รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านเขามะปริง

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา


ข้อมูลพื้นฐานชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านเขามะปริง หมู่ที่ ๕ ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางสาวเนื้อน้อง ไชยโชติ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑ ๕๒๓๐๘๕๘E-...

จำนวนครู ๔คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู ๓ คน ครูอัตราจ้าง ๑ คน เจ้าหน้าที่ธุรการ ๑ คน

จำนวนนักเรียน รวม ๖๖คน จำแนกเป็น ระดับปฐมวัย ๒๓ คน ระดับประถมศึกษา ๔๓ คน

ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย

โรงเรียนบ้านเขามะปริง จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยมีนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๒-๓ รวม ๒๓คน ครูผู้สอน ๑ คน จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR)ปีการศึกษา ๒๕๖๒ เสนอต่อ หน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลการ ดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้เด็ก ระดับ ปฐมวัย ๑๙ คนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ จำนวน ๑๙ คน มีน้ำหนักส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน - คน กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน เพื่อความพร้อมสมบูรณ์ตามวัย เป็นโครงการที่ส่งเสริมพัฒนาการด้าน ร่างกาย ส่งผลให้เด็ก ร้อยละ ๑๐๐ สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

คุณภาพเด็กด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ โรงเรียนบ้านเขามะปริง ได้จัด กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กๆได้สนุกสนาน มีความสุขในการเรียนรู้ จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐาน ผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเริงเล่นเต้น ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านเขามะปริง ร้อยละ๑๐๐ มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย

คุณภาพเด็กด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียน บ้านเขามะปริง ทุกคนช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเอง รู้จักการประหยัด พอเพียง มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน มีมารยาททางวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การทักทาย จากกาจัดประสบการณ์ ผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมอนุรักษ์ วัฒนธรรมไทย ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านเขามะปริง ร้อยละ๑๐๐ มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้อย่างเหมาะสม

คุณภาพเด็กด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ นักเรียนระดับ ปฐมวัยโรงเรียนบ้านเขามะปริง ทุกคน สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเอง สนใจหรือสงสัยและพยายามค้นหาคำตอบ คิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆได้ จากการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย กิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านเขามะปริง ร้อยละ๑๐๐มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหา ความรู้ได้อย่างเหมาะสม

ด้านกระบวนการจัดการบริหารและการจัดการหลักสูตรโรงเรียนบ้านเขามะปริง มีหลักสูตรปฐมวัย ที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความ พร้อมเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว

ชุมชน และท้องถิ่น กิจกรรม บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การออมเงิน ส่งผลให้นักเรียนรู้จักประหยัดเก็บออม ไว้ใช้เมื่อจำเป็น

ด้านการจัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียนโรงเรียนบ้านเขามะปริง ได้มีการจัดครูที่เหมาะสมกับการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูจบการศึกษาปฐมวัย ดูแลเด็กปฐมวัย โรงเรียน ได้ส่งบุคคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้โรงเรียน มีครูดูแลนักเรียนระดับปฐมวัยตรงกับวิชาเอก

ด้านส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์โรงเรียนบ้านเขามะปริง ได้มีการ พัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูมีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ มีทักษะในการจัดประสบการณ์และ การประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล จัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง

การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิด การเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่มมีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จาก ธรรมชาติหรือสื่อในชุมชนมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยี ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ กิจกรรมปรับปรุง สภาพแวดล้อมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ส่งผลให้โรงเรียนบ้านเขามะปริง มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการ เรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง

การให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้กิจกรรมจัดหาสื่อการเรียนการสอนส่งผลให้โรงเรียนบ้านเขามะปริง มีการ ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

ระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โรงเรียนมีการกำหนดมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด ได้ มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการ ประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมิน ตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อม ทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง จากโครงการส่งเสริมระบบประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา ส่งผลให้โรงเรียนบ้านเขามะปริง มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

ด้านการจัดการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการ ทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุก ๆ ด้านให้เหมาะสมกับวัย

ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการ รอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบ

ด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่

ด้านสติปัญญา มีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหา ความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จัดประสบการณ์ ส่งผลให้โรงเรียนบ้านเขามะปริง ได้มีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุก ด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

การสร้างโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข โรงเรียนบ้านเขามะปริง ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดย ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคีการแบ่งปัน และการรอคอยเพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข

 

ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสาถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนบ้านเขามะปริง จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๔๓คน ครูผู้สอน ๓ คน จัดทำรายงานการประเมิน คุณภาพของตนเอง (SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๒ เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ ผลการ ประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน ๒ ด้าน ได้แก่ ๑ ) ด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ๒) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มี ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและ ค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความ เป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียนสถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน ๓ ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้ พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพจัดแหล่งเรียนรู้ภายในให้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย จัด กิจกรรมให้ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี มีความกล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมี ความสุข เน้นทักษะการท างานร่วมกัน ทำให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิด คำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น จากการประเมินนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ -๖ ผลการอ่านออกเขียนได้ ด้านการอ่านอยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็น ร้อยละ ๓๘.๔๖ด้านการเขียน อยู่ในระดับ ดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓ กิจกรรมพัฒนาการอ่านเขียนภาษาไทย นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทยเข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๕ ด้านปีการศึกษา ๒๕๖๒ รวมเฉลี่ยทั้ง ๕ด้าน ระดับดีขึ้นไป๘๕.๑๑ นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ร้อยละ ๘๖.๐๗ มีผลการอ่านคิด วิเคราะห์ และเขียนในระดับดีขึ้นไปที่สถานศึกษากำหนด ร้อยละ ๘๕.๑๒ กำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนตามที่ว่า "การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการเพื่อให้บรรลุตามกระบวนการบริหารและการจัดการ คุณภาพของสถานศึกษา ในโรงเรียนบ้านเขามะปริง การดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยใช้ข้อมูลฐานในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน ในดำเนินการ พัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมายเชื่อมโยงกับชีวิต จริง จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ ทางด้าน วิชาชีพ ตามความต้องการของครูและสถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการ จัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการ เรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน สอดคล้องกับ บริบทของโรงเรียนความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของ รัฐบาลและของต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมมีระบบการบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ วางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยมีแผนไปปฏิบัติ ติดตามตรวจสอบ ประเมินผล และ ปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่องมีการบริหารอัตรากำลังทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน มีการนิเทศภายใน นำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โรงเรียน จัดหา พัฒนาและบริการด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ จัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ใน การบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรม อย่างหลากหลาย มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียน ผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของ หลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมิน ผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียน เรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูผลิตนวัตกรรม ปรับโครงสร้างรายวิชา มีการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน จัดกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่ มีการจัดการเรียนสอนโดยโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนไกลกังวล (DLTV) และใช้สื่อ ๖๐ พรรษาประการเรียนการสอน จัดทำโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ NT และ ONET ครูร่วมกันออกแบบการวัดผลประเมินผล เพื่อตรวจสอบ และประเมินผู้เรียนอย่างมีขั้นตอน ใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม พร้อมทั้งนำผลไป ใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์(PLC) เป็นชุมชนแห่งการ เรียนรู้ทางวิชาชีพ และนำไปปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ต่อไป

......................................

(นางสาวเนื้อน้อง ไชยโชติ)

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

 

ชื่อโครงการ ส่งเสริมความสามารถในการอ่านเขียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย

ฝ่ายบริหาร งานวิชาการ

สนองกลยุทธ์ กลยุทธ์โรงเรียนที่ 1

ลักษณะโครงการ ต่อเนื่อง

ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศิริประภา ศรีระชัยนางสาวอริสรา แสนสำโรง

ระยะเวลาดำเนินการ มิ.ย. 63มี.ค. 64

.........................................................................................................................................................................

1. หลักการและเหตุผล:

ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดี

เป็นเครื่องมือในการแสวงหา ความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ภาษาไทยถือ

เป็นเอกลักษณ์สำคัญประจำชาติไทย ซึ่งเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย อันเป็นความภาคภูมิใจและแสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของชาวไทย ภาษาไทยจึงมีคุณค่าและมีความสำคัญต่อคนไทย นอกจากนั้น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 23 ได้กล่าวถึงความสำคัญของภาษา ในการให้ความรู้และทักษะด้านภาษาเน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะภาษาไทยเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่จะต้องใช้ในการเรียนรู้กลุ่มวิชาต่าง ๆ ต่อไป แต่ปัจจุบัน แม้ว่าจะอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งมีเครื่องมือและสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากมาย ปรากฏว่า มีเด็กนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนมาก ที่มีปัญหาอ่านภาษาไทยไม่ออก และเขียนภาษาไทยไม่ได้ ซึ่งนับวันจะมีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น โรงเรียนบ้านเขามะปริงจึงได้จัดให้มีโครงการส่งเสริมความสามารถในการอ่านเขียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้นักเรียนสามารถอ่านภาษาไทยออกและเขียนได้ และเป็นการส่งเสริม พัฒนาศักยภาพด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนภาษาไทยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้และอ่านคล่อง เขียนคล่องของนักเรียนระดับประถมศึกษา

ปีที่ 1 - 6 โรงเรียนบ้านเขามะปริง

2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ระดับประถมศึกษา ปีที่ 1 - 6 โรงเรียนบ้านเขามะปริงมีนิสัยรักการอ่าน

3. เป้าหมาย

เชิงปริมาณ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่อ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่องได้รับการพัฒนา

เชิงคุณภาพ

1.ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่อ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่องมีพัฒนาการด้านการอ่านการเขียน

2.ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนบ้านเขมีนิสัยามะปริงรักการอ่าน

 

4. วิธีดำเนินการ

ที่

รายการ / กิจกรรมสำคัญ

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

1.

ขั้นเตรียมการ

1. ประชุมครูที่สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และวางแผนการทำงาน

2.มีคำสั่งแต่งตั้งก่อนดำเนินโครงการตามปฏิทินปฏิบัติ

3. เสนอขออนุมัติดำเนินการ

4. เสนอขอจัดซื้อวัสดุ

มิ.ย. 63

ผู้บริหาร /

นางสาวศิริประภา

ศรีระชัย

และครูทุกคน

2.

ขั้นดำเนินกิจกรรม

2.1 มอบหมายงานแก่ผู้เกี่ยวข้อง

2.2 ดำเนินการตามโครงการ

2.2.1 กิจกรรมการอ่านภาษาไทยวันละคำ(ป.1–ป.6)

2.2.2 กิจกรรม Bingo (ป.1 – ป.6 )

2.2.3 กิจกรรมประกวดยอดนักอ่าน (ป.4 – ป.6 )

2.2.4 กิจกรรมประกวดการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก

(ป.4 – ป.6)

 

มิ.ย.63 – มี.ค.64

 

-

 

 

 

 

 

ผู้บริหาร /

นางสาวศิริประภา

ศรีระชัย

และครูทุกคน

3.

ขั้นตอนการตรวจสอบ

3.1 ติดตามการดำเนินโครงการและกิจกรรม

 

- มิ.ย. 63

- พ.ย. 63

 

ผู้บริหาร

4.

ขั้นประเมินผล

4.1 ทดสอบประเมินผลการอ่าน -การเขียน

4.2 สรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผล

การดำเนินงานผู้ที่เกี่ยวข้อง

4.3 เก็บผลการประเมินเป็นข้อมูล วิเคราะห์

เพื่อประกอบการวางแผนครั้งต่อไป

 

- ก.ค. 63

- ธ.ค. 63

 

นางสาวศิริประภา

ศรีระชัย

และครูทุกคน

 

 

 

 

 

5. งบประมาณ

จำนวน 4,000 บาท

กิจกรรม

งบประมาณจำแนกตามรายจ่าย

ค่าตอบแทน

ค่าใช้สอย

วัสดุ

วัสดุ อุปกรณ์ สื่อต่าง ๆ และของรางวัล

-

-

4,000

หมายเหตุ ถั่วจ่ายทุกรายการ

 

6. การวัดและประเมินผล

ตัวบ่งชี้

วิธีการประเมิน

วิธีการวัด/เครื่องมือวัด

1.ร้อยละ 80 ขึ้นไปของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

อ่านเขียนหนังสือได้คล่อง

2.ร้อยละ 80 ขึ้นไปนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6

มีนิสัยรักการอ่านการเขียน

1. การทดสอบ

2. การสังเกต

3. การใช้แบบสอบถาม

ความพึงพอใจ

1.แบบประเมินการอ่าน-

การเขียน

2.แบบประเมินความพึงพอใจ

 

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้น ป.1 - 6 โรงเรียนบ้านเขามะปริง อ่าน -เขียนหนังสือได้คล่อง

2.นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้น ป.1 - 6 โรงเรียนบ้านเขามะปริง มีนิสัยรักการอ่าน

 

ลงชื่อ .................................................. ผู้รับผิดชอบโครงการและกิจกรรม

(นางสาวศิริประภา ศรีระชัย)

ลงชื่อ .................................................... ผู้อนุมิติโครงการและกิจกรรม

(นางสาวเนื้อน้อง ไชยโชติ)

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขามะปริง

 

โครงการ ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน

แผนงาน จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

งาน วิชาการ

ผู้รับผิดชอบ นางสาวศิริประภา ศรีระชัยนางสาวกันทิมา เชิงไชย

ระยะเวลาดำเนินการ กรกฎาคม2563 - 31 มีนาคม 2564

สนองกลยุทธ์ ข้อที่ 1

สนองมาตรฐาน 1


1. หลักการและเหตุผล

การจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดฉะนั้นครูผู้สอนจึงต้องเปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้ช่วยเหลือส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้หลากหลาย

เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาการคิดของผู้เรียน ให้มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์กว้างไกล

2. วัตถุประสงค์

1.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐาน

2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์กว้างไกล

3. เป้าหมาย

1. ครูทุกคนพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ

2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

3. นักเรียนมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์กว้างไกล

4. กิจกรรมการดำเนินการและรายละเอียดการใช้งบประมาณ 25,000 บาท

กิจกรรม

งบประมาณ

ระยะเวลา

ปฏิบัติงาน

ผู้รับผิดชอบ

ค่าใช้สอย

ค่าวัสดุ

รวม

1. ประชุมชี้แจงให้ครูทราบ

 

 

 

ก.ค..63

ผู้บริหาร

2. ดำเนินการตามกิจกรรม

 

 

 

 

 

2.1 การจัดการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้

 

10,000

10,000

ก.ค.63 – มี.ค.64

ศิริประภา

2.2 การผลิตสื่อและการจัดหาสื่อ

 

14,000

14,000

มิ.ย.63 – มี.ค.64

ครูทุกคน

2.3 การจัดทำวิจัยในชั้นเรียน

 

1,000

1,000

ส.ค.63 – มี.ค.64

ครูทุกคน

3. นิเทศ ติดตามผล

 

 

 

พ.ย.63 -มี.ค.64

ผู้บริหาร

4. ประเมินผล

 

 

 

พ.ย.63 -มี.ค.64

ศิริประภา

5. รายงานผล

 

 

 

มี.ค.64

ศิริประภา

รวม

25,000

25,000

5. งบประมาณ

-เงินอุดหนุนรายหัว จำนวน 25,000 บาท

-เงินบริจาค จำนวน - บาท

6. การประเมินผล

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

วิธีวัดประเมินผล

เครื่องมือที่ใช้

1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

- ประเมินจากรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

1. แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2. ร้อยละความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง

- สอบถาม

2. แบบประเมินความพึงพอใจ

3. ผลงานนักเรียน

- ตรวจผลงาน

3. ตรวจผลงาน

 

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75ของทุกกลุ่มสาระ

2. นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์คิดอย่างสร้างสรรค์มีวิจารณญาณได้มากยิ่งขึ้น

 

 

 

ลงชื่อ .................................................. ผู้รับผิดชอบโครงการและกิจกรรม

(นางสาวศิริประภา ศรีระชัย)

 

ลงชื่อ .................................................. ผู้รับผิดชอบโครงการและกิจกรรม

(นางกันทิมา เชิงไชย)

 

ลงชื่อ .................................................... ผู้อนุมิติโครงการและกิจกรรม

(นางสาวเนื้อน้อง ไชยโชติ)

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขามะปริง

 

 

 

 


 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

โครงการ ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

แผนงาน จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

งาน วิชาการ

ผู้รับผิดชอบ นางสาวศิริประภา ศรีระชัย

ระยะเวลาดำเนินการ 1 มิถุนายน 2564 -30 เมษายน 2565

สนองกลยุทธ์ ข้อที่ 5

สนองมาตรฐาน 4


1. หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้ทันกับวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตามความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนการวัดและประเมินผลเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนต้องรู้จุดอ่อนจุดแข็งของโรงเรียนจึงได้จัดโครงการการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนขึ้น

2. วัตถุประสงค์

เพื่อโรงเรียนจะได้มีข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบ

 

3. เป้าหมาย

โรงเรียนจัดทำระบบประกันคุณภาพภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. กิจกรรมการดำเนินการและรายละเอียดการใช้งบประมาณ 1,000 บาท

กิจกรรม

งบประมาณ

ระยะเวลา

ปฏิบัติงาน

ผู้รับผิดชอบ

ค่าใช้สอย

ค่าวัสดุ

รวม

1. ประชุมวางแผน / แต่งตั้งคณะทำงาน

 

 

 

มิ.ย.64

ผู้บริหาร

2. คณะทำงานประชุมปรึกษาหารือ สร้างหลักเกณฑ์และวิธีการ

 

 

 

มิ.ย.64

ครูทุกคน

- สร้างเครื่องมือประเมิน

 

500

500

มิ.ย.64-ก.พ.65

ศิริประภา

และคณะครู

- ดำเนินการประเมินคุณภาพ

 

 

 

มิ.ย.64-มี.ค.65

คณะครู

- รายงานคุณภาพการศึกษา(SAR)

 

500

500

มิ.ย.64-มี.ค.65

ศิริประภา

กันทิมา อริสรา

3. นิเทศ ติดตามผล

 

 

 

มิ.ย.64-มี.ค.65

ผู้บริหาร

4. ประเมินผลการจัดกิจกรรม

 

 

 

มิ.ย.64-มี.ค.65

ศิริประภา

5. รายงานผล

 

 

 

เม.ย.65

ศิริประภา

รวม

1,000

1,000

5. งบประมาณ

- เงินอุดหนุนรายหัว จำนวน 1,000 บาท

6. การประเมินผล

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

วิธีวัดประเมินผล

เครื่องมือที่ใช้

โรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพภายในได้มาตรฐาน

- ตรวจสอบการจัดทำระบบประกันคุณภาพภายใน

แบบประเมิน

 

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

 

ลงชื่อ .................................................. ผู้รับผิดชอบโครงการและกิจกรรม

(นางสาวศิริประภา ศรีระชัย)

 

ลงชื่อ .................................................. ผู้รับผิดชอบโครงการและกิจกรรม

(นางกันทิมา เชิงไชย)

ลงชื่อ .................................................. ผู้รับผิดชอบโครงการและกิจกรรม

(นางสาวอริสรา แสนสำโรง)

 

 

ลงชื่อ .................................................... ผู้อนุมิติโครงการและกิจกรรม

(นางสาวเนื้อน้อง ไชยโชติ)

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขามะปริง

 

 

 

 


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)


ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

๑.๑ ข้อมูลทั่วไป

ชื่อสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเขามะปริง ตั้งอยู่เลขที่ ๑/๓ หมู่๕ ตำบล นายายอาม

อำเภอนายายอาม จังหวัด จันทบุรีรหัสไปรษณีย์ ๒๒๑๖๐

โทรศัพท์ : 081-523 0858

e – mail : mapring58@gmail.com

Facebook : โรงเรียนบ้านเขามะปริง

เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๒ ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เนื้อที่ ๔ไร่

เขตพื้นที่บริการ จำนวน ๖ หมู่บ้าน ได้แก่ ต.นายายอาม หมู่ ๔,, ๑๔, ๑๕

และต.ช้างข้าม หมู่ ๑ และ ๒

 

ประวัติโรงเรียนบ้านเขามะปริง

วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ นายวิเชียร หรรษาพันธุ์ ศึกษาธิการอำเภอท่าใหม่ได้มาทำการเปิดโรงเรียนและให้ชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลนายายอาม ๒ ( บ้านเขามะปริง ) โรงเรียนนี้นายอำเภอเป็น

ผู้จัดตั้งและดำรงอยู่ด้วยเงินงบประมาณการศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดการสอนเฉพาะชั้นมูลเพียงชั้นเดียว เนื่องจากเวลาที่สอนจวนจะสิ้นปีการศึกษา ถ้าเปิดสอนหลายชั้นจะเป็นการยุ่งยากมากเพราะมีครูทำการสอนเพียงคนเดียวมีนักเรียนทั้งสิ้น ๒๙ คน

ที่ดินที่ใช้ปลูกสร้างโรงเรียนนี้นายจุ่น ศิริเล็ก เป็นผู้อนุญาตให้ใช้ มีเนื้อที่ประมาณ ๔ ไร่ ในการปลูกสร้างอาคารเรียน นายจ้อย สวยงามผู้ใหญ่บ้านพร้อมด้วยประชาชนในหมู่บ้านได้ร่วมกันก่อสร้างจนสำเร็จเป็นอาคารเรียน ขนาดยาว ๑๐ เมตร กว้าง ๗ เมตร เสาไม้แก่น ฝากั้นด้วยฟากสับ หลังคามุงจากไม้เครื่องต่างๆเป็นไม้ยาง คิดเป็นเงินค่าก่อสร้างประมาณ ๑๐๐ บาท

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ คณะครู กรรมการศึกษา ประชาชนร่วมกันบริจาคทรัพย์จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ ขนาดยาว ๑๐เมตรกว้าง ๙.๕ เมตร และทางจังหวัดจันทบุรี ได้นำกฐินสามัคคีมาทอดที่วัดนี้และแบ่งเงินมาสมบทการก่อสร้างอีกจำนวน ๘,๐๐๐ บาท (แปดพันบาทถ้วน)

ในปีงบประมาณ ๒๕๐๖ ทางราชการได้จัดสรรเงินงบประมาณจำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) เพื่อสมทบก่อสร้างและประชาชนได้รับบริจาคอีกจำนวน ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาทถ้วน) จึงก่อสร้างสำเร็จเป็นโรงเรียนขนาด ๔ ห้องเรียน ยาว 36 เมตร กว้าง ๙.๕เมตร

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ คณะครูกรรมการสถานศึกษาและประชาชนร่วมกันบริจาคทรัพย์และแรงงานก่อสร้างส้วมซึม 4 ที่นั่ง สิ้นเงินทั้งสิ้น ๓,๐๐๐ บาท (สามพันบาทถ้วน)

ในปีพ.ศ.๒๕๑๑ คณะครู กรรมการสถานศึกษาและประชาชนร่วมกันบริจาคทรัพย์และแรงงานก่อสร้างใต้ถุนอาคารเรียนให้เป็นห้องเรียนอีก ๑ ห้องเรียน สิ้นเงินค่าก่อสร้าง ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาท )

ในปีพ.ศ.๒๕๑๕ คณะครู กรรมการสถานศึกษา และประชาชนร่วมกันบริจาคทรัพย์และแรงงานก่อสร้างโรงอาหาร ขนาดยาว ๙ เมตร กว้าง ๖ เมตร มุงด้วยหลังคาสังกะสี สิ้นเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้นจำนวน ๓,๐๐๐ บาท

(สามพันบาทถ้วน)

ในปีงบประมาณ ๒๕๑๖ ทางราชการอนุมัติเงินงบประมาณจำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) เพื่อก่อสร้างบ้านพักครู ๑ หลัง

ในปีพ.ศ. ๒๕๑๗ คณะครูกรรมการสถานศึกษาและประชาชนร่วมบริจาคทรัพย์และแรงงานปรับปรุงโรงอาหารให้เป็นห้องเรียนอีก ๑ ห้องเรียน ค่าก่อสร้างจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

ในปีงบประมาณ ๒๕๑๙ คณะกรรมการสภาตำบลอนุมัติเงินจำนวน ๑๒๗,๕๐๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน) เพื่อสร้างต่อเติมอาคารเรียนอีก ๒ ห้องเรียน รวมอาคารเป็นอาคารเรียน ๖ห้องเรียน ขนาดยาว ๕๔ เมตร กว้าง ๙.๕เมตร

ในปีงบประมาณ ๒๕๒๒ ทางราชการอนุมัติเงินงบประมาณจำนวน ๑๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน ) เพื่อสร้างโรงฝึกงานแบบ ๓๑๒ จำนวน ๑ หลัง

ในปีพ.ศ. ๒๕๒๕ คณะครูนักเรียน ผู้ปกครอง ร่วมกันก่อสร้างเสาธงฐานคอนกรีต เสาเหล็กแป๊บน้ำขนาดความสูง ๑๑ เมตร สิ้นเงินก่อสร้าง ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

ในปีงบประมาณ ๒๕๓๐ ได้รับเงินงบประมาณจำนวน ๓๕,๐๐๐บาท (สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน เพื่อก่อสร้างถังน้ำคอนกรีตแบบ ฝ.๓๓จำนวน ๓ ถัง

ในปีงบประมาณ ๒๕๓๑ ได้รับเงินงบประมาณจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)เพื่อก่อสร้างเรือนเพาะชำแบบ พ.๑ จำนวน ๑ หลัง

ในปีงบประมาณ ๒๕๓๘ ได้รับเงินงบประมาณจำนวน ๑,๙๑๐,๖๔๕.๑๐ บาท (หนึ่งล้านเก้าแสนหนึ่งหมื่นหกร้อยสี่สิบห้าบาทสิบสตางค์)เพื่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. ๑๐๕/๒๙ ขนาด ๒ ชั้น ๘ ห้องเรียนและก่อสร้างถังเก็บน้ำฝนคอนกรีตแบบ ฝ.๓๓ จำนวน ๓ ถัง

ในปีพ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รื้ออาคารเรียนหลังเก่า แบบ ป.๑ ข. เพื่อนำวัสดุที่เหลือไปสร้างอาคารเรียนประกอบขนาดยาว ๑๖ เมตร กว้าง ๖ เมตร และได้ปรับปรุงพื้นที่ของโรงเรียนให้เหมาะสมและสวยงามโดยใช้งบประมาณ ๒๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเงินที่ทางคณะครู กรรมการโรงเรียนและชุมชนร่วมมือกันจัดหา

ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ได้สร้างทางระบายน้ำและจัดทำเสาธงโดยได้ใช้งบประมาณ ๔๕,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเงินที่คณะครู กรรมการโรงเรียนและชุมชนร่วมมือกันจัดหา

ในปีงบประมาณ ๒๕๔๖ ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี จำนวน ๕๘,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นแปดพันบาทถ้วน)จัดซื้อเครื่องกรองน้ำและเครื่องทำน้ำเย็นชนิด ๘หัวจ่าย

ในปีงบประมาณ ๒๕๕๐ ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลนายายอาม จำนวน๓๐๐,๐๐๐บาท (สามแสนบาทถ้วน) ในการสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กหน้าอาคารเรียน

ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ได้รับจัดสรรงบประมาณประเภทงบลงทุนเป็นค่าปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นที่ชำรุดทรุดโทรมและประสบอุบัติภัย จำนวนเงิน๑๐๐,๐๐๐บาทซึ่งโรงเรียนบ้านเขามะปริงได้นำมาปรับปรุงเป็นโครงหลังคาเหล็กด้านหน้าอาคารเรียน (สปช ๑๐๕/๒๙) เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน๒๕๕๒

ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณจากการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ๓๒๔ ล.ตอกเข็ม โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี เป็นค่าปรับปรุง

ซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและส้วม เงิน๑๘๘,๑๐๐ บาท เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒

ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓โรงเรียนได้รับการจัดสรรงบประมาณจากงบแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ ๒โครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐาน กิจกรรมพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กสู่ศูนย์การเรียนรู้คุณภาพ จำนวนเงิน ๑๒,๐๐๐ บาทซึ่งโรงเรียนบ้านเขามะปริงได้นำมาดำเนินการทาสีห้องเรียน จำนวน๔ ห้องเรียน

ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนและส้วม จำนวนเงิน ๒๔๐,๐๐๐ บาท เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม๒๕๕๓

 

 

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)


สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน


สีประจำโรงเรียน " ม่วง – ขาว” ความอ่อนน้อมถ่อมตน สะอาด สว่าง ผ่องใส

สีม่วงหมายถึง ความอ่อนน้อมถ่อมตน

ขาว หมายถึงความสะอาด สว่าง ผ่องใส

อัตลักษณ์ ยิ้มใส ไหว้สวย

คำขวัญโรงเรียน กตัญญู รู้หน้าที่มีวินัย ใฝ่เรียนรู้


  นโยบายของโรงเรียน


โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยดีตลอดมา โดยได้รับความร่วมมือจาก

คณะครูกรรมการสถานศึกษาผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนทำให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพอยู่ในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากโรงเรียนยังมีความต้องการให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้นจึงได้กำหนดนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนในการปฏิบัติการ ดังนี้

๑.ปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช ๒๕๕๑

๒..รักษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ๕ และมี

นักเรียนตกซ้ำชั้นไม่เกินร้อยละ๑

๓.พัฒนาครูและนักเรียนให้มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์

๔.พัฒนานักเรียนให้เกิดความสำนึกในความเป็นไทย

๕.สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานบังคับบัญชา

๖.เปิดโอกาสให้ครูนักเรียนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน

 

วิสัยทัศน์

 


 

นักเรียนมีความรู้ คู่คุณธรรม นำวิชาการ สืบสานชีวิตตามวิถีไทย ใส่ใจเศรษฐกิจพอเพียง

 S

พันธกิจ


๑. จัดการศึกษาให้กับประชากรในวัยเรียนอย่างทั่วถึง

๒. พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

๓. ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีกิริยามารยาทและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

. ส่งเสริมนักเรียนให้เรียนรู้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

 SHAPE  \* MERGEFORMAT

เป้าประสงค์

กล่องข้อความ: เป้าประสงค์

๑.ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

๒.นักเรียนมีคุณภาพมาตรฐานการศึกษา

๓.นักเรียนมีความประพฤติดีและปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม

๔นักเรียนดำรงชีวิตอย่างพอเพียง


แผนที่โรงเรียนบ้านเขามะปริง

แสดงเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โรงเรียนบ้านเขามะปริง

วัด

ทางสายช้างข้าม นายายอาม

แม่น้ำพังราด

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 2 1 1 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

๖. โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสถานศึกษา

ช่วงอายุ

อายุ ๔๕ ปี

เวลาเรียน

 

 

สาระการเรียนรู้

ประสบการณ์สำคัญ

สาระการเรียนรู้

สัปดาห์

· ด้านร่างกาย

· ด้านอารมณ์และจิตใจ

· ด้านสังคม

· ด้านสติปัญญา

· เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

· เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่สิ่งแวดล้อมเด็ก

· ธรรมชาติรอบตัว

· สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

๑๐

๑๕

๑๑

ระยะเวลาเรียน

รวม

๔๐

 

 

 

 

 

 

 

โครงสร้าง หลักสูตรสถานศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๑

กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

เวลาเรียน

ระดับประถมศึกษา

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

— กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

สุขศึกษาและพลศึกษา

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ภาษาต่างประเทศ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

—สาระเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

อ่านเขียนเรียนไทย

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

หน้าที่พลเมือง

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

รวมเวลาเรียน

๘๘๐

๘๘๐

๘๘๐

๘๘๐

๘๘๐

๘๘๐

— กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๒๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

1) แนะแนว

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

2) กิจกรรมลูกเสือ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

3) เพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

-

-

-

-

-

-

3.1) ชุมนุม

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

3.2) กิจกรรมพัฒนาสังคม

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

— ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

 

 

 

 

 

 

ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

รวมเวลาเรียนทั้งหมด

,๑๖๐ ชั่วโมง/ปี

โครงสร้างเวลาเรียน

หลักสูตรสถานศึกษา ๒๕๖2 โรงเรียนบ้านเขามะปริง ปีการศึกษา ๒๕๖3

รายวิชา / กิจกรรม

เวลาเรียน

ระดับประถมศึกษา

.

.

.

.

.

.

กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

การงานอาชีพ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ภาษาต่างประเทศ

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

­๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

รายวิชาเพิ่มเติม

 

อาชีพในท้องถิ่น

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

หน้าที่พลเมือง

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

การป้องกันทุจริต

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

รวมเวลาเรียน (เพิ่มเติม)

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑.แนะแนว

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๒.กิจกรรมนักเรียน

- ลูกเสือ เนตรนารี

- พัฒนาสังคม และสาธารณะประโยชน์

๔๐

(๓๐)

(๑๐)

๔๐

(๓๐)

(๑๐)

๔๐

(๓๐)

(๑๐)

๔๐

(๓๐)

(๑๐)

๔๐

(๓๐)

(๑๐)

๔๐

(๓๐)

(๑๐)

๓. ชุมนุม

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

รวมเวลากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

รวมเวลาเรียนทั้งหมด

,๐๘๐ ชั่วโมง / ปี

,๐๘๐ ชั่วโมง / ปี

 


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลพื้นที่บริเวณโรงเรียนและอาคารสถานที่

เนื้อที่จำนวน ทั้งหมด..............4...............ไร่........-.......งาน.......-.......ตารางวา

2.1 อาคารเรียนรวมจำนวน 1 หลัง

2.2 สนามกีฬาจำนวน 1 สนาม

2.3 บ้านพักครูจำนวน 1 หลัง

2.4 ห้องส้วมจำนวน 2 แห่ง 8 ห้อง

2.5 โรงอาหาร จำนวน 1 หลัง

2.6 โรงจอดรถจำนวน 1 หลัง

 

 



N

แผนผังบริเวณโรงเรียนบ้านเขามะปริง

ที่ดินวัด

นวัด

 

1

2

3

3

4

4

5

6

7

8

9

10

11

12

ที่ดินเอกชน

ที่ดินวัด

นวัด

ที่ดินเอกชน

กล่องข้อความ: ที่ดินวัด นวัด


พื้นที่ 4 ไร่

  1. ทิศเหนือ จด ที่ดินวัด ยาว 80 เมตร
  2. ทิศใต้ จด ที่ดินเอกชน ยาว 80 เมตร
  3. ทิศตะวันออก จด ที่ดินวัด ยาว 80 เมตร
  4. ทิศตะวันตก จด ที่ดินเอกชน ยาว 80 เมตร

หมายเหตุ

1. อาคารเรียน 2. ห้องผอ. 3. โดมเอนกประสงค์

v

ข้าวหลามตัด: v 4. ห้องน้ำ 5. บ้านพักครู 6. โรงอาหาร

7. โรงจอดรถ 8. สนามปูนเอนกประสงค์ 9.ศาลา

10. สนามเด็กเล่น 11 ลานเอนกประสงค์ 12. เสาธง

 



หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/drive/folders/1HWRMO66xLyIO0Dj6F6H4aapw_l6BVZec?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

๗. แหล่งเรียนรู้ /ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖3

) ห้องสมุด มีขนาด๔๘ ตารางเมตร จำนวนหนังสือในห้องสมุด ๑,๓๒๕ เล่ม

จำนวนนักเรียนที่ใช้ห้องสมุดในปีการศึกษาที่รายงาน เฉลี่ย 20 คน ต่อวัน

คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๓๐ ของนักเรียนทั้งหมด

๒) ห้องปฏิบัติการ

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน๑ ห้อง

๓)คอมพิวเตอร์ จำนวน เครื่อง

ใช้เพื่อการเรียนการสอน 6 เครื่อง

ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต6 เครื่อง

จำนวนนักเรียนที่สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตในปีการศึกษาที่รายงาน

เฉลี่ย 10 คน ต่อวัน คิดเป็นร้อยละ ๖.๑0 ของนักเรียนทั้งหมด

 

7.1) แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖3

แหล่งเรียนรู้ภายใน

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

. อาคารเรียน

. ห้องเรียน

. อาคารประกอบ(เอนกประสงค์)

. ห้องคอมพิวเตอร์

. ห้องพยาบาล

. ห้องสหกรณ์

. ห้องสมุด

. สนามกีฬา

. ห้องน้ำ

๑๐. โรงอาหาร

๑๑. สวนหย่อม

๑๒. สนามเด็กเล่น

๑๓. เสาธง

๑๔. ห้องพระ สวดมนต์

184

184

184

40

20

๑๐๐

100

184

184

184

184

184

184

๔๐

 

 

 

7.2) แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖3

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

สถิติการใช้

จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

. สวนผลไม้

. วัด

. โรงพยาบาล

. ที่ว่าการอำเภอ

. อบต.นายายอาม

. ศูนย์พัฒนาพันธ์พืชท้องถิ่น วัดย่านซื่อ

. วีว่า ฟอเรสต้า ฟาร์ม

๑๐

-

 

7.3) ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ

ที่โรงเรียนเชิญมาให้ความรู้แก่ครู นักเรียนในปีการศึกษาที่รายงาน ในรายวิชาเพิ่มเติม

วิชาอาชีพในท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียง

 


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/drive/folders/1niMkHNMa95A-tpqWnUDmABYUmDogvjH0?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

๑)    กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนได้ดำเนินการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับสุขภาพระหว่าง นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และบุคลากรในโรงเรียน และชุมชน โรงพยาบาลนายายอาม และผู้เกี่ยวข้องให้ได้รับความรู้ในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง บุคคลในครอบครัว ตลอดจนผู้ใกล้ชิด โรงเรียนได้กำหนดนโยบายด้านส่งเสริมสุขภาพให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพความปลอดอบายมุขและสารเสพติด การป้องกันอุบัติเหตุในโรงเรียน การเล่นในสนามเด็กเล่น การคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน และการบริการส่งเสริมการพัฒนาสุขภาพกายและจิต และดำเนินการจัดอบรมผู้นำนักเรียนด้านสุขภาพ นอกจากนี้โรงเรียนได้กำหนดแนวปฏิบัติพื้นฐานในการดุแลรักษาสุขภาพของนักเรียน และจัดกิจกรรม โดยอบรมผู้นำนักเรียน เรื่องการดูแลร่างกายของใช้ให้สะอาดแปรงฟันหลังอาหารอย่างถูกวิธีและรักษาฟันให้สะอาดอยู่เสมอ สำรวจภาวะโภชนาการ ล้างมือให้สะอาดก่อนบริโภคอาหาร กินอาหารสุกสะอาด ปราศจากเชื้อโรคและสารอันตราย หลีกเลี่ยงสารเสพติด อบายมุข และพฤติกรรม เสี่ยงทางเพศ บริการอาหารเสริม (นม) การได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างถูกวิธี การตรวจสุขภาพ การรับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพอนามัยเป็นประจำ การส่งเสริมกีฬาเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีการทดสอบสมรรถภาพของนักเรียนทุกภาคเรียน  นอกจากนี้ โรงเรียนได้ทำหน้าที่ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้บริการเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพอนามัยแก่นักเรียนอย่างมีคุณภาพและทั่วถึงทุกคน    

          ในด้านการพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ จัดประสบการณ์ ให้เด็กได้สนุกสนานกับการร้องเพลง และทำท่าทางประกอบ  พานักเรียนศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียน เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว เรียนรู้จากของจริง นำไปสู่การสร้างผลงานทางศิลปะ    กิจกรรมแสดงบทบาทสมมติ  การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน เมื่อสร้างผลงานเสร็จ ฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัยในการเข้าแถวเคารพธงชาติทุกวัน กิจกรรมน้องไหว้พี่ทุกเช้า ฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ ให้เด็กได้ฝึกสังเกต แล้วนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานทางด้านศิลปะตามจินตนาการของเด็ก  

      ในด้านสติปัญญา สถานศึกษาได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามนโยบายของรัฐบาล นำความรู้ที่ได้อบรมมา จัดกิจกรรมแก่เด็กนักเรียน ผู้เรียนสามารถตอบสนองต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดี มีความสามารถในการจดจำ เรื่องราวที่ครูจัดกิจกรรมได้ดี เช่น จำนวนและตัวเลข ตัวอักษรไทย อักษรภาษาอังกฤษ รู้จักคิดวิเคราะห์ ด้านวิทยาศาสตร์การทดลอง

ผลการดำเนินงาน  

 ๒) ผลการดำเนินงาน

                จากการจัดโครงการ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิถีชีวิตในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยเพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดทักษะในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม และได้รับงบสนับสนุนอาหารเสริม(นม) และอาหารกลางวัน จาก องค์การบริหารส่วนตำบล ส่งผลให้ นักเรียนมีน้ำหนัก  ส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์ มีทักษะในการเคลื่อนไหวร่างกายเหมาะสมกับวัย   มีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพของตนเอง    และหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติดต่างๆ และจากการจัดกิจกรรมด้านสติปัญญา ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ จดจำสิ่งต่างๆได้ดี มีความสนุกสนานกับการทดลอง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1PU6Ks6zBdG0w-IGo-Rzj0bz6pozZ-x1H/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

1.     กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน โรงเรียนได้วิเคราะห์หลักสูตรการจัด

การศึกษาปฐมวัยจัดสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัย ครูได้รับการพัฒนาตนเองจากการเข้าอบรมโครงการพัฒนาการเรียนการสอนจากสำนักงานพื้นที่ เช่น อบรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการจัดประสบการณ์ตรง ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย มีให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อ
สนับสนุนการจัดประสบการณ์  มีโครงการนิเทศภายใน  โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวในการจัดการประสบการณ์ได้เหมาะ จัดประชุมผู้ปกครอง ที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน และมีโครงการเยี่ยมบ้านนักเรียน 
ผลการดำเนินงาน  

1.     ผลการดำเนินงาน

      ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย และสามารถจัดกิจกรรมที่

หลากหลาย โดยนำความรู้จากการพัฒนาตนเองมาปรับใช้ในการจัดประสบการณ์ ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1eZ4mKWSZJpalpmQNQvmlTJp0Hf_oD6E8/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

1.     กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น กิจกรรมแสดงบทบาทสมมติ  การนำเสนอผลงานหน้าชั้น

เรียน เมื่อสร้างผลงานเสร็จ ฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัยในการเข้าแถวเคารพธงชาติทุกวัน กิจกรรม น้องไหว้พี่
ผลการดำเนินงาน  

ผลการดำเนินงาน

               เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นทุกด้าน เล่นและเข้ากับเพื่อนๆได้ดีทุกคน  รู้จักพี่ รู้จักน้อง ช่วยเหลือส่วนรวมได้ดี แนะนำเตือน ให้เพื่อนระวังอันตรายได้ 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1q1i-s6N26p33cRfVWXOshORmITgh4MJq/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

          โรงเรียนได้ดำเนินการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับสุขภาพระหว่าง นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และบุคลากรในโรงเรียน และชุมชน โรงพยาบาลนายายอาม และผู้เกี่ยวข้องให้ได้รับความรู้ในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง บุคคลในครอบครัว ตลอดจนผู้ใกล้ชิด โรงเรียนได้กำหนดนโยบายด้านส่งเสริมสุขภาพให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพความปลอดอบายมุขและสารเสพติด การป้องกันอุบัติเหตุในโรงเรียน การเล่นในสนามเด็กเล่น การคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน และการบริการส่งเสริมการพัฒนาสุขภาพกายและจิต และดำเนินการจัดอบรมผู้นำนักเรียนด้านสุขภาพ นอกจากนี้โรงเรียนได้กำหนดแนวปฏิบัติพื้นฐานในการดุแลรักษาสุขภาพของนักเรียน และจัดกิจกรรม โดยอบรมผู้นำนักเรียน เรื่องการดูแลร่างกายของใช้ให้สะอาดแปรงฟันหลังอาหารอย่างถูกวิธีและรักษาฟันให้สะอาดอยู่เสมอ สำรวจภาวะโภชนาการ ล้างมือให้สะอาดก่อนบริโภคอาหาร กินอาหารสุกสะอาด ปราศจากเชื้อโรคและสารอันตราย หลีกเลี่ยงสารเสพติด อบายมุข และพฤติกรรม เสี่ยงทางเพศ บริการอาหารเสริม (นม) การได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างถูกวิธี การตรวจสุขภาพ การรับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพอนามัยเป็นประจำ การส่งเสริมกีฬาเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีการทดสอบสมรรถภาพของนักเรียนทุกภาคเรียน  นอกจากนี้ โรงเรียนได้ทำหน้าที่ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้บริการเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพอนามัยแก่นักเรียนอย่างมีคุณภาพและทั่วถึงทุกคน ครูได้รับการพัฒนาตนเองจากการเข้าอบรมโครงการพัฒนาการเรียนการสอนจากสำนักงานพื้นที่ เช่น อบรม TEPE เพื่อนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย    โรงเรียนมีโครงการที่ส่งเสริมให้ผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ได้ตามบทบาทอย่างมีประสิทธิภาพเช่น โครงการพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา  โครงการนิเทศภายใน  โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา    โรงเรียนได้วิเคราะห์หลักสูตรการจัดการศึกษาปฐมวัย  เพื่อใช้เป็นแนวในการจัดการประสบการณ์ได้เหมาะ จัดประชุมผู้ปกครอง โรงเรียนจัดทำโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ แปรงฟันหลังอาหาร จัดประสบการณ์ ให้เด็กได้เล่นและ ออกกำลังกาย ในสนามเด็กเล่น กิจกรรมการไหว้ น้องไหว้พี่ทุกเช้า กิจกรรมวันไหว้ครู

     จุดเด่น มาตรฐานที่1

          นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงร่าเริงแจ่มใส สะอาด ช่วยเหลือตนเองได้ กล้าแสดงออก รู้จักดูแล

ตัวเอง ระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตราย นักเรียนรู้จักเล่นและสนิทสนมกับเพื่อนได้ดีมาก มีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาที่ดี  รู้จักการสังเกต  ซักถาม  

          จุดเด่น มาตรฐานที่2

          ครูมีความรู้ ความสามารถ บูรณาการจัดประสบการณ์ได้ด้วยความชำนาญ

          จุดเด่น มาตรฐานที่3

เด็กมีระเบียบวินัยในการเข้าแถวเคารพธงชาติทุกวันกิจกรรมน้องไหว้พี่ โรงเรียนมีสนามเด็กเล่นที่ปลอดภัย          
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ผลการดำเนินงานโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ .ส่งผลให้ ประเมินสรุปว่า ทุกมาตรฐาน ได้ระดับ ดีเลิศ สถานศึกษาประสบผลสำเร็จ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้สถานศึกษาจัดกิจกรรมพัฒนา คุณภาพผู้เรียนที่หลากหลาย ตามนโยบาย จนมีผลให้ผู้เรียนมีสติปัญญาดีขึ้น ช่วยเหลือตนเองได้ดี รู้หน้าที่ว่าต้องทำอะไร อย่างไร มีความรู้ คิดวิเคราะห์ แยกแยะ รู้จักสิ่งต่างๆรอบตัว มีความรู้เรื่องตัวอักษร ตัวเลข มีศิลปะ ความสวยงาม มีระเบียบวินัยมากยิ่งขั้น

          จุดเด่น มาตรฐานที่1

          นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงร่าเริงแจ่มใส สะอาด ช่วยเหลือตนเองได้ กล้าแสดงออก รู้จักดูแล

ตัวเอง ระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตราย นักเรียนรู้จักเล่นและสนิทสนมกับเพื่อนได้ดีมาก มีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาที่ดี  รู้จักการสังเกต  ซักถาม  

          จุดเด่น มาตรฐานที่2

          ครูมีความรู้ ความสามารถ บูรณาการจัดประสบการณ์ได้ด้วยความชำนาญ

          จุดเด่น มาตรฐานที่3

เด็กมีระเบียบวินัยในการเข้าแถวเคารพธงชาติทุกวันกิจกรรมน้องไหว้พี่โรงเรียนมีสนามเด็กเล่นที่ปลอดภัย          
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1G6AzZt3EUO1qB0c_vQ5jnUQY-vvzu67H/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

๑) กระบวนการพัฒนา

สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนการสอนไปตามศักยภาพของ

โรงเรียน และผู้เรียน จัดการเรียนการสอนเป็นไปตามมาตรฐาน และตัวชี้วัดของหลักสูตร เนื่องจาก เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ครูไม่ครบชั้น ดังนั้นจึงมีการแก้ปัญหาโดยการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนสลับกันไปกับการเรียนผ่านดาวเทียม โดยมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบลงมือปฏิบัติจริง แบบ ร่วมมือกันเรียนรู้ พี่ช่วยน้องเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้เป็นกิจกรรมรวมสนองนโยบายของกระทรวง นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเองมีการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมเน้นผู้เรียนมีระเบียบวินัย มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีกิริยามารยาทอ่อนหวาน ตามอัตลักษณ์ " ยิ้มใส ไหว้สวย" ส่งเสริมการออม เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการดำเนินงาน  

. ผลการดำเนินงาน

.ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องตามมาตรฐานในระดับชั้น เขียนสื่อสารได้ดี คิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาเป็นพอสมควร สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีทักษะในการใช้ชีวิตตามหลักประชาธิปไตย ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงพิษภัย และโทษของสิ่งเสพติด รู้จักรักสุขภาพของตนเอง รักษาตนเองให้ปลอดภัย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รักการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎของสถานศึกษาได้ดี มีมารยาท รู้จักแยกแยะสิ่งที่ควรและไม่ควร
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/195mc96tthiwIi5Jv1hq1wlPV1BAjftJ-?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

๑. กระบวนการพัฒนา

สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมไปตามศักยภาพของโรงเรียน และผู้เรียน จัดการเรียนการสอนเป็นไปตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนไว้ 8 ประการ คือ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ เพื่อปลูกฝังและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความรู้คู่คุณธรรมมีคุณลักษณะที่ดีสำหรับการดำรงชีวิตในสังคม
ผลการดำเนินงาน  

. ผลการดำเนินงาน

ในด้านผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียนมีลักษณะซึ่งแสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดีของชาติ มีความสามัคคีปรองดอง ภูมิใจ เชิดชูความเป็นชาติไทย ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ และแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ประพฤติตรงตามความเป็นจริงทั้งทางกาย วาจา ใจ และยึดหลักความจริง ความถูกต้องในการดำเนินชีวิต มีความละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิด คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนตามข้อตกลงกฎเกณฑ์ และระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคมเป็นปกติวิสัย ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/195mc96tthiwIi5Jv1hq1wlPV1BAjftJ-?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา
                โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา และจุดด้อย  ผลจากการจัดการศึกษาที่ผ่านมา
จากข้อมูล การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการเรียนตามนโยบาย ได้ระดมความคิดเห็น จากบุคลากรใน
สถานศึกษาปรับ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จัดทำแผนปฏิบัติ
การประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และนโยบาย จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้บุคลากรทุกคนมีหน้ารับผิดชอบการพัฒนาร่วมกัน

ผลการดำเนินงาน  

ผลการดำเนินงาน
             สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ
พัฒนาของสถานศึกษา นโยบาย ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตาม
แผนการศึกษาชาติ  มีการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความ
เชี่ยวชาญ มีข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทันสมัย มีการจัดกิจกรรมสภาพแวดล้อมเพื่อกระตุ้น
ผู้เรียนให้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายพัฒนาสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1GQmJZGJZ9ytl-oiXhvBzkgqfr00YelPG?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

        เนื่องจากเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งมีครูผู้สอนไม่ครบชั้น โรงเรียนได้ดำเดินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนโดยทางการผ่านดาวเทียม (DLTV)จากโรงเรียนวังไกลกังวล และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้น

ผู้เรียนเป็นสำคัญ ในบางกิจกรรมในส่วนที่โรงเรียนไม่สามารถจะทำกิจกรรมตามระบบทางไกลได้โดยการดำเนินการอย่างหลากหลาย มี ชิ้นงาน ภาระงาน ปรับเนื้อหาหน่วยการเรียนให้เข้ากับสภาพของผู้เรียน  จัดดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆตามแผนปฏิบัติงาน ตลอดปีการศึกษา ให้เป็นรูปธรรม มีกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้(Active Learning)   สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาส ให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติจริง ครูใช้สื่อการเรียนสอน นวัตกรรม และเทคโนโลยี มีการวัดและประเมินผล ให้เป็นไปตามมาตรฐาน มีการจัดทำแผนพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  
ผลการดำเนินงาน  

จากผลการดำเนินงาน

การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  ส่งผลให้นักเรียน
มีผลการเรียนในระดับชาติ ดีขึ้น นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในวิชาการงานอาชีพ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1r-yj53wx9eycH7DKBcNawHUmWiqLotmD?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

 

 

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  อยู่ในระดับ ดี
     จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน จากผลการประเมิน ประถมศึกษาอยู่ในระดับดี
      ทั้งนี้สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย เป็นไปตจามปัญหา และความ
ต้องการพัฒนาของผู้เรียน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และสอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษา
สภาพของชุมชน ท้องถิ่น จนมีผลทำให้นักเรียนมีการพัฒนาที่ดีขึ้น ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติดีขึ้น
โดยเฉพาะ ผลการทดสอบระดับชาติของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.34   ผู้เรียนมีความวสามารถในการสอบ 4 วิชาได้เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่แล้วทั้ง 4 รายวิชา โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยที่มีผลคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับจังหวัด และระดับประเทศ  นักเรียนมีความสามารถใช้เทคโนโลยี ค้นคว้าหาข้อมูลได้ดี มีกิริยามารยาทเรียบร้อย ยิ้มใส ไหว้สวย เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของโรงเรียน สถานศึกษามีการวางแผนออกแบบกิจกรรมและดำเนินการตามแผน ใช้ผลการประเมินที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนา ตรวจสอบผลการ
ดำเนินงานและปรับปรุงแก้ไข ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
และแก้ปัญหาครูไม่ครบชั้นโดยเรียน ทางไกลผ่านดาวเทียม ออกแบบการเรียนรู้เป็นไปตามหลักสูตร  และ
บริบทของสถานศึกษา พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียบนรการสอนที่ทันสมัย มีแผนพัฒนานักเรียน
รายบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายใน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมี
ความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการศึกษา
 
 

 


 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

1)  ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น แต่มีผลการเรียนระดับชาติ ต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่ นักเรียนร่าเริงแจ่มใส มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมวัย มีคุณธรรมและจริยธรรมตามสถานศึกษากำหนด
2) ผู้เรียนมีความสามารถอ่านออกเขียนได้ เฉลี่ย อยู่ในระดับดี
3) ผู้บริหารในมีการกระอำนาจในการทำงาน ของบุคคลากร มีวิสัยทัศน์ คณะกรรมการศึกษาปฏิบัติหน้าที่ได้เหมาะสมตามบทบาท
4) โรงเรียนมีการประชุม วางแผนให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ครูมีความสมารถในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ  

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1YcH-qcImb-pmKa9Q2tQjaaTXQcIcMee6?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/folders/1vQp_BawWU8VItNN9NUYzvlrF840NJU4F?usp=sharing