รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านห้วงกระแจะ

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาปีการศึกษา 2563 ระดับการศึกษาปฐมวัย ปรากฏผล ดังนี้

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก  อยู่ในระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ


 

 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาปีการศึกษา 2563 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปรากฏผล ดังนี้

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน  อยู่ในระดับคุณภาพ  ดี

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

 

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

ระดับการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพเด็ก อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

           เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว มีทักษะการเคลื่อนไหว  ตามวัยมีการใช้มือและตาประสานสัมพันธ์กันได้ดี มีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพของตนเองได้แก่ ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำ รู้จักดูแลรักษาสุขภาพสุขอนามัยส่วนตนเลือกรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์และหลากหลาย ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและเจริญเติบโตตามวัย เด็กปฐมวัยร่าเริงแจ่มใส ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความมั่นใจ กล้าคิดและกล้าแสดงออก สามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย มีวินัยรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเองเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครูและญาติผู้ใหญ่ มีความซื่อสัตย์สุจริต ช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่น มีความประหยัดและพอเพียง ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้สนทนาโต้ตอบ  แสดงความคิดเห็นร่วมกันได้และเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจได้สามารถตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัยได้มีทักษะการคิดพื้นฐานมีความสามารถในการคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้รู้จักคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมกับวัย

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดีเลิศ  

           ครูมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลรู้และเข้าใจ หลักการและธรรมชาติ ของการจัดการศึกษาปฐมวัย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและสามารถจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความแตกต่าง ระหว่างบุคคล บริหารจัดการชั้นเรียนที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่  เหมาะสม สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก สถานศึกษามีการบริหารและจัดการอย่างเป็นระบบ ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น  การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผล การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษามีแผนและมีการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพวิชาการทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกคน และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีการพัฒนาทางวิชาชีพให้ครูและบุคลากรมีความรู้ความสามารถและทักษะ ตรงตามความถนัด สถานศึกษามีการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน สามารถนำไปใช้ได้จริง ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและมีเครือข่ายความร่วมมือในการร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามีการจัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริม ให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา มีการจัดโครงการ กิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดีเลิศ

          สถานศึกษานำกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning มาใช้ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมและการเรียนรู้ในทุกๆด้าน ทำให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าแสดงออกและมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงและการเรียนรู้ราย ส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้น่าสนใจให้แก่ผู้เรียน มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียน เด็กมีประสบการณ์การใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เด็กทุกคนสามารถสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย และส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง ส่งผลให้เด็กระดับปฐมวัยมีประสบการณ์การใช้ภาษาในการสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย ครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์สาหรับเด็กปฐมวัยรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัยของสถานศึกษามีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ครบตามสาระการเรียนรู้และมีคุณภาพมีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม เข้าไปในแผนการจัดประสบการณ์ และครูปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการชั้นเรียนเป็นอย่างดี มีการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดกิจกรรม

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน  ผลการประเมินตนเอง : ดี

           ผลการเรียนรู้ที่เป็นคุณภาพของผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการพบว่า มีความสามารถในการอ่าน การเขียนการสื่อสาร การคิดคำนวณ ร้อยละ 61.07 มีความสามารถในการคิดประเภทวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา ร้อยละ 61.49 สามารถสร้างนวัตกรรม ร้อยละ 60.58 สามารถใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ร้อยละ 63.76 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษากำหนด ร้อยละ 67.29 มีทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ  ร้อยละ 70.98 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ร้อยละ 88.91 โดยมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน ร้อยละ 88.91 นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น ความเป็นไทย ร้อยละ 91.53 ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างที่หลากหลาย และร้อยละ 89.93 มีสุขภาวะทางร่างกาย และลักษณะจิตสังคม ร้อยละ 92.20

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินตนเอง : ดีเลิศ

          ผลการบริหารและการจัดการ พบว่า โรงเรียนบ้านห้วงกระแจะ (สวัสดิชัยอุปถัมภ์) มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดอย่างชัดเจน มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา มีการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย สถานศึกษามีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ การจัดสภาพแวดล้อม ทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 3  ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการประเมิน ตนเอง : ดีเลิศ  

           ผลการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า โรงเรียนบ้านห้วงกระแจะ (สวัสดิชัยอุปถัมภ์) มีการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เรียนเรียนแบบมีความสุข และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกของครูผู้สอน มีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน  เพื่อให้บรรลุผลตามที่เป้าหมายกำหนด และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาในการจัดการเรียนรู้







 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

ระดับการศึกษาปฐมวัย

1) พัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ให้มีโสตทัศนูปกรณ์ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียน เช่น เครื่องฉายภาพ เครื่องเสียง โทรทัศน์ เป็นต้น ทำให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย นักเรียนได้รับความรู้อย่างเต็มที่

2) ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อระดมทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านงบประมาณ ความคิด ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา การปรับปรุงคุณภาพด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรภายในโรงเรียน

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1) ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทุกคนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

2) ส่งเสริม พัฒนาการผลิตและการใช้สื่อ นวัตกรรม ตลอดจนการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

3) ส่งเสริม พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ นําเสนอผลงาน  คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

4) พัฒนาครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ STEM Education โดยบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในทุกระดับชั้น

5) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และกลุ่มอ่อนจัดกิจกรรมปรับพื้นฐานความรู้ เป็นต้น

6) การส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมุ่งเน้นเรื่องการนำความรู้ไปใช้ในชั้นเรียน โดยใช้PBL การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ

7) มีการประสานงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกและชุมชน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน

8)การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เข้มข้น เพื่อให้มีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบ ระดับชาติ (O-NET) สูงกว่าระดับชาติและมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ50 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

9)การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน

 


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนบ้านห้วงกระแจะ (สวัสดิชัยอุปถัมภ์) ตั้งอยู่เลขที่ ถนน หมู่ที่ 8 ตำบลวังโตนด อำเภอนายายอาม  จังหวัดจันทบุรี  รหัสไปรษณีย์  22170  โทรศัพท์  0-3949-1583   โทรสาร -  e-mail : สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โรงเรียนนี้ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 15 เดือนเมษายน พ.. 2502 มีเขตพื้นที่บริการ  2  หมู่บ้าน  ได้แก่ หมู่ 4,5 และ 6 ตำบลวังใหม่  หมู่ 5 และ 10 ตำบลวังโตนด และ หมู่ 8 ตำบลสนามไชย ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รวม 12 ชั้น  (12 ห้องเรียน)

           ข้อมูลผู้บริหาร

          ผู้อำนวยการโรงเรียน ชื่อ นายณัฐวุฒิ รสชื่น อายุ  49 ปี วุฒิการศึกษาสูงสุด การศึกษามหาบัณฑิต สาขา การบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557   จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 6 ปี 5  เดือน

               สภาพชุมชนโดยรวม

         สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียน เป็นชุมชนชานเมืองขนาดเล็ก ที่ตั้งอยู่ในตำบลวังโตนด  อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี  มีประชากรประมาณ 2698 คน จำนวน 899 หลังคาเรือน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ ตลาดและวัดปากทางหนองแหวน อาชีพหลักของชุมชน คือ อาชีพรับจ้าง และทำสวนผลไม้ ยางพารา สภาพทางเศรษฐกิจไม่ดี ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน เพราะอพยพมาจาก ท้องถิ่นอื่น ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ การเล่นกลองยาว

           ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่

           1.วันขึ้นปีใหม่มีกิจกรรมทำบุญตักบาตรที่วัด ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งในตลาด

           2.วันสงกรานต์มีกิจกรรมทำบุญตักบาตรที่วัด  รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่  และการละเล่นต่าง ๆ

          3. วันเข้าพรรษามีกิจกรรมแห่เทียนจำนำพรรษา และถวายเทียนแก่วัด ในปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลง คือมีการถวายหลอดไฟฟ้าแทนเทียนจำนำพรรษาในบางแห่ง โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากชุมชนและเจ้าอาวาสวัดปากทางหนองแหวน ซึ่งมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา เช่น ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนเป็นประจำทุกปี

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

การบริหารจัดการ

วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านห้วงกระแจะ(สวัสดิชัยอุปถัมภ์) มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำความพอเพียงสู่สถานศึกษา

พันธกิจ

พัฒนาระบบการเรียนการสอน กิจกรรมเสริมหลักสูตร ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม และร่วมกิจกรรม   ทางวัฒนธรรมกับหน่วยงานท้องถิ่นและชุมชน

           1. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้อ่านออก เขียนได้ คิดเป็น แก้ปัญหาได้ตามศักยภาพ 

           2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการ การจัดการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่มสาระ

           3. ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม

           4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมและจริยธรรม มีความซื่อสัตย์ มีมารยาทความเป็นไทย  

           5. สนับสนุนกีฬา  ดนตรีและศิลปะ  ให้นักเรียนมีสุขภาพกาย  สุขภาพจิตที่ดี ปลอดสารเสพติดและรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

           6. ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค

           7. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

           8. ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการบริหารจัดการศึกษา 

เป้าประสงค์

          นักเรียนมีคุณภาพ เป็นคนดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

เอกลักษณ์ของโรงเรียน

                   ยิ้มง่าย  ไหว้สวย

อัตลักษณ์ของโรงเรียน

             มารยาทดีมีความซื่อสัตย์

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 17 0 4 1 0


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

โรงเรียนบ้านห้วงกระแจะ (สวัสดิชัยอุปถัมภ์) มีอาคารเรียนและอาคารประกอบ 6 หลัง  ได้แก่

           1. อาคารเรียน จำนวน 4 หลัง ประกอบด้วย ห้องเรียนทั้งหมด  15  ห้องเรียน ดังนี้

                Øชั้นอนุบาล 1 – 3                     จำนวน  3  ห้องเรียน

               Ø ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6        จำนวน 6  ห้องเรียน

               Ø ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3            จำนวน 3  ห้องเรียน

               Ø ห้องเรียนรู้สู่อาชีพ               จำนวน  1  ห้อง

               Øห้องปฏิบัติการทางภาษา           จำนวน  1  ห้อง

               Ø ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์        จำนวน  1  ห้อง

           2. โรงอาหาร จำนวน 1 หลัง  

           3. บ้านพักครู จำนวน 1  หลัง


หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

1.แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

                1.1 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์          สถิติการใช้         180        ครั้ง/ปี

                  1.2 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์          สถิติการใช้         180        ครั้ง/ปี

                  1.3 ห้องจริยธรรม                             สถิติการมใช้        40        ครั้ง/ปี

                 1.4 ห้องพยาบาล                              สถิติการใช้          20         ครั้ง/ปี

                 1.5 สหกรณ์ร้านค้าโรงเรียน                สถิติการใช้         200         ครั้ง/ปี

                  1.6 ห้องสื่อการเรียนการสอน             สถิติการใช้           80          ครั้ง/ปี

                  1.7 ห้องสมุด                                  สถิติการใช้         180        ครั้ง/ปี

                  1.8 สนามฟุตบอล                           สถิติการใช้         200        ครั้ง/ปี

2. แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน

               2.1 วัดปากทางหนองแหวน                  สถิติการใช้             4       ครั้ง/ปี

               2.2 ตลาดสดปากทางหนองแหวน        สถิติการใช้             5      ครั้ง/ปี

               2.3 ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์ไม้                       สถิติการใช้             1        ครั้ง/ปี

               2.4 วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี          สถิติการใช้             2        ครั้ง/ปี

               2.5 โอเอซิสซีเวิลด์                            สถิติการใช้             1        ครั้ง/ปี

               2.6 สนามกีฬาประจำตำบล                   สถิติการใช้             2        ครั้ง/ปี

               2.7 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน                สถิติการใช้             1        ครั้ง/ปี

               2.8 โบราณสถานค่ายเนินวง               สถิติการใช้            1        ครั้ง/ปี                      

          


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

1) กระบวนการพัฒนา

           มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

           สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาคุณภาพของเด็กด้านร่างกายให้แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของเด็กโดยการจัดอาหารกลางวันอย่างมีคุณภาพ รับประทานอาหารครบ5 หมู่ และได้รับประทานอาหารกลางวันทุกคน ส่งเสริมการรับประทานผักและผลไม้ มีอาหารเสริมนมให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวัน มีการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข เป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย โดยการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวยามเช้า เล่นกลางแจ้ง ให้เด็กได้เล่นทั้งในร่ม และสนามหญ้า มีการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมให้เด็กรู้จักการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองโดย จัดกิจกรรมดูแลและตรวจสุขภาพ โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลวังโตนด        เข้ามาตรวจสุขภาพให้กับเด็กทุกคน และการดูแลสุขภาพปากและฟันของเด็ก มีการตรวจฟัน เคลือบฟลูออไรด์ และให้ความรู้เด็กในการรักษาสุขภาพปากและฟัน การแปรงฟันที่ถูกวิธี เน้นย้ำให้เด็กทุกคนล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำจนเป็นนิสัย ครูปฐมวัยทุกคนจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 ผ่านตาราง เพื่อฝึกกล้ามเนื้อบริเวณ แขน ขา ลำตัว รวมไปถึงความสัมพันธ์ของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายที่สามารถทำให้เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น การวิ่ง การเดิน การทรงตัว การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาต่างๆ เป็นต้น จัดกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณข้อมือจนถึงปลายนิ้วมือโดยให้เด็กฝึกกด นวด ขยำ หยิบ จับ สิ่งของต่าง ๆ เช่น การจับดินสอ การปั้น การเล่นเปียโน การดีดกีต้าร์ และกล้ามเนื้อบริเวณตาใช้ในการกลอกตาไปมา ช่วยให้ลูกตาเคลื่อนที่เห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ จัดกิจกรรมการวาดภาพ การระบายสี การฝึกเขียน การล้างหน้าแปรงฟัน การผูกเชือกรองเท้า การยิงประตูฟุตบอลเพื่อฝึกการประสานงานของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อในการทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแขน ขา ลำตัว และกล้ามเนื้อการหายใจ ทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสัมพันธ์กัน ครูให้ความรู้ในการดูแลความปลอดภัยของตนเองและต่อต้านยาเสพติด และจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ การต่อต้านยาเสพติดและการป้องกันโรคระบาด เพื่อส่งเสริมให้เด็กสามารถดูแลความปลอดภัย ของตนเองได้

           มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม แสดงออกทางอารมณ์ได้

           สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาคุณภาพของเด็กด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีความร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ได้เหมาะสม จากการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวยามเช้าทุกวัน จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็กทางานศิลปะ เช่น การวาดภาพระบายสีตามจินตนาการ ปั้นดินน้ำมัน เป่าสี หยดสี ตัดปะกระดาษ มีการชื่นชมผลงานตนเองและของผู้อื่นอย่างเหมาะสมตามวัย เปิดโอกาสเด็กเลือกเล่นอย่างอิสระจากของเล่นที่อยู่ในมุมประสบการณ์ เช่น มุมบล็อก มุมนิทาน มุมบทบาทสมมติ มุมของเล่นมุมวิทยาศาสตร์ มุมศิลปะ ในห้องเรียน ฝึกให้เด็กรู้จักยับยั้งชั่งใจในการอดทนรอคอย โดยการจัดการเรียนการสอนจิตศึกษา ให้เด็กรอคอยในการรับส่งอุปกรณ์การเรียน ติดข้อตกลงในห้องเรียนให้เด็กท่องและปฏิบัติตามข้อตกลง เช่น การเล่นและเก็บของ ไม่คุยเสียงดัง เชื่อฟังคุณครู เด็กกล้าพูดกล้าแสดงออก มีความมั่นใจ โดยฝึกการเล่านิทาน เล่าประสบการณ์ หรือเล่าเรื่องที่เด็กสนใจ เด็กแสดงออกทางด้านศิลปะจากกิจกรรมฝึกทักษะเสริมพัฒนาการ โดยมีการแข่งขันวาดภาพระบายสี คัดลายมือภาษาไทย คัดลายมือภาษาอังกฤษ ปั้นดินน้ำมัน ฉีกตัดปะภาพ และสนับสนุนให้เด็กเล่นกีฬา จัดกิจกรรมให้เด็กรู้จักขออนุญาตหรือรอคอยเมื่อต้องการสิ่งต่างๆมีความรักและเมตตาต่อสัตว์รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันเพื่อนในห้องเรียนทำงานร่วมกับเพื่อนๆได้โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์                 

           มีพัฒนาการด้านสังคมช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

           สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนตามโครงการพัฒนากระบวนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเองได้ เช่น การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง การใช้และทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม เป็นต้น เด็กมีวินัยในตนเอง สามารถเก็บของเล่น ของใช้เข้าที่ได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย รู้จักสังเกตสิ่งของที่หยิบมาจากตรงไหนและสามารถนำไปเก็บเข้าไว้ที่เดิมได้  เข้าแถวตามลำดับก่อนหลังในการปฏิบัติกิจกรรม รู้จักการมาก่อน มาหลัง การรอคอย ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัดและพอเพียง คุ้มค่า มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน รู้จักทิ้งขยะได้ถูกที่และมีจิตอาสา มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและรักความเป็นไทย เช่น การไหว้พ่อแม่ ครู การยิ้มทักทายเพื่อน พี่ น้อง ปฏิบัติตนตามมารยาทไทยได้ตามกาลเทศะ รู้จักกล่าวคำขอบคุณเมื่อได้รับคำชมหรือสิ่งของจากผู้ใหญ่ และขอโทษเมื่อตนเองทำผิด และรู้จักการให้อภัยผู้อื่นเสมอ มีสัมมาคารวะต่อเพื่อน คุณครูและผู้ใหญ่ หยุดยืนตรงและร่วมร้องเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญ พระบารมีได้ตามวัย ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น ความคิด พฤติกรรม พื้นฐานของครอบครัว เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เป็นต้น ไม่นำสิ่งที่แตกต่างของเพื่อนมาล้อเล่น และทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นที่แตกต่างไปจากตนโดยมีเป้าหมายเดียวกันได้ มีส่วนร่วมในการสร้างข้อตกลงภายในห้องเรียนร่วมกัน เป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี รู้จักฟัง มีความประนีประนอมแก้ไขปัญหาโดยปราศจากการใช้ความรุนแรงด้วยตนเอง

           มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

           สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาคุณภาพเด็กด้านสติปัญญา โดยการเล่าเรื่องจากภาพ อ่านนิทานและ เล่าเรื่องที่ตนเองสนใจได้เหมาะสมกับวัย จัดให้มีมุมหนังสือในห้องเรียน ส่งเสริมให้อ่านนิทานจากมุมหนังสือ และจัดกิจกรรมนักพูดรุ่นจิ๋วกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติจริง จากกิจกรรมหลัก6 กิจกรรม และจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach เด็กได้รู้จักตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัย และพยายามค้นหาคำตอบ ฝึกให้เด็กใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ โดยมีการแก้ปัญหาการให้เหตุผลการสื่อสารความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องมิติสัมพันธ์ จัดกิจกรรมให้เด็กสามารถบอกคุณลักษณะคุณสมบัติของสิ่งของได้ เช่น นิ่ม แข็ง ขรุขระ หนา บาง เย็น ร้อน ความเหมือนความแตกต่าง เช่น รูปทรง สี รูปภาพ จำแนกประเภทจัดหมวดหมู่ เช่น สิ่งของ เครื่องใช้ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และจัดกิจกรรม STEM ให้เด็กถ่ายทอดความคิดตามจินตนาการผ่านการเคลื่อนไหว โดยกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในแผนการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายตาม จินตนาการอิสระ และสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยกิจกรรสร้างสรรค์ มีการจัดประกวดวาดภาพระบายสี กิจกรรมฝึกทักษะเสริมพัฒนาการ ฝึกให้เด็กเรียนรู้จากสื่อที่หลากหลายทั้งสื่อของจริง สื่อเทคโนโลยี และจากวิทยากรโดยครูเชิญผู้ปกครองที่มีความรู้ความสามารถความชำนาญมาให้ความรู้กับเด็ก ครูให้เด็กใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก ในการทำกิจกรรมการทดลอง การสำรวจจากการเรียนการสอนแบบโครงงานและกิจกรรม STEM

 

ผลการดำเนินงาน  

สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาทักษะทางวิชาการในระดับต่าง ๆ ส่งผลให้ผลการประเมินคุณภาพ ในด้านคุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 90.62 อยู่ในระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ทั้งนี้ มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.73 (ระดับยอดเยี่ยม)

2. มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.60 (ระดับยอดเยี่ยม)

3. มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.80 (ระดับยอดเยี่ยม)

4. มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 73.00 (ระดับยอดเยี่ยม)

 


 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

         สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่น ครอบคลุมการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น

        สถานศึกษาจัดครูประจำชั้นที่จบการศึกษาปฐมวัย มีการส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยมีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลมีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรมทักษะการสังเกตและการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของเด็ก ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้

          สถานศึกษาได้จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ ที่ปลอดภัยและเพียงพอต่อการจัดประสบการณ์ จัดสิ่งอำนวยความสะดวกซึ่งจำเป็นและเอื้อประโยชน์ อำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้ เช่น จัดให้มีห้องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เด็กได้ศึกษาหาข้อมูลทางโลกออนไลน์ จัดให้มีอุปกรณ์ ของเล่น ของใช้ เครื่องนอน ส่งผลให้ผลการประเมินคุณภาพ ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 89.26 อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
ผลการดำเนินงาน  

ประเด็น

ผลการประเมิน

ร้อยละ

ระดับคุณภาพ

1

มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

89.43

ดีเลิศ

2

จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน

98.04

ยอดเยี่ยม

3

ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

88.00

ดีเลิศ

4

จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และเพียงพอ

89.22

ดีเลิศ

5

ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

 

86.26

 

ดีเลิศ

6

มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

87.97

ดีเลิศ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

            ครูจัดการเรียนการสอนตามโครงการพัฒนากระบวนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยและกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม เต็มตามศักยภาพ ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยมีแผนการสอน มีการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล โดยการใช้วิจัยในชั้นเรียนในการแก้ปัญหาเด็ก และวิเคราะห์จากการเยี่ยมบ้านและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็ก สร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรง ผ่านการเล่นและลงมือกระทำจากการปฏิบัติจริง ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5  มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งภายในและนอกห้องเรียน ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กตามวัย มีการนิเทศติดตาม วัดและประเมินผลพัฒนาการเด็กอย่างสม่ำเสมอ

         สถานศึกษาจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มตามศักยภาพ โดยดำเนินการตามโครงการพัฒนากระบวนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยครูศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรสถานศึกษาจากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้เพื่อให้สัมพันธ์กับพัฒนาการและความต้องการของเด็กตามวัย และบริบทของท้องถิ่นที่เด็กอาศัยอยู่ โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมประจำวัน ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

           ในด้านการสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข โดยครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงจากประสบการณ์เดิม เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงศักยภาพของตนเองออกมาผ่านการทำกิจกรรม การเล่าเรื่องการนำเสนอผลงาน การแสดงความคิดเห็นของตนเอง สร้างโอกาสให้เด็กเป็นผู้คิดริเริ่มและวางแผนการทำกิจกรรม ทั้งกิจกรรมที่ทำรายบุคคลและกิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความสนใจและความต้องการของตนเอง ตามแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL โดยนำมาบูรณาการจากกิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรม สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง สร้างนิสัยช่างคิด ช่างสังเกต ช่างสงสัยรู้จักคาดเดา คาดคะเนคำตอบจากการจัดกิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการสนองต่อความสามารถและความสนใจ ของเด็กเป็นรายบุคคล หลากหลายรูปแบบมีการจัดกิจกรรมการละเล่นไทย เกม และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ลงมือทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุขเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยความร่วมมือจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้เลือกเล่น เรียนรู้ ลงมือกระทำและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

           ครูจัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ให้มีความสะอาด น่าอยู่ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และปลอดภัย มีพื้นที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่หลากหลายอย่างเพียงพอ มีพื้นที่จัดแสดงผลงานของเด็ก และมีมุมประสบการณ์ที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการดูแลและจัดสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน เช่น ป้ายนิเทศ มุมประสบการณ์ มุมธรรมชาติ การดูแลรักษาความสะอาดของสิ่งของภายในห้องเรียนเป็นต้นครูมีการจัดทำสื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับแผนการจัดประสบการณ์ มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ระยะความสนใจและวิถีการเรียนรู้ของเด็ก เช่น กล้องดิจิตอล คอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนรู้ สื่อของเล่นที่กระตุ้นการคิดและหาคำตอบ เป็นต้น

           การประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก โดยใช้เครื่องมือ ที่สอดคล้องจากการสังเกตจากการประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน การูดำเนินการประเมินพัฒนาการเด็กจากพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมและจากการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เป็นการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาของเด็ก โดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน มีการประเมินพัฒนาการเด็กทั้งจากครูประจำชั้นและจากผู้ปกครอง ผลที่ได้จากการสังเกตและประเมินพัฒนาการเด็ก จะนำมาจัดทำเป็นเอกสารความก้าวหน้าของเด็กเป็นรายบุคคลที่สามารถบอกเรื่องราวประสบการณ์และความก้าวหน้าของเด็กแต่ละบุคคล พร้อมทั้งนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กมาพัฒนาและพิจารณาปรับปรุงวางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงาน  

1) สถานศึกษานำกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning มาใช้ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมและการเรียนรู้ในทุกๆด้าน ทำให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าแสดงออกและมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย

2) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงและการเรียนรู้รายบุคคล ส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข มีการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้น่าสนใจให้แก่เด็ก มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียน

3)  เด็กมีประสบการณ์การใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เด็กทุกคนสามารถสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย และส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง ส่งผลให้เด็กระดับปฐมวัยมีประสบการณ์การใช้ภาษาในการสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

 4) ครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย รู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัยของสถานศึกษา มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ครบตามสาระการเรียนรู้และมีคุณภาพมีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เข้าไปในแผนการจัดประสบการณ์ และครูปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการชั้นเรียนเป็นอย่างดี มีการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดกิจกรรม

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

            โรงเรียนมีหลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัย พ.ศ. 2560 ยืดหยุ่น สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาและบริบทของท้องถิ่น มีครูเพียงพอและเหมาะสมกับชั้นเรียน ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคล โดยมีการอบรมไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างปลอดภัย มีสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างเพียงพอและหลากหลาย ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อเพื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา

           การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ครูจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาอย่างสมดุล เต็มศักยภาพของเด็กเป็นรายบุคคล สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงผ่านการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ลงมือทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต้อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมนําผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย ปีการศึกษา 2563 ระดับคุณภาพ:ยอดเยี่ยม

           มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก  ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

                      มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

           มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

จากผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐานจากผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยสรุปได้ว่ามีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม ทั้งนี้ เพราะมาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดีเลิศ มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดีเลิศ ทั้งนี้ ด้านคุณภาพของเด็ก เด็กระดับปฐมวัย ของโรงเรียนผลการประเมินพัฒนาการทั้ง ด้าน บรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด 


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

           สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามแนวทาง Backward Design  ด้วยกระบวนการ GPAD 5 Steps และการวัดผล ประเมินผลแบบ Authentic Assessment ตามหลักสูตรอิงมาตรฐานในศตวรรษที่21 และเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนโดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาทักษะ ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การเข้าใช้ห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตนำเสนอผลงานโดยใช้เทคโนโลยีส่งเสริมผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุสมผล โดยการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาทักษะการคิด ได้แก่ กิจกรรมการเปรียบเทียบ จัดลำดับ การเล่าเรื่อง และการสร้างผังความคิด ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการคิดทุกรายวิชารวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ โดยจัดทำโครงงานในรายวิชาต่าง ๆ เช่น โครงงานคณิตศาสตร์ โครงงานภาษาไทย โครงงานสังคม โครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานศิลปะ โครงงานสุขศึกษา โครงงานการงานพื้นฐานอาชีพ โครงงานภาษาต่างประเทศ มีการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา จัดการสอนแบบสืบสวน ด้านการวัดการประเมินผลสถานศึกษาได้มีการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยจัดทำโครงการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และบันทึกหลังสอนทุกกลุ่มสาระ เพื่อฝึกทักษะจำเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และประเมินผู้เรียนเกี่ยวกับสมรรถนะ5 ด้าน ได้แก่ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มีการจัดกิจกรรมรักการอ่าน มีการจัดกิจกรรมชุมนุมรักษ์ภาษาไทย 

ผลการดำเนินงาน  

           จากการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การประเมินสมรรถนะ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน การจัดกิจกรรมส่งเสริมผู้เรียนโดยการใช้กิจกรรมอย่างหลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จัดโครงงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อฝึกทักษะการคิดในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นช่วยพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถคิดสรุป มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล

          ส่งผลให้มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนมีผลการประเมิน เฉลี่ยร้อยละ 67.34 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี ทั้งนี้ มีผลการดำเนินงาน เชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

1. ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 61.07(ระดับดี)

2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 61.49              (ระดับดี)

3. ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 60.58 (ระดับดี)

4. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 63.76 (ระดับดี)

5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 67.29 (ระดับดี)

6. มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 70.98 (ระดับดีเลิศ)

 


 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษาได้ดำเนินการพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนเพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยเน้นให้ผู้เรียน มีคุณธรรม จริยธรรม โดยจัดทำโครงการ ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และจัดกิจกรรมส่งเสริมอัตลักษณ์ของโรงเรียน คือ ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม  นอกจากนั้นได้จัดกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมไทย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและเรียนรู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ส่งเสริมให้ผู้เรียนรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ฝึกความเป็นผู้นำผู้ตามกล้าแสดงออกและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีรวมทั้งจัดทำโครงการโรงเรียนสีขาวเพื่อให้ผู้เรียนรู้วิธีป้องกันตนเองจากยาเสพติดและมีภูมิคุ้มกันที่ดี

           นอกจากนี้สถานศึกษาได้ทำMOU (Memorandum of Understanding) ในการจัดการศึกษารวมหลักสูตรอาชีวศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กับวิทยาลัยการอาชีพนายายอาม ในการจัดการสอน ทวิศึกษา เป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้ศึกษาทางด้านวิชาชีพเพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ความสามารถซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น


ผลการดำเนินงาน   ผู้เรียนมีความประพฤติที่ดี ด้านคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตามวัฒนธรรมอันดีงามของสังคม มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นในความเป็นไทย รู้วิธีการรักษาสุขภาพของตนเอง นอกจากนั้นผู้เรียนได้ตระหนักถึง   พิษภัยของสิ่งเสพติดและรู้วิธีป้องกันตนเอง สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข ส่งผลให้มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนมีผลการประเมิน เฉลี่ยร้อยละ 67.34 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี ทั้งนี้ มีผลการดำเนินงาน เชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

1. มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่ สถานศึกษากำหนด มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.91 (ระดับยอดเยี่ยม)

2. ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 91.53 (ระดับยอดเยี่ยม)

3. ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 89.93 (ระดับยอดเยี่ยม)

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษาได้กำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจไว้อย่างชัดเจนสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชน ตรงตามวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน นโยบายของรัฐบาล สถานศึกษา มีการบริหารจัดการคุณภาพการจัดการศึกษา และการพัฒนาตามโครงสร้าง 4 แผนงาน ได้แก่ งานบริหารทั่วไป,งานบริหารบุคคล, งานบริหารวิชาการ และงานบริหารบุคคล โดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีการนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการติดตามตรวจสอบ ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีแผนบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษาและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน และนำข้อมูลจากการนิเทศมาใช้ในการพัฒนา และแก้ปัญหาในด้านการจัดการศึกษา

           สถานศึกษาได้ดำเนินการจัดการทรัพยากรบุคคล สร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยผู้บริหารเป็นผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อม รับการกระจายอำนาจ มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับชุมชน ผู้บริหารให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาเต็มศักยภาพและเต็มเวลา มีโครงการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครู และสถานศึกษา

           สถานศึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม มีการประเมินผลการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา มีการจัดการประชุมเป็นประจำทุกเดือน เพื่อร่วมกันวางแผนในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา งบประมาณ และเป้าหมายในการพัฒนา นอกจากนี้ สถานศึกษามีกระบวนการกำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการศึกษา และเปิดโอกาสให้ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

           สถานศึกษาได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย มีการจัดหาสื่อเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา

ผลการดำเนินงาน  

สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุม ชนท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่งข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

           ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ส่งผลให้ผลการประเมินคุณภาพ ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 85.17 อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

               สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน  กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา มีการบูรณาการภาระงาน ชิ้นงาน โดยปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้  สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน  นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ ครูทุกคนทำวิจัยในชั้นเรียนปีการศึกษาละ   ๑ เรื่องมีการส่งครูไปอบรมพัฒนาตนเอง มีการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครูทุกคนอย่างสม่ำเสมอ มีการประเมินแบบวัด แบบทดสอบ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจข้อสอบ ครูจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดเป้าหมายที่ต้องการ ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายบุคคลแล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ มีการออกแบบการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และดูแลช่วยเหลือผู้เรียน นำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอน ครูมีการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนประเมินความก้าวหน้าของตนเองและนำมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาตนเอง มีการวิเคราะห์ผลการประเมินและมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียนเพื่อนำมาปรับปรุงการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง


ผลการดำเนินงาน                 จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครูการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครูมีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ แสดงออก นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยเชื่อมโยงบูรณาการสาระการเรียนรู้และทักษะต่างๆ มีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการสอน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม จากการจัดโครงการ/กิจกรรม ทำให้ครูเข้าใจปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษา และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ 
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย จัดการเรียนการสอนตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน มีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคลและนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ มีการออกแบบการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการนำ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ในการเรียนการสอน มีการวิเคราะห์ผลการประเมินและนำมาใช้ในการซ่อมเสริมพัฒนาผู้เรียนเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนมีโครงการที่ส่งเสริมกิจกรรมการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การพัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ มีระบบการนิเทศภายใน กิจกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งเป็นโครงการที่รองรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และบุคลากรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ มีสื่อที่เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้เพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ครูร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการส่งเสริมการประกวดแข่งขันทักษะทางวิชาการ การเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Approach) การใช้คำถามกระตุ้นให้คิด ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมและปลูกฝังกระบวนการคิดอย่างหลากหลาย บูรณาการกับการการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่สามารถทำงานเป็นกลุ่ม มีการแสดงความคิดเห็น การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ปรับตัวเข้ากับสังคมและเพื่อนได้ดี ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ได้แก่ กิจกรรมการเข้าค่ายคุณธรรม ลูกเสือ – เนตรนารี กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้ มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

           สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่กำหนดไว้ และตรงกับวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ มีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และท้องถิ่น มีแผนและมีการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพวิชาการทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกคน และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีการพัฒนาทางวิชาชีพให้ครูและบุคลากรมีความรู้ความสามารถและทักษะ ตรงตามความถนัด สถานศึกษามีการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน สามารถนำไปใช้ได้จริง ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและมีเครือข่ายความร่วมมือในการร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา มีการจัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริม ให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา มีการจัดโครงการ กิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน ใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลผลการประเมินหรือผลการวิจัยเป็นฐานคิดทั้งด้านวิชาการและการจัดการผู้บริหารสามารถบริหารจัดการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมรับการกระจายอำนาจนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนพึงพอใจผลการบริหารการจัดการศึกษาผู้บริหารให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและ  เอาใจใส่การจัดการศึกษาเต็มศักยภาพและเต็มเวลา มีการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและบุคลากรของสถานศึกษารวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษาระหว่างสถานศึกษากับครอบครัวชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

           สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน / กิจกรรมอย่างหลากหลาย มีการปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้  ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด ครูใช้สื่อการเรียนการสอนนวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้มีการวิเคราะห์ผลการประเมินและมาใช้ในการ    ซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียนเพื่อนำมาปรับปรุงการพัฒนาการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ แสดงออก ได้นำเสนอผลงาน และแสดงความคิดเห็น ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง ครูมีความสามารถในการจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ส่งผลให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก ทำให้ผู้เรียนรักการมาเรียน และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข


 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จากผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน จากผลการประเมินสรุปได้ว่าได้ระดับ ดีเลิศ ทั้งนี้ เพราะมาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับดี มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ  ดีเลิศ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดีเลิศ

     ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน มีความรู้ความเข้าใจเป้าหมายการจัดการศึกษา และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรู้ด้านการประเมินผลการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนและอิงพัฒนาการของผู้เรียนโดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิด ได้ปฏิบัติจริง  มีการใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 

           ครูมีคุณวุฒิ/ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ สามารถพัฒนาเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดไตร่ตรอง มีวิจารณญาณ และมีวิสัยทัศน์ ครูมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ การผลิตและใช้สื่อ เทคโนโลยีต่างๆ มีการจัดทำโครงการการผลิตสื่อเป็นรายสาระการเรียนรู้ จัดทำวิจัยชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเน้นการใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทั้งสื่อที่เป็นธรรมชาติ และสื่อที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาด้านการนำผลการประเมินต่างๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และครูนำผลที่เกิดแก่ผู้เรียนมาวิเคราะห์ เพื่อปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน และจัดระบบการนิเทศการสอนที่เป็นระบบที่ชัดเจน      

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก