รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดโขดหอย

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

บทสรุปของผู้บริหารสถานศึกษา

โรงเรียนวัดโขดหอย(ละเมียดราษฎร์นุเคราะห์)

ระดับการศึกษาปฐมวัย

โรงเรียนวัดโขดหอย(ละเมียดราษฎร์นุเคราะห์) จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยมีนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-3รวม 9 คน ครูผู้สอน 1 คน จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 2563 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้เด็ก ระดับปฐมวัย 9 คน มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ จำนวน 9 คน กิจกรรมหนูน้อยวัยใสใส่ใจสุขภาพ เป็นโครงการที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ส่งผลให้เด็ก ร้อยละ 89.45 สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

คุณภาพเด็กด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ โรงเรียนวัดโขดหอยได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้สนุกสนาน มีความสุขในการเรียนรู้ จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดโขดหอย ร้อยละ 89.99 มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย

คุณภาพเด็กด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดโขดหอยทุกคนช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเอง รู้จักการประหยัดพอเพียง มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน มีมารยาททางวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การทักทาย จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดโขดหอยร้อยละ 88.89 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้อย่างเหมาะสม

คุณภาพเด็กด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดโขดหอยทุกคน สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัยและพยายามค้นหาคำตอบ อ่านนิทานและเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆได้ จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดโขดหอย ร้อยละ91.58 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสม

ด้านกระบวนการจัดการบริหารและการจัดการหลักสูตรโรงเรียนวัดโขดหอยมีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นจากโครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กิจกรรมกิจกรรมบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน ส่งผลให้โรงเรียนวัดโขดหอยมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยตามพุทธศักราช 2560

ด้านการจัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียนโรงเรียนวัดโขดหอยได้มีการจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนวัดโขดหอยได้ส่งบุคคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง

ด้านส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์โรงเรียนวัดโขดหอยได้มีการพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง จากโครงการพัฒนาบุคคลากร กิจกรรมPLC กิจกรรมการประชุมสัมมนา กิจกรรมอบรมคูปองครู และกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ ส่งผลให้ครูโรงเรียนวัดโขดหอยมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง โรงเรียนวัดโขดหอยมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียนส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชนมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ จากโครงการส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้กิจกรรมปรับปรุงสภาพแวดล้อมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ส่งผลให้โรงเรียนวัดโขดหอยมีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง

การให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

โรงเรียนวัดโขดหอยมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึงจากโครงการส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ กิจกรรมจัดหาสื่อการเรียนการสอน ส่งผลให้โรงเรียนวัดโขดหอยมีการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โรงเรียนมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด ได้มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่องจากโครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ส่งผลให้โรงเรียนวัดโขดหอยมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

ด้านการจัดการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุก ๆ ด้านให้เหมาะสมกับวัย

ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบ

ด้านสังคมเด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่

ด้านสติปัญญา มีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเปิดบ้านอนุบาล ส่งผลให้โรงเรียนวัดโขดหอยได้มีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

การสร้างโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข โรงเรียนวัดโขดหอยได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคีการแบ่งปัน และการรอคอยเพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้างส่งผลให้โรงเรียนวัดโขดหอยได้มีการจัดประสบการณ์ที่สร้างโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย โรงเรียนวัดโขดหอยได้จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกันซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน นอกจากนี้โรงเรียนวัดโขดหอยมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศ แจ่มใสกว้างขวางพอเหมาะมีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใสและมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเปิดบ้านอนุบาล ส่งผลให้โรงเรียนวัดโขดหอยได้มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

ด้านการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก โรงเรียนวัดโขดหอยมีกระบวนการ การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการจัดกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถามการสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนจากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเปิดบ้านอนุบาลและกิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการ ส่งผลให้โรงเรียนวัดโขดหอยได้มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก


 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

         โรงเรียนวัดโขดหอย(ละเมียดราษฎร์นุเคราะห์) ได้ดำเนินงานด้านการสร้างความเข้มแข็งของระบบประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันโดยได้ดำเนินงานตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2562 ดังนี้

1.    กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานชาติ และมาตรฐานการศึกษาของต้นสังกัด สภาพบริบท ปัญหา ความต้องการโดยเน้นการมีส่วนร่วม

2.    การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา  

3.    ปฏิบัติงานโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนปฏิบัติการประจำปี

4.    จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ติดตามผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

5.    จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง นำมาพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา/ส่งหน่วยงานต้นสังกัด


 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

บทสรุปของผู้บริหารสถานศึกษา

โรงเรียนวัดโขดหอย(ละเมียดราษฎร์นุเคราะห์)

 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

    2.1 คุณภาพของสถานศึกษาอยู่ในระดับคุณภาพ : ดี

    2.2 หลักฐานสนับสนุน

โรงเรียนวัดโขดหอย(ละเมียดราษฎร์นุเคราะห์) จัดการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาจำนวน 24 คน ครูผู้สอน 4 คน จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR) ปีการศึกษา2563 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานอื่น ๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ดี มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านคือ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยผู้เรียนมีสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร และมีผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของผู้เรียนพัฒนาบรรลุตามเป้าหมายมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนดไว้ ผู้เรียนสามารถอ่านออกตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ ด้วยตนเอง สามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีความรู้และทักษะพื้นฐานมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยผู้เรียนยังมีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด  มีระเบียบวินัย รักท้องถิ่น มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมที่ดี

สถานศึกษาวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยมีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียน โดยใช้ข้อมูลพื้นฐาน 3ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและการเรียนรู้ด้วยกระบวนการActive Learning เน้นทักษะในการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณ ส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ ซึ่งจากการดำเนินการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2563ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (RT) ปีการศึกษา 2563ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT) ปีการศึกษา 2563ผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ

(O-NET)ปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา สภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติและทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีการบริหารงาน4แผนงานอย่างเป็นระบบ มีคณะทำงานติดตามตรวจสอบประเมินผลคุณภาพภายในและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน มีการนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน ปรับปรุง และพัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา อีกทั้งโรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่ปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตจริง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้โรงเรียนยังมีครูและบุคลากรที่มีความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพและพร้อมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยรูปแบบที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ มีการจัดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้พัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนอย่างเพียงพอ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และปลอดภัย มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

ในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนมีการจัดกิจกรรม    การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริงและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อีกทั้งมีสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้ ครูจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ 1 เรื่อง เพื่อนำผลไปดำเนินการแก้ไขผู้เรียนและชั้นเรียน โรงเรียนมีครูผู้สอนที่กำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก มีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในชั้นเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้โรงเรียนยังมีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ครูมีเครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนที่มีคุณภาพสอดคล้องกับทุกมาตรฐานและตัวชี้วัด เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้และหลากหลายตามสภาพจริง ผู้ปกครองได้รับทราบพฤติกรรมและผลการเรียนของผู้เรียน และร่วมกันกับครูเพื่อดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้ดียิ่งขึ้น โรงเรียนมีระบบนิเทศภายในด้านวิชาการ เพื่อตรวจสอบติดตามประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ของตนต่อไป อีกทั้งครูในโรงเรียนยังได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)กับครูในโรงเรียนและหน่วยงานภายนอก

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

2.3 แผนพัฒนาเพื่อให้ได้คุณภาพระดับสูงขึ้น

- แผนพัฒนาที่ 1 โรงเรียนเร่งพัฒนาการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณและการคิดวิเคราะห์

- แผนพัฒนาที่ 2 โรงเรียนศึกษาวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการประเมินระดับชาติในบางกลุ่มสาระลดลง โดยวิเคราะห์ทั้งในภาพรวมของโรงเรียนและผู้เรียนรายบุคคล เพื่อนำผลมาพัฒนาปรับปรุงการจัดการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป

- แผนพัฒนาที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

- แผนพัฒนาที่ 4 เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น และสร้างเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความเข็มแข็ง เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน

- แผนพัฒนาที่ 5 ส่งเสริมให้ครูมีเครื่องมือในการวัดผลการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ตรงตามสภาพจริง อิงตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนทันที เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง

- แผนพัฒนาที่ 6 ฝ่ายวิชาการจัดทำเครื่องมือในการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและเอกสารธุรการชั้นเรียนให้เป็นรูปแบบมาตรฐาน มีข้อมูลที่ครูผู้สอนสามารถนำมาวางแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ

- แผนพัฒนาที่ 7 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้หรือการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนมากขึ้น

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ส่วนที่1

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

1.1 ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียน วัดโขดหอย(ละเมียดราษฎร์นุเคราะห์)   ตั้งอยู่เลขที่   55    หมู่  4  ถนน .............-...........ตำบล  กระแจะ    อำเภอ   นายายอาม  จังหวัด   จันทบุรี     รหัสไปรษณีย์ 22170

โทรศัพท์   039 – 398182    โทรสาร................................-............................................

e-mail  watkhothoisch@hotmail.com website…………………..…………-………………………………

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์

โรงเรียนดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน  นักเรียนทุกคนมีความรู้คู่คุณธรรม มารยาทงามน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  สถานศึกษาน่าอยู่  ภูมิทัศน์งามสง่า  ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน  การบริหารจัดการได้มาตรฐาน  การศึกษาไทยก้าวไกลสู่อาเซียน

 

พันธกิจ

           1.จัดการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาล  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ให้มีความรู้คู่คุณธรรม เต็มตามศักยภาพ  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

            2.จัดกิจกรรมให้เด็กมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ มีมารยาทงาม  และรู้การพัฒนาตนเอง

            3.จัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามความถนัดและความต้องการ  ให้มีความชำนาญสู่การประกอบอาชีพ

            4.น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในสถานศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

            5.จัดการศึกษาให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดกิจกรรมการเรียน                  การสอน

           6.ส่งเสริมพัฒนาให้โรงเรียนมีบรรยากาศที่อื้อต่อการเรียนรู้  และจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม

           7.ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  เพื่อร่วมมือกันพัฒนาโรงเรียนและนักเรียนให้มีคุณภาพที่ดี

           8.บริหารจัดการพัฒนาครูสู่มืออาชีพ  พัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล

 

อัตลักษณ์

ยิ้มง่าย  ไหว้สวย

 

เป้าประสงค์

            1.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามหลักสูตรและเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา

           2.นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม  รับผิดชอบต่อสังคม  เป็นพลเมืองดี และมีค่านิยม                                 ที่พึงประสงค์

           3.ผู้บริหารและครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนด้วยการบรูณาการหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           4.ครูใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีการวัดและประเมินผล

ตามสภาพจริงและหลากหลายผู้บริหารและผู้ปกครองมีความพึงพอใจ  และมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนครูได้รับการพัฒนาให้เป็นมืออาชีพปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพ  และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง    

           5.อาคารสถานที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน  บรรยากาศเอื้อและเหมาะสม

ต่อการเรียนรู้

           6.นักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจ  และมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
0 3 0 2 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดโขดหอย(ละเมียดราษฎร์นุเคราะห์)

โครงสร้างเวลาเรียน ระดับประถมศึกษา


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลด้านอาคารสถานที่

  1. อาคารเรียนและอาคารประกอบ

                        - อาคารเรียน 2  หลัง  จัดเป็นห้องเรียนรวม 8  ห้อง  และห้องปฏิบัติการ   4  ห้อง ได้แก่  ห้องคอมพิวเตอร์   ห้องสมุด   ห้องสหกรณ์  ห้องพยาบาล   ห้องธุรการ

                        - อาคารประกอบ / อเนกประสงค์ 2  หลัง   ได้แก่ โรงอาหาร  หอสมุด

                   - สนาม  2  สนาม ได้แก่  สนามฟุตบอล  สนามวอลเลย์บอล

              - ส้วม   1   หลัง  รวม   9   ห้อง

              - บ้านพักครู  1  หลัง   ปัจจุบันยังใช้ประโยชน์อยู่   1   หลัง

              - เรือนเพาะชำ 1  หลัง   ปัจจุบันยังใช้ประโยชน์อยู่   1  หลัง

        2.  จำนวนห้องเรียนทั้งหมด   8  ห้องเรียน แบ่งเป็น

               ชั้น  .1  – 3  = 1 : 1  : 1 

               ชั้น  . 1 – 6  = 1 : 1 : 1 : 1 : 1 : 1

   3  ห้องสมุด แยกออกจากอาคารเรียน  ขนาด    50   ตารางเมตร  

        ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์


หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน   ได้แก่

                            - ห้องสมุด

                            - ห้องคอมพิวเตอร์

                            - ห้องจริยธรรม

                            - ห้องพยาบาล

                            - ห้องสหกรณ์

                            - สวนสมุนไพร

                            - โรงเพาะชำเห็ดนางฟ้า

                            -DLTV

                            -บ่อเลี้ยงปลา

                            - โรงเรือนเลี้ยงไก่

                            - ป้ายนิเทศ

       

 แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน ได้แก่

                            - องค์การบริหารส่วนตำบลกระแจะ

                            - ป่าชายเลน

                            - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                            - วัดโขดหอย

                            - ศูนย์วิชาการเกษตรยางตอกทอย

                             - พิพิธภัณฑ์สุสานปูหิน หมู่ที่ ๑๐

                            - โอเอซีส ซีเวิล์ด

                            -โบสถ์สีน้ำเงิน

                            - ศูนย์วิชาการเกษตรตอกทอย

                            -สถานีตำรวจภูธร นายายอาม


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

1. วิธีการพัฒนา

        ประเด็นที่ 1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

                   โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาเด็กโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการตามหน่วยการเรียนรู้โดยยึดเด็กเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมตามตารางประจำวันเพื่อให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง             มีพัฒนาการตามวัย มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โดยเน้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลของตนเองจากโรคภัยไข้เจ็บ การปฏิบัติสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตน การล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหารเพื่อสร้างสุขนิสัยที่ดี การช่วยเหลือตนเอง การออกกำลังกาย ทางโรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำสะอาด มีการตรวจความสะอาดของร่างกาย ผม เล็บมือก่อนเข้าห้องเรียนทุกวัย และมีการตรวจสุขภาพร่างกายและฟันของเด็กเป็นประจำ โดยชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง ภาคเรียนละ 2 ครั้ง เพื่อเฝ้าติดตามการเจริญเติบโตของเด็กเป็นรายบุคคล นอกจากนี้โรงเรียนจัดให้มีอาหารเสริมนมโรงเรียน ทำให้นักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูง และสมรรถภาพทางกายเป็นไปตามเกณฑ์ของกรมอนามัย จัดให้มีโครงการ/กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก เพื่อให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง มีการทรงตัวที่ดี มีการยืดหยุ่นและความคล่องแคล่วในการใช้อวัยวะต่าง ๆ เช่น โครงการหนูน้อยร่างกายแข็งแรง โครงการแข่งขันกีฬา กิจกรรมกายบริหารหน้าเสาธง กิจกรรมกลางแจ้งที่ส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกทางด้านร่างกายตามความถนัดและความสนใจ

        ประเด็นที่ 1.2มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้

                   โรงเรียนได้พัฒนาและส่งเสริมเด็กให้มีพฤติกรรมที่แสดงออกทางอารมณ์ จิตใจและความรู้สึกได้เหมาะสมกับวัย โดยดำเนินโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจของเด็กอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กมีความกล้าแสดงออก มั่นใจในตนเอง ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม อารมณ์ดี ร่าเริงแจ่มใส รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย โรงเรียนเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำชิ้นงานและจัดมุมแสดงผลงานของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กยอมรับ พอใจและภูมิใจในความสามารถและผลงานของตนเอง นอกจากนี้โรงเรียนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีสุนทรียภาพในการชื่นชมและมีความสุขกับงานศิลปะด้านต่าง ๆ เช่น

                        - ด้านศิลปะ คุณครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยบูรณาการกับศิลปะ ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมศิลปะที่หลากหลายสอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจ อีกทั้งมีการจัดกิกจรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถด้านศิลปะ เช่น การประกวดระบายสีในวันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ วันลอยกระทง และวันสำคัญทางศาสนา

                        - ด้านดนตรี โรงเรียนสนับสนุนให้มีกิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติด้วยการเปิดเพลงที่หลากหลายเหมาะสมกับเหตุการณ์ เช่น เพลงวันเด็ก เพลงวันปีใหม่ เพลงวันพ่อและวันแม่ ส่งเสริมให้เด็กแสดงออกผ่านดนตรีประกอบท่าทางในกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งสนับสนุนให้ครูผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เสียงเพลงและเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลิน

        ประเด็นที่ 1.3มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

                   โรงเรียนมีนโยบายในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์และปลูกฝังเรื่องค่านิยม 12 ประการให้แก่เด็กผ่านกิจกรรมประจำวัน และเน้นให้ครูดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการตามหน่วยการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมแสดงออกด้านสังคมได้อย่างเหมาะสมกับวัย      จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติในการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การมีวินัยในตนเอง รู้จักใช้สิ่งของอย่างประหยัดและมีความพอเพียงในตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนหรือโรงเรียน ฝึกให้เด็กสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิเป็นประจำ ฝึกให้เด็กมีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย รู้จักกล่าวคำขอบคุณเมื่อผู้ใหญ่ให้ของและกล่าวคำขอโทษ เมื่อทำผิด รู้จักแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่น ไม่นำของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ยอมรับและเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล เรียนรู้การปรับตัว ทำงานหรือกิจกรรมและเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ นอกจากนี้โรงเรียนจัดกิจกรรมและส่งเสริมให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาเป็นประจำ เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเห็นคุณค่าความสำคัญของศาสนาที่ตนนับถือ

        ประเด็นที่ 1.4มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้

                   โรงเรียนส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย โดยเน้นให้ครู  จัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิดพื้นฐาน มีความคิดรวบยอด คิดเชิงเหตุผล และรู้จักแก้ปัญหา โดยกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และสมรรถนะของเด็กปฐมวัย มีการออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติในหน่วยการเรียนรู้ต่าง ๆ จัดกิจกรรมให้เด็กได้ทดลองวิทยาศาสตร์ โดยบูรณาการกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ครูส่งเสริมให้เด็กสร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการ สนับสนุนให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านด้วยกิจกรรมการเล่านิทานโดยครูและเด็กในห้องเรียนทุกวัน กิจกรรมชวนกันอ่าน วานมาฟัง จัดให้มีมุมหนังสือในห้องเรียน จัดกิจกรรมเสรีและมุมประสบการณ์ให้เด็กได้เลือกทำตามความสนใจ สนับสนุนให้เด็กใช้สื่อเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนวัดโขดหอย (ละเมียดราษฎร์นุเคราะห์) มีผลสำเร็จของการจัดกระบวนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณภาพของเด็ก ตามประเด็นพิจารณา ดังนี้

                   ประเด็นที่1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีจำนวนเด็กที่อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 81.11 อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

                   จากการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมที่หลากหลายพัฒนาคุณภาพเด็กด้านร่างกาย ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีพัฒนาการตามวัย มีปฏิบัติสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตน การล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำสะอาดมีน้ำหนักส่วนสูง และสมรรถภาพทางกายเป็นไปตามเกณฑ์ของกรมอนามัย ดูแลและระมัดระวังตนเองในขณะเล่นเครื่องเล่นสนามและของเล่นทุกครั้ง

                   ประเด็นที่ 1.2มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ มีจำนวนเด็กที่อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 76.39 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                   จากการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมที่หลากหลายพัฒนาคุณภาพเด็กด้านอารมณ์ จิตใจ ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่แสดงออกทางอารมณ์ จิตใจและความรู้สึกได้เหมาะสมกับวัย มีความกล้าแสดงออก มั่นใจในตนเอง ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม อารมณ์ดี ร่าเริงแจ่มใส มีสุนทรียภาพในการชื่นชมและมีความสุขกับงานศิลปะด้านต่าง ๆ

                   ประเด็นที่1.3 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีจำนวนเด็กที่อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 77.32 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                   จากการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมที่หลากหลายพัฒนาคุณภาพเด็กด้านสังคม ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมแสดงออกด้านสังคมได้อย่างเหมาะสมกับวัย รู้จักช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเอง มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนหรือโรงเรียน มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย รู้จักแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่น ยอมรับและเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล

                   ประเด็นที่1.4 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ มีจำนวนเด็กที่อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 75.65 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                   จากการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมที่หลากหลายพัฒนาคุณภาพเด็กด้านสติปัญญา ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย มีทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิดพื้นฐาน มีความคิดรวบยอด  คิดเชิงเหตุผล และรู้จักแก้ปัญหา มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่รู้ใฝ่เรียนและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

 

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

    1. วิธีการพัฒนา

        ประเด็นที่ 2.1 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

                   โรงเรียนมีกระบวนการจัดการบริหารและการจัดการหลักสูตร โดยประชุมวางแผนในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย กำหนดแนวทางการจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้บรรลุมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์และครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านตามที่หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกำหนด มีการศึกษาหลักสูตรแกนกลางปฐมวัย พุทธศักราช 2560 เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดหัวข้อในการบูรณาการกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะต่าง ๆ เน้นการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กปกติและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ อีกทั้งยังมีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น

        ประเด็นที่ 2.2 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน

                   โรงเรียนมีการแต่งตั้งครูผู้รับผิดชอบการสอนและเป็นครูประจำชั้นในแต่ละชั้น โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและตรงตามวิชาเอกของคุณครู จัดครูให้เพียงพอและเหมาะสมกับภารกิจการจัดการเรียนการสอน มีการจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยหรือผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัยเข้าสอนเพื่อให้สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กได้อย่างมีคุณภาพ

    ประเด็นที่ 2.3 ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

                   โรงเรียนส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ มีความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพ และการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญด้วยรูปแบบที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ   พัฒนาครูให้สามารถวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมครูให้มีความรู้และทักษะในการจัดประสบการณ์หรือออกแบบกิจกรรม และประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล นอกจากนี้โรงเรียนยังเปิดโอกาสและสนับสนุนให้ครูเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ทางการศึกษาแก่ผู้ที่สนใจ ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรม สัมมนา ประชุมตามหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์และพัฒนางานในหน้าที่อย่างต่อเนื่อง มีการนำคณะครูศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมวิชาชีพ

    ประเด็นที่ 2.4 จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

                   โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนโดยคำนึงถึงความปลอดภัย        มีการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก โดยจัดให้มีมุมประสบการณ์หลากหลาย เช่น มุมบ้าน มุมบล็อก มุมวิทยาศาสตร์ มุมหนังสือ มุมของเล่น มีการจัดป้ายนิเทศตามหน่วยการเรียนรู้ วันสำคัญต่าง ๆ หรือเหตุการณ์สำคัญ มีการจัดหาสื่อการเรียนรู้และสื่อเพื่อการสืบเสาะหาความรู้ให้แก่เด็กอย่างเพียงพอ มีการกำหนดมาตรการความปลอดภัยในสถานศึกษาและจดบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปฏิบัติหน้าที่เวรประจำวัน

    ประเด็นที่ 2.5 ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู

                   โรงเรียนจัดหาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุ และอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ของครู จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เช่น จัดให้มีห้องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เด็กได้ศึกษาหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

    ประเด็นที่ 2.6 มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

                   โรงเรียนมีการส่งเสริมบทบาทครูปฐมวัยและบุคลากรทุกฝ่ายให้มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและอัตลักษณ์ของสถานศึกษา การทำแผนพัฒนาการศึกษาที่สอดรับมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมบทบาทครูในการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยจัดทำคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ การจัดเก็บร่องรอยหลักฐานการดำเนินงานอย่างชัดเจน ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี และนำผลไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนวัดโขดหอย(ละเมียดราษฎร์นุเคราะห์) มีผลสำเร็จของการจัดกระบวนการบริหารและ

                   จัดการ ตามประเด็นพิจารณา ดังนี้

       ประเด็นที่ 2.1 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

                        อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                   โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง4 ด้าน สนองความ

                    ต้องการและความแตกต่างของเด็กปกติ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของ

                    ครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น

      ประเด็นที่ 2.2 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                    โรงเรียนมีครูเพียงพอและเหมาะสมกับภารกิจการจัดการเรียนการสอน มีครูที่จบการศึกษา    

                    ปฐมวัยหรือผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัยเข้าสอน เพื่อให้สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้

                    ให้แก่เด็กได้อย่างมีคุณภาพ

      ประเด็นที่ 2.3ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                   โรงเรียนมีครูที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ มีความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพ

                    และการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญด้วยรูปแบบที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ

      ประเด็นที่ 2.4 จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัยและพอเพียง อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                   โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่มีความปลอดภัย มีบรรยากาศที่

                   ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก โดยมีมุมประสบการณ์หลากหลาย มีสื่อการเรียนรู้และสื่อเพื่อการสืบ   

                   เสาะหาความรู้ให้แก่เด็กอย่างเพียงพอ

      

 

        ประเด็นที่ 2.5ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

                         สำหรับครู อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                   โรงเรียนมีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุ และอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ของครู

                   จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

       ประเด็นที่ 2.6มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                   ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย

                   และอัตลักษณ์ของสถานศึกษา ร่วมจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาที่สอดรับมาตรฐานการศึกษา ทุก

                   ฝ่ายมีส่วนร่วมในการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

    1. วิธีการพัฒนา

        ประเด็นที่ 3.1 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

                   โรงเรียนส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญาตลอดจนความรู้ความสามารถเต็มศักยภาพตามหลักสูตรกำหนด บูรณาการผ่านการเรียนรู้ 6 กิจกรรมหลักตามตารางกิจกรรมประจำวัน โดยส่งเสริมให้ครูพัฒนาความรู้ของตนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ครูวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล และออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก จัดทำแผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐาน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น และมีการติดตามประเมินผลพัฒนาการของเด็กอย่างเป็นระบบ

       ประเด็นที่ 3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

                     ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม จากการเรียนผ่านการเล่นโดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองอย่างมีความสุข ให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความต้องการ ความสนใจและความสามารถ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ครูจัดกิจกรรมสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล

        ประเด็นที่ 3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

                     โรงเรียนจัดบรรยากาศทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยจัดห้องเรียนให้สะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย มีป้ายนิเทศตามหน่วยการเรียนรู้ วันสำคัญหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ จัดให้มีพื้นที่แสดงผลงานเด็กเพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนและได้ชื่นชมผลงานของเพื่อน ๆ ครูให้เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและจัดเวรประจำวันเพื่อช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดและส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักความสะอาดและฝึกความรับผิดชอบ ครูใช้สื่อทั้งที่เป็นของจริงและสื่อธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีเหมาะสมกับอายุ ระยะสนใจ และวิถีการเรียนรู้ของเด็ก ใช้สื่อหรือของเล่นกระตุ้นให้เด็กคิดและหาคำตอบด้วยตนเอง

        ประเด็นที่ 3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

                     การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นงานสำคัญที่เกิดควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยครูเก็บร่องรอยหลักฐานการเรียนรู้และพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล มีการประเมินตามสภาพจริงและจัดการประเมินอย่างเป็นระบบด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย จัดการประเมินพัฒนาการเด็กในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและหลักสูตรสถานศึกษา มีการจัดทำรายงานผลการประเมินพัฒนาการของเด็กให้ผู้ปกครองทราบทุกภาคเรียน ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมินเด็ก และมีการนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปวางแผน ปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนวัดโขดหอย (ละเมียดราษฎร์นุเคราะห์) มีผลสำเร็จของการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ตามประเด็นพิจารณา ดังนี้

                     ประเด็นที่3.1จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพจำนวนครูที่อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ  75  อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                     โรงเรียนมีครูที่มุ่งมั่นพัฒนาความรู้ของตนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ครูวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล และออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ครูมีแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญและให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น

                     ประเด็นที่3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข จำนวนครูที่อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 75  อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                     เด็กได้รับประสบการณ์ตรง โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม จากการเรียนผ่านการเล่นโดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองอย่างมีความสุข เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความต้องการและสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

                     ประเด็นที่3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จำนวนครูที่อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 76  อยู่ในระดับคุณภาพ ดี 

                     โรงเรียนมีบรรยากาศทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ครูและเด็กได้ร่วมกันจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและจัดเวรประจำวันเพื่อช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด ครูมีสื่อทั้งที่เป็นของจริงและสื่อธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีเหมาะสมกับอายุ ระยะสนใจ และวิถีการเรียนรู้ของเด็ก มีการกระตุ้นให้เด็กคิดและหาคำตอบด้วยตนเอง

                     ประเด็นที่3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก จำนวนครูที่อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 75 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                     เด็กแต่ละคนได้รับการประเมินพัฒนาการเป็นรายบุคคลตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ได้รับการประเมินพัฒนาการในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำรายงานผลการประเมินพัฒนาการของเด็กให้ผู้ปกครองทราบทุกภาคเรียน ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมิน ทำให้ผู้ปกครองมีทัศนคติที่ดีต่อโรงเรียน

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดโขดหอย มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ครูจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา  มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง เรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้กระบวนการคิดร่วมกันเป็นกลุ่ม เน้นกระบวนการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก และเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น ตามโครงการอ่านคล่องเขียนคล่อง คิดเลขเป็น รวมทั้งมีผลสัมฤทธิ์และความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ โรงเรียนมีการจัดสอนซ่อมเสริมเป็นรายบุคคลให้แก่ผู้เรียนที่ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ตามเกณฑ์ในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียนปกติ และมีกิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติ NT และO-NET โดยมีกิจกรรมสอนเสริมนอกเวลาเรียนสำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบ NTและ O - NET โรงเรียนส่งเสริมสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยส่งผู้เรียนเข้าร่วมการสอบแข่งขันทักษะวิชาการต่าง ๆ เช่น การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับกลุ่มโรงเรียน/ ระดับเขตพื้นที่/ ระดับภาค และระดับประเทศ อีกทั้งยังส่งเสริมผู้เรียนให้มีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ซึ่งส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน เช่น กิจกรรมบันทึกการอ่าน กิจกรรมชวนกันอ่าน วานมาฟัง กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ เป็นต้น

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนวัดโขดหอย มีผลสำเร็จของการจัดกระบวนการตามมาตรฐาน คุณภาพผู้เรียน ตามประเด็นพิจารณา ดังนี้

                     ประเด็นที่ 1.1ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน มีจำนวนผู้เรียนที่อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 77.89 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                     จากการดำเนินการตามโครงการยกระดับผมสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้นในทุกรายวิชา และผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET)ปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้น 3 รายวิชา คือ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.42 สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.55และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.25 เฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.10ส่วนผลสัมฤทธิ์สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ลดลงร้อยละ 10.83

ส่วนการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT)ปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้น 1ด้าน คือ ความสามารถด้านภาษาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.92และความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ลดลงร้อยละ 2.50เฉลี่ยรวมทั้ง 2 ด้าน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.71 อีกทั้งนักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ ใช้เหตุและผล สรุปความคิดจากเรื่องที่อ่านฟัง ดู มีการสื่อสารโดยการพูดหรือเขียนตามความคิดของตนเอง

                     การดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แต่ละกลุ่มสาระ สมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร และมีผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของผู้เรียนพัฒนาบรรลุตามเป้าหมายมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนดไว้ ผู้เรียนสามารถอ่านออกตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ ด้วยตนเอง สามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีความรู้และทักษะพื้นฐานมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551และสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา โดยสอดแทรกในการสอนและการทำโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โครงการโรงเรียนคุณธรรม กิจกรรมการไปวัด ทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมการแข่งขันกีฬาเยาวชนต้านภัยยาเสพติด กิจกรรมจิตอาสา เป็นต้น เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย รักท้องถิ่น มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณีวัฒนธรรมไทย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ อนุรักษ์สร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ประเพณีและภูมิปัญญาของท้องถิ่น โรงเรียนมีการจัดโครงการส่งเสริมประชาธิปไตย เพื่อให้นักเรียนยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย โรงเรียนมีการส่งเสริมผู้เรียนให้มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม โดยดำเนินการในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งมีกิจกรรมกายบริหารยามเช้าก่อนเข้าห้องเรียน กิจกรรมการตรวจสุขภาพผู้เรียนโดยครูประจำชั้นและเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล มีการติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียน เทอมละ 1 ครั้ง เพื่อรับทราบปัญหาและหาแนวทางแก้ไขหรือส่งเสริมผู้เรียนต่อไป นอกจากนี้โรงเรียนได้จัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ให้แก่ผู้เรียน โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ กิจกรรมดนตรีศิลปะ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนกล้าแสดงออกและเป็นแนวทางในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ

ผลการดำเนินงาน  

2. ผลการพัฒนา

                     โรงเรียนวัดโขดหอย มีผลสำเร็จของการจัดกระบวนการตามมาตรฐานคุณภาพผู้เรียน

ตามประเด็นพิจารณา ดังนี้

ประเด็นที่ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มีจำนวนผู้เรียนที่อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ76.68 อยู่ในระดับคุณภาพ  ดี

                     ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด ผู้เรียนมีระเบียบวินัย รักท้องถิ่น มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมที่ดี

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

. วิธีการพัฒนา

        ประเด็นที่ 2.1 มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

                     โรงเรียนวัดโขดหอย ได้เชื่อมโยงนโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น    การจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี และการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย

        ประเด็นที่ 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

                     โรงเรียนวัดโขดหอย มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและการนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการและนโยบายการปฏิรูปการศึกษา มีการแต่งตั้งคณะทำงานติดตามตรวจสอบประเมินผลคุณภาพภายในและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน มีการนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนา บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน ปรับปรุง และพัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

        ประเด็นที่ 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และ

ทุกกลุ่มเป้าหมาย

                     โรงเรียนวัดโขดหอย ได้ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยได้มีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน มีการจัดหลักสูตรเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตจริง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 

        ประเด็นที่ 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

                     โรงเรียนมีการส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และกำหนดให้ครูจัดทำรายงานสรุปการอบรมในแต่ละครั้ง เพื่อส่งเสริมให้ครูนำความรู้ไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนหรือภาระงานในตำแหน่งของตนต่อไป อีกทั้งโรงเรียนส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยรูปแบบที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ มีการจัดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้พัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน

        ประเด็นที่ 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

                     โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนให้เพียงพอ มีการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และปลอดภัย มีห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ (ห้องพิเศษ) ต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์

        ประเด็นที่ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

                     โรงเรียนมีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดหาสื่อเทคโนโลยีที่เอื้อและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน และปลูกฝังให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21สามารถใช้สื่อ เทคโนโลยีในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองได้ มีการพัฒนาและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา โดยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และแจ้งข่าวสารข้อมูลด้านการจัดการเรียนการสอนหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในโรงเรียน ผ่านทางเว็บไซต์และ Facebook ของโรงเรียน รวมทั้งสนับสนุนให้ครูและบุคลากรใช้การสื่อสารผ่าน Line      เพื่อการดำเนินงานในระบบการบริหารจัดการอย่างรวดเร็ว

ผลการดำเนินงาน  

2. ผลการพัฒนา

                     โรงเรียนวัดโขดหอย มีผลสำเร็จของการจัดกระบวนการตามมาตรฐาน กระบวนการบริหารและการจัดการ ดังนี้

                     2.1 โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา สภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติและทันต่อการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                     2.2 โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและการนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการและนโยบายการปฏิรูปการศึกษา มีคณะทำงานติดตามตรวจสอบประเมินผลคุณภาพภายในและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน มีการนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนา บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน ปรับปรุง และพัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                     2.3โรงเรียนหลักสูตรสถานศึกษาที่ปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน มีการจัดหลักสูตรเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตจริง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                     2.4โรงเรียนมีครูและบุคลากรที่มีความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพและพร้อมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยรูปแบบที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ มีการจัดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้พัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                     2.5โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนให้เพียงพอ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และปลอดภัย มีห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ (ห้องพิเศษ) ต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                     2.6โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดหาสื่อเทคโนโลยีที่เอื้อและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน มีการพัฒนาและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา และมีข้อมูลสารสนเทศถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

1. วิธีการพัฒนา

        ประเด็นที่ 3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้

                          โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง โรงเรียนส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริงและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการส่งเสริมและฝึกทักษะ แสดงออกแสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

        ประเด็นที่ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และ แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

                     โรงเรียนส่งเสริมศักยภาพการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของครูผู้สอนด้วยการสนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองในด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้ จัดหาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์เข้าสอนผู้เรียนทุกระดับชั้น จำนวนห้องละ 1 คาบเรียนต่อสัปดาห์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสอดคล้องกับสมรรถสำคัญด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 โดยครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ครูจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ 1 เรื่อง เพื่อนำผลไปดำเนินการแก้ไขผู้เรียนและชั้นเรียน

        ประเด็นที่ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

                     โรงเรียนส่งเสริมให้ครูผู้สอนกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและจัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคล มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้เรียน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน รักการเรียนและมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกต่อตนเองและชั้นเรียน มีการนำผลมาสังเคราะห์เพื่อวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีการใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการเรียนรู้และข้อตกลงในห้องเรียน จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในชั้นเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้

        ประเด็นที่ 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

                     โรงเรียนมีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาเครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนที่มีคุณภาพสอดคล้องกับทุกมาตรฐานและตัวชี้วัด มีการใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้และหลากหลายตามสภาพจริง มีการตรวจเอกสาร หลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน ชิ้นงาน/ภาระงานของผู้เรียนเชิงประจักษ์ มีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

        ประเด็นที่ 3.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้

                                                    โรงเรียนสนับสนุนให้ครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการประชุมผู้ปกครอง เพื่อรายงานพฤติกรรมและผลการเรียนของผู้เรียนให้ผู้ปกครองรับทราบและร่วมกันกับครูเพื่อดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้ดียิ่งขึ้น โรงเรียนมีระบบนิเทศภายในด้านวิชาการ เพื่อตรวจสอบติดตามประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนแบบกัลยาณมิตร โดยครูผู้สอนจะได้รับการนิเทศภาคเรียนละ 1 ครั้ง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูในโรงเรียนผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) นอกจากนี้โรงเรียนยังเปิดโอกาสให้ครูได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานภายนอก เพื่อนำความรู้ใหม่ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนของครูและการปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงาน  

2. ผลการพัฒนา

                     โรงเรียนวัดโขดหอย มีผลสำเร็จของการจัดกระบวนการตามมาตรฐาน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้

                     2.1 โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริงและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                     2.2โรงเรียนมีสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนได้เรียนคอมพิวเตอร์จำนวนห้องละ 1 คาบเรียนต่อสัปดาห์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสอดคล้องกับสมรรถสำคัญด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ครูจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ 1 เรื่อง เพื่อนำผลไปดำเนินการแก้ไขผู้เรียนและชั้นเรียน อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                     2.3โรงเรียนมีครูผู้สอนที่กำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ครูจัดทำข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน รักการเรียนและมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกต่อตนเองและชั้นเรียน ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการเรียนรู้และข้อตกลงในห้องเรียน จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในชั้นเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                     2.4โรงเรียนมีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ครูมีเครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนที่มีคุณภาพสอดคล้องกับทุกมาตรฐานและตัวชี้วัด เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้และหลากหลายตามสภาพจริงอยู่ในระดับคุณภาพ ดี

                     2.5ผู้ปกครองได้รับทราบพฤติกรรมและผลการเรียนของผู้เรียน และร่วมกันกับครูเพื่อดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้ดียิ่งขึ้น โรงเรียนมีระบบนิเทศภายในด้านวิชาการ เพื่อตรวจสอบติดตามประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนแบบกัลยาณมิตร ภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ของตนต่อไป อีกทั้งครูในโรงเรียนยังได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)กับครูในโรงเรียนและหน่วยงานภายนอก อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

สรุปผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ในระดับ: ดี

            จากผลการดำเนินงานโครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จ ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับ ดี ทั้งนี้เพราสถานศึกษาสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2563 ผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET)ปีการศึกษา 2563 และผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT)ปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้น อีกทั้งผู้เรียนมีสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร และมีผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของผู้เรียนพัฒนาบรรลุตามเป้าหมายมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนดไว้ ผู้เรียนสามารถอ่านออกตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ ด้วยตนเอง สามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีความรู้และทักษะพื้นฐานมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด  มีระเบียบวินัย รักท้องถิ่น มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมที่ดี

ในด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา สภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา         ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติและทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและการนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีคณะทำงานติดตามตรวจสอบประเมินผลคุณภาพภายในและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน มีการนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนา บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน ปรับปรุง และพัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา      อีกทั้งโรงเรียนหลักสูตรสถานศึกษาที่ปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตจริง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้โรงเรียนยังมีครูและบุคลากรที่มีความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพและพร้อมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยรูปแบบที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ มีการจัดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้พัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนอย่างเพียงพอ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และปลอดภัย มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ (ห้องพิเศษ) ต่าง ๆ และมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและ       การจัดการเรียนรู้ โดยการจัดหาสื่อเทคโนโลยีที่เอื้อและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน มีการพัฒนาและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา และมีข้อมูลสารสนเทศถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน

ในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.1โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริงและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อีกทั้งมีสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้ ครูจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ 1 เรื่อง เพื่อนำผลไปดำเนินการแก้ไขผู้เรียนและชั้นเรียน   โรงเรียนมีครูผู้สอนที่กำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ครูจัดทำข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน รักการเรียนและมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกต่อตนเองและชั้นเรียน ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการเรียนรู้และข้อตกลงในห้องเรียน จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในชั้นเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้โรงเรียนยังมีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ครูมีเครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนที่มีคุณภาพสอดคล้องกับทุกมาตรฐานและตัวชี้วัด เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้และหลากหลายตามสภาพจริง ผู้ปกครองได้รับทราบพฤติกรรมและผลการเรียนของผู้เรียน และร่วมกันกับครูเพื่อดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้ดียิ่งขึ้น โรงเรียนมีระบบนิเทศภายในด้านวิชาการ เพื่อตรวจสอบติดตามประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนแบบกัลยาณมิตร ภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ของตนต่อไป อีกทั้งครูในโรงเรียนยังได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)กับครูในโรงเรียนและหน่วยงานภายนอก

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

สรุปผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ในระดับ: ดี

            จากผลการดำเนินงานโครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จ ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับ ดี ทั้งนี้เพราสถานศึกษาสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2563 ผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET)ปีการศึกษา 2563 และผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT)ปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้น อีกทั้งผู้เรียนมีสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร และมีผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของผู้เรียนพัฒนาบรรลุตามเป้าหมายมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนดไว้ ผู้เรียนสามารถอ่านออกตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ ด้วยตนเอง สามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีความรู้และทักษะพื้นฐานมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด  มีระเบียบวินัย รักท้องถิ่น มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมที่ดี

ในด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา สภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา         ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติและทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและการนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีคณะทำงานติดตามตรวจสอบประเมินผลคุณภาพภายในและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน มีการนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนา บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน ปรับปรุง และพัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา      อีกทั้งโรงเรียนหลักสูตรสถานศึกษาที่ปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตจริง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้โรงเรียนยังมีครูและบุคลากรที่มีความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพและพร้อมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยรูปแบบที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ มีการจัดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้พัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนอย่างเพียงพอ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และปลอดภัย มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ (ห้องพิเศษ) ต่าง ๆ และมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและ       การจัดการเรียนรู้ โดยการจัดหาสื่อเทคโนโลยีที่เอื้อและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน มีการพัฒนาและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา และมีข้อมูลสารสนเทศถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน

ในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.1โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริงและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อีกทั้งมีสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้ ครูจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ 1 เรื่อง เพื่อนำผลไปดำเนินการแก้ไขผู้เรียนและชั้นเรียน   โรงเรียนมีครูผู้สอนที่กำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ครูจัดทำข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน รักการเรียนและมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกต่อตนเองและชั้นเรียน ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการเรียนรู้และข้อตกลงในห้องเรียน จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในชั้นเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้โรงเรียนยังมีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ครูมีเครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนที่มีคุณภาพสอดคล้องกับทุกมาตรฐานและตัวชี้วัด เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้และหลากหลายตามสภาพจริง ผู้ปกครองได้รับทราบพฤติกรรมและผลการเรียนของผู้เรียน และร่วมกันกับครูเพื่อดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้ดียิ่งขึ้น โรงเรียนมีระบบนิเทศภายในด้านวิชาการ เพื่อตรวจสอบติดตามประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนแบบกัลยาณมิตร ภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ของตนต่อไป อีกทั้งครูในโรงเรียนยังได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)กับครูในโรงเรียนและหน่วยงานภายนอก

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก