รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดหนองสีงา

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ผลการดำเนินงานของโรงเรียนวัดหนองสีงา(ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์) ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ตามมาตรฐานการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับ ดี

- ผลการประเมินมาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับ ดี

- ผลการประเมินมาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดี

- ผลการประเมินมาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดี

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

หลักฐานสนับสนุนผลการดำเนินงาน

๑. เอกสารในชั้นเรียนผลการประเมินนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑ - ๖

๒. แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจา ปี งบประมาณ โครงการ/กิจกรรม

๓. หลักสูตรสถานศึกษา และแผนการจัดการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมของโรงเรียน

๔. บันทึกรายงานการประชุม คำสั่ง

๕. ความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

แนวทางการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

๑. พัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับ มอบหมายติดตามผลการนำไปใช้และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

๒.ส่งเสริมให้ครูการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น

๓. การส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ

๔การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน

๕. พัฒนาสถานศึกษาไปสู่สถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้สถานศึกษาเป็นต้นทางของการพัฒนานักเรียนและชุมชนให้เป็นบุคคลพอเพียง และชุมชนพอเพียง เพื่อนำไปสู่การชีวิตที่มีความสุขบนรากฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนต่อไป

๖. สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา โดยการสำรวจนักเรียนในเขตบริการทั้งเด็กปกติ เด็กด้อยโอกาสเด็กพิการให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ข้อมูลทั่วไป                                                                                                                                                                                     ชื่อโรงเรียนวัดหนองสีงา(ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์)ที่อยู่ ๓๙ ม.๓ ต.วังใหม่ อ.นายายอาม จ.จันทบุรี                                 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑ โทรศัพท์ ๐๓๙-๓๙๕๓๕๒                                                           เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

สภาพชุมชนโดยรวม

๑) สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะชุมชนชนบท มีประชากรประมาณ ๕๘๐ ครอบครัว บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ วัด, บ้านเรือน อาชีพหลักของชุมชน คือ กสิกรรม ทำสวนยางพารา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณี / ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ หลอมรวมแบบวัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีเข้าพรรษาและออกพรรษาประเพณีบวชนาค

๒) ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป (๗๕ %) มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัวต่อปี ๙๐,๐๐๐ – ๑๐๐,๐๐๐ บาทจำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว ๓ คน

๓) โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน

โรงเรียนวัดหนองสีงาฯ เป็นโรงเรียนที่อยู่ในชุมชนบ้านวังกระดานและมีอาณาเขตติดกับวัดหนองสีงา ในแต่ละปีจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา งานที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและวัฒนาธรรมไทยอยู่เสมอๆ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนั้นเกิดจากความร่วมมือระหว่างบ้าน วัดโรงเรียนและชุมชน โดยการร่วมคิด ร่วมมือร่วมแรง ร่วมใจ ระหว่างผู้นำชุมชน ประชาชนในชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น คณะครูและนักเรียนทำให้การดำเนินกิจกรรมสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเสมอมาโดยเฉพาะพระครูวิสุทธิ์ธีรธรรม เจ้าอาวาสวัดหนองสีงา ฐานะที่ท่านเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลเป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์โรงเรียนเป็นอย่างดียิ่ง ทำให้โรงเรียนวัดหนองสีงาฯ สามารถจัดกิจกรรมได้สำเร็จ อย่างไรก็ตามโรงเรียนวัดหนองสีงา มีความพยายามที่จะดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างรวดเร็ว

ข้อจำกัดของโรงเรียนวัดหนองสีงาฯ อีกประการหนึ่ง คือผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง จึงไม่ค่อยมีเวลาดูแลนักเรียนในเรื่องการอบรมเลี้ยงดูทำให้ผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในภาพรวม ยังต้องมีการพัฒนาต่อไป และผู้ปกครองบางส่วน ย้ายถิ่นฐานบ่อยนักเรียนต้องย้ายติดตามจึงเป็นอุปสรรคสำหรับครูผู้สอนที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การบริหารจัดการศึกษา

โรงเรียนวัดหนองสีงา(ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์) การบริหารงานในโรงเรียนที่เป็นนิติบุคคลเป็นลักษณะการบริหารแบบมีส่วนร่วมซึ่งทุกคนรับหน้าที่การบริหารงาน คือ แบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น ๔ ด้านได้แก่ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป ผู้บริหารยึดหลักการบริหาร/ เทคนิคการบริหารแบบ การพัฒนาตามกระบวนการ P D C A การบริหารมีการประชุม,ปรึกษาหารือ,มีคำสั่งรองรับการทำงาน, มีหนังสือแจ้งเรียนสำหรับสั่งการเร่งด่วน, มีการเกษียนงานสั่งการในภารกิจจร , มีการประชุมประจำเดือน, ประชุมวิชาการ ประชุมพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน (โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการระดับสถานศึกษา) มีการประชุมกรรมการสถานศึกษาภาคเรียนละไม่น้อยกว่า ๒ครั้ง มีการประชุมตามโครงการที่จัดทำ และการแจ้งผลการประชุมจากหน่วยงานต่างๆครูทุกคนมีส่วนร่วม


 


 

 

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

    ปรัชญาและวิสัยทัศน์โรงเรียนวัดหนองสีงา (ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์)

โรงเรียนวัดหนองสีงา (ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์)ได้กำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจเป้าหมายและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนไว้ดังนี้

 

    วิสัยทัศน์

โรงเรียนวัดหนองสีงา (ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์) จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณธรรมนำ ความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างมีคุณภาพและมีมาตรฐานโดยชุมชนร่วมพัฒนา

    พันธกิจ

1. จัดการศึกษาให้กับประชากรในวัยเรียนได้เข้าเรียนอย่างทั่วถึง2. จัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา 3. จัดการเรียนรู้คู่คุณธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง4. ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน

    เป้าประสงค์

1. นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามหลักสูตร

2. นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสจากการจัดการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพ

4. โรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่เข้มแข็ง เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

5.มีการบริหารจัดการศึกษาที่เข้มแข็งและส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 2 1 2 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

โรงเรียนวัดหนองสีงา(ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์) ปีการศึกษา 2563

โรงเรียนวัดหนองสีงา(ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์)จัดการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 โรงเรียนได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา จัดสัดส่วนสาระการเรียนรู้และเวลาเรียนดังแสดงในตารางต่อไปนี้

กลุ่มสาระการเรียน/กิจกรรม

เวลาเรียน

ประถมศึกษา

ป.1

ป.2

ป.3

ป.4

ป.5

ป.6

กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

200

200

200

160

160

160

คณิตศาสตร์

200

200

200

160

160

160

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

80

80

80

80

80

80

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

80

80

80

80

80

80

ประวัติศาสตร์

40

40

40

40

40

40

สุขศึกษาและพลศึกษา

80

80

80

80

80

80

ศิลปะ

80

80

80

80

80

80

การงานอาชีพ

40

40

40

80

80

80

ภาษาต่างประเทศ

40

40

40

80

80

80

รายวิชาเพิ่มเติม

วิชาการป้องกันการทุจริต

40

40

40

40

40

40

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

120

120

120

120

120

120

รายวิชา/กิจกรรมที่สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้น

40

40

40

40

40

40

รวมเวลาเรียนทั้งหมด

1,000

1,000


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลด้านอาคารสถานที่

 อาคารเรียนและอาคารประกอบ ๕ หลังได้แก่อาคารเรียน ๒ หลัง

โรงอาหาร ๑หลัง บ้านพักครู ๒หลัง สนามบาสเกตบอล ๑ สนาม

จำนวนห้องเรียนทั้งหมด ๘ ห้องเรียน

 

ชั้นอนุบาล ๒ = ๒ ห้องเรียน

ชั้น ป.๑ ป.๖= ๖ ห้องเรียน


หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการใช้

    ๑) ห้องสมุดมีขนาด ๕๔ ตารางเมตรจำนวนหนังสือในห้องสมุด ๕00 เล่ม การสืบค้นหนังสือและการยืม คืน ใช้ระบบยืม – คืนจากเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์

จำนวนนักเรียนที่ใช้ห้องสมุดในปีการศึกษาที่รายงานเฉลี่ย ๔ คนต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 1๕.38 ของนักเรียนทั้งหมด

    ๒) ห้องปฏิบัติการ

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน ๑ ห้อง

    ๓) คอมพิวเตอร์ จำนวน ๑๖ เครื่อง

ใช้เพื่อการเรียนการสอน ๖เครื่อง ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ๖เครื่อง

จำนวนนักเรียนที่สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตในปีการศึกษาที่รายงานเฉลี่ย18ของนักเรียนทั้งหมด ใช้เพื่อการบริหารจัดการ ๒เครื่อง

    ๔) แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

 

แหล่งเรียนรู้ภายใน

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

. ห้องสมุด

. ห้องคอมพิวเตอร์

๓. ห้องวิทยาศาสตร์

๔. ห้องดนตรี

๕. ห้องเกษตรกรรม

๖. ห้องคหกรรม

๗. สวนสมุนไพร

๘. สหกรณ์โรงเรียน

๙. สนามเด็กเล่น

๑๐. ห้องน้ำห้องส้วม

๑๑. รอบ ๆ บริเวณโรงเรียน

๑๒. อาคารเรียนและอาคารประกอบต่าง ๆ


 แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

สถิติการใช้

จำนวนครั้ง/ปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

๑. วัดหนองสีงา

๒. ศูนย์ศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน

๓. หาดคุ้งวิมาน

๔. องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่

๕. ทุ่งนา

๖. สวนยางพารา

๗. สวนผลไม้

 

 

     ๖) ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ผู้ทรงคุณวุฒิที่สถานศึกษาเชิญมาให้ความรู้แก่ครู นักเรียน ในปีการศึกษาที่รายงาน

๖.๑) นายนริศ กิจอุดม ให้ความรู้เรื่อง การเมือง การปกครอง กฎหมายน่ารู้สถิติการให้ความรู้ในโรงเรียนแห่งนี้ จำนวน 4 ครั้ง/ปี

๖.๒) นายชาติชายวรพิพัฒน์ ให้ความรู้เรื่อง การเล่นกีฬาฟุตบอล ในโรงเรียนแห่งนี้ จำนวน20 ครั้ง / ปี

 


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

 

วิธีการพัฒนา/ผลที่เกิดจากการพัฒนา

โรงเรียนวัดหนองสีงา ฯ มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง ๔ ด้าน ด้วยรูปแบบและวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ดังนี้

ด้านร่างกาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ ๒ ครั้ง มีกิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวัน จัดหา อุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดี มีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหม่ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถ สนับสนุนให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับโรงเรียน

ด้านอารมณ์-จิตใจ ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น อ่าน ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตน

ด้านสังคม ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน โดยการจัดกิจกรรมแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อนในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวม ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยจัดกิจกรรมวันสำคัญทางชาติ และกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันพ่อ วันแม่ วันไหว้ครู วันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา เป็นต้น

ด้านสติปัญญาส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ มีการจัดมุมประสบการณ์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกทักษะการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การคิดวิเคราะห์ ด้านภาษา มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ครูและเพื่อนฟัง มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆมีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การตัด ฉีก ตัด ปะ กระดาษ การปั้นดินน้ำมัน ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ การศึกษาแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก และฝึกแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง


 

ผลการดำเนินงาน  

ด้านร่างกาย เด็กมีร่างกายแข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

ด้านอารมณ์-จิตใจ ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี

ด้านสังคม ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน

ด้านสติปัญญาส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1oc-bewcU-7stdNDVJZzo4zpL6in4ybvF/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

วิธีการพัฒนา

การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดหนองสีงา ฯ ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจนมีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย ได้แก่การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖ ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญาเพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพสำหรับด้านระบบกลไกการเสริมสร้างความตระหนักรับรู้และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาโดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

โรงเรียนวัดหนองสีงา ฯ ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคมและสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้ เช่นจัดให้มีห้องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เด็กได้ศึกษาหาข้อมูลทางโลกออนไลน์ จัดให้มีอุปกรณ์ ของเล่นของใช้ เครื่องนอน เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พอเพียงกับเด็ก โดยจัดให้เหมาะสม สะอาดปลอดภัยให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก ให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นน้ำ เล่นทรายที่เหมาะสมปลอดภัย จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน ล้างมือทำความสะอาดร่างกายห้องน้าห้องส้วมพร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัยและมีครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัย ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องrพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่มมีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชนมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนดมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน  

ผลที่เกิดจากการพัฒนา

คอยสนับสนุนต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญาเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขและเข้าใจต่อยอดจากความรู้เดิมได้มากขึ้นมีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม การเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ เข้าทันสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมเพื่อให้ได้สิ่งที่ดียิ่งขึ้นไป

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

วิธีการพัฒนา

จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข บูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบ ด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่

ด้านสติปัญญา มีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน

ห้องเรียนมีบรรยากาศ แจ่มใส กว้างขวางพอเหมาะ มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจ และการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนดมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน  

ผลที่เกิดจากการพัฒนา

เกิดการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจสังคม และสติปัญญา มีความรู้คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข บูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1Sv2jIsd4LBS6I5rhYLDFihRbIzX5Dgge/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 มาตราฐานที่ 1
ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ ๒ ครั้ง มีกิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวัน จัดหา อุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดี มีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก
    ด้านอารมณ์-จิตใจ
   สร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน
    ด้านสังคม
    ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน
     ด้านสติปัญญา
     เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ มีการจัดมุมประสบการณ์ต่างๆ
มาตราฐานที่ 2
   พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ สำหรับด้านระบบกลไก การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัยเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย และมีครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัย
มาตราฐานที่ 3
       จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญาเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย และมีครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัย
  จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต บูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขห้องเรียนมีบรรยากาศ แจ่มใส กว้างขวางพอเหมาะ มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจ และการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
          มาตราฐานที่ 1 
- เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

         มาตราฐานที่ 2 

- มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

- ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ

         มาตราฐานที่ 3 

- เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล

- เด็กเรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม

- สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้

- ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1qUbMUBBBE2wIc-lyy22LZQVH7DwaIoHk/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

. กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนวัดหนองสีงา(ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์) มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน และเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป.๑ พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีการสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน  ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน  มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล  ได้แก่ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ ครูผู้สอนร่วมกันวางแผนกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้  การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ  เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน  การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณที่ดี

ผลการดำเนินงาน  ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสาร และมีความสามารถคิดคำนวณได้ดี รู้จักการวางแผนสามารถทำงานร่วมกับผู้อ่านได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

๑. จำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ ร้อยละ ๗๘ ของจำนวนนักเรียนระดับดีขึ้นไป ที่มีผลการประเมินความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ

 

๒. จำนวนนักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา ร้อยละ ๗๙.๘ ของจำนวนนักเรียนระดับดีขึ้นไป มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา

 

๓. จำนวนนักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมร้อยละ ๘๕.๔ ของจำนวนนักเรียนระดับดีขึ้นไป มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

 

๔. จำนวนนักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารร้อยละ ๙๙ ของจำนวนนักเรียนระดับดีขึ้นไป มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

๕. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา เฉลี่ยร้อยละ ๑๐๐ มีผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติดีขึ้น เช่น                                                                                        ผลการประเมินการทดสอบความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ มีค่าเฉลี่ย ๖๓.๒๕                                                                                                                          ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ มีค่าเฉลี่ย ๓๘.๙๓

๖. จำนวนนักเรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ร้อยละ ๙๕.๖๘ ของจำนวนนักเรียนระดับดีขึ้นไป มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

 


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://1drv.ms/b/s!AjOyCrQ6bBLax0fc8D2TQ7uIFmqS?e=ZC3aju
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดหนองสีงา(ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์) ได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนจัดกิจกรรมการพัฒนาให้เหมาะสมกับวัย สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมาทั้ง ๘ กลุ่มสาระ ตลอดปีการศึกษามาประยุกต์ใช้จริงในการจัดกิจกรรมค่ายบูรณาการให้เหมาะสมกับวัยพัฒนาคุณธรรมผู้เรียนตามหลักสูตร เน้นผู้เรียนมีวินัยซื่อสัตย์รับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติด สามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละหนึ่งประเภท ยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษาของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัย

ผลการดำเนินงาน  

๑. นักเรียน มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด มีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม ในภาพรวมอยู่ในระดับดี เฉลี่ยร้อยละ ๘๗.๕๐ โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมสวดมนต์ นั่งสมาธิทุกเช้าก่อนเข้าเรียน กิจกรรมวันสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี มีการประเมินผลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร

๒. นักเรียน มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย เห็นคุณค่าของความเป็นไทย และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย ในภาพรวมเฉลี่ยร้อยละ ๙๘.๖๗ โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมวันสำคัญของชาติ วัฒนธรรมและประเพณีไทย ให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมอยู่เสมอ เช่น กิจกรรมวันไหว้ครู กิจกรรมวันแห่เทียนจำนำพรรษา กิจกรรมวันภาษาไทย กิจกรรมวันแม่ กิจกรรมประเพณีวันลอยกระทง เป็นต้น

๓. นักเรียน ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านเพศวัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณี ในภาพรวม ร้อยละ ๑๐๐ โรงเรียนวัดหนองสีงามีนักเรียนที่หลากหลาย ทั้งทางด้านเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เช่น มีเด็กกัมพูชาเข้าร่วมเรียนด้วยหลายชั้นเรียน และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลได้

๔. นักเรียน มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์และสังคม แสดงออกได้อย่างเหมาะสมกับช่วงวัย และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น เฉลี่ยร้อยละ ๙๘.๕๐ โรงเรียนมีการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันครบตามหลักโภชนาการ มีการจัดอาหารเสริมนมให้นักเรียนได้ดื่มครบทุกคน มีกิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปี และมีกิจกรรมให้นักเรียนได้ร่วมแสดงออกทั้งความสามารถและทักษะ เช่น กิจกรรมแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียน ระดับอำเภอ กิจกรรมวันส่งท้ายปี เก่าต้อนรับปี ใหม่ กิจกรรมวันเด็ก กิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการ เป็นต้น


 



 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://1drv.ms/b/s!AjOyCrQ6bBLax0r3AdvsmJNH3RFS?e=9aWWr2
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา   โรงเรียนวัดหนองสีงา(ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์)ได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาพร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน ผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน  

๑. สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นและสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

๒. แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วนทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนใฝ่เรียนรู้

๓. สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ

๔. ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษามีส่วนร่วมในการร่วมว่างแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

๕. สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสมเป็นระบบและต่อเนื่องเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

๖. สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัญญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา

๗. สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากเครือข่ายอุปถัมภ์ ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

๘. การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวนครั้งที่ครูได้รับการอบรมพัฒนาทางวิชาชีพ จำนวน ๒ คนมากกว่า ๒ครั้ง/ภาคเรียน ร้อยละ ๑๐๐ ระดับคุณภาพ๕ ครูและบุคลากรสนับสนุนทุกคนได้รับการอบรมตรงตาม/สอดคล้องกับหน้าที่ที่ปฏิบัติอย่างน้อย ๒๐ชั่วโมงต่อปีการศึกษา

๙. การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อบต.วังใหม่ ครั้ง/ภาคเรียน ร้อยละ ๑๐๐ ระดับคุณภาพ ๕ การประชุมกรรมการสถานศึกษา ๒ ครั้ง/ภาคเรียน ร้อยละ ๑๐๐ ระดับคุณภาพ ๕ การประชุมผู้ปกครองนักเรียน ๑ครั้ง/ภาคเรียน ร้อยละ ๑๐๐ ระดับคุณภาพ ๕

 

๑๐.การจัดหาทรัพยากรณ์ผู้บริหารได้ระดมทุนทรัพยากรสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาทั้งในรูปของงบประมาณ และบุคลากรที่เป็นภูมิปรัชญาจากท้องถิ่นมาช่วยในการสนับสนุนการเรียนการสอน

๑๑.การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลร้อยละของครูที่ได้รับการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลจากผู้บริหาร ครั้ง/ภาคเรียน ร้อยละ ๑๐๐ ระดับคุณภาพ

๑๒. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น ปลอดภัยมีแหล่งพักผ่อนที่เพียงพอสำหรับนักเรียนและมีแหล่งสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เนตที่เข้าถึงได้ง่าย

 

๑๓.โรงเรียนมีห้องสมุด และให้นักเรียนทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน อย่างน้อย ๒ ครั้งต่อ๑ ปีการศึกษา

๑๔. โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้อย่างเพียงพอและใช้ประโยชน์เต็มศักยภาพ

 ๑๕. โรงเรียนจัดให้ทุกห้องเรียน มีการจัดการเรียนการสอน ระบบe-Learningของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ไปพัฒนาคุณภาพการสอนทุกระดับชั้น และใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://1drv.ms/b/s!AjOyCrQ6bBLax1_UuEGKGcFuc9TE?e=hsIdDb
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรที่มีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนและมาตรฐานสากล มีการบูรณาการภาระงาน ชิ้นงาน โดยทุกระดับชั้นจัดทำหน่วยบูรณาการอาเซียน เศรษฐกิจพอเพียงปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนันสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่างๆ ทั้งภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้
ผลการดำเนินงาน  

๑. โรงเรียนวัดหนองสีงา(ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์) มีการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ครูมีการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา โดยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนทั้งทางด้านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ครูมีการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดและมีการนำไปใช้ในการปฏิบัติการสอนจริง ในแต่ละชั้นเรียนครูมีการคัดกรองนักเรียนในด้านการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคัดกรองตามหลักวิชาการ เพื่อที่จะช่วยเหลือในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมและแสดงออกทางด้านความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ และนำเสนอผลงานที่นักเรียนได้คิดและปฏิบัติ

 ๒. โรงเรียนวัดหนองสีงา(ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์) มีการส่งเสริมและสนับสนุนใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้โรงเรียนส่งเสริมให้ครูใช้สื่อการเรียนรู้ทั้งสื่อทั่วไปและสื่อเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน ใช้เป็นข้อมูลความรู้ที่ครูนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียน และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง สนับสนุนให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้ที่เป็นของจริงที่ทำให้ได้รับประสบการณ์จริงมาใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอน เช่น แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนรวมถึงองค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้ความรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา

 ๓. โรงเรียนวัดหนองสีงา(ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์) มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก เรียนรู้ได้อย่างมี โรงเรียนมีการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้มีการบริหารชั้นเรียนเริ่มตั้งแต่การจัดห้องเรียนให้มีพื้นที่ในการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน มีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศทำให้นักเรียนอยากเรียน ครูจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความสนิทสนมกับนักเรียนทำให้นักเรียนกล้าที่จะปรึกษาหารือได้ และครูต้องส่งเสริมให้นักเรียนเคารพต่อกติกาข้อตกลงของห้องเรียน ส่งเสริมความรักสามัคคีในหมู่คณะ

 ๔. โรงเรียนวัดหนองสีงา(ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์) มีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนมีนโยบายให้ครูเน้นการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง เพื่อใช้มาเป็นข้อมูลในการพัฒนา/ปรับปรุงในปี การศึกษาต่อไป โดยเฉพาะทางด้านคุณภาพ ของผู้เรียนทั้งทางด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีการนิเทศ กำกับติดตามขั้นตอนการใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลเพื่อให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา รวมทั้งตามสภาพการเรียนรู้จริงของผู้เรียน เช่น การประเมินเด็กปกติ และเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

 ๕. โรงเรียนวัดหนองสีงา(ประถมบูรณ์รัฐราษฎร์สงเคราะห์) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้โรงเรียนมีกระบวนนิเทศ กำกับติดตามในการจัดการเรียนการสอนของครู โดยเน้นการนิเทศแบบกัลยามิตร การมีส่วนร่วม แล้วนำข้อมูลสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ มาเข้าสู่กระบวนในรูปแบบการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) ทั้งระดับช่วงชั้นกันเอง ในระดับผู้บริหาร ครู ในระดับกรรมการสถานศึกษาฯ และในระดับการพบปะผู้ปกครอง เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงการเรียนรู้และพฤติกรรมของนักเรียน

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://1drv.ms/b/s!AjOyCrQ6bBLax076MN8105vLenTw?e=yg5DMq
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดี
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

ด้านผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ โดยมีผลการทดสอบในระดับประเทศ เช่น การสอบอ่านR.T. ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และการสอบวิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และวิชาภาษาอังกฤษ O-NETของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สูงกว่าปีการศึกษา ๒๕๖๒ และมีผลการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กิจกรรมส่งเสริมการท่องสูตรคูณ คณิตคิดเร็ว กิจกรรมเขียนตามคำบอก โครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับผู้เรียน

ด้านผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหา อยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีเอกสารการวัดผลและประเมินผลสรุปผลการคิดวิเคราะห์ในระดับสถานศึกษา และการประเมินกิจกรรมเป็นรายบุคคลที่นักเรียนปฏิบัติ ด้วยกระบวนการสังเกต การปฏิบัติจริง การบันทึกพฤติกรรมและการทดสอบ ประเมินผล โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โครงการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

 ด้านผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม โดยมีเอกสารการประเมินกิจกรรมเป็นรายบุคคลและเป็นทีมที่นักเรียนได้ปฏิบัติ ด้วยกระบวนการสังเกต การปฏิบัติจริง การทดสอบ ประเมินผลและผลงานของนักเรียน (ชิ้นงาน, ผลผลิต) และมีโครงการผลิตสื่อการเรียนการสอน

ด้านผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ โดยมีกิจกรรมชุมนุมของโรงเรียน เพื่อส่งเสริมให้ นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

ด้านผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด โดยมีกิจกรรมสวดมนต์ นั่งสมาธิทุกเช้า กิจกรรมวันสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี และมีการประเมินผลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรรายบุคคล มีกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ด้านผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย โดยมีการจัดกิจกรรมวันสำคัญของชาติ วัฒนธรรมและประเพณีไทยให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมอยู่เสมอ เช่น กิจกรรมวันไหว้ครู กิจกรรมวันแห่เทียนจำนำพรรษา กิจกรรมวันภาษาไทย กิจกรรมวันแม่ กิจกรรมประเพณีวันลอยกระทง กิจกรรมส่งเสริมใส่ผ้าไทยวันศุกร์ เป็นต้น

ด้านผู้เรียนมีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย เนื่องจากโรงเรียนวัดหนองสีงาฯ มีนักเรียนที่หลากหลาย ทั้งทางด้านเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เช่น มีเด็กกัมพูชาเข้าร่วมเรียนด้วยหลายชั้นเรียน แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข นักเรียนยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลได้

ด้านผู้เรียนมีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม เนื่องจากโรงเรียนมีการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันครบตามหลักโภชนาการ มีการจัดอาหารเสริมนมให้นักเรียนได้ดื่มครบทุกคน มีกิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปี และมีกิจกรรมให้นักเรียนได้ร่วมแสดงออกทั้งความสามารถและทักษะ เช่น กิจกรรมแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียน กิจกรรมวันส่งท้ายปี เก่าต้อนรับปี ใหม่ กิจกรรมวันเด็ก กิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการ เป็นต้น มีผลการประเมินโครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการเล่นกีฬาและออกกำลังกายต้านภัยยาเสพติด โครงการส่งเสริมสุนทรียภาพด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณีท้องถิ่นและวันสำคัญ กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โครงการอาหารกลางวัน กิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

 

การบริหารและการจัดการ

ด้านโรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน โดยโรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจไว้ในแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติให้บรรลุตามเป้าหมาย มีการจัดทา โครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจ

ด้านระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา โรงเรียนมีการส่งเสริมให้บุคลากร ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการวางแผน เสนอความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงและพัฒนาและร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา โดยมีการประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงผลการพัฒนาการเรียนการสอนทุกเดือน มีการประชุมกรรมการสถานศึกษาฯ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบและรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาฯอย่างน้อยปี ละ 2 ครั้ง มีการจัดประชุมผู้ปกครองนักเรียนเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดการการศึกษาของโรงเรียนให้ผู้ปกครองรับทราบ และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพื่อนา ไปพัฒนา/ปรับปรุง/แก้ไข มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อนำข้อมูลมาคัดกรองสภาพปัญหาต่างๆ เพื่อจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ

ด้านการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนมีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาและโครงสร้างหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง มีการเพิ่มเติมกิจกรรมที่เสริมหลักสูตรเพื่อคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เช่น กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ชุมนุม หลักสูตรต่อต้านทุจริต กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ มีการกระบวนการคัดกรองผู้เรียนเพื่อแก้ปัญหาในการเรียนรู้ของนักเรียน

 ด้านพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ โรงเรียนส่งเสริมให้ครู และบุคลากรได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เช่น การอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน จัดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นต้น มีผลการประเมินพัฒนาบุคลากร บันทึกรายงานการประชุมครู วุฒิบัตรเกียรติบัตรของครู คำสั่งโรงเรียน คำสั่งสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นต้น

ด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ โดยมีข้อมูลการปรับปรุง/ซ่อมแซมอาคารเรียน ห้องเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ปลอดภัยแก่ผู้เรียน มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน อาคารเรียนเช่น ตัดแต่งต้นไม้ สนามหญ้า สนามกีฬา โรงอาหาร ห้องน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักเรียนและใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ประกอบการเรียนการสอน ส่วนการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม มีข้อมูลปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ประกอบในการเรียนการสอน เช่น สื่อการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ครูและนักเรียนใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างปลอดภัย

ด้านการจัดระบบเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้โดยมีข้อมูลการพัฒนา/ปรับปรุงระบบอินเทอร์เน็ตภายในโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับครูและนักเรียนใช้ประกอบการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดตั้งโทรทัศน์ ติดระบบอินเทอร์เน็ตทุกชั้นเรียน เพื่อให้ครูและนักเรียนใช้เป็นสื่อในการศึกษาค้นคว้าหรือแสวงหาความรู้ได้ทุกเวลา

 

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้โดยมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดและมีการนำไปใช้ในการปฏิบัติการสอนจริง มีการบันทึกหลังสอน มีเอกสารการคัดกรองนักเรียนในด้านการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคัดกรอง ตามหลักวิชาการ มีเอกสารร่องรอยที่ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมและแสดงออกทางด้านความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ และนำเสนอผลงานที่นักเรียนได้คิดและปฏิบัติ กิจกรรมส่งเสริมสุนทรียภาพด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ และกีฬา การวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนตามหลักสูตร กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หลักสูตรสถานศึกษา โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ตารางจัดการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แผน IEP (เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้) การนิเทศ กำกับติดตาม และผลงานของนักเรียน

 ด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการ โดยโรงเรียนมีสื่อการเรียนรู้ทั้งสื่อทั่วไปและสื่อเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ทะเบียนแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ และมีกิจกรรมส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่าน กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี กิจกรรมทัศนแหล่งรู้ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ตภายในโรงเรียน

ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก โดยมีหลักฐานร่องรอยการจัดห้องเรียนมีข้อตกลงในชั้นเรียน มีแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน มีแบบบันทึกกิจกรรมโฮมรูม และมีผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน กิจกรรมแข่งขันกีฬาสี กิจกรรมวันไหว้ครู กิจกรรมผู้บริหารพบนักเรียน กิจกรรมวันเด็ก เป็นต้น

ด้านการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน โดยมีหลักสูตรสถานศึกษา แผนการจัดการเรียนรู้ของครู คู่มือวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา เอกสารการประเมินเด็กปกติ และเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และมีผลโครงการการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนตามหลักสูตร เอกสารในชั้นเรียน ข้อมูลในระบบ DMC เอกสารสรุปรายงานผลการเรียนของนักเรียนต่อหน่วยงานต้นสังกัด รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน R.T. N.T.O-NET วิจัยในชั้นเรียน บันทึกรายงานการประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา ฯลฯ


 

 


 

 


 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ด้านคุณภาพผู้เรียน

) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการประเมินระดับชาติสูงกว่าปีที่ผ่านมา ทั้ง R.T. และ O-NET

๒) ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านคล่องได้ เขียนสื่อสารได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของชั้นเรียน

๓) ผู้เรียนมีความสมารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณได้เหมาะสมกับช่วงชั้น และสามารถสร้าง

นวัตกรรมและประดิษฐ์งานจากสิ่งของที่เหลือใช้ได้ และสารมารถใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศแสวงหาความรู้ได้

) ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตรสถานศึกษา

๕) ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ และมีจิตสาธารณะ

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

๑) โรงเรียนมีการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ใช้เป็นที่ทิศทางในการปฏิบัติที่ชัดเจน

) โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ ใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของคณะครู กรรมการสถานศึกษาฯ ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน

) โรงเรียนมีการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาโครงสร้างของหลักสูตร เพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายเน้นที่คุณภาพของผู้เรียนทุกด้านเป็นสำคัญ

๔) โรงเรียนมีการพัฒนา/ปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคม เพื่อส่งเสริมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

๕) โรงเรียนมีการพัฒนา/ปรับปรุงเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบอินเทอร์เน็ตภายในโรงเรียน เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิผล

๖) ครูและบุคลากรทางการศึกษามีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนา มาพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๑) ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดและลงมือปฏิบัติจริง

๒) ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง

๓) ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

๔) ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จริง

๕) ครูมีกระบวนการประเมินผลการเรียนของผู้เรียนอย่างเป็นขั้นตอน ประเมินจากความรู้ประเมินจากการปฏิบัติ ประเมินจากเจตคติของผู้เรียน โดยเน้นการประเมินตามสภาพจริง

๖) ครูมีการนำข้อมูลจากผลการประเมินผู้เรียนมาประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำข้อมูลย้อนกลับไปพัฒนา ปรับปรุง ทั้งกระบวนการจัดการเรียนการสอน การจัดทำโครงการ/กิจกรรมสนับสนุน

 


ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://1drv.ms/b/s!AjOyCrQ6bBLax2u0qGMWbbE-v4lY?e=WFlPVc
 2.3 ภาคผนวก
 https://1drv.ms/b/s!AjOyCrQ6bBLax27o0qYLyJ2ziEux?e=kMwa9b