รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านวังไม้แดง

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านวังไม้แดง ตั้งอยู่เลขที่ 188 หมู่ 5 ตำบลสามพี่น้อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต1 เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่มีจำนวนนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 และอนุบาลปีที่ จำนวน 44 คน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 จำนวน 275 คน  มีบุคลากรสายบริหาร จำนวน 1คน และมีข้าราชการครู ครูอัตราจ้างและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวน 21 คน 

ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนบ้านวังไม้แดงระดับปฐมวัย  ในภาพรวม อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม โดยมี กระบวนการพัฒนาและผลการดำเนินงานในแต่ละมาตรฐาน ดังต่อไปนี้

โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคมและสติปัญญาของเด็ก โดยได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้สนุกสนาน มีความสุขในการเรียนรู้ จากโครงการพัฒนาคุณภาพ 4 ด้านของเด็กปฐมวัย โครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย และโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านวังไม้แดงให้มีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สามารถควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัยพัฒนาการด้านสังคม สามารถช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และพัฒนาการด้านสติปัญญา สามารถสื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

โรงเรียนมีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ตามโครงการพัฒนาหลักสูตรปฐมวัยให้เป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น กิจกรรมบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน ส่งผลให้โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ได้มีการพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง ตามโครงการพัฒนาบุคคลากร รวมทั้งโรงเรียนได้มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อ เทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ตามโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ปฐมวัย และโรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ร่วมกันกำหนดมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนดได้มี การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผล ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกด้านให้เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม ตามโครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย นอกจากนี้มีการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ห้องเรียนมีบรรยากาศแจ่มใส  กว้างขวางพอเหมาะ สะอาด ปลอดภัย จัดวางของใช้ได้อย่างเป็นระเบียบ มีการจัดทําป้ายนิเทศหน่วยการเรียน มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก มีมุมประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 5 มุม มีการผลิตสื่อและนํามาใช้ได้อย่างเหมาะสม  มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน ตามโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ปฐมวัยและโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย นอกจากนี้ยังมีกระบวนการการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและต่อเนื่องเก็บรวบรวมผลงานเด็กเพื่อดูความก้าวหน้า และนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กมาวิเคราะห์ผลเพื่อดูพัฒนาการของเด็ก พิจารณา ปรับปรุง วางแผนการจัดกิจกรรมและส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามเป้าหมาย

ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนบ้านวังไม้แดงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ โดยมี กระบวนการพัฒนาและผลการดำเนินงานในแต่ละมาตรฐาน ดังต่อไปนี้

โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ โดยมีทั้งการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้มาประยุกต์ใช้ มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน ตั้งแต่ ป.1 พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเสนอเทคนิคการสอนให้ตรงกับศักยภาพของผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน จัดให้มีสื่อแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูลที่หลากหลาย และให้นักเรียนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือและวิธีการหลากหลาย และนำผลมาพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดกิจกรรมส่งเสริมด้านอาชีพต่างๆ ตามความสนใจและความถนัด  จากกระบวนการพัฒนาดังกล่าวส่งผลให้ผู้เรียนมีความสามารถอ่านออกเขียนได้และอ่านคล่อง ตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้นอยู่ในระดับดี มีผลการประเมินการสื่อสาร คิดคำนวณ และคิดวิเคราะห์สามารถเขียนสื่อสารได้อยู่ในระดับดี  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล ค้นคว้าเรียนรู้สิ่งที่สนใจ มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด นักเรียนเรียนจบหลักสูตรตามเวลาที่กำหนด มีทักษะการทำงานร่วมกัน มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ แต่ผลการทดสอบในระดับต่างๆ เช่น NT และ O-NET มีผลการทดสอบเฉลี่ยลดลงเกือบทุกรายวิชา  ยกเว้นผลการทดสอบ RT มีผลการทดสอบสูงขึ้น ส่วนกระบวนการพัฒนาผู้เรียนในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์โรงเรียนดำเนินการด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้วยโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ ค่ายคุณธรรม ค่าย"สมาธิเพื่อพัฒนาพลังจิต” กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โครงการส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา ส่งเสริมภาวะผู้นำด้วยกิจกรรมสภานักเรียน คณะกรรมการนักเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ด้วยโครงการวันสำคัญ จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาสุขภาวะทางร่างกายให้กับผู้เรียนที่มีภาวะพร่องทางโภชนาการทั้งขาดและเกิน ทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้เรียนตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมพลศึกษา จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม อบรมเยาวชนอาสาต้านยาเสพติด อบรมป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การจัดการเรียนรู้เพศวิถี กิจกรรมชมรม To Be Number 1 การอบรมสอดแทรกให้ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในระหว่างการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ตลอดจนภัยคุกคามและอันตรายทาง social-network   ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามค่าเป้าหมายที่กำหนด

          โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ภายใต้วงจรคุณภาพ (PDCA) มีการบริหารที่เป็นระบบ ยึดหลักธรรมาภิบาล การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาโดยใช้ข้อมูลฐานในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจน  พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในทุกปีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และทันความเปลี่ยนแปลง พัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงกับชีวิตจริง มีแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนบ้านวังไม้แดง จากการดำเนินการส่งผลให้โรงเรียนมีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและความต้องการของชุมชน  ท้องถิ่น รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ มีการนำแผนไปปฏิบัติ ติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผลและปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการนิเทศภายในและนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา สภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน  มีความปลอดภัย มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน 

 

โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม อย่างหลากหลาย มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning)  ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน  ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา  ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูผลิตนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน  สะเต็มศึกษา เป็นต้น  ส่งเสริมให้ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ มีการวัดและประเมินผู้เรียนอย่างมีขั้นตอน ใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม พร้อมทั้งนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ (PLC)  เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  และนำไปปรับปรุง /พัฒนาการจัดการเรียนรู้ 

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

ระดับปฐมวัย

1. หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย ปีการศึกษา 2563

2. แผนการจัดประสบการณ์

-3. โครงการพัฒนาหลักสูตรปฐมวัย

4. โครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย

5. โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

6. โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ปฐมวัย

7. โครงการพัฒนาคุณภาพ 4 ด้าน ของเด็กปฐมวัย

8. โครงการ open house (ระดับอนุบาล)

9. กิจกรรมวิทยาการคำนวณ

10. กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

11.กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน

12. บันทึกตรวจสุขภาพ

13. แบบบันทึกการดูแลความสะอาดร่างกาย

14. แบบบันทึกการแปรงฟัน


ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2. โครงการ 1 นักเรียน   1 นวัตกรรม

3. โครงการพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์

4. โครงการนิเทศภายใน

5. โครงการ OPEN  HOUSE

6. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

7. โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้

8. โครงการส่งเสริมทักษะกีฬา

9. โครงการส่งเสริมทักษะด้านดนตรี

10. โครงการ Smart  Classroom

11. โครงการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้

12. โครงการพัฒนานักเรียนพิเศษ

13. โครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

14. โครงการพัฒนาทักษะอาชีพ

15. โครงการพัฒนาบุคลากร

16. โครงการศึกษาดูงาน

17. โครงการครูสอนดี  มีสื่อใช้

18. โครงการโรงเรียนคุณธรรม
19. โครงการสหกรณ์โรงเรียน
20. โครงการวันสำคัญและประเพณีไทย
21. โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม
22. โครงการอนามัยโรงเรียน
23. อาหารกลางวันและอาหารเสริม (นม)
24. โครงการโรงเรียนสีขาว
25. โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษา
26. โครงการพัฒนาห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้
27. โครงการห้องสมุดมีชีวิต
28. โครงการธนาคารขยะ
29. โครงการระบบสาธารณูปโภค
30. โครงการค่ายลูกเสือ เนตรนารี
31. โครงการเปิดโลกทัศน์
32. โครงการพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์
33. โครงการบริษัทจำลอง
34. โครงการปัจฉิมนิเทศ
35. โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

36. งานอนามัย เช่น บันทึกสุขภาพ บันทึกการแปรงฟัน แบบบันทึกการดูแลความสะอาดร่างกาย 4.

37. หลักสูตรสถานศึกษา

38. แผนการจัดการเรียนรู้

39. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา SAR

40. กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน

41. ผลการสอบระดับต่างๆ

42. รางวัลระดับสถานศึกษา บุคลากรและนักเรียน


 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

แผนงาน/ แนวทางการพัฒนาเพื่อให้ได้คุณภาพสูงขึ้น (ระดับปฐมวัย)

ด้านคุณภาพเด็ก

               - โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กดี

               - โครงการปฐมวัยตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง

               เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ 4ด้านของเด็กโดยประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กร่วมกันทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน การส่งเสริมสุขภาพเด็กให้มีสุขภาพที่ดีเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการในด้านอื่นๆ ต่อไป

ด้านกระบวนการบริหารจัดการ

               - โครงการพัฒนาศักยภาพครูระดับปฐมวัย

               เพื่อพัฒนาครู และบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพโดยการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ และส่งครูเข้าอบรมตามหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้อย่างหลากหลาย เน้นการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย

ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

              - โครงการการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาระดับปฐมวัย

               เพื่อพัฒนาให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในทักษะด้านต่างๆ โดยเน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) และนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันเป็นการเพิ่มประสบการณ์ สามารถคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาได้อย่างมีเหตุผล

แผนงาน/ แนวทางการพัฒนาเพื่อให้ได้คุณภาพสูงขึ้น (ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน)

ด้านคุณภาพผู้เรียน

          - โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

          เนื่องจากการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์ ยังขาดการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง จริงจัง การยกระดับผลสัมฤทธิ์แต่ละกลุ่มสาระประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง นักเรียนส่วนใหญ่ยังต้องได้รับการพัฒนาต่อไป ผลสัมฤทธิ์ระดับชาติของนักเรียนยังไม่ผ่านเกณฑ์ในบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ จึงต้องมุ่งเน้นพัฒนาต่อไป

ด้านกระบวนการบริหารจัดการ

          - โครงการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร

  เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศ กำกับ ติดตามของโรงเรียนบ้านวังไม้แดง ให้เป็นรูปธรรม ต่อเนื่องและเป็นระบบ ประเมินด้วยความเป็นกัลยาณมิตร ให้ข้อมูลย้อนกลับในทันทีเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

- โครงการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

  เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศภายในโรงเรียนที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ โรงเรียน โดยบูรณาการข้อมูลให้สามารถใช้ในการบริหารจัดการงานทุกกลุ่มงานบริหารของโรงเรียนให้มีความเชื่อมโยงบนฐานข้อมูลเดียวกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนของงาน

  ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

          - โครงการภูมิปัญญาไทย ภูมิใจเรา

  เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียน

          - โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

  เพื่อส่งเสริมให้ครูใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มากขึ้น พัฒนาการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในรูปแบบการวิจัย และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะทางภาษาตามกรอบ CEFR


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

1. ประวัติโรงเรียน

ชื่อโรงเรียนบ้านวังไม้แดง ที่ตั้ง 188 หมู่ 5 ตำบลสามพี่น้อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22160 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โทร 0 3949 0638

โทรสาร 0 3949 0639 e-mail : b.wangmaidang@gmail.com website : http://school.obec.go.th/wmdschool เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื้อที่ 15 ไร่ 20 ตารางวา เขตพื้นที่บริการ 5, 6,7, 8, 9, 10

ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านวังไม้แดง ตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2521 โดยนายชู ริศศรี ได้บริจาคที่ดิน จำนวน 15 ไร่ 20 ตารางวา สร้างเป็นอาคารเรียนชั่วคราว ขนาด 2 ห้องเรียน ลักษณะอาคารมุงกระเบื้อง โดยได้รับบริจาคจากผู้ปกครองนักเรียนและชาวบ้านในชุมชน เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียน 112 คน โดยมีนายสมาน โหมดศิริ และ นายศตวรรษ สุวรรณมณี ปฏิบัติหน้าที่ในการสอน

ปัจจุบันโรงเรียนบ้านวังไม้แดง เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผู้เรียนทั้งสิ้น326 คน (ข้อมูล ณ วันที 10 มิ.ย. 2563) มีบุคลากรทั้งสิ้น 23 คน โดยมีข้าราชการครูรวมผู้บริหาร จำนวน 18 คน ครูโครงการคลังสมอง วิทยาศาสตร์ จำนวน 1 คน ครูจ้างสอน 1 คน พี่เลี้ยงเด็กพิการ จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 1 คน และช่างไม้ 4 จำนวน 1 คน ด้านอาคารสถานที่ มีอาคารเรียนแบบ ป.1 ก จำนวน 1 หลัง อาคารเรียนแบบ105/29 จำนวน 3 หลัง อาคารเรียนแบบ 103/26 จำนวน 1 หลัง อาคารอเนกประสงค์แบบ สปช. 203/2526 จำนวน 1 หลัง ห้องส้วมนักเรียนแบบ สปช. 601/26 จำนวน 3 หลัง บ้านพักครูแบบกรมสามัญ จำนวน 1 หลัง บ้านพักครูแบบองค์การ จำนวน 1 หลัง บ้านพักครูแบบ สปช.301/26 จำนวน 3หลัง

ประชากรส่วนใหญ่ในเขตบริการประกอบอาชีพทำสวนทำสวนยาง รับจ้าง การคมนาคมสะดวก โรงเรียนมีไฟฟ้าและประปาบาดาล มีน้ำดื่มน้ำใช้พอเพียง มีไม้ยืนต้น มะม่วง มะขามป้อม กระท้อน และไม้ประดับ มีแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน นอกจากนั้นยังเป็นที่ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและศึกษาความรู้ด้วย สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นหมู่บ้านชนบท มีพื้นที่ประมาณ 54 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 4,200 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ เป็นชุมชน วัด อบต.สามพี่น้อง อาชีพหลักของชุมชน คือ เกษตรกรรม ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ทำบุญตักบาตรเทโว ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง

ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา – ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม เช่นทำสวนยางพารา ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกมะม่วงหิมพานต์ ทำสวนผลไม้ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ฐานะทาง

เศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี 50,000 บาทจำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 5 คน

เขตพื้นที่บริการ หมู่ที่ 5 บ้านวังไม้แดง        หมู่ที่ 6 บ้านวังไม้แดงใน         หมู่ที่ 7 บ้านเนินสมบูรณ์       หมู่ที่ 8 บ้านมะค่า
                      หมู่ที่ 9 บ้านเหมืองแร่        หมู่ที่ 10 บ้านหนองแหวนนอก 

อักษรย่อ วมด.

สีประจำโรงเรียน แดง- เหลือง

ปรัชญาของโรงเรียน ปัญญา โลกสฺมึ ปชฺโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างของโลก

คำขวัญของโรงเรียน ทักษะชีวิตดี มีมารยาท สะอาดสดใส ใฝ่รู้ พอเพียง

ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม

1. สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นหมู่บ้านชนบท มีพื้นที่ประมาณ 54 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 4,200 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ เป็นชุมชน วัด อบต.สามพี่น้อง อาชีพหลักของชุมชน คือ เกษตรกรรม ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ทำบุญตักบาตรเทโว ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง

2. ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา – ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม เช่น ทำสวนยางพารา ปลูกมันสำปะหลัง ทำสวนผลไม้ ส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี 20,000 – 30,000 บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 5 คน

3. โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน

โอกาส

โรงเรียนมีโครงสร้างการบริหารงานชัดเจน ครูและบุคลากรอาศัยอยู่ในโรงเรียนและบริเวณใกล้เคียงโรงเรียน ทำให้มีเวลาทำงานอย่างเต็มที่ ครูส่วนใหญ่มีอายุน้อย มีความกระตือรือร้น สนใจ ใฝ่รู้ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีการทำงานแบบร่วมมือ มีความรับผิดชอบ นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณธรรม จริยธรรม สุขภาพแข็งแรงและมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ ตามเป้าหมาย

ข้อจำกัด

ครูต้องปรับเทคนิคการสอน กระบวนการสอนให้หลากหลาย การใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน การใช้สื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น นักเรียนยังจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การมีนิสัยรักการอ่าน รวมทั้งทักษะชีวิต ประชาชนส่วนใหญ่ของชุมชนมีความรู้น้อย ทำให้ยังไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษามากนัก ไม่มีเวลาดูแลเด็กในปกครอง และไม่ค่อยประสานให้ความร่วมมือกับครูในการแก้ปัญหาการเรียนของเด็กเท่าที่ควร เพราะมุ่งแต่ประกอบอาชีพ

 
การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์ (Vision)

          "โรงเรียนบ้านวังไม้แดง พัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ คู่คุณธรรม ส่งเสริมทักษะชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์ รู้เท่าทันเทคโนโลยี ตามวิถีพอเพียง เคียงคู่ชุมชน

 

พันธกิจ (Mission)

          1. ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถตามศักยภาพ

          2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม สอดคล้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์

          3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

          4. ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรใช้สื่อเทคโนโลยี และใช้นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้

          5. สร้างเครือข่ายความร่วมมือ กับผู้ปกครอง ชุมชน ศิษย์เก่า และองค์กรต่างๆในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน

เป้าประสงค์ (Goal)

          1. ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะที่จำเป็นตามมาตรฐานตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา

          2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์

          3. ผู้เรียนมีทักษะชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

          4. ครูและบุคลากรสามารถใช้สื่อเทคโนโลยี และนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้

          5. ผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา

          6. สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

กลยุทธ์  (Strategy)

          กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน

          กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ

          กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมมือของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา

          กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้

 

ปรัชญา

            ปญฺญา  โลกสฺมึ ปชฺโชโต  : ปัญญาเป็นแสงสว่างของโลก

 

คำขวัญ

          ทักษะชีวิตดี  มีมารยาท สะอาดสดใส ใฝ่รู้ พอเพียง

อัตลักษณ์

             มีจิตอาสา พัฒนาอาชีพ” 

เอกลักษณ์

         โรงเรียนร่มรื่น

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 15 0 3 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน





































































โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนบ้านวังไม้แดงโครงสร้างเวลาเรียนระดับประถมศึกษา

กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

เวลาเรียน(ชั่วโมง/ปี)

ระดับประถมศึกษา

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

— กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

วิทยาศาสตร์

๑๒๐

๑๒๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

í ประวัติศาสตร์

í ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

í หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม

í เศรษฐศาสตร์

í ภูมิศาสตร์

 

๔๐

๔๐

 

๔๐

 

๔๐

 

๔๐

 

๔๐

 

๔๐

 

๘๐

 

๔๐

 

๘๐

 

๔๐

 

๘๐

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๔๐

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

ภาษาต่างประเทศ

๑๒๐

๑๒๐

๒๐๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

— รายวิชาเพิ่มเติม

หน้าที่พลเมือง

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

๘๐

๘๐

-

-

-

-

คอมพิวเตอร์

-

-

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

รวมเวลาเรียน (เพิ่มเติม)

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

— กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

กิจกรรมแนะแนว

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

กิจกรรมนักเรียน

- กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี

- กิจกรรมชุมนุม

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

(๑๐)

(๑๐)

(๑๐)

(๑๐)

(๑๐)

(๑๐)

— กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

รวมเวลาเรียนทั้งหมด

๑,๒๐๐

๑,๒๐๐

๑,๒๐๐

๑,๒๐๐

๑,๒๐๐

๑,๒๐๐



โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนบ้านวังไม้แดง

โครงสร้างเวลาเรียนระดับมัธยมศึกษา


กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

เวลาเรียน(ชั่วโมง/ปี)

ระดับมัธยมศึกษา

ม. ๑

ม. ๒

ม. ๓

— กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

คณิตศาสตร์

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

วิทยาศาสตร์

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

í ประวัติศาสตร์

í ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

í หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม

í เศรษฐศาสตร์

í ภูมิศาสตร์

๑๖๐ (๔ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

 

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๖๐ (๔ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

 

 

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๖๐ (๔ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

 

 

๑๒๐ (๓ นก.)

สุขศึกษาและพลศึกษา

๘๐ (๒ นก.)

๘๐ (๒ นก.)

๘๐ (๒ นก.)

ศิลปะ

๘๐ (๒ นก.)

๘๐ (๒ นก.)

๘๐ (๒ นก.)

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

๘๐ (๒ นก.)

๘๐ (๒ นก.)

๘๐ (๒ นก.)

ภาษาต่างประเทศ

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

๘๘๐ (๒๒ นก.)

๘๘๐ (๒๒ นก.)

๘๘๐ (๒๒ นก.)

— รายวิชาเพิ่มเติม

คอมพิวเตอร์

๘๐ (๒ นก.)

๘๐ (๒ นก.)

๘๐ (๒ นก.)

งานอาชีพ

๘๐ (๒ นก.)

๘๐ (๒ นก.)

๘๐ (๒ นก.)

หน้าที่พลเมือง

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

รวมเวลาเรียน (เพิ่มเติม)

๒๐๐ (๕ นก.)

๒๐๐ (๕ นก.)

๒๐๐ (๕ นก.)

— กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

กิจกรรมแนะแนว

๔๐

๔๐

๔๐

กิจกรรมนักเรียน

- กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี

- กิจกรรมชุมนุม

 

๔๐

๔๐

 

๔๐

๔๐

 

๔๐

๔๐

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

(๑๕)

(๑๕)

(๑๕)

— กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

รวมเวลาเรียนทั้งหมด

๑,๓๖๐

๑,๓๖๐

๑,๓๖๐









 


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลอาคารสถานที่

อาคารเรียนจำนวน 5 หลัง อาคารประกอบจำนวน 1 หลัง ส้วม 3 หลัง สระว่ายน้ำ - สนามเด็กเล่น 1 สนาม สนามฟุตบอล 1 สนาม สนามบาสเก็ตบอล 1 สนาม สนามเทนนิส - สนาม อื่นๆ (ระบุ)

1. ที่ดิน

เนื้อที่ 15 ไร่ 20 ตารางวา ได้มาจากการบริจาค

2. อาคารเรียน

หลังที่ 1 อาคารเรียนแบบ ป.1 ก ขนาด 5 ห้องเรียน สร้างเมื่อ พ.ศ.2523

หลังที่ 2 อาคารเรียนแบบ สปช. 105/26 ขนาด 4 ห้องเรียน สร้างเมื่อ พ.ศ.2527

หลังที่ 3 อาคารเรียนแบบ สปช. 105/26 ขนาด 3 ห้องเรียน สร้างเมื่อ พ.ศ.2529

และต่อเติมเพิ่ม 3 ห้องเรียน รวมเป็น 6 ห้องเรียน

หลังที่ 4 อาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 ขนาด 4 ห้องเรียน สร้างเมื่อ พ.ศ.2542
หลังที่ 5 อาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 ขนาด 4 ห้องเรียน สร้างเมื่อ พ.ศ.2562

3. บ้านพักครู

หลังที่ 1 แบบสามัญ ขนาด 2 ชั้น 2 ห้องนอน 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.2523

หลังที่ 2 แบบองค์การ ขนาด 2 ห้อง ใต้ถุนสูง สร้างเมื่อ พ.ศ.2529

และต่อเติมชั้นล่าง 1 ห้องนอน เมื่อ พ.ศ.2552

หลังที่ 3 แบบ สปช.301/26 ขนาด 2 ชั้น 2 ห้อง สร้างเมื่อ พ.ศ.2531

หลังที่ 4 – 5 แบบ สปช.301/26 ขนาด 2 ชั้น 2 ห้อง สร้างเมื่อ พ.ศ.2537

4. อาคารประกอบการ

4.1 อาคารเอนกประสงค์

หลังที่ 1 แบบ สปช. 203/26 ขนาด 1 ชั้น 1 ห้อง สร้างเมื่อ พ.ศ.2528

หลังที่ 2 แบบสร้างเอง อาคารคอบร้าโกลด์ ขนาด 1 ชั้น 1 ห้อง  สร้างเมื่อ พ.ศ.2561

หลังที่ 3 แบบสร้างเอง อาคารพลศึกษา ขนาด 1 ชั้น 2 ห้อง  สร้างเมื่อ พ.ศ.2563
5. ส้วม

หลังที่ 1 แบบ สปช. 601/26 ขนาด 1 ชั้น 4 ห้อง สร้างเมื่อ พ.ศ.2533

หลังที่ 2 แบบ สปช. 601/26 ขนาด 1 ชั้น 4 ห้อง สร้างเมื่อ พ.ศ.2533

หลังที่ 3 แบบ สปช. 601/26 ขนาด 1 ชั้น 4 ห้อง สร้างเมื่อ พ.ศ.2533
หลังที่ 4 แบบสร้างเอง ขนาด 1 ชั้น 9 ห้อง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2563


6.สิ่งก่อสร้างอื่นๆ

4.1 สนามบอล 1 สนาม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2541

4.2 สนามบาสเกตบอล 1 สนาม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2538

 

หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น

1) ห้องสมุดมีขนาด 120 ตารางเมตร จำนวนหนังสือในห้องสมุด 5,000เล่ม

2) ห้องปฏิบัติการ

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน ………1………. ห้อง

คอมพิวเตอร์ จำนวน .........28........ เครื่อง

ใช้เพื่อการเรียนการสอน จำนวน .........15........ เครื่อง

ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จำนวน...........3......... เครื่อง

ใช้เพื่อการบริหารจัดการ จำนวน……….10...….. เครื่อง

4) วัดกลุ่มสระบุรี

5)โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสามพี่น้อง


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา  
 
1. กระบวนการพัฒนา
 
โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษา ระดับปฐมวัยที่สอดคล้องตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยที่มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาคุณภาพเด็กโดยองค์รวมให้มีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สามารถควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้พัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
และมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้โดยมีการวางแผนการดำเนินการและกระบวนการพัฒนา ดังนี้
 
พัฒนาการด้านร่างกาย โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรงและสมบูรณ์ จัดบริการอาหารให้เด็กอย่างเพียงพอและถูกหลักโภชนาการครูมีการสร้างแรงจูงใจในการบริโภคอาหารที่มีคุณค่า จัดกิจกรรมและโครงการต่างๆของโรงเรียนได้แก่ จัดกิจกรรมวันสำคัญให้ความรู้และทำกิจกรรมเพื่อปลูกฝังการดูแลสุขภาพอนามัย มีการบันทึกการตรวจสุขภาพมีการประเมินภาวะโภชนาการเป็นประจำทุกภาคเรียนและได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกคน
โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามพี่น้องในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก
มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง บันทึกทุพโภชนาการทุก3 เดือน ตามโครงการทุพโภชนาการของโรงเรียน
มีกิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ มีอาหารเสริมนม มีแบบบันทึกการดูแลความสะอาดร่างกาย แบบบันทึกการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกวัน เด็กล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย รวมทั้งการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคภัยต่างๆ และสิ่งเสพติดทั้งหลาย ตามโครงการโรงเรียนสีขาว นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมกิจกรรมกีฬาสีภายในโรงเรียน กีฬาอำเภอแก่งหางแมว ส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรง ส่งเสริมให้เด็กใช้ทักษะและความสามารถด้านกีฬาต่างๆทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน และรู้จักระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นจากการเล่นและทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน เด็กเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็กและมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาได้ตามวัย
  
พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ
ในช่วงเช้าเด็กทำกิจกรรมการเล่าข่าว/การเล่าข่าวที่ได้พบเห็นในแต่ละวัน เพื่อให้ผู้เล่ารู้จักสังเกตสิ่งต่างๆเพื่อนๆร่วมกันชื่นชมกับผู้ที่ออกมาเล่าข่าว กิจกรรมการเคลื่อนไหวยามเช้าเด็กจะผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำผู้ตามในการออกกำลังกาย กิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพ การระบายสี การปั้นดินน้ำมัน การประดิษฐ์ การตัด ฉีก ปะ หลังจากเสร็จงานทุกครั้งเด็กๆจะได้เล่าเรื่องราวจากงานที่ทำเสร็จ และร่วมกันประเมินผลงานว่าของเพื่อนเป็นอย่างไร ของเราเป็นอย่างไร ทำให้เด็กๆได้รับความภาคภูมิใจเมื่อได้รับคำชมและโรงเรียนยังได้จัดกิจกรรม/โครงการที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจของเด็กอีกอย่างหลากหลาย เช่น กิจกรรมวันเด็ก กิจกรรมวันคริสมาสต์ วันปีใหม่ โครงการวันสำคัญต่างๆ ที่ส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกบนเวที ส่งเสริมให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ สามารถแสดงความรู้สึกต่างๆได้ เช่น พอใจ ไม่พอใจ รัก ชอบ สนใจ เกลียด โดยที่เด็กรู้จักควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ เผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและการนับถือตนเอง เล่นและปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น สนใจและมีความสุขในการทำกิจกรรมด้านศิลปะ
ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักธรรมชาติ เด็กได้รับการพัฒนาด้านอารมณ์และจิตใจ ทำให้เข้าใจและรู้จักจัดการกับอารมณ์ตนเอง ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ รู้หน้าที่มีความรับผิดชอบ
  
พัฒนาการด้านสังคมโรงเรียนได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยสอดแทรกการพัฒนาด้านสังคมเข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนของทุกกิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละวันให้เด็กๆได้ทำกิจกรรมร่วมกันรู้จักการคิดการแก้ไขปัญหา มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่โรงเรียนต้องการให้เกิดขึ้นกับเด็กให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรม ปฐมนิเทศ กิจกรรมวันไหว้ครู กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ กิจกรรมวันคริสมาสต์ กิจกรรมวันวิสาขบูชา กิจกรรมวันเข้าพรรษา กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา (โรงเรียนวิถีพุทธ) โครงการค่ายอนุบาลบ้านวังไม้แดง
กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต สิ่งที่เด็กได้ทำคือ การทำกิจกรรมร่วมกับพี่ๆชั้นที่โตกว่า เรียนรู้การเข้าสังคมการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่คณะรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามข้อตกลงร่วมกันได้ เล่นและทำงานร่วมกันได้ปลูกฝังและส่งเสริมให้เด็กดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน เด็กรู้จักประหยัด รู้จักวางแผนการใช้จ่ายของตนเอง มีการออมเงินปลูกฝังให้เด็กมีมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม แต่งตั้งคณะกรรมการดูแลความสะอาดให้เด็กรับผิดชอบดูแลเรื่องความสะอาดทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีโครงการโรงเรียนคุณธรรม โครงการโรงเรียนสุจริต ส่งเสริมให้เด็กมีความซื่อสัตย์ สุจริต
รู้จักช่วยเหลือและแบ่งปันผู้อื่น และช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มี โครงการวันสำคัญ:ศาสนา/ประเพณีไทย/วัฒนธรรมไทย ที่ส่งเสริมให้เด็กปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยและศาสนาที่ตนนับถือ
 
โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน จัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยและตามศักยภาพของเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทยเป็นการปลูกฝังให้เด็กๆมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
ธรรมชาติและเทคโนโลยี ให้เด็กๆหัดสังเกต รู้จักตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเองการจัดกิจกรรมวิทยาการคำนวณ กิจกรรมSTEM การจัดสภาพการณ์ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Active Learning) ซึ่งใช้การบูรณาการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า จากการได้สำรวจเล่น ทดลอง ค้นพบสิ่งต่างๆด้วยตนเอง เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเกิดความคิดรวบยอดจากประสบการณ์เรียนรู้ สนใจการเรียนรู้ รู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหาและใช้ภาษาสื่อความหมายเหมาะกับวัย ส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถในการคิดอย่างระบบ มีความคิดรวบยอดในสิ่งต่างๆ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ช่างสังเกต มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัยโดยจัดทำโครงการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนให้มีประสิทธิภาพ จัดกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด เกิดความภาคภูมิใจในตนเองและยอมรับในผู้อื่น จัดกิจกรรมเล่าข่าว ให้เด็กมีการฝึกพัฒนาทักษะทางภาษา ฝึกการฟัง ให้สนใจข่าวสารสิ่งต่างๆรอบตัว กิจกรรมเกมการศึกษา ให้นักเรียนได้ฝึกการจำแนก เปรียบเทียบ การจับคู่ การเล่นเกมตัดต่อภาพ โครงการส่งเสริมรักการอ่านและกิจกรรมเล่านิทานก่อนนอน เป็นการฝึกพัฒนาการด้านภาษาของเด็กๆ จัดประสบการณ์ให้เด็กได้พัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพจากกิจกรรมต่างๆให้เด็กได้คิดการจำแนกและเปรียบเทียบ จำนวน มิติสัมพันธ์ และเวลา โรงเรียนมี โครงงานสู่การเรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กให้บรรลุเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด และมีโครงการค่ายอนุบาลบ้านวังไม้แดง เด็กๆชั้นอนุบาล2-3 ได้ร่วมกิจกรรม ให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
 
ผลการดำเนินงาน  
2.ผลการพัฒนา

ด้านร่างกาย เด็กปฐมวัยมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานที่กรมอนามัยกำหนด มีทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายเหมาะสมกับวัย เล่นและทำกิจกรรมต่างๆ อย่างคล่องแคล่ว การใช้มือและตาประสานสัมพันธ์กันดี รู้จักดูแลรักษาสุขอนามัยของตนเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปฏิบัติตนตามข้อตกลงเกี่ยวกับความปลอดภัย ส่งผลให้การประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย พบว่า เด็กจำนวน 44 คน มีพัฒนาการด้านร่างกาย อยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับ ยอดเยี่ยม

ด้านอารมณ์ จิตใจ มีความมั่นใจในตนเองเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ชื่นชมงานศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว รักธรรมชาติ รักสิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักวิธีหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ ภัยต่างๆ สิ่งเสพติด สิ่งมอมเมา และมีความระมัดระวังตนเองไม่ให้เกิดอันตรายจากการเล่นและการทำกิจกรรมกิจวัตรประจำวัน ปฏิบัติตนตามวัฒนธรรม ประเพณีไทย และศาสนาที่ตนนับถือได้อย่างเหมาะสม มี่ทักษะชีวิตและรู้จักปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ดำเนินชีวิต คือ รู้จักประหยัด รู้จักการออม และวางแผนการใช้จ่ายของตนเองในแต่ละวันได้ตามวัย มีวินัยในตนเอง รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย นิสัยร่าเริง แจ่มใส อารมณ์ดี มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันได้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล รู้จักเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่และครู มีความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่เอาของคนอื่นมาเป็นของตนเอง มีน้ำใจ และช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่นได้เหมาะสมตามวัย เล่นและทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข รักการเรียนรู้ และสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว มีความคิดรวบยอดจากประสบการณ์เรียนรู้ ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัยสามารถสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ มีสมาธิในการเรียนรู้สามารถจำสิ่งต่างๆ ได้ตามวัย รู้จักแก้ปัญหา สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยภาษา ท่าทาง การเขียน สัญลักษณ์ มีทักษะการอ่านอย่างถูกต้องเหมาะตามวัย มีทักษะในการเรียนรู้และปฏิบัติโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สร้างทักษะการคิดเชิงมีเหตุผล มีความคิดสร้างสรรค์และถ่ายทอดออกมาตามจินตนาการของตนเองให้คนอื่นเข้าใจได้ โดยผลงานมีรายละเอียด แปลกใหม่ และหลากหลาย ได้รับการยอมรับจากเพื่อน ครู ผู้เกี่ยวข้อง จากผลการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ การประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ พบว่า เด็กจำนวน 44 คน มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ อยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับ ยอดเยี่ยม

ด้านสังคม เด็กๆรู้จักการรอคอยตามลำดับก่อน-หลัง สามารถเล่นร่วมกับผู้อื่นได้ตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป รู้จักการแบ่งปัน ปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียนและโรงเรียนได้ รู้จักการเป็นผู้นำ-ผู้ตาม ช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้เช่น การเข้าห้องน้ำ การรับประทานอาหาร กินอาหารได้ด้วยตนองไม่หกเลอะเทอะ ระมัดระวังดูแลตนเองและผู้อื่นให้ปลอดภัย มีความรับผิดชอบ ทิ้งขยะได้ถูกที่เปิด-ปิด น้ำหลังการใช้ทุกครั้ง มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยรู้จักยกมือไหว้กล่าวคำ "สวัสดี” หรือ "ขอบคุณ”ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องบอกจากผลการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม การประเมินพัฒนาการด้านสังคม พบว่า เด็กจำนวน 44 คน มีพัฒนาการด้านสังคมอยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับ ยอดเยี่ยม

ด้นสติปัญญา โรงเรียนมีการประเมินคุณภาพเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง รวมทั้งมีการนำผลการประเมินคุณภาพเด็กไปพัฒนาผู้เรียน โดยการนำผลการประเมินในปีการศึกษาที่ผ่านมาเด็กมีพัฒนาด้านสติปัญญาที่ดี สามารถสร้างผลงานตามความคิดของตนเองได้อย่างหลากหลาย มีลำดับขั้นตอน รู้จักการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ เรียงลำดับสิ่งต่างๆได้นับเลข 1-10 บอกค่าของจำนวนได้ รู้จักการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ฟังคำสั่งและปฏิบัติตามได้ ส่งเสริมการอ่านการเล่านิทานสามารถสนทนาโต้ตอบหรือเล่าเป็นเรื่องราวเป็นประโยคต่อเนื่องได้คิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจในเรื่องง่ายๆได้เหมาะสมตามวัย ขีดเขียนเป็นเส้นเป็นตัวหนังสือเขียนชื่อ-นามสกุล ของตนเองได้ มีการบูรณาการกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนได้เข้าร่วมเช่น กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมสเต็มศึกษา ทำให้เด็กๆมีพัฒนาการด้านสติปัญญาในทางที่ดีขึ้น จากผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา การประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา พบว่า เด็กจำนวน 44 คน มีพัฒนาการด้านสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์การประเมินระดับ ยอดเยี่ยม

3. จุดเด่น

เด็กทุกคนมีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคมและสติปัญญาในเกณฑ์ที่ดีเด็กทุกคนมีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคมและสติปัญญาในเกณฑ์ที่ดี

จุดควรพัฒนา

เด็กทุกคนควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ4 ด้านอย่างต่อเนื่องเป็นประจำสม่ำเสมอทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน โดยการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน 
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1O95dZUyEj52JSkjRslxcMa4C4ZOnyw5P/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา  
1. กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรปฐมวัยของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา เป็นคนดี มีวินัย สำนึกความเป็นไทย และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติในอนาคต และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 ตามโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย จัดทำหลักสูตรต้านทุจริตระดับปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการอย่างเป็นองค์รวม ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านปฐมวัยโดยตรง และจัดครูเพียงพอกับจำนวนห้องเรียนในชั้นอนุบาล 2 อนุบาล 3 ส่งเสริมครูให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านการจัดประสบการณ์ให้เด็กกับปฐมวัย ส่งครูเข้าอบรม ประชุม สัมนา ศึกษาดูงาน ตามโครงการพัฒนาครูและบุคลากร และโครงการศึกษาดูงาน ณ แหล่งวิทยาการของครูและบุคลากร เพื่อให้ครูได้นำความมารู้พัฒนาตนเอง เปิดให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีการกำกับติดตามการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของสถนศึกษา และดำเนินการประเมินหลักสูตรของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานที่ชัดเจน จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา SARส่งหน่วยงานต้นสังกัดและเผยแพร่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกปีการศึกษา มีโครงการนิเทศการสอน และโครงการมาตรฐานห้องเรียนสู่ห้องเรียนคุณภาพ ที่ส่งเสริมให้ครูจัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนและเน้นในเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ มีสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่เพียงพอและหลากหลาย ให้บริการสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อเพื่อการเรียนรู้ DLTV DLIT และในห้องเรียนมีโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต ให้ครูใช้เป็นสื่อในการจัดประสบการณ์ได้หลากหลาย และทันต่อเหตุการณ์ มีสื่อและอุปกรณ์ที่นำมาจัดประสบการณ์และกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการและทักษะด้านต่างๆ ทำให้เด็กได้พัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ ตามโครงการแหล่งเรียนรู้ภายนอกและภายใน และมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้แสวงหาความรู้ มีระบบการบริหาร มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา และประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างความร่วมมือและสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ปกครองกับครูและชุมชน เกี่ยวกับหลักการการจัดการศึกษาปฐมวัย ส่งผลให้การดำเนินงานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โดยอยู่ในเกณฑ์ประเมินโดยภาพรวมในระดับ ยอดเยี่ยม
ผลการดำเนินงาน  
2. ผลการพัฒนา

โรงเรียนมีหลักสูตรปฐมวัยของสถานศึกษาที่เป็นปัจจุบัน และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน และตามบริบทของโรงเรียน โดยหลักสูตรจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 มาเป็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรปฐมวัยของสถานศึกษามาส่งเสริมพัฒนาเด็กด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา เป็นคนดี มีวินัย สำนึกความเป็นไทย และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติในอนาคต และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เด็กมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย ครูผู้สอนชั้นอนุบาล 2-3 ได้เข้ารับการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอทำให้มีความรู้ความสามารถด้านจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ มีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย และผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัย ซึ่งส่งผลให้ครูปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนากรเด็กเป็นรายบุคคล มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง การดำเนินการบริหารจัดการครอบคลุมด้านวิชาการ ด้านครูบุคลากร และด้านการประกันคุณภาพภายในโดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก มีสื่อการเรียนรู้ ของเล่นเสริมพัฒนาการ หนังสือนิทาน เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนผ่านทางไกลผ่านระบบดาวเทียม (DLTV) ไปกับการใช้สื่อการเรียนการสอนของสื่อ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนมีความร่มรื่น และปลอดภัย มีห้องสื่อ อุปกรณ์ ที่พร้อมใช้ ครูมีสื่อเทคโนโลยีสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ และรู้จักการแสวงความรู้ด้วยตนเองได้ตามวัย ผู้ปกครอง ชุมชน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย เห็นความสำคัญ และให้ความร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัยมากกว่าที่ผ่านมา

3. จุดเด่น
    ครูทุกคนได้รับการอบรม สัมมนา และร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา
      ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังและต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย การประเมินพัฒนาการเด็กควรจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ถ้ายังไม่ได้ผลควรจะติดตามผลไปจนถึงระดับประถมศึกษาอย่างจริงจัง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1VEEZq99UHf3Py7qD-tU2-VqW-53CdUsn/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  
1. กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ได้นำหลักสูตรสถานศึกษาไปประเมิน ปรับปรุง พัฒนาหลักสูตร วิเคราะห์มาตรฐาน เพื่อนำมาจัดกิจรรมการสอนการให้มีคุณภาพ โดยมีกิจกรรมที่สงเสริมพัฒนาเด็กครบทุกด้านจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข มีโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย STEM วิทยาการคำนวณ Active Learning ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา อย่างเต็มศักยภาพ ผู้ปกครองและชุมชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีโครงการโครงงานสร้างทักษะการเรียนรู้ และโครงการภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่เด็กสนใจ ได้ลงมือปฏิบัติ และเกิดกระบวนการเรียนรู้จากการแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง มีความสุขในการเรียนรู้ มีโครงการเปิดโลกทัศน์แสวงหาความรู้ให้เด็กได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเกิดการการเรียนรู้อย่างแท้จริง ครูจัดบรรยากาศและภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีห้องเสริมประสบการณ์ปฐมวัย ให้เด็กเข้าไปเล่น สัมผัส เรียนรู้ และเด็กมีความรู้พื้นฐานเรื่องคอมพิวเตอร์ได้ตามความเหมาะของวัย ครูจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรีเล่นตามมุม กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเกมการศึกษา ที่ส่งเสริมทักษะและพัฒนาการทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล เด็กมีการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และเหมาะสมตามวัย ใช้เครื่องมือวัดและประเมินพัฒนาการเหมาะสมกับเด็ก ตามโครงการประเมินคุณภาพนักเรียน,มีโครงการวิจัยในชั้นเรียนพัฒนาคุณภาพนักเรียนที่แก้ปัญหาและส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาที่เป็นไปตามเป้าหมายหลักสูตรปฐมวัยของสถานศึกษา จากการดำเนินงานของสถานศึกษา ส่งผลให้การดำเนินงานด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เป็นไปตามเป้าหมาย โดยอยู่ในเกณฑ์ประเมินโดยภาพรวมในระดับ ดีเลิศ
ผลการดำเนินงาน  
2.ผลการพัฒนา

เด็กได้รับการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ส่งเสริมพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน สนองความต้องการ ความสนใจ และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและลงมือปฏิบัติอย่างมีความสุข ครูมีการวางแผนการสอนและนำแผนการสอนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างลุ่มลึก ในห้องเรียนเน้นความสะอาด ปลอดภัย มีอากาศถ่ายเท มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและต่อเนื่องเก็บรวบรวมผลงานเด็ดเพื่อดูความก้าวหน้า และนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กมาพิจารณา ปรับปรุง วางแผนการจัดกิจกรรมและส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามเป้าหมาย

 

3. จุดเด่น

ห้องเรียนมีความสะอาด ปลอดภัย มีการจัดมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนการสอนที่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน


   จุดควรพัฒนา

ควรมีการส่งเสริมให้มีการเรียนรู้การใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยมากขึ้น

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/19QG1UIobyoxTDSIquQkKvv5JM36c_hup/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
1. คุณภาพเด็ก

จุดเด่น

โรงเรียนพัฒนาเด็กบนพื้นฐานของการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพเป็นไปตามธรรมชาติ ภายใต้บริบทสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และเข้าใจของทุกฝ่าย เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตเด็กให้พัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายเหมาะสมกับวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูง สมส่วน ตามวัย ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ตามเกณฑ์มาตรฐาน สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย เล่น และออกกำลังกายได้อย่างคล่องแคล่ว กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ทำงานประสานสัมพันธ์กัน ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาสุขอนามัยของตนเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีความระมัดระวังตนเองไม่ให้เกิดอันตรายจากการเล่น ทำกิจกรรม และปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ส่งผลให้เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้ดี มีนิสัยร่าเริง แจ่มใส อารมณ์ดี มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก มีความมุ่งมั่นตั้งใจและมีความรับผิดชอบ สามารถเล่นและปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ดี สนใจและมีความสุขในการทำกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักธรรมชาติ เด็กได้รับการพัฒนาด้านอารมณ์และจิตใจ ทำให้เข้าใจและรู้จักจัดการกับอารมณ์ตนเอง ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ รู้จักอดทนรอ มีระเบียบในการใช้ชีวิตประจำวัน ครูจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กตามแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ สอดแทรกไปกับการเล่นการทำกิจกรรม จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ให้เด็กประพฤติปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามวัย ประพฤติปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมประเพณีได้เหมาะสมตามวัย สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยความตั้งใจได้ด้วยตนเอง รู้จักซักถามในสิ่งที่ตนเองอยากรู้ ได้ด้วยตนเอง มีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัย รักการอ่าน และใฝ่รู้ในเรื่องรอบตัวและเกิดจากการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีสมาธิในการเรียนรู้สามารถจำสิ่งต่างๆได้ แก้ปัญหาได้เหมาะสมตามวัย สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยภาษา ท่าทาง การเขียน สัญลักษณ์ และส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้มีความคิดเชิงเหตุผล ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเหมาะสมกับวัยและบริบทของตน ส่งผลให้เป็นคนดีมีคุณธรรม มีทักษะชีวิตสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และรับมือกับปัญหาความเปลี่ยนแปลงต่างๆได้ โดยความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษา

2. ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการศึกษา

จุดเด่น

ครูเข้าใจปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัยและ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและสามารถจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับ ความแตกต่างระหว่างบุคคลบริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก เด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการในทุกๆด้านตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกห้องเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตระหนัก และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยครูทุกคนมีการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับเด็ก ทั้งด้านความรู้ ทักษะและกระบวนการ มีการวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคลและนำข้อมูลมาใช้วางแผนในการจัดการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างหลากหลาย และสรุปรายงานผลพัฒนาการของเด็ก แก่ผู้ปกครอง วิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการจัดประสบการณ์ จัดสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของเด็กปฐมวัย และช่วยดูแลพัฒนาเด็กของตนให้เจริญเติบโตสมวัย จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ นำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีเหมาะสมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และมีรายงาน SAR รายผลการปฏิบัติงานประจำปีต่อหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

จุดเด่น

การจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นการจัดการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นการสร้างรากฐานชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีคุณค่าต่อตนเองและสังคม เด็กได้รับการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา อย่างเต็มศักยภาพ จัดกิจกรรมหลัก 6กิจกรรมของปฐมวัยที่ส่งเสริมทักษะและพัฒนาการของเด็กทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล เรียนรู้แบบบูรณาการ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย จะต้องจัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น โดยที่การเล่นดังกล่าวต้องไม่ใช่การเล่นโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย และไม่ใช่การยัดเยียดเนื้อหาของระดับประถมศึกษาให้แก่เด็ก การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ครูจะต้องเข้าใจการเรียนรู้ที่เด็ก และสร้างเสริมประสบการณ์และธรรมชาติการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่องเน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เล่น และทำกิจกรรมต่างๆอย่างมีความสุข มีการจัดกิจกรรมโครงงานในเรื่องที่เด็กสนใจทำให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและรู้จักค้นหาคำตอบด้วยตนเองจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยที่ให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ต่อไป เด็กจะสนใจ สนุก และตื่นเต้นกับการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ส่งผลให้เด็กรักการเรียนรู้ ช่างสังเกต ช่างจดจำ และพัฒนาศักยภาพตนเองได้อย่างมีศักยภาพ
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

         มาตรฐานที่1 คุณภาพเด็ก  

   นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านวังไม้แดงให้มีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สามารถควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย พัฒนาการด้านสังคม สามารถช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และพัฒนาการด้านสติปัญญา สามารถสื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ 

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 

โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน ครูด้านการศึกษาปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล  มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม  ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง 

           โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียงการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง และโรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ร่วมกันกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนดได้มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี  มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง 

มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ 

โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกด้านให้เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน  และการรอคอยส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขตามโครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย นอกจากนี้ โรงเรียนบ้านวังไม้แดงได้จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน  มีบรรยากาศที่อบอุ่น เห็นอกเห็นใจ เอื้อเผื่อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน  ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กนักเรียน ห้องเรียนมีบรรยากาศแจ่มใส  กว้างขวางพอเหมาะ สะอาด ปลอดภัย จัดวางของใช้ได้อย่างเป็นระเบียบ มีการจัดทําป้ายนิเทศหน่วยการเรียน มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก มีมุมประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 5 มุม มีการผลิตสื่อและนํามาใช้ได้อย่างเหมาะสม มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส ตามโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ปฐมวัยและโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีกระบวนการการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต  การสอบถาม  การสำรวจ มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและต่อเนื่องเก็บรวบรวมผลงานเด็กเพื่อดูความก้าวหน้าและนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กมาวิเคราะห์ผลเพื่อดูพัฒนาการของเด็ก พิจารณา ปรับปรุง วางแผนการจัดกิจกรรมและส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามเป้าหมาย 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1y_m-QWAZP5UPMvMTCBsk8ds75kq-0m6j/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนบ้านวังไม้แดง มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ของโรงเรียนได้แก่ "โรงเรียนบ้านวังไม้แดง พัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ คู่คุณธรรม ส่งเสริมทักษะชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์ รู้เท่าทันเทคโนโลยี ตามวิถีพอเพียง เคียงคู่ชุมชน” โดยจัดกิจกรรมในหลักสูตร มีแผนการเรียนตามความถนัดและความสนใจอย่างรอบด้านทั้งดานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ มีโครงการและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถและมีทักษะในศตวรรษที่ 21 เน้นการให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ผ่านกระบวนการเสริมทักษะด้านต่างๆ โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พัฒนาครูทุกคนให้มีความรู้ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน โดยใช้การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง Active Learning การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน และใช้สื่อเทคโนโลยีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูลในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ห้องสมุด ห้องศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ สถานศึกษาได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน พัฒนาคุณธรรมให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความพอเพียง เน้นให้ผู้เรียนมีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอน มีการเรียนรู้สู่โลกกว้าง การศึกษากับภูมิปัญญาในชุมชนรอบๆ สถานศึกษา จัดกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ 
ผลการดำเนินงาน  ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 74.53จากค่าเป้าหมายร้อยละ 75 ได้ต่ำกว่าเป้าหมาย หลักฐานเชิงประจักษ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนนักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียนเชิงสร้างสรรค์ และผ่านการเกณฑ์การประเมินตามระดับชั้น นักเรียนสามารถเขียนสื่อสารได้อย่างสร้างสรรค์ นักเรียนสามารถเล่าเรื่องจากการบันทึกความรู้ได้ นักเรียนนำเสนอผลงาน/รายงานกลุ่มหน้าชั้นเรียน การเขียนสื่อความอย่างสร้างสรรค์ ผ่านเกณฑ์การประเมินรายวิชาตามที่ครูกำหนด โดยสังเกตได้จาก แบบประเมินการอ่าน การเขียนของแต่ละระดับชั้น แบบประเมินการพูดเล่าเรื่องจากการเขียนบันทึก แบบประเมินการเขียนบันทึกรายบุคคล แบบประเมินการนำเสนอชิ้นงาน/ผลงาน รายงานกลุ่ม 
ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาและผลการทดสอบระดับชาติ ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1cVRw7Yy4K0htv8lQ3dZPaeKPgkECiiJ2/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามค่าเป้าหมายที่กำหนด โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้วยโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โครงการส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา จัดแบ่งเขตพื้นที่ให้นักเรียนทุกห้องดูแลรับผิดชอบรักษาความสะอาด แต่งตั้งให้ทุกห้องเป็นเวรทำความสะอาดห้องน้ำนักเรียน ส่งเสริมภาวะผู้นำด้วยกิจกรรมสภานักเรียน คณะกรรมการนักเรียน คณะกรรมการกีฬาสีภายใน จัดกิจกรรมส่งเสริมความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ด้วยโครงการเยาวชนส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญา เทคโนโลยีและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 นำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณี วัฒนธรรม และวันสำคัญท้องถิ่นในชุมชน จัดกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันชาติและพระมหากษัตริย์ กิจกรรมชุมนุมดนตรี นาฏศิลป์ กิจกรรมค่ายพักแรมของลูกเสือ-เนตรนารี กิจกรรมชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของผู้เรียนทุกคน และประสานงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อแปรผล จัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาสุขภาวะทางร่างกายให้กับผู้เรียนที่มีภาวะพร่องทางโภชนาการทั้งขาดและเกิน ทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้เรียนตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมพลศึกษา จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม ด้วยกิจกรรมตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ อบรมเยาวชนอาสาต้านยาเสพติด อบรมป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การจัดการเรียนรู้เพศวิถี กิจกรรมชมรม To Be Number one การอบรมสอดแทรกให้ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในระหว่างการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ตลอดจนภัยคุกคามและอันตรายทางsocial-network เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ทักษะในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ จัดกิจกรรมส่งเสริม ปลูกฝัง ให้ผู้เรียนดำเนินชีวิตที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีจิตสาธารณะ ด้วยกิจกรรมจิตอาสา ปลูกป่า การคัดแยกขยะ กิจกรรมดูแลเขตพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละห้องเรียน
ผลการดำเนินงาน  
โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามค่าเป้าหมายที่กำหนด ผู้เรียนดำเนินชีวิตที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีจิตสาธารณะ  ผู้เรียนทุกคนผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร
โรงเรียนบ้านวังไม้แดงได้รับรางวัลโรงเรียนคาร์บอนต่ำ (ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่บ้านนักเรียน) กิจกรรม ชมรม กิจกรรมชมรม To Be Number one เข้าร่วมกิจกรรมในระดับภาค นักเรียนได้รับ ทุนพระราชทานในพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารอย่างต่อเนื่อง
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1rOuUbCf5OCnoapsuF8VVoPUecyBw8KFi/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

      โรงเรียนบ้านวังไม้แดง มีการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ภายใต้วงจรคุณภาพ (PDCA)ด้วยการบริหารที่เป็นระบบ ยึดหลักธรรมาภิบาล การบริหารแบบมีส่วนร่วม และค่านิยมของโรงเรียน (TEAM) เป็นวัฒนธรรมองค์กรในการทำงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้โรงเรียนมีระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ส่งผลให้กระบวนการบริหารและการจัดการอยู่ในระดับ ดีเลิศ

         โรงเรียนบ้านวังไม้แดง มีกระบวนการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย อย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน วิเคราะห์ SWOT กำหนดจุดยืน กำหนดภาพความสำเร็จ จัดทำร่างวิสัยทัศน์ ประเมินทบทวนและปรับปรุงแก้ไข ส่งผลให้โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายที่ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา สามารถปฏิบัติได้จริง

          โรงเรียนบ้านวังไม้แดง มีการจัดโครงสร้างการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานออกเป็น4 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารทั่วไป พัฒนากระบวนการบริหารจัดการ ยึดหลักธรรมาภิบาล เน้นการบริหารคนและบริหารงานแบบมีส่วนร่วม โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารและการจัดการเรียนการสอน ภายใต้วงจรคุณภาพ (PDCA) เพื่อพัฒนาผู้เรียน ครู ผู้บริหาร โรงเรียน และชุมชนสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ วิเคราะห์ SWOT ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา/แผนปฏิบัติการประจำปี ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ นิเทศกำกับติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ รายงานผลการปฏิบัติงาน นำผลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

                    โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีกระบวนการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน แหล่งเรียนรู้ ข้อมูลสารสนเทศ วิจัยในชั้นเรียน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้สอดสอดกับผู้เรียนและชุมชน มีกลไกการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เรียนรู้ทุกรายวิชา เน้นการพัฒนาทักษะชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนให้มีคุณภาพและมีจิตสาธารณะเพื่อส่วนรวมและชุมชน โดยดำเนินการ แต่งตั้งคณะกรรมการ วิเคราะห์ SWOT เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับศักยภาพ ความต้องของผู้เรียน และชุมชน วางแผนการใช้หลักสูตร และกลไกการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน ดังนี้

                 1. การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

                 2. สร้างแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ คู่คุณธรรม และมีความพอเพียง

             3. เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMT) ของ สสวท. และการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ในระดับสูง

                  4. จัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ

          โรงเรียนบ้านวังไม้แดง ได้ดำเนินการประเมินผลการใช้หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน โดยสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียน และผู้ปกครอง นำผลประเมิน มาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และชุมชน อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้านและทุกกลุ่มเป้าหมาย

          โรงเรียนบ้านวังไม้แดง ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ  โดยจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง จัดอบรม ประชุม สัมมนาศึกษาดูงานอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง จัดสรรงบประมาณเพื่อให้ครูและบุคลากรพัฒนาตนเอง ตามID-PLANแผนพัฒนาตนเองของแต่ละบุคคล การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองในการศึกษาต่อ การจัดทำผลงานทางวิชาการ และเข้าร่วมประกวดผลงาน รางวัลดีเด่นด้านต่าง ๆ จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานแทนได้ และให้บุคลากรใหม่ได้เรียนรู้และสามารถสานต่อภาระงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ของโรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู ภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน จากรายงานการผลปฏิบัติงานของครูรายบุคคล เพื่อพิจารณาความดีความชอบ ให้รางวัล ยกย่องชมเชย สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและบุคลากรในภาพรวมส่งผลให้ครูและบุคลากรมีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

          โรงเรียนบ้านวังไม้แดง ได้จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ด้วยโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ พัฒนาห้องเรียนและห้องปฏิบัติการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีห้องประชุม ที่มีความพร้อม และเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ  มีต้นไม้ร่มรื่น บริเวณทั่วไปสะอาด สวยงาม มีที่นั่งพักผ่อนเพียงพอกับความต้องการของนักเรียน  มีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก แหล่งเรียนรู้ภายใน ได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสหกรณ์โรงเรียน ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องคณิตศาสตร์ ห้องพยาบาล ห้องปฏิบัติการคหกรรม

          โรงเรียนบ้านวังไม้แดง มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ด้วยโครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการ พัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและสัญญาณ Wifi ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ จัดหาซอฟต์แวร์ทางการบริหารกลุ่มงานและฝ่ายต่าง ๆ พัฒนาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ วัสดุอุปกรณ์ โสตทัศนศึกษา สื่อดิจิตอล และซอฟต์แวร์ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนบ้านวังไม้แดง มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ ของสถานศึกษาที่ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา มีการสำรวจความต้องการของชุมชน ศึกษานโยบายรัฐบาลและแผนการศึกษาของชาติ เพื่อกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษามีการกำหนดตัวชี้วัดของ แต่ละมาตรฐานการศึกษาอย่างชัดเจน ดังปรากฏในแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจำปี ของโรงเรียนบ้านวังไม้แดง ขับเคลื่อนความสำเร็จของตัวชี้วัดแต่ละประเด็น ผ่านโครงการ/กิจกรรม มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความชำนาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์ ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ เช่น การติดตั้งคอมพิวเตอร์ PC พร้อมชุดอุปกรณ์ต่อพ่วง TV ต่อ 1 ห้องเรียน คอมพิวเตอร์สำหรับห้องปฏิบัติการจำนวน 20 เครื่อง และติดตั้ง TV และคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ตในห้องพิเศษ และห้องปฏิบัติการ สามารถใช้การได้ดีทุกชุดติดตั้งระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ต เพื่อกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ครบคลุมทั่วถึงทั้งบริเวณโรงเรียน โดยติดตั้งทั้งระบบ LAN  และระบบ   Wi-Fi และมีหน้าแฟนเพจเฟสบุ๊คของโรงเรียน เพื่อให้ครูนักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศของโรงเรียนได้ง่ายขึ้น สะดวกต่อการติดต่อประสานงานและอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ได้มากขึ้น 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1zIN6fLW3igDsrnyg8OguLF-kPzGgqLug/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

         โรงเรียนบ้านวังไม้แดง ดำเนินการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ของโรงเรียน ส่งผลให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดีเลิศ โดยส่งเสริมครูให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ Active Learning ด้วยเทคนิควิธีที่หลากหลาย การเรียนรู้แบบใช้เกม การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด การสอนแบบโครงงาน การจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ปฏิบัติจริง การจัดค่ายวิชาการสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเลือกรายวิชาเพิ่มเติมที่ตรงกับความต้องการและความสนใจ

          ส่งเสริม ให้ครูใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อมัลติมิเดีย  เอกสารประกอบการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยการจัดทำสื่อมัลติมีเดีย  การใช้ ICT การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และจัดกิจกรรมการรู้โดยใช้ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

          ส่งเสริมให้ครูประจำชั้น และครูผู้สอนทุกคน บริหารชั้นเรียนด้วยการสร้างวินัยเชิงบวก โดยการเสริมแรง มอบรางวัล ยกย่อง ชมเชย มีการสร้างวินัยในการเรียนเชิงบวกด้วย หมั่นให้กำลังใจนักเรียน เมื่อนักเรียนทำดี ต้องกล่าวชื่นชม ต้องชมทุกครั้ง โดยพยายามให้การชม เกิดขึ้นบ่อยกว่า การตักเตือน เลือกถ่ายทอดความรัก มากกว่าการใช้ความรุนแรงใช้การสื่อสารโดยตรงกับนักเรียน สบตาเด็กและสื่อสารทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ครูไม่แสดงอารมณ์โกรธ หรือควบคุมอารมณ์ให้มีอารมณ์น้อยที่สุด ไม่ตำหนิ เยาะเย้ย ถากถาง ประชดประชัน เปรียบเทียบ ควบคุมอารมณ์ของตนให้เสมอต้นเสมอปลาย มั่นคง แสดงออกทั้งร่างกายและคำพูด ให้อย่างไม่มีเงื่อนไข สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก เพื่อสร้างการจูงใจผู้เรียนให้รักการเรียนรู้และเรียนรู้อย่างมีความสุข

          ครูตรวจสอบและประเมินผลผู้เรียนอย่างเป็นระบบ โดยการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง ด้วย

เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ โดยจัดทำข้อสอบจากการวางแผนการสร้างแบบทดสอบ(Test Blueprint) ใช้วิธีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย ด้วยการสังเกต สอบถาม การประเมินผลงาน ชิ้นงาน และนำผลการประเมินมาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน การทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด

          ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ PLC การนิเทศชั้นเรียน และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ของครูทุกคน โดยจัดตาราง PLC ทั้ง ในระดับงานวิชาการ และตาราง PLCช่วงชั้น

ผลการดำเนินงาน  

          ครูมีความรู้ ทักษะมีความมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อการจัดการเรียนการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้รับจาก การพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายสอดคล้องกับหลักสูตร ปัญหา และความต้องการของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการ PLC มาใช้ในการพัฒนาตน พัฒนางานแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเป็นระดับเด็กอ่อน ปานกลาง และเก่ง ทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความแตกต่างบุคคล มีการสอนเสริมความรู้ให้ผู้เรียนกลุ่มปานกลางและกลุ่มเก่ง มีการสอนซ่อมเสริมผู้เรียนกลุ่มอ่อน มีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชา มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย มีการใช้ข้อสอบจุดเน้นจากสพฐ. สทศ. เพื่อวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ครูทุกคนยังมีงานวิจัยในชั้นเรียนและนำผลของงานวิจัยนั้นไปพัฒนาการเรียนการสอน ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนของครูครอบคลุมทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประเมินจากประเด็นพิจารณาตามมาตรฐานการศึกษาด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

          1. จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ครูของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ทำการวิเคราะห์หลักสูตร โดยจัดทำบันทึกข้อตกลงการพัฒนาคุณภาพการศึกษารายบุคคลระหว่างครูผู้สอนกับหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ กับกลุ่มบริหารวิชาการและผู้อำนวยการตามลำดับ จัดการเรียนรู้เน้นกระบวนการคิด และให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริงตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ประเมินได้จากแผนการจัดการเรียนรู้ทุกรายวิชา 

                    1.1 ผลประเมินจากการนิเทศการสอน ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดการเรียนรู้เน้นกระบวนการคิด และให้ผู้เรียน ฝึกปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 100 

                    1.2 ครูมีนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning โดยการสร้างความตระหนักและให้ความรู้ ผ่านกระบวนการประชุมชี้แจง เอกสารเผยแพร่ความรู้ รวมถึงการอบรมพัฒนาครูให้จัดทำแผนการเรียนรู้ที่มีโครงสร้างองค์ประกอบครบตามสถานศึกษากำหนดตามแบบวัดประเมินแผน และนำไปสู่การปฏิบัติจริงในห้องเรียน

                     1.3 ครูมีการเผยแพร่นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ โดยโรงเรียน สนับสนุนช่องทางในการเผยแพร่นวัตกรรมผ่านทางเว็บไซต์ของโรงเรียนการเปิดโอกาสให้ครูนำนวัตกรรมไปเผยแพร่และสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

          2.  ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

                    2.1 โรงเรียนบ้านวังไม้แดง มีการดำเนินการจัดทำสื่อการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมให้ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ผลิตพัฒนาและใช้สื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายภาคเรียนละ 1 ชิ้น                

                     2.2 ครูใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้  

                               -โรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น DLIT

                               - มีการใช้ห้องสมุด

                               - ครูจัดการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายในรูปแบบ webpage , Google form , Kahoot ฯลฯ

                               - แหล่งเรียนรู้ภายนอกในท้องถิ่น

          3. มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

                     ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก โดยจัดสภาพความพร้อมที่จะดำเนินการเรียนการสอนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้ผู้ เรียนมีความสุข ส่งผลให้นักเรียนรักการเรียนรู้ โดยครูเตรียมและวางแผนการจัดการเรียนการสอน ทำการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล จัดบรรยากาศชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพิ่มแรงจูงใจให้นักเรียนระหว่างการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ภายใต้การสนับสนุนของโรงเรียนในการจัดห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ทั้งห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ รวมถึงการดำเนินงานของงานแนะแนว เพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือผู้เรียนทั้งทางด้านการเรียนและด้านพฤติกรรม  มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียน มีโครงการมอบโล่และเกียรติบัตรนักเรียนเรียนดี นักเรียนประพฤติดีมีคุณธรรม และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบและหลากหลาย

 

          4. ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

                     4.1 ครูมีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ครบทุกด้านทั้งการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล การประเมินพฤติกรรมนักเรียน การประเมินความรู้โดยทำการทดสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน และนำผลการประเมินมาพัฒนานักเรียน คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนโดยการสอนซ่อมเสริม  มอบหมายงานและการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ผลการประเมินความพึงพอใจการทำวิจัย ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 คิดเป็นร้อยละ 84.21  

                     4.2 ครูมีเครื่องมือวัดและวิธีการประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายของการเรียนรู้ มีเครื่องมือและวิธีการวัดผลการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งแบบวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล  แบบประเมินพฤติกรรม (SDQ) แบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน ผลการประเมินความพึงพอใจระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 คิดเป็นร้อยละ 93.40  

          5. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

                     5.1 โรงเรียนบ้านวังไม้แดง มีการจัดนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร โดยครูทุกคนได้รับการนิเทศจากผู้บริหาร และครูผู้สอน ภาคเรียนละ 1 ครั้ง  ผลการประเมินความพึงพอใจการนิเทศการสอนภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 คิดเป็นร้อยละ 93.40  

                     5.2 ครูมีผลงานการใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ มีรายงานวิจัยในชั้นเรียน และผลการประเมินความพึงพอใจการทำวิจัย ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 คิดเป็นร้อยละ 84.21  

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/11tak0mWtdJmNtbzk9mXZ7zytYIOoAnUf/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

โรงเรียนบ้านวังไม้แดง มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ โดยมีทั้งการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้มาประยุกต์ใช้ มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน ตั้งแต่ ป.1 พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเสนอเทคนิคการสอนให้ตรงกับศักยภาพของผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน จัดให้มีสื่อแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูลที่หลากหลาย และให้นักเรียนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือและวิธีการหลากหลาย และนำผลมาพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดกิจกรรมส่งเสริมด้านอาชีพต่างๆ ตามความสนใจและความถนัด  

โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามค่าเป้าหมายที่กำหนด โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้วยโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ ค่ายคุณธรรม ค่าย"สมาธิเพื่อพัฒนาพลังจิต” กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โครงการส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา ส่งเสริมภาวะผู้นำด้วยกิจกรรมสภานักเรียน คณะกรรมการนักเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ด้วยโครงการวันสำคัญ จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาสุขภาวะทางร่างกายให้กับผู้เรียนที่มีภาวะพร่องทางโภชนาการทั้งขาดและเกิน ทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้เรียนตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมพลศึกษา จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม อบรมเยาวชนอาสาต้านยาเสพติด อบรมป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การจัดการเรียนรู้เพศวิถี กิจกรรมชมรม To Be Number 1 การอบรมสอดแทรกให้ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในระหว่างการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ตลอดจนภัยคุกคามและอันตรายทาง social-network เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ทักษะในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ จัดกิจกรรมส่งเสริม ปลูกฝัง ให้ผู้เรียนดำเนินชีวิตที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีจิตสาธารณะ ด้วยกิจกรรมจิตอาสา ปลูกป่า การคัดแยกขยะ กิจกรรมดูแลเขตพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละห้องเรียน 

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ    

โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ภายใต้วงจรคุณภาพ (PDCA) มีการบริหารที่เป็นระบบ ยึดหลักธรรมาภิบาล การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาโดยใช้ข้อมูลฐานในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจน  พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในทุกปีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และทันความเปลี่ยนแปลง พัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน  เชื่อมโยงกับชีวิตจริง จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนบ้านวังไม้แดง 

มาตรฐานที่ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

โรงเรียนบ้านวังไม้แดงมีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม อย่างหลากหลาย มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning)  ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน  ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา  ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน สะเต็มศึกษา เป็นต้น  ส่งเสริมให้ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ ส่งเสริมให้ครูผลิตนวัตกรรม จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

ผู้เรียนมีความสามารถอ่านออกเขียนได้และอ่านคล่อง ตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้นอยู่ในระดับดี มีผลการประเมินการสื่อสาร คิดคำนวณ และคิดวิเคราะห์สามารถเขียนสื่อสารได้อยู่ในระดับดี  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล ค้นคว้าเรียนรู้สิ่งที่สนใจ มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด นักเรียนเรียนจบหลักสูตรตามเวลาที่กำหนด มีทักษะการทำงานร่วมกัน มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ แต่ผลการทดสอบในระดับต่างๆ เช่น NT และ O-NET มีผลการทดสอบเฉลี่ยลดลงเกือบทุกรายวิชา  ยกเว้นผลการทดสอบ RT มีผลการทดสอบสูงขึ้น  

ผู้เรียนทุกคนผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร 

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 

โรงเรียนมีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและความต้องการของชุมชน  ท้องถิ่น  วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ  นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด  รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ มีการนำแผนไปปฏิบัติ ติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผลและปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง  มีการนิเทศภายในและนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา สภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน  มีความปลอดภัย มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน 

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

 ครูทุกคนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูทุกคนมีข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลและนำสรุปผลการสังเคราะห์ไปวางแผนพัฒนาการเรียนและแนวทางการประกอบอาชีพของนักเรียนอย่างชัดเจน  ครูทุกคนมีแผนการวัดและประเมินผลนักเรียนชัดเจนตลอดปีการศึกษา มีการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของนักเรียนและนำผลมาพัฒนาให้นักเรียนบรรลุตามตัวชี้วัดของหลักสูตร ครูจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง  ให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้  ครูจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ DLIT สื่อเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้มากขึ้น รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างเด็กกับครู เด็กกับเด็ก เด็กรักการเรียนรู้ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ครูประเมินผู้เรียนอย่างมีขั้นตอน ใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม พร้อมทั้งนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์  (PLC)  เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  และนำไปปรับปรุง /พัฒนาการจัดการเรียนรู้ 



ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 สรุปโครงการต่างๆ
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1-GfqaGcYdcE_Un95R66Bi15rNcmvEs0-/view?usp=sharing