รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดหนองไทร

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

                       โรงเรียนวัดหนองไทร ตั้งอยู่ที่1/1 หมู่ 12 ตำบลช้างข้าม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โรงเรียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนพ.ศ. 2479ด้วยความร่วมมือของประชาชน คณะครู และเจ้าอาวาสวัดหนองไทร โดยครั้งแรกเป็นอาคารชั่วคราว ต่อมาได้สร้างอาคารแบบถาวร แบบ ป.3ก.ขนาด 3 ห้องเรียนปี พ.ศ. 2520 องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้จัดสรรงบประมาณ สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1ข. ขนาด 5ห้องเรียน 1 หลังปี พ.ศ. 2528ได้ขออนุญาตรื้อถอนอาคารแบบ ป.3ก. เนื่องจากชำรุดมาก และของบประมาณสร้างต่อเติมเป็นอาคารแบบ ป.1ข.ขนาด 3 ห้องเรียนปี พ.ศ. 2536 ได้รับงบประมาณจากการแปรญัตติเงินงบประมาณ สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 ขนาด 5ห้องเรียน 1 หลัง

                       โรงเรียนวัดหนองไทรเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนางสาวสรัลชนา  โชติณัฐกร             เป็นรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน วุฒิการศึกษาปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ หมายเลขโทรศัพท์ 098 - 9544235

อีเมล์โรงเรียน nongsaischool@hotmail.com ปัจจุบันมีคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 9 คน แยกเป็นข้าราชการ 6 คน พนักงานราชการ 1 คนครูธุรการ 1 คน และนักการภารโรง 1 คน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 105 คน แยกเป็นปฐมวัย 33 คน  และประถมศึกษา 72 คน

(ข้อมูล ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2563)

 

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ดี

       ด้านคุณภาพของผู้เรียน ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพทั่วถึง มีความสามารถด้านวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงาม มีสุนทรียภาพด้านดนตรี ศิลปะและกีฬา โดยมีผลงานที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ภาคภูมิใจและเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน ดังนี้

๑) ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน RT ชั้นประถมศึกษปีที่ ๑ มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ และระดับประเทศ

๒) สถานศึกษาได้รับรางวัลเกียรติบัตร เป็นโรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับปฐมวัย"บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ๒๕๖๔

๓) รางวัลระดับเหรียญทอง การประกวดแข่งขัน กิจกรรมสภานักเรียนดีเด่น ในการจัดทำคลิปวีดีโอการส่งเสริมให้เด็กไทยเลิกใช้ถุงพลาสติก ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพงานสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา  ๒๕๖๓

         ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการสถานศึกษามีการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน มีผลงานที่ประสบผลสำเร็จ ดังนี้

๑) สถานศึกษาได้รับรางวัลเกียรติบัตรจากการรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง รับรองระหว่างวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๓ – ๒๘ มกราคม ๒๕๖๖

๒)  สถานศึกษาได้รับรางวัลเกียรติบัตรสถานศึกษาที่เป็นเลิศในการพัฒนาบุคลากร ประจำปี ๒๕๖๓ ได้ส่งเสริม พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษาพัฒนาตนเองด้วยระบบ Online ครบทุกคน

๓) สถานศึกษามีสนามกีฬากลางแจ้ง สนามเด็กเล่น เพื่อใช้สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนได้ออกกำลังกาย

๔) สถานศึกษามีอาคารเรียน อาคารประกอบการเรียน ที่แข็งแรง มั่นคง ปลอดภัย ห้องเรียนสะอาด มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เช่น สัญญาณอินเทอร์เน็ต เครื่องฉาย โปรเจคเตอร์ เป็นต้น

๕) สถานศึกษามีห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งเรียนรู้ในการให้บริการผู้เรียน มีระบบสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

             ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษาได้พัฒนาครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพในกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนโดยการพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร ทักษะการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิด การปฏิบัติจริง การใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ การประเมินตรวจสอบอย่างเป็นระบบ การจัดอบรมผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม จนเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชน ดังนี้

๑) สถานศึกษาได้รับรางวัลเกียรติบัตรสถานศึกษาที่เป็นเลิศในการพัฒนาบุคลากร ประจำปี ๒๕๖๓ ได้ส่งเสริม พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษาพัฒนาตนเองด้วยระบบ Online ครบทุกคน

๒) ครูผู้สอนได้รับรางวัลครูผู้อุทิศตน เนื่องในวันครู ประจำปี ๒๕๖๔

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

๑) สถานศึกษาเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอกสมศ. เพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านคุณภาพของผู้เรียน ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้มีคุณภาพ
๒) สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยส่งเสริมให้คณะครูพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้นด้วยวิธีการที่หลากหลาย  รวมถึงคณะครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวผู้เรียน
๓) พัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ ๒๑ (3R8C) 
๔) พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในสถานศึกษา และสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ 


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

โรงเรียนวัดหนองไทร ตั้งอยู่ที่1/1 หมู่ 12 ตำบลช้างข้าม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โรงเรียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนพ.ศ. 2479ด้วยความร่วมมือของประชาชน คณะครู และเจ้าอาวาสวัดหนองไทร โดยครั้งแรกเป็นอาคารชั่วคราว ต่อมาได้สร้างอาคารแบบถาวร แบบ ป.3ก.ขนาด 3 ห้องเรียนปี พ.ศ. 2520 องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้จัดสรรงบประมาณ สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1ข. ขนาด 5ห้องเรียน 1 หลังปี พ.ศ. 2528ได้ขออนุญาตรื้อถอนอาคารแบบ ป.3ก. เนื่องจากชำรุดมาก และของบประมาณสร้างต่อเติมเป็นอาคารแบบ ป.1ข.ขนาด 3 ห้องเรียนปี พ.ศ. 2536 ได้รับงบประมาณจากการแปรญัตติเงินงบประมาณ สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 ขนาด 5ห้องเรียน 1 หลัง

ข้อมูลประชากรวัยเรียนในเขตบริการ

เขตบริการในการเกณฑ์เด็กเข้าเรียน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 6, 10, 11, 12, และ13 ตำบลช้างข้าม ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่เขตพื้นที่ราบชายฝั่งทะเลประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม รับจ้าง ประมง และค้าขายฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวอยู่ในระดับปานกลางและค่อนข้างยากจน ประชาชนและชุมชนตลอดจนองค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญต่อการศึกษาร่วมมือสนับสนุน และมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาโรงเรียนเป็นอย่างดี

สภาพชุมชน

1.) สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียน ฐานะทางเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในฐานะยากจนมีประชากรประมาณ 3,681คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ วัดอาชีพหลักของชุมชน คือ เกษตรกรรม,

ประมง,รับจ้างทั่วไปส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณี/ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ลอยกระทง, สงกรานต์ ฯลฯ

2.) ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ ชั้น ป.4 อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม, ประมง, รับจ้างทั่วไป ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี 36,000 บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 3 คน

3.) โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน

(บรรยายโดยย่อ เช่น อยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้ อยู่ในบริเวณวัด ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากชุมชน

ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรืออยู่ใกล้แหล่งเสื่อมโทรม โรงงาน ฯลฯ)

3.1) โอกาสโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีความใกล้เคียงกับชายทะเล ประชากรส่วนหนึ่งประกอบอาชีพการประมงชายทะเลเลี้ยงกุ้ง ทั้งโดยบุคคลในพื้นที่และบุคคลหรือบริษัทซึ่งมาจากต่างพื้นที่อีกทั้งพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับโรงเรียน ยังสามารถประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม เช่นทำสวนผลไม้ สวนยาง และปลูกพืชไร่ทำให้มีความหลายหลายทางเศรษฐกิจผู้ประกอบการเหล่านี้ส่วนใหญ่มีฐานะและความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับการศึกษาโรงเรียนจึงได้รับโอกาสโดยได้รับความช่วยเหลือ ได้รับการสนับสนุนทั้งด้านการบริจาคสิ่งของต่าง ๆ อยู่เสมอนอกจากนี้โรงเรียนยังตั้งอยู่ในบริเวณวัดซึ่งเจ้าอาวาสเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนโรงเรียนได้รับทุนการศึกษาจากทางวัดทุกปีรวมทั้งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในทุกๆด้าน

3.2) ข้อจำกัดจากการที่โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจทำให้นักเรียนที่มีความพร้อมทางเศรษฐกิจไปเข้าเรียนในสถานศึกษาที่เป็นเอกชนในเมือง นักเรียนที่เข้ามาเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจนผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างนักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีปัญหาความแตกแยก โรงเรียนจึงมีนักเรียนที่ขาดความพร้อม ยากจน ขาดแคลน และต้องให้ความช่วยเหลือจำนวนมาก ทั้งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมทั้งครูต้องปฏิบัติหน้าที่งานสนับสนุนงานสอนมากทำให้ครูไม่มีโอกาสและเวลาที่จะทุ่มเทให้กับการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

 

 



การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์

ภายในปี 2566 มุ่งพัฒนาการศึกษา เน้นความเป็นไทย ใส่ใจผลสัมฤทธิ์ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21

พันธกิจ

1. พัฒนาหลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาและมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่
21 (
3R8C)

3. ส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

4. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และมีความเป็นไทย

5.ส่งเสริมอัตลักษณ์ของสถานศึกษาให้โดดเด่น

เป้าประสงค์

1. สถานศึกษามีหลักสูตรที่จัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2. ผู้เรียนมีความรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาและมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (3R8C)

3. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

4. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย

5. สถานศึกษามีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น

อัตลักษณ์

ไหว้สวย ยิ้มใส


ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
0 5 1 2 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โครงสร้างเวลาเรียนการศึกษาปฐมวัย

ที่

กิจกรรมประจำวัน

เวลาเรียน (นาที / วัน)

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

๒๐

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

๑๕

กิจกรรมสร้างสรรค์

๓๐

กิจกรรมเสรี

๓๐

กิจกรรมกลางแจ้ง

๔๕

กิจกรรมเกมการศึกษา

๒๐

ทักษะพื้นฐานในชีวิตประจำวัน

- ตรวจสุขภาพ / ไปห้องน้ำ / ล้างมือ

- ดื่มนม

- รับประทานอาหาร

- นอนพักผ่อน

- เก็บที่นอน ล้างหน้า แปรงฟัน

๑๐

๑๐

๕๐

๑๒๐

๑๐

รวม

๖ ชั่วโมง / วัน



โครงสร้างหลักสูตรเวลาเรียนโรงเรียนวัดหนองไทร (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๓)

กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

เวลาเรียน(ชั่วโมง/ปี)

ระดับประถมศึกษา

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

— กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

การงานอาชีพ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ภาษาต่างประเทศ

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๘๐

๘๐

๘๐

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

— รายวิชาเพิ่มเติม

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

๘๐

๘๐

๘๐

-

-

-

การป้องกันการทุจริต

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

รวมเวลาเรียน (เพิ่มเติม)

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๔๐

๔๐

๔๐

— กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

กิจกรรมแนะแนว

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

กิจกรรมนักเรียน

- กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี

- ชุมนุม

๔๐

๓๐

๔๐

๓๐

๔๐

๓๐

๔๐

๓๐

๔๐

๓๐

๔๐

๓๐

กิจกรรมสาธารณประโยชน์

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

รวมเวลาเรียนทั้งหมด

,๐๘๐ ชม.

,๐๘๐ ชม.

,๐๘๐ ชม.

,๐๐๐ ชม.

,๐๐๐ ชม.

,๐๐๐ ชม.



















หมายเหตุ : วิชาหน้าที่พลเมือง นำไปบูรณาการกับวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามคำสั่งประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐

วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง การบริหารจัดการเวลาเรียนภาษาอังกฤษชั้น ป.๑ – ๓ ตามคำสั่งประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙

วิชาการป้องกันการทุจริต ตามคำสั่งประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑

จำนวนชั่วโมงที่จัดให้นักเรียนระดับประถมศึกษา (ป.๑ - ป.๓) เรียนทั้งปี ๑,๐๘๐ ชั่วโมง นักเรียนระดับประถมศึกษา (ป.๔ - ป.๖) เรียนทั้งปี ๑,๐๐๐ ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้/จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ คือกลุ่มสาระการเรียนรู้ทักษะภาษาไทย เพื่อพัฒนาการ อ่านออก เขียนได้ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ที่ดี มีประโยชน์ มีความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน โดยจัดการเรียนการสอนและวัดผลประเมินผลเป็นรายปี



ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

โรงเรียนวัดหนองไทร ตั้งอยู่ที่1/1 หมู่ 12 ตำบลช้างข้าม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โรงเรียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนพ.ศ. 2479ด้วยความร่วมมือของประชาชน คณะครู และเจ้าอาวาสวัดหนองไทร โดยครั้งแรกเป็นอาคารชั่วคราว ต่อมาได้สร้างอาคารแบบถาวร แบบ ป.3ก.ขนาด 3 ห้องเรียนปี พ.ศ. 2520 องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้จัดสรรงบประมาณ สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1ข. ขนาด 5ห้องเรียน 1 หลังปี พ.ศ. 2528ได้ขออนุญาตรื้อถอนอาคารแบบ ป.3ก. เนื่องจากชำรุดมาก และของบประมาณสร้างต่อเติมเป็นอาคารแบบ ป.1ข.ขนาด 3 ห้องเรียนปี พ.ศ. 2536 ได้รับงบประมาณจากการแปรญัตติเงินงบประมาณ สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 ขนาด 5ห้องเรียน 1 หลัง

 



หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1GtXZd0m5QC8PEZwkr8ZusWOlTl02Z79g/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

1. ห้องสมุด มีขนาด108 ตารางเมตร จำนวนหนังสือในห้องสมุด 1,896 เล่ม

การสืบค้นหนังสือและการยืม- คืน ใช้ระบบ ลงทะเบียนยืม – คืน .

จำนวนนักเรียนที่ใช้ห้องสมุดในปีการศึกษาที่รายงาน เฉลี่ย30 คน ต่อวัน

คิดเป็นร้อยละ 30.30ของนักเรียนทั้งหมด

2. ห้องปฏิบัติการ

ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน ………1………. ห้อง

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน ………1………. ห้อง

ห้องปฏิบัติการทางภาษา จำนวน ………1………. ห้อง

คอมพิวเตอร์ จำนวน 10เครื่อง ใช้เพื่อการเรียนการสอน 10 เครื่อง

ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต 5 เครื่อง

จำนวนนักเรียนที่สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตในปีการศึกษาที่รายงาน เฉลี่ย 20 คน
ต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 20.20 ของนักเรียนทั้งหมด

ใช้เพื่อการบริหารจัดการ 4 เครื่อง

แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายใน

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

1. ห้องสมุด

2. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ฯลฯ

100 ครั้ง/ปี

50 ครั้ง/ปี

แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

1. แหลมแม่นกแก้ว

2. วัดหนองไทร

3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างข้าม

ฯลฯ

2 ครั้ง/ปี

4 ครั้ง/ปี

5 ครั้ง/ปี

ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่สถานศึกษาเชิญมาให้ความรู้แก่ครู นักเรียน ในปีการศึกษาที่รายงาน

น.ส.ลักษณพรหอมเกษร ให้ความรู้เรื่อง การใช้งานเทคโนโลยีICT และโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน. สถิติการให้ความรู้ในโรงเรียนแห่งนี้ จำนวน 60 ครั้ง/ปี

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ให้ความรู้เรื่อง การปลูกและดูแลต้นเหลืองปรีดียาธร .

สถิติการให้ความรู้ในโรงเรียนแห่งนี้ จำนวน1 ครั้ง/ปี

พระประจักษ์ ท่านรองเจ้าอาวาสวัดหนองไทร ให้ความรู้เรื่อง พระพุทธศาสนาสถิติการให้ความรู้ในโรงเรียนแห่งนี้ จำนวน 2 – 3 ครั้ง/ปี


หลักฐานอ้างอิง : -
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา           โรงเรียนวัดหนองไทร มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และปริมาณที่เหมาะสมตามวัย ให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงภาคเรียนละ 3 ครั้ง จัดหาอุปกรณ์เครื่องเล่นสนาม ไม่มีจุดที่เป็นอันตรายมีกฎกติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครองเกี่ยวกับโรคติดต่อต่าง ๆ โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการจัดทำโครงการที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก มีการตรวจสุขภาพโดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างข้าม เข้ามาตรวจสุขภาพฟัน เคลือบฟลูออไรท์ ให้กับเด็กนอกจากนี้ยังมีการออกกำลังกายหน้าชั้นเรียนในระดับชั้นอนุบาล เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ออกกำลังกาย โรงเรียนสนับสนุนให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับอำเภอ มีการจัดกิจกรรมทางด้านดนตรีและศิลปะทุกวัน โดยครูดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมหรือพัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้โดยการผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำและผู้ตาม มีความมั่นใจและกล้าแสดงออกและร่วมการแสดงในงานต่างๆของโรงเรียน รู้จักการอดทนรอคอย มีการร่วมกันทำงานเป็นกลุ่มและรู้จักการช่วยเหลือแบ่งปัน รู้หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองยอมรับและพอใจในความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่นได้ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน มีวินัยในตนเอง ระเบียบวินัย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตร นอกจากนี้โรงเรียนยังมีกิจกรรมทัศนศึกษา การเรียนรู้นอกสถานที่เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียนมีวินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียงมีการออมเงินเป็นประจำทุกวัน ฝึกการเก็บของใช้ส่วนตัวเข้าที่และช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมีการปลูกฝังให้เด็กรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ความมีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย เช่นการไหว้ การยิ้มทักทายและการมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ และการเข้าร่วมกิจกรรมสำคัญทางศาสนา เพื่อให้เด็กมีค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีงาม คิดดี พูดดี ทำดี มีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ มีจิตสาธารณะและสามารถนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทาง ในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัย โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต แก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงาน เพื่อการเรียนรู้โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สามารถสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ มีการส่งเสริมทักษะอาชีพเพื่อให้รู้จักการวางแผนงานอย่างเป็นระบบขั้นตอนนำไปสู่การทำงานต่างๆได้อย่างสำเร็จ และมีทักษะชีวิตที่ดีอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถปรับตัวได้และเผชิญหน้ากับปัญหารอบด้านด้วยตนเองมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพสุจริต
ผลการดำเนินงาน            จากกระบวนการพัฒนาการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ส่งผลให้ครูมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และออกแบบการจัดการเรียนรู้มีทักษะในการจัดประสบการณ์ และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลตามสภาพจริง ตลอดจนทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เด็กจึงมีผลการประเมิน พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับที่พึงพอใจและผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับดีเลิศ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1Dn4K6Eqp-gFSmZ4hXgdhd9Zm0QN59Kpe/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา            การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดหนองไทร มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีความสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ที่เน้นการเตรียมความพร้อมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญาโดยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ และการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง มีสอดคล้องกับวิถีของครอบครัว ชุมชนของตนเอง มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับผลการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้เด็กมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา และมีการจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยมีครูที่จบการศึกษาปฐมวัยโดยตรง ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพของครูปฐมวัยให้มีความรู้ ความสามารถในการคิด วิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ที่คำนึงถึงความสะอาด ปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ มีมุมประสบการณ์ สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดรับกับมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดและดำเนินการตามแผน มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี นำผลไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน            โรงเรียนวัดหนองไทร มีการจัดระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมีการปฏิบัติกิจกรรมตามแผนงานของโรงเรียน มีโครงการกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ครอบคลุมและชัดเจน มีหลักสูตรการศึกษามีปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นและชุมชน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนเป็นอย่างดี มีครูและบุคลากรทางการศึกษาทางด้านการศึกษาปฐมวัย มีครูและครูพี่เลี้ยง ดูแลเด็กปฐมวัยได้อย่างทั่วถึง ครูได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้และจัดประสบการณ์ตามมาตรฐานการศึกษา มีการดำเนินกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC มีการปรับปรุงและจัดสภาพแวดล้อมอาคารสถานที่มีความพร้อม เพียงพอ สะอาดและมีความปลอดภัย มีสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำให้อยู่ในระดับที่ดีเลิศ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
  https://drive.google.com/file/d/1d5Nkm6LizoyWPtkIAD6c2tIzAbxyDplg/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา            การจัดการศึกษาปฐมวัย มีจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มตามศักยภาพ โดยมีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครอบคลุมครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว มีการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมประจำวันและยังมีการจัดประสบการณ์อื่น ๆ ที่หลากหลาย สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข กิจกรรมทัศนศึกษาทั้งในและนอกสถานที่ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงศักยภาพของตนเองออกมาผ่านการทำกิจกรรม การเล่าเรื่อง การนำเสนอผลงาน การแสดงความคิดเห็นของตนเอง สร้างโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้คิดริเริ่มและวางแผนการทำกิจกรรม ทั้งกิจกรรมที่ทำรายบุคคลและกิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม พาไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยความร่วมมือจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ผลการดำเนินงาน            จากกระบวนการพัฒนาการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ครูได้เข้าร่วมอบรมเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และออกแบบการจัดการเรียนรู้มีทักษะในการจัดประสบการณ์ และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลตามสภาพจริง มีการจัดการเรียนที่ทันสมัยและกระตุ้นและช่วยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีความสุข สนุกกับการทำกิจกรรม ตลอดจนทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เด็กปฐมวัยจึงมีผลการประเมิน พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับที่พึงพอใจและผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับดีเลิศ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1Dn4K6Eqp-gFSmZ4hXgdhd9Zm0QN59Kpe/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยยึดหลักการจัดการเรียนการสอนที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย โดยครูและนักเรียนร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ไปด้วยการ ร่วมแสดงความคิดเห็นไปพร้อมๆกันอย่างมีเหตุผลและเหมาะสมกับวัย

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีการระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
ครูมีรูปแบบในการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญที่หลากหลาย

 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่เป็นไปตามวัย อยู่ในระดับที่ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
เด็กมีประสิทธิภาพตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
เด็กจึงมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย เรียนรู้อย่างมีความสุข ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับที่ดีเลิศ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1Dn4K6Eqp-gFSmZ4hXgdhd9Zm0QN59Kpe/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา            สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร เน้นเรื่องการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป. 1 พัฒนาครูทุกคนให้มี ความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะครูร่วมกันกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาของผู้เรียน นอกจากนี้ โครงการ/ กิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21/ ห้องสมุดมีชีวิต/ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน/ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ/ จัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เพื่อการบริการข้อมูลและสารสนเทศ/ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ/ ระบบช่วยเหลือนักเรียน/ การทัศนศึกษา/ เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวโรงเรียนสุจริต/ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นต้น
ผลการดำเนินงาน            ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและคิดคำนวณได้ตามมาตรฐานของแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดี รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดีสำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่าง ๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์รักการออกกำลังกายยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษา ของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และระหว่างวัย ทั้งนี้มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1PTO63V2KepSTBQe-Ww2FFJBzTXnkKFk3/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  
1. จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในด้านคุณธรรม จริยธรรม
2. ปลูกฝังการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแก่นักเรียน
3. สอดแทรกการภูมิใจในความเป็นแก่นักเรียน เช่น การแต่งกายด้วยชุดผ้าไทยทุกวันศุกร์ รวมถึงความเป็นมาในวันสำคัญต่างๆของประเทศไทย
4. การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ผลการดำเนินงาน  

ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำแนกตามระดับคุณภาพ


ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ธรรมชาติ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำแนกตามระดับคุณภาพ


ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินด้านความภูมิใจในความเป็นไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำแนกตามระดับคุณภาพ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/16vq7lRrqDVmgPf0SVSicqd2BFJ2gse7h/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา            โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผน ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจกลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน โครงการ/ กิจกรรม ที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (ปีการศึกษา 2560 – 2563) / แผนปฏิบัติราชการประจำปี/ จัดทำข้อมูลสารสนเทศประจำปี/ โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้/ การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและการประชุมผู้ปกครองนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
ผลการดำเนินงาน  
2.1 สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนา

ของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

2.2 แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้

2.3 สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

2.4 คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการศึกษา

2.5 สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสมเป็นระบบและต่อเนื่อง

2.6สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากองค์กรต่าง ๆ ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1LgmJN3w1G6BCRuP66pJ4STRClKJ4gDbR/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  
โรงเรียนดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/ โครงการ/ กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่

1. โครงการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา

2. โครงการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เพื่อการบริการข้อมูลและสารสนเทศ
3. โครงการค่ายวิชาการ (คณิตคิดสนุก)

4. โครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

ป.1 - ป.2 ทำสบู่ล้างมือ

ป.3 - ป.4 ทำน้ำยาล้างจาน

ป.5 - ป.6 ทำเจลล้างมือ

5. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ (PLC)
ผลการดำเนินงาน       แสดงจำนวนผู้ได้รับการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ปีการศึกษา 2563 (คน)

แสดงจำนวนผู้ได้รับการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เพื่อการบริการข้อมูลและสารสนเทศ ปีการศึกษา 2563 (คน)


แสดงจำนวนผู้ได้รับการเข้าร่วมกิจกรรมใน
โครงการค่ายวิชาการ (คณิตคิดสนุก)

ปีการศึกษา 2563 (คน)


แสดงจำนวนผู้ได้รับการเข้าร่วมกิจกรรมใน
โครงการลดเวลาเรียน  เพิ่มเวลารู้

 

ปีการศึกษา 2563 (คน)

                                              

แสดงจำนวนครูผู้เข้าร่วมการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนา และปรับปรุงการจัดการเรียนรู้


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1fh8-m_xRZlqEu1CxeE4QNyk1fyAUzEuu/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 มาตรฐานที่ 1 

                สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร เน้นเรื่องการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป. 1 พัฒนาครูทุกคนให้มี ความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะครูร่วมกันกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาของผู้เรียน นอกจากนี้ โครงการ/ กิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21/ ห้องสมุดมีชีวิต/ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน/ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ/ จัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เพื่อการบริการข้อมูลและสารสนเทศ/ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ/ ระบบช่วยเหลือนักเรียน/ การทัศนศึกษา/ เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวโรงเรียนสุจริต/ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นต้น

มาตรฐานที่ 2 

               โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผน ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจกลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน โครงการ/ กิจกรรม ที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 3 ปี/ แผนปฏิบัติราชการประจำปี/ จัดทำข้อมูลสารสนเทศประจำปี/ โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้/ การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและการประชุมผู้ปกครองนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น

มาตรฐานที่ 3 

โรงเรียนดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/ โครงการ/ กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ 

- โครงการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา

โครงการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เพื่อการบริการข้อมูลและสารสนเทศ

โครงการค่ายวิชาการ (คณิตคิดสนุก)

- โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

ป.1 - ป.2 ทำสบู่ล้างมือ

ป.3 - ป.4 ทำน้ำยาล้างจาน

ป.5 - ป.6 ทำเจลล้างมือ

- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ (PLC)

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
1.ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านคล่อง รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้อยู่ในเกณฑ์ดีมาก สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดี

2.ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีระเบียบวินัยจนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา เป็นที่ยอมรับของชุมชนโดยรอบในเรื่องความมีวินัย เคารพกฎกติกา มารยาทของสังคม

3.โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยมีการประชุมแบบมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา

4.ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวน วิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

5. ครูตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน

6. ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

7. ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

8. ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้โดยการคิด ได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1CbfJStpL6XmajWSNqfQb5boSUkTmXjzy/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก