รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านซอยสอง

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

       

ส่วนที่ 1

บทสรุปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา

………………………………………………………………………………

 

       โรงเรียนบ้านซอยสองฯ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2516 ตั้งอยู่เลขที่ 31 หมู่ 1 ต.สามพี่น้อง อ.แก่งหางแมวจ.จันทบุรี ด้วยความร่วมมือของชาวบ้านที่เห็นความสำคัญของการศึกษา ต้องการให้บุตรหลานมีความรู้ จึงพร้อมใจกันจ้างครูมาสอนโดยใช้ศาลาบำเพ็ญกุศลของสำนักสงฆ์ซอยสองเป็นอาคารชั่วคราว ปัจจุบันจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 รวม 102 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คนข้าราชการครูสายผู้สอนระดับประถมศึกษา 8 คน พนักงานราชการ 1 คน ลูกจ้างชั่วคราวในโรงเรียน3 คน

       จากการดำเนินงานในรอบ10ปีที่ผ่านมา โรงเรียนมีผลการดำเนินงานด้านคุณภาพผู้เรียนอยู่ในระดับดีเลิศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอยู่ในระดับที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของสถานศึกษาและมีผลการทดสอบระดับชาติมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดี มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับยอดเยี่ยม ผู้เรียนมีความใฝ่ดี หลีกเลี่ยงอบายมุขเป็นเด็กดีในชุมชน สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับน้องๆ ในรุ่นหลัง บำเพ็ญประโยชน์และช่วยกิจกรรมโรงเรียนตามวาระโอกาสอยู่เสมอ นักเรียนที่ไม่ได้ศึกษาต่อทางโลกก็ใฝ่ในทางธรรม บรรพชาเป็นสามเณรเรียนบาลีและศึกษาทางธรรมที่สำนักศาสนศึกษาวัดซอยสอง

       จากการวิเคราะห์สถานการณ์และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าโรงเรียนมีวัฒนธรรมองค์กร การทำงานที่ดี มีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง มีจุดแข็งจากภายในสู่ภายนอกที่มีบุคลากรในโรงเรียน มีความรู้ ความสามารถ ขยันทำงาน สั่งสอนศิษย์ด้วยแรงกายแรงใจ อุทิศตน ทุ่มเท เสียสละเพื่อส่วนรวม  เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ เป็นผลให้ผู้ปกครอง ชุมชน มองเห็นความมั่นคงและอนาคตที่จะเกิดแก่บุตรหลานและชุมชนต่อไป จึงเกิดความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งเป็นเวลาหลาย 10 ปีมาแล้ว ซึ่งการดำเนินงานได้ผ่านปัญหา อุปสรรคมามากมาย ทั้งปัจจัยสภาพแวดล้อมของชุมชน ส่วนใหญ่นักเรียนมาจากครอบครัวที่ยากจน ผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้าง โยกย้ายถิ่นฐานบ่อย สภาพชุมชนเป็นป่า มีพื้นที่เสี่ยงปัญหาด้านยาเสพติด แต่โรงเรียนวัด และชุมชนก็ได้ร่วมมือกันพัฒนาและแก้ปัญหามาได้โดยตลอด ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่ยั่งยืนที่มาจากความรักของบ้าน วัด โรงเรียน สร้างนักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาเป็นคนดี มีความเก่ง เป็นมรดกที่ดีของชุมชนและสังคมจากรุ่นสู่รุ่น

       ปีการศึกษา 2563 ผลการดำเนินงานจากการประเมินตนเองของสถานศึกษาด้านมาตรฐานการศึกษาขั้นปฐมวัยและขั้นพื้นฐานดังนี้

ขั้นปฐมวัย  

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพเด็ก อยู่ในระดับยอดเยี่ยม 

มาตรฐานที่ กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม

ขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับ ดีเลิศ 

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม 

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม

       ผลการจัดการศึกษาทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ ส่งผลให้เด็กระดับปฐมวัยมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมถึงผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถอ่านออก เขียนได้ คิดเลขได้ ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1-ป.3 ผู้เรียนอ่านคล่อง เขียนคล่องและคิดเลขคล่อง ในระดับชั้น ป.4-ป.6 นักเรียนมีผลงานที่เกิดจากการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา เช่น แผนผังความคิด กิจกรรมกลุ่ม เป็นต้น นักเรียนสามารถใช้สื่อ เทคโนโลยีในการเรียนรู้ได้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดี มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทยสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

       ซึ่งผลที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เกิดจากการดำเนินงานตามโมเดล "จาก บ ว ร สู่ ม ร ด ก"  ภายใต้กระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ใช้ความร่วมมือจาก บ้าน วัด โรงเรียนพัฒนาให้นักเรียน มีความสุข  รักการเรียน เป็นเด็กดี และเด็กเก่ง   โดยมีโครงการรองรับในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการดังต่อไปนี้ 

ระดับปฐมวัย มีจำนวน  11 โครงการ ซึ่งครอบคลุม 4 กลุ่มงาน ได้แก่ โครงการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย  โครงการส่งเสริมพัฒนากระบวนการเรียนการสอนระดับการศึกษาปฐมวัย  โครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย  โครงการการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับการศึกษาปฐมวัย  โครงการพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้ ระดับการศึกษาปฐมวัย  โครงการรักการอ่านระดับการศึกษาปฐมวัย  โครงการระบบประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย  โครงการพัฒนาระบบควบคุมภายใน ระดับการศึกษาปฐมวัย  โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับการศึกษาปฐมวัย  โครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม นักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัย  และโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับการศึกษาปฐมวัย

ระดับขั้นพื้นฐาน  มีจำนวน  19 โครงการ ซึ่งครอบคลุม 4 กลุ่มงาน ได้แก่ โครงการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน   โครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน  โครงการการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  โครงการส่งเสริมสนับสนุนการแข่งขันทางวิชาการ  โครงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาและใช้แหล่ง เรียนรู  โครงการส่งเสริมวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง  โครงการรักการอ่าน  โครงการส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพิ่มทักษะในศตวรรษที่ 21 สู่ประชาคมอาเซียน  โครงการค่ายคุณธรรมโรงเรียนสุจริตและพัฒนา ทักษะชีวิตผู้เรียน  โครงการพัฒนาระบบควบคุมภายใน  โครงการพัสดุและสินทรัพย์  โครงการเรียนดี เรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ   โครงการพัฒนาบุคลากร  โครงการการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  โครงการพัฒนาเด็กดีศรี "บวร”   โครงการอาหารกลางวัน   โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน   และโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ   

      ในการนี้โรงเรียนมีแผนงานหรือโครงการที่จะรองรับการจัดการศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นตัวชี้วัดที่ต้องรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา เช่น การเรียนแบบ Online และ On hand เป็นต้น โดยเน้นการจัดการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับการใ้ช้ชีวิตในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล โดยใช้กระบวนการ PLCประสานความร่วมมือกับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ ในการจัดการเรียนรู้ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องให้มีปัจจัยที่พร้อมต่อการจัดการเรียนรู้และความปลอดภัยของบุคลากรและนักเรียน

 

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

       ผลสำเร็จทั้งหมด มาจากการดำเนินงาน ตามโมเดล "จาก บ ว ร สู่ ม ร ด ก” ที่เกิดจากการประสาน ความร่วมมืออันดีระหว่าง บ้าน วัด และโรงเรียน สามประสานที่มีความเข้มแข็งและสามัคคีกันอย่างเหนียวแน่นเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดี บุคลากรและชุมชนมีความรักความผูกพันต่อโรงเรียน ซึ่งนับได้ว่าเป็นบ้านของทุกคนในชุมชนอีกหลังหนึ่ง

       เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการดำเนินงานตามแผนงาน โรงเรียนเร่งพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)และการดำเนินงานด้านบริหารจัดการให้มีคุณภาพ โดยใช้กระบวนการ PLC ประสานความร่วมมือกับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ ในการจัดการเรียนรู้ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องให้มีปัจจัยที่พร้อมต่อการจัดการเรียนรู้และความปลอดภัยของบุคลากรและนักเรียน

        โรงเรียนมีการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายใน ภายใต้กระบวนการ PDCA โดยจัดเก็บตามหลักฐานอ้างอิงดังต่อไปนี้

แผนพัฒนาระยะกลาง (แผนยุทธศาสตร์)   แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2563  กำหนดค่าเป้าหมายมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน   เอกสารการประเมินมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน   เอกสารสรุปโครงการประจำปีการศึกษา 2563 ระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ข้อมูลสารสนเทศประจำปีการศึกษา 2563   หลักสูตรปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2563   รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR) ระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

ระดับปฐมวัย

        ด้านคุณภาพเด็ก จะพัฒนาในด้านของสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะกระบวนการคิดพื้นนฐาน และแสวงหาความรู้ การสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจได้ การคิดเชิงเหตุผล อธิบายเชื่อมโยงสาเหตุ และผลที่เกิดขึ้น เหตุการณ์หรือการกระทำ คาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น มีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูลอย่ามีเหตุผล การคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ และยอมรับผลที่เกิดขึ้นรวมทั้งระบุปัญหาสร้างทางเลือกและวิธีการแก้ปัญหา จัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นตัวชี้วัดที่ต้องรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา เช่น การเรียนแบบ Onlineและ On hand เป็นต้น โดยเน้นการจัดการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับการใ้ช้ชีวิตในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

        ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ จะต่อยอดพัฒนาจากโมเดล "จาก บ ว ร สู่ ม ร ด ก” ด้วยการจัดสภาพแวดล้อม และใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัยและเพียงพอ ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย เน้นเรียนรู้ผ่านการเล่น และลงมือปฏิบัติจริง ผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม และกิจกรรมเสริม ต่าง ๆ ครูทุกคนได้รับการอบรมไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่อปี  ครูมีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตร มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีส่วนร่วมในการกําหนดมาตรฐานการศึกษา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามการดําเนินงานและจัดทํารายงานการประเมินตนเองประจําปี        มีการนําผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพพร้อมทั้งรายงานผลให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องให้มีปัจจัยที่พร้อมต่อการจัดการเรียนรู้และความปลอดภัยของบุคลากรและนักเรียน

        ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูปฐมวัยทุกคนจัดทําแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสําคัญ ได้เรียนรู้ลงมือปฏิบัติ ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ตามแนวทางของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ผ่านกิจวัตรประจําวัน เด็กได้ฝึกปฏิบัติจากประสบการณ์จริง จากกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง ส่งเสริมให้ทุกห้องเรียนเป็นห้องเรียน หนึ่งนวัตกรรม หนึ่งโครงงาน และใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาการประสบการณ์ให้กับเด็กอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการPLC ประสานความร่วมมือกับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ ในการจัดการเรียนรู้ 

 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

       ด้านคุณภาพของผู้เรียน จะพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียน การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีทักษะการคิดคำนวณพื้นฐาน ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งระบบ โดยใช้ความร่วมมือสามประสานระหว่างบ้าน วัดและโรงเรียน ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์และแก้ปัญหาให้กับนักเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ จัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นตัวชี้วัดที่ต้องรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา เช่น การเรียนแบบOnlineและOn handเป็นต้น โดยเน้นการจัดการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับการใ้ช้ชีวิตในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล  สืบสานการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง พัฒนานักเรียนให้มีจิตใจอ่อนโยน รู้รักสามัคคี มีจิตสาธารณะ ด้วยกิจกรรมฝึกทักษะด้านศิลปะ ดนตรีและกีฬา

       ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ จะต่อยอดพัฒนาโมเดล "จาก บ ว ร สู่ ม ร ด ก” ด้วยการส่งต่อ ติดตามนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ให้สามารถศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น ประสานความร่วมมือให้ศึกษาต่อทางธรรมในครอบครัวที่ไม่มีความพร้อมในการส่งบุตรหลานเรียนต่อได้ ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนด้านทักษะอาชีพ รักการทำงานและประกอบอาชีพสุจริต พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องให้มีปัจจัยที่พร้อมต่อการจัดการเรียนรู้และความปลอดภัยของบุคลากรและนักเรียน

       ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะสนับสนุนให้บุคลากรออกแบบ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) เน้นกิจกรรมบูรณาการลงมือปฏิบัติจริง ส่งเสริมให้ทุกห้องเรียนเป็นหนึ่งห้องเรียน หนึ่งนวัตกรรม หนึ่งโครงงาน และใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาการจัด การเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการPLCประสานความร่วมมือกับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ ในการจัดการเรียนรู้


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ส่วนที่ 2
ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อมูลทั่วไป

โรงเรียนบ้านซอยสอง (อภิชาติราษฎร์อุปถัมภ์) 31 หมู่ 1 ต.สามพี่น้อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โทร 039-460-167 โทรสาร -

e-mail : bansoisong2020@gmail.com  Website : http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view.php?School_ID=1022060183 

Facebook page: โรงเรียนบ้านซอยสองฯ จ.จันทบุรี

เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา (ชั้นอนุบาลปีที่ 1-3) ถึงระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) เนื้อที่ 26 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวา เขตพื้นที่บริการ หมู่ที่ 1 และ 2 ต.สามพี่น้อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี

 

ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม

1) ชุมชนบริเวณที่โรงเรียนตั้งอยู่เป็นชุมชนชนบท ชุมชนในเขตบริการของโรงเรียนมีประมาณ 298 ครัวเรือน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบการกสิกรรม ทำสวนยางพารา สภาพฐานะทางเศรษฐกิจโดยรวมมีฐานะยากจน ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ 100 % ในชุมชนมีการจัดงานสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นและศาสนพิธีทางพุทธศาสนา ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง เข้าพรรษาและออกพรรษา งานทอดกฐิน งานทอดผ้าป่า และงานที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์

2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และเกษตรกรรม มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัวปีละประมาณ 36,000–96,000 บาท จำนวนคนในครอบครัว

ของผู้ปกครองโดยเฉลี่ยครอบครัวละ 4 คน

3) โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน

       โรงเรียนบ้านซอยสองฯ ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านซอยสอง มีอาณาบริเวณติดกับวัดซอยสอง ในแต่ละปีมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา งานที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและวัฒนธรรมไทยอยู่เสมอๆ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนั้นเกิดจากความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนและชุมชน โดยการร่วมคิด ร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจระหว่างผู้นำชุมชน ประชาชนในชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะครูและนักเรียนทำให้การดำเนินกิจกรรมสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเสมอมา โดยเฉพาะพระครูพุทธิญาณวงศ์ เจ้าคณะตำบลเขาวงกต เจ้าอาวาสวัดซอยสอง ในฐานะที่ท่านเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์โรงเรียนเป็นอย่างดียิ่งในฐานะพระนักพัฒนา ทำให้โรงเรียนบ้านซอยสองฯ สามารถจัดกิจกรรมและได้รับความอุปถัมภ์จากท่านด้วยดีตลอดมา สถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวังดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดคือโรงเรียนตั้งอยู่ในอำเภอที่เป็นแหล่งที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของยาเสพติด กอปรกับผู้ปกครองของนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง บางส่วนมุ่งเน้นทำมาหากินจนไม่มีเวลาดูแลนักเรียนทั้งในเรื่องการเรียนและการอบรมเลี้ยงดูดังนั้นคณะครูในโรงเรียนจึงมีความพยายามที่จะดำเนินกิจกรรมตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองนักเรียนอย่างเสมอต้นเสมอปลายในทุกปีการศึกษา เพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนและป้องกันนักเรียนไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยงในด้านต่างๆ

       ข้อจำกัดประการหนึ่งคือการย้ายถิ่นฐานทำมาหากิน ส่งผลให้ผู้ปกครองต้องย้ายนักเรียนไปด้วย ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปด้วยความไม่ต่อเนื่อง และอีกประการหนึ่งคือสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดข้อจำกัดในการจัดการเรียนการสอนท่ามกลางความไม่พร้อมในด้านอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ของครอบครัวของนักเรียน ผู้ปกครองต้องปรับตัวในการดูแลนักเรียนมากขึ้น

1.4 ข้อมูลงบประมาณ (ปีงบประมาณ 2563)

รายรับ

จำนวน/บาท

รายจ่าย

จำนวน/บาท

เงินงบประมาณ (เงินเดือน-ค่าจ้างครู)

3,506,442.00

งบดำเนินการ/เงินเดือน-ค่าจ้าง

3,506,442.00

เงินนอกงบประมาณ (เงินอุดหนุนรายหัว)

267,950.00

งบพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา

314,061.01

เงินอื่นๆ

-เรียนฟรี 15 ปี

235,006.00

งบอื่นๆ

-เรียนฟรี 15 ปี

126,270.00

รวมรายรับ

4,009,398.00

รวมรายจ่าย

3,946,773.01

งบดำเนินการ/เงินเดือน เงินค่าจ้าง คิดเป็นร้อยละ 87.46 ของรายรับ

งบพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 6.68 ของรายรับ

งบอื่นๆ (เรียนฟรี 15ปี) คิดเป็นร้อยละ 5.86 ของรายรับ


 

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

ทิศทางการปฏิบัติราชการ

ปรัชญาการศึกษาของโรงเรียน : นตฺถิ ปญญาสมา อาภา "แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี

คำขวัญประจำโรงเรียน : รู้กว้าง คิดไกล ใฝ่ดี มีพลานามัย

วิสัยทัศน์โรงเรียน (Vision) : พัฒนาผู้เรียนรอบรู้ คู่คุณธรรมนำคุณภาพตามมาตรฐาน สู่ศตวรรษที่ 21

ชุมชนร่วมสืบสานการศึกษา น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ (Mission) :

1. เตรียมความพร้อมผู้เรียนเพื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21

2. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์

3. พัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีแก่ผู้เรียนเพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

4.พัฒนาความสามารถด้านทักษะภาษาอังกฤษและการสื่อสาร

5. พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ผ่านตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ

6. ร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีคุณภาพ

7. ส่งเสริมผู้เรียนให้มีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าประสงค์ (Goal) :

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่21

2. เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์

3. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะความสามารถในการใช้เทคโนโลยี แสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม

4. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะภาษาอังกฤษและการสื่อสารผู้เรียน

5. เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ

6. เพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่นผนึกกำลังขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

7.เพื่อให้ผู้เรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

1. เด็กในวัยการศึกษาภาคบังคับซึ่งอยู่ในเขตบริการได้เข้าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับครบทุกคน

2. นักเรียนที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่6ศึกษาต่อครบทุกคน

3. นักเรียนได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจนจบการศึกษา โดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย9รายวิชาของทุกชั้นอยู่ในระดับดีตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

5. ผู้เรียนมีทักษะการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียนอย่างน้อยร้อยละ 90 ของนักเรียนทั้งหมด

6. ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้อย่างน้อยร้อยละ80ของนักเรียนทั้งหมด

7. ผู้เรียนมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร อย่างน้อยร้อยละ 75 ของนักเรียนทั้งหมด

8. ผู้เรียนมีวินัยในตนเองและความรับผิดชอบอย่างน้อยร้อยละ80ของนักเรียนทั้งหมด

9. ผู้เรียนทุกคนแสดงออกด้วยการยิ้ม ไหว้ ทักทาย และให้เกียรติกัน

10. ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านอย่างน้อยร้อยละ90ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

11. ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาอย่างน้อยร้อยละ80ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

12. ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทำงานอย่างน้อยร้อยละ80ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

13. ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิต ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างน้อยร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด

14. ร้อยละ 100 ของบุคลากรในสถานศึกษาได้รับการพัฒนาตามเป้าหมายที่กำหนด

15. ร้อยละ 80 ของผู้เรียนมีความพึงพอใจโครงสร้างพื้นฐานด้านอาคาร สิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวก

และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

16.ร้อยละ90ของโครงสร้างพื้นฐานด้านอาคาร สิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวก นำไปใช้ในการจัด

การเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน

17. ร้อยละ 80 ของผู้เรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

กลยุทธ์สถานศึกษา (Srategy)ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต1

กลยุทธ์ที่ 1 :พัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกระดับทุกประเภท

แนวดำเนินการ

1. กำกับ ดูแล ช่วยเหลือพัฒนามาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. ยกระดับผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับสถานศึกษาให้มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป

ทุกมาตรฐาน

3. กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอนตามตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัด

4. ส่งเสริมให้มีการสอนซ่อมเสริมนักเรียนรายบุคคลอย่างเต็มศักยภาพ

5. ส่งเสริมการประกวด การแข่งขันทางวิชาการ

6. ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกวิชา

กลยุทธ์ที่ 2 :เพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการการศึกษาให้ทั่วถึงและได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

และมีคุณภาพ

แนวดำเนินการ

1.ส่งเสริมการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศด้านคุณธรรมจริยธรรม ความประพฤติ พฤติกรรมเสี่ยง

อาทิ เด็กติดเกมส์ ยาเสพติด เพศสัมพันธ์ เป็นต้น

2. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นชาติไทย

3. ส่งเสริมการดำเนินงานโรงเรียนดีศรีตำบลและโรงเรียนวิถีพุทธให้เกิดผลอย่างยั่งยืน

4. ส่งเสริมการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงและขยายผลสู่ชุมชน

5. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลาย เช่น ลูกเสือ-เนตรนารี การแสดงต่างๆ เป็นต้น

กลยุทธ์ที่ 3 :พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

แนวดำเนินการ

1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการอบรมและพัฒนาตนเองอย่างน้อย 20 ชั่วโมง/ปี

2. ส่งเสริมและพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ทุกกลุ่มสาระ

3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนและการบริหารจัดการในโรงเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

กลยุทธ์ที่ 4 :พัฒนาระบบการบริหารจัดการ

แนวดำเนินการ

1. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้องค์คณะบุคคลของโรงเรียน

2. ส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชน

3. ส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

4. ส่งเสริมการมีเครือข่ายครู ผู้ปกครองและศิษย์เก่า

5. ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรนักเรียนให้มีความเข้มแข็ง

6. ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษารูปแบบที่หลากหลาย
ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 10 1 1 1 0


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐

ปรัชญาการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนบ้านซอยสอง

 

การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่ ๓ - ๖ ปีบริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวมบนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐาน คุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

 

 

วิสัยทัศน์หลักสูตร

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุขและเหมาะสมตามวัย มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และสำนึกความเป็นไทย โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ ๓-๖ ปี

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ ๓-๖ ปี เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล

จุดหมาย

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งเด็กมีพัฒนาการตามวัยเต็มตามศักยภาพ และมีความพร้อมในการเรียนรู้ต่อไป จึงกำหนดจุดหมายเพื่อให้เกิดกับเด็กเมื่อจบการศึกษาระดับปฐมวัย ดังนี้

๑. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขนิสัยที่ดี

๒. สุขภาพจิตดี มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตใจที่ดีงาม

๓. มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

๔. มีทักษะการคิด การใช้ภาษาสื่อสาร และการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

 

มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์จำนวน ๑๒ มาตรฐาน ประกอบด้วย

๑. พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย ๒ มาตรฐานคือ

มาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี

มาตรฐานที่ ๒ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน

๒. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย ๓ มาตรฐานคือ

มาตรฐานที่ ๓ มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข

มาตรฐานที่ ๔ ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

มาตรฐานที่ ๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม

๓. พัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย ๓ มาตรฐานคือ

มาตรฐานที่ ๖ มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

มาตรฐานที่ ๗ รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย

มาตรฐานที่ ๘ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดี ของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

 

๔. พัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย ๔ มาตรฐานคือ

มาตรฐานที่ ๙ ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

มาตรฐานที่ ๑๐ มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้

มาตรฐานที่ ๑๑ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

มาตรฐานที่ ๑๒ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหา ความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

ตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเด็กที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์

 

สภาพที่พึงประสงค์

สภาพที่พึงประสงค์เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถตามวัยที่คาดหวังให้เด็กเกิด บนพื้นฐานพัฒนาการตามวัยหรือความสามารถตามธรรมชาติในแต่ละระดับอายุ เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดสาระการเรียนรู้ในการจัดประสบการณ์ และประเมินพัฒนาการเด็ก

 

การจัดเวลาเรียน

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกำหนดกรอบโครงสร้างเวลาในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ๓-๖ ปีการศึกษาโดยประมาณ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุของเด็กที่เริ่มเข้าสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยเวลาเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยจะขึ้นอยู่กับสถานศึกษาแต่ละแห่ง โดยมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วันต่อ ๑ ปีการศึกษา ในแต่ละวันจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง โดยสามารถปรับให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษาและสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

 

สาระการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้ เป็นสื่อกลางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้าน ให้เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตรที่กำหนด ประกอบด้วย ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ ดังนี้

๑. ประสบการณ์สำคัญประสบการณ์สำคัญเป็นแนวทางสำหรับผู้สอนนำไปใช้ในการออกแบบการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ และได้รับการส่งเสริมพัฒนาการครอบคลุมทุกด้าน ดังนี้

๑.๑ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาท ในการทำกิจวัตรประจำวันหรือทำกิจกรรมต่างๆ และสนับสนุนให้เด็กมีโอกาสดูแลสุขภาพและสุขอนามัย สุขนิสัย และการรักษาความปลอดภัย

 

๑.๒ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของตนเองที่เหมาะสมกับวัย ตระหนักถึงลักษณะพิเศษเฉพาะ ที่เป็นอัตลักษณ์ ความเป็นตัวของตัวเอง มีความสุข ร่าเริงแจ่มใส การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ได้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม สุนทรียภาพ ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และความเชื่อมั่นในตนเองขณะปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

๑.๓ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวจากการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ผ่านการเรียนรู้ทางสังคม เช่น การเล่น การทำงานกับผู้อื่น การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ

๑.๔ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคลและสื่อต่างๆ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กพัฒนาการใช้ภาษา จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การคิดเชิงเหตุผล และการคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวและมีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

๒. สาระที่ควรเรียนรู้

สาระที่ควรเรียนรู้ เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดแนวคิดหลังจากนำสาระที่ควรรู้นั้นๆ มาจัดประสบการณ์ให้เด็ก เพื่อให้บรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ไม่เน้นการท่องจำเนื้อหา ผู้สอนสามารถกำหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัย ความต้องการ และความสนใจของเด็ก โดยให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์สำคัญ ทั้งนี้ อาจยืดหยุ่นเนื้อหาได้ โดยคำนึงถึงประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก ดังนี้

๒.๑ เรื่องราวที่เกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้ชื่อ นามสกุล รูปร่างหน้าตา อวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาดและมีสุขภาพอนามัยที่ดี การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ การระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองจากผู้อื่นและภัยใกล้ตัว รวมทั้งการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัย การรู้จักประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัว การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและโรงเรียน การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น การรู้จักแสดงความคิดเห็นของตนเองและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การกำกับตนเอง การเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองตามลำพังหรือกับผู้อื่น การตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง ความภาคภูมิใจในตนเอง การสะท้อนการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น การแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกอย่างเหมาะสม การแสดงมารยาทที่ดี การมีคุณธรรมจริยธรรม

๒.๒ เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็กเด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัวสถานศึกษา ชุมชน และบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน สถานที่สำคัญ วันสำคัญ อาชีพของคนในชุมชน ศาสนา แหล่งวัฒนธรรมในชุมชน สัญลักษณ์สำคัญของชาติไทยและการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย หรือแหล่งเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นอื่นๆ

๒.๓ ธรรมชาติรอบตัวเด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ ลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของมนุษย์ สัตว์ พืช ตลอดจนการรู้จักเกี่ยวกับดิน น้ำ ท้องฟ้า สภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ แรงและพลังงานในชีวิตประจำวันที่แวดล้อมเด็ก รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรักษาสาธารณสมบัติ

๒.๔ สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็กเด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้หนังสือและตัวหนังสือ รู้จักชื่อ ลักษณะ สี ผิวสัมผัส ขนาด รูปร่าง รูปทรง ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ รอบตัว เวลา เงิน ประโยชน์ การใช้งาน และการเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ การคมนาคม เทคโนโลยีและการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันอย่างประหยัด ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม


การจัดประสบการณ์

การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ ๓-๖ ปี เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะการ บูรณาการผ่านการเล่น การลงมือกระทำจากประสบการณ์ตรงอย่างหลากหลาย เกิดความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ไม่จัดเป็นรายวิชา โดยมีหลักการ และแนวทางการจัดประสบการณ์ ดังนี้

๑. หลักการจัดประสบการณ์

๑.๑ จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวม อย่างสมดุลและต่อเนื่อง

๑.๒ เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่

๑.๓ จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก

๑.๔ จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ พร้อมทั้งนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง

๑.๕ ให้พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก

๒. แนวทางการจัดประสบการณ์

๒.๑ จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการทำงานของสมอง ที่เหมาะกับอายุ วุฒิภาวะและระดับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ

๒.๒ จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้ของเด็ก เด็กได้ลงมือกระทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง

๒.๓ จัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยบูรณาการทั้งกิจกรรม ทักษะ และสาระการเรียนรู้

๒.๔ จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่มคิด วางแผน ตัดสินใจลงมือกระทำและนำเสนอความคิด โดยผู้สอนหรือผู้จัดประสบการณ์เป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวก และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก

๒.๕ จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่น กับผู้ใหญ่ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในบรรยากาศที่อบอุ่นมีความสุข และเรียนรู้การทำกิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะต่างๆ กัน

๒.๖ จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก สอดคล้องกับบริบท สังคม และวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก

๒.๗ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และการมีวินัยให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

๒.๘ จัดประสบการณ์ทั้งในลักษณะที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและแผนที่เกิดขึ้นในสภาพจริง โดยไม่ได้คาดการณ์ไว้

๒.๙ จัดทำสารนิทัศน์ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล นำมาไตร่ตรองและใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กและการวิจัยในชั้นเรียน

๒.๑๐ จัดประสบการณ์โดยให้พ่อแม่ ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วมทั้งการวางแผนการสนับสนุนสื่อ แหล่งเรียนรู้ การเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินพัฒนาการ

๓. การจัดกิจกรรมประจำวัน

กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ ๓ ปี - ๖ ปีบริบูรณ์ สามารถนำมาจัดเป็นกิจกรรมประจำวันได้หลายรูปแบบ เป็นการช่วยให้ผู้สอนหรือผู้จัดประสบการณ์ทราบว่าแต่ละวันจะทำกิจกรรมอะไร เมื่อใด และอย่างไร ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมประจำวันสามารถจัดได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้ของแต่ละหน่วยงานและสภาพชุมชน ที่สำคัญผู้สอนต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมให้ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน การจัดกิจกรรมประจำวันมีหลักการจัดและขอบข่ายของกิจกรรมประจำวัน ดังนี้

๓.๑ หลักการจัดกิจกรรมประจำวัน

๑. กำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของเด็กในแต่ละวัน แต่ยืดหยุ่นได้ตามความต้องการและความสนใจของเด็ก เช่น

วัย ๓-๔ ปี มีความสนใจประมาณ ๘-๑๒ นาที

วัย ๔-๕ ปี มีความสนใจประมาณ ๑๒-๑๕ นาที

วัย ๕-๖ ปี มีความสนใจประมาณ ๑๕-๒๐ นาที

๒. กิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดทั้งในกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ไม่ควรใช้เวลาต่อเนื่องนานเกินกว่า ๒๐ นาที

๓. กิจกรรมที่เด็กมีอิสระเลือกเล่นเสรี เพื่อช่วยให้เด็กรู้จักเลือกตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ เช่น การเล่นตามมุม การเล่นกลางแจ้ง ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ ๔๐-๖๐ นาที

๔. กิจกรรมควรมีความสมดุลระหว่างกิจกรรมในห้องและนอกห้อง กิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก กิจกรรมที่เป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่เด็กเป็นผู้ริเริ่มและผู้สอน หรือผู้จัดประสบการณ์เป็นผู้ริเริ่ม และกิจกรรมที่ใช้กำลังและไม่ใช้กำลัง จัดให้ครบทุกประเภท ทั้งนี้ กิจกรรมที่ต้องออกกำลังกายควรจัดสลับกับกิจกรรมที่ไม่ต้องออกกำลังมากนัก เพื่อเด็กจะได้ไม่เหนื่อยเกินไป

๓.๒ ขอบข่ายของกิจกรรมประจำวัน

การเลือกกิจกรรมที่จะนำมาจัดในแต่ละวันสามารถจัดได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้ของแต่ละหน่วยงานและสภาพชุมชน ที่สำคัญผู้สอนต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมให้ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน ดังต่อไปนี้

๓.๒.๑ การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่เป็นการพัฒนาความแข็งแรง การทรงตัว การยืดหยุ่น ความคล่องแคล่วในการใช้อวัยวะต่างๆ และจังหวะการเคลื่อนไหวในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ โดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นอิสระกลางแจ้ง เล่นเครื่องเล่นสนาม ปีนป่ายเล่นอิสระ เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะดนตรี

๓.๒.๒ การพัฒนากล้ามเนื้อเล็กเป็นการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็ก กล้ามเนื้อมือ-นิ้วมือ การประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและระบบประสาทตามือได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน โดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสัมผัส เล่นเกมการศึกษา ฝึกช่วยเหลือตนเองในการแต่งกาย หยิบจับช้อนส้อม และใช้วัสดุอุปกรณ์ศิลปะ เช่น สีเทียน กรรไกร พู่กัน ดินเหนียว ฯลฯ

๓.๒.๓ การพัฒนาอารมณ์ จิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เป็นการปลูกฝังให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก มีวินัย รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ประหยัด เมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน มีมารยาทและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่นับถือโดยจัดกิจกรรมต่างๆ ผ่านการเล่นให้เด็กได้มีโอกาสตัดสินใจเลือก ได้รับการตอบสนองความต้องการ ได้ฝึกปฏิบัติโดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม อย่างต่อเนื่อง

๓.๒.๔ การพัฒนาสังคมนิสัยเป็นการพัฒนาให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่ดี แสดงออกอย่างเหมาะสมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน มีนิสัยรักการทำงาน ระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น โดยรวมทั้งระมัดระวังอันตรายจากคนแปลกหน้า ให้เด็กได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหาร พักผ่อนนอนหลับ ขับถ่าย ทำความสะอาดร่างกาย เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น ปฏิบัติตามกฎกติกาข้อตกลงของส่วนรวม เก็บของเข้าที่เมื่อเล่นหรือทำงานเสร็จ

๓.๒.๕ การพัฒนาการคิดเป็นการพัฒนาให้เด็กมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาความคิดรวบยอด และคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้สนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เชิญวิทยากรมาพูดคุยกับเด็ก ศึกษานอกสถานที่ เล่นเกมการศึกษา ฝึกการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ฝึกออกแบบและสร้างขึ้นงาน และทำกิจกรรมทั้งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ และรายบุคคล

๓.๒.๖ การพัฒนาภาษาเป็นการพัฒนาให้เด็กใช้ภาษาสื่อสารถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เด็กมีประสบการณ์โดยสามารถตั้งคำถามในสิ่งที่สงสัยใคร่รู้ จัดกิจกรรมทางภาษาให้มีความหลากหลายในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มุ่งปลูกฝังให้เด็กได้กล้าแสดงออกในการฟัง พูด อ่าน เขียน มีนิสัยรักการอ่าน และบุคคลแวดล้อมต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงหลักการจัดกิจกรรมทางภาษาที่เหมาะสมกับเด็กเป็นสำคัญ

๓.๒.๗ การส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกและเห็นความสวยงามของสิ่งต่างๆ โดยจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ดนตรี การเคลื่อนไหวและจังหวะตามจินตนาการ ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ อย่างอิสระ เล่นบทบาทสมมติ เล่นน้ำ เล่นทราย เล่นบล็อก และเล่นก่อสร้าง


ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านซอยสอง (อภิชาติราษฎร์อุปถัมภ์)

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านซอยสอง (อภิชาติราษฎร์อุปถัมภ์) (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๓) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้ผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรของสถานศึกษามีแนวปฏิบัติ ดังนี้

ระดับการศึกษา

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านซอยสอง (อภิชาติราษฎร์อุปถัมภ์) (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๓) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จัดการศึกษา ดังนี้

@ ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖) การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงแรกของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุล ทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

การจัดเวลาเรียน

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านซอยสอง (อภิชาติราษฎร์อุปถัมภ์) (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๓) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้จัดเวลาเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยจัดให้เหมาะสมตามบริบท จุดเน้นของโรงเรียน และสภาพของผู้เรียน ดังนี้

@ ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖) จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละ 6 ชั่วโมง

 

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านซอยสอง (อภิชาติราษฎร์อุปถัมภ์) (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๓) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ประกอบด้วยโครงสร้างเวลาเรียนและโครงสร้างหลักสูตรชั้นปี ดังนี้

๑. โครงสร้างเวลาเรียน เป็นโครงสร้างที่แสดงรายละเอียดในภาพรวม เวลาเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระที่เป็นเวลาเรียนพื้นฐาน เวลาเรียนรายวิชาเพิ่มเติมและเวลาในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำแนกแต่ละชั้นปี ในระดับประถมศึกษา ดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

เวลาเรียน(ชั่วโมง/ปี)

ระดับประถมศึกษา

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

 

— กลุ่มสาระการเรียนรู้ (รายวิชาพื้นฐาน)

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๘๐

๘๐

๘๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

การงานอาชีพ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ภาษาต่างประเทศ

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

รวมเวลาเรียน (รายวิชาพื้นฐาน)

๘๘๐

๘๘๐

๘๘๐

๘๘๐

๘๘๐

๘๘๐

— รายวิชาเพิ่มเติม

หน้าที่พลเมือง

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

รวมเวลาเรียน (เพิ่มเติม)

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

— กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลสิ่งก่อสร้างโรงเรียน บ้านซอยสอง (อภิชาติราษฎร์อุปถัมภ์) [ รหัส : 060183 ] ปี 2563

ที่

ประเภท

แบบ

ลำดับที่

ปีที่สร้าง

การได้มาของงบประมาณ

งบประมาณ

รายละเอียด

สภาพปัจจุบัน

1

เรือนเพาะชำ

อื่น อื่น

1

2557

งบประมาณต้นสังกัด

51000

กว้าง 6 เมตร

ยาว 9 เมตร

สูง 0 เมตร

พอใช้

2

บ่อเลี้ยงปลา

บ่อเลี้ยงปลา

1

2552

งบประมาณหน่วยงานอื่น

30000

กว้าง 15 เมตร

ยาว 30 เมตร

ลึก 4 เมตร

พอใช้

3

อาคารอเนกประสงค์/โรงอาหาร/โรงฝึกงาน

อื่น อื่น(สร้างเอง)

2

2563

การบริจาคหรือโรงเรียนทำเอง

800000

กว้าง 15 เมตร

ยาว 33 เมตร

ใช้เป็นห้องเรียน 0 ห้อง

ดี

4

อาคารเรียน

สปช.105/26

1

2527

งบประมาณต้นสังกัด

1040000

จำนวนห้องตามแปลน 8 ห้อง

พื้นที่ : ห้อง 10 ตารางเมตร

ห้องเรียน 4 ห้อง

ห้องพิเศษ 4 ห้อง

ห้องว่าง 0 ห้อง

ห้องปฏิบัติการ 0 ห้อง

ห้องอื่นๆ 0 ห้อง

ดี

5

อาคารอเนกประสงค์/โรงอาหาร/โรงฝึกงาน

สปช.201/26

1

2526

งบประมาณต้นสังกัด

330000

กว้าง 10 เมตร

ยาว 20 เมตร

ใช้เป็นห้องเรียน 1 ห้อง

ดี

6

บ้านพักครู

องค์การฯ

1

2518

งบประมาณต้นสังกัด

44000

มีผู้อยู่อาศัย  

พอใช้

7

ส้วม

สปช.601/26

1

2529

งบประมาณต้นสังกัด

20000

ใช้การได้ 0 ที่

ใช้การไม่ได้ 6 ที่

ทรุดโทรม
สามารถปรับปรุงซ่อมแซมให้เกิดประโยชน์ได้ดีและใช้งบประมาณซ่อมแซมไม่เกิน 50% ของราคาก่อสร้าง ดี

8

สนามเด็กเล่น

สนามเด็กเล่น

1

2540

หลักฐานอ้างอิง :

ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

ที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

เรื่อง

1

ป้ายนิเทศตามอาคารเรียน

-วันสำคัญ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

- ประวัติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรี สินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

- อาชีพเสรีอาเซียน

- เศรษฐกิจพอเพียง

- พระราชดำริเกี่ยวกับการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10

- บอร์ดเกี่ยวกับสุขภาพ อาหารและโรคภัยไข้เจ็บ

- สุขบัญญัติ 10 ประการ

- ค่านิยม 12 ประการ

2

ห้องเรียน

ทุกกลุ่มสาระ

3

ห้องคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี เพื่อการสืบค้น

4

ห้องสมุด

อ่านหนังสือ เพื่อการสืบค้นความรู้

5

ห้องสื่อ นวัตกรรม / ศูนย์

ใช้สื่อเพื่อการจัดการเรียนการสอน อ่านหนังสือ

เพิ่มทักษะความรู้ในเรื่องต่างๆ

6

ห้องธุรการ

งานบริหารจัดการ

7

ห้องวิทยาศาสตร์

เรียนวิทยาศาสตร์ และทดลองวิทยาศาสตร์

8

ห้องพยาบาล

สุขภาพและอนามัย

9

ห้องประชุม ห้องระบบประกันเพื่อการศึกษา

ประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC ศึกษาดูงาน

9

โรงอาหาร

รับประทานอาหาร ประกอบอาหาร เก็บวัสดุ อุปกรณ์ และเรียนรู้เกี่ยวกับการทำอาหาร และเรียนรู้สุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร

10

ห้องน้ำ

เรียนรู้เกี่ยวกับสุขนิสัยที่ดีในการใช้ห้องน้ำ

11

สนามกีฬาฟุตบอล

เล่นกีฬา และออกกำลังกาย

12

ศาลาพักผ่อน

เรียนรู้กิจกรรมบูรณาการสาระต่างๆ เรียนการวัด

หาพื้นที่ เส้นรอบวง จากแผ่นกระเบื้องเรขาคณิต

เป็นต้น

13

อาคารโดมอเนกประสงค์

จัดกิจกรรมในวันสำคัญของโรงเรียน จัดการแสดง

ของนักเรียน เรียนพละ เล่นกีฬาวอลเลย์บอล ตะกร้อ แชร์บอล และอื่นๆ

14

ศูนย์ศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ปฏิบัติกิจกรรมตามแนวพระราชดำริ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

15

สวนทุเรียน สวนผลไม้

เรียนรู้อาชีพเกษตรกรรม ทำสวนทุเรียน สวนผลไม้

16

สวนยางพารา

เรียนรู้อาชีพเกษตรกรรม กรีดยาง ทำยางพารา


ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน

ที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

เรื่อง

1

วัดซอยสอง

-วันสำคัญทางพุทธศาสนา ศาสนพิธี หน้าที่ชาวพุทธ

-ทำบุญในวันสำคัญทางพุทธศาสนา และวันธรรมสวนะ

2

องค์การบริหารส่วนตำบล

สามพี่น้อง

-การอบรมโครงการจัดการปัญหาขยะในระดับครัวเรือนและชุมชน

- อบรมการป้องกันภัยเอดส์และการตั้งครรภ์ที่ไม่เหมาะสมในวัยเรียน

- การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ

3

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ อ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี

- ทัศนศึกษา

4

โอเอซิส ซีเวิร์ลด จ.จันทบุรี

- ทัศนศึกษา

5

ค่ายเนินวง จ.จันทบุรี

- ทัศนศึกษา

6

สวนนงนุชพัทยา หุบไดโนเสาร์ จ.ชลบุรี

-ทัศนศึกษา

7

สนามกีฬาโรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร

-ร่วมกิจกรรมกีฬาเเก่งหางแมวเกมส์ ครั้งที่ 4

8

ค่ายลูกเสือชั่วคราวโรงเรียนบ้าน

วังอีแอ่น

-ร่วมกิจกรรมการเข้าค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี

9

สนามสอบ ONET โรงเรียนบ้านเนินจำปา

-ทดสอบการศึกษาระดับชาติ ONET ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6




หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา  

       ผลการประเมินทั้งหมดที่ได้ สืบเนื่องมาจากการบริหารงานตามโมเดลการบริหาร "จาก บ ว ร สู่ ม ร ด ก” มุ่งประสานความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ร่วมจัดการศึกษาและดำเนินงานในโครงการต่าง ๆ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่สนับสนุนและสอดคล้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านคุณภาพเด็ก ได้แก่ กิจกรรมในโครงการการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับการศึกษาปฐมวัยเพื่อให้งานวิชาการเป็นงานหลักหรือภารกิจหลักของสถานศึกษาที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2562 มุ่งกระจายอำนาจในการบริหารจัดการลงไปให้สถานศึกษาให้มากที่สุดด้วยเจตนารมณ์ที่จะให้สถานศึกษาดำเนินการได้โดยอิสระ คล่องตัว รวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนซึ่งในกระบวนการเรียนการสอนนั้นจำเป็นต้องมีการนำสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ทำให้เด็กปฐมวัยมีสมาธิในการเรียนและเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยมีกิจกรรมในโครงการที่ส่งเสริม สนับสนุนให้การดำเนินงานในโครงการสำเร็จดังนี้ กิจกรรมไหว้ครู ณ ห้องประชุมของโรงเรียน กิจกรรมอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2563 กิจกรรมการทัศนศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ อ.1-ป.3 โรงเรียนบ้านซอยสองณ โอเอซิส ซีเวอร์จังหวัดจันทบุรี กิจกรรมคัดตัวแทนนักกีฬา นักกรีฑาของ อำเภอแก่งหางแมว ร่วมแข่งขันกีฬา กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติและทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนบ้านซอยสอง กิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ (Open House)โรงเรียนบ้านซอยสอง กิจกรรมการเรียนการสอน ศิลปะดนตรี-นาฏศิลป์ และกีฬา – นันทนาการที่เกี่ยวข้องในห้องเรียนโครงการรักการอ่าน ระดับการศึกษาปฐมวัยเพื่อให้นักเรียนรักการอ่าน เพราะการอ่านเป็นหัวใจของการเรียน จากการศึกษาพบว่าการอ่านหนังสือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ดังนั้นการสร้างนิสัยรักการอ่านให้นักเรียนตั้งแต่เยาว์วัยเป็นสิ่งสำคัญมากที่ควรส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ในระดับสูงต่อไป โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ จัดทำ จัดหาหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย ผลิตสื่อส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมอ่านทุกวัน กิจกรรมวาดจากคำ หรือเรื่องราวที่ได้ฟัง กิจกรรมเล่าเรื่อง / เล่าประสบการณ์ / เล่าข่าว / เล่าเหตุการณ์ต่างๆโครงการระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัยปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้ทันกับวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ตามความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน และการดำเนินงานการวัดและประเมินผลเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและครูผู้สอนต้องรู้จุดอ่อน จุดแข็งของโรงเรียน ประกอบกับการรู้จุดที่ควรพัฒนา ซึ่งนั่นหมายความว่าการดำเนินงานทั้งงานจัดระบบบริหารและสารสนเทศ การพัฒนามาตรฐานการศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการจัดการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษา การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี และการผดุงระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตลอดจนงานโครงการ กิจกรรมหรืองานด้านการจัดการเรียนการสอน รวมไปถึงงานพัฒนาชุมชน จึงควรที่จะเป็นระบบเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ตรงตามความเป็นจริง การแก้ปัญหาและการพัฒนาจึงจะตรงเป้ามากที่สุด ดังนั้นทางโรงเรียนบ้านซอยสองฯ จึงได้จัดโครงการ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนขึ้น เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการตรวจสอบ ทบทวนและประเมินคุณภาพการศึกษา แล้วนำข้อมูลที่ได้จัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีและเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนต่อไปโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับการศึกษาปฐมวัยเนื่องด้วยโรงเรียนบ้านซอยสองฯ ได้ดำเนินการจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะปานกลางและยากจน ทำให้ขาดแคลนอุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน เครื่องแบบนักเรียน อาหารกลางวัน นอกจากนี้โรงเรียนได้ดูแลพัฒนาการของนักเรียนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมเกิดการพัฒนาตามวัยและตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ดังนั้นโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการเพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในทุกๆ ด้านดังกล่าว ให้ได้เรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมได้อย่างมีความสุข โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ ประชุมผู้ปกครอง สนทนาลูกศิษย์และเยี่ยมบ้านนักเรียน กิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กิจกรรมส่งเสริมให้ปฏิบัติตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ส่งเสริมอาหารกลางวัน กิจกรรมอาหารเสริม (นม) กิจกรรมเฝ้าระวังทันตสุขภาพ กิจกรรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าชั้นเรียนตอนเช้า กิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย กิจกรรมส่งเสริมและประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานมาตรฐานด้านผู้เรียน กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางด้าน ร่างกายอารมณ์จิตใจสังคม และสติปัญญาโครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม ระดับการศึกษาปฐมวัยประเทศไทยในโลกยุคไร้พรมแดนเช่นปัจจุบันนี้เป็นประเทศที่เปิดกว้างเพื่อจะได้รับข้อมูลข่าวสารรวมถึงวัฒนธรรมจากทั่วทุกมุมโลกเข้ามาโดยเฉพาะเยาวชนไทยที่นิยมรับวัฒนธรรมต่างชาติโดยขาดการกลั่นกรองจนลืมวัฒนธรรมตามแนววิถีพุทธของตนเองไป ก่อให้เกิดปัญหาที่น่าเศร้าสะเทือนใจหลายปัญหาดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันเพื่อเป็นการช่วยกลัดเกลาเยาวชนของชาติให้เป็นพลเมืองดี รู้จักตนเอง มีทักษะชีวิต รู้จักดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ โรงเรียนจึงจัดทำโครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนขึ้น เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนให้สามารถนำพาเด็กและเยาวชนไทยให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างไร้ขีดจำกัด โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ กิจกรรมส่งเสริมประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านซอยสองฯ กิจกรรมส่งเสริมและประเมินมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มาตรฐานด้านเด็ก การดูแลและการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ กิจกรรมพัฒนาสถานศึกษา กิจกรรมไหว้ครูปีการศึกษา 2563 กิจกรรมออมเงิน กิจกรรมส่งเสริมระเบียบวินัย และมารยาทกิจกรรมการทำบุญ ตักบาตรทุกวันพระ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา กิจกรรมวันแม่แห่งชาติประจำปี 2563โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนบ้านซอยสองฯได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์การมีจิตใจที่ร่าเริงแจ่มใสโรงเรียนจึงมีแนวคิดที่จะดำเนินงานตามโครงการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนในชุมชนบ้านซอยสองนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง คณะครูจึงร่วมกับคณะกรรมกาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สถานีอนามัยซอยสอง จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาสุขภาพควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ จึงกำหนดกลยุทธ์ให้โรงเรียนบ้านซอยสองฯ เป็นโรงเรียนในโครงการส่งเสริมสุขภาพพลานามัยและการเล่นกีฬา โดยให้บุคคลในชุมชน เข้ามาเล่นกีฬาโดยใช้สนามกีฬาของโรงเรียนเป็นสถานที่เล่นกีฬาได้ โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ กิจกรรมออกกำลังเพื่อสุขภาพ กิจกรรมส่งเสริมให้ปฏิบัติตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ กิจกรรมอาหารกลางวันกิจกรรมอาหารเสริม (นม) กิจกรรมเฝ้าระวังทันต –สุขภาพ กิจกรรมส่งเสริมและประเมินมาตรฐานด้านผู้เรียนกิจกรรมส่งเสริมและประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย กิจกรรมทำบุญ ตักบาตรทุกวันพระ ณ วัดซอยสองกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ

       อีกทั้งนักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะและความสามารถจากการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านต่างๆ ตามระบบประกันคุณภาพภายในชั้นเรียนทุกห้องเรียนดังต่อไปนี้ กิจกรรม ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เน้นการลงมือปฏิบัติและการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning)กิจกรรม กาเรียนการสอนโดยใช้การสอนแบบโครงงาน (Problem-Based Learning)การเรียนรู้ด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ด้วยกิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย และกิจกรรมการฝึกทักษะต่างๆ ด้วยการจำลองสถานการณ์ การแสดงบทบาทสมมติ (Role-Play)กิจกรรมภาษาอังกฤษหน้าแถวตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน ได้เรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งสื่อสภาพจริง สื่อจำลอง และสื่อเทคโนโลยี นักเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา นักเรียนได้นำเสนอผลงานและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ ขยายผลต่อยอดความรู้ และปฏิบัติด้วยความภาคภูมิใจของแต่ละชั้นเรียน ในงานเปิดบ้านวิชาการ (Open House)โรงเรียนมีแนวทางในการพัฒนานำการจัดการเรียนการสอนด้วยการนำขยะรีไซเคิลมาประดิษฐ์เป็นของเล่น จัดหาอุปกรณ์สำหรับการจัดการเรียนการสอน เชิญชวนวิทยากรภายนอก (ผู้ปกครอง) มาร่วมเป็นวิทยากรในการสอนทำของเล่นให้กับเด็ก


 

แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น

จากผลการประเมินโรงเรียนมีแนวทางที่จะพัฒนาในปีการศึกษา2564 ดังนี้ ด้านคุณภาพเด็กพัฒนาด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การแก้ปัญหา อุปสรรคของการทำงานได้ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับความจริง และสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ให้เด็กฝึกการสังเกต การคาดคะเน ค้นหาคำตอบที่สงสัยหรือทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง คิดแก้ไขปัญหาและตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ โดยใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การจัดหมู่ การสำรวจ การทำนาย การทดลอง การเชื่อมโยง การลงความเห็น การแปลความและการอภิปรายข้อมูล จัดกิจกรรมกิจกรรมการทำบุญตักบาตรทุกวันพระ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อฝึกจิตใจให้เป็นคนที่มีความอ่อนโยนและเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ด้วยการไปทำบุญ ฟังพระธรรมเทศนาและฝึกจิตเจริญปัญญาทุกวันพระ ที่วัดซอยสอง


ผลการดำเนินงาน  

ข้อมูลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย

จากผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย ในรอบปี 2563 โดยภาพรวมทั้ง 3 มาตรฐาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.36 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 92.43 

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.65 และ

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.00

2.1 มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพของเด็ก

จากผลการประเมินด้านคุณภาพเด็กในปีการศึกษา2563มีผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 92.43 ยังไม่บรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากในปีการศึกษาที่ผ่านมามีการระบาดของเชื้อไวรัส 2019 ทำให้มีการจัดประสบการณ์ด้วยวิธีการOn line และ On hand ซึ่งส่วนใหญ่เด็กจะอาศัยอยู่กับญาติผู้สูงอายุ เพราะผู้ปกครองต้องออกไปทำงาน โดยมีผลการประเมินแยกเป็น 1) เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 93.45 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งประเมินจาก เด็กมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย มีสุขอนามัย สุขนิสัยที่ดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำ นอนพักผ่อนและออกกำลังกายเป็นเวลา สามารถรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น จากการเล่นและทำกิจกรรม สามารถเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้ และสามารถใช้ มือ-ตา ประสานสัมพันธ์กันได้ 2) เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงอารมณ์ได้ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 92.85 ยังไม่บรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งประเมินจาก เด็กแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกสอดคล้องตามสถานการณ์อย่างเหมาะสม มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น กล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมเด็กทุกคนสนใจ มีความสุขและแสดงออกผ่านงานศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้จักขออนุญาตหรือรอคอยเมื่อต้องการสิ่งของของผู้อื่นด้วยตนเอง มีความเมตตากรุณา มีน้ำใจและช่วยเหลือแบ่งปัน แสดงความรักเพื่อนและมีเมตตาสัตว์เลี้ยง ได้ด้วยตนเอง มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ด้วยการแสดงสีหน้า ท่าทาง รับรู้ความรู้สึกผู้อื่นอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ มีความรับผิดชอบ ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จด้วยตนเองได้ 3) เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีระเบียบวินัย และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 93.17 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งประเมินจาก เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัดและพอเพียงด้วยตนเอง ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทิ้งขยะได้ถูกที่ มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยได้ตามกาลเทศะ กล่าวคำขอบคุณและขอโทษ ร่วมร้องเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญพระบารมียอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ด้วยการเล่นและทำกิจกรรม ทำงานร่วมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข สมาชิกที่ดีของสังคมมีส่วนร่วมสร้างข้อตกลง ปฏิบัติตามข้อตกลง เป็นผู้นำและผู้ตาม แก้ไขปัญหาปราศจากความรุนแรงด้วยตนเอง 4) เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะกระบวนการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 90.27 ยังไม่บรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้เด็ก ๆ ได้รับการจัดประสบการณ์ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งประเมินจาก เด็กสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจได้ อ่าน เขียนภาพและสัญลักษณ์ได้ มีความสามารถในการคิดรวบยอด บอกลักษณะ ส่วนประกอบการเปลี่ยนแปลงหรือความสัมพันธ์ เปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่าง จำแนก จัดกลุ่ม เรียงลำดับ ของสิ่งต่างๆ ได้ มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล อธิบายเชื่อมโยงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำ คาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น มีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตุผล มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ ในเรื่องง่ายๆและยอมรับผลที่เกิดขึ้น รวมทั้งระบุปัญหาสร้างทางเลือกและวิธีแก้ปัญหาได้ เล่น/ทำงานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ได้ แสดงท่าทาง/เคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ สื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองได้อย่างหลากหลาย มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ ค้นหาคำตอบของข้อสงสัย ใช้ประโยคคำถามตามวิธีการหาคำตอบได้อย่างหลากหลาย

 

เด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา

ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์รายด้านในระดับดี

ระดับชั้น

จำนวนนักเรียนทั้งหมด

ผู้เรียนระดับปฐมวัยที่มีพัฒนาการในระดับดี

จำแนกรายด้าน (คน)

ด้านร่างกาย

ด้านอารมณ์ จิตใจ

ด้านสังคม

ด้านสติปัญญา

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

อนุบาล 1

15

12

80.00

12

80.00

13

86.67

12

80.00

อนุบาล 2

11

11

100.00

11

100.00

10

90.91

8

72.73

อนุบาล 3

18

18

100.00

18

100.00

18

100.00

17

94.44

รวม

44

41

93.18

41

93.18

41

93.18

37

84.09


จุดเด่น

เด็กสามาถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีระเบียบวินัย ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัด ดูแลรักษาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทิ้งขยะได้ถูกที่ มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยได้ตามกาลเทศะ กล่าวคำขอบคุณและร่วมร้องเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญพระบารมี ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นด้วยการเล่นและการทำกิจกรรม ทำงานร่วมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีส่วนร่วมสร้างข้อตกลง ปฏิบัติตามข้อตกลง เป็นผู้นำและผู้ตาม แก้ไขปัญหาปราศจากความรุนแรงด้วยตนเองได้

จุดที่ควรพัฒนา

1.เด็กยังต้องได้รับการพัฒนาในการสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจได้

2.เด็กยังต้องได้รับการพัฒนาในเรื่องความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล อธิบายเชื่อมโยงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำ การคาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้

3.เด็กยังต้องได้รับการพัฒนาในเรื่องของการคิดแก้ปัญหาและการตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ยอมรับผลที่เกิดขึ้น รวมทั้งระบุปัญหาสร้างทางเลือกและวิธีการแก้ปัญหาได้

 


 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1X4iZYl0BR0nsdSMDmdWaJHHCBId98zDQ?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา  

       ทั้งนี้ผลการประเมินทั้งหมดที่ได้ สืบเนื่องมาจากการบริหารงานตามโมเดลการบริหาร"จาก บ ว ร สู่ ม ร ด กภายใต้โครงการระบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management: SBM)ตามวงจร เดมมิ่งPDCAผ่านกระบวนการบริหารตามหลักการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1Plan (P)ทุกฝ่ายร่วมวางแผน

รู้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย องค์ประกอบที่ 2Do (D)ร่วมมือ ช่วยเหลือ ขับเคลื่อนพัฒนา องค์ประกอบ

ที่ 3Check (C)ร่วมสร้างคุณค่า แก้ไขเปลี่ยนแปลง ประเมินตรวจสอบ องค์ประกอบที่ 4-5 Action (A)

ร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กร สะท้อนปัญหา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีการนำเสนอผลงานและเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการจัดนิทรรศการและพูดนำเสนอต่อโรงเรียนต่างๆ ที่มาศึกษาดูงาน นำเสนอต่อคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) สพป.จันทบุรี เขต 1 และในที่ประชุมผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต1ซึ่งได้รับรางวัลสถานศึกษาที่มีระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพระดับยอดเยี่ยม (IQA Award)ประเภทสถานศึกษาขนาดเล็ก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปี 2561 รางวัลสถานศึกษาที่มีระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพระดับดี (IQA Award)ประเภทสถาน

ศึกษาขนาดเล็ก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปี 2562 นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลองค์กรคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลัง บวร ต้นแบบ จังหวัดจันทบุรีโดยโรงเรียนมีการดำเนินงานโครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่ 2 โดยมีการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามประกาศใช้กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ และกระทรวงศึกษาธิการ มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2561 โดยผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและประกาศให้สาธารณชนรับทราบ ได้แก่ มีการกำหนดมาตรฐานและค่าเป้าหมายมาตรฐานการศึกษา มีการวิเคราะห์ จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติราชการประจำปี มีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่เป็นระบบ มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีการติดตามและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาทั้งจากหน่วยงานต้นสังกัด และคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาตามคำสั่งแต่งตั้ง มีการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (SAR)ต่อสาธารณชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบ รวมถึงมีการผดุงระบบประกันคุณภาพภายในในปีต่อไปด้วยการประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมวิเคราะห์ผลและสภาพปัญหา เพื่อเป็นฐานในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาในปีต่อไป นอกจากนี้ โรงเรียนยังมีการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในระดับชั้นเรียน ได้แก่ มีการประเมินพัฒนาการตามหลักสูตร การจัดทำแผนการเรียนรู้มีการบริหารจัดการชั้นเรียนและสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ มีการจัดการเรียนรู้ตามแผน มีการนิเทศ ติดตามและตรวจสอบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้โรงเรียนยังมีการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพเด็กรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนได้ดำเนินงานในโครงการต่างๆ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่สนับสนุนและสอดคล้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ได้แก่ โครงการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา และส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยครูผู้สอนนำหลักสูตรไปใช้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยออกแบบการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับการพัฒนาทั้ง 4ด้านของเด็กปฐมวัยมีการกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ สื่อการเรียนรู้ การประเมินพัฒนาการวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกัน เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ บ้าน วัดชุมชนและองค์กรท้องถิ่น หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ประสานความร่วมมือจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ ร่วมจัดการศึกษา โรงเรียนได้ดำเนินงานในโครงการต่าง ๆตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่สนับสนุนและสอดคล้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ได้แก่โครงการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัยครูสามารถมีการวิเคราะห์หลักสูตรและสามารถออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูสามารถจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกันกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่บูรณาการ สามารถใช้แหล่งเรียนรู้และทรัพยากรที่มีอยู่ในโรงเรียนอย่างคุ้มค่าโครงการส่งเสริมพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ระดับการศึกษาปฐมวัยครูผู้สอนจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน โดยออกแบบการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับการพัฒนาทั้ง4 ด้านของเด็กปฐมวัย มีการกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ การจัดประสบการณ์สื่อการเรียนรู้การประเมินพัฒนาการวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกัน

เด็กได้เรียนรู้จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย แปลกใหม่และทันสมัยมีการจัดประสบการณ์โดยการ บูรณาการ เน้นกระบวนการคิดและเน้นเด็กเป็นสำคัญโครงการพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้ ระดับการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายที่เกิดจาก ความร่วมมือในการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เด็กได้ใช้แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนอย่างหลากหลายและคุ้มค่า เกิดการพัฒนาตามศักยภาพตามวัยและตามหลักสูตร เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกสนาน ได้รับประสบการณ์ตรงและเกิดการเชื่อมโยงการเรียนรู้จากการเรียนรู้นอกสถานที่กับชีวิตจริง ได้รับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เกิดความรู้สึกที่ดี ลักษณะนิสัยที่ดีต่อการร่วมชมกีฬา การแข่งขันกีฬา เกิดนิสัยการเรียนรู้ที่ดี มีประสบการณ์ ที่กว้างไกลขึ้นโครงการพัฒนาระบบควบคุมภายใน ระดับการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนบริหารงานด้านการใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพจนเป็นที่ยอมรับ และมีการบริหารจัดการที่ดีโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับการศึกษาปฐมวัย ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดูแลและส่งเสริมสุขนิสัยนักเรียนอยู่เสมอ และให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการส่งเสริมกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ของโรงเรียนส่งผลให้นักเรียนเกิดสุขนิสัยที่ดีโครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม ระดับการศึกษาปฐมวัยเด็กได้ร่วมกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงจนเกิดเป็นนิสัยอย่างมีความสุข กล้าแสดงความกตัญญูกตเวทีด้วยการร่วมพิธีไหว้ครู และร่วมกิจกรรมวันแม่ รู้จักประหยัด อดออมและใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างรู้ค่าโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับการศึกษาปฐมวัยผู้ปกครองและชุมชนเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดูแลและส่งเสริมสุขนิสัยเด็กอยู่เสมอและให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการส่งเสริมกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆของโรงเรียนส่งผลให้เด็กเกิดสุขนิสัยที่ดี เป็นผู้มีสุขภาพกายและสุขภาพดี มีได้รับอาหารกลางวันที่มีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ มีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ และห่างไกลจากยาเสพติด

 

        โรงเรียนมีแนวทางในการพัฒนาด้านการบริหารจัดการ โดยใช้โมเดลกระบวนการบริหาร จาก "บ ว รสู่            "ม ร ด กโมเดลต่อไป คือ การดูแลเด็กให้มีความพร้อมในพัฒนาการ4 ด้าน เพื่อเป็นฐานให้สามารถเรียนรู้ในระดับประถมศึกษาได้อย่างมีความสุข มีการจัดหาสื่อ ส่งเสริม พัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัยให้พร้อมและเพียงพอ พัฒนาบุคลากรด้านปฐมวัยให้มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่พร้อมมากขึ้นต่อการจัดประสบการณ์แก่เด็กในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงและยากลำบากในการจัดประสบการณ์ นอกจากนี้ จะระดมทรัพยากรและความร่วมมือ จากทุกภาคส่วนให้มีการจัดสร้างอาคารเรียนอนุบาล อาคารประกอบ โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของโรงเรียน เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ให้บุคลากรความพร้อมทั้งในด้านปัจจัยพื้นฐานและความสุขในการดำรงชีวิต ให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน สานสัมพันธ์บ้าน วัด โรงเรียนอย่างต่อเนื่องต่อไป

ผลการดำเนินงาน  

       จากผลการประเมินด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ในปีการศึกษา 2563มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ98.65 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีผลการประเมินหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ98.42 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งประเมินจาก โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยทุกชั้นอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.75 มีการออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมและไม่เร่งรัดวิชาการ เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือปฏิบัติ โดยใช้กิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย, กิจกรรมของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.00 การจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของเด็กปกติและกลุ่มเป้าหมายพิเศษสอดคล้องกับวิถีของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นทุกชั้นเรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.50นอกจากนี้ยังพิจารณาจากผลการประเมินด้านการจัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.54 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งประเมินจาก โรงเรียนจัดครูที่จบการศึกษา หรือผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัยอย่างพอเพียงกับชั้นเรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 99.08 และครูที่มีความรู้ความสามารถในแต่ละสาขาวิชา ร่วมจัดการเรียนการสอนปฐมวัย อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.00 ผลการประเมินด้านส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.08 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งประเมินจาก โรงเรียนมีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา มีทักษะในการจัดประสบการณ์และประเมินพัฒนาการเด็ก อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.50 ใช้ประสบการณ์สำคัญในการออกแบบการจัดกิจกรรม มีการสังเกตและประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและครอบครัว อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.67 ผลการประเมินด้านการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัยและเพียงพอ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.88 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งประเมินจาก โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้รายบุคคลและกลุ่ม อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.75   การเล่นแบบร่วมมือร่วมใจ มีมุมประสบการณ์ที่หลากหลาย มีสื่อการเรียนรู้ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน สื่อจากธรรมชาติ สื่อสำหรับเด็กมุด ลอด ปีนป่าย สื่อเทคโนโลยี สื่อเพื่อการสืบเสาะหาความรู้ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 99.00 ผลการประเมินด้านการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 99.33 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งประเมินจาก โรงเรียนอำนวยความสะดวก และให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศวัสดุ และอุปกรณ์

เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์และพัฒนาครู อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 99.33 และผลการประเมินด้านการมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.65 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งประเมินจาก โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.50  มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดรับกับมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนด และดำเนินการตามแผน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.42   มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลประเมินตนเองประจำปี อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.67 นำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัด

อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 99.00

          

จุดเด่น

โรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่เข้มแข็ง บ้าน วัด โรงเรียน ร่วมกันพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนตามโมเดล จาก "บ ว ร” สู่ "ม ร ด ก” โมเดล ส่งผลให้การเด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีผลดีต่อเนื่องยาวนาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(NT) ชั้น ป.3 และ (O-NET) ชั้น ป.6 สูงกว่าระดับชาติเป็นเวลาหลายปีต่อเนื่อง

จุดที่ควรพัฒนา

1. การบริหารจัดการงบประมาณในการส่งเสริมพัฒนาเด็กให้มีความสามารถในการพัฒนานวัตกรรม และสามารถนำไปสู่การขยายผล ต่อยอดความคิดได้

2. การบริหารจัดการให้มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมในการจัดการศึกษา เช่น อาคารประกอบ จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และเอื้อต่อการเรียนรู้ รวมถึงจัดให้มีความพร้อมในด้านปัจจัยพื้นฐานต่างๆ


 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1fRg9caK7fygk3gYJYqosK0Yhx8bCUQ6P?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา  

       ผลการประเมินทั้งหมดที่ได้ สืบเนื่องมาจากการดำเนินงานในโครงการต่างๆ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่สนับสนุนและสอดคล้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านกระบวนการจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน โครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน โครงการการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้โครงการรักการอ่าน โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยการดำเนินงานตามกิจกรรมในโครงการได้แก่ การจัดกิจกรรมการฝึกทักษะด้านสมองและสติปัญญา ด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ครูจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สื่อของจริง สื่อจำลอง สื่อเทคโนโลยีต่างๆ เน้นกิจกรรมแบบเชิงรุก (Active Learning)เช่น เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง การเรียนรู้ด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ด้วยกิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย และกิจกรรมการฝึกทักษะต่างๆ ด้วยการจำลองสถานการณ์ การแสดงบทบาทสมมติ (Role-Play)มีการประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่ายครู ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงจากการเรียน และนำไปปรับใช้ในชีวิตได้ การเรียนและคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ได้แก่ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด แต่ละห้องอยู่ในสภาพที่ใช้การได้แต่ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะห้องคอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซม ฝึกทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนการสอน เน้นความอบอุ่น สะอาด เป็นระเบียบทุกชั้นเรียน มีกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการสร้างวินัยเชิงบวก เสริมแรง ส่งเสริมศักยภาพและซ่อมเสริม มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อรับทราบสภาพปัญหา สอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ เน้นการลงมือปฏิบัติจริงจากการเรียนรู้ ยึดหลักการสอนที่ใช้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ ปลูกฝังคุณงามความดี ด้านการอยู่ร่วมกันในสังคม พัฒนานักเรียนแบบองค์รวมได้แก่ กาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ด้วยกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ วันต้านภัยยาเสพติด กิจกรรมแห่เทียนพรรษา กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ กิจกรรมอาเซียนศึกษา กิจกรรมทำบุญทุกวันพระ เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาที่โรงเรียนนำมาใช้ในการจัดการศึกษา ได้แก่ นำเด็กไปร่วมกิจกรรมกีฬาที่สนามกีฬาโรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร นำเด็กไปร่วมปลูกต้นไม้ร่วมกันคณะครูในโรงเรียน นำนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 ไปทัศนศึกษาและเรียนรู้นอกสถานที่ ณ โอเอซิล ซีเวิลล์ จังหวัดจันทบุรี ครูมีการตรวจสอบและสังเกตุพัฒนาการของเด็กอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเป็นฐานโดยมีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหา อย่างน้อยชั้นเรียนละ 1 เรื่องต่อภาคเรียน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างคณะครูเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดประสบการณ์ และนำผลมาพัฒนาเด็กตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคลด้วยกิจกรรมอภิปรายกลุ่ม โฮมรูม ประชุมผู้ปกครอง ครูได้รับการนิเทศจากผู้บริหารสถานศึกษานิเทศชั้นเรียน/การจัดการเรียนการสอนภาคเรียนละ 1 ครั้ง คณะครูทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมPLCอย่างน้อยสัปดาห์ละ2-3ชั่วโมง คณะครูมีการอบรม ประชุม สัมมนาออนไลน์ ครบทุกคน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อมูลสะท้อนกลับและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ มีการจับคู่นิเทศแบบCoachingระหว่างชั้นเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง มีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายที่9แก่งก้าวหน้า และกลุ่มเครือข่ายที่10พลังแก่ง ใช้ระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อเป็นข้อมูลสะท้อนกลับในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ด้วยการเยี่ยมบ้าน สัมภาษณ์ผู้ปกครอง มีการประเมินความพึงพอใจจากผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปีการศึกษาละ1ครั้ง

 

     โรงเรียนมีแนวทางในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองอยู่เสมอ นิเทศ กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง สนับสนุนให้มีการนำผลการทำวิจัยในชั้นเรียนมาวิเคราะห์และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษาต่อไป ประสานความร่วมมือการจัดการเรียนรู้จากผู้ปกครอง ภูมิปัญญาท้องถิ่นและหน่วยงาน องค์กร สถานบันการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถด้านต่างๆ ทั้งทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต คณะครูร่วมPLCเพื่อนำความรู้และทักษะต่างๆ มาฝึกฝนนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ

ผลการดำเนินงาน  

       จากผลการประเมินด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ปีการศึกษา 2563 มีผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.00 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยมีผลการประเมินจากการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.27 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งประเมินจาก ครูทุกคนวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคลอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.40 ครูทุกคนจัดทำแผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.60 ครูทุกคนจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน ไม่มุ่งเน้นด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.80 ผลการประเมินด้านด้านการสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุขอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.85 ยังไม่บรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่สูงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งประเมินจาก ครูทุกคนรู้จักเด็กรายบุคคลและสร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัส อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.60 ครูทุกคนจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรม ความสามารถ ตอบสนองวิธีการเรียนรู้ของเด็กอย่างอิสระตามความต้องการ ความสนใจ ความสามารถตอบสนองวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.60 ครูทุกคนจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.80 ครูทุกคนจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้เลือกเล่นเรียนรู้ ลงมือกระทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.40 ผลการประเมินด้านการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.40 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งประเมินจาก ครูทุกคนจัดห้องเรียนสะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.60 ครูทุกคนจัดพื้นที่มีมุมแสดงผลงานเด็ก มุมประสบการณ์และการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.40 ครูทุกคนให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.80 ครูทุกคนใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ระยะความสนใจและวิถีการเรียนรู้ของเด็ก อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.80 ครูทุกคนใช้สื่อของเล่นที่กระตุ้นให้เด็กคิดและหาคำตอบ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.40 และผลการประเมินด้านการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.47 ยังไม่บรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่สูงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งประเมินจาก ครูประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.40 วิเคราะห์ผลการประเมินพัฒนาการโดยผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วม อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.60 นำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็กและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.40 ครูทุกคนประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงโดยคำนึงถึงศักยภาพผู้เรียนรายบุคคล และนำผลการประเมินไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง


จุดเด่น

1.โรงเรียนมีวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรที่ดี ครูมีความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ อุทิศเวลาสอนซ่อมเสริมนักเรียนในช่วงพักกลางวันและหลังเลิกเรียนอย่างสม่ำเสมอ

2.ครูพัฒนาเทคนิคการสอนและร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนางานในวิชาชีพ(PLC) อย่างสม่ำเสมอ

จุดที่ควรพัฒนา

1. ส่งเสริมให้ครูจัดทำวิจัยในชั้นเรียนให้ครบทุกชั้นเรียนและนำผลการวิจัยมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

2. ส่งเสริมให้ครูพัฒนาการจัดประสบการณ์ด้านการสร้างนวัตกรรมและสามารถนำไปสู่การขยายผล ต่อยอดความคิดได้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1Jif-1HLMbm4tdTf9YH3MhmvL0MOrw6SE?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

กระบวนการพัฒนาโดยรวม

1. ด้านคุณภาพเด็ก พัฒนาด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การแก้ปัญหา อุปสรรคของการทำงานได้ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับความจริง และสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ให้เด็กฝึกการสังเกต การคาดคะเน ค้นหาคำตอบที่สงสัยหรือทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง คิดแก้ไขปัญหาและตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ โดยใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การจัดหมู่ การสำรวจ การทำนาย การทดลอง การเชื่อมโยง การลงความเห็น การแปลความและการอภิปรายข้อมูล จัดกิจกรรมกิจกรรมการทำบุญตักบาตรทุกวันพระ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อฝึกจิตใจให้เป็นคนที่มีความอ่อนโยนและเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ด้วยการไปทำบุญ ฟังพระธรรมเทศนาและฝึกจิตเจริญปัญญาทุกวันพระ ที่วัดซอยสอง

2.โรงเรียนมีแนวทางในการพัฒนาด้านการบริหารจัดการ โดยใช้โมเดลกระบวนการบริหาร จาก"บ ว รสู่"ม ร ด กโมเดลต่อไป คือ การดูแลนักเรียนกลุ่มเสี่ยงให้สามารถศึกษาในโรงเรียนจนจบชั้น ป.6 โดยไม่ออกกลางคันและผลักดันให้นักเรียนศึกษาต่อในระดับชั้น ม.1 ทุกคน หากครอบครัวไม่สามารถส่งเสียให้ศึกษาต่อทางโลกได้ ทางโรงเรียนจะประสานความร่วมมือให้นักเรียนศึกษาต่อทางธรรมหรือการศึกษานอกระบบ การส่งเสริมด้านทักษะอาชีพให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพสุจริต รักการทำงาน ดำรงตนอยู่ในคุณธรรมอันดีงามของสังคม เพื่อการพัฒนาในประเด็นที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย จัดหาสื่อเครื่องดนตรีและนาฏศิลป์ให้เพียงพอ เชิญภูมิปัญญาท้องถิ่น/วิทยากรภายนอกมาสอนดนตรีในโรงเรียน ทางโรงเรียนยังต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม นอกจากนี้ จะระดมทรัพยากรและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้มีการจัดสร้างอาคารเรียนอนุบาล อาคารประกอบ โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของโรงเรียน เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ให้บุคลากรความพร้อมทั้งในด้านปัจจัยพื้นฐานและความสุขในการดำรงชีวิต ให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน สานสัมพันธ์บ้าน วัด โรงเรียนอย่างต่อเนื่องต่อไป

3. โรงเรียนมีแนวทางในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองอยู่เสมอ นิเทศ กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง สนับสนุนให้มีการนำผลการทำวิจัยในชั้นเรียนมาวิเคราะห์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาต่อไป ประสานความร่วมมือการจัดการเรียนรู้จากผู้ปกครอง ภูมิปัญญาท้องถิ่นและหน่วยงานองค์กร สถานบันการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถด้านต่างๆ ทั้งทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพและทักษะชีวิตคณะครูร่วมPLCเพื่อนำความรู้และทักษะต่างๆ มาฝึกฝนนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ผลการประเมินโดยภาพรวมของเด็กปฐมวัยทั้ง 3 มาตรฐาน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.36

โดยสามารถจำแนกจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาได้ดังนี้

จุดเด่น

1. เด็กสามาถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีระเบียบวินัย ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัด ดูแลรักษาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทิ้งขยะได้ถูกที่ มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยได้ตามกาลเทศะ กล่าวคำขอบคุณและร่วมร้องเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญพระบารมี ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นด้วยการเล่นและการทำกิจกรรม ทำงานร่วมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีส่วนร่วมสร้างข้อตกลง ปฏิบัติตามข้อตกลง เป็นผู้นำและผู้ตาม แก้ไขปัญหาปราศจากความรุนแรงด้วยตนเองได้

2. โรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่เข้มแข็ง บ้าน วัด โรงเรียน ร่วมกันพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนตามโมเดล จาก "บ ว ร” สู่ "ม ร ด ก” โมเดล ส่งผลให้การเด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีผลดีต่อเนื่องยาวนาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(NT) ชั้น ป.3 และ (O-NET) ชั้น ป.6 สูงกว่าระดับชาติเป็นเวลาหลายปีต่อเนื่อง

3.โรงเรียนมีวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรที่ดี ครูมีความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ อุทิศเวลาสอนซ่อมเสริมนักเรียนในช่วงพักกลางวันและหลังเลิกเรียนอย่างสม่ำเสมอ

4.ครูพัฒนาเทคนิคการสอนและร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนางานในวิชาชีพ(PLC) อย่างสม่ำเสมอ

5. โรงเรียนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการบริหารจัดการ ระบบประกันคุณภาพภายใน และการจัดประสบการณ์โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยให้แก่โรงเรียนอื่นๆ ในปีการศึกษาที่่ผ่านมา ได้แก่ โรงเรียนวัดโขดหอย และโรงเรียนวัดช้างข้าม สพป.จันทบุรี เขต 1  ในปีการศึกษา 2563 มีโรงเรียนที่มาศึกษาดูงาน ได้แก่ โรงเรียนบ้านดอนสูง สพป.ตราด   


จุดที่ควรพัฒนา

1.เด็กยังต้องได้รับการพัฒนาในการสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจได้

2.เด็กยังต้องได้รับการพัฒนาในเรื่องความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล อธิบายเชื่อมโยงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำ การคาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้

3.เด็กยังต้องได้รับการพัฒนาในเรื่องของการคิดแก้ปัญหาและการตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ยอมรับผลที่เกิดขึ้น รวมทั้งระบุปัญหาสร้างทางเลือกและวิธีการแก้ปัญหาได้

4. การบริหารจัดการงบประมาณในการส่งเสริมพัฒนาเด็กให้มีความสามารถในการพัฒนานวัตกรรม และสามารถนำไปสู่การขยายผล ต่อยอดความคิดได้

5. การบริหารจัดการให้มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมในการจัดการศึกษา เช่น อาคารประกอบ จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และเอื้อต่อการเรียนรู้ รวมถึงจัดให้มีความพร้อมในด้านปัจจัยพื้นฐานต่างๆ

6. ส่งเสริมให้ครูจัดทำวิจัยในชั้นเรียนให้ครบทุกชั้นเรียนและนำผลการวิจัยมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

7. ส่งเสริมให้ครูพัฒนาการจัดประสบการณ์ด้านการสร้างนวัตกรรมและสามารถนำไปสู่การขยายผล ต่อยอดความคิดได้




ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1e_5tCrGg3NWgQeP97l1jHMlKZ47yLKWg?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

        ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาภายใต้กระบวนการ P D C A  ได้แก่  

1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (P)

2. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่มุ่งคุณภาพมาตรฐานการศึกษา (P)

3. ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ (D)

4. ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา(C)

5. ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา (C)

6. จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง (SAR) แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาทุกปี และผดุงระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาในปีต่อไป (A)

 

        ผลการประเมินทั้งหมดที่ได้ สืบเนื่องมาจากการบริหารงานตามโมเดลการบริหาร"จาก บ ว ร สู่ ม ร ด ก” มุ่งประสานความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด และโรงเรียน ร่วมจัดการศึกษาและดำเนินงานในโครงการต่างๆ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่สนับสนุนและสอดคล้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ กิจกรรมในโครงการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดีขึ้นไปมีผลการทดสอบคุณภาพทางการศึกษาที่ได้มาตรฐานตามหลักสูตรและระดับชาติ นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ โรงเรียนมีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านซอยสอง(อภิชาติราษฎร์อุปถัมภ์) พุทธศักราช 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีการทบทวนและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฯ มีการพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฯ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Active Learning) การจัดการเรียนการสอนสองภาษา (EBE : English Bilingual Education) นักเรียนได้รับการทดสอบด้วยข้อสอบที่ได้มาตรฐานจากการทดสอบมาตรฐานปลายปี ของนักเรียนชั้น ป.2 ป.4 และ ป.5 โครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้นักเรียนมีสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้เรียนรู้ด้วยสื่อที่หลากหลาย มีโดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ เช่น การจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีทางไกลผ่านดาวเทียม(DLTV/DLIT) การใช้สื่อตามโครงการประชารัฐโดยบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น การใช้คลังข้อสอบทรูปลูกปัญญา เว็บไซต์ สสวท สะเต็มศึกษาประเทศไทย (STEM Education Thailand) และการเข้าร่วมกลุ่มวิชาการและสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ทางออนไลน์ เป็นต้น มีการจัดสื่อเทคโนโลยีและสื่อที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนให้พร้อมทุกห้องเรียน โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อสร้างความมั่นใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต่อผู้ปกครองและชุมชน ให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานกระทรวงศึกษาธิการ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่จำเป็นตามหลักสูตร รวมถึงการดำเนินงานโครงการ กิจกรรมต่างๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี โดยมีกิจกรรมในระดับสถานศึกษาและระดับชั้นเรียนดังต่อไปนี้ กิจกรรมประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน การกำหนดมาตรฐานและตั้งค่าเป้าหมายให้สอดคล้องกับการวิเคราะห์ผลและสภาพปัญหาในรอบปีที่ผ่านมา การร่วมมือในการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการประจำปี รวมถึงแผนงานและแผนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน โครงการการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมส่งเสริมผู้เรียน ด้านศิลปะ ดนตรีนาฏศิลป์ กีฬานันทนาการ)เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้พร้อมกับการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมกีฬาในโรงเรียน กิจกรรมกีฬาแก่งหางแมวเกมส์ ครั้งที่ 6 กิจกรรมวันอาเซียนและสัปดาห์วิทยาศาสตร์ กิจกรรมการเล่นดนตรีไทย (เป่าขลุ่ย) เล่นดนตรีวงดุริยางค์ กิจกรรมการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงนาฏศิลป์ไทย (รำวงมาตรฐาน) กิจกรรมทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนามลูกเสือสำรองและลูกเสือสามัญในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากิจกรรมลูกเสือไทยกิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารีสามัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ของโรงเรียนกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ โครงการส่งเสริมสนับสนุนการแข่งขันทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนด้านความเป็นเลิศในการแข่งขันทักษะทางวิชาและวิชาชีพ ได้แก่ กิจกรรมการใช้สื่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ เพื่อให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพด้านวิชาการและทักษะอาชีพ โครงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้มีแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ศาลา 80 พรรษาประชาร่วมใจ ป้ายนิเทศ โรงอาหารห้องสมุด ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านซอยสองฯ การนำนักเรียนระดับชั้น ป.1-3 ไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้โอเอซีส ซีเวิลด์ จังหวัดจันทบุรี นำนักเรียนชั้น ป.4-6 ไปทัศนศึกษาที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านของพ่อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดไชยวัฒนาราม นำนักเรียนไปทำบุญทุกวันธรรมสวนะที่วัดซอยสอง นำนักเรียนไปร่วมกิจกรรมกีฬาที่สนามกีฬาโรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร และกิจกรรมตกแต่งสวนหย่อมปลูกผักสวนครัว การนำนักเรียนชั้น ป.6 ไปเรียนรู้การทำเกษตรโดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติในชุมชนบ้านซอยสองโครงการส่งเสริมวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมฝึกทักษะอาชีพด้วยการปลูกผักสวนครัวเลี้ยงเป็ดไข่ เพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า กิจกรรมบริหารจัดการขยะ ทั้งระดับครัวเรือน ชุมชนและระดับโรงเรียนด้วยการคัดแยกขยะ กิจกรรมออมเงินและฝากเงินไว้กับสถาบันการเงินหมู่บ้าน โครงการรักการอ่านกิจกรรมบันทึกการอ่านช่วงพักกลางวันทุกวัน กิจกรรมตามโครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพิ่มทักษะในศตวรรษที่ 21 สู่ประชาคมอาเซียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง มีความสุขในการเรียนรู้ มีสมรรถนะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่21 มีความรู้ความสามารถและทักษะพื้นฐานในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีทักษะชีวิตและอาชีพ รวมถึงส่งเสริมให้นักเรียนครู ชุมชนมีความตระหนักถึงความสำคัญในการเรียนรู้ เพื่อการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ในทุกระดับชั้น กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจากสถานการณ์จำลองแบบเชิงรุกActive Learning English Time กิจกรรมวันอาเซียน กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ กิจกรรมวันเด็ก กิจกรรมนำเสนอคำศัพท์ภาษาอังกฤษทุกเช้าหน้าเสาธงโครงการโรงเรียนสุจริต พัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพผู้เรียนนักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมชีวิตชาวค่ายร่วมกับกลุ่มเพื่อน ได้ฝึกทักษะอาชีพกรีดยางพารา ปลูกผัก เลี้ยงเป็ดไข่ เพาะเลี้ยงเห็นนางฟ้า ฝึกปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากวิทยากรที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้อุปถัมภ์โรงเรียน ศิษย์เก่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน กิจกรรมการอบรมการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษาและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น กิจกรรมการเรียนการสอนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาบูรณาการการเรียนการสอนกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในระดับประถมศึกษาทุกระดับชั้น โครงการพัฒนา เด็กดีศรี "บวร” เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้รักสามัคคี มีจิตสาธารณะและเสียสละเพื่อส่วนรวม เป็นคนดีของครอบครัว ชุมชน วัดและโรงเรียน ส่งผลให้นักเรียนเป็นมรดกทางสังคมที่ดีของชุมชนและประเทศชาติเมื่อโตขึ้น อีกทั้งส่งเสริมความร่วมมือช่วยเหลือในการพัฒนาโรงเรียนในด้านต่างๆ และความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียน วัด ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยการจัดกิจกรรม พานักเรียนไปทำบุญที่วัดซอยสองทุกวันธรรมสวนะ กิจกรรมสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ ในวันศุกร์ กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แห่เทียนและถวายเทียนจำนำพรรษา กิจกรรมไหว้ครู กิจกรรมการศึกษาเพื่อต้านการใช้ยาเสพติดในนักเรียน (D.A.R.E.ประเทศไทย) กิจกรรมทำบุญวันรับมอบอาคารเรียนปฐมวัย และอาคารพุทธิญาณวงศ์ กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติและทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน (ได้รับความอนุเคราะห์จากภาคส่วนราชการ บริษัท ห้าง ร้าน เอกชน ชุมชนบ้านซอยสองและชุมชนใกล้เคียง ศิษย์เก่า) กิจกรรมทำบุญวันออกพรรษาและตักบาตรเทโวโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อช่วยเหลือให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกันในตนเองที่ดี ได้รับความดูแลเอาใจใส่จากทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้นักเรียนมีความเข้มแข็ง มีความมั่นใจ ใฝ่ดีและมีความพร้อมในการมาเรียนอย่างมีความสุข โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ การรับทุนการศึกษาจากคณะสงฆ์อำเภอแก่งหางแมว ทุนการศึกษาจากพระครูพุทธิญาณวงศ์ เจ้าคณะตำบล เขาวงกต เจ้าอาวาสวัดซอยสอง และพระไพศาล รุจิธมฺโม หัวหน้าที่พักสงฆ์เขาทรัพย์ นักเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ พระครูพุทธิญาณวงศ์ เจ้าคณะตำบลเขาวงกต เจ้าอาวาสวัดซอยสอง นำข้าวสาร อาหารแห้ง และขนมมามอบให้นักเรียนอยู่เสมอและมีผู้ใจบุญมาเลี้ยงอาหารนักเรียนในบางโอกาสกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน และประสานผู้มีจิตอันเป็นกุศลสร้างบ้านพักอาศัยให้นักเรียน ที่ไม่มีบ้าน กิจกรรมเขียนจดหมายถึงผู้อุปการะและรับความช่วยเหลือจากผู้อุปการะในโครงการแก่งหางแมวADP มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย กิจกรรมปัจฉิมนิเทศและแนะแนวการศึกษาต่อ "ส่งหนูสู่อ้อมอกแม่” โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เพื่อพัฒนาด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนให้พร้อมต่อการเรียนรู้และมีความสุขในการเรียน ด้วยกิจกรรมต่อไปนี้ กิจกรรมฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อและอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเอง ให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กิจกรรมการตรวจสุขภาพนักเรียน กิจกรรมกำจัดเหา กิจกรรมการตรวจฟันและอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเรื่องการแปรงฟันอย่างถูกวิธีกิจกรรมการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ดูแลสวนผลไม้ของโรงเรียนให้สวยงาม ร่มรื่น ปลอดภัย กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและแหล่งแพร่เชื้อโรค การฉีดพ่นหมอกควันป้องกันยุงลาย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลสามพี่น้องร่วมกับ อสม.บ้านซอยสอง กิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียนโดยเจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านซอยสองและเขาวงกต กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ งานมหกรรมกีฬาแก่งหางแมวเกมส์ ครั้งที่ 6 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านซอยสอง กิจกรรม Big Cleaning กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียน อีกทั้งนักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะและความสามารถจากการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านต่างๆ ตามระบบประกันคุณภาพภายในชั้นเรียนทุกห้องเรียนดังต่อไปนี้ กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการลงมือปฏิบัติและการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก(Active Learning) กิจกรรม การเรียนการสอนโดยใช้การสอนแบบโครงงาน (Problem-Based Learning) กิจกรรมการเรียนแบบการใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creative-Based Learning) การเรียนรู้ด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อยประถมศึกษาและกิจกรรมการฝึกทักษะต่างๆ ด้วยการจำลองสถานการณ์ การแสดงบทบาทสมมติ (Role-Play) กิจกรรมEnglish Time เพื่อฝึกทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ กิจกรรมภาษาอังกฤษหน้าแถวตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียนและก่อนกลับบ้านในตอนเย็น กิจกรรมภาษาไทยและภาษาอังกฤษวันละคำ ได้เรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งสื่อสภาพจริง สื่อจำลอง และสื่อเทคโนโลยี นักเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการสอนซ่อมเสริมที่สม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา 

       นอกจากนี้ยังได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยการสร้างห้องเรียน On line ผ่าน กลุ่มไลน์แอพลิเคชั่นและ เฟสบุค สอนโดยใช้สื่อของจริงรอบตัวที่บ้านของนักเรียนผ่านเครื่องมือสื่อสารด้านเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์พกพา เป็นต้น โดยขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละครอบครัว และครอบครัวใดที่ไม่มีความพร้อมก็จะจัดการเรียนรู้แบบ On hand ผ่านการโทรศัพท์หรือพบปะสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

 

 

 

ผลการดำเนินงาน  

มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพของผู้เรียน

1.1 ด้านผลสัมฤทธิทางวิชาการของผู้เรียน

       จากผลการประเมินด้านคุณภาพผู้เรียนในปีการศึกษา2563 มีผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 89.20 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีผลการประเมินแยกเป็น 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ85.10 ซึ่งยังไม่บรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และ 2)ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 93.30 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนมีผลการประเมินตามตัวชี้วัดต่างๆ จากการประเมินนักเรียนรายบุคคลในทุกระดับชั้นซึ่งประเมินจากความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมถึงการคิดคำนวณของนักเรียนอยู่ในระดับ ดีเลิศ คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.12 ความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาซึ่งประเมินได้จากการที่นักเรียนร้อยละ 80 มีผลงาน/ชิ้นงานจากการเรียนตามหลักสูตรที่แสดงถึงการใช้ความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง มีผลการประเมิน อยู่ในระดับ ดีเลิศ คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 88.50 ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ซึ่งประเมินจากการที่นักเรียนทุกคน มีผลงาน/ชิ้นงานจากการทำโครงงาน (กลุ่มหรือเดี่ยว) และสามารถอธิบายหลักการ แนวคิด ขั้นตอนการทำงาน และปัญหาอุปสรรคของการทำงานได้ นักเรียนร้อยละ 85.74 มีผลงาน/โครงงานที่นำไปสู่การขยายผล/ต่อยอดความคิดได้ อยู่ในระดับ ดีเลิศ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารซึ่งประเมินจากนักเรียนร้อยละ 100 สามารถสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและสรุปความรู้ด้วยตนเองได้ นักเรียนร้อยละ 100 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ได้และนักเรียนร้อยละ 86.59 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย อยู่ในระดับ ดีเลิศ

      นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งประเมินจากนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1-6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรเฉลี่ยรวมทุกวิชารายชั้นร้อยละ 81.14 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 75 ขึ้นไป นักเรียนร้อยละ 100 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยรวมตามหลักสูตรสถานศึกษาตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 75.00 ขึ้นไป

แสดงโดยตารางดังต่อไปนี้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามหลักสูตรของนักเรียนชั้น ป.1-6 รวมเฉลี่ยทุกวิชาร้อยละ81.14

ผลการเรียนเฉลี่ยตามหลักสูตรสถานศึกษาของนักเรียนชั้น ป.1-6 ระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 100.00

ชั้น

ภาษาไทย

คณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์ฯ

สังคมศึกษาฯ

ประวัติศาสตร์

สุขศึกษาฯ

ศิลปะ

การงานฯ

ภาษาอังกฤษ

รวมเฉลี่ย

ป.1

81.58

75.08

77.75

83.00

82.17

87.75

83.83

77.17

77.25

80.62

ป.2

77.78

79.33

77.44

83.00

81.11

84.89

86.44

83.33

75.67

81.00

ป.3

81.89

83.00

79.33

77.56

77.89

81.11

82.22

83.33

82.56

80.99

ป.4

80.87

76.90

76.72

89.50

81.67

82.83

82.17

85.67

77.80

81.57

ป.5

78.20

78.00

79.60

80.00

77.80

88.80

83.20

87.00

78.80

81.27

ป.6

78.57

82.14

79.19

75.86

83.43

80.86

84.86

81.71

85.71

81.37

รวม

79.81

79.08

78.34

81.49

80.68

84.37

83.79

83.04

79.63

81.14


ชั้


       นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลการทดสอบ
NT เฉลี่ยร้อยละ 55.16 ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ที่ร้อยละ 50 ขึ้นไป นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 100.00 มีระดับผลการทดสอบระดับชาติNT ตั้งแต่ระดับพอใช้ ขึ้นไป (ยึดเกณฑ์สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.) ซึ่งบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 50 ขึ้นไปแสดงโดยตารางต่อไปนี้

ระดับ

คะแนนเฉลี่ยร้อยละ

ด้านคณิตศาสตร์

ด้านภาษาไทย

รวมทั้งสองด้าน

โรงเรียน

47.44

62.88

55.16

เขตพื้นที่

49.74

53.15

51.44

จังหวัด

44.30

50.14

47.22

ศึกษาธิการภาค

40.09

47.70

43.90

สังกัด

41.30

47.76

44.53

ประเทศ

40.47

47.46

43.97

หมายเหตุ คะแนนเฉลี่ยทั้ง 2ด้าน ระดับโรงเรียนสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ สูงกว่าระดับจังหวัด สูงกว่าระดับ

ศึกษาธิการภาค สูงกว่าระดับสังกัดและสูงกว่าระดับประเทศ

       นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบระดับชาติ O-NET เฉลี่ยรายชั้นร้อยละ 58.07 บรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 50 ขึ้นไป นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 100.00 มีระดับผลการทดสอบระดับชาติONET ตั้งแต่ระดับพอใช้ ขึ้นไป (ยึดเกณฑ์สำนักทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ สทศ.) ซึ่งบรรลุ ค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 50 ขึ้นไป แสดงโดยตารางดังต่อไปนี้

ระดับ

คะแนนเฉลี่ยร้อยละ

ภาษาไทย

คณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์

ภาษาอังกฤษ

เฉลี่ย

โรงเรียน

70.29

36.43

51.99

73.57

58.07

ขนาดโรงเรียน

53.37

27.13

36.37

36.14

38.25

ที่ตั้งโรงเรียน

57.50

28.86

38.45

42.37

41.80

จังหวัด

60.64

33.71

41.09

50.11

46.39

สังกัด

54.96

28.59

37.64

38.87

40.02

ภาค

58.54

31.00

40.18

48.03

34.39

ประเทศ

56.20

29.99

38.78

43.55

42.13

เพิ่ม/ลด

เทียบกับระดับประเทศ

+14.09

+6.44

+13.21

+30.02

+15.94


หมายเหตุ

1. คะแนนเฉลี่ยทุกวิชาของนักเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยทุกระดับ

2. คะแนนเฉลี่ย 4 วิชาของนักเรียน สูงกว่าร้อยละ 50.00

       นอกจากนี้ ความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ81.52 นักเรียนทุกคนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพอย่างน้อย 1 อย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนมีความพร้อมในการศึกษาต่อในสายการเรียนที่ตนถนัด
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1km6ddnuxyAajK9zQ9hzIV3VCbhS7hqFk?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา  

ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาภายใต้กระบวนการ P D C A ได้แก่

1.กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (P)

2.จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่มุ่งคุณภาพมาตรฐานการศึกษา (P)

3.ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ (D)

4.ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา(C)

5.ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา (C)

6.จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง (SAR)แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาทุกปี และผดุงระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาในปีต่อไป(A)

       ผลการประเมินทั้งหมดที่ได้ สืบเนื่องมาจากการบริหารงานตามโมเดลการบริหาร"จาก บ ว ร สู่ ม ร ด ก” มุ่งประสานความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด และโรงเรียน ร่วมจัดการศึกษาและดำเนินงานในโครงการต่างๆ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่สนับสนุนและสอดคล้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ กิจกรรมในโครงการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดีขึ้นไปมีผลการทดสอบคุณภาพทางการศึกษาที่ได้มาตรฐานตามหลักสูตรและระดับชาติ นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ โรงเรียนมีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านซอยสอง(อภิชาติราษฎร์อุปถัมภ์) พุทธศักราช2563ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551มีการทบทวนและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฯ มีการพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฯ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Active Learning)การจัดการเรียนการสอนสองภาษา(EBE : English Bilingual Education)นักเรียนได้รับการทดสอบด้วยข้อสอบที่ได้มาตรฐานจากการทดสอบมาตรฐานปลายปี ของนักเรียนชั้น ป.2 ป.4 และ ป.5โครงการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้นักเรียนมีสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้เรียนรู้ด้วยสื่อที่หลากหลาย มีโดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ เช่นการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีทางไกลผ่านดาวเทียม(DLTV/DLIT)การใช้สื่อตามโครงการประชารัฐโดยบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น การใช้คลังข้อสอบทรูปลูกปัญญา เว็บไซต์ สสวท สะเต็มศึกษาประเทศไทย(STEM Education Thailand)และการเข้าร่วมกลุ่มวิชาการและสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ทางออนไลน์ เป็นต้น มีการจัดสื่อเทคโนโลยีและสื่อที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนให้พร้อมทุกห้องเรียนโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อสร้างความมั่นใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต่อผู้ปกครองและชุมชน ให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานกระทรวงศึกษาธิการ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่จำเป็นตามหลักสูตร รวมถึงการดำเนินงานโครงการ กิจกรรมต่างๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี โดยมีกิจกรรมในระดับสถานศึกษาและระดับชั้นเรียนดังต่อไปนี้ กิจกรรมประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน การกำหนดมาตรฐานและตั้งค่าเป้าหมายให้สอดคล้องกับการวิเคราะห์ผลและสภาพปัญหาในรอบปีที่ผ่านมา การร่วมมือในการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการประจำปี รวมถึงแผนงานและแผนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนโครงการการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมส่งเสริมผู้เรียน ด้านศิลปะ ดนตรีนาฏศิลป์ กีฬานันทนาการ)เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้พร้อมกับการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมกีฬาในโรงเรียน กิจกรรมกีฬาแก่งหางแมวเกมส์ ครั้งที่ 6 กิจกรรมวันอาเซียนและสัปดาห์วิทยาศาสตร์ กิจกรรมการเล่นดนตรีไทย (เป่าขลุ่ย) เล่นดนตรีวงดุริยางค์ กิจกรรมการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงนาฏศิลป์ไทย (รำวงมาตรฐาน) กิจกรรมทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนามลูกเสือสำรองและลูกเสือสามัญในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากิจกรรมลูกเสือไทยกิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารีสามัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ของโรงเรียนกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมสนับสนุนการแข่งขันทางวิชาการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนด้านความเป็นเลิศในการแข่งขันทักษะทางวิชาและวิชาชีพ ได้แก่ กิจกรรมการใช้สื่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ เพื่อให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพด้านวิชาการและทักษะอาชีพโครงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้มีแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ศาลา80พรรษาประชาร่วมใจ ป้ายนิเทศ โรงอาหารห้องสมุด ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านซอยสองฯ การนำนักเรียนระดับชั้น ป.1-3ไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้โอเอซีส ซีเวิลด์ จังหวัดจันทบุรี นำนักเรียนชั้น ป.4-6ไปทัศนศึกษาที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านของพ่อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดไชยวัฒนาราม นำนักเรียนไปทำบุญทุกวันธรรมสวนะที่วัดซอยสอง นำนักเรียนไปร่วมกิจกรรมกีฬาที่สนามกีฬาโรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร และกิจกรรมตกแต่งสวนหย่อมปลูกผักสวนครัว การนำนักเรียนชั้น ป.6 ไปเรียนรู้การทำเกษตรโดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติในชุมชนบ้านซอยสองโครงการส่งเสริมวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงกิจกรรมฝึกทักษะอาชีพด้วยการปลูกผักสวนครัวเลี้ยงเป็ดไข่ เพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า กิจกรรมบริหารจัดการขยะ ทั้งระดับครัวเรือน ชุมชนและระดับโรงเรียนด้วยการคัดแยกขยะ กิจกรรมออมเงินและฝากเงินไว้กับสถาบันการเงินหมู่บ้านโครงการรักการอ่านกิจกรรมบันทึกการอ่านช่วงพักกลางวันทุกวัน กิจกรรมตามโครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้แบบActive Learningเพิ่มทักษะในศตวรรษที่ 21 สู่ประชาคมอาเซียนเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง มีความสุขในการเรียนรู้ มีสมรรถนะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่21มีความรู้ความสามารถและทักษะพื้นฐานในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีทักษะชีวิตและอาชีพ รวมถึงส่งเสริมให้นักเรียนครู ชุมชนมีความตระหนักถึงความสำคัญในการเรียนรู้ เพื่อการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้แบบActive Learningในทุกระดับชั้น กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจากสถานการณ์จำลองแบบเชิงรุกActive Learning English Timeกิจกรรมวันอาเซียน กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ กิจกรรมวันเด็ก กิจกรรมนำเสนอคำศัพท์ภาษาอังกฤษทุกเช้าหน้าเสาธงโครงการโรงเรียนสุจริต พัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพผู้เรียนนักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมชีวิตชาวค่ายร่วมกับกลุ่มเพื่อน ได้ฝึกทักษะอาชีพกรีดยางพารา ปลูกผัก เลี้ยงเป็ดไข่ เพาะเลี้ยงเห็นนางฟ้า ฝึกปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากวิทยากรที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้อุปถัมภ์โรงเรียน ศิษย์เก่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน กิจกรรมการอบรมการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษาและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น กิจกรรมการเรียนการสอนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาบูรณาการการเรียนการสอนกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในระดับประถมศึกษาทุกระดับชั้นโครงการพัฒนา เด็กดีศรี "บวร”เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้รักสามัคคี มีจิตสาธารณะและเสียสละเพื่อส่วนรวม เป็นคนดีของครอบครัว ชุมชน วัดและโรงเรียน ส่งผลให้นักเรียนเป็นมรดกทางสังคมที่ดีของชุมชนและประเทศชาติเมื่อโตขึ้น อีกทั้งส่งเสริมความร่วมมือช่วยเหลือในการพัฒนาโรงเรียนในด้านต่างๆ และความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียน วัด ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยการจัดกิจกรรม พานักเรียนไปทำบุญที่วัดซอยสองทุกวันธรรมสวนะ กิจกรรมสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ ในวันศุกร์ กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แห่เทียนและถวายเทียนจำนำพรรษา กิจกรรมไหว้ครู กิจกรรมการศึกษาเพื่อต้านการใช้ยาเสพติดในนักเรียน (D.A.R.E.ประเทศไทย) กิจกรรมทำบุญวันรับมอบอาคารเรียนปฐมวัยและอาคารพุทธิญาณวงศ์ กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติและทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน (ได้รับความอนุเคราะห์จากภาคส่วนราชการ บริษัท ห้าง ร้าน เอกชน ชุมชนบ้านซอยสองและชุมชนใกล้เคียง ศิษย์เก่า) กิจกรรมทำบุญวันออกพรรษาและตักบาตรเทโวโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อช่วยเหลือให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกันในตนเองที่ดี ได้รับความดูแลเอาใจใส่จากทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้นักเรียนมีความเข้มแข็ง มีความมั่นใจ ใฝ่ดีและมีความพร้อมในการมาเรียนอย่างมีความสุข โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ การรับทุนการศึกษาจากคณะสงฆ์อำเภอแก่งหางแมว ทุนการศึกษาจากพระครูพุทธิญาณวงศ์ เจ้าคณะตำบล เขาวงกต เจ้าอาวาสวัดซอยสอง และพระไพศาล รุจิธมฺโม หัวหน้าที่พักสงฆ์เขาทรัพย์ นักเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ พระครูพุทธิญาณวงศ์ เจ้าคณะตำบลเขาวงกต เจ้าอาวาสวัดซอยสอง นำข้าวสาร อาหารแห้ง และขนมมามอบให้นักเรียนอยู่เสมอและมีผู้ใจบุญมาเลี้ยงอาหารนักเรียนในบางโอกาสกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน และประสานผู้มีจิตอันเป็นกุศลสร้างบ้านพักอาศัยให้นักเรียน ที่ไม่มีบ้าน กิจกรรมเขียนจดหมายถึงผู้อุปการะและรับความช่วยเหลือจากผู้อุปการะในโครงการแก่งหางแมวADPมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยกิจกรรมปัจฉิมนิเทศและแนะแนวการศึกษาต่อ "ส่งหนูสู่อ้อมอกแม่”โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนาด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนให้พร้อมต่อการเรียนรู้และมีความสุขในการเรียน ด้วยกิจกรรมต่อไปนี้กิจกรรมฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อและอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเอง ให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)กิจกรรมการตรวจสุขภาพนักเรียน กิจกรรมกำจัดเหา กิจกรรมการตรวจฟันและอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเรื่องการแปรงฟันอย่างถูกวิธีกิจกรรมการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ดูแลสวนผลไม้ของโรงเรียนให้สวยงามร่มรื่น ปลอดภัย กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและแหล่งแพร่เชื้อโรค การฉีดพ่นหมอกควันป้องกันยุงลาย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลสามพี่น้องร่วมกับ อสม.บ้านซอยสอง กิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียนโดยเจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านซอยสองและเขาวงกต กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ งานมหกรรมกีฬาแก่งหางแมวเกมส์ ครั้งที่6กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านซอยสอง กิจกรรมBig Cleaningกิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียน อีกทั้งนักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะและความสามารถจากการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านต่างๆ ตามระบบประกันคุณภาพภายในชั้นเรียนทุกห้องเรียนดังต่อไปนี้ กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการลงมือปฏิบัติและการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก(Active Learning)กิจกรรม การเรียนการสอนโดยใช้การสอนแบบโครงงาน(Problem-Based Learning)กิจกรรมการเรียนแบบการใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน(Creative-Based Learning)การเรียนรู้ด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อยประถมศึกษาและกิจกรรมการฝึกทักษะต่างๆ ด้วยการจำลองสถานการณ์ การแสดงบทบาทสมมติ(Role-Play)กิจกรรมEnglish Timeเพื่อฝึกทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ กิจกรรมภาษาอังกฤษหน้าแถวตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียนและก่อนกลับบ้านในตอนเย็น กิจกรรมภาษาไทยและภาษาอังกฤษวันละคำ ได้เรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งสื่อสภาพจริง สื่อจำลอง และสื่อเทคโนโลยี นักเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการสอนซ่อมเสริมที่สม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา นอกจากนี้ยังได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยการสร้างห้องเรียน On line ผ่าน กลุ่มไลน์แอพลิเคชั่นและ เฟสบุค สอนโดยใช้สื่อของจริงรอบตัวที่บ้านของนักเรียนผ่านเครื่องมือสื่อสารด้านเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์พกพา เป็นต้น โดยขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละครอบครัว ซึ่งครูประจำชั้นและครูผู้สอนได้สอดแทรกคุณธรรมในการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะและปลอดภัยสำหรับนักเรียน รวมถึงการใช้คำและภาษาในการพูดสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียไปด้วย

 

ผลการดำเนินงาน  
1.2  ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 
        มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 93.30 โดยประเมินจากการมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด พิจารณาจากนักเรียนร้อยละ 89.35 ขึ้นไป รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ นักเรียนร้อยละ 89.77 มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย พิจารณาจากนักเรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ท้องถิ่น นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมไทยในท้องถิ่นและแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสม มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.03 นักเรียนร้อยละ 95.88 สามารถรำไทยได้อย่างน้อย 1 ประเภท และนักเรียนร้อยละ 96.66 เล่นดนตรีไทยได้อย่างน้อย1 ประเภท มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม นักเรียนยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 93.81 พิจารณาจากนักเรียนทุกคนมีน้ำใจต่อกัน ยอมรับความแตกต่างทั้งกายภาพ ความสามารถ วัฒนธรรม และความคิดเห็นที่แตกต่างกัน นักเรียนสามารถทำงานกลุ่มหรือทำงานต่างๆ ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข นักเรียนมีสุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 93.03 พิจารณาจากนักเรียนมีร่างกายแข็งแรง ภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีสมรรถภาพทางกายดี ไม่ข้องเกี่ยวสิ่งเสพติดและไม่แก้ปัญหาโดยไม่ใช้ ความรุนแรง ร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี มีจิตสาธารณะ ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ มีใจรักในการช่วยเหลือผู้อื่น มีใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความกตัญญู รักถิ่นที่อยู่ ร่วมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1km6ddnuxyAajK9zQ9hzIV3VCbhS7hqFk?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา  

        ผลการประเมินทั้งหมดที่ได้ สืบเนื่องมาจากการบริหารงานตามโมเดลการบริหาร "จาก บ ว ร สู่ ม ร ด ก” ภายใต้โครงการระบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School Based Management: SBM) ตามวงจร เดมมิ่ง PDCAผ่านกระบวนการบริหารตามหลักการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพ5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 Plan (P) ทุกฝ่ายร่วมวางแผน รู้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย องค์ประกอบที่ 2 Do (D) ร่วมมือ ช่วยเหลือ ขับเคลื่อน พัฒนา องค์ประกอบที่ 3 Check (C) ร่วมสร้างคุณค่า แก้ไขเปลี่ยนแปลง ประเมินตรวจสอบ องค์ประกอบที่ 4-5Action (A) ร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กร สะท้อนปัญหา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีการนำเสนอผลงานและเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการจัดนิทรรศการและพูดนำเสนอต่อโรงเรียนต่างๆ ที่มาศึกษาดูงาน นำเสนอต่อคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) สพป.จันทบุรี เขต 1 และในที่ประชุมผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ซึ่งได้รับรางวัลสถานศึกษาที่มีระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพระดับยอดเยี่ยม (IQA Award) ประเภทสถานศึกษาขนาดเล็ก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปี 2561 รางวัลสถานศึกษาที่มีระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพระดับดี (IQA Award) ประเภทสถาน

ศึกษาขนาดเล็ก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปี 2562 นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลองค์กรคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลัง บวร ต้นแบบ จังหวัดจันทบุรี โดยโรงเรียนมีการดำเนินงานโครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่2 ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามประกาศใช้กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 และกระทรวงศึกษาธิการ มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2561 โดยผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและประกาศให้สาธารณชนรับทราบ ได้แก่ มีการกำหนดมาตรฐานและค่าเป้าหมายมาตรฐานการศึกษา มีการวิเคราะห์ จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติราชการประจำปี มีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่เป็นระบบ มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีการติดตามและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาทั้งจากหน่วยงานต้นสังกัด และคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาตามคำสั่งแต่งตั้ง มีการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (SAR) เสนอต่อสาธารณชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบรวมถึงมีการผดุงระบบประกันคุณภาพภายในในปีต่อไปด้วยการประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมวิเคราะห์ผลและสภาพปัญหาเพื่อเป็นฐานในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาในปีต่อไป นอกจากนี้โรงเรียนยังมีการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในระดับชั้นเรียน ได้แก่ การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามหลักสูตร การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ทุกระดับชั้น มีการบริหารจัดการชั้นเรียนและสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้มีการจัดการเรียนรู้ตามแผน มีการนิเทศ ติดตามและตรวจสอบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ มีการประเมินผลการเรียนรู้ และรายงานผลการจัดการเรียนรู้ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนี้โรงเรียนยังมีการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนดำเนินงานในโครงการต่างๆ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่สนับสนุนและสอดคล้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ได้แก่ โครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างเพียงพอและใช้ประโยชน์เต็มศักยภาพ มีการบริหารจัดการด้วยโปรแกรมสารสนเทศออนไลน์ต่างๆ ในการเก็บข้อมูล เช่น ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center) ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Emis) โปรแกรมระบบบริหารจัดการสถานศึกษา(School MIS) และระบบคัดกรองนักเรียนยากจน เป็นต้น โครงการการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ด้านศิลปะ ดนตรีนาฏศิลป์ กีฬาและนันทนาการ) มีการสนับสนุนงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์และประสานความร่วมมือภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา นันทนาการ นักเรียนได้แสดงออกซึ่งผลงานการเล่นดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง  การรำมโหรีอีสาน  การรำวงมาตรฐานประกอบเพลง ในพิธีส่งมอบอาคารพุทธิญาณวงศ์และอาคารเรียนระดับการศึกษาปฐมวัย โครงการส่งเสริมสนับสนุนการแข่งขันทางวิชาการด้วยการประสานความเข้าใจกับผู้ปกครองในการส่งเสริมความสามารถตามศักยภาพของนักเรียนยอมรับผลการนำเสนอผลงานด้านวิชาการและวิชาชีพในงานเปิดบ้านวิชาการ (Open House) ด้วยความสุข โครงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ร่มรื่น สะอาด ปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพมีแหล่งพักผ่อนที่เพียงพอสำหรับนักเรียนโดยได้ประสานความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้อุปถัมภ์โรงเรียน มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ มีอินเตอร์และสื่อเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอนและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า มีแหล่งสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่เข้าถึงได้ง่าย โดยทุกห้องเรียน มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต มีโปรเจคเตอร์ โทรทัศน์และเครื่องพิมพ์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ มีห้องสมุด ห้องปฏิบัติการเพียงพอและจัดกิจกรรมอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้นักเรียนทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีลานกีฬา เพื่อให้บริการแก่นักเรียนและประชาชนอย่างเพียงพอและปลอดภัย โครงการพัฒนาระบบควบคุมภายในด้วยการประกันความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในสถานศึกษาทุกกลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารงบประมาณกลุ่มบริหารวิชาการและกลุ่มบริหารทั่วไป ให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ โครงการพัสดุและสินทรัพย์ เพื่อการสนับสนุนสื่อ อุปกรณ์ รวมทั้งงบประมาณเพื่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนที่ได้ประสิทธิภาพคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน โครงการเรียนดี เรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพด้วยการจัดสรรงบประมาณตามโครงการให้กับนักเรียนทุกคนได้รับงบประมาณสนับสนุนค่าเครื่องแบบ แบบเรียน อุปกรณ์การเรียน งบประมาณในการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาวิชาการและ ICTให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ โครงการพัฒนาบุคลากร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานตรงตาม/สอดคล้องกับหน้าที่อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา การประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการในระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล (วันแห่งความสำเร็จ) เป็นต้น ครูทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม PLC อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ชั่วโมง มีเครือข่ายครูร่วมกับโรงเรียนอื่น มีการจัดทำรายงานการปฏิบัติงาน (Logbook) มี ID Plan เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง โครงการส่งเสริมวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีการประชุมสัมมนาโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการติดตามการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาองค์กรชุมชน อำเภอและจังหวัดคุณธรรมตามแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2559-2564) จังหวัดจันทบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 การศึกษาดูงานสถานศึกษาพอเพียง (โรงเรียนบ้านตาเลียว) เป็นต้น จัดฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ถอดบทเรียนเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักการ สามห่วง  สองเงื่อนไข และ สี่มิติ ซึ่งมีฐานการเรียนรู้ เห็ดนางฟ้า  เป็ดไข่  และผักสวนครัว   โครงการโรงเรียนสุจริต พัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพผู้เรียนเพื่อประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ปกครองและศิษย์เก่าร่วมจัดการเรียนรู้ทักษะวิชาการ วิชาชีพและทักษะชีวิต โครงการพัฒนาเด็กดีศรี "บวร ด้วยการจัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม โดยพานักเรียนไปทำบุญฟังพระธรรมเทศนาที่วัดทุกวันพระ สวดมนต์สรภัญญะทุกวันศุกร์ การประสานสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง พิธีมอบอาคารเรียนปฐมวัย และอาคารพุทธิญาณวงศ์ กิจกรรมวันเด็กและทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อพัฒนาการศึกษา เป็นต้น โครงการอาหารกลางวัน นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการตามโปรแกรม Thai School Lunch ทุกคน โดยได้รับงบประมาณจาก อบต.สามพี่น้อง โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อดูแลช่วยเหลือ การศึกษารายกรณีนักเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและครอบครัว โดย บ้าน วัด โรงเรียน ร่วมกันดูแลให้ความช่วยเหลือ การส่งเสริมให้นักเรียนชายที่เรียนจบชั้น ป.6 ได้บวชสามเณรภาคฤดูร้อนและเรียนบาลีเปรียญธรรม ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่สามารถส่งเสียให้เรียนตามระบบได้ การทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อพัฒนาการศึกษาการจัดหาทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มีความต้องการการช่วยเหลือ กิจกรรมปัจฉิมนิเทศแนะแนวการศึกษาต่อ "ส่งหนูสู่อ้อมอกแม่” และโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุข รพ.แก่งหางแมว รพ.สต.บ้านซอยสองและเขาวงกต ดูแลสุขภาพนักเรียนทุกปี มีห้องพยาบาลและยาสำหรับปฐมพยาบาลที่เพียงพอ มีการนิเทศโครงการปีการศึกษาละ 2 ครั้ง และสรุปผลโครงการโดยมีร่องรอยหลักฐานเอกสารที่สามารถตรวจสอบได้ โดยการดำเนินงานตามกิจกรรมของแต่ละโครงการเพื่อการสนับสนุน ส่งเสริมให้การดำเนินงานตามแผนสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

ผลการดำเนินงาน  

มาตรฐานที่ 2 ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

        จากผลการประเมินด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ในปีการศึกษา 2563มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ96.50 ซึ่งยังไม่บรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีผลการประเมินตามตัวชี้วัดต่างๆ พิจารณาผลการประเมินจากการประเมินตามระบบประกันคุณภาพภายในในรอบปีที่ผ่านมาตามประเด็นต่างๆ ได้แก่ ด้านการมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 92.02 โดยประเมินจากการที่โรงเรียนมีคำขวัญที่สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.56 โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเหมาะสม อยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของโรงเรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.75 โรงเรียนมีพันธกิจเพื่อจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของเด็กปกติและกลุ่มเป้าหมายพิเศษสอดคล้องกับวิถีของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นทุกชั้นเรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.00 นอกจากนี้ยังพิจารณาจากผลการประเมินด้านการมีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 98.72 ประเมินจากการที่โรงเรียนมีแผนระยะกลาง แผนยุทธศาสตร์สถานศึกษาที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานต้นสังกัดและแผนพัฒนาการศึกษาชาติ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.50 โรงเรียนมีแผนระยะสั้น แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และเกิดจากการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งทั้งภายในและภายนอกอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.38 โรงเรียนใช้ระบบการบริหารตามหลักระบบประกันคุณภาพภายใน PDCA และใช้โรงเรียนเป็นฐานSBM อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.81โรงเรียนเน้นกระบวนการบริหารจัดการโดยใช้ความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 99.75 โรงเรียนมีกิจกรรมนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 97.75 โรงเรียนได้รับการการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาจากคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 98.19 โรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาและการประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากหน่วยงานต้นสังกัดและองค์กรมหาชนอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 99.69 ผลการประเมินด้านการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 97.78 ประเมินจากการที่ โรงเรียนมีแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์โดยคำนึงถึงศักยภาพที่แตกต่างกันของนักเรียนรายบุคคล อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ97.44 โรงเรียนมีแผนซ่อมเสริมรายชั้นเรียนและกิจกรรมซ่อมเสริมทุกระดับชั้นอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.88 โรงเรียนมีแผน IEP โดยคำนึงถึงศักยภาพที่แตกต่างกันของนักเรียนรายบุคคล อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.19 โรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ บ้าน วัด ชุมชนและองค์กรท้องถิ่นหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.38 โรงเรียนประสานความร่วมมือจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ ร่วมจัดการศึกษา อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.31 และโรงเรียนจัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยพานักเรียนไปทำบุญฟังพระธรรมเทศนาที่วัดทุกวันพระฝึกจิตและเจริญปัญญาอยู่ในระดับยอดเยี่ยมคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 99.50 ผลการประเมินด้านพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.50 โดยประเมินจากการที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการอบรมตรงตาม/สอดคล้องกับหน้าที่ที่ปฏิบัติ อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 99.06 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมPLC อย่างน้อย สัปดาห์ละ 2-3 ชั่วโมง และมีเครือข่ายครูร่วมกับโรงเรียนอื่น อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.13 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนจัดทำรายงานการปฏิบัติงาน (Logbook) เพื่อพัฒนาตนเอง อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.31 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมี ID Plan เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 99.50 มีผลการประเมินด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.78 โดยประเมินจากโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น ปลอดภัย มีแหล่งพักผ่อนที่เพียงพอสำหรับนักเรียนและมีแหล่งสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่เข้าถึงได้ง่าย อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.38 โรงเรียนมีห้องสมุดห้องปฏิบัติการเพียงพอและจัดกิจกรรมอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้นักเรียนทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.00 โรงเรียนจัดให้ทุกห้องเรียนมีอินเตอร์และสื่อเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอนและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.63 โรงเรียนมีลานกีฬาเพื่อให้บริการแก่นักเรียนและประชาชนอย่างเพียงพอและปลอดภัย อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.13 และมีผลการประเมินด้านการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.19 โดยประเมินจากการที่โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.25 โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างเพียงพอและใช้ประโยชน์เต็มศักยภาพ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.13

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1LB5ezy9Sw-DMeVZfgt5nZ3sXeAhY8Zo2?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา  

        ผลการประเมินทั้งหมดที่ได้สืบเนื่องมาจากการดำเนินงานในโครงการต่างๆ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่สนับสนุนและสอดคล้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน โครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน โครงการการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการส่งเสริมสนับสนุนการแข่งขันทางวิชาการ โครงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้ โครงการส่งเสริมวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โครงการรักการอ่าน โครงการส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active Learningเพิ่มทักษะในศตวรรษที่ 21 สู่ประชาคมอาเซียน โครงการโรงเรียนสุจริตพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพผู้เรียนโครงการพัฒนาบุคลากร โครงการพัฒนาเด็กดีศรี"บวร โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยการดำเนินงานตามกิจกรรมในโครงการ ได้แก่ การมีแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ที่คำนึงถึงศักยภาพที่แตกต่างกันของนักเรียนรายบุคคล มีแผนซ่อมเสริมรายชั้นเรียนและกิจกรรมซ่อมเสริมทุกระดับชั้นอย่างต่อเนื่อง มีแผน IEP โดยคำนึงถึงศักยภาพที่แตกต่างกันของนักเรียนรายบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ บ้าน วัด ชุมชนและองค์กรท้องถิ่นหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ประสานความร่วมมือจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ ร่วมจัดการศึกษา การจัดกิจกรรมการฝึกทักษะด้านสมองและสติปัญญา ด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ออนไลน์ จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อของจริง สื่อจำลอง สื่อเทคโนโลยีต่างๆ เน้นกิจกรรมแบบเชิงรุก (Active Learning) เช่น กิจกรรมในชั้นเรียนแบบสืบค้นและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง กิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้การสอนแบบโครงงาน (Problem-Based Learning) การเรียนแบบการใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creative-Based Learning) การเรียนรู้ด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อยประถมศึกษาและกิจกรรมการฝึกทักษะต่างๆ ด้วยการจำลองสถานการณ์ การแสดงบทบาทสมมติ (Role-Play) มีการประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่ายครู ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงจากการเรียนและนำไปปรับใช้ในชีวิตได้ เช่น กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการฝึกทักษะอาชีพ (ปลูกผัก เลี้ยงเป็นไข่ เพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า) การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การป้องกันอัคคีภัย การเรียนดนตรีและคอมพิวเตอร์จากบุคลากรทางการศึกษาและครูภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ได้แก่ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด ซึ่งอยู่ในสภาพที่ใช้การได้แต่ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะห้องคอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ทั้งนี้เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซม กิจกรรมฝึกทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนการสอน เน้นความอบอุ่น สะอาด เป็นระเบียบทุกชั้นเรียน มีกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการสร้างวินัยเชิงบวก เสริมแรง ส่งเสริมศักยภาพและซ่อมเสริม มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อรับทราบสภาพปัญหา จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ เน้นการลงมือปฏิบัติจริงจากการเรียนรู้ ยึดหลักการสอนที่ใช้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์นักเรียนรายบุคคล พัฒนานักเรียนที่มีศักยภาพและซ่อมเสริมนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือจำเป็นด้านการเรียน มุ่งปลูกฝังคุณงามความดี การอยู่ร่วมกันในสังคม พัฒนานักเรียนแบบองค์รวม ได้แก่ กาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา มากกว่าการมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ด้วยกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติกิจกรรมแห่เทียนพรรษา กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ กิจกรรมอาเซียนศึกษา กิจกรรมทำบุญทุกวันพระ สวดมนต์ทำนองสรภัญญะทุกวันศุกร์ การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน โดยเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านซอยสองและเขาวงกต กิจกรรมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาที่โรงเรียนนำมาใช้ในการจัดการศึกษาได้แก่ การนำนักเรียนไปร่วมกิจกรรมกีฬาที่สนามกีฬาโรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร นำนักเรียนไปเรียนรู้ นำนักเรียนชั้น ป.1-3 ไปทัศนศึกษาและเรียนรู้นอกสถานที่ที่โอเอซีส ซีเวิล์ด อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี นำนักเรียนชั้น ป.4-6 ไปทัศนศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านของพ่อ และวัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา นำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไปเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการทำการเกษตรในหมู่บ้าน ครูตรวจสอบและประเมินผู้เรียนสม่ำเสมอ มีการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการการวิจัยในชั้นเรียนเป็นฐานโดยมีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาอย่างน้อยชั้นเรียนละ1 เรื่องต่อภาคเรียน มีการวัดและประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน จากนั้นสรุป นำผลการประเมินเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาในภาพรวมด้วยกระบวนการตามแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริงทั้งเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม จากนั้นสรุปและนำผลการประเมินเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหานักเรียนรายบุคคลด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning)มีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับแก่ผู้เรียน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างคณะครูเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และนำผลมาพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคลด้วยกิจกรรมอภิปรายกลุ่ม โฮมรูม ประชุมผู้ปกครอง ครูได้รับการนิเทศจากผู้บริหารสถานศึกษานิเทศชั้นเรียน/การจัดการเรียนการสอนภาคเรียนละ 1 ครั้ง คณะครูทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม PLC อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ชั่วโมง คณะครูมีการอบรม ประชุม สัมมนาออนไลน์ ครบทุกคน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อมูลสะท้อนกลับและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ มีการจับคู่นิเทศแบบ Coaching ระหว่างชั้นเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง มีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายที่ 9 แก่งก้าวหน้า และกลุ่มเครือข่ายที่ 10พลังแก่ง ใช้ระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อเป็นข้อมูลสะท้อนกลับในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ด้วยการเยี่ยมบ้าน สัมภาษณ์ผู้ปกครอง คัดกรองนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซ่อมเสริมและส่งต่อเพื่อให้แพทย์ช่วยเหลือ มีการประเมินความพึงพอใจจากผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปีการศึกษาละ 1 ครั้ง

 

ผลการดำเนินงาน  

มาตรฐานที่ 3 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

        จากผลการประเมินด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ปีการศึกษา 2563 มีผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.83 ซึ่งยังไม่บรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีผลการประเมินตามตัวชี้วัดต่างๆ พิจารณาจากการประเมินตามระบบประกันคุณภาพภายในรอบปี ที่ผ่านมาตามประเด็นต่างๆ ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์โดยการปฏิบัติจริงผ่านการทำโครงงาน/กิจกรรม/การฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริงและนักเรียนขยายความคิดนำไปปรับใช้ในชีวิตได้มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.56 โดยประเมินจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์โดยการปฏิบัติจริงผ่านการทำโครงงาน/กิจกรรม/ การฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง และนักเรียนขยายความคิดนำไปปรับใช้ในชีวิตได้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่ายครู ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงจากการเรียนและนำไปปรับใช้ในชีวิตได้ ด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.72 ครูและบุคลากรทุกคนสามารถใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนและสอนให้นักเรียนใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ98.33 ครูและบุคลากรทุกคน มีการใช้แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษาให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.11 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกมีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.83 โดยประเมินจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนการสอนเน้นความอบอุ่น สะอาด เป็นระเบียบ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.44 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการสร้างวินัยเชิงบวก เสริมแรง ส่งเสริมศักยภาพและซ่อมเสริมอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.22 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ เน้นการลงมือปฏิบัติจริงจากการเรียนรู้ ยึดหลักการสอนที่ใช้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ เป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.00 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนานักเรียนทั้งตัวอย่างเป็นองค์รวมได้แก่ กาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา มากกว่าการมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.67 ด้านการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.00 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการการวิจัยในชั้นเรียนเป็นฐาน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.56 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใช้กระบวนการวัดและประเมินผลทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน จากนั้นสรุปและนำผลการประเมินเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาในภาพรวม อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.56 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง ทั้งเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม จากนั้นสรุปและนำผลการประเมินเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหานักเรียนรายบุคคล อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.89 ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.50 โดยประเมินจากการที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมPLC อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ชั่วโมง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อมูลสะท้อนกลับและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.00 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการนิเทศชั้นเรียนอย่างเป็นทางการจากผู้อำนวยการหรือหัวหน้าสายงาน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.11 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีการจับคู่นิเทศแบบCoaching ระหว่างชั้นเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.56 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มโรงเรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 94.67 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนใช้ระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อเป็นข้อมูลสะท้อนกลับในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.00 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประเมินความพึงพอใจและผลสะท้อนกลับจากการประชุมผู้ปกครองและการเยี่ยมบ้านอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง อยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.67

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1LB_fNWDBkGlFvJWgYAD68Ou8lwLN3gq2?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

กระบวนการในการพัฒนาโดยรวม

1. ด้านคุณภาพผู้เรียน พัฒนาด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และสามารถอธิบายหลักการแนวคิดการทำงาน และปัญหา อุปสรรคของการทำงานได้ ด้วยการใช้เทคนิคการสอนจากการทำโครงงาน ส่งเสริมให้นักเรียนมีผลงานจากการทำโครงงานนำไปสู่การขยายผล ต่อยอดความคิดได้ ส่งเสริมให้นักเรียนพูดภาษาอังกฤษด้วยการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ ในห้องเรียน โรงเรียนมีแนวทางในยกระดับผลสัมฤทธิ์ด้วยการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทั้งระบบ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ RTชั้น ป.1 NT ชั้น ป.3 การทดสอบมาตรฐานปลายปีในชั้นอื่นๆ และ O-NET ชั้น ป.6 ร่วมกับวิธีการใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็ง สม่ำเสมอ เน้นการวิเคราะห์พื้นฐานนักเรียนรายบุคคลทั้งด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้ โดยความร่วมมือของบ้าน วัด และโรงเรียน เพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมและพัฒนาการด้านการเรียนอย่างเต็มศักยภาพ เน้นการจัดกิจกรรมให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานที่แม่นยำและฝึกคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์เป็นประจำสม่ำเสมอ ใช้กิจกรรมการสอนซ่อมเสริม ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2. ร่วมมือกับทางบ้านนำใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็ง สม่ำเสมอ มาช่วย เน้นการวิเคราะห์พื้นฐานนักเรียนรายบุคคลทั้งด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้ โดยความร่วมมือของบ้าน วัด และโรงเรียน เพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมและพัฒนาการด้านการเรียนอย่างเต็มศักยภาพ เน้นการจัดกิจกรรมสอดแทรกคุณธรรมให้นักเรียนมีคุณธรรมพื้นฐาน โรงเรียนมีแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการเล่นดนตรีและนาฏศิลป์ของนักเรียน จัดกิจกรรมชุมนุมดนตรี-นาฏศิลป์ และใช้ศิลปะ กีฬา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อฝึกสุนทรียภาพและจิตใจให้เป็นคนที่มีความอ่อนโยนและเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม หมั่นไปทำบุญ ฟังพระธรรมเทศนาและฝึกจิตเจริญปัญญาทุกวันพระ ที่วัดซอยสองและชั่วโมงจริยธรรมทุกวันศุกร์เพื่อขัดเกลาจิตใจและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

3. โรงเรียนมีแนวทางในการพัฒนาด้านการบริหารจัดการ โดยใช้โมเดลกระบวนการบริหาร จาก "บ ว รสู่ "ม ร ด กโมเดลต่อไป คือ การดูแลนักเรียนกลุ่มเสี่ยงให้สามารถศึกษาในโรงเรียนจนจบชั้น ป.6 โดยไม่ออกกลางคันและผลักดันให้นักเรียนศึกษาต่อในระดับชั้น ม.1 ทุกคน หากครอบครัวไม่สามารถส่งเสียให้ศึกษาต่อทางโลกได้ ทางโรงเรียนจะประสานความร่วมมือให้นักเรียนศึกษาต่อทางธรรมหรือการศึกษานอกระบบ การส่งเสริมด้านทักษะอาชีพให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพสุจริต รักการทำงาน ดำรงตนอยู่ในคุณธรรมอันดีงามของสังคม เพื่อการพัฒนาในประเด็นที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย จัดหาสื่อเครื่องดนตรีและนาฏศิลป์ให้เพียงพอ เชิญภูมิปัญญาท้องถิ่น/วิทยากรภายนอกมาสอนดนตรีในโรงเรียน ทางโรงเรียนยังต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม นอกจากนี้ จะระดมทรัพยากรและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้มีการจัดสร้างอาคารเรียนอนุบาล อาคารประกอบ โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของโรงเรียน เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ให้บุคลากรความพร้อมทั้งในด้านปัจจัยพื้นฐานและความสุขในการดำรงชีวิต ให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน สานสัมพันธ์บ้าน วัด โรงเรียนอย่างต่อเนื่องต่อไป

 

4. โรงเรียนมีแนวทางในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองอยู่เสมอ นิเทศ กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง สนับสนุนให้มีการนำผลการทำวิจัยในชั้นเรียนมาวิเคราะห์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาต่อไป ประสานความร่วมมือการจัดการเรียนรู้จากผู้ปกครอง ภูมิปัญญาท้องถิ่นและหน่วยงานองค์กร สถานบันการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถด้านต่างๆ ทั้งทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพและทักษะชีวิตคณะครูร่วม PLC เพื่อนำความรู้และทักษะต่างๆ มาฝึกฝนนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ

 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ผลการประเมินโดยภาพรวมของโรงเรียนทั้ง 3 มาตรฐาน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 94.18 

โดยสามารถจำแนกจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาได้ดังนี้

จุดเด่น

1. ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น มีสุขภาวะทางจิต มีภูมิคุ้มกันและมีความเป็นธรรมต่อสังคมผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านคล่อง รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ทุกคน สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดีเลิศ ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตดีมีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์

2. โรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่เข้มแข็ง บ้าน วัด โรงเรียน ร่วมกันพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนตามโมเดล จาก "บ ว ร” สู่ "ม ร ด ก” โมเดล ส่งผลให้การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีผลดีต่อเนื่องยาวนาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (NT) ชั้น ป.3 และ (O-NET) ชั้น ป.6 สูงกว่าระดับชาติเป็นเวลาหลายปีต่อเนื่อง

3. โรงเรียนมีวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรที่ดี ครูมีความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ อุทิศเวลาสอนซ่อมเสริมนักเรียนในช่วงพักกลางวันและหลังเลิกเรียนอย่างสม่ำเสมอ

4. ครูพัฒนาเทคนิคการสอนและร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนางานในวิชาชีพ(PLC) อย่างสม่ำเสมอ

5. โรงเรียนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการบริหารจัดการ ระบบประกันคุณภาพภายใน และการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้แก่โรงเรียนอื่นๆ ในปีการศึกษาที่่ผ่านมา ได้แก่ โรงเรียนวัดโขดหอย  โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร สพม.เขต 32 จ.บุรีรัมย์ และ  โรงเรียนวัดช้างข้าม  สพป.จันทบุรี เขต 1  ในปีการศึกษา 2563 มีโรงเรียนที่มาศึกษาดูงาน ได้แก่ โรงเรียนบ้านดอนสูง สพป.ตราด


 

จุดที่ควรพัฒนา

1. ผู้เรียนในระดับชั้น ป.1-ป.3 ยังต้องเร่งพัฒนาด้านการนำเสนอ การอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผลอย่างต่อเนื่อง

 

2. ผู้เรียนในระดับชั้น ป.4-ป.6 ยังต้องได้รับการพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและสามารถนำไปสู่การขยายผลต่อยอดความคิดได้

3. ผู้เรียนในระดับชั้น ป.1-ป.3 ยังต้องเร่งพัฒนาปลูกฝังระเบียบวินัย ความสะอาด คุณงามความดี และคุณธรรมพิ้นฐานในด้านต่างๆ

4. ผู้เรียนในระดับชั้น ป.4-ป.6 ยังต้องได้รับการพัฒนาความมุ่งมั่น ใฝ่เรียนรู้เพิ่มเติม รวมถึงความรับผิดชอบหน้าที่ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น รู้จักปฏิเสธสิ่งไม่ดี และมีภูมิคุ้มกันในตัวเองให้ปลอดภัยทั้งจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีและจากสังคมออนไลน์ต่างๆ

5. การบริหารจัดการงบประมาณในการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการพัฒนานวัตกรรม และสามารถนำไปสู่การขยายผล ต่อยอดความคิดได้

6. การบริหารจัดการให้มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมในการจัดการศึกษา เช่น อาคารประกอบ จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และเอื้อต่อการเรียนรู้ รวมถึงจัดให้มีความพร้อมในด้านปัจจัยพื้นฐานต่างๆ

7.ส่งเสริมให้ครูจัดทำวิจัยในชั้นเรียนให้ครบทุกชั้นเรียนและนำผลการวิจัยมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

8.ส่งเสริมให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านการสร้างนวัตกรรมและสามารถนำไปสู่การ ขยายผล ต่อยอดความคิดได้


 


 

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1zLqWejScRuP8isUXBNAJxHv5ZWmp4zu9?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/folders/1Z7Jgp-qzCS8t4OnGfkE5PM2xIpLLx6EZ?usp=sharing