รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดเนินสูง

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับ ๓ ดี

          จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน จากผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับ ดีเลิศ ทั้งนี้ เพราะมาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับดี มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการอยู่ในระดับดี มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดีเลิศ

          สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชนท้องถิ่น จนมีผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับดี พัฒนาการของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติสูงขึ้น ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและการเขียน การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความสามารถในการคิดคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดี และมีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏอย่างชัดเจน ดังที่ปรากฏผลการประเมินในมาตรฐานที่ ๑ ในด้านกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษามีผลประเมินในรายมาตรฐานอยู่ในระดับ ดี สถานศึกษามีการวางแผนออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนาและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา ตรวจสอบผลการดำเนินงานและการปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีผลประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ วิเคราะห์ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตรและบริบทของสถานศึกษา พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้ ติดตาม ตรวจสอบและช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหารายบุคคล และการประเมินผลจากสภาพจริงในทุกขั้นตอน สถานศึกษาดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นขั้นตอน จนเกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนมีผลประเมินอยู่ในระดับดี โดยสถานศึกษาให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อเกิดความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดีและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาในระดับสูง
 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

ระดับการศึกษาปฐมวัย
การประเมินมาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก 

ตัวชี้วัดที่ ๑ มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี  และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

ตัวชี้วัดที่ ๒  มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้

ตัวชี้วัดที่ ๓  มีพัฒนาการด้านสังคมช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดี ของสังคม

ตัวชี้วัดที่ ๔  มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

เอกสารหลักฐาน

-โครงการส่งเสริมศักยภาพเด็กปฐมวัย

-แบบบันทึกน้ำหนักส่วนสูง

-แผนการจัดประสบการณ์

-แบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย(ด้านร่างกายและสุขนิสัยที่ดี)

-ภาพถ่ายกิจกรรมและการสัมภาษณ์เด็กและผู้เกี่ยวข้อง

- ผลงานเด็ก

-กิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหว

-กิจกรรมการเล่านิทาน

-กิจกรรมวันสำคัญ

-กิจกรรมนักวิทยาศาสตร์น้อย

-กิจกรรมทัศนศึกษา

-กิจกรรมสนับสนุนการแข่งขันทางวิชาการ

มาตรฐานที่ ๒  กระบวนการบริหารและการจัดการ

ตัวชี้วัดที่ ๑ มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

ตัวชี้วัดที่ ๒   จัดครูให้เพียงพอกับชั้น  เรียน

ตัวบ่งชี้ที่ ๓   ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

ตัวชี้วัดที่ ๔  จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และเพียงพอ

ตัวชี้วัดที่ ๕ ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

ตัวชี้วัดที่ ๖   มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

เอกสารหลักฐาน

 -การประชุมกรรมการสถานศึกษา

-บันทึกการประชุม

-โครงการนิเทศภายในโรงเรียน

-โครงการพัฒนาบุคลกรในโรงเรียน

-แผนปฏิบัติการปฐมวัย

-หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย

-โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเด็กปฐมวัย

-โครงการปรับปรุงระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

มาตรฐานที่ ๓  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ 

ตัวชี้วัดที่ ๑  จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

ตัวชี้วัดที่ ๒  สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

ตัวชี้วัดที่ ๓  จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

ตัวชี้วัดที่ ๔  ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุง 

เอกสารหลักฐาน 

-แผนการจัดประสบการณ์

-บันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นรายบุคคล

-กิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย

-กิจกรรมทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

-วิจัยในชั้นเรียน

-บันทึกพัฒนาการเด็กปฐมวัย

-มุมประสบการณ์
- แบบบันทึกการพัฒนาการของเด็ก

- รายงานผลการประเมินตนเอง

- บรรยากาศ  ห้องเรียนแจ่มใส  มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้  การจัดกิจวัตรประจำวัน

-การจัดกิจวัตรประจำวัน
- ข้อมูลรายงานพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน 
- ผลงานเด็ก 

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

ประเด็นพิจารณา

โครงการ/กิจกรรม

หลักฐานเชิงประจักษ์/ผลงานโดดเด่น

๑. มีความสามารถในการอ่าน การเขียนการสื่อสาร และการคิดคำนวณ

-โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

- โครงการส่งเสริมการอ่านและการคิดวิเคราะห์ 

-. โครงการพัฒนาห้องสมุด

รายงานกิจกรรม/โครงการ

๑)นักเรียนร้อยละ ๗๘.๓๘ มีผลการประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน

- ผลการประเมินการอ่าน การเขียน

- แบบบันทึกการอ่าน

๒. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหา

- โครงการส่งเสริมการอ่านและการคิดวิเคราะห์ 

 

รายงานกิจกรรม/โครงการ

๑)นักเรียนร้อยละ ๗๕.๖๘   มีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ  คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุสมผล

- โครงงาน ผลงานนักเรียน

๓. มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

 

- โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา  จัดหาสื่อและผลิตสื่อการเรียน

 

รายงานกิจกรรม/โครงการ

๑)นักเรียนร้อยละ ๗๘.๓๘

มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ผลงานด้วยความภาคภูมิใจ

-ผลงานนักเรียน,นวัตกรรมของนักเรียน

๔. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

-โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

 

-รายงานกิจกรรม/โครงการ

๑)นักเรียนร้อยละ ๗๒.๙๗ สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน

-มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

๕. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

-โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

 

-รายงานกิจกรรม/โครงการ

๑)นักเรียนทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระเป็นไปตามเกณฑ์

-หลักสูตรสถานศึกษา

- ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้น

 ป.๑-๖

๖. มีผลการทดสอบระดับชาติ

 

-โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

 

- ผล NT , ผล O-Net

 

๗. มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

- โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
- โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

 

-รายงานกิจกรรม/โครงการ

-นักเรียนทุกคนมีทักษะในการทำงาน  รักการทำงาน  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต

-ภาพการทำขนม,การปลูกผัก,


ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

ประเด็นพิจารณา

โครงการ/กิจกรรม

หลักฐานเชิงประจักษ์/ผลงานโดดเด่น

๑. การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด 

โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

-รายงานกิจกรรม/โครงการ

๑)นักเรียนทุกคนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์

๒. ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

โครงการวันสำคัญ/กิจกรรมวิถีพุทธและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

รายงานกิจกรรม/โครงการ

๑)นักเรียนร้อยละ ๙๑.๘๙  ตระหนักรู้คุณค่าร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

- ภาพกิจกรรมการร่วมในวันสำคัญต่างๆ

๓. การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

รายงานกิจกรรม/โครงการ

๑)นักเรียนร้อยละ  ๙๑.๘๙   ยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง

 

๔. สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

 

 

โครงการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพพลานามัยนักเรียน

 

- แบบบันทึกน้ำหนัก/ส่วนสูงของนักเรียน

- แบบบันทึกนักเรียนรายบุคคล

- ภาพถ่าย

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

จากผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับ ดี เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เพิ่มสูงขึ้นอีกโรงเรียนมีแนวทางในการพัฒนาดังนี้

         ๑.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น

๒.การส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพและการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรม

          ๓.การพัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผลการนำไปใช้และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

          ๔.การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน

           ๕.ครูผู้สอนเข้ารับการพัฒนาด้านเทคนิคการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลทั่วไป

          โรงเรียนวัดเนินสูง (วิชัยนารายณ์ราษฎร์บำรุง) ที่ตั้ง ๖๗/๑ หมู่ ๑๒ ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑ โทรศัพท์ ๐๓๙ - ๔๘๐๓๖๘ Website www.nernsoongschool.com เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล ถึง ประถมศึกษา ปีที่ ๖ เนื้อที่ ๒ ไร่ ๒ งาน พื้นที่บริการ ๙ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ ๑ หมู่ ๒ หมู่ ๓ หมู่ ๖ หมู่ ๗ หมู่ ๘ หมู่ ๙ หมู่ ๑๐ และ หมู่ ๑๒ ผู้บริหารคนปัจจุบัน คือ นายสุธี พรมาธิ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ถึงปัจจุบัน โรงเรียนวัดเนินสูงฯ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๖ กิโลเมตร ห่างจากเทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์ ประมาณ ๓ กิโลเมตร สภาพชุมชนหมู่บ้านคลองนารายณ์เป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์ และ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองนารายณ์ มีประชากรหนาแน่นพอสมควร ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพ ทำสวนผลไม้ รับจ้าง ค้าขาย เป็นชุมชนที่สงบ ไม่มีแหล่งมั่วสุมยาเสพติด
การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์โรงเรียน

โรงเรียนวัดเนินสูง ฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น นักเรียนกล้าแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม มีความรู้และทักษะพื้นฐานสามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี มีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมคุณภาพ มีความรู้อย่างแท้จริง มีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาในการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิตโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพโดยครูและบุคลากรมืออาชีพ ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

พันธกิจ

๑. จัดการศึกษาระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา

๒. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา

๓. จัดภูมิทัศน์ในสถานศึกษา ให้มีสภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน

๔. ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๕. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

๖. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีไทยและท้องถิ่น

เป้าประสงค์

๑. นักเรียนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

๒. โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

๓. นักเรียนมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

๔. บุคลากรได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพ

๕. โรงเรียนมีภูมิทัศน์สวยงามและแหล่งเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างหลากหลาย

๖. โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการจัดการศึกษา

อัตลักษณ์ของโรงเรียน : ยิ้ม ไหว้ ทักทาย
ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 9 1 0 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

ระดับขั้นพื้นฐาน  ใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดเนินสูง (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๓) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
การศึกษาระดับปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ  ๔-๕ ปี  แบ่งเป็น ๒ ภาคเรียน ภาคเรียนละ  ๑๘ สัปดาห์ ประมาณ  ๑๘๐  วันต่อ ๑ ปีการศึกษา ในแต่ละวันใช้เวลาประมาณ ๕ ชั่วโมง โรงเรียนใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย  และคู่มือประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นหน่วยการเรียนรู้หน่วยละประมาณ ๑  สัปดาห์รวมเวลาตลอดปี ๓๖ สัปดาห์


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลอาคารสถานที่
๑) ที่ดิน มีจำนวนเนื้อที่ ๒ ไร่ ๒ งาน
๒) อาคารเรียน
๒.๑ อาคารเรียน ป.๑ ข ๑ / ๔ ขนาด ๔ ห้องเรียน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙
๒.๒ อาคารเรียน ๑๐๕ / ๒๙ ขนาด ๔ ห้องเรียน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙
๓) อาคารประกอบ
๓.๑ อาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง
๓.๒ ส้วม แบบ สปช. ๖๐๑ / ๒๖ ขนาด ๔ ที่นั่ง ๒ หลัง
๓.๓ ถังเก็บน้ำ
๓.๔ สนามเด็กเล่น 1 สนาม
3.5 สนามฟุตบอล 1 สนาม

หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายใน

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

๑.ห้องสมุด
๒.ห้องคอมพิวเตอร์
๓.ห้องพยาบาล
๔.สหกรณ์ร้านค้า
๕.แปลงปลูกผัก
๖.โรงอาหาร
๗.ห้องคอมพิวเตอร์
๘.สนามเด็กเล่น
๙.สนามกีฬา
๑๐.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์
๑๑.ห้องเรียนต่างๆ

๔๐
๒๐

๕๐
๔๐
๒๐๐
๔๐
๒๐๐
๒๐๐
๔๐
๔๐

 

 

 

 

 

 

 



แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน     

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

สถิติการใช้
จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

๑.ภาพจิตกรรมฝาผนังวัดเนินสูง
๒.โบราณสถานเมืองเพนียด
๓.พิพิธภัณฑ์ของโบราณวัดทองทั่ว
๔.ค่ายเนินวงพานิชนาวี
๕.อ่าวคุ้งกระเบน
๖.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองนารายณ์
๗.เทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์
๘.ชุมชนเก่าริมน้ำจันทบูร
๙.วัดชากใหญ่
๑๐.โอเอซิสซีเวิร์ด
ฯลฯ

5








หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1KnLdHPJzccLQ_0_Y5ACEUtXqf-nyuZys/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา            โรงเรียนวัดเนินสูง มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุกเดือน มีกิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวัน จัดหา อุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการจัดกิจกรรม/โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพพลานามัยนักเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองนารายณ์ ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถ ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน โดยการจัดกิจกรรมแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อนในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวม ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยจัดกิจกรรมวันสำคัญทางชาติ กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นวันพ่อ วันแม่ วันไหว้ครู วันเข้าพรรษา ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น อ่าน ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตน โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ มีการจัด มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆ มีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การตัด ฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
ผลการดำเนินงาน  

โครงการ/กิจกรรม

เป้าหมาย/ตัวชี้วัด

ผลการดำเนินงาน

ระดับการศึกษาปฐมวัย
ผลการประเมินมาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

เอกสารอ้างอิง
-โครงการส่งเสริมศักยภาพเด็กปฐมวัย
-แบบบันทึกน้ำหนักส่วนสูง
-แผนการจัดประสบการณ์
-แบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย(ด้านร่างกายและสุขนิสัยที่ดี)
-ภาพถ่ายกิจกรรมและการสัมภาษณ์เด็กและผู้เกี่ยวข้อง
- ผลงานเด็ก
-กิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหว
-กิจกรรมการเล่านิทาน
-กิจกรรมวันสำคัญ
-กิจกรรมนักวิทยาศาสตร์น้อย
-กิจกรรมทัศนศึกษา
-กิจกรรมสนับสนุนการแข่งขันทางวิชาการ

ตัวชี้วัดที่ ๑
- มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

๑. นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒-๓ ร้อยละ ๗๕.๘๖มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน
โรเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ได้แก่
- การเคลื่อนไหวร่างกายเคลื่อนที่ โดยมีอุปกรณ์ ,เลียนแบบท่าทางสัตว์ ทำท่าทางตามคำสั่ง ,กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง ,วิ่งเก็บของ,วิ่งซิกแซก,ขึ้น - ลงบันไดวิ่งหยุดทันที
-การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
-การทรงตัว ได้แก่ ยืนขาเดียว เดินต่อเท้าเดินหน้า ถอยหลัง
-การออกกำลังกายกลางแจ้งและเล่นเครื่องเล่นสนาม
-การออกกำลังกายยามเช้า

ตัวชี้วัดที่ ๒
-มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้

๒.นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒-๓ ร้อยละ ๙๓.๑๐ มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ ทางโรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ได้แก่
-สวดมนต์ไหว้พระ กิจกรรมสงบนิ่ง กล่าวคำปฏิญาณตนทุกวันศุกร์มีกิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ
-โครงงานคุณธรรมระดับชั้นอนุบาลได้แก่ โครงงานเก็บของให้เข้าที่ สร้างความมีระเบียบวินัยและ โครงงานหนูน้อยตาวิเศษ
-กิจกรรมหนูน้อยทำดีประเพณีวันสำคัญ
-กิจกรรมฟังนิทานก่อนนอน

ตัวชี้วัดที่ ๓
-มีพัฒนาการด้านสังคมช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดี
ของสังคม

๓.นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒-๓ ร้อยละ ๘๙.๖๖ มีพัฒนาการด้านสังคมช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
โรงเรียนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ได้แก่
-ช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การล้างมือ การล้างถาดอาหาร การล้างหน้าแปรงฟัน การแต่งตัว การเข้าห้องน้ำ การรับประทานอาหาร รู้จักช่วยเหลือและแบ่งปันมีน้ำใจ
-ร่วมกิจกรรมในวันแม่แห่งชาติ
-ร่วมกิจกรรมวันวิสาขบูชา
-ร่วมกิจกรรมวันเข้าพรรษา
-ร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ
-ร่วมกิจกรรมวันสุนทรภู่
-ร่วมกิจกรรมลอยกระทง
-ร่วมกิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ(open house)

 

ตัวชี้วัดที่ ๔
-มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

๔.นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒-๓ ร้อยละ 55.17 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้โรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ได้แก่
-การคิด หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์สิ่งของต่างๆ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดแก้ปัญหา
-การใช้ภาษาในการสื่อสาร ด้วยการฟัง การพูด การอ่านการเขียน
-การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ ได้แก่ การจำแนกเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง การจัดหมวดหมู่สิ่ง ของ และการเรียงลำดับสิ่งต่างๆ
-จำนวน ทั้งการนับจำนวนและการรู้ค่าของจำนวน
-มิติสัมพันธ์ คือ การเข้าใจและการอธิบายในเรื่องพื้นที่ ตำแหน่ง ระยะทาง
-เวลา ใช้ในการเปรียบเทียบเวลาต่างๆ เรียงลำดับเหตุการณ์ และความเข้าใจเกี่ยวกับฤดูกาล
โดยบูรณาการกับกิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรม

ระดับคุณภาพการศึกษาปฐมวัยมาตรฐานที่ ๒
กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
เอกสารอ้างอิง
-การประชุมกรรมการสถานศึกษา
-บันทึกการประชุม
-โครงการนิเทศภายในโรงเรียน
-โครงการพัฒนาบุคลกรในโรงเรียน
-แผนปฏิบัติการปฐมวัย
-หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
-โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเด็กปฐมวัย
-โครงการปรับปรุงระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

ตัวชี้วัดที่ ๑
-มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

 

 

๑.มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นใช้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช ๒๕๖๓
โรงเรียนวัดเนินสูง (วิชัยนารายณ์ราษฎร์บำรุง) ปรับปรุงหลักสูตรเมื่อ วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น
- วันสำคัญและวันสำคัญทางพุทธศาสนา
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมหลักของคนไทย

ตัวชี้วัดที่ ๒
- จัดครูให้เพียงพอกับชั้น เรียน

๒.จัดครูให้เพียงพอและเหมาะสมกับชั้นเรียนซึ่งครูมีวุฒิการศึกษา จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย ๑ คน และครูที่มีประสบการณ์สอนในระดับปฐมวัย ๑ คน ครบชั้นเรียน

 

ตัวบ่งชี้ที่ ๓
- ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

๓.โรงเรียนได้ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรให้เข้ารับการอบรมหลักสูตรดังนี้
๓.๑โครงการพัฒนาครู การอบรมออนไลน์
๓.๒การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดในชั้นเรียนปฐมวัยและกระบวนการ PLC เพื่อการเรียนรู้
๓.๓ อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๓
๓.๔อบรมเชิงปฏิบัติการผ่านระบบทางไกล(กลุ่มครูปฐมวัย)หลักสูตรการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ในระดับปฐมวัยโครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย (๓-๕ ปี)อย่างมีคุณภาพด้วยการจัดประสบการณ์เรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสะเต็มศึกษาในระดับปฐมวัย
๓.๕ การอบรมโครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” ครบรอบ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/13xD2NxlT7wbl2SaUwhQmEApP_JxUiXGS/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  
การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดเนินสูง ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่

- การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้

- การพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ สำหรับด้านระบบกลไก การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

- จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้ เช่น จัดให้ห้องเรียนมีคอมพิวเตอร์เพื่อให้เด็กได้ศึกษาหาข้อมูลทางโลกออนไลน์ จัดให้มีอุปกรณ์ ของเล่น ของใช้ เครื่องนอน เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พอเพียงกับเด็ก โดยจัดให้เหมาะสม สะอาด ปลอดภัย ให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก ให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม ที่เหมาะสมปลอดภัย จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน ล้างมือ ทำความสะอาดร่างกาย ห้องน้าห้องส้วม พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก

- มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น

- จัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย และมีครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัย ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง พัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง

- มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้

- มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง

- มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

- มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน  
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนวัดเนินสูงมีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช ๒๕๖๐ จัดประสบการณ์ในรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนว ๖ กิจกรรมหลัก ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิต ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น จากโครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ กิจกรรมบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน จัดให้มีครูสอนทุกชั้นเรียนในระดับปฐมวัย มีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัยและครูที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัยส่งผลให้ครูมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการออกแบบหลักสูตร การจัดประสบการณ์ การประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง จากโครงการพัฒนาบุคลากร กิจกรรม PLC ส่งผลให้ครูมีความเชี่ยวชาญในการจัดประสบการณ์

โรงเรียนวัดเนินสูง มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติและสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่น จากโครงการส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ กิจกรรมปรับปรุงสภาพแวดล้อมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ส่งผลให้โรงเรียนวัดเนินสูงมีสภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนรู้ ปลอดภัยและพอเพียง

การให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ โรงเรียนวัดเนินสูงมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเพียงพอ จากโครงการส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ กิจกรรมจัดหาสื่อการเรียนการสอนส่งผลให้โรงเรียนวัดเนินสูงมีการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ มีระบบการบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตร มีการประเมินผลการตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาติดตามผลการดำเนินงาน จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง จากโครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาส่งผลให้โรงเรียนวัดเนินสูงมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1zUeyr1Xvan5vdz-9vr-LqD7yMfYs3eud/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  
โรงเรียนวัดเนินสูงจัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข ภายใต้คำว่า เก่ง ดี มีสุข ประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้

- ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

- ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบ

- ด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่

- ด้านสติปัญญา มีความคิดรวบยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย

จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข

- จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน ห้องเรียนมีบรรยากาศ แจ่มใส กว้างขวางพอเหมาะ

- มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน

- การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน

ผลการดำเนินงาน  
โรงเรียนวัดเนินสูงจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ จัดประสบการการเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆด้านให้เหมาะสมกับวัย ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานเด็กปฐมวัย กิจกรรมเปิดบ้านอนุบาล (Open House) กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ส่งผลให้เรียนวัดเนินสูงมีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

โรงเรียนวัดเนินสูงได้จัดประสบการการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรงจากการเรียนผ่านการเล่นโดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม ส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย มีกระบวนการ การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการจัดกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานเด็กปฐมวัย กิจกรรมเรียนรู้โลกกว้าง กิจกรรมเปิดบ้านอนุบาล(Open House) กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/13IeojDboDGdtCpVH5615-4GrrcBvRL-y/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
- ด้านคุณภาพของเด็ก ได้มีการพัฒนาการเด็กทั้ง ๔ ด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และสติปัญญา

- ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ จัดให้ครูมีเพียงพอกับชั้นเรียน จัดสภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนรู้และจัดให้มีสื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้สนับสนุนการจัดประสบการณ์

- การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นอย่างมีความสุข มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ซึ่งผลการประเมินสรุปได้ว่า ดีเลิศ
 
- ด้านคุณภาพของเด็ก เด็กมีการพัฒนาการเด็กทั้ง ๔ ด้าน ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมอย่างสมดุล

- ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ มีครูเพียงพอกับชั้นเรียน มีสภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนรู้ เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้สนับสนุนการจัดประสบการณ์อย่างเพียงพอ

- การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นอย่างมีความสุข มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ประเมินเด็กได้อย่างหลากหลาย
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1xNG1wQUU4PpE0qM8fiiUvJRCsoClHqIX/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา            โรงเรียนวัดเนินสูง มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียนและเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนโดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมองแบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลักและเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดโดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีการสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียนใช้สื่อเทคโนโลยีการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูลได้แก่ ห้องสมุด ครูจัดทำแผนการการจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน
ผลการดำเนินงาน  
ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและมีความรู้ทักษะพื้นฐานเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

ภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียนสถานศึกษาได้มีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลย้อนหลังเป็นฐานตั้งเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในด้านการอ่านการเขียนและการคิดคำนวณ ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ จัดแหล่งเรียนรู้ให้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีสุขภาพกายสุขภาพจิตดี มีความกล้าแสดงออกและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เน้นทักษะการทำงานร่วมกัน ทำให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด จากการประเมินผลการอ่าน คิดวิเคราะห์และการเขียนของนักเรียนจำนวน ๑๐๑ คน อยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน ๔๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๕๔ อยู่ในระดับดี จำนวน ๓๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๓,๖๖ อยู่ในระดับผ่านจำนวน ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๘๐ และอยู่ในระดับไม่ผ่านจำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๐๙

ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ทั้ง ๘ สาระวิชา (พื้นฐาน) ผลปรากฏว่า มี ๓ สาระวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าที่สถานศึกษากำหนด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ส่วนอีก ๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าที่สถานศึกษากำหนด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางโรงเรียนจะดำเนินการวางแผนพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1pLXM9TWega28J_Q1PBfYVNML0yIvRwHz/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนวัดเนินสูงได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนเพื่อให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนและตามนโยบายของผู้บริหารเรื่อง ส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้เรียนมุ่งเน้นคุณธรรมความรู้และใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการจัดอบรมคุณธรรมให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น จัดกิจกรรมการพัฒนาให้เหมาะสมกับวัย พัฒนาคุณธรรมผู้เรียนตามหลักสูตร เน้นให้ผู้เรียนมีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ มีระบบการแนะแนวและการดูแลสุขภาวะจิต นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอนและมีการเรียนรู้ในโลกกว้าง การเข้าไปศึกษากับภูมิปัญญาในชุมชนรอบๆ โรงเรียนวัดเนินสูงจัดกิจกรรมห่วงใยใส่ใจสุขสุขภาพ ให้ความรู้ในเรื่องพิษภัยจากขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน น้ำอัดลม ส่งเสริมการออกกำลังกายและเข้าโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลาการเรียนรู้ จัดกิจกรรมที่หลากหลาย ในด้านของการป้องกันดูและตนเองให้ปลอดจากยาเสพติดนั้น ทางสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองจันทบุรี ได้ประสานงานมาทางโรงเรียนในการส่งเสริมเจ้าหน้ามาให้ความรู้ในเรื่องของยาเสพติดและการป้องกันตอนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติด
ผลการดำเนินงาน  

ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนดและมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย นักเรียนโรงเรียนวัดเนินสูงร้อยละ ๑๐๐ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1rgWtB78a12Y-jkuQEcq5zh-xHEFfiQLg/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดเนินสูงได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาและจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในโรงเรียนเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาพร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน ผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน  
๒.๑. สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา มีนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

๒.๒. แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ตามความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นและสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายมีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้เชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัยนำไปประยุกต์ใช้ได้ มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีการจัดกิจกรรม จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้แนวทางการปฏิรูป

๒.๓. สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยผู้มีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

๒.๔. ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

๒.๕. โรงเรียนวัดเนินสูงมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสมเป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

๒.๖. โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาลและแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1KAWisSiaCxdV1gWfynMm5WBQv8lzsbJP/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนวัดเนินสูง ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.๒๕๖๐) ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูผลิตนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานจัดการเรียนการสอน DLTV/DLIT ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่า (โควิด-19)
ผลการดำเนินงาน  โรงเรียนได้ดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลายมุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริงสรุปความรู้ด้วยตนเอง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู่ที่ลึกซึ้งตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ จัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิด เช่น การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีงานวิจัยในชั้นเรียนปีละ ๑ เรื่อง ครูดำเนินการตรวจสอบและการวัดผลประเมินผลนักเรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียนรวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการPLC ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้การจัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกเพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับครู ครูกับเด็ก เด็กกับเด็ก ครู จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครูการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานที่ ๓ อยู่ในระดับ ดีเลิศ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/11VFvW3K1gEDOJKjfGI9xIcHwZzuR6CzO/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
คุณภาพของผู้เรียน

สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิต ดี กล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

กระบวนการบริหารและการจัดการ

โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่กำหนดไว้ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนตามความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของแผนการจัดการศึกษาของชาติ นโยบายของรัฐบาลและต้นสังกัด ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม พัฒนางานวิชาการเน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษา และส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญตรงตามความต้องการ ให้เป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน

กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้ จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชนท้องถิ่น จนมีผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับดี พัฒนาการของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติสูงขึ้น ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและการเขียน การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความสามารถในการคิดคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดี และมีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏอย่างชัดเจน ดังที่ปรากฏผลการประเมินในมาตรฐานที่ ๑

ด้านกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษามีผลประเมินในรายมาตรฐานอยู่ในระดับ ดี สถานศึกษามีการวางแผนออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนาและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา ตรวจสอบผลการดำเนินงานและการปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีผลประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ วิเคราะห์ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตรและบริบทของสถานศึกษา พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้ ติดตาม ตรวจสอบและช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหารายบุคคล และการประเมินผลจากสภาพจริงในทุกขั้นตอน สถานศึกษาดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นขั้นตอน จนเกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนมีผลประเมินอยู่ในระดับดี โดยสถานศึกษาให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อเกิดความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดีและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาในระดับสูง
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/10kzHIfpRC98dmpsGlgiolytQ6GNNKFUG/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1cmJMHkXH8oDm82UxHTUXEewNACxqDSZs/view?usp=sharing