อยละ100 ระดับคุณภาพ 5
การประชุมกรรมการสถานศึกษา 1 ครั้ง/ภาคเรียน ร้อยละ 100 ระดับคุณภาพ 5
การประชุมผู้ปกครองนักเรียน 1 ครั้ง/ภาคเรียนร้อยละ 100 ระดับคุณภาพ 5
9) การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลร้อยละของครูที่ได้รับการนิเทศกำกับติดตามและประเมินผล 1 ครั้ง/ภาคเรียนร้อยละ 100 ระดับคุณภาพ 5
10) โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น ปลอดภัย มีแหล่งพักผ่อนที่เพียงพอสำหรับนักเรียน 2.11 โรงเรียนมีห้องสมุด ห้องปฏิบัติการเพียงพอ และจัดเวทีทางวิชาการให้นักเรียนทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อย่างน้อย 2 ครั้งต่อ 1 ปีการศึกษา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  87.8
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

การจัดการศึกษาปฐมวัยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มตามศักยภาพ เห็นได้จาก มีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยจากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ เพื่อให้สัมพันธ์กับพัฒนาการและความต้องการของเด็กตามวัย และบริบทของท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครอบคลุมครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมประจำวันและยังมีการจัดประสบการณ์อื่นๆที่หลากหลายสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุขเช่นการจัดทำโครงงาน การจัดกิจกรรมการทำอาหาร การทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์ การขายของในตลาดนัดโรงเรียน กิจกรรมทัศนศึกษาทั้งในและนอกสถานที่ ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงจากประสบการณ์เดิม เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงศักยภาพของตนเองออกมาผ่านการทำกิจกรรม การเล่าเรื่อง การนำเสนอผลงาน การแสดงความคิดเห็นของตนเอง สร้างโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้คิดริเริ่มและวางแผนการทำกิจกรรม ทั้งกิจกรรมที่ทำรายบุคคลและกิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ให้ผู้เรียนมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความสนใจและความต้องการของตนเอง โดยนำมาบูรณาการกับการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม เปิดโอกาสเด็กได้เรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยความร่วมมือจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ได้เลือกเล่น เรียนรู้ ลงมือกระทำและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองเช่น กิจกรรมพัฒนาพ่อแม่ผู้ปกครอง กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม เป็นต้น

ห้องเรียนมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการจัดกิจกรรมและการนอนหลับพักผ่อน มีมุมเสริมประสบการณ์ต่างๆ การจัดแต่งห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยตามสภาพจริงจากการจัดประสบการณ์และการจัดกิจวัตรประจำวัน จากการสังเกต การสอบถามและการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและนำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็กร่วมกัน

ผลการดำเนินงาน  

1) รายงานสรุปโครงการ/กิจกรรม

2) เกียรติบัตร/เหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาระดับศูนย์เครือข่ายโรงเรียน

3)เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรงมีมีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ร้อยละ100สังเกตได้จาก บันทึกน้ำหนักส่วนสูง บันทึกการดื่มนม บันทึกอาหารกลางวัน บันทึกตรวจสุขภาพ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน

4) เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ร้อยละ 100 สังเกตจากการกล้าพูดกล้าแสดงออก รู้จักเข้าแถว รอคิว ในการรับประทานอาหาร รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในและนอกห้องเรียน ตามเขตพื้นที่รับผิดชอบ ร่าเริงแจ่มใส

5)เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ได้ร้อยละ 100 สังเกตได้จากการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รู้จักเก็บสิ่งของเครื่องใช้ ทั้งของส่วนตัวและส่วนรวม รู้จักยิ้ม ทักทายอยู่เป็นนิจ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

6)เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดเป็นพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ คิดเป็นร้อยละ 100

7) มีการสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬากลุ่มอำเภอแก่งหางแมว ได้รับรางวัลระดับชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับถ้วยกีฬารวมระดับกีฬากลุ่มอำเภอแก่งหางแมว ปีการศึกษา 2563 มีการจัดกิจกรรมทักษะอาชีพเพื่อส่งเสริมเด็กมีทักษะการทำงาน ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพเพื่อให้รู้จักการวางแผนงานอย่างเป็นระบบขั้นตอนนำไปสู่การทำงานต่างๆได้อย่างสำเร็จ และมีทักษะชีวิตที่ดีอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขสามารถปรับตัวได้และเผชิญหน้ากับปัญหารอบด้านด้วยตนเองมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพสุจริต

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  87.8
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
  เด็กมีร่างการเติบโตสมวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะมีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพ และหลีกเลี่ยงต่อภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริงสนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

-ผู้บริหารสถานศึกษาเข้าใจบริบทของการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นอย่างดี

-มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน

มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้

-เด็กมีพัฒนาการอย่างสมดุล

-เด็กเรียนรู้จากการเล่นและการปฏิบัติ

-มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

-ครูได้รับการพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในสายงานอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีการพัฒนาและเด็กมีความพร้อมในการเรียนรู้


ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ด้านคุณภาพผู้เรียน

1) นักเรียนกล้าแสดงออกร่าเริงแจ่มใส สุขภาพกายแข็งแรงและเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด

3) ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มีระเบียบวินัยและร่าเริงแจ่มใสสมวัย

4)โรงเรียนเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย และได้นำกิจกรรมการทดลองมาใช้บูรณาการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลาย

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

1) ผู้บริหารมีความตั้งใจมีความมุ่งมั่น มีหลักการบริหารและมีวิสัยทัศน์ที่ดีในการบริหารงานสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานและคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมีความตั้งใจและมีความพร้อม

ในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่

2) โรงเรียนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษาสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานหลักสูตรของสถานศึกษา

3) ผู้บริหารมีการดำเนินการนิเทศกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

4)ผู้บริหารสถานศึกษามีความเข้าใจบริบทของการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นอย่างดี

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1) ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลาและความสามารถ

2) ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

3) ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

4) ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้จากการคิดได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

5) เด็กมีพัฒนาการอย่างสมดุล เรียนรู้จากการเล่นและการปฏิบัติกิจกรรม มีบรรยากาศที่เอื้อต่อเรียนรู้

6) ครูได้รับการพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในสายงานอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีการพัฒนาและเด็กมีความพร้อมในการเรียนรู้

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดเขาวงกตฯ ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย  ครูผู้สอนมีจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด และเน้นเรื่องการอ่านออก เขียนได้ของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญ โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1 พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์         

          นอกจากนี้ โรงเรียนวัดเขาวงกตฯ ได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนมีการจัดค่ายคุณธรรมให้กับนักเรียน ป.1 – 6 จัดตลาดนัดคุณธรรมให้กับนักเรียนทุกระดับชั้นในวันสำคัญทางศาสนาทุกครั้ง

พัฒนาคุณธรรมผู้เรียนตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ เน้นผู้เรียนมีวินัย ซื่อสัตย์รับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้ในโลกกว้าง เช่น การทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นส่งเสริมการออกกำลังกายตามความถนัดและความสนใจของนักเรียน เพิ่มเวลารู้เรื่องทักษะอาชีพ    และมีภูมิปัญญาท้องถิ่นดนตรีไทยมาสอนนักเรียน  ป.3 -6 ทุกสัปดาห์ ชั้นละ 1ชั่วโมง 30  นาที เป็นต้น

ผลการดำเนินงาน  

ในด้านการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่าน

ในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดี รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถคิดวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญจำเป็น ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์ รักการออกกำลังกาย นักเรียนทุกคนสามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละประเภท ยอมรับในกติกาของกลุ่ม ของโรงเรียน

ของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัย ทั้งนี้

มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่างๆ ดังนี้

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนระดับดีเลิศ

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนร้อยละ  84.63(ระดับดีเลิศ)
         1) จำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินความสามารถในการอ่านเขียน  การสื่อสาร และการคิดคำนวณ
ร้อยละ 73.79  ของจำนวนนักเรียนระดับดีขึ้นไป ที่มีผลการประเมินความสามารถในการอ่านเขียน การสื่อสาร  และการคิดคำนวณ
         2) จำนวนนักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
และแก้ป
ัญหา ร้อยละ 77.67 ของจำนวนนักเรียนระดับดีขึ้นไป มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ
อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา
        3) จำนวนนักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
ร้อยละ 92.23 ของจำนวนนักเรียนระดับดีขึ้นไป มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
        4) จำนวนนักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ร้อยละ  92.23 ของจำนวนนักเรียนระดับดีขึ้นไป มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
        5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาเฉลี่ยร้อยละ  76.70 (ระดับดี)
ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ  ประจำปีการศึกษา  2563
              
1) ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (
RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
 เฉลี่ยร้อยละ 79.50
               2) ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (
NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
 
 เฉลี่ยร้อยละ 40.20 
               3) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (
O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เฉลี่ยร้อยละ  37.91   
          6) จำนวนนักเรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
ร้อยละ 95.15 ของจำนวนนักเรียนระดับดีขึ้นไป  มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1SS5j1RmsylJJqH-L89wOoUzsG58Z9ox4/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ยอดเ
กระบวนการพัฒนา  1) พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน  การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ละระดับชั้น
          2) พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ  ใคร่ครวญ  ไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ  มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
          3) พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง
และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงานอย่างสร้างสรรค์และมีคุณธรรม
          4) พัฒนาให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาในด้านความรู้ความเข้าใจทางด้านทักษะและกระบวนการต่างๆ
          5) พัฒนาให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ มีความรู้ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
          6) พัฒนาให้ผู้เรียนมีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนด  มีความภูมิใจในท้องถิ่น  เห็นคุณค่าของความเป็นไทย  มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย
          7) พัฒนาให้ผู้เรียนมีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต  อารมณ์และสังคม  แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
          8) พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม  เชื่อมโยงองค์ความรู้  และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

ผลการดำเนินงาน  

      1) จำนวนนักเรียน การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
ร้อยละ 87.38 ของ จำนวนนักเรียนระดับดีขึ้นไป  การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
       2) จำนวนนักเรียน มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย        

ร้อยละ 96.12  ของจำนวนนักเรียนระดับดีขึ้นไป  มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
      3) จำนวนนักเรียน การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
ร้อยละ  95.15  ของจำนวนนักเรียน ระดับดีขึ้นไป  การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
      4) จำนวนนักเรียน สุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม
ร้อยละ 92.23 ของจำนวนนักเรียน ระดับดีขึ้นไป  สุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม

ร้อยละ 100.00 ของจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1SS5j1RmsylJJqH-L89wOoUzsG58Z9ox4/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ยอดเ
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในโรงเรียนเพื่อวางแผน ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน  

ผลการพัฒนา

2.1 โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของโรงเรียน นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

. 2.2 แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่งมีกิจกรรมสำหรับผู้เรียนที่หลากหลาย มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

2.3 โรงเรียนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

2.4 โรงเรียนมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสม
เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

2.5 โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
2.6 ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา
2.7 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวนครั้งที่ครูได้รับการอบรมพัฒนาทางวิชาชีพจำนวน8คน มากกว่า 2ครั้ง/ภาคเรียน ร้อยละ 100 ระดับคุณภาพ 5 ครูและบุคลากรสนับสนุนทุกคนได้รับการอบรมตรงตาม/สอดคล้องกับหน้าที่ที่ปฏิบัติอย่างน้อย 20ชั่วโมงต่อปีการศึกษา
2.8
การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จำนวน1ครั้ง/ภาคเรียน ร้อยละ100 ระดับคุณภาพ 5
การประชุมกรรมการสถานศึกษา 1 ครั้ง/ภาคเรียน ร้อยละ 100 ระดับคุณภาพ 5
การประชุมผู้ปกครองนักเรียน 1 ครั้ง/ภาคเรียนร้อยละ 100 ระดับคุณภาพ 5

2.9
การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลร้อยละของครูที่ได้รับการนิเทศกำกับติดตามและประเมินผล 1 ครั้ง/ภาคเรียนร้อยละ100 ระดับคุณภาพ 5
2.10 โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น ปลอดภัยมีแหล่งพักผ่อนที่เพียงพอสำหรับนักเรียน
2.11 โรงเรียนมีห้องสมุด ห้องปฏิบัติการเพียงพอ และจัดเวทีทางวิชาการให้นักเรียนทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อย่างน้อย 2 ครั้งต่อ1 ปีการศึกษา
2.12 โรงเรียนจัดให้ทุกห้องเรียน มีการจัดการเรียนการสอน ระบบe-Learningของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม(Distance Learning TV :DLTV) ไปพัฒนาคุณภาพการสอนทุกระดับชั้นและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1C7b7Gour4VrnTHezgiUPyExl30kLDHOg/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ปรับโครงสร้างรายวิชา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ กำหนดคุณลักษณะอังพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้มีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำข้อมูลและผลจากการวิเคราะห์มาออกแบบการเรียนรู้และวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการวัดประเมินผลที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนรวมทั้งให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่นักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยความเสมอภาคมีการจัดบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตรงตามความรู้ประสบการณ์และความถนัด และจัดการเรียนการสอนในวิชาที่ได้รับอย่างเต็มเวลาและความสามารถ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
มีโครงการที่ส่งเสริมให้ครูทุกคนพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำความรู้
และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผลการดำเนินงาน  https://drive.google.com/file/d/1hj2Jez35rO-C06MnQxBH4ZJxps-3Wrjq/view?usp=sharingจากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครูการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเป็นระดับเด็กอ่อน ปานกลาง และเก่ง ทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความแตกต่างบุคคล มีการสอนเสริมความรู้ให้ผู้เรียนกลุ่มปานกลางและกลุ่มเก่ง มีการสอนซ่อมเสริมผู้เรียนกลุ่มอ่อน มีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชา มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1hj2Jez35rO-C06MnQxBH4ZJxps-3Wrjq/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดีเล
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านคล่อง รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ทุกคน สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดี ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีระเบียบวินัย ผู้เรียนกล้าแสดงออก ร่าเริงแจ่มใส และเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นที่ยอมรับของชุมชนโดยรอบในเรื่องความมีวินัย เคารพกฎกติกา มารยาททางสังคม

โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ มีการประชุมวางแผนการทำงานเพื่อให้ทุกฝ่าย
มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนา


ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย ได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีผลงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูอย่างน้อยปีการศึกษาละ 2 เรื่อง และจัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
ดนตรีไทย เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ด้านคุณภาพผู้เรียน

1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา และนักเรียนกล้าแสดงออกร่าเริงแจ่มใส สุขภาพกายแข็งแรงและเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด

2) ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านได้เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ทุกคน สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดี

3) ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มีระเบียบวินัยและร่าเริงแจ่มใสสมวัย

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

1) ผู้บริหารมีความตั้งใจมีความมุ่งมั่น มีหลักการบริหารและมีวิสัยทัศน์ที่ดีในการบริหารงานสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานและคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมีความตั้งใจและมีความพร้อม

ในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่

2) โรงเรียนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษาสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานหลักสูตรของสถานศึกษา

3) ผู้บริหารมีการดำเนินการนิเทศกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน

เป็นสำคัญ

1) ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลาและความสามารถ

2) ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

3) ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

4) ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้จากการคิดได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1ekd3qXFY1IdvVzbZUj5Hoco2xW7gFmS6/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/folders/18bsh0AkwD4g0VSKCEz3JpGIxEP0lTRQC?usp=sharing