รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดนายายอาม

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา


                      ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนักเรียนมีความรู้ ความสามารถด้านการอ่านและการเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวน เป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด โดยผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่โรงเรียนกำหนด นอกจากนั้นผู้เรียนยังเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถที่จะคิดวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างเป็นระบบ รู้จักการแลกเปลื่ยนความคิดเห็น การมีเหตุผลเป็นองค์ประกอบ การตัดสินใจ สามารถแก้ไขปัญหาได้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร การเรียนรู้ การทำงานและการนำความรู้นั้นมาพัฒนาตนเอง นอกจากนั้นนักเรียนยังสามารถปฏิบัติตนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด ทางโรงเรียนยังมีการจัดกิจกรรมการเข้าค่ายคุณธรรม โดยมีพระสงฆ์เข้ามาให้ความรู้แก่นักเรียน และโรงเรียนยังจัดกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันวิสาขบูชา เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักทางศาสนาและพิธีกรรมอีกทั้งนักเรียนได้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
                      ทางโรงเรียนได้ดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียน โดยมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจที่ชัดเจน มีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาที่โรงเรียนที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ มีการพัฒนาโรงเรียน แผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับภาวะปัจจุบันและพร้อมรับบริการ เปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการศึกษาดังกล่าว ทางโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศนำมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการในส่วนการพัฒนาทางด้านวิชาการ ทางโรงเรียนได้เน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน เป็นไปตามหลักสูตรของสถานศึกษาที่มีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและชุมชน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการดำรงชีวิตแบบพอเพียง เช่น การดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโดยให้นักเรียนปลูกผักปลอดสารพิษ เหลือจากรับประทานก็นำไปขายเพื่อเป็นการหารายได้ระหว่างเรียน และมีห้องเรียนหอมกรุ่นฝึกทักษะการทำขนมให้กับนักเรียนเพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะอาชีพให้แก่นักเรียน
                    ในส่วนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ทางโรงเรียนมีมาตรการในการส่งเสริมการพัฒนาครูให้ทุกคนมีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมออนไลน์ และอบรมตามที่หน่วยงานต้นสังกัด
                      กระบวนการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และกระบวนการปฏิบัติจริงมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีการนิเทศ ติดตามตรวจสอบ ประเมินคุณภาพ การจัดการเรียนการสอนที่เป็นระบบ โดยใช้เครื่องมือวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับผู้เรียน นอกจากนี้ชุมชนยังมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนโดยเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ครูและนักเรียนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

           - แผนปฏิบัติการประจำปี
           - แบบรายงานผลการดำเนินงานโครงการประจำปี
           - แผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
           - แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
           - แบบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน
           - แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

           1. พัฒนาผู้เรียนด้านการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน กิจกรรมตารางวิเคราะห์โจทย์ปัญหา
           2. พัฒนาผู้เรียนด้านการอ่านและการเขียนภาษาต่างประเทศ โดยใช้กิจกรรมคัดลายมือ กิจกรรมเขียนตามคำบอก กิจกรรมเขียนแต่งประโยค กิจกรรมท่องคำศัพท์ กิจกรรมฝึกสนทนาภาษาต่างประเทศ กิจกรรมร้องเพลงภาษาต่างประเทศ กิจกรรมฝึกอ่านคำศัพท์ ฯลฯ
           3. พัฒนาผู้เรียนด้านกระบวนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการสังเกต บันทึกข้อมูล ตั้งสมมติฐาน ทำการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานและสรุปผลการทดลอง
           4. ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสร้างความเชื่อมั่นและความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ให้สูงขึ้น
           5. มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ หรือบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆมากยิ่งขึ้น รวมถึงผลจากการดำเนินงานไปวางแผนเพื่อพัฒนาปรับปรุงในภาคเรียนต่อไป

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ที่ตั้ง : 119/1 หมู่ที่ 1 ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต โทร 039-371165   e-mail nayaiarm@gmail.com   website http://school.obec.go.th/watnayayam/เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล  ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีที่ดิน จำนวน 8 ไร่ เขตพื้นที่บริการ 1 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 ตำบลนายายอาม

การจัดการศึกษา : โรงเรียนจัดการศึกษา  2  ระดับ ได้แก่  ระดับการศึกษาปฐมวัย  และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

           1. การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยโรงเรียนใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช 2561 มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย  และคู่มือประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย  จัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นหน่วยการเรียนรู้   หน่วยละประมาณ 1  สัปดาห์ รวมเวลาตลอดปี  40  สัปดาห์ 

           2. การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคม : 

          1. สภาพชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนเมือง   ที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนายายอาม มีตลาดศูนย์การค้า อาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ โรงงาน  ประชากรมีจำนวนหนาแน่น ประชากรประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้าง  ทำสวนยางพารา  ทำสวนผลไม้  มีประชากรโดยรวม มีประชากรทั้งสิ้น 3,539คน  เป็นชาย 1,688 คน  และหญิง 1,851 คน จำนวนครัวเรือน  1,691  ครอบครัว   ส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพค้าขาย รับจ้าง ทำสวนยางพารา  ทำสวนผลไม้ สภาพฐานะทางเศรษฐกิจโดยรวมมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 30,000 บาท /คน/ปี    และส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ในชุมชนมีประเพณี / วัฒนธรรมท้องถิ่นที่รู้จักโดยทั่วไป  คือ วันขึ้นปีใหม่  วันสงกรานต์  วันเข้าพรรษา (ประเพณีแห่เทียนพรรษา)  ผู้ปกครองส่วนใหญ่  จบการศึกษาระดับประถมศึกษา  ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป (79.51%) มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัวปีละ20,000  บาท  ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธ (100%)   จำนวนคนในครอบครัวของผู้ปกครองโดยเฉลี่ยครอบครัวละ  2  คนและมีผู้ปกครองที่มีความสามารถเป็น วิทยากร / ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้  9  คน    

2. โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน อยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้ ได้แก่ วัดนายายอาม ตลาดสดนายายอาม ธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์      


การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์ : โรงเรียนวัดนายายอาม มุ่งพัฒนาให้นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา สร้างคนดี มีความรู้ คู่คุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ : 
1.จัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
2.พัฒนาให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
3.พัฒนากระบวนการบริหารจัดการ เน้นการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษา
4.จัดประชุมวางแผนดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง เพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ

อัตลักษณ์ : ยิ้มง่าย ไหว้สวย

เป้าประสงค์ :
1.นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
2.นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
3.มีรูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบท
4.โรงเรียนบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3
อั
2/2

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
0 4 0 0 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โครงสร้างหลักสูตรปฐมวัย
การจัดชั้นเรียน
      - ชั้นอนุบาลปีที่ ๒ เด็กช่วงอายุ ๔-๕ ปี
      - ชั้นอนุบาลปีที่ ๓ เด็กช่วงอายุ ๕-๖ ปี 
โครงสร้างเวลาในการจักประสบการณ์ ปีการศึกษาละ ๒ ภาคเรียน
      - ภาคเรียนที่ ๑  ๑๖ พฤษภาคม ถึง ๑๐ ตุลาคม
      -ภาคเรียนที่ ๒   ๑พฤศจิกายน  ถึง ๓๑ มีนาคม
เวลาเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย
      -ภาคเรียนที่๑ ไม่น้อยกว่า ๙๐วัน ในแต่ละวันเวลาไม่น้อยกว่่า ๕ชั่วโมง
      -ภาคเรียนที่๒  ไม่น้อยกว่า ๙๐วัน ในแต่ละวันเวลาไม่น้อยกว่่า ๕ชั่วโมง
โดยมีเวลาเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยไม่น้อยกว่า๑๘๐วัน ต่อ๑ปีการศึกษา


โครงสร้างหลักสูตรประถมศึกษา

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

เวลาเรียน

ระดับประถมศึกษา

.

.

.

.

.

.

— กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

วิทยาศาสตร์

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ภาษาต่างประเทศ

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๘๐

๘๐

๘๐

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

— รายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม

การป้องกันการทุจริต

๔๐

๔๐

๔๐ 
















ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

1.อาคารเรียนแบบกรมสามัญ 017 (1หลัง)
2.อาคารเอนกประสงค์ (1 หลัง)
3.ส้วม (3 หลัง)
4.สนามบาสเกตบอลและวอลเลย์บอล (1 สนาม)
5.บ้านพักครู (1 หลัง)

หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1tgYyekGLAgSTF-gyjV_r_YzT63nJjP7E/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

ภายในสถานศึกษา : ห้องสมุด , ห้องเรียนหอมกรุ่น , แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

ภายนอกสถานศึกษา : สำนักงานที่ดินอำเภอนายายอาม , เทศบาลตำบลนายายอาม , วัดนายายอาม , ตลาดนายายอาม

หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1nqEQzzGgAqoQ7kiGFuM5TRncd1pPFMKi/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  
ชั้น ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา
อนุบาล ๒ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐
อนุบาล ๓ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๘๑.๘๒

ผลการดำเนินงาน  

เด็กปฐมวัยโรงเรียนวัดนายายอาม มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา ตามมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับ ดี

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://www.thaieducation.net/csystem/changroup.php
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนวัดนายายอามมีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยครอบคลุมพัฒนาการทั้ง4 ด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ซึ่งมีบุคลากรเพียงพอกับจำนวนเด็ก โดยมีการส่งเสริมให้ครูได้มีการฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน ครูจึงมีความรู้ในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก จัดสภาพแวดล้อมห้องเรียน มีสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างเพียงพอและปลอดภัย มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ โดยมีระบบบริหารจัดการที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วม
ผลการดำเนินงาน  

- สถานศึกษามีหลักสูตรที่ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับการศึกษาปฐมวัย โดยครูจัดการเรียนการสอนได้ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง4 ด้านของเด็ก ไม่เร่งรัดวิชาการ เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่น และการลงมือปฏิบัติโดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ

- ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ด้านการจัดประสบการณ์ โดยการเข้าอบรมเพื่อพัฒนาในด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัย เช่น การอบรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย อบรมจัดทำสื่อศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย การอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพการคิดเด็กปฐมวัย

- มีการจัดสภาพแวดล้อมที่คำนึงถึงความปลอดภัยและมีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/17qXZAZcEcZPpKwpeIfsPKlrCJa8Wzja0/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  สถานศึกษามีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมพัฒนาการครบทุกด้าน ได้รับประสบการณ์ตรง ปฏิบัติกิจกรรมและเล่นอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเด็ก ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง
ผลการดำเนินงาน  
สถานศึกษามีการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยครูศึกษาข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อนำไปแก้ปัญหาในด้านต่างๆ มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1oT_lXiiMPCp8J7kJO9DaiBX8EfTcVsA1/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 โรงเรียนวัดนายายอามมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนระดับชั้นอนุบาล๒และอนุบาล๓ครูจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามมาตรฐานตัวชี้วัดของหลักสูตร ตามศักยภาพของผู้เรียน มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยครอบคลุมพัฒนาการทั้ง๔ด้านเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ทำให้เด็กได้รับพัฒนาการครบทุกด้าน ปฏิบัติกิจกรรมและเล่นอย่างมีความสุข
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 เด็กอนุบาลโรงเรียนวัดนายายอาม มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสตอปัญญาตามมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีหลักสูตรที่ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับการศึกษาปฐมวัยโดยครูจัดการเรียนการสอนได้ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง๔ด้านโดยครูศึกษาข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อนำไปแก้ปัญหาในด้านต่างๆ มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยโดยมีกิจกรรมที่พัฒนาส่งเสริมพัฒนาการครบทุกด้าน
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://www.thaieducation.net/csystem/changroup.php
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  
                    โรงเรียนวัดนายายอาม มีกระบวนการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรของสถานศึกษา ได้ทำการศึกษา วิเคราะห์ปัญหา กำหนดแนวทางการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา และจัดทำโครงการรองรับการพัฒนาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาและของชาติ ได้ดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่หลากหลายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ได้ตามมาตรฐาน โดยทำการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563) เพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่ว่า "การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข

                    ด้านผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มุ่งเน้นพัฒนาผู้นักเรียนให้มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาในระดับชั้นที่สูงขึ้น รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
ผลการดำเนินงาน  ด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่อง คิดคำนวณได้ตามมาตรฐานของแต่ละระดับชั้น สามารถสื่อสารได้ดีรู้จักการวางแผน การทำงานร่วมกับผู้อื่น กล้าแสดงออก  สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1BufQ02g-RKYAokqZQ3ysbT8OLMGTt0VU/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี มีความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย สามารถอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย และมีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม ตามที่สถานศึกษากำหนด
ผลการดำเนินงาน  สามารถวิเคราะห์จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดีสำคัญ รวมทั้งรู้เท่าทัน สื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษ พิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ ยอมรับในกฎกติกาของกลุ่มของสถานศึกษาของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1OkjPGD4yQGyuJxq247LaomkwHi4AXkNv/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน มีการกำหนดมาตรฐานและค่าเป้าหมายของสถานศึกษา โรงเรียนวัดนายายอามมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ มีการประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดนายายอาม พุทธศักราช2563ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และระบบการนิเทศภายใน มีการนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมวางแผนปรับปรุงพัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน การจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จัดทำสื่อและจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล บุคลากรปฏิบัติงานตามบทบาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)  ครูได้รับการพัฒนาด้วยการอบรมในรูปแบบ Online ส่งผลให้ครูได้นำความรู้มาจัดทำสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ร่มรื่น ปลอดภัย มีแหล่งเรียนรู้ภายในได้แก่ ห้องสมุดมีชีวิต ห้องเรียนหอมกรุ่น ห้องคอมพิวเตอร์ แหล่งเรียนรู้สู่ความยั่งยืน ห้องพยาบาล โรงอาหาร ป้ายความรู้ในบริเวณโรงเรียน และแหล่งเรียนรู้ภายนอก ได้แก่ วัดนายายอาม ตลาดนายายอาม สวนสุขภาพ เทศบาลนายายอาม ศูนย์สุขภาพ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ผลการดำเนินงาน  มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครูและสถานศึกษา มีจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัย จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1HHZcyfIW1AVliyzYrv1p7d9kZEHWLco_/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครู จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ทุกระดับชั้นมีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำข้อมูลและผลจากการวิเคราะห์มาออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดประเมินผลที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนรวมทั้งให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่นักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยความเสมอภาคเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบสนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น ครูมีการมอบหมายหน้าที่ ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการวัดและประเมินผลตรวจสอบ ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน มีเครื่องมือในการวัดประเมินผลที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ เช่น แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ ตรวจชิ้นงาน แฟ้มสะสมผลงาน การนำเสนอผลงาน นำผลการเรียนที่ได้แจ้งให้ผู้เรียนและผู้ปกครองทราบ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลของผู้เรียน
ผลการดำเนินงาน  ครูสามารถจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1SQbITMWcNyE6JRZWX_Kbl4UzDsgZdz61/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

1. ด้านคุณภาพผู้เรียน

ผู้เรียนมีทักษะการอ่าน อ่านได้ อ่านคล่อง ครูทุกคนจัดกิจกรรมและผลิตสื่อส่งเสริมการอ่านอย่างหลากหลาย ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์ รักความสะอาด ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ร่าเริงแจ่มใส ยิ้ม ไหว้ทักทาย อดทนต่อการรอคอย ยอมรับและพอใจในผลงานของตนเองและผู้อื่น ช่วยเหลือแบ่งปันและมีความสุข

โรงเรียนมีการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างทั่วถึง มีการออกเยี่ยมบ้านผู้เรียนครบทุกคน ทำให้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนเป็นรายบุคคล สามารถให้ความช่วยเหลือ ได้ตามความเหมาะสม และชุมชนร่วมสนับสนุนทุนการศึกษา ส่งผลให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้

2. กระบวนการบริหารและการจัดการ

 ทางโรงเรียนได้ดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียน โดยมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจที่ชัดเจน มีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาที่โรงเรียนที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ มีการพัฒนาโรงเรียน แผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับภาวะปัจจุบันและพร้อมรับบริการ เปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการศึกษาดังกล่าว ทางโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศนำมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ 

3. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

- ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

- ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

- ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้โดยการคิด ได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหลางเรียนรู้ที่หลากหลาย

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

1. ด้านคุณภาพผู้เรียน

1. ด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่อง คิดคำนวณได้ตามมาตรฐานของแต่ละระดับชั้น สามารถสื่อสารได้ดีรู้จักการวางแผน การทำงานร่วมกับผู้อื่น กล้าแสดงออก สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง

1.2  สามารถวิเคราะห์จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดีสำคัญ รวมทั้งรู้เท่าทัน สื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษ พิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ ยอมรับในกฎกติกาของกลุ่มของสถานศึกษาของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย

2. กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครูและสถานศึกษา มีจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัย จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา

3. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูสามารถจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/17ux3oXaia_a5WaH-8SZJIqwGz9gfVANF/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1DkLQV3rcFaLukma-pdbrovZWpU6nsGWP/view?usp=sharing