รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดนาซา

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย

          โรงเรียนวัดนาซาจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย  มีนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 รวม 18 คน มีครูอัตราจ้างจัดกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการให้กับนักเรียนจำนวน1 คน จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 2563  เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่นๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ดี

          ผลการจัดกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียน นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้  เด็ก ระดับปฐมวัย18 คน  มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ จำนวน18 คน  โรงเรียนได้ดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพพื้นฐานของเด็กปฐมวัย มีกิจกรรมหนูน้อยสุขภาพดี มีกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ มีกิจกรรมสร้างสรรค์พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กิจกรรมกลางแจ้งพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การวิ่งเล่น การเล่นเครื่องเล่นสนาม การละเล่นไทย การรับประทานอาหารกลางวันที่มีประโยชน์ ด้านสุขนิสัย มีกิจกรรมการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร การเข้าห้องน้ำ การเดินแถว การรอคอย การใช้ของส่วนตัว ด้านความปลอดภัย การเดินแถว การใช้สิ่งของมีคม ส่งผลให้เด็ก ทุกคน สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี  และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

          คุณภาพเด็กด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ โรงเรียนวัดนาซาได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กๆได้สนุกสนาน มีความสุขในการเรียนรู้ จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย ตามกิจกรรม 6 กิจกรรมของนักเรียนระดับปฐมวัย ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดนาซา ร้อยละ 100 มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย

          คุณภาพเด็กด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดนาซาทุกคนได้รับพัฒนาศักยภาพและพัฒนาการตามโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย ด้านสังคม มีกิจกรรมเข้ากลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แบ่งปันสิ่งของ ด้านการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันและฝึกให้มีวินัยในตนเอง โดยการฝึกเข้าห้องน้ำตามตารางเวลา การเข้าแถวรับอาหารและรับประทานอาหารกลางวัน เข้าแถวซื้อขนม รู้จักการประหยัดพอเพียงโดยมีกิจกรรมออมวันละบาท ให้นักเรียนฝากเงินกับครูประจำชั้นวันละ 1 บาท ด้านการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนร่วมพัฒนาอาคารสถานที่บริเวณโรงเรียน วัด และเก็บขยะในชุมชน ด้านการมีมารยาททางวัฒนธรรมไทย มีการไหว้การทักทายครูและผู้บริหารในตอนเช้าที่พบกัน แต่งกายด้วยชุดไทยทุกวันศุกร์ ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดนาซา ร้อยละ100 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ปฏิบัติตนในสังคมได้อย่างเหมาะสม

          คุณภาพเด็กด้านสติปัญญา นักเรียนได้รับการพัฒนาผ่านกิจกรรมเกมการศึกษา พัฒนาด้านสติปัญญา ฝึกการคิดวิเคราะห์ในกิจกรรมต่างๆที่ครูกำหนด ด้านการสื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเล่าเรื่องสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน เล่าเรื่องจากภาพ กิจกรรมเรียนรู้ทัศนศึกษา และกิจกรรมเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกจังหวัด ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดนาซา ร้อยละ 100 สามารถสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัยและพยายามค้นหาคำตอบ ได้เหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆได้ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสม

          ด้านกระบวนการจัดการบริหารและการจัดการหลักสูตรโรงเรียนวัดนาซาได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ทำให้โรงเรียนวัดนาซามีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน เป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว  ชุมชน และท้องถิ่นกิจกรรมบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรม ส่งผลให้โรงเรียนวัดนาซา มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ที่เหมาะสมสอดคล้องกับเด็ก โรงเรียนและชุมชน

          ด้านการจัดครูเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับปฐมวัย เนื่องจากโรงเรียนวัดนาซาเป็นโรงเรียนขนาดเล็กขาดบุคลากรด้านปฐมวัย จึงได้ปรับการดำเนินการในการพัฒนาโดยขอความอนุเคราะห์งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลกระแจะและเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน มาจ้างครูอัตราจ้างมาจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะในระดับปฐมวัยจำนวน 1 คน โรงเรียนได้ดำเนินการจ้างและพัฒนาครูพี่เลี้ยงให้มีความรู้ความสามารถ ได้ส่งเข้ารับการอบรมและศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องทำให้ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้โรงเรียนวัดนาซามีครูดูสำหรับจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กปฐมวัยเพียงพอ

 ด้านส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์โรงเรียนวัดนาซาได้มีการพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่องตามโครงการพัฒนาบุคคลากรมีกิจกรรมPLC กิจกรรมการประชุมสัมมนา และกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ การส่งเข้าอบรมและศึกษาดูงานตามโครงการพัฒนาประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และส่งเสริมให้อบรมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งเสริมให้ครูใช้เทคโนโลยี ที่ทันสมัยในยุคปัจจุบันในการจัดประสบการณ์ เช่น แอพลิเคชั่น Google ZOOM , Tiktok จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ครูปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยให้สดคล้องกับเด็ก มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล  ออกแบบการจัดกิจกรรมที่เร้าความสนใจของเด็ก  มีทักษะการสังเกตในการประเมินผลพัฒนาการของเด็ก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง  

          ด้านจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง โรงเรียนวัดนาซาได้ดำเนินการตามโครงการปรับปรุงพัฒนาภูมิทัศน์ แหล่งเรียนรู้และความปลอดภัยในโรงเรียน จัดให้มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็ก สะอาด ร่มรื่น สวยงามและปลอดภัย  ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม  มีมุมประสบการณ์ในห้องเรียนและสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้  มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้  จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้โรงเรียนวัดนาซามีแหล่งเรียนรู้ที่เพียงพอสำหรับเด็กปฐมวัย มีสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ที่สะอาด ร่มรื่น สวยงามและมีความปบอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย

          ด้านการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

โรงเรียนวัดนาซาดำเนินโครงการจัดหา ซ่อมแซมวัสดุ ครุภัณฑ์เพื่อการศึกษา มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้านสื่อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กอย่างเพียงพอและทั่วถึง ส่งผลให้โรงเรียนวัดนาซามี วัสดุ ครุภัณฑ์ สื่อเทคโนโลยีและสื่อในการเรียนรู้ที่ทันสมัยสำหรับจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย

มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โรงเรียนมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน และผู้ปกครอง ร่วมกันกำหนด มีการกำหนดอัตลักษณ์ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน ได้มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา  ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง จากโครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ส่งผลให้โรงเรียนวัดนาซามีระบบบริหารที่มีคุณภาพที่เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายในชุมชน

ด้านการจัดการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆด้านให้เหมาะสมกับวัย

ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม  รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบ

ด้านสังคม  เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้  มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่

ด้านสติปัญญา  มีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย  จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย ส่งผลให้โรงเรียนวัดนาซาได้มีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ       

การสร้างโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง  เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข  โรงเรียนวัดนาซาได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม  เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ  ความสามัคคี การแบ่งปัน  และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง กิจกรรมเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกจังหวัด ส่งผลให้โรงเรียนวัดนาซาได้มีการจัดประสบการณ์ที่สร้างโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง  เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข 

จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย  โรงเรียนวัดนาซาได้จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน  ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น  ความเห็นอกเห็นใจ   มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน  ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน  และปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน นอกจากนี้โรงเรียนวัดนาซามีห้องเรียนที่มีบรรยากาศของการเรียนรู้  กว้างขวางพอเหมาะ   มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้  มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส  และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนจากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย ส่งผลให้โรงเรียนวัดนาซาได้มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย 

ด้านการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก  โรงเรียนวัดนาซามีกระบวนการ  การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน  ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต  การสอบถาม การสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนจากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆในจังหวัดทั้งระดับอำเภอและระดับเขตพื้นที่การศึกษา  ส่งผลให้เด็กนักเรียนโรงเรียนวัดนาซามีพัฒนาการที่ดีเจริญเติบโตอย่างสมวัย และมีการนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กให้มีการพัฒนาอย่างสมวัย


ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนวัดนาซาจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 24  คน ครูผู้สอน 5 คน จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 2563 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ดี  มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้       

โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่

1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้จัดให้มีโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วยกิจกรรมพัฒนาการอ่านเขียนภาษาไทย การเล่านิทานคุณธรรม กิจรรมภาษาไทยวันละคำ โดยมุ่งเน้นพัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  การสื่อสาร การคิดคำนวณ เพื่อนำไปสู่การมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เพิ่มขึ้น พัฒนาทักษะมีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้  ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ  โครงการพัฒนาประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา  โดยการส่งเข้าอบรมทั้งแบบออฟไลน์และแบบออนไลน์ และนำไปศึกษาดูงานยังแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้รับการยอมรับหรือมีผลงานระดับชาติ เพื่อให้นำความรู้หรือประสบการณ์มาพัฒนาทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น มีการดำเนินการโครงการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ได้รับประสบการณ์ตรง ได้ประเมินตนเอง รู้จักคิดวิเคราะห์ รับรู้และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงานตามโครงการต่างๆของโรงเรียน พบว่า จากการประเมินด้านการอ่านและเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 24 คน เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จำนวน 1 คน ผลการประเมินดังนี้ ด้านอ่านออกเสียง นักเรียนที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไปจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านการอ่านรู้เรื่อง ผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไปจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านการเขียนได้แบ่งเป็นด้านเขียนคำ ผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100 การเขียนเรื่อง ผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100  ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3(NT) ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 43.83 อยู่ในระดับพอใช้  และผลการทดสอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(O-NET) ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 38.75  ผลการอ่านคิด วิเคราะห์และเขียนผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในระดับ”ดี” ขึ้นไปร้อยละ 100

2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนได้จัดให้มีโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะพึงประสงค์ตามหลักสูตร ดังนี้ 1) การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) โครงการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมอันดีงามแก่นักเรียน มุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด มีกิจกรรม หมู่สี แบ่งนักเรียนเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1-3 กลุ่มที่สองได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยมีครูเวรประจำวันคอยดูแลการทำกิจกรรมแต่ละวัน เป็นกิจกรรมที่ฝึกความรับผิดชอบงานในหน้าที่  กิจกรรมเข้าแถวคารพธงชาติทุกวัน ฝึกความตรงต่อเวลา การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ กิจกรรมสวดมนตร์ฝึกการยึดมั่นในศาสนา กิจกรรมท่องค่านิยม 12 ประการสร้างความตระหนักในการใช้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม มีกิจกรรมมอบหมายหน้าที่เวรประจำห้องเรียนให้นักเรียนรับผิดชอบ กิจกรรมนำนักเรียนไปถวายเทียนจำพรรษาให้กับวัดนางซา จัดกิจกรรมไปวัดทำบุญทุกวันพระเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามและทำนุบำรุงศาสนา จัดกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์เก็บขยะข้างทางในชุมชนหมู่บ้านหมู่ 3 ทุกวันพุธ เก็บขยะและพัฒนาภูมิทัศน์ข้างทางถนนเฉลิมบูรพาชลทิตช่วงหมู่ 3 ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม ในวันสำคัญทางศาสนาและวันสำคัญของชาติ เช่น วันแม่ วันเฉลิมพระชนมพรรษาของในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชกาลที่ 10 ร่วมปลูกป่าชายเลน ณ วัดเขาสำเภาคว่ำ หมู่ 4 ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม กับองค์การบริหารส่วนตำบลกระแจะ ร่วมปลูกข้าวในแปลงทดลองของอำเภอนายายอามกับชุมชนหมู่ 3 ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี และสวดมนต์แปลทุกวันศุกร์สุดสัปดาห์

           จากการดำเนินการตามโครงการที่กำหนดในปีการศึกษา 2563  ส่งผลให้ นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย รักธรรมชาติ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย เข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนและหน่วยงานในชุมชนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 100   นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ร้อยละ 100 มีความสามารถในการสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรมมี ทักษะพื้นฐานในการจัดการ เจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น การทำงานหรืองานอาชีพ ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่ สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม ผู้เรียนยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านฐานะ เพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณี มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุขเข้าใจผู้อื่น ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น

          ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการเพื่อให้บรรลุตามกระบวนการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ในโรงเรียนวัดนาซา การดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา  โดยโรงเรียนได้ดำเนินการเพื่อให้ภารกิจของโรงเรียนสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด ดังนี้ 1) โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของโรงเรียน 2) โครงการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงาน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุดในการนำพาโรงเรียนบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 3) โครงการพัฒนาประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน  4) โครงการประกันคุณภาพภายใน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ ผู้ปกครองนักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ว่าโรงเรียนมีมาตรฐานและคุณภาพในการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดนาซา 5) โครงการนิเทศภายใน 6) โครงการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งปฐมวัยและประถมศึกษา 7) โครงการพัฒนาหลักสูตร 8) โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา 9) โครงการจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อการศึกษา 10) โครงการปรับปรุงพัฒนาภูมิทัศน์และแหล่งเรียนรู้ 11) โครงการประชุมกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง โดยในการดำเนินงานโรงเรียนได้ทำความเข้าใจและร่วมมือกับคณะครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ในดำเนินการพัฒนาที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน  ตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมาย  เชื่อมโยงกับชีวิตจริง จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ ทางด้านวิชาชีพ ตามความต้องการของครูและสถานศึกษา  จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ   และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนวัดนาซา 

ผลจากการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้โรงเรียนมีแผนปฏิบัติการ มี วิสัยทัศน์ เป้าหมายและพันธกิจที่โรงเรียนกำหนดชัดเจน   สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนความต้องการของชุมชน  ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมมีระบบการบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ  วางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยนำแผนไปปฏิบัติให้สำเร็จเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน   มีการติดตาม ตรวจสอบ  ประเมินผล  และปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการนิเทศภายใน  นำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร บุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน  ปรับปรุง พัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ  พัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน  เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริงและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มที่เรียนแบบควบรวมและกลุ่มเรียนร่วมด้วย มีการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรตรงตามความต้องการและจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  ภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ  มีความปลอดภัยจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  สนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน  จัดหา พัฒนาและบริการด้านเทคโนโลยี  สารสนเทศ จัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม

                 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน ได้ดำเนินการดังนี้ 1) โครงการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผสมผสานกับการเรียนการสอนทางไกล หรือ DLTV โดยเน้นกิจกรรมที่นักเรียนได้ปฏิบัติจริง กิจกรรม Active Learning  มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา  ให้นักเรียนมีส่วนร่วม 2) โครงการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีแบบการคัดกรองนักเรียน มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนภาคเรียนละ 2 ครั้ง เพื่อให้ครูได้รู้จักนักเรียนอย่างรอบด้าน สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาและดูแลนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อนักเรียนมากที่สุด 3) โครงการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะในการดำรงชีวิตในสังคม รู้จักการดำรงตนอย่างพอเพียง มีคุณธรรม สามารถดำรงตนในสังคมประจำวันได้อย่างมีความสุข

          ผลการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้ ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูผลิตนวัตกรรม อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ  1 เรื่อง  โดยกำหนดประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้  ครูจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้  ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ ได้แสดงความคิดเห็น ได้แสดงออก เป็นผู้สามารถสรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างเด็กกับครู  ครูกับเด็ก เด็กกับเด็ก สร้างความสัมพันธ์ให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก เด็กรักการเรียนรู้ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ครูร่วมกันออกแบบ

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

       ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย

          โรงเรียนวัดนาซาจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย  มีนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 รวม 18 คน มีครูอัตราจ้างจัดกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการให้กับนักเรียนจำนวน1 คน จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 2563  เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่นๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ดี

          ผลการจัดกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียน  นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้  เด็ก ระดับปฐมวัย18 คน  มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ จำนวน18 คน  

             -  นักเรียนระดับปฐมวัย ร้อยละ 100 มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย

    - นักเรียนมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ปฏิบัติตนในสังคมได้อย่างเหมาะสม

           - นักเรียน ร้อยละ 100 สามารถสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัยและพยายามค้นหาคำตอบ ได้เหมาะสมกับวัย 

          - ด้านคุณภาพของเด็ก ได้มีการพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้านทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และสติปัญญา

          -  ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ  จัดให้ครูมีเพียงพอกับชั้นเรียน  จัดสภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนรู้และจัดให้มีสื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้สนับสนุนการจัดประสบการณ์

          -  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล  สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นอย่างมีความสุข มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

     ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

        - โครงการต่าง ๆ 

      - กิจกรรมการจัดประสบการณ์

      - รูปภาพกิจกรรมต่างๆ

      - ผลงานเด็ก

        - ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน


ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปตามเป้าหมายที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ซึ่งจากผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับ ดี ผลที่สนับสนุนการประเมินตนเอง ดังนี้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จากการประเมินด้านการอ่านและเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 24 คน เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จำนวน 1 คน ผลการประเมินดังนี้ ด้านอ่านออกเสียง นักเรียนที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไปจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านการอ่านรู้เรื่อง ผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไปจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านการเขียนได้แบ่งเป็นด้านเขียนคำ ผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100 การเขียนเรื่อง ผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100  ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3(NT)ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 43.83 อยู่ในระดับพอใช้  และผลการทดสอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(O-NET)ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 38.75  ผลการอ่านคิด วิเคราะห์และเขียนผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในระดับ”ดี” ขึ้นไปร้อยละ 100

        ความสามารถในการสื่อสารเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด ผลการทดสอบระดับชาติ 3 ปีย้อนหลังยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์สถานศึกษา (NT และ O-NET)  ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติ นักเรียนร่วมกิจกรรมจิตอาสา โรงเรียนจัดให้มีการสอนงานอาชีพด้านการเกษตรและการทำอาหารให้กับนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ มีผลงาน/ผลิตภัณฑ์ของตนเองนักเรียนทุกคน ไม่มีอัตราความเสี่ยงการติดสิ่งเสพติด มีโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็งไม่มีการทะเลาะวิวาทในโรงเรียน โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่พร้อมใช้งาน และมีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนทุกห้องเรียน ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรม Active learning เพื่อส่งเสริมการคิดและปฏิบัติจริงทุกชั้นเรียน ครูได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและนำความรู้มาพัฒนานักเรียน ครูผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอน และมีเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียนที่หลากหลาย ผู้บริหารมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับชุมชน และมีการแสวงหาความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรจากชุมชน มีโครงการระดมทรัพยากรมาช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

   ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

            1. แบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

            2. ภาพกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

3. ภาพสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

4. ภาพการพัฒนาศักยภาพบุคลากร  

5. ภาพประชุมกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง

6. ภาพกิกิจกรรมพัฒนาอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ปลูกเห็ดนางฟ้า)

7. ภาพการพัฒนาภูมิทัศน์โรงเรียน

8. ภาพการจัดการเรียนการสอน

9. ภาพการทำกิจกรรมจิตอาสา สาธารณประโยชน์

10. ห้องเรียนคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

                                                           ระดับปฐมวัย


จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

จุดเด่น

จุดที่ควรพัฒนา

-        เด็กมีพัฒนาการสมดุลสมวัย

-        มีโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด่นชัด

- มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่นำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- โรงเรียนมีอุปกรณ์ในการเรียนทางไกล(DLTV)

 

-        การช่วยเหลือตนเองทั้งที่บ้านและโรงเรียน

- ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์เด็ก

 

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

          1)  โครงการการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

2)  โครงการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

3)  โครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานเด็กปฐมวัย

 

                                                       ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

จุดเด่น

จุดที่ควรพัฒนา

1. สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น

            2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จิตอาสา

            3. การบริหารจัดการศึกษา และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง

            4. จัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย 

            5. ครูมีความตั้งใจมุ่งมั่นในการพัฒนาการ

         6. นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

      

 

1. ผลการประเมินระดับชาติ

2. กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3. กิจกรรมด้านการอ่าน การเขียน คำนวณ

            4. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน

            5. การพัฒนาความสามารถภาษาอังกฤษของนักเรียน

            6. ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอน

       

 


แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

1.      โครงการ/กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล

2.      โครงการพัฒนาระบบงานบริหารเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยใช้กระบวนการ PDCA

3.      จัดทำแผนการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ

4.      โครงการปรับภูมิทัศน์ ปรับปรุงอาคารเรียนและสภาพแวดล้อม

5.      โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

6.      โครงการส่งเสริมจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning

 


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลทั่วไป

1. ประวัติโดยย่อของโรงเรียน

         โรงเรียนวัดนาซา ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.  2481  บนพื้นของวัดจำนวน 10ไร่ โดยพระครูวิจิตรนวการ ( เจ้าคณะตำบลกระแจะ ) เจ้าอาวาสวัดหนองแหวน ร่วมกับชาวบ้านนาซา ในปีพ.ศ. 2481 เปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อมาในปีพ.ศ. 2523 ได้เปิดสอนเพิ่มเติมอีก 2  ระดับชั้นคือชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากนั้นในปีพ.ศ. 2537 ได้เปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 และชั้นอนุบาลปีที่ 2  ปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  รวมเป็น 9  ชั้นเรียน ผู้บริหารโรงเรียนวัดนาซา คนแรกได้แก่นายใช่  เบญจวรรณ ปัจจุบันมีผู้บริหารทั้งหมด  8 คน

2. สภาพปัจจุบันของโรงเรียน

          ปัจจุบันโรงเรียนวัดนาซาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต1สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีพื้นที่ทั้งหมด 10  ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 50/2   หมู่ที่ 3  ตำบลกระแจะ    อำเภอนายายอาม  จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22170  e-mail nasa-school@hotmail.com    Facebook : โรงเรียนวัดนาซา กระแจะ นายายอาม

         พื้นที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรีจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับ  ปฐมวัย ถึงระดับ  ประถมศึกษาปีที่ 6เขตพื้นที่บริการ หมู่ที่ 3 บ้านนาซา ปากตะโปน ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรีมีนักเรียนทั้งสิ้น 43 คน ประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้น อนุบาล1 ชาย 5 คน หญิง 6 คน รวม  11 คน  ระดับชั้นอนุบาล 2 ชาย 0 คน หญิง 4 คน รวม 4 คน ระดับชั้นอนุบาล 3 ชาย 3 คน หญิง 1 คน รวม 4 คน รวมระดับชั้นอนุบาล 1 - 3 ชาย 8 คน หญิง 11 คน รวมทั้งสิ้น 19 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชาย 4 คน หญิง 0 คน รวม 4 คน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชาย 3 คน หญิง 1 คน รวม 4 คน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชาย 1 คน หญิง 2 คน รวม 3 คน  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชาย 4 คน หญิง 2 คน รวม 6 คน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชาย 1 คน หญิง 4 คน รวม 5 คน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชาย 0 คน หญิง 2 คน รวม 2 คน รวมนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ชาย 13 คน หญิง 11 คน  ครูสายผู้สอน 3 คน ประกอบด้วย ข้าราชการ 2 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน พี่เลี้ยงอนุบาล 1 คน นักการภารโรง 1 คน ธุรการโรงเรียน 1 คน มีนายจงรัก สุวโจ เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา รวมมีบุคลากรทั้งสิ้น 8 คน

คำขวัญโรงเรียน         สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม

ปรัชญา                      โยคาเว ชายเต ภูริ  (ปัญญาย่อมเกิดจากการฝึกฝน)

สีประจำโรงเรียน        น้ำเงิน  เหลือง

อักษรย่อ                    น.ซ.

สัญลักษณ์                 เรือสำเภา

คติพจน์                      ความเพียรพยายามคือความสำเร็จ

อัตลักษณ์                  ยิ้มง่าย ไหว้สวย ลายมืองาม รักความเป็นไทย

เอกลักษณ์                 โรงเรียนสะอาด บรรยากาศร่มรื่น

 

 

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน (Vision)

            ภายในปี 256โรงเรียนวัดนาซามีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาชาติ เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา นักเรียนระดับประถมศึกษา อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นทุกคน เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมอันดีงาม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร ดำเนินชีวิตตามหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รักวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมท้องถิ่น มีความสามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการแสวงหาความรู้ มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี บริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล  ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ร่มรื่น สวยงาม เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

พันธกิจ(Mission)

1. จัดทำมาตรฐานและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้มีมาตรฐาน

2. เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ-อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

3. พัฒนาหลักสูตรและการสอนของโรงเรียนให้มีคุณภาพ

4. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น มีความสามารถในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการแสวงหาความรู้

5. พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม รักสิ่งแวดล้อม รักวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมท้องถิ่น มีค่านิยมอันดีงามและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี

6. ผู้บริหารบริหารงานอย่างมืออาชีพและมีธรรมาภิบาล

7.  พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8.  พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

9. พัฒนาอาคารสถานที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย มีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม น่าอยู่น่า

เรียนมีความปลอดภัย เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

10.  จัดให้มีเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีความพร้อมต่อการจัดการเรียนการสอน

11.  ส่งเสริมให้ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

 

เป้าประสงค์(Goal)

1. โรงเรียนมีมาตรฐานและมีระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่มีมาตรฐาน

2.  เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ-อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

3. โรงเรียนมีหลักสูตรและการสอนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานของหลักสูตร

4. ผู้เรียนมีคุณภาพ อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น มีความสามารถในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการแสวงหาความรู้

5.  ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม รักสิ่งแวดล้อม รักวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมท้องถิ่น มีค่านิยมอันดีงามและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี

6. ผู้บริหารบริหารงานอย่างมืออาชีพและมีธรรมาภิบาล

7. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา

8. ผู้เรียนมีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

9. มีอาคารสถานที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมหลากหลาย มีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม น่าอยู่น่าเรียน มีความปลอดภัย เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

10. โรงเรียนมีเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีความพร้อมต่อการจัดการเรียนการสอน

11. ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

กลยุทธ์

กลยุทธ์ ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียน จัดทำมาตรฐานและระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ ที่ 2 พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ-อารมณ์ สังคมและสติปัญญาอย่างเหมาะสมตามวัย

กลยุทธ์ ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ

กลยุทธ์ ที่ 4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

กลยุทธ์ ที่ 5 จัดการเรียนการสอนพัฒนาผู้เรียนให้สามารถอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น มีความสามารถในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการหาความรู้ 

กลยุทธ์ ที่ 6 พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมอันดีงาม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร รักสิ่งแวดล้อม รักวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมท้องถิ่น มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และสามารถดำเนินชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ ที่ 7 พัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ สื่อการเรียนรู้ให้มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพและพร้อมใช้งาน

กลยุทธ์ ที่ 8 พัฒนาอาคารสถานที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม น่าอยู่น่าเรียน มีความปลอดภัย เหมาะสม หลากหลาย เพียงพอและเอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 

กลยุทธ์ ที่ 9 พัฒนาระบบภาคีเครือข่าย สนับสนุนการจัดการศึกษาและระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมจากชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการศึกษา

จุดเน้นของโรงเรียน

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจะต้องสูงขึ้นทุกกล่มสาระฯ

2. นักเรียนจะต้องอ่านออกเขียนได้คิดเลขเป็น

3. มีคุณธรรมนาความรู้มีจิตสานึกการรักชาติ รักสถาบัน

4. มุ่งพัฒนาผู้เรียนไปสู่ความเป็นเลิศ ด้านวิชาการ ดนตรี กีฬา ศิลปะ

5. การศึกษาทางเลือกเพื่อผู้เรียนที่มีข้อจากัดไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้พิการ เด็กด้อยโอกาสหรือเด็กชายขอบ

6. การวางรากฐานให้กับผู้เรียน โดยเน้นการจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

7. เตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและพลโลก

8. สนับสนุนการบริหารจัดการด้านการศึกษาในเขตพิเศษเฉพาะกิจชายแดนภาคใต้

9. บริหารจัดการโรงเรียนที่มีคุณภาพ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

10. พัฒนาครูและบุคลากรสู่มืออาชีพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 2 1 2 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน


				

โครงสร้างหลักสูตรและเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551(ปรับปรุง 2560)

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

เวลาเรียน /ปี

ป.1

ป.2

ป.3

ป.4

ป.5

ป.6

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

 

 

 

 

ภาษาไทย

200

200

200

160

160

160

คณิตศาสตร์     

200

200

200

160

160

160

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

80

80

80

120

120

120

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

80

80

80

80

80

80

ประวัติศาสตร์

40

40

40

40

40

40

สุขศึกษาและพลศึกษา

80

80

80

80

80

80

ศิลปะ

80

80

80

80

80

80

การงานอาชีพ

40

40

40

40

40

40

ภาษาต่างประเทศ

40

40

40

80

80

80

รวมเวลาเรียนพื้นฐาน

840

840

840

840

840

840

รายวิชาเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

40

40

40

40

40

40

การป้องกันการทุจริต


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลอาคารสถานที่

อาคารเรียน

          พ.ศ. 2481 สร้างอาคารเรียนแบบสร้างเองทรงปั้นหยา 3 ห้องเรียนใต้ถุนสูง  เสาซีเมนต์ มุงด้วยกระเบื้องว่าว โดยใช้งบบริจาค  และได้ถูกวาตภัยใน พ.ศ. 2500 เสียหายทั้งหลัง  ต้องอาศัยอาคารชั่วคราวไปจนถึง พ.ศ. 2501

          พ.ศ. 2501 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 002 ขนาด 3 ห้องเรียน ใต้ถุนสูง  อาคารไม้หลังคามุงกระเบื้องลอนคู่ขนาด 3 x12 ตารางเมตร  ด้วยงบประมาณ 35,000 บาท (สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) แต่ยังไม่แล้วเสร็จ  ต่อมา พ.ศ. 2506  ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมอีก  30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) จึงได้แล้วเสร็จ  ต่อมา พ.ศ. 2541 ได้ขออนุมัติรื้อถอนเพราะอาคารมีความชำรุดทรุดโทรม  เสื่อมคุณภาพ ไม่สามารถใช้การได้ตามคำสั่งสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรี ที่ 219/25540 ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2540

          พ.ศ. 2524 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก ขนาด 4 ห้องเรียน เป็นเรือนโรงชั้นเดียว  ผนังซีเมนต์  มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ขนาด 8.60 x36 เมตร  ด้วยงบประมาณ 800,000 บาท (แปดแสนบาทถ้วน) ไม่ทาสี ต่อมาได้ต่อเติมอาคารเรียนแบบ ป.1 ก ด้วยเงินบริจาค

          พ.ศ. 2547 ได้สร้างอาคารเรียนแบบสร้างเองทรงเรือนจีน ขนาด 2 ห้อง กว้าง 8 เมตร ยาว 11 เมตร เป็นเรือนโรงชั้นเดียวมุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ด้วยงบประมารณของคณะทันตแพทย์มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้งบประมาณ  150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) โดยใช้ชื่ออาคารอิสรานุสรณ์

          พ.ศ. 2551  ได้สร้างอาคารเรียนแบบสร้างเอง  ขนาด 2 ห้อง กว้าง 8 เมตร  ยาว 11 เมตร เป็นเรือนโรงชั้นเดียว มุงด้วยประเบื้องลอนคู่ ด้วยงบประมาณจากการบริจาคของคณะครู ผู้ปกครองนักเรียน  ชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  คหบดีในชุมชน และชาวบ้านนาซา  ได้ร่วมกันปลูกสร้าง  รวมใช้งบประมาณ 150,000  บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

          อาคารประกอบ

          พ.ศ. 2517  ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญจำนวน  35,000 บาท (สามหมื่น ห้าพันบาทถ้วน) สร้างบ้านพักครูแบบกรมสามัญขนาด 8 x 3 เมตร ขนาด 3 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ เรือนไม้ ใต้ถุนสูง ปัจจุบันชำรุดใช้การไม่ได้และดำเนินการขออนุญาตรื้อถอนเรียบร้อยแล้ว

          พ.ศ. 2532 ได้รับงบประมาณสร้างส้วมแบบ สปช.601/26 ผนังซีเมนต์ หลังคามุงด้วยกระเบื้องลอน  ขนาด 4 ที่ และที่ปัสสาวะ 1 ที่ กว้าง 2.90 เมตร ยาว 6.80 เมตร  ด้วยงบประมาณ 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)

          พ.ศ. 2529  ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์แบบ สปช.202/2506 ลักษณะเรือนโรงผนังซีเมนต์ หลังคามุงกระเบื้องลอนขนาด 10 x 12 เมตร จำนวน 1 หลัง  ด้วยงบประมาณ 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน)

 

          สิ่งปลูกสร้าง

          พ.ศ. 2536 ได้รับงบประมาณจาก รพช. สร้างถังเก็บน้ำฝนซีเมนต์แบบ รพช.จำนวน 1 ถัง ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2.55 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 1.60 เมตร บรรจุน้ำได้ 20 ลูกบาศก์เมตร สร้างด้วยงบประมาณภัยแล้ง

          พ.ศ. 2547 ได้รับงบประมาณจาก องค์การบริหารส่วนตำบลกระแจะ สร้างเตาเผาขยะ  จำนวน 1 ที่ ปริมาตรการเผา 1 ลูกบาศก์เมตร / วัน พื้นที่ในการก่อสร้าง  12 ตารางเมตร ขนาดเตาเผาเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ด้วยงบประมาณ 28,277 บาท (สองหมื่นแปดพันสองร้อยเจ็ดสิบเจ็ดบาทถ้วน)

          พ.ศ. 2551 ได้รับงบประมาณสร้างลานอเนกประสงค์ขนาดกว้าง 12 เมตร  ยาว 22 เมตร จากนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก  ร่วมกันสร้างโดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 65,000 บาท (หกหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

          พ.ศ. 2552 ได้รับเงินบริจาคสร้างเสาธงพร้อมรากฐานกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร สูง 10 เมตร งบบริจาคของคุณครูมุกดา  เถื่อนวิถี จำนวน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)  คุณครูสุวิมล  ชัญพลา จำนวน  5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) และองค์การบริหารส่วนตำบลกระแจะ สนับสนุนเสาธง

          พ.ศ. 2553 ได้รับเงินบริจาคสร้างระเบียงม้านั่งหน้าอาคารเรียนแบบ ป.1 ก  จากคุณครูลุ้ย   ภาคจิตต์ จำนวน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

          พ.ศ. 2554 ได้รับงบประมาณจากการบริจาคและทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษา  สร้างห้องธุรการ  และโรงจอดรถ งบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมด 350,000 บาท (สามแสนห้าหมื่น บาทถ้วน)

          พ.ศ. 2555 ได้รับบริจาคสร้างลานอเนกประสงค์และต่อเติมโรงรถด้วยเงินบริจาคของศิษย์เก่า  ชมรมมอเตอร์ไซค์คลาสสิก  จำนวน 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน)  

          พ.ศ. 2556 ได้รับงบประมาณจากทางราชการปรับปรุงอาคารเรียน ป.1 ก โดยปูกระเบื้องระเบียงอาคารเรียนและห้องคอมพิวเตอร์  ด้วยงบประมาณ 70,000 บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน)

          พ.ศ. 2557 ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์การสอนทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล  ด้วยงบประมาณจากทางราชการ

          พ.ศ. 2557 ได้รับงบประมาณจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  เพื่อจัดทำแปลสาธิตผักกางมุ้ง  ด้วยงบประมาณ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

          พ.ศ. 2558 ได้รับงบประมาณจากทางราชการตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนอเนกประสงค์แบบ สปช.202/2506 ด้วยงบประมาณ 432,300 บาท (สี่แสนสามหมื่นสองพันสามร้อยบาทถ้วน)

สรุป

          ปัจจุบันโรงเรียนวัดนาซา  เปิดทำการเรียนการสอน 2 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นอนุบาลปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นถึงประถมศึกษาปีที่ 6

          ผู้บริหารสถานศึกษา  ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสถานศึกษารวมทั้งสิ้น 8 คน คนปัจจุบัน คือ นายจงรัก  สุวโจ  ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนาซา

          พื้นที่จัดการศึกษา  10 ไร่ แบ่งเป็น 2 แปลง คือใช้เป็นสนามกีฬาและสวนหย่อม 5 ไร่ และใช้เป็นสถานศึกษาจัดการเรียนการสอน 5 ไร่

 

          สถานศึกษาตั้งอยู่เลขที่ 50/2 หมู่ที่ 3 ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี  รหัสไปรษณีย์  22170 โทร : 081 – 1750987

ที่ตั้งโรงเรียน             เลขที่ 50/2  หมู่ที่ 3 ตำบลกระแจะ  อำเภอนายายอาม  จังหวัดจันทบุรี

ขนาดสถานศึกษา        ขนาดเล็ก

จำนวนพื้นที่              10 ไร่

ระดับชั้นที่เปิดสอน      อนุบาล 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

โทรศัพท์                   081-1750987

อีเมล์                        watnazaschool@gmail.com


 


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/177KETHVGbeGgymugPcP-muc_lowchSM5/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายใน

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

1. ห้องสมุด

2. ห้องคอมพิวเตอร์

3. สวนคณิตศาสตร์

4 .สวนพืชสมุนไพร

5. โรงเพาะเห็ด

6. ป้ายนิเทศ

7. กิจกรรมต้นไม้พูดได้

120

120

60

60

30

240

240


แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

1. วัดนางซา

2. ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ( หมออู๊ด )

3. ชายหาดคุ้งวิมาน

4. ศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน

5. บ่อเลี้ยงกุ้ง

6. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแจะ

10

1

2

2

2

2

ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่สถานศึกษาเชิญมาให้ความรู้แก่ครู นักเรียน ในปีการศึกษาที่รายงาน

                    6.1 ชื่อ-สกุล  นางวารุณี  สุขคเทพ  ให้ความรู้เรื่อง การตัดผม , ขนมไทย,อาหารไทย

สถิติการให้ความรู้ในโรงเรียนแห่งนี้ จำนวน……20…..ครั้ง/ปี


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1zeTsrCEDzipGpdhApJKwYecVS0yAZLtN/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดนาซามีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ 2 ครั้ง มีกิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวัน จัดหา อุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดป้ายนิเทศให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ     ตำบลกระแจะ ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถ สนับสนุนให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับอำเภอ มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน โดยการจัดกิจกรรมแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อนในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวม ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นพ่อ วันแม่ วันไหว้ครู วันเข้าพรรษา ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น อ่าน ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตน โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย โครงงานวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ มีการจัดกิจกรรมหนูรักภาษาไทย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ครูและเพื่อนฟัง มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆ  มีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การตัด ฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ แก้ปัญหาในสถานการณ์จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงาน  

 จากกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการดังนี้

          - เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้  ร้อยละ 100

- เกียรติบัตร/เหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬา วิชาการที่หน่วยงานต่างๆจัดขึ้นทั้งระดับอำเภอและระดับเขตพื้นที่การศึกษา

- เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ร้อยละ 100  สังเกตได้จากการกล้าพูด กล้าแสดงออก รู้จักเข้าแถว รอคิว ในการรับประทานอาหาร รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในและนอกห้องเรียน ตามเขตพื้นที่รับผิดชอบ ร่าเริง แจ่มใส

- เด็กมีพัฒนาด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ได้ร้อยละ 100 สังเกตได้จากการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รู้จักเก็บสิ่งของเครื่องใช้ ทั้งของส่วนตัวและส่วนรวม รู้จักยิ้ม ทักทาย อยู่เป็นนิจ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

- เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ คิดเป็นร้อยละ 100

จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

จุดเด่น

จุดที่ควรพัฒนา

เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

 

-ด้านการมีความคิดรวบยอด การแก้ปัญหาที่เกิดจากการอ่าน

-การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย

-การพัฒนา ปลูกฝังในเรื่องสุขนิสัยที่ดี เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ล้างมือก่อนออกจากห้องน้ำ ห้องส้วม และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้เป็นนิสัย

-การยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติ

-การใช้คำพูดขอบคุณ ขอโทษ

-การใช้วาจาสุภาพเหมาะสมกับวัย

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น (ระบุแผนงานโครงการ/กิจกรรม)

1)     โครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานสำหรับของเด็กปฐมวัย

2)  โครงการส่งเสริมพัฒนาการใช้แหล่งเรียนรู้ภายใน ภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่น

3)  โครงการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา

4)  โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมอันดีงามแก่ผู้เรียน

5)  โครงการบ้านวิยาศาสตร์น้อย

6)  โครงการส่งเสริมการพัฒนาการทางร่างกายของเด็ก

7) โครงการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

8) โครงการพัฒนาประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1t6TLQ89S468JWxvt6lspeTL85KAjR_hR/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

       การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดนาซาได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน  มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น  พิจารณาจากวัยของเด็ก  ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน  ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม  และสติปัญญา  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้  มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ  สำหรับด้านระบบกลไก  การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้  และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา  โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

             โรงเรียนวัดนาซา ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก  ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์และจิตใจ  สังคม  และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้ เช่น  จัดให้มีห้องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เด็กได้ศึกษาหาข้อมูลทางโลกออนไลน์ จัดให้มีอุปกรณ์  ของเล่น  ของใช้  เครื่องนอน  เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พอเพียงกับเด็ก  โดยจัดให้เหมาะสม  สะอาด  ปลอดภัย ให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก ให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย  จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม  เล่นทราย  ที่เหมาะสมปลอดภัย  จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน  ล้างมือ  ทำความสะอาดร่างกาย  ห้องส้วม  พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว  ชุมชน  และท้องถิ่นจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โรงเรียนจัดหาครูพี่เลี้ยงเพื่อดูแลและจัดประสบการณ์ในระดับปฐมวัย มีครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัย ส่งเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องrพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม  ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด  มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน  

จากกระบวนการพัฒนาดังกล่าว ทำให้โรงเรียนวัดนาซา มีผลการดำเนินงานดังนี้

1. การกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน

2. มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด 

3.จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

4. การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น  พิจารณาจากวัยของเด็ก  ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ สังคม  และสติปัญญา  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ 

5.การพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ สำหรับด้านระบบกลไก การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

6.มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็ก

7.มีครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัย ส่งเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องrพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง 

8. มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี 

 

9. มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

-  แผนปฏิบัติการประจำปี

- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

- รายงานผลการเข้าร่วมอบรมพัฒนาของครูและบุคลากร

โครงการส่งเสริมพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้ภายใน ภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่น

- แผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

- รายงานผลการประเมินตนเองประจำปี 

จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

จุดเด่น

จุดที่ควรพัฒนา

- มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง

4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

- การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

-         ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ

        -  จัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียน

        - ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

       - จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง

        - กำหนดแผนการพัฒนาครูอย่างชัดเจน

 

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น (ระบุแผนงานโครงการ/กิจกรรม)

      1) โครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานเด็กปฐมวัย

      2)  โครงการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับปฐมวัยและประถมศึกษา

      3) โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

      4) โครงการพัฒนาประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

      5) โครงการนิเทศภายใน

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/19LNwXK1Ejdfg8QDQTmSwUWXqf3j5qZsd/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน  ทั้งทางด้านร่างกาย   อารมณ์จิตใจ  สังคม และสติปัญญา  มีความรู้  คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข  ภายใต้คำว่า เก่ง  ดี   มีสุข ประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ   สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม  รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้านสังคม   เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้  มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ด้านสติปัญญา  มีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย    จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม  เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ  ความสามัคคี การแบ่งปัน  และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น  ความเห็นอกเห็นใจ   มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน  ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน  และปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน

          ห้องเรียนมีบรรยากาศเหมาะสมต่อการเรียนรู้ กว้างขวางพอเหมาะ  มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งห้องเรียนให้สวยงาม และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  และการจัดกิจวัตรประจำวัน   ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต  การสอบถาม  การสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด  มีการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

 

ผลการดำเนินงาน  


จากกระบวนการพัฒนาดังกล่าว ทำให้โรงเรียนวัดนาซา มีผลการดำเนินงานดังนี้

1. จัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ   สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน 

2.มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย 

3.จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน 

4.มีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน

5.มีการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน  ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย

6.การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด 

7. การจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

8. มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี

9. นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง




ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

        - มุมประสบการณ์

          - แบบบันทึกการพัฒนาการของเด็ก

          -รายงานผลการประเมินตนเอง

          -บรรยากาศ  ห้องเรียน  มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ 

          -การจัดกิจกรรมประจำวัน

          - แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมประจำวัน  

จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

จุดเด่น

จุดที่ควรพัฒนา

-        เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล

- เด็กเรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม

-  มีบรรยากาศ อาคาร สถานที่ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้

-        ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย

 

-  จัดอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย

-  พัฒนาเครื่องเล่นสนามและระบบสาธารณูปโภค

- จัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน

 

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

1)  โครงการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรปฐมวัย

2)  โครงการส่งเสริมพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้ภายใน ภายนอกโรงเรียน และภูมิปัญญาท้องถิ่น

3)  โครงการพัฒนาส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์แก่นักเรียน

4)  โครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานเด็กปฐมวัย

5)  โครงการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับปฐมวัย

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1hNgaZ7DpGxJ-UAhYJ8ly-4D2jQdOHgvx/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพเด็ก

1. เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

มาตรฐานที่กระบวนการบริหารและการจัดการ

1. มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

2. การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

3. ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ

มาตรฐานที่การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

1. เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล

2. เด็กเรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม

3. มีบรรยากาศ อาคาร สถานที่ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้

 

4. ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย

       

 

       

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 


ผลที่เกิดจากการพัฒนา

          -  ด้านคุณภาพของเด็ก  ได้มีการพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้านทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และสติปัญญา

          -  ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ  จัดให้ครูมีเพียงพอกับชั้นเรียน  จัดสภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนรู้และจัดให้มีสื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้สนับสนุนการจัดประสบการณ์

          -  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล  สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นอย่างมีความสุข มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

 

ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

      - โครงการต่าง ๆ 

      - กิจกรรมการจัดประสบการณ์

      - รูปภาพกิจกรรมต่างๆ

       - ผลงานเด็ก

      - ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน

จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

จุดเด่น

จุดที่ควรพัฒนา

-        เด็กมีพัฒนาการสมดุลสมวัย

-        มีโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด่นชัด

- มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่นำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- โรงเรียนมีอุปกรณ์ในการเรียนทางไกล(DLTV)

 

-        การช่วยเหลือตนเองทั้งที่บ้านและโรงเรียน

- ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์เด็ก

 

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

            1)  โครงการการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

2)  โครงการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

3)  โครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานเด็กปฐมวัย

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1GQ3QFLb8j0ISU1Dn8sD_BpdvdvXKI148/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดนาซาส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานพัฒนาหลักสูตรมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560) เพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่ว่า "การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข ดังนั้นโรงเรียนวัดนาซาจึงกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ  2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน  ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้  ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และ มีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ผลการดำเนินงาน  

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียนที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง ได้แก่1)โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการ กิจกรรมพิชิต NT กิจกรรมพิชิต O-NET 2) โครงการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3)โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์แก่นักเรียน กิจกรรมออมทรัพย์ กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการ4) โครงการพัฒนาประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา   5)โครงการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 6) โครงการนิเทศภายใน 7) โครงการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 8) โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน 9) โครงการปรับปรุงพัฒนาภูมิทัศน์ แหล่งเรียนรู้และความปลอดภัยในโรงเรียน 10) โครงการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ภายใน ภายนอกโรงเรียนและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

1. แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา

2. แผนปฏิบัติการประจำปี

3. รายงานการสรุปโครงการและกิจกรรมต่างๆ

4. รายงานการประชุม

5. ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน

6. ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน

7. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน

8. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

9. ผลการประเมินผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

10.ภาพการศึกษาดูงาน/อบรม

          11. ภาพการปรับปรุงภูมิทัศน์

          12. ภาพการทัศนศึกษา

13. ภาพการจัดกิจกรรมต่างๆ 


จุดเด่น  จุดที่ควรพัฒนา แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

จุดเด่น

จุดที่ควรพัฒนา

สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิต ดี กล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์ ยังขาดการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง จริงจัง       การยกระดับผลสัมฤทธิ์แต่ละกลุ่มสาระประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง นักเรียนส่วนใหญ่ยังต้องได้รับการพัฒนาต่อไป ผลสัมฤทธิ์ระดับชาติของนักเรียนมีแนวโน้มลดลงในทุกกลุ่มสาระจึงต้องมุ่งเน้นพัฒนาต่อไป

จัดกิจกรรมด้านการอ่าน การเขียน คำนวณให้กับนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การอ่าน การเขียน

 

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

 1) พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น

2) พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล 

3) พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

4) พัฒนาให้นักเรียน มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม

5) พัฒนาให้นักเรียน มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ  กระบวนการต่าง ๆ

6) พัฒนาให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ มีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการเจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น มีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม  จริยธรรม เคารพในกฎกติกา

7) พัฒนาให้นักเรียนมีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษามีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย   

8) พัฒนาให้นักเรียน มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1QDMJlOWyeOwvRYJPH6Fv-8W2KfGn0CSU/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และ มีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
ผลการดำเนินงาน  

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียนที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง ได้แก่ 1)โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์แก่นักเรียน กิจกรรมออมทรัพย์ กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการ 2) โครงการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

1)พัฒนาให้นักเรียนมีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษามีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย  

 

2)พัฒนาให้นักเรียน มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1QDMJlOWyeOwvRYJPH6Fv-8W2KfGn0CSU/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษาในโรงเรียนวัดนาซา มีการดำเนินการดังนี้ มีการวิเคราะห์สภาพปัญหา  ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยใช้ข้อมูลฐานในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน ในดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน  ตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมาย  เชื่อมโยงกับชีวิตจริง จัดทำแผนพัฒนา คุณภาพจัดการศึกษา ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ  ทางด้านวิชาชีพ  ตามความต้องการของครูและสถานศึกษา  จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ   และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนวัดนาซา 

 

ผลการดำเนินงาน  

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการบริหารและการจัดการได้แก่ โรงเรียนมีแผนปฏิบัติการ มีวิสัยทัศน์เป้าหมาย และพันธกิจที่โรงเรียนกำหนดชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ วางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยนำแผนไปปฏิบัติ   ติดตาม ตรวจสอบ  ประเมินผล  และปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลังและทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการนิเทศภายใน  นำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร  และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มเรียนร่วมด้วย มีการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรตรงตามความต้องการและจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน มีความปลอดภัย จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน พัฒนาบริการด้านเทคโนโลยี  สารสนเทศ มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1Ck7wENKWUC9W4gTN4GImK8KNSNQUO6sQ/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดนาซาส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning)  ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา  ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูผลิตนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ  1 เรื่อง  

ผลการดำเนินงาน  

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง ได้แก่หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมชุมนุม การบันทึกการใช้สื่อ เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ เอกสารการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียนมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกโดยครูมีวิจัยชั้นเรียนและนำผลไปแก้ไขปัญหาจริง ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1natLHfG78PcSkLmp4Zm7rqrKoc61orql/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

พัฒนาผู้เรียน ด้านการอ่านและเขียนของนักเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด นักเรียนร่วมกิจกรรมจิตอาสา โรงเรียนจัดให้มีการสอนงานอาชีพด้านการเกษตรและการทำอาหารให้กับนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ มีผลงาน/ผลิตภัณฑ์ของตนเองนักเรียนทุกคน ไม่มีอัตราความเสี่ยงการติดสิ่งเสพติด มีโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็งไม่มีการทะเลาะวิวาทในโรงเรียน โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่พร้อมใช้งาน และมีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนทุกห้องเรียน ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรม Active learning เพื่อส่งเสริมการคิดและปฏิบัติจริงทุกชั้นเรียน ครูได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและนำความรู้มาพัฒนานักเรียน ครูผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอน และมีเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียนที่หลากหลาย ผู้บริหารมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับชุมชน และมีการแสวงหาความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรจากชุมชน มีโครงการระดมทรัพยากรมาช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปตามเป้าหมายที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ซึ่งจากผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับ ดี ผลที่สนับสนุนการประเมินตนเอง ดังนี้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จากการประเมินด้านการอ่านและเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 24 คน เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จำนวน 1 คน ผลการประเมินดังนี้ ด้านอ่านออกเสียง นักเรียนที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไปจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านการอ่านรู้เรื่อง ผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไปจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านการเขียนได้แบ่งเป็นด้านเขียนคำ ผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100 การเขียนเรื่อง ผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100  ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3(NT) ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 43.83 อยู่ในระดับพอใช้  และผลการทดสอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(O-NET) ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 38.75  ผลการอ่านคิด วิเคราะห์และเขียนผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในระดับ”ดี” ขึ้นไปร้อยละ 100

        ความสามารถในการสื่อสารเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด ผลการทดสอบระดับชาติ 3 ปีย้อนหลังยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์สถานศึกษา (NT และ O-NET)  ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติ นักเรียนร่วมกิจกรรมจิตอาสา โรงเรียนจัดให้มีการสอนงานอาชีพด้านการเกษตรและการทำอาหารให้กับนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ มีผลงาน/ผลิตภัณฑ์ของตนเองนักเรียนทุกคน ไม่มีอัตราความเสี่ยงการติดสิ่งเสพติด มีโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็งไม่มีการทะเลาะวิวาทในโรงเรียน โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่พร้อมใช้งาน และมีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนทุกห้องเรียน ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรม Active learning เพื่อส่งเสริมการคิดและปฏิบัติจริงทุกชั้นเรียน ครูได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและนำความรู้มาพัฒนานักเรียน ครูผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอน และมีเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียนที่หลากหลาย ผู้บริหารมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับชุมชน และมีการแสวงหาความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรจากชุมชน มีโครงการระดมทรัพยากรมาช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

          1. แบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2. ภาพกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

3. ภาพสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

4. ภาพการพัฒนาศักยภาพบุคลากร  

5. ภาพประชุมกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง

6. ภาพกิกิจกรรมพัฒนาอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ปลูกเห็ดนางฟ้า)

7. ภาพการพัฒนาภูมิทัศน์โรงเรียน

8. ภาพการจัดการเรียนการสอน

9. ภาพการทำกิจกรรมจิตอาสา สาธารณประโยชน์

10. ห้องเรียนคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1WacxNyhlLAImGEHjE-hZmrSVxxMACUaa/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1oIdw1s0KYnTTlM6NGXLnt40wzn4Oxg40/view?usp=sharing