รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดโพธิ์ลังกามิตรภาพที่ 171

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

 

จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้โรงเรียนจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน

จากผลการประเมินสรุปในภาพรวมระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ระดับดี

ส่วนที่1 บทสรุปผู้บริหาร

1.1 ภาพรวม......

จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้โรงเรียนจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน

โรงเรียนวัดโพธิ์ลังกามิตรภาพที่ 171 เป็นโรงเรียนขนาดกลาง ที่จัดการศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีเขตบริการจัดการศึกษาในเขต หมู่ 2, 3, 6, 8, 9, 11, 12, 13, ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม ในภาพรวมสภาพชุมชนมีลักษณะเป็นบ้านสวนและเมืองขนาดย่อม ผู้ปกครองนักเรียนประกอบอาชีพอย่างหลากหลายอาทิเช่น รับข้าราชการ รัฐวิสาหกิจเอกชน ประกอบธุรกิจส่วนตัว อัตราจ้าง ลูกจ้าง และเกษตรกร ในปีการศึกษา 2563 มีข้าราชการครู จำนวน 23คน ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน3 คน นักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 111 คน ระดับประถมศึกษา จำนวน 375 คน มีผลการทดสอบระดับชาติของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 สูงกว่าระดับชาติจำนวน 1 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปรากฏผล ดังนี้

มาตรฐานที่ 1คุณภาพของผู้เรียน ผลการประเมินอยู่ในระดับดี

โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนส่งผลให้ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเหมาะสม รู้จักการวางแผนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

มาตรฐานที่2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับดี

โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหาผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา มาตรฐานที่3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

โรงเรียนดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาสู่มาตรฐานสากลส่งผลให้ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความแตกต่างบุคคล มีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชา มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย


 

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

แผนปฏิบัติการประจำปี แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา รายงานโครงการ กิจกรรมต่างๆ ภาพถ่าย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการพัฒนาการของนักเรียน

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

มุ่งพัฒนานักเรียนให้มีความเป็นเลิศตามคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่21


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

โรงเรียนวัดโพธิ์ลังกามิตรภาพที่171 เป็นโรงเรียนขนาดกลาง ที่จัดการศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีเขตบริการจัดการศึกษาในเขต หมู่ 2, 3, 6, 8, 9, 11, 12, 13, ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม ในภาพรวมสภาพชุมชนมีลักษณะเป็นบ้านสวนและเมืองขนาดย่อม ผู้ปกครองนักเรียนประกอบอาชีพอย่างหลากหลายอาทิเช่น รับข้าราชการ รัฐวิสาหกิจเอกชน ประกอบธุรกิจส่วนตัว อัตราจ้าง ลูกจ้าง และเกษตรกร

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา

" ยิ้มใสไหว้งาม น้ำใจดี ”

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา

" โรงเรียนวิถีพุทธ ”

วิสัยทัศน์

"นักเรียนมีความรู้คู่ความดี มีวิถีชีวิตไทย ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง”

พันธกิจ

ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเสมอภาคและทั่วถึง โดยมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน พัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ ให้มีคุณธรรมสามารถดำเนินชีวิตได้โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 23 0 1 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

หลักสูตรโรงเรียนวัดโพธิ์ลังกามิตรภาพที่171พุทธศักราช 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

โครงสร้างเวลาเรียนของโรงเรียนวัดโพธิ์ลังกามิตรภาพที่ ๑๗๑

กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม

เวลาเรียน

ระดับประถมศึกษา

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

— กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

คณิตศาสตร์

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๘๐

๘๐

๘๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

o ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

o ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

o หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

o เศรษฐศาสตร์

o ภูมิศาสตร์

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

การงานอาชีพ

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

ภาษาต่างประเทศ

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๘๐

๘๐

๘๐

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

๘๘๐

๘๘๐

๘๘๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

—รายวิชา เพิ่มเติม / กิจกรรมเพิ่มเติม

๘๐

๘๐

๘๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

— กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

กิจกรรมแนะแนว

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

กิจกรรมนักเรียน

- ลูกเสือ/เนตรนารี

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

- ชุมนุม

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลอาคาร...

- อาคารเรียน 4 หลังจัดเป็นห้องเรียนรวม 16 ห้องและห้องปฏิบัติการ 8 ห้อง

ได้แก่ ห้องสมุดห้องศูนย์ PEER ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องการศึกษาพิเศษ

ห้องโสตฯ (ICT) ห้องสหกรณ์ ห้องบริหาร (ธุรการ) ห้องประชุม

- อาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง

- อาคารประกอบ 2หลัง ได้แก่ โรงอาหารบ้านดนตรีไทย

- สนาม ได้แก่สนามฟุตบอล สนามวอลเล่ย์บอล สนามเด็กเล่น

- ส้วม 2 หลัง รวม 15 ห้อง

- ส้วมระหว่างอาคาร 3-4 ชั้นล่าง ปฐมวัย จำนวน 6ห้อง ชั้นบน ประถม จำนวน 4 ห้อง

- บ้านพักครู2 หลัง


หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

ข้อมูลแหล่งเรียนรู้...

แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนได้แก่

- ห้องสมุด

- ห้องดนตรีไทย

- ห้องคอมพิวเตอร์

- ห้องวิทยาศาสตร์

- ห้องการศึกษาพิเศษ

- ห้องสหกรณ์

- ห้องโสตทัศนูปกรณ์ (ICT)

- ลานโพธิ์ ลานธรรม

- ห้องศูนย์เครือข่ายการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (PEER)

 

 

 

 

แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนได้แก่

- องค์การบริหารส่วนตำบลนายายอาม

- ป่าชายเลน หมู่ 13 ตำบลนายายอาม

- การแปรรูปอาหารกลุ่มแม่บ้าน ตำบลนายายอาม

- วิทยาลัยการอาชีพนายายอาม

- ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอนายายอาม

- ร้านชุมแสงวิศวกรรม

- วัดโพธิ์ลังกา

- โรงพยาบาลนายายอาม

- สถานีตำรวจ

- ที่ว่าการอำเภอ

 


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย มีการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงทุกเดือน เพื่อนำผลการวัดมาเทียบกับกราฟ ครูจะรวบรวมสรุปข้อมูล นำผลที่ได้มาพัฒนาและหาแนวทางแก้ไข เด็กรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ดี และมีประโยชน์ ออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างเหมาะสม ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปลอดภัย กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรง การเคลื่อนไหวร่างกายเหมาะสมตามวัย รู้จักแบ่งปัน รอคอย มีระเบียบวินัยในการเข้าแถว เก็บของเล่นเข้าที่ได้อย่างเป็นระเบียบ กล้าพูดกล้าแสดงออก สนใจและมีความสุขในการเรียนรู้ ปฏิบัติตนตามข้อตกลงของห้องเรียนได้ มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้จักประหยัดออมเงิน มีน้ำใจช่วยเหลือแบ่งปันกับเพื่อน มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างเหมาะสมตามวัย ช่วยกันรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ทิ้งขยะ ปฏิบัติตามมารยาทไทยได้ตามกาลเทศะ รักความเป็นไทย รู้จักขอบคุณเมื่อได้รับสิ่งของและขอโทษเมื่อทำความผิด อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างเหมาะสม เป็นผู้ฟังที่ดี เล่าเรื่องราวจากภาพและสัญลักษณ์ได้ เขียนชื่อตนเองตามแบบได้ รู้จักสังเกต หาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ จับคู่เปรียบเทียบ ความเหมือน ความต่าง น้ำหนัก จำนวนได้ มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย สนใจหยิบหนังสือมาอ่าน กระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม ค้นหาคำตอบด้วยวิธีการที่หลากหลาย ใช้ประโยคคำถามในการหาคำตอบ โดยครูได้จัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายตามบริบทของโรงเรียน
ผลการดำเนินงาน  นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ดี และมีประโยชน์ ออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างเหมาะสม สามารถปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปลอดภัย สามารถปฏิบัติตนตามข้อตกลงของห้องเรียนได้ มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้จักประหยัดออมเงิน มีน้ำใจช่วยเหลือแบ่งปันกับเพื่อน มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย สามารถปฏิบัติตามมารยาทไทยได้ตามกาลเทศะ รักความเป็นไทย มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 1. รายงาน สรุป โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เด็กปฐมวัย/กิจกรรม 2. เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ร้อยละ 84.68 3. เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ร้อยละ 89.16 สังเกตได้จากการกล้าพูด กล้าแสดงออก รู้จักเข้าแถว รอคิว ในการรับประทานอาหาร รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในและนอกห้องเรียน ตามเขตพื้นที่รับผิดชอบ ร่าเริง แจ่มใส 4. เด็กมีพัฒนาด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ได้ร้อยละ ๘๕.59 สังเกตได้จากการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รู้จักเก็บสิ่งของเครื่องใช้ ทั้งของส่วนตัวและส่วนรวม รู้จักยิ้ม ทักทาย อยู่เป็นนิจ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 5.เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ คิดเป็นร้อยละ 80.18
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนได้จัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี โดยมีแผนการจัดประสบการณ์ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง4 ด้านสอดคล้องกับมาตรฐานตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์ของแต่ละช่วงวัยและ สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนให้เหมาะสม มีมุมประสบการณ์ในห้องเรียน อย่างน้อย 5 มุม เช่น มุมวิทยาศาสตร์ มุมดนตรี มุมศิลปะสร้างสรรค์ มุมหนังสือ มุมบ้านนอกจากนี้โรงเรียนยังมีแหล่งเรียนรู้ที่เด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายภายในโรงเรียน เช่น ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพึ่งตนเอง นอกจากนี้โรงเรียนยังเป็นโรงเรียนที่ผ่านการประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ซึ่งครูได้การจัดกิจกรรมตามใบกิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์ มาอย่างต่อเนื่องโดยบูรณาการเข้ากับแผนการจัดประสบการณ์ในแต่ละสัปดาห์ ภาคเรียนละ ๒๐ กิจกรรมเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความคิดรวบยอด การคิดอย่างมีเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ รู้จักสังเกตจดจำ การทดลองหาคำตอบด้วยตนเองและห้องเรียนอนุบาลยังมีสื่อเทคโนโลยีที่สามารถค้นหาความรู้ต่าง ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ตลอดเวลา มีโครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เด็กปฐมวัย1 โครงการ ส่วนด้านอื่นๆ บูรณาการกับโครงการ กิจกรรมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีการนิเทศภายในเดือนละ ๑ ครั้ง ผู้ปกครองและครูมีการสื่อสารกันตลอดเวลาในการให้คำปรึกษาในด้านพัฒนาการเด็ก สร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็ก

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนได้จัดกิจกรรมตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ครูมีแผนการจัดประสบการณ์ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านสอดคล้องกับมาตรฐานตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์ของแต่ละช่วงวัย โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนให้เหมาะสม มีแหล่งเรียนรู้ที่เด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายภายในโรงเรียน โรงเรียนผ่านการประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ห้องเรียนมีสื่อเทคโนโลยี ที่สามารถค้นหาความรู้ต่าง ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ตลอดเวลา มีโครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เด็กปฐมวัย 1 โครงการ 4 กิจกรรม ครูได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีการนิเทศภายในเดือนละ 1ครั้ง

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 1. แผนงานและโครงการพัฒนาวิชาการสู่มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย 2.หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๐ 3.รายงานผลการเข้าร่วมอบรมพัฒนาของครูและบุคลากรในระดับชั้นปฐมวัย 4.กิจกรรมจัดหาสื่อ 5.กิจกรรมประกันคุณภาพภายใน 6.กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 7.กิจกรรมสานฝันบัณฑิตน้อย 8.แผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 9.รายงานผลการประเมินตนเองประจำปี
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนมีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ มีการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ มีการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาและการเรียนรู้ โดยพิจารณาว่าเด็กมีปัญหาพฤติกรรมที่แสดงออกผิดไปจากปกติหรือไม่ เพื่อหาแนวทางแก้ไขพฤติกรรมร่วมกับผู้ปกครอง ศึกษาเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อเข้าใจพฤติกรรมเด็กแต่ละคน และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง ตั้งสมสติทดลอง หาคำตอบ รวบรวมความคิด และสรุปผลจากการทดลอง และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ ห้องเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมครบทุกห้องเรียน ครูมีการประเมินพัฒนาการตามสภาพจริง โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม และนำผลการประเมินพัฒนาเด็กมาปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน  

เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ มีการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน มีการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคลและให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาและการเรียนรู้ เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง ห้องเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมครบทุกห้องเรียน ครูมีการประเมินพัฒนาการตามสภาพจริง โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 1.การจัดมุมประสบการณ์ในห้องเรียน 2.แบบบันทึกการพัฒนาการของเด็ก 3.รายงานผลการประเมินตนเอง 4.การจัดบรรยากาศภายในห้องเรียนแจ่มใส การจัดภารกิจประจำวัน มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

โรงเรียนมีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพมีการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน มีการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาและการเรียนรู้ ศึกษาเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อเข้าใจพฤติกรรมเด็กแต่ละคน และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเองห้องเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมครบทุกห้องเรียน ครูมีการประเมินพัฒนาการตามสภาพจริง โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม และนำผลการประเมินพัฒนาเด็กมาปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่องรวมถึงผ่านการประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ห้องเรียนมีสื่อเทคโนโลยี ที่สามารถค้นหาความรู้ต่าง ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ตลอดเวลา

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

โรงเรียนมีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพมีการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน มีการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาและการเรียนรู้ ศึกษาเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อเข้าใจพฤติกรรมเด็กแต่ละคน และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเองห้องเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมครบทุกห้องเรียน ครูมีการประเมินพัฒนาการตามสภาพจริง โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม และนำผลการประเมินพัฒนาเด็กมาปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่องรวมถึงผ่านการประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ห้องเรียนมีสื่อเทคโนโลยี ที่สามารถค้นหาความรู้ต่าง ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ตลอดเวลา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัดเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก และเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีการสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด และห้องคอมพิวเตอร์ ครูผู้สอนประจำวิชากำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน

ผลการดำเนินงาน  

ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเหมาะสม รู้จักการวางแผนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมสืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความรู้ความเข้าใจและทักษะต่างๆ ตามหลักสูตรจากพื้นฐานเดิมอย่างต่อเนื่อง นักเรียนเรียนต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้นและเลือกสาขาวิชาที่เหมาะกับตนเอง เห็นได้จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

 

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน การอ่านออกเขียนได้ การเขียนสื่อสารของผู้เรียน เอกสารรายงานประจำตนเองและประจำชั้นเรียน แบบประเมินต่างๆ
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร มีความเอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ โดยจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมความมีคุณธรรม นอกจากนี้ได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่างส่งผลให้นักเรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย จัดกิจกรรมการพัฒนาให้เหมาะสมกับวัยมีระบบการแนะแนวและการดูแลสุขภาวะจิต นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอน
ผลการดำเนินงาน  

ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะและค่านิยมที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด กล่าวคือผู้เรียนมีความเอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง มีความตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทยของตนเอง มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัย ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์ รักการออกกำลังกาย ยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษา ของสังคม ทั้งนี้ เห็นได้จากการร่วมกิจกรรมต่างๆของผู้เรียน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 การปฏิบัติตนของผู้เรียน โครงการ กิจกรรมต่างๆ ภาพถ่ายกิจกรรม
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหาผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา มีคำสั่งแต่งตั้ง หัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับหน้าที่ ที่รับผิดชอบพร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงานโดยมีโดยการสำรวจความ พึงพอใจผลการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการศึกษา

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศ มีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา โรงเรียน มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา ที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา โรงเรียนมีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่าย ส่งผลให้สถานศึกษา มีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี รายงานโครงการ กิจกรรมต่างๆ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาสู่มาตรฐานสากล มีการบูรณาการภาระงาน ชิ้นงาน ปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วยกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้มีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำข้อมูลและผลจากการวิเคราะห์มาออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดประเมินผลที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนรวมทั้งให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่นักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยความเสมอภาค ส่งเสริมให้ครูใช้ผลจากการประเมินผู้เรียนมาทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบ มีการจัดบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตรงตามความรู้ประสบการณ์และความถนัด และจัดการเรียนการสอนในวิชาที่ได้รับอย่างเต็มเวลาและความสามารถ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ และให้ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียน

 

ผลการดำเนินงาน  

จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครูการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความแตกต่างบุคคล มีการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชา มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย ครูยังมีงานวิจัยในชั้นเรียนและนำผลของงานวิจัยนั้นไปพัฒนาการเรียนการสอน ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนของครูครอบคลุมทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 รายงานโครงการ กิจกรรมต่างๆ ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน วิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน แผนการจัดการเรียนการสอนของครู
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  0
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนส่งผลให้ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเหมาะสม รู้จักการวางแผนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหาผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา

โรงเรียนดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาสู่มาตรฐานสากลส่งผลให้ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความแตกต่างบุคคล มีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชา มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนส่งผลให้ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเหมาะสม รู้จักการวางแผนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหาผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา

โรงเรียนดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาสู่มาตรฐานสากลส่งผลให้ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความแตกต่างบุคคล มีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชา มีการวัดประเมินผลจากสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลาย

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก
 https://docs.google.com/document/d/13q1BdrxZPX4aXSjRSni0ccJBGajy2twT/edit