รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดช้างข้าม

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

โรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ที่ 5  ตำบลช้างข้าม  อำเภอ นายายอาม  จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1  โทร.039-370128  โทรสาร 039-370128       e-mail  : chang010376@gmail.com    website : http://www. http://data.bopp-obec.info/web/?School_ID=1022060209  เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนายพงษ์ศักดิ์ บุญสร้าง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี   สาขาบริหารการศึกษา  หมายโทรศัพท์ 089 – 0973939 ปัจจุบันมีจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมดจำนวน 11 คน แยกเป็นข้าราชการครู  9 คน  ครูอัตราจ้าง 1 คน  นักการภารโรง 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน  จำนวนนักเรียน 156 คน  แยกเป็นนักเรียนระดับปฐมวัยจำนวน 35 คน และชั้นประถมศึกษาจำนวน 121 คน  (ข้อมูล ณ วันที่  15  ธันวาคม 2563)

การจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเอง(SAR)ปีการศึกษา 2563 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม  มีผลการดำเนินงานดังต่อไปนี้

ผลการประเมินตนเองระดับการศึกษาปฐมวัย

โรงเรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม   มีกระบวนการพัฒนาดังนี้

1.                     ทางโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม)  มุ่งพัฒนาให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เหมาะสมตามวัยจากการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม  กิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป  กิจกรรมวิทยาการคำนวณ กิจกรรม STEMฯลฯ ซึ่งเด็กสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นการปูพื้นฐานในระดับชั้นประถมศึกษาต่อไปได้  ซึ่งทางโรงเรียนมีการปรับปรุงและจัดทำรายงานหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยให้มีความสอดคล้องกับบริบทสังคมของท้องถิ่นและครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน มีแผนการจัดประสบการณ์ที่ครอบคลุมคุณลักษณะอันพึงประสงค์  สาระการเรียนรู้  และประสบการณ์สำคัญ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 และมีครูจำนวนเพียงพอต่อจำนวนนักเรียนและจบตรงตามสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่เน้นเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย และมีสื่อการเรียนรู้และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศไว้คอยบริการให้กับเด็กอย่างเหมาะสมตามวัยและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  ความสนใจ และความปลอดภัยของเด็กเป็นหลัก และมีระบบนิเทศติดตามภายในโรงเรียน เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ และมีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง  เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอย่างเต็มศักยภาพโดยการพัฒนาเด็กได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากพ่อแม่  ผู้ปกครอง และชุมชนเป็นอย่างดี จึงทำให้ผลการประเมินตนเองบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

ผลการประเมินตนเองระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม    มีกระบวนการพัฒนาดังนี้

                        ทางโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม)  มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการคิดวิเคราะห์ การลงมือปฏิบัติจริง มีการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ  ซึ่งการจัดการเรียนการสอนจะเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน มีการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูลอย่างหลากหลาย ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน  จึงส่งผลให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จทางการเรียนรู้   โดยทางโรงเรียนได้กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาตามความต้องการพัฒนาของโรงเรียน และสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน มีการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบโดยนำแนวคิดการบริหารแบบ PDCA มาใช้ในการบริหารสถานศึกษา  มีระบบนิเทศภายใน บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผนปรับปรุงและพัฒนาตามแผนที่วางไว้ มีการดำเนินงานพัฒนาด้านวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและครบทุกกลุ่มเป้าหมาย และมีการประเมินผลเพื่อพัฒนาปรับปรุงหลักสุตรสถานศึกษา มีการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้และมีความปลอดภัยสำหรับผู้เรียน และมีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ทางโรงเรียนยังจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านต่างๆของผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศอย่างหลากหลายตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละบุคคล โดยการส่งเสริมการเข้าประกวดแข่งขันในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ  ซึ่งเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และในชุมชนเป็นอย่างดี  จึงทำให้ผลการประเมินตนเองบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้


3.     

 

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

หลักฐานการสนับสนุนการประเมินตนเองของโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม)

ทางโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) ได้ดำเนินการเก็บเอกสารร่องรอยหลักฐานการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆที่ประกอบการประเมินตนเองในปีการศึกษา 2563 อย่างเป็นระบบและเป็นปัจจุบันซึ่งจะผลให้การประเมินตนเองบรรลุเป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้

หลักฐานการสนับสนุนผลการประเมินตนเองระดับการศึกษาปฐมวัย จำนวน ด้าน มีดังต่อไปนี้

1.              1.  ด้านคุณภาพของเด็ก

                1.1 แผนปฏิบัติการประจำปี

- โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย

-  โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย

-  โครงการทัศนศึกษาเพื่อการเรียนรู้

-  โครงการส่งเสริมสุขภาพ

- โครงการอาหารกลางวันและอาหารเสริมนม

-  โครงการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม

-  โครงการส่งเสริมลักษณะนิสัยด้านศิลปะ  ดนตรี นาฏศิลป์ และกีฬา

1.2 แบบประเมินภาวะโภชนาการ

1.3 บัญชีเรียกชื่อและสมุดบันทึกพัฒนาการของนักเรียน อบ.2/2 อบ.2/3

1.4 แผนการจัดประสบการณ์และบันทึกหลังสอน

1.5 ผลงานของเด็ก   

2.             2. ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ  

              2.1 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช 2560

              2.2 หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม)

              2.3 แผนการจัดประสบการณ์และบันทึกหลังสอน

              2.4 รายงานผลการเข้าร่วมอบรมพัฒนาของครูและบุคลากรทางการศึกษา

              2.5 แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

              2.6 แผนปฏิบัติการประจำปี

- โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย

- โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย

- โครงการทัศนศึกษาเพื่อการเรียนรู้

- โครงการนิเทศภายใน

- โครงการการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

-  โครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่สากล

-  โครงการปรับปรุงอาคารสถานที่

             2.7 วิจัยในชั้นเรียน

             2.8 แบบเยี่ยมบ้านนักเรียน

             2.9 บันทึกการผลิตสื่อการเรียนรู้และการใช้สื่อ

             2.10 บันทึกการใช้แหล่งเรียนรู้

             2.11 รายงานผลการประเมินตนเองประจำปี

             2.12 บันทึกการประชุมครูและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนวัดช้างข้ามฯ

3.            3. ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ 

            3.1 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช 2560

            3.2 หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม)

            3.3 แผนการจัดประสบการณ์และบันทึกหลังสอน

            3.4 แบบบันทึกการประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

            3.5 บัญชีเรียกชื่อและสมุดบันทึกพัฒนาการของนักเรียน อบ.2/2 อบ.2/3

            3.6 แผนปฏิบัติการประจำปี

- โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย

- โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย

- โครงการทัศนศึกษาเพื่อการเรียนรู้

-   โครงการนิเทศภายใน

- โครงการการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

-  โครงการปรับปรุงอาคารสถานที่

3.7 เครื่องมือวัดผลและประเมินผล

3.8 วิจัยในชั้นเรียน 

3.9 ผลงานเด็ก

           หลักฐานการสนับสนุนผลการประเมินตนเองระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ด้าน มีดังต่อไปนี้

           1. ด้านคุณภาพของนักเรียน

               1.1 แผนปฏิบัติการประจำปี

                     - โครงการวัดผลและประเมินผล

                     - โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ต้านทุจริตศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                     - โครงการ "โรงเรียนคุณภาพ

                     - โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยการมีส่วนร่วม(ระดับเครือข่าย)

                     - โครงการพัฒนาทักษะสู่ความเป็นเลิศ

                     - โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก โดยกิจกรรม Active Learning สู่มาตรฐานการศึกษาสากล

                     - โครงการเสริมสร้างความรู้ พัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

                     - โครงการแนะแนว

                     - โครงการดูแลและช่วยเหลือนักเรียน

                     - โครงการจัดและให้บริการห้องสมุด

                     - โครงการโรงเรียนสีขาวต้านยาเสพติด

                     - โครงการอาหารกลางวันและอาหารเสริมนม (นม)

                     - โครงการส่งเสริมสุขภาพ

                     - โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ

                     - โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

                     - โครงการอ่านออกเขียนได้

                     - โครงการส่งเสริมลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ และกีฬา

                1.2 แบบบันทึกสุขภาพประจำตัวนักเรียน

                1.3 แผนการจัดประสบการณ์และบันทึกหลังสอน

                1.4 สมุดบันทึกการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ปพ.5)

                1.5 ผลงานของเด็ก

            2. ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

                2.1 หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม)

                2.2 หลักสูตรสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ

                2.3 แผนการจัดประสบการณ์และบันทึกหลังสอน

                2.4 รายงานผลการเข้าร่วมอบรมพัฒนาของครูและบุคลากรทางการศึกษา

                2.5 แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

                2.6 แผนปฏิบัติการประจำปี

 

                     - โครงการวัดผลและประเมินผล

                     - โครงการ "โรงเรียนคุณภาพ”

                     - โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยการมีส่วนร่วม(ระดับเครือข่าย)

                     - โครงการพัฒนาทักษะสู่ความเป็นเลิศ

                     - ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก โดยกิจกรรมActive Learning สู่มาตรฐานการศึกษาสากล

                     - โครงการเสริมสร้างความรู้ พัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

                     - โครงการการเงินและบัญชี

                     - โครงการพัสดุและครุภัณฑ์

                     - โครงการพัฒนาบุคลากร

                     - โครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่สากล

                     - โครงการข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน

                     - โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศโรงเรียน

                     - โครงการจัดการงานธุรการโรงเรียน

                     - โครงการจิตอาสาพัฒนาโรงเรียน

                     - โครงการนิเทศภายในสถานศึกษา

                     - โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

 

               2.7 วิจัยในชั้นเรียน

               2.8 รายงานผลการประเมินตนเองประจำปี

               2.9 บันทึกการประชุมครูและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนวัดช้างข้ามฯ

           3. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

               3.1 หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม)

               3.2 หลักสูตรสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ

               3.3 แผนการจัดประสบการณ์และบันทึกหลังสอน

               3.4 สมุดบันทึกการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ปพ.5)

               3.5 แผนปฏิบัติการประจำปี

 

                     - โครงการวัดผลและประเมินผล

                     - โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ต้านทุจริตศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                     - โครงการ "โรงเรียนคุณภาพ”

                     - พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยการมีส่วนร่วม(ระดับเครือข่าย)

                     - โครงการพัฒนาทักษะสู่ความเป็นเลิศ

                     - ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก โดยกิจกรรมActive Learning สู่มาตรฐานการศึกษาสากล

                     - เสริมสร้างความรู้ พัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

                     - โครงการส่งเสริมลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ และกีฬา

                     - โครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่สากล

                     - โครงการแนะแนว

                     - โครงการดูแลและช่วยเหลือนักเรียน

                     - โครงการนิเทศภายในสถานศึกษา

                     - โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

 

               3.6 เครื่องมือวัดผลและประเมินผล

               3.7 วิจัยในชั้นเรียน

               3.8 ผลงานเด็ก


 

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

 

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาถือเป็นข้อมูลสารสนเทศสำคัญที่สถานศึกษาจะต้องนำไปวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อสรุปนำไปสู่การเชื่อมโยงหรือสะท้อนภาพความสำเร็จกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในปีถัดไป ซึ่งทางโรงเรียนวัดช้างข้ามฯสรุปได้ดังต่อไปนี้


ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.       ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการทดลองและจัดทำโครงงานตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยอย่างต่อเนื่อง

2.     ส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวการจัดเรียนรู้ไฮสโคป โดยนำมาบูรณาการให้เข้ากับหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน

3.       ส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของกระบวนการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ

4.       ส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยีและสื่อให้มีความเพียงพอและเหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก

5.       ส่งเสริมการจัดกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้กับผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย

6.     ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการประชุม สัมมนา อบรม ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผลการนำไปใช้และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

7.        การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชนวิชาชีพ(PLC)

8.        การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็ก เพื่อสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

9.  การส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่นำปราชญ์ชาวบ้าน  ภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                     1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น

                     2. การส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดทำการ วิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ

                     3. การพัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผลการนำไปใช้และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

                     4. การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน

                     5. ส่งเสริมการใช้ ICT เข้ามามีส่วนในการเรียนการสอนหรือการทำแบบทดสอบระดับชาติต่าง ๆ

                     6. ส่งเสริมผู้เรียนในทักษะความสามารถพิเศษให้กับผู้เรียนแต่ละบุคคลอย่างทั่วถึง


 


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

๑. ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

๑.๑ ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) ที่ตั้งเลขที่ ๓หมู่ที่ ๕ ตำบลช้างข้าม อำเภอ นายายอามจังหวัดจันทบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑ โทร.๐๓๙ – ๓๗๐๑๒๘ โทรสาร ๐๓๙ – ๓๗๐๑๒๘e-mail : chang010376@gmail.com

website : http://www. http://data.bopp-obec.info/web/?School_ID=1022060209

เปิดสอนระดับชั้น อนุบาล ๒ ถึง ระดับชั้นประถมศึกษา เนื้อที่๙ ไร่ ๑ งาน ๒๐ตารางวา

เขตพื้นที่บริการ ๗ หมู่บ้าน ของเทศบาลตำบลช้างข้าม ได้แก่หมู่ที่ ๓ บ้านปลักหมู , หมู่ที่ ๔ บ้านพลงใหญ่ ,หมู่ที่ ๕ บ้านช้างข้าม , หมู่ที่ ๗ บ้านสี่แยก , หมู่ที่ ๘ บ้านถนนสูง และ หมู่ที่ ๙ บ้านตรอกล่าง ตำบลช้างข้าม อำเภอนายายอามจังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ ๒๒๑๖๐

โรงเรียนรับนักเรียนชายหญิงเข้าศึกษาร่วมกัน ตั้งแต่อายุย่างเข้าปีที่ ๘ ตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา และนักเรียนอายุ ๔ปีบริบูรณ์เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคมของปี ตามหลักสูตรอนุบาลศึกษา โดยจัดการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ในระยะเริ่มก่อตั้งใช้ศาลาการเปรียญเป็นที่เรียนชั่วคราว ต่อมาคณะครูและประชาชนตำบลช้างข้าม ได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนถาวรแบบ ๔ห้องเรียนมีมุขจำนวน ๑ หลัง จัดการเรียนการสอนการวัดผลและการปกครอง ตามระเบียบข้อบังคับของกระทรวงศึกษาธิการได้ปรับปรุงการเรียนการสอนตามแผนการศึกษาใหม่ทุกสมัย ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ผลการเรียนของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีมาโดยตลอด

 

1.2 ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม

สภาพชุมชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงเรียน เป็นชุมชนในเขตชนบทประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ประมง และอาชีพรับจ้าง รายได้เฉลี่ยต่อปี อยู่ระหว่าง 100,000 - 200,000 ต่อปีซึ่งในจำนวนประชากรประกอบด้วย แรงงานต่างด่าวจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศลาว กัมพูชาเป็นต้น ซึ่งแรงงานเหล่านี้ได้ส่งบุตรหลานในความปกครองผ่านนายจ้างเข้าเรียนในโรงเรียน


 

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

ปรัชญา

"ปฺญญา โลกฺสมิปฺชโชโต” ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก”

อัตลักษณ์โรงเรียน

"ยิ้มใส ไหว้สวย”

วิสัยทัศน์

มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพที่สมบูรณ์ ในการเป็นคนดี คนเก่ง มีความสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม อย่างมีความสุข และยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ

1. จัดการเรียนการสอนสำหรับประชากรวัยเรียนทุกคนทั้งปกติ พิการ และด้อยโอกาส ได้รับโอกาส ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามสิทธิอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ

2. จัดการเรียนรู้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามตามแบบอย่างวัฒนธรรมไทยและยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. จัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและส่งเสริมเทคโนโลยีทางการศึกษา

4. นำภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาที่บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและอาเซียนรวมทั้งส่งเสริมให้วิทยากรในท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ มาร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมผู้เรียนด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ ผู้เรียนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

6. ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

 


ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 9 0 1 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

5. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

โรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) จัดสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรต้านทุจริต เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามหลักการ จุดหมายที่กำหนด สถานศึกษาควรกำหนดโครงสร้างดังนี้

ระดับการศึกษาปฐมวัย

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย

ช่วงอายุ

อายุ ๓-๖ ปี

 

ประสบการณ์สำคัญ

สาระที่ควรเรียนรู้

สาระการเรียนรู้

· ด้านร่างกาย

· ด้านอารมณ์และจิตใจ

· ด้านสังคม

· ด้านสติปัญญา

· เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

· เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก

· ธรรมชาติรอบตัว

· สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก

ระยะเวลาเรียน

มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน ต่อ ๑ ปีการศึกษา ในแต่ละวันจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง โดยสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษาและสถาบันพัฒนาเด็กปฐมวัย


ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) จัดสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๐) กำหนดโครงสร้างเวลาเรียน ดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา/กิจกรรม

เวลาเรียน

ระดับประถมศึกษา

ป.๑

ป.๒

ป.๓

ป.๔

ป.๕

ป.๖

รายวิชาพื้นฐาน

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๑๒๐

๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

การงานอาชีพ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ภาษาต่างประเทศ

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

***รวมเวลาเรียน(พื้นฐาน)

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

รายวิชาเพิ่มเติม

 

การป้องกันการทุจริต

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

คอมพิวเตอร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ภาษาต่างประเทศ

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

***รวมเวลาเรียน(เพิ่มเติม)

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 

กิจกรรมแนะแนว

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

กิจกรรมนักเรียน

-กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี

-ชุมนุม

 

๔๐

๓๐

 

๔๐

๓๐

 

๔๐

๓๐

 

๔๐

๓๐

 

๔๐

๓๐

 

๔๐

๓๐

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

***รวมเวลาเรียน(กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

รวมเวลาเรียนทั้งหมด
ตามหลักสูตรกำหนด

๑,๑๒๐ชม.

๑,๑๒๐ชม.

๑,๑๒๐ชม.

๑,๑๒๐ชม.

๑,๑๒๐ชม.

๑,๑๒๐ชม.


 



ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

4. ข้อมูลอาคารสถานที่

ที่

รายการ

จำนวน

1

อาคารเรียน

3 หลัง

2

อาคารประกอบ

5 หลัง

3

ห้องน้ำ/ห้องส้วม

2 หลัง

4

สนามเด็กเล่น

2 สนาม

5

สนามกีฬา

1 สนาม


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1LNSCk5rZm8pfjP-ITD-HzZyH5YnWY7uj/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

6. แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

1.ห้องสมุด

ห้องสมุดมีพื้นที่ขนาด 54 ตารางเมตร หนังสือในห้องสมุดมีจำนวน 500 เล่ม มีจำนวนนักเรียนที่ใช้ห้องสมุด เฉลี่ย 30 คน ต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 19.48 ของนักเรียนทั้งหมด

2.ห้องปฏิบัติการ มีทั้งหมด 3 ห้อง จำแนกเป็น

1)ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง

2)ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน1 ห้อง

3)ห้องอื่นๆ (ระบุ) น้อมนำตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 1 ห้อง

3.เครื่องคอมพิวเตอร์ มีทั้งหมด จำนวน 20 เครื่อง จำแนกเป็น

1)ใช้เพื่อการเรียนการสอน จำนวน 20เครื่อง

2)ใช้เพื่อให้บริการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จำนวน 20 เครื่อง โดยมีจำนวนนักเรียนที่ใช้บริการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 40 คน ต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 25.97 ของนักเรียนทั้งหมด

3)ใช้เพื่อสนับสนุนการบริหารสถานศึกษา(สำนักงาน) จำนวน 2 เครื่อง

4.ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยากร ที่สถานศึกษาเชิญมาให้ความรู้แก่ครู นักเรียน

ที่

ชื่อ-สกุล

ให้ความรู้เรื่อง

จำนวนครั้ง/ปี

๑.

๒.

3.

นางอารีย์ ผ่องมณี

ดาบตำรวจรัฐวุฒิ เสียงหวาน

พระครูวินัยธรวงศพัทธ์ ฐิตวํโส

- การทำไม้กวาด

- การป้องกันยาเสพติด

- พระพุทธศาสนาและภาษาอาเซียน 4 ภาษา

10

40

6

5. แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

ที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

สถิติการใช้

จำนวนครั้ง/ปี

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

ห้องสมุด

ห้องพยาบาล

โรงอาหาร

สวนสมุนไพร

ป้ายนิเทศ

ป้ายประชาสัมพันธ์

ต้นไม้ภายในโรงเรียน

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

สนามกีฬา

200

200

200

200

200

200

200

200

200

200

6. แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน

ที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

สถิติการใช้

จำนวนครั้ง/ปี

1

วัดช้างข้าม

40

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/drive/folders/1HqeGBMO00Lxzgd4g42yWooEcRiUetQ2s?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) ได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างหลากหลาย ซึ่งกิจกรรมจะเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น/การลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย เพื่อให้เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เจริญเติบโตตามวัย มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลรักษาความปลอดภัยของตนเองได้ ทั้งนี้ทางโรงเรียนยังส่งเสริมให้เด็กดื่มนมและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างหลากหลายและการให้ความรู้ในการดูแลตนเองในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) อย่างต่อเนื่อง โรงเรียนจัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าพูด กล้าแสดงออก และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้โดยการแสดงออกผ่านการปฏิบัติกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานและมีความสุขตามจินตนาการอย่างอิสระ ทั้งยังมีการส่งเสริมความมีวินัย ความรับผิดชอบ ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างเหมาะสมตามวัย การมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดทั้งในและนอกห้องเรียนนอก ปลูกฝังการใช้สิ่งต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครูจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เช่น การเล่านิทานการเล่าเรื่องจากภาพ การวาดภาพ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ดีให้กับเด็กทั้งนี้ทางโรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์นอกจากนี้มีการบูรณาการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป ในการจัดการเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้จักการวางแผน การลงมือปฏิบัติ และการนำเสนอผลงาน ทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ดี และทางโรงเรียนยังมีการดำเนินการจัดกิจกรรมตามนโยบายต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาให้กับเด็ก เช่น การจัดกิจกรรมวิทยาการคำนวณ การจัดกิจกรรม STEM เป็นต้น

ผลการดำเนินงาน  

 จากการดำเนินงานด้านคุณภาพของเด็กของโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) พบว่า พัฒนาการด้านร่างกาย เด็กมีแข็งแรงสมบูรณ์และมีสุขนิสัยที่ดีสามารถดูแลรักษาสุขภาพและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้ดี  มีน้ำหนัก – ส่วนสูง ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย และสามารถดูแลรักษาสุขภาพร่างกายรวมถึงการหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงต่อโรคภัย อุบัติเหตุ เด็กสามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้หลากหลายชนิด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนอย่างเพียงพอ ด้านอารมณ์ - จิตใจ เด็กมีความกล้าแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความสุขในการดำเนินชีวิต รู้จักการควบคุมอารมณ์ตนเอง และรู้จักการรอคอย ช่วยเหลือ แบ่งปันรวมถึงความสามัคคี และการสร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการของตนเอง ด้านสังคมเด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้มีระเบียบวินัย รู้จักการรอคอยตามลำดับก่อน – หลัง รู้จักการประหยัดและพอเพียง ใช้สิ่งต่าง ๆ อย่างคุ้มค่า มีมารยาทงามอย่างไทย ปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับสถานการณ์และกาลเทศะ รู้จักการยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น รู้จักการกล่าวคำทักทายและทำความเคารพผู้ใหญ่อย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ การปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันในชั้นเรียน การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกทีดีของห้องเรียนปฏิบัติตนเป็นผู้นำ – ผู้ตามได้ และด้านสติปัญญาเด็กสามารถสื่อสารได้ดี มีทักษะการคิดพื้นฐาน และรู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ สามารถสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องราวให้ผู้อื่นเข้าใจได้ด้วยภาษาในการสื่อสารที่เหมาะสมตามวัย รู้จักการตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือมีข้อสงสัยและพยายามค้นหาคำตอบด้วยตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลาย เด็กสามารถขีดเขียนข้อความตามครูได้  จึงสรุปได้ว่าผลการประเมินมาตรฐานที่1 คุณภาพของเด็ก มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 88.78 ระดับ ยอดเยี่ยม

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1v6Vhizd-UPWc9Br4rly9_ShtP4ZowDSB?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม)  ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยและดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และบริบทของท้องถิ่น ทั้งนี้มีการจัดทำรายงานหลักสูตรสถานศึกษาประจำปีต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรในปีการศึกษาต่อไป   โรงเรียนมีจำนวนครูเพียงพอต่อจำนวนนักเรียนและจบตรงตามสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สนับสนุนส่งเสริมให้ครูมีการอบรมพัฒนาตนเองในวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่เน้นเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย และมีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ของสถานศึกษา มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับ มาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไป ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้ หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน  

จากการดำเนินงานด้านการบริหารและการจัดการของโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) พบว่า มีผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและสามารถเห็นได้เชิงประจักษ์โดยที่เด็กมีพัฒนาการที่ดีเป็นไปตามวัยและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มีจำนวนครูผู้สอนระดับปฐมวัยที่ตรงกับสาขาวิชาครบทุกชั้นเรียนและมีการส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ  มีสื่อการเรียนรู้และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูและเด็กในชั้นเเรียน  รวมถึงทางโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) ได้ผ่านการประเมินการประกันคุณภาพภายนอกรอบสาม และมีการประเมินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนและต้นสังกัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี จึงสรุปได้ว่าผลการประเมินมาตรฐานที่2กระบวนการบริหารและการจัดการ มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 82.64 ระดับ ดีเลิศ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1v6Vhizd-UPWc9Br4rly9_ShtP4ZowDSB?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) ได้ดำเนินการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน อย่างสมดุลเต็มตามศักยภาพ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครูจะใช้รูปแบบการสอนแบบบูรณาการการจัดกิจกรรมต่าง ๆเช่น การสอนตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ไฮสโคป  การสอนแบบโครงงานตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยการสอนภาษาธรรมชาติ ครูดำเนินการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ครบทุกด้านและเต็มตามศักยภาพและตอบสนองความสนใจ ความสามารถของเด็กเป็นรายบุคคลได้ โดยการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงผ่านการเล่น/ลงมือปฏิบัติกิจกรรมโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายรูปแบบ เช่น มุมประสบการณ์ต่าง ๆ ภายในห้องเรียนแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยจะจัดให้ห้องเรียนมีอากาศถ่ายเทสะดวก มีความสะดวกมีความปลอดภัย มีพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยและรายบุคคล สื่อการสอนครูจะจัดหาสื่อการเรียนรู้จากธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นและสื่อเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับวัยมีประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง โดยการประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายเช่น การสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์แบบทดสอบและนำผลที่ได้มาจัดทำเป็นเอกสารรายงานผลการประเมินพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก และข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป

ผลการดำเนินงาน  

จากการดำเนินงานการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญของโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) พบว่า เด็กมีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน เป็นไปตามวัย มีทักษะพื้นฐานการคิด ฟัง อ่าน พูด และเขียนที่ดี และ มีทักษะกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์จากการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ซึ่งส่งผลให้ทางโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) ได้รับตราพระราชทานใน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย และการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญช่วยส่งเสริมแก้ไขปัญหาพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนได้อย่างเหมาะสมและสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี โดยจะมีการปรับการจัดกิจกรรมให้ตรงตามความสนใจของเด็กแต่ยังคงสอดคล้องและครอบคลุมหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จึงสรุปได้ว่าผลการประเมินมาตรฐานที่3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ91.18 ระดับ ยอดเยี่ยม

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1v6Vhizd-UPWc9Br4rly9_ShtP4ZowDSB?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

โรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) มีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของเด็กอย่างหลากหลายตามความต้องการพัฒนาตามสภาพของเด็ก มีความสอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพบริบทของท้องถิ่นในส่วนของกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการประชุมวางแผน ระดมความคิดจากทุกฝ่าย และส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรทุกคนทำงานอย่างมีความสุข และส่วนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญมีการดำเนินการตามกรอบกลยุทธ์ของสถานศึกษา ที่มุ่งหวังให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดตามศักยภาพ ผู้สอนทำการวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล มีการกำหนดจุดประสงค์ ประเมินพฤติกรรมหรือความสามารถของเด็ก กำหนดวิธีการสอน และประเมินผล ผลที่ได้ก็นำไปพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง ผู้สอนมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ มีการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับอุดมการณ์สำคัญของการจัดการศึกษา คือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ทั้งนี้เพราะโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) มีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของเด็กอย่างหลากหลายจนมีผลการพัฒนาส่งผลให้เด็กมีความเจริญงอกงามทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตลอดจนมีความรู้ มีคุณธรรมความดีงามในจิตใจ มีความสามารถที่คิดวิเคราะห์ได้ สามารถเรียนรู้ แสวงหาความรู้ ตลอดจนใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ มีสุขภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง มีวิถีชีวิตกลมกลืนธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสามารถปรับตนได้ในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในส่วนของกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการ ทำให้สามารถขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ และส่วนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญดำเนินการจัดประสบการณ์ตามความสนใจและตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กได้ โดยการประเมินผลจากสภาพจริงในทุกขั้นตอนด้วยวิธีการประเมินอย่างหลากหลายและสถานศึกษาดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นขั้นตอน จนเกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยสถานศึกษาให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อเกิดความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดี และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา จึงสรุปได้ว่าผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.22 ระดับยอดเยี่ยม

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1v6Vhizd-UPWc9Br4rly9_ShtP4ZowDSB?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

        โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน มีการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน นอกจากนี้ สถานศึกษาได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ผลการดำเนินงาน  

1) มีความสามารถในด้านการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณมีค่าเฉลี่ยเป็นร้อยละ 81.82

2) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา 
มีทักษะกระบวนการเรียนรู้ในนโยบายตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาแนะแนวให้ผู้เรียนสามารถร่วมกันปรึกษาปัญหา และหาแนวทางแก้ไข มีค่าเฉลี่ยเป็นร้อยละ 81.10

3) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการเรียนรู้แบบActive Learningและการเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนนโยบายตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเกิดองค์ความรู้ และทักษะกระบวนการทำงานที่สามารถเชื่อมโยงกับ
ความรู้ภายในห้องเรียน และประสบการณ์ชีวิตสร้างสรรค์ผลงานต่างๆได้ด้วยตนเอง 
มีค่าเฉลี่ยเป็นร้อยละ 99.48

4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ มีค่าเฉลี่ยเป็นร้อยละ 95.57

5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
ผู้เรียนบรรลุและมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการต่างๆ คิดเป็นร้อยละตามสาระการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเป็นร้อยละ 76.12

6) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีค่าเฉลี่ยเป็นร้อยละ 85.59

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1HTnlUx4qJqbGhCURBvqNKkzTxv_WsSif?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

        โรงเรียนมีการเคารพธงชาติเพื่อให้ผู้เรียนแสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดีของชาติ ธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติ ศรัทธา ยึดมั่นในศาสนา และเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ มีความสามัคคี ปรองดอง ภูมิใจ เชิดชูความเป็นไทย ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ และแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สอนให้ผู้เรียนนึกถึงความถูกต้อง ละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิด ยึดมั่นในความถูกต้อง ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรง
รู้จักปฏิบัติตนตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และรับผิดชอบในการทำงาน มีการจัดโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและโครงการจัดและให้บริการห้องสมุดเพื่อให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนรู้จักความพอเพียง พอประมาณ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี
รวมทั้งการใช้เวลาอย่างเหมาะสม ให้ผู้เรียนมีความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความเพียรพยายาม ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนดด้วยความรับผิดชอบและมีความภาคภูมิใจในผลงาน มีการสร้างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกไทย ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆภายในท้องถิ่นตามความสมัครใจ และปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักการเป็นผู้ให้และช่วยเหลือผู้อื่น แบ่งปันความสุขส่วนตนเพื่อทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เข้าใจ เห็นใจผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยแรงกายสติปัญญา ลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดในชุมชน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

ผลการดำเนินงาน  

       ผู้เรียนแสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดีของชาติ ธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติ ศรัทธา ยึดมั่นในศาสนา และเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ มีความสามัคคี ปรองดอง ภูมิใจ เชิดชูความเป็นไทย ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ และแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ นึกถึงความถูกต้อง ละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิดยึดมั่นในความถูกต้อง ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรง รู้จักปฏิบัติตนตามข้อตกลงกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
และรับผิดชอบในการทำงาน มีนิสัยรักการอ่านมีการศึกษาค้นคว้าในห้องสมุดเพื่อแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้
ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม ผู้เรียนรู้จักความพอเพียง
พอประมาณ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี รวมทั้งการใช้เวลาอย่างเหมาะสม ผู้เรียนมีความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความเพียรพยายาม ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนดด้วยความรับผิดชอบและมีความภาคภูมิใจในผลงาน โรงเรียนสร้างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกไทย ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆภายในท้องถิ่นตามความสมัครใจ ผู้เรียนรู้จักการเป็นผู้ให้และช่วยเหลือผู้อื่น แบ่งปันความสุขส่วนตนเพื่อทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เข้าใจ เห็นใจผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยแรงกายสติปัญญา ลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดในชุมชน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีค่าเฉลี่ยเป็นร้อยละ 85.59

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1HTnlUx4qJqbGhCURBvqNKkzTxv_WsSif?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

        โรงเรียนกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันกิจที่ชัดเจนสอดคล้องกับสภาพปัญหาตามความต้องการพัฒนาของโรงเรียน และสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน จัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบทั้งในส่วนการวางแผนโดยนำแผนปฏิบัติราชการประจำปีมาพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา มีการตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีระบบนิเทศภายใน บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผนปรับปรุงและพัฒนาตามแผนที่วางไว้  มีการดำเนินงานพัฒนาด้านวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและครบทุกกลุ่มเป้าหมาย ปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงหลักสุตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางฯส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตามแนวทางที่รัฐบาลกำหนดและการอบรมพัฒนาและผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตรการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยยึดถือภารกิจและพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นฐาน ด้วยระบบ TEPE Online  มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน และสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่เพื่อเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระ และเกิดความปลอดภัยสำหรับผู้เรียน  มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมและตรวจสอบการดำเนินงานต่าง ๆได้อย่างรวดเร็ว มีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ใช้งานได้อย่างเหมาะสม

ผลการดำเนินงาน  
        โรงเรียนจัดโครงการกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา และมีผลการดำเนินงานส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษาเพื่อตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย โรงเรียนดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนการวางแผน พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยการนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการตรวจสอบ ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลังทรัพยากรทางการศึกษา และจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีเครือข่าย
ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม มีระบบนิเทศภายใน มีการพัฒนาตนเองทางวิชาชีพอยู่เสมอ โดยมีการจัดอบรม ประชุม สัมมนา พัฒนาครู มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียนมั่นคง สะอาดและปลอดภัย มีสิ่งอำความสะดวกพอเพียง
อยู่ในสภาพใช้การได้ดีสภาพแวดล้อมร่มรื่น และมีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน มีโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน จัดห้องสมุดที่ให้บริการสื่อและเทคโนโลยี สารสนเทศที่เอื้อให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตนเอง หรือเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
มีค่าเฉลี่ยเป็นร้อยละ 70.67
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1HTnlUx4qJqbGhCURBvqNKkzTxv_WsSif?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

        โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง ทั้งแผนบูรณาการตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แผนการจัดกิจกรรมชุมนุม (Active Learningมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นและต้องการความช่วยเหลือพิเศษ (แผนIIP) ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะ 
กล้าแสดงออกกล้าแสดงความคิดเห็น สามารถสรุปองค์ความรู้ สามารถนำเสนอผลงาน การถอดบทเรียน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างเหมาะสม มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลายโรงเรียนส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการบริหารจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ครูรักเด็กและเด็กรักเด็ก เด็กรักที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุขเป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง (Active Learning) มีการจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ร่วมกันสร้างข้อตกลง กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน และสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ เช่น ข้อสอบวัดความก้าวหน้าทางการเรียน แฟ้มสะสมผลงานของผู้เรียน การวิจัยในชั้นเรียน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีความรู้ความสามารถทั้งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจากการอบรมดูงาน มีการเผยแพร่ความรู้จากการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสอนและร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหานักเรียนอย่างต่อเนื่อง ให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อนำไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ผ่านการประชุมผู้ปกครองในทุกชั้นเรียน

ผลการดำเนินงาน  

         ครูโรงเรียนวัดช้างข้าม ฯ มีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะ กระบวนการ สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และใช้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน และพัฒนาการทางสติปัญญา ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย และใช้ผลในการปรับการสอน ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นสมาชิกที่ดีของสถานศึกษา จัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับมอบหมายเต็มเวลา เต็มความสามารถ มีการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เช่น ห้องสมุด สวนสมุนไพร เป็นต้น เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของผู้เรียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษากับครอบครัว ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง มีค่าเฉลี่ยเป็นร้อยละ 87.90

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1HTnlUx4qJqbGhCURBvqNKkzTxv_WsSif?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
         โรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) มีกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย จัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน มีความสอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพบริบทของท้องถิ่น ในส่วนของกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการประชุมวางแผน ระดมความคิดจากทุกฝ่าย และส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรทุกคนทำงานอย่างมี ความสุข และส่วนกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย มีการจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ร่วมกันสร้างข้อตกลง กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน และสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสอนและร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหานักเรียนอย่างต่อเนื่อง ให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อนำไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ผ่านการประชุมผู้ปกครองในทุกชั้นเรียน
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

        จากผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ทั้งนี้เพราะโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) มีการจัดกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน มีความสามารถในด้านการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา มีทักษะกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learningส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเกิดองค์ความรู้ และมีทักษะกระบวนการทำงาน มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษามีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมอาชีพให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ และฝึกฝนเพื่อสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และมีการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 8 ประการจึงสรุปได้ว่าผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนวัดช้างข้าม (ประชาช้างข้าม) มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 81.55 ระดับยอดเยี่ยม

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1HTnlUx4qJqbGhCURBvqNKkzTxv_WsSif?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/folders/1F7WMmE7g90DYFR38N9aDtaESq9oDT3YC?usp=sharing