รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดหนองแหวน

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

          โรงเรียนวัดหนองแหวน (วิจิตรราษฎร์บำรุง)  เป็นโรงเรียนขนาดกลางที่จัดการศึกษาระดับชั้นปฐมวัยถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีเขตบริการจัดการศึกษา5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 , 5 , 7 , 8 และ 9  ภาพรวมสภาพชุมชนมีลักษณะชุมชนชาวประมงและการเกษตร ผู้ปกครองนักเรียนประกอบอาชีพอย่างหลากหลาย อาทิเช่น รับข้าราชการ  เอกชน ประกอบธุรกิจส่วนตัว อัตราจ้าง ลูกจ้าง และเกษตรกร  ในปีการศึกษา 2563  มีข้าราชการครู จำนวน 13คน  ลูกจ้างประจำ จำนวน 1 คน ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน  2 คน นักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน  46 คน   ระดับประถมศึกษา จำนวน  125 คน และระดับมัธยมศึกษา จำนวน 76 คน มีผลการทดสอบการอ่าน (RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติ มีผลการทดสอบระดับชาติ (NT) ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ในสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ ต่ำกว่าระดับชาติ  มีผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติ  จำนวน 1 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  และผลการทดสอบระดับชาติ(O-NET) ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติทุกวิชา  ในปี พ.ศ. 2555  ได้รับการประเมินจากหน่วยงายภายนอกมีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษารอบสาม  โดยผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาในปีการศึกษา2563  มีผลการประเมินดังนี้


ระดับปฐมวัย


มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน  อยู่ในระดับคุณภาพ     ดีเลิศ

                   หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง  โรงเรียนหนองแหวน พัฒนาเด็กให้มีสุขภาพร่างกาย แข็งแรง มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ใช้มือตาประสานสัมพันธ์กันดูแลคงวามปลอดภัยของตนเองได้ดี  โดยครูปฐมวัยจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 ผ่านตารางกิจกรรมประจำวัน  บันทึกน้ำหนัก-ส่วนสูงทุกเดือน มีกิจกรรมออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพ จัดเมนูอาหารกลางวันและอาหารเสริม (นม) ให้เด็กได้รับประทานตามโภชนาการ ส่งเสริมให้เด็กมีจิตใจร่าเริงแจ่มใส มีความอดทน   กล้าพูด กล้าแสดงออก แสดงอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย โดยสอดแทรกในตารางกิจวัตรประจำวัน สนับสนุนให้ดำเนินงานตามโครงการต่างๆ เช่น กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย  กิจกรรมวิทยาการคำนวณ กิจกรรมต่างๆเหล่านี้ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ของเด็กเป็นอย่างดี ครูจัดประสบการณ์ตามแผน มีการรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา2563 ยังได้ฝึกทักษะทางสังคมผ่าน 6 กิจกรรมหลัก ปลูกฝังให้รู้จักประเพณี  วัฒนธรรม เช่น โครงการกิจกรรมวันสำคัญ โรงเรียนดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสติปัญญา ตามหลักสูตร ฝึกฝนให้เด็กมีทักษะการคิด และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

          กระบวนการบริหารและการจัดการ มีการกำหนดโครงสร้าง การบริหารงานอย่างชัดเจน เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการบริหารการจัดการศึกษา ส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 พยายามจัดครูเพียงพอ และเหมาะสมกับชั้นเรียน

          การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ครูปฐมวัยทุกคนจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ฝึกปฏิบัติจากประสบการณ์จริง มีการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล ตามสภาพจริงมีการใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย นำผลการประเมินในชั้นเรียน นอกจากนี้ครูยังจัดบรรยากาศในห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด มีมุมประสบการณ์  มีการผลิตสื่อ และนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม  

 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

          สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา ที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนา ผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในอนาคต

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  อยู่ในระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

ครูมีความมุ่งมั่นทุ่มเทการสอนอย่างเต็มเวลา  วิเคราะห์หลักสูตรอย่างรอบด้าน กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ชัดเจน  ศึกษาและวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล  และสามารถออกแบบการเรียนรู้ที่สนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมและนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการการจัดการเรียนรู้  มีการประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย   มีแผนงานให้บุคลากรทางการศึกษา  มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นทางด้านการจัดการเรียนการสอน และสามารถให้คำปรึกษากับผู้ปกครองและเด็กได้ มีความอดทน และศรัทธาในอาชีพ

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน  อยู่ในระดับคุณภาพ  ดี

ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่อง  ตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ระดับดี  รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ ด้วยตนเอง ยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และระหว่างวัย มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและเข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมด้วยความเต็มใจอยู่ตลอดเวลา  โดยมีแนวทางพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้น ด้านการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานในการทดสอบระดับชาติ โดยเน้นเรื่องการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาได้ เช่นการเรียนการสอนแบบ Active Learning มีโครงการจัดหาสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน 

          มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ  อยู่ในระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

          สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดขอบ  มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา ที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนา ผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา  มีแผนงานสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาต่อไป

มาตรฐานที่3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  อยู่ในระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

ครูมีความมุ่งมั่นทุ่มเทการสอนอย่างเต็มเวลา  วิเคราะห์หลักสูตรอย่างรอบด้าน กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ชัดเจน  ศึกษาและวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล  วิจัยในชั้นเรียน และสามารถออกแบบการเรียนรู้ที่สนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล  มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์ที่มีการระบาดของไวรัสโคโลน่า2019  มีการประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาผู้เรียน มีแผนงานให้บุคลากรทางการศึกษา มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นทางด้านการจัดการเรียนการสอน การศึกษาต่อ  และแก้ไขปัญหาของผู้เรียนทั้งในด้านการเรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเท่าเทียมกัน ตลอดจนเชิดชูเผยแพร่บุคลากรที่มีผลงานและให้ขวัญกำลังใจ  และกระตุ้นให้บุคลากรใหม่ๆ มีโอกาสได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

บันทึกการพิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา2563

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลคุณภาพคุณภาพการศึกษา  ปีการศึกษา 2563

ประกาศมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน

ประกาศการกำหนดค่าเป้าหมายมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

 ด้านการบริหารงานวิชาการ  โรงเรียนควรมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง8 กลุ่มสาระ โดยจัดทำกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ สอนซ่อมเสริม สาระวิชาที่คะแนนต่ำลง โดยเฉพาะชั้น ป.3ชั้น ป.6 และ ม.3 ที่มีการทดสอบระดับชาติ เน้นการสอนโดยใช้สื่อและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสอน ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของไวรัส โคโลน่า 2019 ให้ครอบคลุมผู้เรียนทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามของผู้เรียนให้เป็นไปตามคุณภาพของเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 ด้านการบริหารงานบุคคล โรงเรียนควรกำหนดนโยบาย แผนงานในการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาในเรื่ององค์ความรู้ทักษะความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วยการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตลอดจนทักษะ ความสามารถในการจัดทำเครื่องมือเพื่อพัฒนาผู้เรียน ได้แก่  วิจัยในชั้นเรียน  นวัตกรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ

              ด้านการบริหารงานงบประมาณ โรงเรียนควรมีการกำหนดนโยบายด้านงบประมาณที่เน้นประโยชน์สูงสุด คือ ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีการจัดทำแผนงาน โครงการ/กิจกรรม ทีมีความสอดคล้องในการพัฒนาด้านการเรียนรู้ ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน และงานด้านสารสนเทศ เช่น การจัดทำเอกสาร หลักฐาน ต่าง ๆ ที่เป็นปัจจุบัน โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

               ด้านการบริหารงานทั่วไป โรงเรียนควรมีการจัดทำแผนงานในด้านการบริหารงานทั่วไปให้มีความสอดคล้องกับกลุ่มงานบริหารทั้ง3  กลุ่มงาน  การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาฯ  และสภานักเรียน  ในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน  ตลอดจนการพัฒนา ปรับปรุงงานด้านสารสนเทศของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว เป็นปัจจุบันและตรวจสอบได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าโรงเรียนมีนโยบาย แผนกลยุทธ์และการวางแผนงานในการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้สัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายอย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

โรงเรียนวัดหนองแหวน(วิจิตรราษฎร์บำรุง)  ที่อยู่ 1/3  ม.8 ต.  อ.นายายอาม  จ.จันทบุรี
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1  โทรศัพท์ 0-3939-8095
โทรสาร  0-3939-8095  เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล
2ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี
นักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน  46 คน   ระดับประถมศึกษา จำนวน  125 คน และระดับมัธยมศึกษา จำนวน 76 คน
 

 สภาพชุมชนโดยรวม

สภาพชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนมีลักษณะชุมชนชาวเล และชาวสวน มีประชาการโดยรวมประมาณ  700  ครอบครัว ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  (70%)  สภาพฐานะทางเศรษฐกิจโดยรวมค่อนข้างยากจน  และส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (100%)  ในชุมชนมีประเพณี/วัฒนธรรมท้องถิ่นที่รู้จักโดยทั่วไป  คือ  ขนทรายเข้าวัด  การตักบาตรเทโว

ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับการศึกษาภาคบังคับ  ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (70%) มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัวปีละ 30,000 บาท ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธจำนวนคนในครอบครัวของผู้ปกครองโดยเฉลี่ยครอบครัวละ  7  คน และมีผู้ปกครองที่มีความสามารถเป็นวิทยากร /ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้  5  คน

โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน   โรงเรียนและชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายสาขา  เจ้าอาวาสวัดหนองแหวนให้ความอนุเคราะห์ต่อทางโรงเรียนอย่างดีเยี่ยม ทางโรงเรียนเป็นแกนนำโรงเรียนเด็กพิการเรียนร่วมและโรงเรียนวิถีพุทธ จึงเป็นโอกาสที่เหมาะสมที่ทางโรงเรียนสามารถวางรากฐานการดำรงชีวิตที่มีพื้นฐานของความเมตตาของการอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณธรรม แต่โรงเรียนอยู่ในชุมชนที่อยู่กันกระจัดกระจาย  ผู้ปกครองมีฐานะค่อนข้างยากจน  ทำให้มีข้อจำกัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

ด้านการมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน  โรงเรียนมีแผนพัฒนาการศึกษา  มีแผนปฏิบัติการ  จัดทำโครงการพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย วิสัยทัศน์     พันธกิจและสนองนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด ด้านการมีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา เพื่อให้บรรลุผลการดำเนินงาน ผู้บริหารได้กระจายอำนาจการบริหารงานแบ่งงานออกเป็น  4  งาน คือ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคลากร และงานบริหารทั่วไป โดยใช้หลักการบริหารตามกลยุทธ์ของสถานศึกษาและการบริหารแบบมีส่วนร่วมซึ่งมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานและตรวจสอบงานโดยมีการ จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและร่วมกันพัฒนาสถานศึกษาปีละ 2  ครั้ง เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้ที่ประชุมและชุมชน รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบ   ด้านการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย  มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  และจัดกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพมีโครงการพัฒนาบุคลากร  จัดให้ครูได้มีการพัฒนาตนเอง การประชุม อบรม สัมมนา  อบรมคูปองครู  , ID Plan , การพัฒนาตนเองด้วยระบบออนไลน์,การพัฒนาและประเมินครูผู้ช่วยอย่างเข้ม , การทำวิทยฐานะ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ  มีโครงการพัฒนาสถานศึกษาให้มีสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ  และเอื้อต่อการเรียนรู้  ด้านการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและจัดการเรียนรู้มีการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน จัดให้มีสื่อ เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากขึ้น

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 13 0 1 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โรงเรียนวัดหนองแหวน(วิจิตรราษฎร์บำรุง) ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๑ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และเป็นกรอบในการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาและจัดการเรียนการสอนโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มีกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด  โครงสร้างเวลาเรียน  ตลอดจนเกณฑ์การวัดประเมินผลให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้โรงเรียนสามารถกำหนดทิศทางในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละระดับตามความพร้อมและจุดเน้น โดยมีกรอบแกนกลางเป็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อตอบสนองนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐  มีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมคุณภาพ มีความรู้อย่างแท้จริง และมีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑



ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

อาคารเรียนถาวร          2  หลัง
อาคารเอนกประสงค์    1  หลัง
บ้านพักครู                    1  หลัง
ส้วม                             4   หลัง

หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ภายใน

ห้องสมุด

โรงเพาะเห็ด

วัดหนองแหวน

ห้องดนตรี

ห้องสหกรณ์

ห้องคอมพิวเตอร์

ห้องวิทยาศาสตร์

สนามกีฬา

แปลงเกษตร

โรงอาหาร

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

องค์การบริหารส่วนตำบลกระแจะ

สำนักสงฆ์เขาสำเภาคว่ำ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน

แปลงสาธิตการไถกลบตอซังข้าว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลกระแจะ

ปากน้ำกระแจะ






หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดหนองแหวนฯ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมสติปัญญาที่สมวัย และความพร้อมศึกษาต่อในขั้นต่อไป ด้วยครูผู้สอนดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกทางด้านร่างกาย มีการประเมินผลและจัดทำรายงานประจำปี โดยส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์  จัดให้มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงตามปฏิทินที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง เด็กทุกคนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เด็กได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอวันละ 2 ชั่วโมง จัดอาหารเสริม (นม) เด็กทุกคนได้ดื่มทุกวันอย่างเพียงพอ มีกิจกรรมออกกำลังกายตอนเช้าหน้าเสาธงวันละ 5-10 นาที กิจกรรมแข่งขันกีฬาสีในกลุ่มโรงเรียน  สนามหญ้า ให้เด็กได้เล่นได้ออกกำลังกาย เด็กได้รับการพัฒนาสมรรถภาพทางกลไกด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการแปรงฟัน การเข้าใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม กิจกรรมสุขนิสัย ส่งเสริมให้เด็กล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร สนับสนุนพัฒนาเด็กมีพฤติกรรม ร่าเริง สดชื่น แจ่มใส แสดงออกถึงการยอมรับและชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเอง ได้เหมาะสมในทุกสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ และมีคุณลักษณะพฤติกรรมโดดเด่นชัดเจน เป็นแบบอย่างได้  มีพฤติกรรม มั่นใจในตนเอง กล้าพูด กล้าทำ กล้าแสดงออกในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ เหมาะสมกับวัยในทุกสถานการณ์ มีคุณลักษณะพฤติกรรมที่โดดเด่น มีพฤติกรรมควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัยใน ทุกสถานการณ์และเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น สนใจและเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และธรรมชาติสม่ำเสมอ มีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง และมีความสุขขณะทำ เด็กได้รับการพัฒนาสมรรถภาพทางกลไกด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะการวาดภาพ ระบายสี  กิจกรรมเต้นประกอบเพลง  กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้  กิจกรรมร่วมงานวันสำคัญต่าง ๆ  ดูแลรักษาความสะอาด  สนับสนุนพัฒนาเด็กให้สามารถจัดเก็บของเล่นของใช้ เข้าที่รู้จักการรอคอยตามลำดับก่อนหลัง ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูอาจารย์ ได้ด้วยตนเอง   มีคุณลักษณะพฤติกรรมโดดเด่น เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น เด็กสามารถบอกได้ว่าสิ่งของใดเป็นของตนเอง และสิ่งของใดเป็นของผู้อื่น และไม่พูดปด ยอมรับผิดเมื่อตนเองกระทำผิด มีความเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ให้ความร่วมมือ และช่วยเหลือผู้อื่น  ปฏิบัติด้วยตนเอง ชักชวนผู้อื่นปฏิบัติด้วย และมีคุณลักษณะพฤติกรรมโดดเด่น เป็นแบบอย่างได้ เล่นและทำงานร่วม กับผู้อื่น ยอมรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่นปฏิบัติตามข้อตกลง และเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี มีการชักชวนผู้อื่นปฏิบัติด้วย และมีคุณลักษณะพฤติกรรม โดดเด่นเป็นแบบอย่างได้  มีมารยาทในการพูด การฟัง การรับประทานอาหาร การแสดงความเคารพและเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม สนับสนุนพัฒนาเด็กให้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยความตั้งใจ ซักถามในสิ่งที่ตนเองอยากรู้ และมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัย ได้ด้วยตนเอง ชักชวนผู้อื่นปฏิบัติ และมีคุณลักษณะพฤติกรรมโดดเด่นเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น  บอกคุณลักษณะ คุณสมบัติ ความเหมือน ความแตกต่าง จำแนกประเภท จัดหมวดหมู่ และบอกความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว ชัดเจน เป็นแบบอย่างได้ ใช้ภาษาสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยภาษา ท่าทาง การเขียน สัญลักษณ์ สะท้อนความคิด ความรู้สึกภายใน เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้อย่างถูกต้องและมีคุณลักษณะพฤติกรรมโดดเด่น เป็นแบบอย่างได้  มีความสามารถในการเรียนรู้และปฏิบัติโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ได้ตามกระบวนการ กิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะด้านต่าง ๆที่เหมาะสม

ผลการดำเนินงาน  

จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จัดโครงการ/กิจกรรที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย ช่วยให้เด็ก มีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตน หลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด  เด็กมีความร่าเริงแจ่มใส     มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง  มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมกับวัย  ชื่นชมศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักธรรมชาติ  เด็กมีวินัย รับผิดชอบ  เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์  มีความซื่อสัตย์สุจริต ช่วยเหลือแบ่งปัน เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ซักถามอย่างตั้งใจ และรักการเรียนรู้ มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้    มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย  มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ คิดเป็นร้อยละ 90

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1Jaq-bZ72KDRcDkF2T7RDlO6LLgxr_yyO/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

                        โรงเรียนวัดหนองแหวนฯ ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจปรัชญา หลักการ จุดหมาย และสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และเชื่อมโยงความรู้ความเข้าใจสู่การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมประจำวัน และการประเมินพัฒนาการเด็ก ได้อย่างชัดเจน และสามารถชี้แนะผู้อื่นได้ จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา ครอบคลุมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน โดยเลือกใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน สื่อแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการสร้างข้อตกลงหรือแนวการปฏิบัติตน มีการให้รางวัลหรือชื่นชมต่อพฤติกรรมที่เหมาะสมของเด็ก บรรยายพฤติกรรมที่เหมาะสมและการให้เหตุผลที่ชัดเจนเกี่ยวกับพฤตกรรมที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมการมีวินัยในตนเองของเด็ก จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมให้เด็กมีวินัยในตนเอง  ใช้สื่อและเทคโนโลยีอย่างหลากหลาย มีคุณภาพและมีความเหมาะสมกับวัย สอดคล้องกับกิจกรรมการจัดประสบการณ์ และพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา สื่อมีความปลอดภัย และมีจำนวนเพียงพอกับเด็ก และโรงเรียนพัฒนาผู้บริหารให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถอธิบายความหมายของปรัชญา แนวคิด หลักการ และจุดหมายของการจัดการศึกษาปฐมวัย ได้อย่างชัดเจนและสามารถอธิบาย ถ่ายทอดและชี้แนะแก่ผู้อื่นได้และเป็นที่ยอมรับจากผู้เกี่ยวข้อง  มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย มีความสามารถในการแสดงทิศทางของการพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาในอนาคตที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและชุมชน  คิดริเริ่ม เทคนิค วิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย ให้ความช่วยเหลือ กระตุ้นครูและบุคลากรให้ร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย ใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ประกอบด้วย ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน และหน่วยงานอื่นได้รับรู้และให้ข้อมูลสารสนเทศ ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะรวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถให้คำแนะนำ ชี้แนะแก่ผู้บริหารสถานศึกษาอื่น ๆ ได้ เสนอและเลือกแนวทางประกอบการตัดสินใจ กำหนดนโยบายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน และดำเนินการติดตามตรวจสอบ และปรับปรุงพัฒนาโดยใช้ข้อมูลผลการประเมิน หรือผลการวิจัย ในการบริหารจัดการศึกษา ร้อยละ 80 ขึ้นไปของจำนวนโครงการ/กิจกรรมตามแผน สามารถบริหารจัดการการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ ร้อยละ 80 ขึ้นไป ของจำนวนโครงการ/กิจกรรม ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา  มีแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดดเด่น สามารถนำไปเป็นแบบอย่างแก่สถานศึกษาอื่นได้ มีการนิเทศติดตาม ประเมินการดำเนินงานตามกิจกรรมและระยะเวลาที่กำหนดในแผนงาน โครงการ ครบถ้วน มีการนิเทศอย่างเป็นระบบโดดเด่น เป็นแบบอย่างแก่สถานศึกษาอื่นได้ มีการนำผลการประเมินไปพัฒนาและปรับปรุงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรอย่างต่อเนื่องติดต่อกันไม่น้อยกว่า3 ปี ให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการในประเด็นต่อไปนี้ได้ครบถ้วน ประกอบด้วย การพัฒนาและการใช้หลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้  การสร้าง พัฒนาและการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินพัฒนาการเด็ก การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เอาใจใส่การจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยมีการติดตามกำกับ ประเมินและนำผลการประเมินไปพัฒนาหรือปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถให้คำแนะนำ ชี้แนะแก่ผู้บริหารสถานศึกษาอื่น ๆ ได้ ตามความสามารถทั้งในและนอกเวลาทำการ 

ผลการดำเนินงาน  

               จากการพัฒนาครูโดยการจัดโครง/การกิจกรรที่หลากหลาย เพื่อให้ครูเข้าใจปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัย และสามารถนามาประยุกต์ใช้ ในการจัดประสบการณ์ ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย บริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างหลากหลาย และสรุปรายงานผลพัฒนาการของเด็กแก่ผู้ปกครอง  วิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการจัดประสบการณ์ จัดสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา  มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก และผู้ปกครอง มีวุฒิและความรู้ความสามารถในด้านการศึกษาปฐมวัย เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก และจากการพัฒนาผู้บริหารโดยการจัดโครง/การกิจกรรที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจปรัชญาและหลักการ  จัดการศึกษาปฐมวัย ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นา และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาเด็กปฐมวัย  ผู้บริหารใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลการประเมินผลหรือการวิจัยเป็นฐานคิดทั้งด้านวิชาการและการจัดการ ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ผู้บริหารส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ  ผู้บริหารให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาปฐมวัย  เต็มศักยภาพและเต็มเวลา  เด็ก ผู้ปกครอง และชุมชน พึงพอใจผลการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1XoupwavYNsfTcXkKqFMQTLk2CHjRH79A/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา ประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย (เช่น ครู ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน/ผู้ทรงคุณวุฒิ) และหลักสูตรผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษานำผลการวิเคราะห์เด็ก บริบท สภาพปัญหา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา  สร้างความสอดคล้อง/สัมพันธ์ของหัวข้อสำคัญของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา(เช่น วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะที่พึงประสงค์  สาระการเรียนรู้รายปี การจัดประสบการณ์ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การประเมินพัฒนาการ การบริหารจัดการหลักสูตร เป็นต้น)  นิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา และสรุปผลทุกภาคเรียน และ/หรือทุกปีนำผลการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการใช้หลักสูตร และ/หรือผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาทุกปีการศึกษา  มีระบบและกลไกเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก และเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างชัดเจน จัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้ และความเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีการวางแผน ดำเนินงาน ตรวจสอบ และปรับปรุงการจัดกิจกรรมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสามารถเป็นแบบอย่างได้รับการยอมรับ     ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความตระหนักรู้ และเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างชัดเจน มีการกำหนดโครงการ กิจกรรม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นในการจัดการศึกษา และพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา และดำเนินการตามโครงการ กิจกรรมที่กำหนดไว้โดยทุกฝ่ายมีส่วนรวม มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงาน มีร่องรอยหลักฐานปรากฏชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงการจัดโครงการ กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีได้  มีอุปกรณ์ ของเล่น ของใช้ เครื่องนอน จำนวนเพียงพอ และขนาดเหมาะสมกับเด็ก สะอาด และปลอดภัย  มีมุมหนังสือ และจำนวนหนังสือเพียงพอ เหมาะสมกับวัย  มีพื้นที่สนามเด็กเล่น และมีเครื่องเล่นที่เหมาะสม ปลอดภัยสำหรับเด็ก มีพื้นที่สำหรับการแปรงฟัน ล้างมือ และทำความสะอาดร่างกาย พร้อมอุปกรณ์ทำความสะอาดที่จำเป็นและเหมาะสม กับเด็ก มีมุมพยาบาลหรือห้องพยาบาลที่สะอาด เหมาะสมในการความให้ช่วยเหลือเด็กเบื้องต้น

ผลการดำเนินงาน  

จากการพัฒนาการจัดโครงการ/กิจกรรที่หลากหลาย  โดยมีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา ทำให้โรงเรียนมีการปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีระบบและกลไกให้ผู้  มีส่วนร่วมทุกฝ่ายตระหนักและเข้าใจ การจัดการศึกษาปฐมวัย จัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย สร้างการมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น  จัดสิ่ง

อำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1HhqxOZEsFFRrL8zfdzCZCUlF00U4i2UU/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

         โรงเรียนวัดหนองแหวนฯ มีการวางแผนที่จะพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมสติปัญญาที่สมวัย และความพร้อมศึกษาต่อในขั้นต่อไป โดยจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายรูปแบบ ทั้งภายในสถานศึกษาและภายนอกสถานศึกษาเพื่อสร้างความยั่งยืน  วางแผนที่จะพัฒนาครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล โดยการพัฒนาครูหลากหลายรูปแบบเพื่อเป็นแกนนำในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และมีผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถ พัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาทุกปีการศึกษา  มีระบบและกลไกเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก และเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างชัดเจน จัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้ และความเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีการวางแผน ดำเนินงาน ตรวจสอบ และปรับปรุงการจัดกิจกรรมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 เด็กปฐมวัยโรงเรียนวัดหนองแวน มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านที่เหมาะสม มีทักษะในการแสวงหาความรู้ คิดแยกแยะ ตามวัย สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม มีกระบวนการบริหารจัดการที่เป็นระบบ กำหนดนโยบายและแผนที่ชัดเจนและครูนำไปปฏิบัติได้อย่างมีคุณภาพ และสนับสนุนในด้านต่าง ครูมีการจัดประสบการณ์ที่ ใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายสนองต่อความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก 
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  สถานศึกษามีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนไว้ตามวิสัยทัศน์และปรัชญา ที่ตั้งไว้ ส่งเสริมผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณมีนิสัยรักการอ่าน ฝึกผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด  แหล่งเรียนรู้อื่นๆ และสื่อต่างๆรอบตัว มีการทำแบบทดสอบ แบบฝึกทักษะ การฝึกอ่านแจกลูกสะกดคำ การฝึกเขียนสะกดคำตามคำบอก การเขียนย่อความ สรุปความ เขียนเรื่องจากภาพ การฝึกคิดเลขเร็ว เล่นเกมพัฒนาทักษะการคิด มีการทดสอบอ่านเขียนอย่างสม่ำเสมอ  ด้านการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน/โครงการ  การจัดการเรียนรู้แบบสืบค้น  การทำรายงาน การเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่ม การเขียนแผนผังความคิด และกิจกรรมการถอดบทเรียน   ด้านการมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ส่งเสริมผู้เรียนให้จัดทำสื่อการเรียนการสอน โครงงานวิทยาศาสตร์ ผลงานสิ่งประดิษฐ์ และงานฝีมือ ด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่งเสริมการสอนคอมพิวเตอร์ การใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นเพื่อการเรียนการสอน การใช้อินเตอร์เน็ตมาใช้ในการเรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นอย่างหลากหลายและทันสมัยทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก  ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา นักเรียนผ่านการเรียนรู้ตรงตามมาตรฐานและหลักสูตรร้อยละ 100 และมีผลสัมฤทธิ์ในระดับดี  ด้านการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีการจัดกิจกรรมชุมนุม กิจกรรมแนะแนว  ส่งเสริมการศึกษาต่อของนักเรียน  จัดหาวิทยากรภายนอกให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ เช่น การซ่อมเครื่องยนต์ การสอนการพิมพ์พื้นฐาน การเชื่อมโลหะ   การปลูกผักสวนครัว  ธนาคารขยะ การทำปุ๋ยหมัก
ผลการดำเนินงาน  

ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิซาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดี รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทัน สื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1t0Jdqv24MnGzCXaU1sx_Ziyq2vclcnk2/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

ด้านการมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด  ได้รับการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง และโรงเรียนคุณธรรม มีโครงการสภานักเรียน  จัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม  กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมต้านยาเสพติด กิจกรรมกีฬา ด้านความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย  มีการจัดกิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมแข่งกีฬาต้านยาเสพติดร่วมกับชุมชน กิจกรรมวันภาษาไทยการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย  มีการจัดโครงการสภานักเรียน  จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการคัดกรองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ การให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนยากจน ด้านสุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม จัดโครงการอาหารกลางวัน จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน มีการสำรวจภาวะโภชนาการนักเรียน  ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อดูผลการพัฒนาผู้เรียน และมีการวัดสมรรถภาพทางกาย นอกจากนั้นยังได้มีการตรวจสุขภาพร่างกาย เสื้อผ้า  และอบรมเรื่องโภชนาการ การป้องกันอุบัติภัย  ให้ความรู้เรื่องสารเสพติดและสิ่งมอมเมา  อบรมและปลูกฝังด้านการแต่งกาย 

ผลการดำเนินงาน  ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติด ต่างๆ เสือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์ รักการออกกำลังกาย นักเรียนทุกคน สามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละประเภท ยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษา ของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และระหว่างวัย มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและเข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมด้วยความเต็มใจอยู่ตลอดเวลา
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1dLM5jmYFbNUWQCVXhv2cHNZMkhvtdZCr/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

ด้านการมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน  โรงเรียนมีแผนพัฒนาการศึกษา  มีแผนปฏิบัติการ  จัดทำโครงการพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย วิสัยทัศน์     พันธกิจและสนองนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด ด้านการมีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา เพื่อให้บรรลุผลการดำเนินงาน ผู้บริหารได้กระจายอำนาจการบริหารงานแบ่งงานออกเป็น  4  งาน คือ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคลากร และงานบริหารทั่วไป โดยใช้หลักการบริหารตามกลยุทธ์ของสถานศึกษาและการบริหารแบบมีส่วนร่วมซึ่งมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานและตรวจสอบงานโดยมีการ จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและร่วมกันพัฒนาสถานศึกษาปีละ 2  ครั้ง เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้ที่ประชุมและชุมชน รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบ   ด้านการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย  มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  และจัดกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพมีโครงการพัฒนาบุคลากร  จัดให้ครูได้มีการพัฒนาตนเอง การประชุม อบรม สัมมนา  อบรมคูปองครู  , ID Plan , การพัฒนาตนเองด้วยระบบออนไลน์,การพัฒนาและประเมินครูผู้ช่วยอย่างเข้ม , การทำวิทยฐานะ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ  มีโครงการพัฒนาสถานศึกษาให้มีสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ  และเอื้อต่อการเรียนรู้  ด้านการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและจัดการเรียนรู้มีการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน จัดให้มีสื่อ เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากขึ้น

ผลการดำเนินงาน  

1) สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพ ปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

2) แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับ การพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและ สังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

3) สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการ ประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดขอบ

4) ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมใน การร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

5) สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา ที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

6) สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารและการจัดการเซิงระบบ โดยทุกฝ่าย มีส่วนร่วม ยึดหลัก        ธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนา ผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา

7) สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจาก เครือข่ายอุปถัมภ์ ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1e49byud-AofNyBKhMKA1YsV2MxsNB2i0/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดจริงและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้  โรงเรียนได้ส่งเสริมการเรียนการสอนแบบ Active Learning   การเรียนการสอนแบบโครงงาน  จัดกิจกรรม ทัศนศึกษา  กิจกรรมชุมนุม  และกิจกรรมลูกเสือการเข้าค่ายพักแรม   ด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้  จัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้  ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก มีกิจกรรมการนั่งสมาธิก่อนเข้าชั้นเรียน กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระประจำวัน การเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ด้านการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน  มีการวิเคราะห์หลักสูตรอย่างรอบด้าน  กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ชัดเจน  ศึกษาและวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล  วิจัยในชั้นเรียน และสามารถออกแบบการเรียนรู้ที่สนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลจัดการศึกษาและวัดผลประเมินผลตรงตามหลักสูตรมีการประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย  ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาผู้เรียนและนำผลการประเมินมาแก้ไข ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้  มีการประชุมวิชาการอย่างสม่ำเสมอ  จัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC)  มีตารางการนิเทศการสอนอย่างชัดเจนให้บุคลากร  มีความมุ่งมั่นทุ่มเทการสอนอย่างเต็มเวลา นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมและนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการการจัดการเรียนรู้ และส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาตนเองในด้านการจัดการเรียนการสอน  ด้านคุณธรรมจริยธรรม  และพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ

ผลการดำเนินงาน  

ครูมีความมุ่งมั่นทุ่มเทการสอนอย่างเต็มเวลา  วิเคราะห์หลักสูตรอย่างรอบด้าน กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ชัดเจน  ศึกษาและวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล  วิจัยในชั้นเรียน และสามารถออกแบบการเรียนรู้ที่สนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล  นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมและนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการการจัดการเรียนรู้ มีการประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย  ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาผู้เรียน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1doxpk7_fq5-SW10ifhR39qTt0ZGIH_wf/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

 ด้านการบริหารงานวิชาการ  โรงเรียนควรมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง กลุ่มสาระ โดยจัดทำกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์  สอนซ่อมเสริม สาระวิชาที่คะแนนต่ำลง โดยเฉพาะชั้น ป.3 ชั้น ป.6 และ ม.ที่มีการทดสอบระดับชาติ เน้นการสอนโดยใช้สื่อและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสอน ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของไวรัส โคโลน่า 2019 ให้ครอบคลุมผู้เรียนทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามของผู้เรียนให้เป็นไปตามคุณภาพของเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 ด้านการบริหารงานบุคคล โรงเรียนควรกำหนดนโยบาย  แผนงานในการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาในเรื่ององค์ความรู้ทักษะความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วยการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตลอดจนทักษะ ความสามารถในการจัดทำเครื่องมือเพื่อพัฒนาผู้เรียน ได้แก่  วิจัยในชั้นเรียน  นวัตกรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ

              ด้านการบริหารงานงบประมาณ  โรงเรียนควรมีการกำหนดนโยบายด้านงบประมาณที่เน้นประโยชน์สูงสุด คือ ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีการจัดทำแผนงาน โครงการ/กิจกรรม ทีมีความสอดคล้องในการพัฒนาด้านการเรียนรู้  ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน  และงานด้านสารสนเทศ เช่น การจัดทำเอกสาร หลักฐาน ต่าง ๆ ที่เป็นปัจจุบัน โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

               ด้านการบริหารงานทั่วไป  โรงเรียนควรมีการจัดทำแผนงานในด้านการบริหารงานทั่วไปให้มีความสอดคล้องกับกลุ่มงานบริหารทั้ง 3  กลุ่มงาน  การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาฯ  และสภานักเรียน  ในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน  ตลอดจนการพัฒนา ปรับปรุงงานด้านสารสนเทศของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว เป็นปัจจุบันและตรวจสอบได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าโรงเรียนมีนโยบาย แผนกลยุทธ์และการวางแผนงานในการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้สัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายอย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน

 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

    ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นในบางรายวิชา นักเรียนมีความมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออก สามารถนำเสนอผลงานของตนเองได้ ร่าเริงแจ่มใส สุขภาพกายแข็งแรง สมบูรณ์ มีทักษะทางด้านกีฬาและพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย มีทักษะด้านวิชาชีพและเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด

    ผู้บริหารมีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่นในการบริหาร สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน และคณะกรรมการสถานศึกษามีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาท)มีการปรับปรุงพัฒนาแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานหลักสูตร สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น มีการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ โดยใช้กระบวนการ PDCA เป็นหลักในการจัดการ

         ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ตั้งใจทำงานอย่างเต็มความสามารถ  จัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้ตามความสนใจของนักเรียนแต่ละคนและแสวงหาความรู้และพัฒนาตนเองจากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์การระบาดของไวรัส โคโลน่า 2019

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
  https://drive.google.com/file/d/1q0TauqRLVFIf8QrjE0aHFS7KRbDVb19I/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/12yx5WlxDaPNHS9pksS8Gb5k0nAVBHn2x/view?usp=sharing