รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านวังอีแอ่น

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ชื่อโรงเรียนบ้านวังอีแอ่น   ที่ตั้ง 75  หมู่  1 ตำบลวา  อำเภอแก่งหางแมว  จังหวัดจันทบุรี  รหัสไปรษณีย์ 22160 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี  เขต  1

โทร039 – 317040   โทรสาร039 – 317040    e-mail  - website  - เปิดสอนระดับอนุบาลปีที่  1  ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  6 และ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2  เนื้อที่ 25  ไร่ เขตพื้นที่บริการ  หมู่  1, 8,  9

ผู้บริหาร นายสมชาย  พะโยม  เบอร์โทรศัพท์ 081-996-8009  

โรงเรียนบ้านวังอีแอ่น ได้เริ่มก่อสร้างขึ้นเป็นวันแรกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2524  ด้วยความร่วมมือของราษฎรบ้านวังอีแอ่น ร่วมบริจาคเงินและก่อสร้างอาคารไม้ยกพื้นขนาดสองห้องเรียน และหนึ่งห้องพักครู โดยได้รับการบริจาคที่ดินของผู้ใหญ่ เฉลย รื่นรมย์ จำนวน 15 ไร่ และนายหงอม  ชอบชื่น จำนวน 10 ไร่ รวมเป็นพื้นที่  25  ไร่

 

ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยรวมในระดับ ยอดเยี่ยม โดยมีผลการดำเนินงาน   ในแต่ละระดับการศึกษา

ระดับการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนจัดการศึกษาโดย มีบุคลากรที่มีวุฒิทางการศึกษาปฐมวัยหรือ          มีประสบการณ์ในการสอนทางด้านปฐมวัย มีโครงการที่สอดคล้องและสามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ มีโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ตครบทุกห้องเรียน รวมถึงจัดทำโครงการที่ส่งเสริมให้นักเรียน    มีความใฝ่รู้ เปิดโอกาสให้เรียนรู้แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้สามารถปรับตัวเข้ากับภาวะการดำรงชีวิตในปัจจุบันและเพื่อส่งเสริมการให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมกายบริหารทุกวันพุธ  มีบริการอาหารเสริมนม  จัดทำแบบบันทึก    ชั่งน้ำหนัก - วัดส่วนสูง  บันทึกการแปรงฟัน บันทึกการดื่มนมและบริการสุขภาพเพื่อบันทึกข้อมูล                มาวิเคราะห์ภาวะโภชนาการ เพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป และมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการเคลื่อนไหวมีความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่  - เล็ก สามารถหลีกเลี่ยงภาวะที่เสี่ยงต่อโรคอุบัติเหตุและสิ่งเสพติด มีผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยอยู่ในระดับคุณภาพ       ยอดเยี่ยม ดังนี้   มีมาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม และมาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม จุดเด่นของการจัดการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนคือ    เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4ด้านที่สมวัย มีคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีระเบียบวินัยจนเป็นอัตลักษณ์       ของโรงเรียน เป็นที่ยอมรับของชุมชนโดยรอบในเรื่องความมีวินัย เคารพกฎกติกา ระเบียบของสังคม และมีจุดควรพัฒนาได้แก่ จัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจ ใฝ่รู้ และส่งเสริมให้เด็กได้รับความคิดรวบยอด คิดแก้ปัญหา       มีความคิดสร้างสรรค์ และจัดกิจกรรมที่ทันต่อสภาพการณ์ปัจจุบัน ทำตามแผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐาน      ที่สูงขึ้นคือดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปี และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนและ        จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และจัดหาสื่อเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ให้กับนักเรียน

          ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ  2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้  ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ  จัดแหล่งเรียนรู้ภายในให้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี มีความกล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เน้นทักษะการทำงานร่วมกัน ทำให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น จากการประเมินนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6ผลการอ่านออกเขียนได้อยู่ในระดับดีขึ้นไป จำนวน 191  คน คิดเป็น ร้อยละ 92.72 ระดับพอใช้ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 3.40 และปรับปรุง จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 2.91

โรงเรียนบ้านวังอีแอ่น จึงกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น

  ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการเพื่อให้บรรลุตามกระบวนการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ในโรงเรียนบ้านวังอีแอ่น มีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา  ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยใช้ข้อมูลฐานในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน  ในดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน  ตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมาย  เชื่อมโยงกับชีวิตจริง จัดทำแผนพัฒนา คุณภาพจัดการศึกษา ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ                        ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม อย่างหลากหลาย มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning)  ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา  ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข

 

 



 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

บัญชีงบหน้าสรุปผลการดำเนินงานมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1  ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน


ประเด็นพิจารณา

โครงการ/กิจกรรม

หลักฐานเชิงประจักษ์/ผลงานโดดเด่น

1. มีความสามารถในการอ่าน การเขียนการสื่อสาร และการคิดคำนวณ

 

โครงการกิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบายจุดเน้นกิจกรรมพัฒนาการอ่านออก เขียนคล่อง กิจกรรมการอ่านประสานผู้ปกครอง

ผลการประเมินการอ่าน การเขียน
- แบบบันทึกการอ่าน

2. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหา

โครงการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการค้นคว้าและคิดอย่างเป็นระบบ/กิจกรรมเรียนรู้ด้วยโครงงาน

แบบฝึกทักษะ
- โครงงาน ผลงานนักเรียน

3. มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

กิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบาย/กิจกรรม Active learning

ผลงานนักเรียน,นวัตกรรมของครู/นักเรียน

4. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

โครงการส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

5. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา/กิจกรรมค่ายวิชาการ

หลักสูตรสถานศึกษา
- ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้น
 ป.1-6

6. มีผลการทดสอบระดับชาติ

 

โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

- ผล NT , ผล O-Net
- การทดสอบชั้น ป.1-6

7. มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

 

โครงการพัฒนาอาชีพพื้นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดีประจำตำบล

ภาพการทำขนม,การปลูกผัก,


1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


ประเด็นพิจารณา

โครงการ/กิจกรรม

หลักฐานเชิงประจักษ์/ผลงานโดดเด่น

1. การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด 

โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์

- บันทึกการทำความดีของนักเรียน
- ภาพการเข้าค่ายคุณธรรม

2. ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

โครงการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นและวันสำคัญ

- ภาพกิจกรรมการร่วมในวันสำคัญต่างๆ

3. การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

กิจกรรมคลินิกนักเรียนเรียนร่วม

- บันทึกนักเรียนรายบุคคล

4. สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

 

โครงการส่งเสริมสุขภาพและสุนทรียภาพผู้เรียน/กิจกรรมสุขกายสบายชีวี

- แบบบันทึกน้ำหนัก/ส่วนสูงของนักเรียน
- แบบบันทึกนักเรียนรายบุคคล
- ภาพถ่าย

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ประเด็นพิจารณา

โครงการ/กิจกรรม

หลักฐานเชิงประจักษ์/ผลงานโดดเด่น

1. มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และ
 พันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

โครงการระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

- มาตรฐานของโรงเรียน

2. มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

โครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

- ข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน
- รายงานผลการประกันคุณภาพ
- มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

3. ดำเนินงานพัฒนางานวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

- หลักสูตรสถานศึกษา
- หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม

4. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร/กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพของครู/ศึกษาดูงาน

- บันทึกการไปราชการ
- บันทึกการอบรม/ดูงาน
- ภาพถ่าย,วิจัยชั้นเรียน

5. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

โครงการส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาแหล่งการเรียนรู้

- สนามเด็กเล่น
- มีห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติคอมพิวเตอร์

6. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยี

-ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

 

มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


ประเด็นพิจารณา

โครงการ/กิจกรรม

หลักฐานเชิงประจักษ์/ผลงานโดดเด่น

1. จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

โครงการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการค้นคว้าและคิดอย่างเป็นระบบ/กิจกรรมเรียนรู้ด้วยโครงงาน

โครงงาน
ผลงานนักเรียน
ภาพถ่าย

 

 

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

ระดับการศึกษา ปฐมวัย  

แนวทางการพัฒนาในปีถัดไป

 

1)     การจัดประสบการณ์เน้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความเป็นไทยมีความตระหนักและหวงแหน

เอกลักษณ์ของไทยอย่างเหมาะสมกับวัย

2)     การส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการใช้สื่อในการจัดประสบการณ์ที่หลากหลายครูมีการพัฒนาตนเองในด้านผลิตสื่อที่มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง

3)     ผู้ปกครองได้รับการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและอบรมเลี้ยงดูให้เหมาะสมตามวัย สอดคล้องกับแนวทางการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

แนวทางการพัฒนาในปีถัดไป

มาตรฐานที่1  คุณภาพผู้เรียน

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

 1) พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น

2) พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล 

3) พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

4) พัฒนาให้นักเรียน มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม

5) พัฒนาให้นักเรียน มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ  กระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง

6) พัฒนาให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ มีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการเจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น มีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม  จริยธรรม เคารพในกฎกติกา

7) พัฒนาให้นักเรียนมีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษามีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย   

8) พัฒนาให้นักเรียน มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

 มาตรฐานที่2  กระบวนการบริหารและการจัดการ

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

1)     มีโครงการการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร

2)     กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน

3)     โครงการจัดการเรียนการสอนนักเรียนเรียนรวม

4)  โครงการพัฒนาครูพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพ

5)  โครงการจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้


มาตรฐานที่3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

1)     โครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา

2)     โครงการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน/การเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง

3)     โครงการพัฒนาการใช้สื่อ เทคโนโลยี สู่ห้องเรียน

4)     โครงการส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และนำไปใช้จริง

5)    กิจกรรมสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ/นักเรียนเรียนรวมให้นักเรียนมีความรู้สูงขึ้นตามระดับชั้น 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

14

บัญชีงบหน้าสรุปผลการดำเนินงานมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านวังอีแอ่น

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพเด็ก

ประเด็นพิจารณา

โครงการ/กิจกรรม

หลักฐานเชิงประจักษ์/ผลงานโดดเด่น

1. เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ สามารถเคลื่อนไหวเล่น

ออกกำลังกายได้อย่างคล่องแคล่ว

โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย

- กิจกรรมหนูน้อย สุขภาพดี

- กิจกรรมร้องเล่น เต้นโชว์

- รายงานการดำเนินโครงการ

- บันทึกการดื่มนม

- บันทึกการแปรงฟัน

- บันทึกการตรวจสุขภาพ

- บันทึกการรับประทานอาหารกลางวัน

- บันทึกการเลือกรับประทานอาหาร

- บันทึกน้ำหนัก-ส่วนสูง

2. เด็กมีสุขภาพจิตดี ร่าเริงแจ่มใส ชื่นชม ต่อศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว

 

โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย

- กิจกรรมร้องเล่น เต้นโชว์

- กิจกรรมหนูน้อย สุขภาพดี

 

- รายงานการดำเนินโครงการ

- รูปภาพการจัดกิจกรรม

- บันทึกการดื่มนม

- บันทึกการแปรงฟัน

- บันทึกการตรวจสุขภาพ

- บันทึกการรับประทานอาหารกลางวัน

- บันทึกการเลือกรับประทานอาหาร

- บันทึกน้ำหนัก-ส่วนสูง

3. มีพัฒนาการ ด้านสังคม ยอมรับและชื่นชมความสามารถผลงานของตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกสามารถควบคุม อารมณ์ ความรู้สึกของตนเองได้ เหมาะสมกับวัย

 

โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย

- กิจกรรมร้องเล่น เต้นโชว์

- กิจกรรมหนูน้อยอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

- กิจกรรมพัฒนามุมเสริมประสบการณ์

- กิจกรรมผักปลอดสารพิษ

-รายงานการดำเนินโครงการ

-รูปภาพการจัดกิจกรรม

 

4. เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา

สามารถพูดคุย สนทนาโต้ตอบกับ

บุคคลรอบข้างได้ดีทักษะการคิด

พื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

1. โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

2. โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย

  - กิจกรรมคิดวิเคราะห์

  - กิจกรรมการเรียนการสอน

แบบโครงงาน

 - กิจกรรมการพัฒนามุมเสริม

ประสบการณ์

 - กิจกรรมรักการอ่าน

- กิจกรรรมผักปลอดสารพิษ

-รายงานกิจกรรมตามโครงการ

-รูปภาพการจัดกิจกรรม

 

15

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ประเด็นพิจารณา

โครงการ/กิจกรรม

หลักฐานเชิงประจักษ์/

ผลงานโดดเด่น

1. มีหลักสูตรครอบคลุม

พัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับปรัชญาของโรงเรียนและท้องถิ่น

- กิจกรรมพัฒนาครูผู้สอนปฐมวัย โดยส่งครูไปอบรมพัฒนาปรับปรุง

หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ปี2560

- กิจกรรมผักปลอกสารพิษ

- หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย              พุทธศักราช 2560

- รูปถ่ายกิจกรรม

 

2. ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการในการออกแบบกิจกรรม และดำเนินงานตามแผน

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

1.1.ประวัติของโรงเรียน

ชื่อโรงเรียนบ้านวังอีแอ่น ที่ตั้ง 75 หมู่ 1 ตำบลวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22160 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

โทร 039 – 317040 โทรสาร039 – 317040 e-mail - website - เปิดสอนระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 เนื้อที่ 25 ไร่ เขตพื้นที่บริการ หมู่ 1, 8, 9

ผู้บริหาร นายสมชาย พะโยม เบอร์โทรศัพท์ 081-996-8009

โรงเรียนบ้านวังอีแอ่น ได้เริ่มก่อสร้างขึ้นเป็นวันแรกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2524 ด้วยความร่วมมือของราษฎรบ้านวังอีแอ่น ร่วมบริจาคเงินและก่อสร้างอาคารไม้ยกพื้นขนาดสองห้องเรียน และหนึ่งห้องพักครู โดยได้รับการบริจาคที่ดินของผู้ใหญ่ เฉลย รื่นรมย์ จำนวน 15 ไร่ และนายหงอม ชอบชื่น จำนวน 10 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ 25 ไร่

โรงเรียนบ้านวังอีแอ่น ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม จาก สมศ. เมื่อ วันที่ 23 – 25 เดือน มกราคม พ.ศ. 2555 โดยผู้ประเมินภายนอกของหน่วยประเมินคุณภาพฯ หจก.เอ็ดคิวแอสเซส
การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

1.4.วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย

วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านวังอีแอ่น เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ขยายโอกาสทางการศึกษา มีครูมืออาชีพ

นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรมใส่ใจสุขอนามัย มีทักษะชีวิตและอาชีพ วิถีชีวิตพอเพียง คู่เคียงความเป็นไทย สามัคคีเครือข่ายและชุมชน

 

พันธกิจ

1. จัดการเรียนการสอนให้ได้ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดขยายโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพ

2. ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นและความเป็นไทยโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

3. ส่งเสริมครู บุคลากรและนักเรียนให้มีสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี

4. ส่งเสริมและพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพมีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5. พัฒนาระบบบริหารจัดการ ที่เน้นให้ภาคีเครือข่าย ชุมชน และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัด

การศึกษา

 

เป้าประสงค์/เป้าหมาย

1. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขึ้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและเสมอภาค

2. นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขึ้นพื้นฐาน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และพลานามัยสมบูรณ์ มีทักษะชีวิตและอาชีพ

3. ครูและบุคลากรทางการศึกษานำความรู้จากการพัฒนาตามมาตรฐานวิชาชีพ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มตามศักยภาพ

4. โรงเรียนมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

1.6 กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

1. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง

2. พัฒนากำลังคน การวิจัย เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

3. พัฒนาศักยภาพคนให้มีคุณภาพ

4. สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

5. ส่งเสริมและจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

6. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

 


สัญลักษณ์ของโรงเรียน บ.ว.อ.

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา "ยิ้มง่าย ไหว้อย่างไทย”

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา "รักษ์ความเป็นไทย”

ปรัชญา สุวิชาโน ภวํโหติ ผู้รู้ดี คือผู้เจริญ

ตราสัญลักษณ์ รร.

คำขวัญ เรียนดี กีฬาเก่ง เคร่งวินัย ใฝ่คุณธรรม
 
ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
2 17 0 1 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

ฉบับแก้ไขวันที่ 21 พ.ย.2564

โครงสร้างเวลาเรียน  ปีการศึกษา 2563
โครงสร้างหลักสูตรเวลาเรียน  ระดับประถมศึกษา   โรงเรียนบ้านวังอีแอ่น


กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

เวลาเรียน(ชั่วโมง/ปี)

ระดับประถมศึกษา

ป. 1

ป. 2

ป. 3

ป. 4

ป. 5

ป. 6

 

— กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

     ภาษาไทย

200

200

200

160

160

160

     คณิตศาสตร์

200

200

200

160

160

160

     วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

80

80

80

80

80

80

    สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

40

40

40

80

80

80

    ประวัติศาสตร์

40

40

40

40

40

40

    สุขศึกษาและพลศึกษา

80

80

80

 

 

 

    สุขศึกษา

 

 

 

40

40

40

    พลศึกษา

 

 

 

40

40

40

    ศิลปะ

40

 


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

1.7 ข้อมูลอาคารสถานที่

๑) อาคารเรียน

อาคารเรียนปฐมวัยจำนวน           1  หลัง 

อาคารเรียนประถมจำนวน           2  หลัง

อาคารประกอบจำนวน              หลัง

ส้วม                                    หลัง  

๒) อาคารประกอบ

                โรงฝึกงาน                            2 หลัง

อาคารเอนกประสงค์                2 หลัง

                บ้านพักครู                            4 หลัง

ห้องพักครูผู้ชาย                      4 ห้อง

ห้องสหกรณ์                          1 หลัง

๓) สนามกีฬา

สนามเด็กเล่น              สนาม   สนามฟุตบอล                    สนาม

สนามวอลเลย์บอล        สนาม   สนามตะกร้อ                     สนาม


หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

ข้อมูลแหล่งเรียนรู้

      ๑ แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายใน

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

1.  ห้องสมุด

2.  ห้องคอมพิวเตอร์

3.  ห้องวิทยาศาสตร์

4.  ห้องสหกรณ์โรงเรียน

5.  ห้องพลศึกษา

6.  แปลงเกษตร

7.  ห้องพระมหาชนก

360

335

350

295

310

40

40

      ๒ แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน ที่ใช้ในปีการศึกษา ๒๕๖2 ได้แก่

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

สถิติการใช้

จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

1 วัดวังอีแอ่น

2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวา

3.   เทศบาลตำบลวา

 

9

3

1

 

                   


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย โดยให้เด็กบริหารร่างกายโดยใช้สนาม - ทางเดิน BBL ตารางเก้าช่อง ฝึกการเดินทรงตัว การเดินต่อเท้า การก้าวกระโดด กระโดดขาเดียว การโยน – รับลูกบอล โดยให้เด็กปฏิบัติหลังจากการเข้าแถวเคารพธงชาติ ใช้เวลา 15 นาที พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ โดยกาจัดกิจกรรมการปั้นดินน้ำมันตามจินตนาการ และการปั้นตามข้อตกลง ซึ่งใน 1 สัปดาห์ โรงเรียนจัดกิจกรรมให้เด็กได้เลือกปฏิบัติกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก การใช้มือ – ตา - ประสานสัมพันธ์กัน ประกอบด้วย 1. ปั้นตามจินตนาการ 2. ร้อยลูกปัด      3. ตัดตามรอย 4. ฝึกวาดรูป 5. ฉีกปะภาพ ส่งเสริมปลูกฝั่งให้เด็กมีสุขนิสัยที่ดี รู้จักวิธีการดูแล รักษาความสะอาด การป้องกันตามมาตราการป้องกันเชื้อโวรัสโคโรน่า 19 (COVID 19) จัดให้มีการตรวจสุขภาพเด็กทุกเช้าที่มาโรงเรียน ตรวจวัดอุณหภูมิเด็กทุกคน เฝ้าระวังดูแล เมื่อเด็กมีอาการไม่สบาย ฝึกการล้างมือบ่อยๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์ เว้นระยะห่างขณะปฏิบัติกิจกรรม สวมหน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลา การคัดแยกเด็กเมื่อมีอาการไม่สบายแยกออกจากห้องเรียน ส่งเสริมให้เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีการบันทึกข้อมูล น้ำหนัก - ส่วนสูงเด็ก เทียบกับตารางโภชนาการ เพื่อคัดกรองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมให้มีภาวะโภชนาการที่ดี โรงเรียนจัดทำโครงการ "หนูน้อย สุขภาพดี ชีวีมีสุข” จัดกิจกรรมพาเด็กปลูกผักปลอดสารพิษ สนับสนุนให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปลอดสารพิษ ปลูกฝั่งให้เด็กรู้จักรักษาสุขภาพอนามัย โดยจัดกิจกรรม "เด็กน้อยมีอนามัย” จัดให้มีการประกวดหนูน้อยน่ารัก โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้ ฟันสวย ไม่มีฟันผุ แต่งกายเรียบร้อย เสื้อผ้าขาวสะอาด ถูกระเบียบ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจและรักษาสุขภาพ อนามัยมากขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ - จิตใจ โดยจัดทำกิจกรรม "ร้องเล่นเต้นโชว์” สนับสนุนส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก ฝึกการรอค่อย เปิดโอกาสให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแข่งขัน การช่วยเหลือผู้อื่น ตลอดจนฝึกปฏิบัติตนขณะทำกิจกรรมนอกห้องเรียน ซึ่งโรงเรียนจัดกิจกรรมพาเด็กเรียนรู้นอกห้องเรียน ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน เช่นห้องคอมพิวเตอร์ , ห้องสมุด , โรงเพาะชำ , โรงเลี้ยงหมู , บ่อปลาดุก ส่งผลให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว มีทักษะชีวิต ได้รู้จักอาชีพต่างๆ จากท้องถิ่น รู้จักการช่วยเหลือตนเอง ระมันระวังความปลอดภัยของตนเองขณะอยู่นอกห้องเรียน โรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา โดยจัดทำโครงการ หนูน้อยนักคิด ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการคิดวิเคราะห์ จากกิจกรรมคิดวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานครอบคลุมสาระที่ควรเรียนรู้ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก สนับสนุนให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน มีเจตคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือ รู้จักวิธีการดูแลหนังสือ การใช้ส่งของร่วมกัน พัฒนาทักษะการคิด วางแผน และถ่ายทอดเรื่องราว โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ "ไฮสโคป” ฝึกให้เด็กรู้จักการวางแผน การเลือกปฏิบัติ การปฏิบัติตามเงื่อนไขและฝึกการถ่ายทอดเรื่องราวผลงานให้ผู้อื่นฟังได้ตามจินตนาการผลจากการปฏิบัติกิจกรรม 

ผลการดำเนินงาน  

ส่งผลให้เด็กสามารถคิดวางแผนตัดสินใจเลือกปฏิบัติอย่างมีระเบียบตามความสนใจ เด็กสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ ยอมรับและปฏิบัติในสิ่งที่เลือกได้ เด็กกล้าแสดงออก มีความคิดเล่าเรื่องตามจินตนาการ โรงเรียนสนับสนุนให้เด็กมีทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยจัดกิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ทุกสัปดาห์ เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติฝึกทักษะการสังเกต , การจำแนก การวัด การคำนวณ การตั้งสมมติฐาน และการทำงานเป็นขั้นตอน มีทักษะการสังเกตสิ่งนี้พบเห็น รู้จักจำแนบสิ่งต่างๆ ได้ และค้นคว้าหาคำตอบจากสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ จากกิจกรรมทั้งหมดที่ได้จัดขึ้นกับเด็ก ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น มีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน มีความพร้อมที่จะขึ้นสู่ขั้นต่อไป

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1TkLrhiWh8LoAJmKQX1L-r7yUyKeKTe8E?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

รงเรียนบ้านวังอีแอ่นมีบุคลากรที่มีวุฒิทางการศึกษาปฐมวัยหรือมีประสบการณ์ในการสอนทางด้านปฐมวัยส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เช่น การเข้ารับการอบรมมีการวัดประเมินผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำมาพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น มีการจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้เด็กได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง และประสานความร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครองเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน มีโครงการที่สอดคล้องและสามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์มีโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ตครบทุกห้องเรียน

ผลการดำเนินงาน  

จากการดำเนินงาน ผู้เรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือในด้านความประพฤติ ด้านสุขภาพอนามัย  มีสุขนิสัยสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ได้แสดงออกถึงความสามารถด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬาตามศักยภาพของตนเอง และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาดนตรี ตลอดจนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีความสุข สามารถร้อง  เต้น และรำได้            ตามความถนัด  สามารถบรรเลงรวมวงได้  และบรรเลงดนตรีบริการชุมชนได้  บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และโรงเรียนได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กทั้งด้านร่างกาย เด็กทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สนับสนุนให้มีระบบสารสนเทศ เทคโนโลยี เพื่อจัดการเรียนรู้ เช่น จัดให้มีห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เด็กได้ศึกษาข้อมูลทางโลกออน์ไลน์จัดให้มีอุปกรณ์ ของเล่น ของใช้ เครื่องนอน สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้เพียงพอ ต่อจำนวนเด็ก จัดให้มุมเสริมประสบการณ์ที่สะอาด ปลอดภัย และมีความหลากหลาย จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม ที่เหมาะสมและปลอดภัย มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน ล้างมือ การทำความสะอาดร่างกาย ห้องน้ำ ห้องส้วม เพียงพอต่อจำนวนเด็ก หลักสูตรมีความสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา ในรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้หลักการเตรียมความพร้อม เป็นเด็กเป็นศูนย์กลาง เด็กได้เรียนรู้ผ่อนการเล่นและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองสอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชม และท้องถิ่น จัดครูที่เหมาะสมกับการจัดการประสบการณ์เรียนรู้ เป็นครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัยทั้งหมด และร่วมบุคลากรทำการอบรม พัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูมีความรู้ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรมครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ การวางแผนการจัดประสบการณ์ การวางระบบ และดำเนินงานประกันคุณภาพภายในเป็นอย่างดี และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความมั่นใจต่อระบบการบริหารโรงเรียน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1TkLrhiWh8LoAJmKQX1L-r7yUyKeKTe8E?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  ครูจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์มุ่งเน้นพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านร่างกาย ด้านอารณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา จัดกิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กมีร่างกายที่เจริญเติบโตตามวัยมีสุขนิสัยที่ดี กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงสุขภาพใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กับ เด็กมีสุขภาพจิตดี และมีความสุข แสดงออกทางอามารณ์ได้เหมาะสมกับวัยรู้จักยับยังชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตนเอง โดยการนำรูปแบบวิธีการสอน แบบไฮสโคปเข้ามาใช้ในการจัดกิจกรรม เด็กเกิดทักษะด้านการวางแผน การตัดสินใจเลือกและการปฏิบัติตามเงื่อนไข จัดกิจกรรมเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกการสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ และการทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน จัดมุมเสริมประสบการณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ห้องเรียนมีอากาศถ่ายเท มีสถานที่เพียงพอต่อการปฏิบัติกิจกรรม จัดให้มีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน ประเมินเด็กด้วยวิธีที่หลากหลาย การวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็กโดยเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อนำผลประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง จัดประชุม PLC นำข้อมูลปัญหาต่างๆ มาคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาเด็กเป็นรายบุคคล 
ผลการดำเนินงาน  

กิจกรรมโครงการต่างๆ ที่สนองความต้องการของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีเกิดการเรียนรู้มีทักษะชีวิต ปฏิบัติตนตามหลัก ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1TkLrhiWh8LoAJmKQX1L-r7yUyKeKTe8E?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

สรุปผลการประเมินในภาพรวม

          โรงเรียนมีกระบวนจัดประสบการณ์ เน้นเด็กเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาได้เหมาะสมกับวัย

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จุดเด่น

1)           โรงเรียนมีความพร้อมในด้านอาคารสถานที่ ร่มรื่น สวยงามเหมาะสมและสะดวกต่อ

การจัดการเรียนการสอน

2)           ครูและบุคลากรมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง พัฒนางานที่รับผิดชอบ และมีจำนวนเพียงพอ

3)           คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง วัดและชุมชน ให้การสนับสนุนช่วยเหลือและร่วมมือกับ

        โรงเรียนในการพัฒนาการศึกษาอย่างดี สม่ำเสมอและต่อเนื่อง

 

จุดที่ควรพัฒนา

 

1)          โรงเรียนควรจัดโครงการ/กิจกรรมสะท้อนอัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ อย่างเหมาะสมตามวัย

2)          ครูควรนำสื่อมาใช้ในการจัดประสบการณ์ให้มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง

3)       โรงเรียนควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมพัฒนาเด็กและอบรมเลี้ยงดูให้เหมาะสมตามวัย สอดคล้องกับแนวการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/10VkHq5ITI1x0bkfNK2LLBzpMwa7Zn44D?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนบ้านวังอีแอ่นส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.๒๕๖๐) เพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่ว่า "การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้  ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ   
ผลการดำเนินงาน  

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียนที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง ได้แก่ 1)โครงการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยกิจกรรมพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ กิจกรรมพัฒนาการอ่านเขียนภาษาไทยในกิจกรรม โครงการปลอดการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ 2 )โครงการส่งเสริมสุขภาพ 3)โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ กิจกรรมออมทรัพย์ กิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ   5) โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการ  กิจกรรมพิชิตNT  กิจกรรมพิชิต O-NET  กิจกรรมศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ภายนอก 6) โครงการพัฒนาระบบประภันคุณภาพการศึกษา

สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิต ดี กล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1xzYzBdQoWnf3NhHcPixkc88PAWZiOQ-t?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนบ้านวังอีแอ่นส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.๒๕๖๐) เพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่ว่า "การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข

ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และ มีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย


ผลการดำเนินงาน  

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียนที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง ได้แก่ 1)โครงการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยกิจกรรมพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ กิจกรรมพัฒนาการอ่านเขียนภาษาไทยในกิจกรรม โครงการปลอดการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ 2 )โครงการส่งเสริมสุขภาพ 3)โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ กิจกรรมออมทรัพย์ กิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ   5) โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการ  กิจกรรมพิชิตNT  กิจกรรมพิชิต O-NET  กิจกรรมศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ภายนอก 6) โครงการพัฒนาระบบประภันคุณภาพการศึกษา

สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิต ดี กล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1xzYzBdQoWnf3NhHcPixkc88PAWZiOQ-t?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนบ้านวังอีแอ่นได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหาและผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา      โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเพื่อวางแผนร่วมกัน พร้อมกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ และวางแผนกลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนร่วมกัน ตลอดจนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี           ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งทางโรงเรียน        ได้จัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ อีกทั้งยังมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ตลอดจนมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน  

๑ โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของโรงเรียน นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูป   ตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติอย่างชัดเจน


          
๒.๓ โรงเรียนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ
๒ โรงเรียนมีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง มีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศถูกต้อง ครบถ้วน และทันสมัย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้รวดเร็วเมื่อมีการนำมาใช้ ตลอดจนมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมที่จัดสภาพแวดล้อม      ทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ขึ้น

๓ โรงเรียนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

๔ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบผลที่เกิดขึ้น ตลอดจนรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา    

 ๕ โรงเรียนมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสม    เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา   

๖. โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารงานและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และยึดหลัก     ธรรมาภิบาล 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1xzYzBdQoWnf3NhHcPixkc88PAWZiOQ-t?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

วิธีการพัฒนา/ผลที่เกิดจากการพัฒนา

โรงเรียนบ้านวังอีแอ่นส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.๒๕๖๐)ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา  ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูผลิตนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญา

ผลการดำเนินงาน  

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง ได้แก่หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมชุมนุม ให้นักเรียนเลือกตามความถนัดและความสนใจผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง การบันทึกการใช้สื่อ เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ เอกสารการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียนมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกโดยครูมีวิจัยชั้นเรียนและนำผลไปแก้ไขปัญหาจริง ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1xzYzBdQoWnf3NhHcPixkc88PAWZiOQ-t?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

วิธีการพัฒนา/ผลที่เกิดจากการพัฒนา

           จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปตามเป้าหมายที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ซึ่งจากผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับ ดี ผลที่สนับสนุนการประเมินตนเอง ดังนี้นักเรียนชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ด้านการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ละระดับชั้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด ผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับเขตและระดับชาติ มีโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็ง มีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่พร้อมใช้งานมีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนทุกห้องเรียนมีครูตรงตามวิชาเอกและเพียงพอในการจัดการเรียนการสอน ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน จัดกิจกรรม Active learning เพื่อส่งเสริมการคิดและปฏิบัติจริงทุกชั้นเรียน ครูได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรของคุรุพัฒนา สามารถนำความรู้มาจัดทำแผนการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน เครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียน ผู้บริหาร
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

แบบกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและกำหนดความสำเร็จของสถานศึกษามาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนโรงเรียนบ้านวังอีแอ่น ที่จัดทำขึ้นเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2562 มีการดำเนินงาน ติดตาม ตรวจสอบ ปรับปรุงและพัฒนางานให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา

 1.สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียน เพื่อใช้เป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น                                                  

2.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และด้านการคิดคำนวณ                                                                

3.ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ  มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย                                    

4.ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี กล้าแสดงออกอย่างถูกต้องและสามารถอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

         5. โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจที่กำหนดไว้ชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนตามความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของแผนการจัดการศึกษาของชาติ นโยบายของรัฐบาลและต้นสังกัด ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

         6. การพัฒนางานวิชาการเน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญตรงตามความต้องการ ให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน

         7. จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริง ใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกสถานที่  ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อต่างๆด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้สร้างนวัตกรรมในการเรียนรู้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

1)โครงการพัฒนาระบบงานบริหารเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยใช้กระบวนการ PDCA

2)จัดโครงการ/กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะพื้นฐานอาชีพและมีความรู้ตามาตรฐานสากล พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษและด้านการคิดคำนวณเป็นไปตามเป้าหมาย

3)พัฒนาโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

4)จัดทำแผนการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ

5)โครงการปรับภูมิทัศน์ ปรับปรุงอาคารเรียนและสภาพแวดล้อมให้มีความพร้อมและเอื้อต่อ

การจัดการเรียนรู้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/162wkJ3kcGNp4gw55Nn2U_aIjGdG7pAfl?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/folders/1T3nuJEUmEM7s1TrgwSTh_z2B3xMCAyM9?usp=sharing