รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านยางระหง

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาปีการศึกษา 2563 ระดับการศึกษาปฐมวัย ปรากฏผล ดังนี้

     มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

     มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

     มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ


ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาปีการศึกษา 2563 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปรากฏผล ดังนี้

     มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

     มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

     มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ


 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

ระดับการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับ ดีมาก

        ผู้เรียนมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานมือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี และได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกหลักโภชนาการ มีสภาพอารมณ์ ที่ร่าเริง แจ่มใส มีการแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย โดยการให้อิสระในการตัดสินในการทำกิจกรรมต่างๆที่ตนเองสนใจ การอดทนรอคอยยอมรับและพอใจในสิ่งที่ตนเองเลือก มีความมั่นใจ กล้าพูดกล้าแสดงออก ช่วยเหลือ แบ่งปันสิ่งของต่างๆ เคารพสิทธิ รู้จักหน้าที่ของตนเองผู้เรียนช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ การยอมรับและเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีการสื่อสาร สนทนา โต้ตอบ สิ่งที่ตนเองรู้และสิ่งที่สงสัย มีการตั้งคำถามด้วยตนเอง มาหาข้อมูล แลกเปลี่ยนความรู้ พยายามหาคำตอบในการสิ่งที่ตนเองอยากรู้

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดี

        โรงเรียนบ้านยางระหง ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาในระดับปฐมวัย ให้สอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการทุกด้านสูงสุดตามศักยภาพ เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความแตกต่าง ของบุคคล ธรรมชาติ และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น สนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ สถานศึกษาจัดครูสอนที่จบการศึกษาปฐมวัย มีความรู้สามารถในการจัดประสบการณ์และกิจกรรมที่หลากหลาย โรงเรียนส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูที่ทำการสอนเด็กปฐมวัยทุกคนได้พัฒนาตนด้านคุณวุฒิ

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดีมาก

        ผู้สอนได้มีการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล โดยการศึกษาจากผลพัฒนาการต่างๆ ทั้ง4 ด้านมาประกอบการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการการเด็กครบทุกด้านทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นผ่านสื่อกิจกรรมต่างๆอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสามารถ ตอบสนองต่อการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กได้เลือกเล่น เรียนรู้ ลงมือ กระทำด้วยตนเอง มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ เหมาะสมกับวัย มีพื้นที่แสดงผลงานให้เด็ก อากาศถ่ายเทสะดวก มีมุมประสบการณ์ที่เด็กได้มีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับ ดี

        ผู้เรียนมีทักษะในการอ่านและเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดตามระดับชั้นในระดับดี ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดจำแนกแยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลในการตัดสินใจ ผู้เรียนสามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับดี ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการ มีเจตคติที่ดี พร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น และมีวุฒิภาวะทางอาชีพเหมาะสมกับช่วงวัย ในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนอยู่ในระดับคุณภาพดีเลิศ ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ผู้เรียนมีความประพฤติด้านคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึก ตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏชัดเจน โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย รวมทั้ง ภูมิปัญญาไทย

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดีมาก

        สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่กำหนดไว้ชัดเจน และตรงกับวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ มีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และท้องถิ่น มีแผนงานและมีการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพวิชาการทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกคน และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษามีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนา ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง มีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์ ชุมชน ผู้ปกครอง และหน่วยงานภายนอก ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับผู้เรียน

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดีมาก

        ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการปฏิบัติจริง การศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สรุปองค์ความรู้ และสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้เป็นอย่างดี ครูมีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ แสดงออก นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมละต่อเนื่อง ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยเชื่อมโยงบูรณาการสาระการเรียนรู้และทักษะต่างๆ มีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการสอน และอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม จากการจัดโครงการ/กิจกรรม ทำให้ครูเข้าใจปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษา และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียน การสอน ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นหรือร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม ครูมีการตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ โดยการประเมินผู้เรียนจากสภาพจริง และมีขั้นตอนตรวจสอบและประเมินอย่างเป็นระบบ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล และจากการจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ส่งผลให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก ทำให้ผู้เรียนรักการมาเรียน และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข


 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

     1. พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น

     2. พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล

     3. พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

     4. พัฒนาให้นักเรียน มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม

     5. พัฒนาให้นักเรียน มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง

     6. พัฒนาให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ มีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการเจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น มีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา

     7. พัฒนาให้นักเรียนมีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษามีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย

     8. พัฒนาให้นักเรียน มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

โดยมีแผนงาน/โครงการที่โรงเรียนดำเนินงานมีดังนี้

     โครงการสอนซ่อมเสริมและส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ

     โครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

     โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา

     โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวพระราชดำริ

     โครงการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน

     โครงการส่งเสริมทักษะคณิตคิดเลขเร็ว

     โครงการส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาสู่อาเซียน

     โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านออกเขียนได้ 100%

     โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข

     โครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้

     โครงการห้องเรียนคุณภาพ



 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

             ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนบ้านยางระหง ตั้งอยู่เลขที่ ถนน หมู่ ที่ 2 ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22170 โทรศัพท์ 087-1496242 (ผู้อำนวยการโรงเรียน) โทรสาร - e-mail : byschool185@gmail.com สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โรงเรียนนี้ก่อตั้ง ตั้งแต่ วันที่ 2 เดือนพฤษภาคม พ..2501 มีเขตพื้นที่บริการ 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 2 (บ้านยางระหง) และ หมู่ 10 (บ้านเนินมณฑา)ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวม 8 ชั้น (8 ห้องเรียน) จำนวนนักเรียนทั้งหมด 77 คน


การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์โรงเรียน

     เรียนอย่างมีความสุข ปลูกจิตสำนึกความเป็นไทย ใส่ใจพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ เน้นหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ

     1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยสอดแทรกคุณธรรมขั้นพื้นฐาน ๘ ประการ

     2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษา

     3. สร้างเสริมบรรยากาศภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้

     4. ส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

     5. พัฒนาการจัดองค์กร โครงสร้างการบริหารโรงเรียนครบวงจร

     6. ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

เป้าประสงค์

     1. ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น และมีสุขภาวะที่ดี มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์

     2. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร มีทักษะการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน

     3. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ

     4. โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและได้มาตรฐานตามเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

     5. โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และพร้อมให้บริการแก่ทุกภาคส่วน

     6. ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

     7. โรงเรียนมีมาตรฐานการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ มีการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

     8. โครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนครบวงจร และบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษา

     9. โรงเรียนจัดการศึกษาโดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน


ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 4 0 1 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โรงเรียนบ้านยางระหง จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

โรงเรียนบ้านยางระหง มีอาคารเรียนและคารประกอบ ดังนี้

     1. อาคารเรียน จำนวน 2 หลัง ได้แก่ อาคารเรียนชั้นอนุบาล และอาคารเรียนชั้นประถมศึกษา

     2. อาคารเอนกประสงค์

     3. บ้านพักครู

     4. ส้วม จำนวน 2 หลัง

     5. สนามเด็กเล่น

     6. ถังเก็บน้ำ

     7. รั้วคอนกรีต


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1At_NXAqLI2zskfuuw-mTYHC7z9YBJlNw/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

 1.แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

     1.1 ห้องคอมพิวเตอร์                                สถิติการใช้ 100 ครั้ง/ปี

     1.2 ศาลาอาเซียน                                     สถิติการใช้ 200 ครั้ง/ปี

     1.3 ห้องสหกรณ์                                        สถิติการใช้ 200 ครั้ง/ปี

     1.4 ห้องสมุด                                             สถิติการใช้ 200 ครั้ง/ปี

     1.5 ห้องจริยธรรม                                      สถิติการใช้ 100 ครั้ง/ปี

     1.6 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง              สถิติการใช้100 ครั้ง/ปี

     1.7 โรงเพาะเห็ด                                        สถิติการใช้ 100 ครั้ง/ปี

     1.8 โรงอาหาร                                            สถิติการใช้ 200 ครั้ง/ปี

     1.9 ธนาคารขยะ                                         สถิติการใช้ 100 ครั้ง/ปี

     1.10 อาคารถกลนุสรณ์                               สถิติการใช้ 50 ครั้ง/ปี

     1.11 สนามฟุตบอล                                     สถิติการใช้ 200 ครั้ง/ปี

     1.12 สนามเด็กเล่น                                     สถิติการใช้ 200 ครั้ง/ปี

2. แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน

     2.1 มหาวิทยาลัยบูรพา                               สถิติการใช้ 20 ครั้ง/ปี

     2.2 วัดยางระหง                                          สถิติการใช้ 4 ครั้ง/ปี

     2.3 อบต.กระแจะ                                        สถิติการใช้ 5 ครั้ง/ปี

     2.4 ศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน    สถิติการใช้10 ครั้ง/ปี

     2.5 พิพิธภัณฑ์สุสานปูล้านปี                      สถิติการใช้ 20 ครั้ง/ปี

     2.6 สหกรณ์ร้านค้าบ้านยางระหง                สถิติการใช้ 1 ครั้ง/ปี


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1lXoFFyE60-DDvlgkBco2ezXdMOJ2b--D/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนามาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับ ดีเลิศ


ผลการดำเนินงาน  

 

        ด้านที่ 1 พัฒนาการด้านร่างกายผู้เรียนมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน จากการได้รับการส่งเสริมด้วยวิธีการออกกำลังกาย เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยมือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี และได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกหลักโภชนาการ มีการตรวจสุขภาพ มีการอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเป็นประจำทุกปี

        ด้านที่ 2 พัฒนาการด้านอารมณ์- จิตใจ ผู้เรียนมีสภาพอารมณ์ ที่ร่าเริง แจ่มใส มีการแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย โดยการให้อิสระในการตัดสินในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ตนเองสนใจ มีความมั่นใจ กล้าพูดกล้าแสดงออก ช่วยเหลือ แบ่งปันสิ่งของต่างๆ เคารพสิทธิ รู้จักหน้าที่ของตนเอง ผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งให้เสรีภาพกับเด็กที่จะเลือกเล่นด้วยตนเอง ผู้เรียนมีความสุข และรักการมาโรงเรียน

        ด้านที่ 3 พัฒนาการด้านสังคม ผู้เรียนช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ โดยผ่านกิจกรรมในกิจวัตรประจำวัน เช่น กิจกรรมการเก็บขยะ ปัด กวาด เช็ด ถูบริเวณที่รับผิดชอบตอนเช้าก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ กิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติ การไหว้ ยิ้ม ทักทาย มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ การยอมรับและเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น มารยาทในการเดิน การนั่ง การรับประทานอาหารในโรงอาหารด้วยตนเองและไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นผู้เรียนสามารถเล่นและกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ โดยใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาที่ปราศจากการใช้ความรุนแรง

        ด้านที่ 4 พัฒนาการด้านสติปัญญาผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับจากการส่งเสริมและผ่านสื่อการเรียนการสอน การจัดสถานการณ์ของผู้สอน ทำให้ผู้เรียนมีการสื่อสาร สนทนา โต้ตอบ สิ่งที่ตนเองรู้และสิ่งที่สงสัย มีการตั้งคำถามด้วยตนเอง มาหาข้อมูล แลกเปลี่ยนความรู้ พยายามหาคำตอบในการสิ่งที่ตนเองอยากรู้ ผู้สอนมีการใช้นิทานมาเล่า ให้ผู้เรียนฟัง ทำให้ผู้เรียนที่เกิดนิสัยรักการอ่าน โดยผ่านหมวดภาษาที่ผู้สอนได้จัดเตรียมไว้ผู้เรียนมีความคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ผ่านเกมการศึกษา

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1fRygqseooEWYa_edzoCvbhXJ47aG_vZP/view?usp=drivesdk
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  
       กระบวนการพัฒนามาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดี
ผลการดำเนินงาน  

        การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนบ้านยางระหง ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่ขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาในระดับปฐมวัย ให้สอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการออกแบบการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมโดยการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน โดยไม่มุ่งเน้นและเร่งรัดในด้านวิชาการ เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นโดยการจัดการกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาด้านร่างกาย

        โรงเรียนมีการจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการทุกด้านสูงสุดตามศักยภาพ เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความแตกต่าง ของบุคคล ธรรมชาติ และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น สนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาเด็กให้เกิดความสุขในการเรียนรู้ เกิดทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต รวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ให้แก่เด็ก จัดกิจกรรม เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความตระหนักและมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

        สถานศึกษาจัดครูสอนที่จบการศึกษาปฐมวัย มีความรู้สามารถในการจัดประสบการณ์และกิจกรรมที่หลากหลาย โรงเรียนส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูที่ทำการสอนเด็กปฐมวัยทุกคนได้พัฒนาตนด้านคุณวุฒิ เช่น เข้ารับการอบรมความรู้ด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย ศึกษาด้านจิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาพัฒนาการ โดยทำความเข้าใจพัฒนาการในแต่ละด้านอย่างแม่นยำ ศึกษาด้านหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และสามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาได้

        ครูปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเทการสอนอย่างเต็มเวลาและเต็มความสามารถ เพื่อพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพ บรรลุตามจุดหมายของหลักสูตร มีความเข้าใจปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัย จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย บริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก ใช้สื่อและเทคโนโลยีสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการอย่างหลากหลาย มีการวิจัย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พร้อมกับจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีความรู้ความสามารถในด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย ตลอดจนสามารถจัดทำ สารนิทัศน์เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก

        ผู้บริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านคลองลาว มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย 2561 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา สถานศึกษามีโครงการและกิจกรรมที่พัฒนาเด็ก โครงการการจัดการศึกษาปฐมวัย กิจกรรมพัฒนาการด้านร่างกาย กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา กิจกรรมการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน

        ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ สถานศึกษาได้เข้าร่วมโรงเรียนประชารัฐมีการนำระบบอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ ทีวี นำมาให้เด็กได้เรียนรู้ การจัดประสบการณ์และทำกิจกรรมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ครูสามารถค้นคว้าหาข้อมูลมาให้ความรู้กับเด็ก เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ และให้ครูได้พัฒนาตนเอง

        โรงเรียนมีแหล่งการเรียนรู้อย่างเพียงพอ หลากหลายทั่วถึง เด็กและบุคลากรในสถานศึกษารวมทั้งชุมชน องค์กรที่เกี่ยวข้องจะได้พัฒนาทักษะความสามารถในการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ มีความตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็นองการเรียนรู้ มีความใฝ่รู้ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีทักษะกระบวนการคิด การวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา สามารถใช้ความรู้ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ตลอดจนมีโอกาสและสามารถเลือกที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดช่วงอายุแต่ละวัย ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย มีคุณภาพตามความต้องการ ความสนใจ ความถนัด

        โรงเรียนมีการจัดทำข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับสถานศึกษา เพื่อใช้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ มาจากมาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มาตรฐานคุณภาพเด็กตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา นโยบาย จุดเน้นของหน่วยงานต้นสังกัด เอกลักษณ์ที่สถานศึกษาต้องการสร้าง ทั้งนี้โดยคำนึงถึงศักยภาพของเด็ก ศักยภาพของโรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่น


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1k6sUPi075RgxgThBx23MBd4RRXj4tzs8/view?usp=drivesdk
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

     กระบวนการพัฒนามาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดีเลิศ

ผลการดำเนินงาน  

  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญอยู่ในระดับ ดีเลิศ โดยผู้สอนได้มีการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล โดยการศึกษาจากผลพัฒนาการต่างๆทั้ง 4 ด้านมาประกอบการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการการเด็กครบทุกด้านทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นผ่านสื่อกิจกรรมต่างๆอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสามารถ ตอบสนองต่อการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กได้เลือกเล่น เรียนรู้ ลงมือ กระทำด้วยตนเอง มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ เหมาะสมกับวัย มีพื้นที่แสดงผลงานให้เด็ก อากาศถ่ายเทสะดวก มีมุมประสบการณ์ที่เด็กได้มีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน เช่น ป้ายนิเทศ การดูแลต้นไม้ เป็นต้น การประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง ตามกิจกรรมต่างๆในกิจวัตรประจำวัน และ พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน จากการประเมินที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น แล้วนำผลการประเมินไปพัฒนาคุณภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ด้านผลการจัดการศึกษา

     1. ผู้เรียนควรได้รับการกระตุ้นและฝึกทักษะการปฏิบัติในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีและอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร

     2. พัฒนากิจกรรมให้ปลุกเร้าผู้เรียนให้รู้ สามารถพัฒนาทักษะ กระบวนการคิดต่างๆ ลงมือปฏิบัติจริงฝึกแก้ปัญหาเพื่อให้เข้าใจสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

     1. ครูควรได้รับการอบรมเขียนแผนการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายอย่างชัดเจน การออกแบบ การเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ และการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา

     2. ครูควรพัฒนาผลงานวิจัยในโรงเรียนให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

ด้านการประกันคุณภาพภายใน

     สถานศึกษาควรดำเนินตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4 ปี ที่นำมาเขียนโครงการรวบรวมเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ การจัดสรรงบประมาณ และสรุปผลการดำเนินงานได้ตรงกับแผนเพื่อตอบสนองมาตรฐานการศึกษา


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1M6iaohgOiUsvjMMTkX3c6EilPuB6NnzJ/view?usp=drivesdk
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

       จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการจัดโครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย  สามารถพัฒนาเด็กให้มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงเจริญเติบโตตามวัย  และมีสุขนิสัยที่ดี มีสภาพอารมณ์ ที่ร่าเริง แจ่มใส มีการแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย โดยการให้อิสระในการตัดสินในการทำกิจกรรมต่างๆที่ตนเองสนใจ อดทน  รอคอย ยอมรับและพอใจในสิ่งที่ตนเองเลือก มีความมั่นใจ กล้าพูดกล้าแสดงออก ช่วยเหลือ แบ่งปันสิ่งของต่างๆ เคารพสิทธิ รู้จักหน้าที่ของตนเอง มีวินัย มีความรับผิดชอบ สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับของสถานศึกษา  สามารถบอกเหตุผลสะท้อนการกระทำใดถูกผิด  รู้จักการจัดเก็บของเล่นของใช้เข้าที่  เข้าแถวรอคอยตามลำดับก่อน- หลัง  มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริต  ไม่ลักขโมย คืนของที่เก็บได้ให้เจ้าของหรือมอบให้ครู ช่วยเหลือ แบ่งปัน เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ผู้เรียนมีการสื่อสาร สนทนา โต้ตอบ สิ่งที่ตนเองรู้และสิ่งที่สงสัย มีการตั้งคำถามด้วยตนเอง มาหาข้อมูล แลกเปลี่ยนความรู้ สามารถสื่อสาร และแก้ปัญญาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ รักการอ่านและสนใจใฝ่เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว  สนุกกับการเรียนรู้  ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสนใจและมีความสุข เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง  สามารถรับรู้  จดจำ รู้คิด  รู้เหตุ  รู้ผลและแก้ปัญหาได้ตามวัย

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

       1.มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

       2.มีครูที่จบการศึกษาปฐมวัยโดยตรง
       3.ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กโดยการส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทางวิชาการ
       4.ครูได้รับพัฒนาด้านวิชาชีพ ครูมี คุณธรรม จริยธรรม มีคุณวุุฒิ ความรู้และความสามารถ ตรงกับงานที่รับผิดชอบ
       5.มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและพอเพียง โดยมีการจัดหาและผลิตสื่อทุกปีการศึกษา
       6.มีการจัดอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
       7.มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุุกภาคส่วนมีส่วนร่วม โดยจัดกิจกรรมปฐมนิเทศผู้ปกครองมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนครบ 100 % มการนิเทศติดตามของหน่วยราชการ ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการทำงาน และให้ความร่่วมมือในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี
       8.โรงเรียนใช้ระบบการประกันคุุณภาพภายในสถานศึกษาในการพพัฒนาคุณภาพการศึกษา

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

       เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นผ่านสื่อกิจกรรมต่างๆอย่างอิสระ ตามความต้องการ  ความสามารถ ตอบสนองต่อการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กได้เลือกเล่น เรียนรู้ ลงมือ กระทำด้วยตนเอง มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้       


ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

มาตรฐานที่ คุณภาพของเด็ก

     จุดเด่น

       1.เด็กปฐมวัยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วมีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัยมีการใช้มือและตาประสานสัมพันธ์กันได้ดีมีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพของตนเองได้แก่ ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำ รู้จักดูแลรักษาสุขภาพสุขอนามัยส่วนตนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและเจริญเติบโตตามวัย เด็กปฐมวัยร่าเริงแจ่มใส ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความมั่นใจ กล้าคิดและกล้าแสดงออก สามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย

       2.เด็กปฐมวัยมีวินัยรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเองเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครูและญาติผู้ใหญ่ มีความซื่อสัตย์สุจริต ช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่น มีความประหยัดและพอเพียง ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ

        3. เด็กปฐมวัยสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้  สนทนาโต้ตอบ  แสดงความคิดเห็นร่วมกันได้และเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจได้สามารถตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัยได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน  มีความสามารถในการคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้รู้จักคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมกับวัย

มาตรฐานที่ กระบวนารบริหารและการจัดการ

   จุดเด่น

 1.ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล  ครูและบุคลากรของโรงเรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นครูมืออาชีพจากการอบรมเชิงปฏิบัติการอีกทั้งมีการนิเทศภายในเพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอยู่สม่ำเสมอมีการบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีระบบ มีการผลิตสื่อและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้อยู่เสมอ

2.ผู้บริหารหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาเด็กปฐมวัยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมให้คำแนะนำคำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาปฐมวัยเต็มศักยภาพ มีการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวัยอย่างเหมาะสมรวมถึงระบบความปลอดภัยที่สอดคล้องกับวัยและสภาพบริบทของโรงเรียน

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

 จุดเด่น

        ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์  สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล  สามารถบริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวกได้  ทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสุข  มีระบบการนิเทศภายในเพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอยู่อย่างสม่ำเสมอ  มีการบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างเป็นระบบ  มีการวิจัยพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอย่างเต็มตามศักยภาพ  มีการผลิตสื่อและนวัตกรรมสร้างสรรค์ระดับปฐมวัยมาใช้ในการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน  ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้ทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีอย่างสมดุลรอบด้าน


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1M6iaohgOiUsvjMMTkX3c6EilPuB6NnzJ/view?usp=drivesdk
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

     สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนการสอนตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน มีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคลและนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมองแบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก และเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียน ทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิค วิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีการออกแบบการเรียนรู้และ การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ในการเรียนการสอน ครูมีการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนประเมินความก้าวหน้าของตนเองและนำมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาตนเอง มีการวิเคราะห์ผลการประเมินและนำมาใช้ในการซ่อมเสริมพัฒนาผู้เรียนเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนมีโครงการที่ส่งเสริมกิจกรรมการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การพัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้มีระบบการนิเทศภายใน กิจกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งเป็นโครงการที่รองรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และบุคลากรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ มีสื่อที่เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้เพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ครูร่วมกันจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการส่งเสริมการประกวดแข่งขันทักษะทางวิชาการ การเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Approach) การใช้คำถามกระตุ้นให้คิด ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมและปลูกฝังกระบวนการคิดอย่างหลากหลาย บูรณาการกับการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่สามารถทำงานเป็นกลุ่ม มีการแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ปรับตัวเข้ากับสังคมและเพื่อนได้ดี ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ได้แก่ กิจกรรมการเข้าค่ายคุณธรรม กิจกรรมเข้าค่ายพักแรมลูกเสือ – เนตรนารี กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมกีฬาสีภายในโรงเรียน


ผลการดำเนินงาน  

     ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ผู้เรียนมีทักษะในการอ่านและเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดตามระดับชั้นในระดับดี ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดจำแนกแยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลในการตัดสินใจ ผู้เรียนสามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับดี ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงานอย่างสร้างสรรค์และมีคุณธรรม ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาเป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนดอยู่ในระดับดี ผู้เรียนบรรลุและมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรจากพื้นฐานเดิมในแต่ละปี มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการต่าง ๆ มีผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 รวมความสามารถทั้ง 2 ด้าน อยู่ในระดับพอใช้ มีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สูงกว่าระดับประเทศ ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการ มีเจตคติที่ดี พร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น และมีวุฒิภาวะทางอาชีพเหมาะสมกับช่วงวัย


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1wO5nUWONKXPmr1orWaCQV_SDYg9LWlSC?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา       
     สถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อสืบค้นข้อมูล ครูร่วมกันแก้ปัญหาผู้เรียน โดยใช้กระบวนการ PLC โดยกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน นอกจากนี้สถานศึกษาได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โดยการจัดค่ายคุณธรรมกับนักเรียนทุกระดับชั้น จัดกิจกรรมการพัฒนาให้เหมาะสมกับวัย พัฒนาคุณธรรมผู้เรียนตามหลักสูตร มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม ได้แก่ กิจกรรมโรงเรียนคุณธรรมสร้างสรรค์ความดี กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ ครูทุกคนร่วมกันกวดขันติดตามพฤติกรรมผู้เรียนอย่างเคร่งครัด ฝึกให้ผู้เรียนเป็นเด็กดี สุภาพ อ่อนน้อม มีความซื่อสัตย์ สุจริต รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โรงเรียนมีกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน คือ กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยแก่ผู้เรียน กิจกรรมโรงเรียนสีขาวต่อต้านยาเสพติด กิจกรรมข่าวสารเพื่อการแนะนำสุขภาพ กิจกรรมวันเด็ก กีฬาสีโรงเรียน กิจกรรมส่งเสริมสุนทรียภาพด้านศิลปะ ดนตรี สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีไทย เป็นต้น

ผลการดำเนินงาน       
     ในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนอยู่ในระดับคุณภาพดีเลิศ ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ผู้เรียนมีความประพฤติด้านคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึก ตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏชัดเจน โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย รวมทั้ง ภูมิปัญญาไทย แสดงออกได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน สามารถเรียนรู้และตระหนักโทษ และพิษภัยยิ่งเสพติดต่างๆ รักการออกกำลังกาย นักเรียนทุกคนสามารถเล่นกีฬาได้ ผู้เรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้าน เพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณี และมีมนุษยสัมพันธ์ดี มีวิธีการดูแลรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิตของตนเองให้แข็งแรง โดยการเล่นกีฬา และออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ส่งผลให้มีอารมณ์และสุขภาพจิตดี มีวิธีการป้องกันตนเองจากการล่อลวง ข่มเหง รังแก และมีวิธีการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เข้าใจผู้อื่น ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1wO5nUWONKXPmr1orWaCQV_SDYg9LWlSC?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

     สถานศึกษาได้กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชน ตรงตามวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน นโยบายของรัฐบาล สถานศึกษา มีการบริหารจัดการคุณภาพการจัดการศึกษา และการพัฒนาตามโครงสร้าง ๔ แผนงาน ได้แก่ งานบริหารทั่วไป งานงบประมาณ งานบริหารวิชาการ และงานบริหารบุคคล โดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีการนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการติดตามตรวจสอบ ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีแผนบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษาและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน และนำข้อมูลจากการนิเทศมาใช้ในการพัฒนา และแก้ปัญหาในด้านการจัดการศึกษา

     สถานศึกษาได้ดำเนินการจัดการทรัพยากรบุคคล สร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยผู้บริหารเป็นผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมรับการกระจายอำนาจ มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับชุมชน และผู้บริหารให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาเต็มศักยภาพและเต็มเวลา มีโครงการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครู และสถานศึกษา

สถานศึกษาได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสังคมที่เอื้อต่อการจัด การเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย มีการจัดหาสื่อเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา

สถานศึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม มีการประเมินผลการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา มีการจัดการประชุมเป็นประจำทุกเดือน เพื่อร่วมกันวางแผนในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา งบประมาณ และเป้าหมายในการพัฒนา นอกจากนี้ สถานศึกษามีกระบวนการกำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการศึกษา และเปิดโอกาสให้ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

ผลการดำเนินงาน  

     สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่กำหนดไว้ชัดเจน และตรงกับวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ มีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และท้องถิ่น มีแผนงานและมีการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพวิชาการทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกคน และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีการพัฒนาทางวิชาชีพให้ครูและบุคลากรมีความรู้ความสามารถและทักษะ ตรงตามความถนัด มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครู สถานศึกษามีการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน สามารถนำไปใช้ได้จริง ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและมีเครือข่าย ความร่วมมือในการร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามีการจัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริม ให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา มีการจัดโครงการ กิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล

     ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน ใช้หลักการบริหารแบบ มีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลผลการประเมินหรือผลการวิจัยเป็นฐานคิดทั้งด้านวิชาการและการจัดการผู้บริหารสามารถบริหารจัดการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมรับการกระจายอำนาจนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนพึงพอใจผลการบริหารการจัดการศึกษาผู้บริหารให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาเต็มศักยภาพและเต็มเวลามีการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและบุคลากรของสถานศึกษารวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษากับครอบครัวชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

     สถานศึกษามีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนา ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการ อย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและ สังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

     สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการ ประจำปี ให้ สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้ส่วนได้เสียมี ส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

     ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมใน การร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา สถานศึกษามีระบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัด การศึกษา ที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้ข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีรูปแบบการบริหารและการจัดการเซิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา

     สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์ ชุมชน ผู้ปกครอง และหน่วยงานภายนอก ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับผู้เรียน


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1wO5nUWONKXPmr1orWaCQV_SDYg9LWlSC?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

     สถานศึกษาได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ครูร่วมมือกันจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียนได้จริง มีแผนการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้เรียนที่มีความจำเป็นและต้องการความช่วยเหลือพิเศษ จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะรอบด้าน แสดงออกและแสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ และนำเสนอผลงานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

     สถานศึกษาได้ดำเนินการกิจกรรมพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และนิเทศการศึกษา วิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยส่งเสริมให้มีการพัฒนาครู เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ส่งครูเข้ารับการอบรมสัมมนา ศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการนิเทศการเรียนการสอน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันมีการประชุมวิชาการเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นประจำทุกเดือน ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน และพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

      สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/ กิจรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนและมาตรฐานสากล มีการบูรณาการภาระงาน ชิ้นงาน โดยทุกระดับชั้นจัดทำหน่วยบูรณาการอาเซียน เศรษฐกิจพอเพียง ปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ ๑ เรื่อง และได้รับการตรวจให้คำแนะนำโดยคณะกรรมการวิจัยของเขตพื้นที่การศึกษา การบริหารจัดการและการสนับสนุนของผู้บริหาร มีการส่งครูไปอบรมพัฒนาตนเอง มีการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครูทุกคนอย่างสม่ำเสมอ มีการประเมินแบบวัด แบบทดสอบ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจข้อสอบ ครูจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดเป้าหมายที่ต้องการ ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนการจัดการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายบุคคลแล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ มีการออกแบบการเรียนรู้ละการจัดการเรียนรู้เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และดูแลช่วยเหลือผู้เรียน นำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอน ครูมีการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการคิดที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนประเมินความก้าวหน้าของตนเองและนำมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาตนเอง การวิเคราะห์ผลการประเมินและมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียนเพื่อนำมาปรับปรุงการพัฒนาการเรียน การสอน การศึกษาค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

     สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู และเด็กรักเด็ก เด็กรักที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข มีการส่งเสริมครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์รวมทั้งให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ผลการดำเนินงาน  

     การจัดกระบวนการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตนเองสามารถกำหนดเนื้อหาสาระ กิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดเป็นรายบุคคลอย่างเป็นรูปธรรมทั้งระบบ ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการปฏิบัติจริง การศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สรุปองค์ความรู้ และสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้เป็นอย่างดี ครูมีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ แสดงออก นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมละต่อเนื่อง ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยเชื่อมโยงบูรณาการสาระการเรียนรู้และทักษะต่างๆ มีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการสอน และอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม จากการจัดโครงการ/กิจกรรม ทำให้ครูเข้าใจปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษา และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ ครูสามารถจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตร และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียน ครูสามารถพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการจัดประสบการณ์

     ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียน การสอน ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นหรือร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม ครูมีการตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ โดยการประเมินผู้เรียนจากสภาพจริง และมีขั้นตอนตรวจสอบและประเมินอย่างเป็นระบบ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล และจากการจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ส่งผลให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก ทำให้ผู้เรียนรักการมาเรียน และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1wO5nUWONKXPmr1orWaCQV_SDYg9LWlSC?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

     สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย จัดการเรียนการสอนตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) มีการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน มีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคลและนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ มีการออกแบบการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ในการเรียนการสอน มีการวิเคราะห์ผลการประเมินและนำมาใช้ในการซ่อมเสริมพัฒนาผู้เรียนเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนมีโครงการที่ส่งเสริมกิจกรรมการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การพัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ มีระบบการนิเทศภายใน กิจกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งเป็นโครงการที่รองรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู ละบุคลากรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ มีสื่อที่เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้เพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ครูร่วมกันจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการส่งเสริมการประกวดแข่งขันทักษะทางวิชาการ การเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Approach) การใช้คำถามกระตุ้นให้คิด ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมและปลูกฝังกระบวนการคิดอย่างหลากหลาย บูรณาการกับการการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่สามารถทำงานเป็นกลุ่ม มีการแสดงความคิดเห็นการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ปรับตัวเข้ากับสังคมและเพื่อนได้ดี ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ได้แก่ กิจกรรมการเข้าค่ายคุณธรรม เข้าค่ายพักแรมลูกเสือ –เนตรนารี กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

     สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่กำหนดไว้ และตรงกับวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ มีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และท้องถิ่น มีแผนและมีการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพวิชาการทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกคน และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีการพัฒนาทางวิชาชีพให้ครูและบุคลากรมีความรู้ความสามารถและทักษะ ตรงตามความถนัด สถานศึกษามีการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน สามารถนำไปใช้ได้จริง ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและมีเครือข่ายความร่วมมือในการร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามีการจัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริม ให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา มีการจัดโครงการ กิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน ใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลผลการประเมินหรือผลการวิจัยเป็น ฐานคิดทั้งด้านวิชาการและการจัดการผู้บริหารสามารถบริหารจัดการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมรับการกระจายอำนาจนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนพึงพอใจผลการบริหารการจัดการศึกษาผู้บริหารให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาเต็มศักยภาพและเต็มเวลามีการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและบุคลากรของสถานศึกษารวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษาระหว่างสถานศึกษากับครอบครัวชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

     สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/ กิจรรมอย่างหลากหลายมีการปรับโครงสร้างรายวิชาหน่วยการเรียนรู้ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด ครูใช้สื่อการเรียนการสอนนวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้มีการวิเคราะห์ผลการประเมินและมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียนเพื่อนำมาปรับปรุงการพัฒนาการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ แสดงออก ได้นำเสนอผลงาน และแสดงความคิดเห็น ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง ครูมีความสามารถในการจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ส่งผลให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก ทำให้ผู้เรียนรักการมาเรียน และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก