บทสรุปผู้บริหาร
ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนวัดวังหิน(เจียงบรรจงราษฎร์นุเคราะห์)
ตั้งอยู่ ๖๓/๓ หมู่ที่ ๖ ตำบล วังโตนด
อำเภอ นายายอาม จังหวัด จันทบุรี ๒๒๑๗๐ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๒ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โดยมีนายอุทิศ แสงผ่อง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
วุฒิการศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๙-๙๓๙๙๗๕๓ ปัจจุบันมีจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมด ๑๑ คน แยกเป็นผู้บริหาร ๑ คน ข้าราชการครู ๖ คน ครูอัตราจ้าง ๒ คน นักการภารโรง ๑ คน เจ้าหน้าที่ธุรการ
๑ คน จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๘๔ คน แยกเป็นนักเรียนปฐมวัย ๒๒ คน นักเรียน
ชั้นประถมศึกษา ๖๒ คน (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔)
ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนวัดวังหิน(เจียงบรรจงราษฎร์นุเคราะห์) ระดับปฐมวัย ในภาพรวม
อยู่ในระดับ ดี โดยมีกระบวนการพัฒนาและผลการดำเนินงานในแต่ละมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
มาตรฐานที่ ๑
คุณภาพของเด็ก ระดับคุณภาพ : ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนวัดวังหินฯ มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย
ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี
และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ
ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ
มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ ๒ ครั้ง
มีกิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวัน จัดหา อุปกรณ์
ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา
ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถ
สนับสนุนให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับอำเภอ
มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม
ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย
ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรมด้วยกิจกรรม
มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง
ๆ รอบตัว มีการจัดกิจกรรมหนูรักการอ่าน เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา
ผลการดำเนินงาน
- รายงาน สรุป โครงการ/กิจกรรม
- เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ ดี
และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ร้อยละ ๑๐๐
- เกียรติบัตร/เหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาระดับต่างๆ
- เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ร้อยละ ๙๕.๔๕
สังเกตได้จากการกล้าพูด กล้าแสดงออก รู้จักเข้าแถว รอคิว ในการรับประทานอาหาร
รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในและนอกห้องเรียน ตามเขตพื้นที่รับผิดชอบ
ร่าเริง แจ่มใส
- เด็กมีพัฒนาด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ได้ร้อยละ
๙๕.๔๕ สังเกตได้จากการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
รู้จักเก็บสิ่งของเครื่องใช้ ทั้งของส่วนตัวและส่วนรวม รู้จักยิ้ม ทักทาย
อยู่เป็นนิจ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
- เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน
และแสวงหาความรู้ได้ คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๘๒
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ : ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดวังหินฯ ได้มีการกำหนดเป้าหมาย
วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน
มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่
การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น
พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน
ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา
เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ สำหรับด้านระบบกลไก
การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
ผลการดำเนินงาน
- แผนปฏิบัติการ
หลักสูตร
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
- รายงานผลการเข้าร่วมอบรมพัฒนาของครูและบุคลากร
- โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางกายภาพให้เอื้อต่อการเรียนรู้
- โครงการศึกษานอกห้องเรียน
- โครงการจัดหา/จัดทำเครื่องเล่นสนาม
-
แผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
- รายงานผลการประเมินตนเองประจำปี
มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ : ดี
กระบวนการพัฒนา
จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ
ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม
จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต
ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข ภายใต้คำว่า เก่ง ดี มีสุข
ประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น
เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย
อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆ ด้านให้เหมาะสมกับวัย
ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ
เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ
รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้าน
รู้จักการแก้ปัญหา
สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียนและปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน
ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก
โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา
ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี
มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน
- มุมประสบการณ์
- การจัดกิจวัตรประจำวัน
- รายงานผลการประเมินตนเอง
- แบบบันทึกการพัฒนาการของเด็ก
- บรรยากาศ ห้องเรียนแจ่มใส มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้
ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนวัดวังหิน(เจียงบรรจงราษฎร์นุเคราะห์) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม
อยู่ในระดับ ดี โดยมีกระบวนการพัฒนาและผลการดำเนินงานในแต่ละมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก ระดับคุณภาพ : ดี
กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนวัดวังหินฯ
มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน
เป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรที่มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนโดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบลงมือปฏิบัติจริง
พัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออก อ่านคล่อง และเขียนคล่อง
ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลและพัฒนาตนเอง นอกจากนี้โรงเรียนได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนเพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
มุ่งเน้นการพัฒนาด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม อยู่
และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด โดยอาศัยความร่วมมือระหว่าง ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรหน่วยงานอื่นๆ ๆ ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาสิ่งเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ ด้วยกีฬา และการทำความดี ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ จัดกิจกรรมห้องสมุดและให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ต่าง
ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาและเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นทีม มีลักษณะผู้นำและผู้ตามที่ดี ส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
โดยใช้โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน รู้จักเคารพกฎกติกา มารยาทของสังคม
รู้และเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น มีจิตสาธารณะ
ผลการดำเนินงาน
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย ๖
กลุ่มสาระวิชาสูงกว่า ร้อยละ ๕๐ ได้แก่
วิชาภาษาอังกฤษ สูงกว่าร้อยละ ๖๐ ได้แก่ วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม สูงกว่าร้อยละ ๗๐ ได้แก่ วิชาศิลปะ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีมี
สูงกว่าร้อยละ ๘๐ ได้แก่ วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตตระดับผ่านขึ้นไป ร้อยละ ๑๐๐
ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ ๗๐.๑๙
ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ ๙๕.๑๖
ผลการทดสอบความสามารถการอ่าน RTรวมทั้ง ๒ ด้าน ได้คะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน สูงกว่า ร้อยละ ๖๐
ผลการสอบระดับชาติ NT รวมทั้ง ๒ ด้าน
ได้คะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน ร้อยละ ๔๘.๖๒ ผลการสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์
ได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับ สพฐ. และระดับประเทศ นักเรียนมีทักษะในการทำงานเป็นทีม
ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
มีลักษณะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี รักการทำงาน มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ค้นหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองสนใจ
นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา และร่วมการพัฒนาวัดวังหินฯ
ให้มีความสะอาด เพื่อปลูกฝังจิตสำนึก และมีจิตสาธารณะ นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมอันพึงประสงค์ มีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น
มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ
และมีความตระหนักรู้คุณค่าร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน
นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด มีทักษะในการฟัง
พูด อ่าน เขียน และตั้งคำถาม และสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และสืบค้นหาข้อมูล
นักเรียนมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัย
มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน
มีความรู้ความสามารถป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงตนเองจากสภาวะเสี่ยงต่อความรุนแรง
โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ และเห็นคุณค่าในตัวเอง
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ : ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนวัดวังหินฯ
เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีบุคลากรน้อย ได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา
ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในโรงเรียนเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย
ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา
แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
โดยพัฒนาวิชาการเน้นผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ สนับสนุนการอบรม สัมมนา เพื่อพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ
และส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรในโรงเรียน เพื่อการเรียนการสอน
พร้อมจัดปัจจัยพื้นฐาน บุคลากร อุปกรณ์ ครุภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวก
เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน โดยมีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม
ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม
และชัดเจน
ผลการพัฒนา
๒.๑
โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของโรงเรียน
๒.๒
แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียน
มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒.๓
โรงเรียนมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา (แผน ๓ ปี) แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนา
และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
๒.๔
ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
และรับทราบรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา
๒.๕ โรงเรียนมีการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหาร และการจัดการศึกษาที่เหมาะสมและต่อเนื่อง
๒.๖
โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและยึดหลักธรรมาภิบาล
แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
มาตรฐานที่ ๓
กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ : ดี
กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนวัดวังหินฯ
มีคณะครูที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการพัฒนาการเรียนการสอนโดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ที่เน้นกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
มีการใช้สื่อ ICT ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของ
ครูเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนของ DLTVและ DLIT ที่มีความสอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู
และเป็นการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูอีกทางหนึ่ง
มีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตร ปรับโครงสร้างรายวิชา
สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย
กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพการสอนอย่างสม่ำเสมอ
และมีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนปีการศึกษาละ ๑ เรื่อง
ผลการดำเนินงาน
จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อพัฒนาให้ครูการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการจัดกิจกรรมผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง
และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
คณะครูมีการประชุมวางแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ
คณะครูมีการประชุมร่วมกันพัฒนาการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้
มีการผลิตสื่อนวัตกรรมให้ทันสมัยและสอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
มีกระบวนการฝึกทักษะ การแสดงออก การนำเสนอผลงาน การทำงานเป็นกลุ่ม
การสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประเมินผู้เรียนจากสภาพจริง ด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย
ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนและผู้เรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง
จัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ครูและผู้เกี่ยวข้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้