รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านคลองครก

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

       โรงเรียนบ้านคลองครกมีการกำหนดมาตรฐานสถานศึกษาของสถานศึกษาระดับปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งบุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนในชุมชน ให้เหมาะสมกับทั้งบริบทและสอดคล้องกัน นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษารองรับการประเมินจากคุณภาพภายนอก

        จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ดังนี้ การประเมินตนเองระดับการศึกษาปฐมวัย สรุปได้ระดับดีเลิศ เพราะมตรฐานที่ 1 คุณภาพเด็ก อยู่ในระดับดีเลิศ  มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับดีเลิศ มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดีเลิศ สำหรับการประเมินตนเองระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับดีเลิศ ทั้งนี้ เพราะมาตรฐานที่ 1คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับดี มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการศึกษา อยู่ในระดับดีเลิศ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดีเลิศ

        สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพเด็กอย่างหลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของเด็กสอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชนท้องถิ่นมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และเพียงพอจนมีผลการพัฒนาคุณภาพของเด็กอยู่ในระดับดีเลิศ

        สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชนท้องถิ่น จนมีผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับดีเลิศ พัฒนาการของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติสูงขึ้น ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียน การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความสามารถในการคิดคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดี และมีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏอย่างชัดเจน ดังที่ปรากฏผลประเมินในมาตรฐานที่ 1 ในด้านกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษามีผลประเมินในรายมาตรฐานอยู่ในระดับดีเลิศ สถานศึกษามีการวางแผน ออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนา และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา ตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีผลประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม วิเคราะห์ ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตร และบริบทสถานศึกษา พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้ ติดตามตรวจสอบและช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหารายบุคคล และการประเมินผลจากสภาพจริงในทุกขั้นตอน สถานศึกษาดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นขั้นตอน จนเกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนมีผลประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ โดยสถานศึกษาให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อเกิดความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดี และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาในระดับสูง

 

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

-มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

1. กลุ่มบริหารงานวิชาการ
1.1 โครงการพัฒนาหลักสูตรและการสอน 8 กลุ่มสาระ

1.2 โครงการห้องสมุด 3D แหล่งหัวใจนักปราชญ์

1.3 โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน

1.4 โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยตามนโยบาย "เดินหน้าและพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ปีการศึกษา 2563

1.5 โครงการกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้เด็กปฐมวัย

1.6 โครงการนิเทศภายในโรงเรียน

1.7 โครงการปัจฉิมนิเทศ

1.8 โครงการส่งเสริมสุนทรียภาพด้านดนตรี นาฏศิลป์ และศิลปะ

1.9 โครงการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ

1.10 โครงการอุปกรณ์วิทยาศาสตร์

1.11 โครงการอ่านออกเขียนได้

1.12 โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

1.13 โครงการการจัดการศึกษาทางไกลเนื่องจากในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (COVID-19)

1.14 โครงการเปิดบ้านวิชาการ (Open House)

1.15 โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

1.16 โครงการผลิตสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้

2. กลุ่มบริหารงานทั่วไป

2.17 โครงการกิจกรรมวันสำคัญ

2.18 โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

2.19 โครงการรับนักเรียน

2.20 โครงการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาให้นักเรียนได้ศึกษาในระดับชั้นที่สูงขึ้น

2.21 โครงการเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้สู่สากล

2.22 โครงการโสตทัศนศึกษา

2.23 โครงการโรงเรียนสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
2.24 โครงการ
Information and Communication Technology (ICT)

2.25 โครงการจิตอาสาพัฒนา ปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน

2.26 โครงการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา

2.27 โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเรียนรู้สู่อาชีพ

2.28 โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านกีฬาเพื่อสุขภาพ

2.29 โครงการค่ายเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต(กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)

2.30 โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา "ป้องกันการทุจริต

2.31 โครงการสภา ประชาธิปไตยในโรงเรียน

2.32 โครงการโรงเรียนปลอดขยะ

2.33 โครงการโรงเรียนคุณธรรม

2.34 โครงการอาหารกลางวันและอาหารเสริมนม

2.35 โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

3.กลุ่มบริหารงานบุคคล

3.36 โครงการการพัฒนาศักยภาพครูสู่ครูมืออาชีพแบบ PLC (Professional Learning Community)‘‘ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ’’
3.37 โครงการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพ

3.38 โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร

4.กลุ่มบริหารงานงบประมาณนโยบายและแผน

4.39 โครงการจัดซื้อจัดจ้างเพื่องานพัสดุ สินทรัพย์

4.40 โครงการเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร

4.41 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เรียนฟรี 15 ปี)

4.42 โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน

4.43 โครงการควบคุมกำกับดูแลการใช้สาธารณูปโภค

4.44 โครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการปรับแผนกลยุทธ์และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

แผนงาน/โครงการที่เป็นจุดเด่นในปีการศึกษา 2563 ที่ควรคงสภาพเดิมและนำมาจัดกิจกรรมในปีถัดไป ได้แก่
1.โครงการอ่านออกเขียนได้
2.โครงการพัฒนาหลักสูตรและการสอน 8 กลุ่มสาระ
3.โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
4.โครงการกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
5.โครงการนิเทศภายในโรงเรียน
6.โครงการผลิตสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้
7.โครงการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาให้นักเรียนได้ศึกษาในระดับชั้นที่สูงขึ้น
8.โครงการจิตอาสาพัฒนา ปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
9.โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเรียนรู้สู่อาชีพ
10.โครงการค่ายเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต(กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)
11.โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา"ป้องกันการทุจริต
12.โครงการสภา ประชาธิปไตยในโรงเรียน
13.โครงการโรงเรียนคุณธรรม
14.โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
15.โครงการการพัฒนาศักยภาพครูสู่ครูมืออาชีพแบบPLC (Professional Learning Community)‘‘ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ’’
16.โครงการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพ
17.โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร



 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

1.1 ข้อมูลทั่วไป

ชื่อ โรงเรียนบ้านคลองครก
ที่อยู่
38 หมู่6 ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี 22160

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต1

เปิดสอนระดับ ชั้นอนุบาลปีที่2ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

โรงเรียนบ้านคลองครก ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2529 โดยความคิดริเริ่มของพระอาจารย์บุญเต็มร่วมกับกำนันและชาวบ้าน บนเนื้อที่ 24 ไร่ - งาน 91 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินบริจาคของนายสุชน ปิตุเตชะ กำนันตำบลพวาในสมัยนั้น
เริ่มต้น ได้เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 และเปิดขยายชั้นเรียนไปเรื่อย ๆ จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ในปี พ.ศ. 2552 เปิดเป็นขยายโอกาสทางการศึกษา เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ในปี พ.ศ. 2555 ได้รับงบประมาณจำนวน 37
,619,131.00 บาท จากกรมชลประทาน เนื่องจากกรมชลประทาน
ขอใช้พื้นที่ในการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองประแกต ในปี พ.ศ. 2558 เริ่มทำการก่อสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ โดยพื้นที่
ที่ทำการก่อสร้างนั้น ได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้ ในการใช้พื้นที่ จำนวน 35 ไร่ 1 งาน 12 ตารางวาซึ่งเป็นที่ดิน
ที่คุณพ่อเสวียง วรรณเวช และคุณสนิท รอดศรี ได้บริจาคให้กับวัดคลองครก แล้วพระครูสังฆรักษ์ปรีชา ภททฺปุญโญ เจ้าอาวาสวัดคลองครกได้มอบที่ดินจำนวน 33 ไร่ 2งาน 59ตารางวา ให้โรงเรียนดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนแห่งใหม่
ในปี พ.ศ.2559 การก่อสร้างโรงเรียนบ้านคลองครกแห่งใหม่แล้วเสร็จ พ.ศ.2560 ปรับภูมิทัศน์ให้สวยงามเหมาะสม แก่การเรียนรู้ของนักเรียน และเปิดทำการเรียนการสอน วันที่ 16 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

เขตพื้นที่บริการ 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านบ่อโบกปูน หมู่ 6 ต.พวา อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี

และบ้านคลองครก หมู่ 10 ต.พวา อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี


การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์     โรงเรียนบ้านคลองครก มุ่งพัฒนานักเรียนมีความรู้ คู่คุณธรรม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
                    น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญา        ปัญฺญา ว ธเนน เสยฺโย (ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์)

เอกลักษณ์   สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ ควบคู่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

อัตลักษณ์    ยิ้มง่ายไหว้สวย

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 16 0 1 1 0


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

1.หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2563
2.หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2563
3.หลักสูตรท้องถิ่น พ.ศ.2563

ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

1. อาคารเรียน108 ล/30 ปีที่สร้าง 2559

2. อาคารเรียน108 ล/30 ปีที่สร้าง 2559

3. อาคารอเนกประสงค์/โรงอาหาร/โรงฝึกงานอาคารหอประชุม 100/27 ปีที่สร้าง 2559

4. อาคารอเนกประสงค์/โรงอาหาร/โรงฝึกงานอาคารหอประชุม -โรงอาหาร 101 ล./27,101ล/27 ปีที่สร้าง 2559

5. บ้านพักครูบ้านพักครู 205/26 (5 ห้องนอน) ปีที่สร้าง 2559

6. บ้านพักครูบ้านพักครู 205/26 (5 ห้องนอน) ปีที่สร้าง 2559

7. บ้านพักครูบ้านพักครู 205/26 (5 ห้องนอน) ปีที่สร้าง 2559

8. บ้านพักครูบ้านพักครู 205/26 (5 ห้องนอน) ปีที่สร้าง 2560

9. ส้วม ส้วมนักเรียนชาย 6 ที่/49 ปีที่สร้าง 2558

10. ส้วม ส้วมนักเรียนชาย 6 ที่/49 ปีที่สร้าง 2558

11. ส้วม ส้วมนักเรียนหญิง 6 ที่/49 ปีที่สร้าง 2558

12. ส้วม ส้วมนักเรียนหญิง 6 ที่/49 ปีที่สร้าง 2558

13. หอสมุด/ห้องสมุด ปีที่สร้าง 2558

14. สนามกีฬา สนามฟุตบอล แบบ ฟ.1/42 ปีที่สร้าง 256015. สนามกีฬา สนามบาสเก็ตบอล ปีที่สร้าง 2561

16. ถนน ถนนคอนกรีต ปีที่สร้าง 2558

17. โรงจอดรถ

18. ฐานพระพุทธรูปประจำโรงเรียน

19. เสาธงชาติของโรงเรียน

 


หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ปีการศึกษา 2563
-ห้องวิทยาศาสตร์
-ห้องดนตรี
-ห้องคอมพิวเตอร์
-ห้องสมุด
-สนามกีฬา
-สนามเด็กเล่น
-แปลงเกษตร
-หอประชุม
-โรงอาหาร
-สหกรณ์

แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ปีการศึกษา 2563
-ค่ายเนินวง
-สวนน้ำบันนี่บูม
-สวนสยาม
-ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง
-มรรภ.รำไพพรรณี
-รร.แก่งหางแมวพิทยาคาร
-เทศบาลตำบลพวา
-วัดคลองครก



หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนบ้านคลองครกมีกระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยวิธีการที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขลักษณะ มีกิจกรรมออกกำลังกาย เพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้างเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีต่อสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้มไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันเป็นการสร้างรากฐานชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีคุณค่าต่อตนเองและสังคม ตามปรัชญาการศึกษาปฐมวัย ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช ๒๕๖๐ และเป็นไปตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัดของหลักสูตรปฐมวัย โดยมีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านการเล่น การลงมือปฏิบัติจริงเด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อเด็กได้รับประสบการณ์ตรง มีทักษะการคิดพื้นฐาน สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์นั้น ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาของตนและส่วนรวม เนื่องจากเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเอง โดยการจัดโครงการและกิจกรรมต่างๆเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ เช่น โครงงาน เรื่อง ผ้าสีสวยด้วยมือหนู "โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” กิจกรรมจิตกรน้อย กิจกรรมปรับปรุงห้องเรียนน่าอยู่ กิจกรรมหนูน้อยรักการอ่านกิจกรรมหนูน้อยรักสุขภาพ และกิจกรรมนักวิทยาศาสตร์น้อย

ผลการดำเนินงาน  

ข้อมูลเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์รายด้านในระดับดีเลิศ

 

 

จากผลการประเมินพัฒนาการข้างต้น เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีการเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่าคล่องแคล่ว มีสุขนิสัยที่ดีดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองได้ พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ร่าเริงแจ่มใส มีความมั่นใจกล้าพูดกล้าแสดงออก ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ พัฒนาการด้านสังคมช่วยเหลือตนเอง มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม พัฒนาการด้านสติปัญญา มีจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ คิดแก้ไขปัญหาในเรื่องง่ายๆได้

 

 

8

3. จุดเด่น

3.1) นักเรียนมีความสุขในการร่วมกิจกรรมทั้งในและนอกชั้นเรียน

3.2) นักเรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านดีขึ้น มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีการเจริญเติบโตสมตามวัย มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส แสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย ยอมรับและพอใจในความสามารถและผลงานของตนและผู้อื่น เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีน้ำใจ ช่วยเหลือแบ่งปัน มีมารยาท รักความเป็นไทย ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3.3) ครูสามารถทราบพัฒนาการของเด็กเป็นรายบุคคล

 

๔. จุดควรพัฒนา

4.1) นักเรียนขาดความมั่นใจในการปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตาม มีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาทักษะทั่วไปในชีวิตประจำวัน และทักษะการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ครูจำเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้งานง่าย เข้าถึงง่ายขึ้น เพื่อสนองต่อการสนใจของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น มีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาที่สมบูรณมากยิ่งขึ้น และสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1Zwggydg0BIK60OkizjfV0LZDaTPuSWd3/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษามีระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย 

มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์อยู่สม่ำเสมอ และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

ผลการดำเนินงาน  

 

2. ผลการดำเนินงาน

2.1) สถานศึกษา มีหลักสูตรสถานศึกษา รับการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2563 และจัดให้มีการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมต่างๆที่เป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน  

2.สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

2.สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

2.สถานศึกษาให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู

 

3. จุดเด่น

3.1) นักเรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านดีขึ้น

3.2) ครูจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามระบบและแนวทางเดียวกัน

3.3) ครูสามารถทราบพัฒนาการของเด็กเป็นรายบุคคล

3.4) ครูและชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเด็กร่วมกัน

 

๔. จุดควรพัฒนา

4.1) การจัดกิจกรรมคลอบคลุมแต่ยังไม่หลากหลายสำหรับการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน

4.2) จัดหาสื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยให้เพียงพอต่อความต้องการ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1Zwggydg0BIK60OkizjfV0LZDaTPuSWd3/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ เน้นการสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข ส่งเสริมให้จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อ และเทคโนโลยีเหมาะสมกับวัยและมีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงร่วมกับผู้ปกครอง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้าน ได้แก่ กิจกรรมทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย กิจกรรมจิตรกรน้อย กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมปรับปรุงห้องเรียนน่าอยู่ กิจกรรมหนูน้อยรักการอ่าน และกิจกรรมหนูน้อยรักสุขภาพ

ผลการดำเนินงาน  

2. ผลการดำเนินงาน

2.1) ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงเด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา อยู่ในระดับดี ภาคเรียนที่ 1 ร้อยละ 8.6 ภาคเรียนที่ 2 ร้อยละ ๘๔.62

 

๒.๒) ครูสังเกตเด็กเป็นรายบุคคลมีการวิเคราะห์การจัดประสบการณ์การเรียนการสอน เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มีการทำกิจกรรมต่างๆทั้งในห้องเรียนและกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และมีประสบการณ์ เกิดความคิดรวบยอด เกิดทักษะต่างๆ สามารถนำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ (Active learning) เป็นการให้เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือทำ เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง มีระบบช่วยเหลือเด็กด้วยการเยี่ยมบ้าน ครุได้รับรู้พฤติกรรม กิจวัตรประจำวันของเด็กในขณะที่อยู่ที่บ้าน เด็กได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือในเรื่องของพฤติกรรมและการปฏิบัติตนในขณะที่อยู่ที่บ้าน

 

3. จุดเด่น

3.1) นักเรียนมีความสุขในการร่วมกิจกรรมทั้งในและนอกชั้นเรียน

3.2) นักเรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านดีขึ้น

3.3) ครูสามารถทราบพัฒนาการของเด็กเป็นรายบุคคล

3.) ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กลงมือทำด้วยตนเอง มีการบูรณาการการเรียนรู้ผ่านการเล่นเน้นเด็กเป็นสำคัญ

3.) ครูปลูกฝังและเสริมสร้างลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งเรื่องความมีระเบียบวินัยในตนเอง รู้จักหน้าที่ มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรม 

 

 

 

๔. จุดควรพัฒนา

4.1) การจัดทำสารสนเทศให้เป็นระบบ ให้มีการรับรู้ข่าวสารที่ชัดเจน

4.) การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1Zwggydg0BIK60OkizjfV0LZDaTPuSWd3/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาระดับปฐมวัย อยู่ในระดับ 4 ดีเลิศ

จากผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐานจากผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับดีทั้งนี้เพราะมาตรฐาน
ที่ คุณภาพของเด็กอยู่ในระดับดีเลิศ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการศึกษาอยู่ในระดับดีเลิศ มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญอยู่ในระดับดีเลิศ 

เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานช่างสังเกต รู้จักการตั้งคำคามในสิ่งที่ตนสงสัยและอยากรู้ ชอบสำรวจและทดลองสิ่งต่างๆ คิดแก้ปัญหาในเรื่องง่ายๆได้ มีจินตนาการความคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆอย่างเป็นอิสระ มีนิสัยรักการอ่าน เล่าเรื่องจากภาพและสัญลักษณ์ สามารถสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องราวเป็นประโยคต่อเนื่องให้ผู้อื่นฟังได้อย่างเข้าใจ ทั้งนี้สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพเด็กอย่างหลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของเด็กสอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชนท้องถิ่นมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และเพียงพอจนมีผลการพัฒนาคุณภาพของเด็กอยู่ในระดับดีเลิศ มีการจัดทำพัฒนาหลักสูตรปฐมวัยให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาโดยมีการจัดประสบการณ์ให้มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น เน้นเด็กเป็นสำคัญ เรียนรู้ผ่านกระบวนการเล่นและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้มีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้การเรียนรู้ให้มีความปลอดภัยและเพียงพอต่อความต้องการของเด็ก มีการพัฒนาครูโดยการส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษาเข้าอบรมพัฒนาความรู้ความสารมารถในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการเรียนรู้ทุกห้องเรียนด้วยการใช้สื่อเทคโนโลยีสาระสนเทศในการศึกษาหาความรู้ มีการเยี่ยมบ้านเพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหา  ให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีและมีคุณภาพ

สถานศึกษาเห็นความสำคัญและส่งเสริมด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยครูมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาโดยมีการปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม บริบท ชุมชน สังคม โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มุ่งจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง ๔ ด้าน ทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้เด็กมีพัฒนาการสมตามวัย มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและใช้สื่อเพื่อเร้าความสนใจให้กับเด็ก ให้เด็กเกิดความสนใจใฝ่เรียนรู้ เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมออกแบบการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติในการทำกิจกรรมด้วยตนเอง มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในห้องเรียนโดยการจัดมุมต่างๆและให้เด็กได้เลือกเล่นตามมุมที่ตนสนใจอย่างอิสระ มีการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก มีการจัดกิจกรรมนักวิทยาศาสตร์น้อย ส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดการสืบเสาะค้นหาคำตอบโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานให้เด็กรู้จักการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง มีการประเมินพัฒนาการเด็กจากการสังเกตและการทำกิจกรรมต่างๆทั้งในและนอกห้องเรียน

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 


​1.นักเรียนมีความสุขในการร่วมกิจกรรมทั้งในและนอกชั้นเรียน

2. นักเรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านดีขึ้น มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีการเจริญเติบโตสมตามวัย มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส แสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย ยอมรับและพอใจในความสามารถและผลงานของตนและผู้อื่น เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีน้ำใจ ช่วยเหลือแบ่งปัน มีมารยาท รักความเป็นไทย ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. ครูสามารถทราบพัฒนาการของเด็กเป็นรายบุคคล

      4. นักเรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านดีขึ้น

5. ครูจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามระบบและแนวทางเดียวกัน

6. ครูสามารถทราบพัฒนาการของเด็กเป็นรายบุคคล

7. ครูและชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเด็กร่วมกัน

      8. นักเรียนมีความสุขในการร่วมกิจกรรมทั้งในและนอกชั้นเรียน

9. นักเรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านดีขึ้น

10. ครูสามารถทราบพัฒนาการของเด็กเป็นรายบุคคล

11. ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กลงมือทำด้วยตนเอง มีการบูรณาการการเรียนรู้ผ่านการเล่นเน้นเด็กเป็นสำคัญ

12. ครูปลูกฝังและเสริมสร้างลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งเรื่องความมีระเบียบวินัยในตนเอง รู้จักหน้าที่ มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรม 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1Zwggydg0BIK60OkizjfV0LZDaTPuSWd3/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษามีระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัดเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก และเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีการสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด และห้องคอมพิวเตอร์ ครูผู้สอนประจำวิชากำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ
ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน

สถานศึกษาได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โดยจัดค่ายคุณธรรม จริยธรรม ให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัย มีระบบการแนะแนว และดูแลสุขภาวะจิต

ผลการดำเนินงาน  

ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดี รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย
กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากย์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ รวมทั้งรู้เท่าทัน สื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์ รักการอออกกำลังกาย นักเรียนทุกคนสามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละประเภท ยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษาของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัย ทั้งนี้ มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่างๆ ดังนี้

 

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1g5YVc87yKW_nIPRJGMbtUNa6WoT3aqgh/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษามีระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัดเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก และเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีการสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด และห้องคอมพิวเตอร์ ครูผู้สอนประจำวิชากำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ
ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน

สถานศึกษาได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โดยจัดค่ายคุณธรรม จริยธรรม ให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัย มีระบบการแนะแนว และดูแลสุขภาวะจิต

ผลการดำเนินงาน  

ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดี รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย
กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากย์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ รวมทั้งรู้เท่าทัน สื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์ รักการอออกกำลังกาย นักเรียนทุกคนสามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละประเภท ยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษาของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัย ทั้งนี้ มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่างๆ ดังนี้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1uMG4aM-EAsVCw42SgpFzUO_LernqQGbA/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา มีคำสั่งแต่งตั้งผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงาน หัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้าแผนก หัวหน้าระดับ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับหน้าที่ ที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงานโดยมีโดยการสำรวจ
ความพึงพอใจผลการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และคณะกรรมการบริหารโรงเรียน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการศึกษา

 

ผลการดำเนินงาน  

2.1 สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

2.2 แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมี
ความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

2.3 สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

2.4 ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

2.5 สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา ที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

2.6 สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา

2.7 สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์ ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1uMG4aM-EAsVCw42SgpFzUO_LernqQGbA/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ มีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน มีการบูรณาการภาระงาน ชิ้นงาน โดย ทุกระดับชั้นจัดทำหน่วยบูรณาการอาเซียน เศรษฐกิจพอเพียง ปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วยกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้มีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำข้อมูลและผลจากการวิเคราะห์มาออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดประเมินผลที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนรวมทั้งให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่นักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยความเสมอภาค
สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด ครูใช้สื่อการเรียนการสอน และเทคโนโลยี

ผลการดำเนินงาน  

จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครูการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ครูผู้สอนมีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชา มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1uMG4aM-EAsVCw42SgpFzUO_LernqQGbA/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและ
ความต้องการพัฒนาตามสภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชนท้องถิ่น จนมีผล
การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับดี พัฒนาการของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติสูงขึ้น ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียน การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความสามารถในการคิดคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดี และมีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏอย่างชัดเจน ดังที่ปรากฏผลประเมินในมาตรฐานที่
1 ในด้านกระบวนการบริหาร
จัดการของผู้บริหารสถานศึกษามีผลประเมินในรายมาตรฐานอยู่ในระดับดีเลิศ สถานศึกษามีการวางแผน ออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนา และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา ตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีผลประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม วิเคราะห์ ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตร และบริบทสถานศึกษา พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้ ติดตามตรวจสอบและช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหารายบุคคล และการประเมินผลจากสภาพจริงในทุกขั้นตอน สถานศึกษาดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นขั้นตอน จนเกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนมีผลประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ โดยสถานศึกษาให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อเกิดความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดี และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาในระดับสูง

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

1)ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านคล่อง รวมทั้งเขียนเพื่อการสื่อสารได้ สามารถใช้เทคโนโลยีใน
การแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดี แต่คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (
O-NET) บางกลุ่มสาระยังต่ำกว่าระดับชาติ และน้อยกว่าร้อยละ 50

2)ผู้เรียนมีความสนใจในกิจกรรมที่ตนเองชอบด้วยความสมัครใจ มีความกระตือรือร้นต่อสิ่งที่ตนเองเลือก และสามารถทำได้ดี เมื่อได้รับแรงสนับสนุนและกำลังใจจากครู

3)ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีความถนัด
ด้านกีฬา จนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา เป็นที่ยอมรับของชุมชนโดยรอบในเรื่องการจิตอาสาและการบำเพ็ญประโยชน์ เคารพกฎกติกา และมารยาทของสังคม

4) ผู้เรียนให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนค่อนข้างดี มีการตอบคำถามทุกครั้งถึงแม้จะไม่ถูกต้อง

5) เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน

6) สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง
มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

7) การจัดกิจกรรมของสถานศึกษามีความหลากหลาย และบรรลุตามวัตถุประสงค์

8) ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน
เมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมหรือภาระงานเสร็จสิ้น ครูให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันที เพื่อให้นักเรียนนำไปแก้ไขและพัฒนาตนเอง

9) ครูมุ่งให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิด ได้ปฏิบัติจริง
มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

10) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

11)ครูมีการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1uMG4aM-EAsVCw42SgpFzUO_LernqQGbA/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/folders/1DGjeiTK_8-oueRQgcawIrkOw1Yfwc677?usp=sharing